Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Science and Mathematics Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2021

Articles 1 - 7 of 7

Full-Text Articles in Science and Mathematics Education

ผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ ตัณทานนท์ Jan 2021

ผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ ตัณทานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาลักษณะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ใช้เวลาในการวิจัย 20 คาบเรียน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบสัมภาษณ์ลักษณะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบลำดับเครื่องหมายของข้อมูลที่จับกันเป็นคู่ของวิลคอกซ์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนตัวแทนส่วนใหญ่ สามารถแยกแยะข้อมูล ค้นหาความสัมพันธ์ และค้นหาหลักการหรือความรู้มาอธิบายความสัมพันธ์จากสถานการณ์ที่กำหนดได้


ผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธนิต กาญจนโกมล Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธนิต กาญจนโกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังเป็นทักษะหนึ่งในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีลักษณะของการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังและเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลัง แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต และแบบประเมินการทำงานเป็นทีม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 70 และหลังเรียนพบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 80 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 20 และไม่พบนักเรียนที่มีความสามารถนี้ในระดับต่ำ นอกจากนี้กระบวนการสืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการสามารถส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังในทุกองค์ประกอบ ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการและการทำงานเป็นทีม ความเข้าใจมโนทัศน์และการประยุกต์ใช้ความรู้อีกด้วย


ผลการใช้วงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุนิษา สภาพไทย Jan 2021

ผลการใช้วงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุนิษา สภาพไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ งานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนจัดการเรียนรู้ตามวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ (2) แบบทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาในแต่ละระดับ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 42.86) มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาอยู่ในระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมี 3 แบบ ได้แก่ (1) นักเรียน 14 คน (ร้อยละ 50) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 2 ระดับขึ้นไป (2) นักเรียน 12 คน (ร้อยละ 42.86) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 1 ระดับ และ (3) มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียน 2 คน (ร้อยละ 7.14) ไม่เปลี่ยนแปลง


การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, เชฏฐพร เชื้อสุพรรณ Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, เชฏฐพร เชื้อสุพรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็มหลังทดลอง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดกิจกรรม 4) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ 2) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในด้านการอธิบายแนวทางการแก้ปัญหา ด้านการระบุความรู้ทางคณิตศาสตร์ และด้านการระบุตัวอย่างที่ใกล้เคียงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีตามลำดับ


กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คณาธิป นรสิงห์ Jan 2021

กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คณาธิป นรสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนมากกว่าร้อยละ 65 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ส่งผลต่อพัฒนาการของความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทุกองค์ประกอบ โดยขั้นเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ตัวแบบเป็นขั้นที่ส่งผลมากที่สุด และความสามารถในการแก้ปัญหาทางมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยนักเรียนมีพัฒนาการของความสามารถในการบูรณาการข้อมูลมากที่สุด ตามด้วยการแปลความหมายของปัญหา การวางแผนและกำกับตรวจสอบ และการดำเนินการตามแผน ตามลำดับ


กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, ธัญวรัตน์ สมทรัพย์ Jan 2021

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, ธัญวรัตน์ สมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ใช้เวลาในการวิจัย 18 คาบเรียน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงอุปมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินลักษณะการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ระหว่างเรียน และแบบสัมภาษณ์การใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีพัฒนาการความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ


ผลการสอนธรรมชาติวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่ออัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัฐพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว Jan 2021

ผลการสอนธรรมชาติวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่ออัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัฐพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนไทยจากโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2564 การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ โดยการศึกษาระยะที่ 1 มีรูปแบบการวิจัยแบบวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดย (1) แบบวัดอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และ (2) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย และการศึกษาระยะที่ 2 มีรูปแบบการวิจัยแบบวิจัยเชิงทดลองแบบการทดลองเบื้องต้น เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือ ดังเช่นการศึกษาระยะที่ 1 และเพิ่มเติมแบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แบบอัตนัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-sample t-test และ Dependent sample t-test โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อเข้าใจรายละเอียดของอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน สรุปผลการศึกษาระยะที่ 1 ดังนี้ (1) กลุ่มเป้าหมายโดยเฉลี่ยแล้วมีระดับอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภายในองค์ประกอบของอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่านักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ (ATS 1) และค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ (ATS 2) ที่มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม และยังเป็นผู้ต้องการมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (OSLE 2) สูงขึ้น (2) กลุ่มเป้าหมายโดยเฉลี่ยแล้วมีระดับความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเป็นผู้ที่มีความเข้าใจขอบข่าย NOS 3 กิจการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับขอบข่ายอื่น และสรุปผลการศึกษาระยะที่ 2 ดังนี้ (1) ระดับอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05