Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal

2019

Journal of Education Studies

Keyword

Articles 151 - 172 of 172

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล, ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์, วรวรรณ เหมชะญาติ, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ Jan 2019

การพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล, ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์, วรวรรณ เหมชะญาติ, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล โดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการสอนภาษาอังกฤษสําหรับเด็กอนุบาล การสลับภาษา วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศกรอบแนวคิดของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ 4 ประการ คือ (1) การพัฒนาทักษะการฟังอย่างเข้าใจ (2) การออกคําสั่งและทําท่าทางประกอบ (3) การใช้ภาษาแม่สลับกับภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ และ (4) ตรวจสอบความเข้าใจของเด็กอย่างสม่ําเสมอ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ (1) ขั้นทบทวนความรู้ (2) ขั้นสาธิตให้ดู (3) ขั้นฝึกปฏิบัติ และ (4) ขั้นสรุปความเข้าใจ การประเมินผลความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลใน 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าใจความหมายของคําศัพท์/ประโยคที่ฟัง และด้านการถ่ายโอนข้อมูลจากสิ่งที่ฟัง ซึ่งกรอบแนวคิดที่ได้จะนําไปพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลต่อไป


การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปรัชญา แนวคิด และหลักการของการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, อาชัญญา รัตนอุบล Jan 2019

การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปรัชญา แนวคิด และหลักการของการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนําเสนอปรัชญา แนวคิดและหลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ดําเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อประเมินผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. ความเชื่อว่าชุมชนและบุคคลมีศักยภาพ 2. หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือการเรียนรู้ 3. การเรียนรู้ที่มีคุณค่าคือ การเรียนรู้ตามความต้องการ 4. การเรียนรู้ของชุมชนเกิดขึ้นด้วยกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน แนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 4 แนวคิดประกอบด้วย 1. บุคคลมีความเท่าเทียมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน 2. บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้วิธีและรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง 3. การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ของชุมชน 4. การเรียนรู้ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลโดยไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม หลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 6 หลักการ ประกอบด้วย 1. หลักการเรียนรู้ ได้แก่ มีการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และเรียนรู้อย่างเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติในชุมชน 2. หลักการด้านประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ ชุมชนต้องได้รับประโยชน์จาก การแลกเปลี่ยนของบุคคลซึ่งเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก 3. หลักการคิดและลงมือทํา ได้แก่ ชุมชนเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการมองเห็นภาพปัญหาควบคู่ไปกับการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีการลงมือปฏิบัติจริงที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลําดับขั้นตอน 4. หลักการความเป็นผู้นํา ได้แก่ มีผู้ปฏิบัติที่เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ 5. หลักการสื่อสารได้แก่ การทําความเข้าใจเพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน และ 6. หลักการระเบิดจากภายใน ได้แก่ การสร้างภูมิต้านทานที่เข้มแข็งภายในชุมชนก่อนที่จะนําความเจริญจากภายนอกเข้ามา


ความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กในห้องเรียนอนุบาล, อภิพร เป็งปิง Jan 2019

ความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กในห้องเรียนอนุบาล, อภิพร เป็งปิง

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอความสําคัญของความเข้มแข็งทางจิตใจที่มีต่อเด็กวัยอนุบาล ซึ่งความเข้มแข็งทางจิตใจนั้นเป็นศักยภาพที่สําคัญในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งสําคัญที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างมีความสุข เด็กที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นเกราะป้องกัน จะสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ โดยการใช้ทักษะทางอารมณ์และสังคม รวมถึงการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้นได้ ครูอนุบาลมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมให้เด็กเกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ โดยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่สําคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจในห้องเรียนอนุบาล ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่สนับสนุนให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตนเอง และไว้วางใจ เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้คนรอบตัวและ (2) การจัดการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เสริมสร้างทักษะทางสังคมและการจัดการอารมณ์ของเด็กผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติที่หลากหลาย สร้างค่านิยมเชิงบวก ส่งเสริมให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ รับรู้ตนเองตามความเป็นจริง ตระหนักถึงการยอมรับผลการกระทําของตนเองทั้งทางบวกและทางลบ ร่วมกันสร้างข้อตกลงและมุ่งมั่นปฏิบัติตามข้อตกลงที่สร้างขึ้น มีทักษะในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์


การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ Jan 2019

การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอนและการใช้ห้องปฏิบัติการเครื่องเคลือบดินเผาในหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ 2) หลักสูตรผลิตศิลปิน 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม และนําเสนอรูปแบบการสอนที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการดําเนินการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบสอบถามอาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 – 4 2) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญเครื่องเคลือบดินเผา 3) แบบสังเกตการใช้ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยจําแนก จัดหมวดหมู่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาบทสรุปร่วมกัน ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเครื่องเคลือบดินเผา 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ เรียนรู้กระบวนการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ครอบคลุม เน้นการปลูกฝังคุณค่า การเป็นครูต้นแบบและพัฒนาทักษะการสอนของผู้เรียน วัดและประเมินผลจากความเข้าใจในกระบวนการผลิตงานและการออกแบบแผนการสอน 2) หลักสูตรผลิตศิลปิน เรียนรู้กระบวนผลิตชิ้นงาน เน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวตามหลักการทางสุนทรียภาพ วัดและประเมินผลจากพัฒนาการด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม เรียนรู้หลักการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมที่คํานึงถึงความงามวัสดุ และหน้าที่ใช้สอย เน้นแก้ปัญหาการออกแบบตามความต้องการของตลาด วัดและประเมินผลจากกระบวนการคิดแก้ปัญหาการออกแบบ


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, ณิชาพร เจริญวานิชกูร, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5, ณิชาพร เจริญวานิชกูร, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จํานวน 90 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จํานวน 44 คน และกลุ่มควบคุม จํานวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และใบงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียน กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบเป็นระยะจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน


ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, จาตุรนต์ มหากนก, สุนันทา ศรีศิริ, พิมพา ม่วงศิริธรรม Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, จาตุรนต์ มหากนก, สุนันทา ศรีศิริ, พิมพา ม่วงศิริธรรม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จํานวน 56 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คัดเลือกแบบเจาะจงโดยใช้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ ได้แก่กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 (19 คน) ได้รับวิดีโอการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้น และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองก่อนมีกิจกรรมในห้องเรียน กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 (19 คน) ได้รับกิจกรรมในห้องเรียน จากนั้นศึกษาวีดิโอการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้น และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และกลุ่มควบคุม (18 คน) ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษา จํานวน 3 แผน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สื่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังด้วยวิธีวิลคอกซัน การทดสอบด้วยวิธีแบบครัสคาล วอลลิส การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการบอนเฟอโรนี
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มควบคุม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) หลังการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) หลังการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กระบวนการออกแบบหนังสือดอกไม้ด้วยวิธีการนิเทศศิลป์โดยปรับใช้เทคนิคงานตอกกระดาษของจังหวัดสงขลา, พรรณี วิรุณานนท์ Jan 2019

กระบวนการออกแบบหนังสือดอกไม้ด้วยวิธีการนิเทศศิลป์โดยปรับใช้เทคนิคงานตอกกระดาษของจังหวัดสงขลา, พรรณี วิรุณานนท์

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากระบวนการออกแบบหนังสือศิลปะด้วยวิธีการนิเทศศิลป์โดยปรับใช้งานตอกกระดาษพื้นบ้านภาคใต้ของจังหวัดสงขลาและ (2) จัดทําและนําเสนอหนังสือดอกไม้ตามกระบวนการที่พัฒนาขึ้น โดยแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบ คือ “การซ้ํากันและ การสะท้อนกัน” ผลของการสร้างสรรค์ศิลปะ-วิจัยครั้งนี้ ได้เป็น (1) กระบวนการออกแบบหนังสือดอกไม้โดยใช้วิธีการนิเทศศิลป์ที่ปรับใช้เทคนิคงานตอกกระดาษจังหวัดสงขลา ซึ่งมี 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การสร้างแรงบันดาลใจจากศิลปะไทย 2) การศึกษาและพัฒนาทักษะงานช่างและลวดลายไทย และ 3) กระบวนการออกแบบและการวางจัดหนังสือดอกไม้ และ (2) ชุดของหนังสือดอกไม้ 33 เล่ม และแบบการนําเสนอ ทั้งนี้ดอกไม้ที่ใช้เป็นต้นแบบของหนังสือ จํานวนหนังสือ และต้นแบบของการจัดวางหนังสือดอกไม้ที่พัฒนาขั้นตามกระบวนการ คือ ดอกไม้ในวรรณคดีไทย ที่นับเป็นศิลปะไทยอีกแขนงหนึ่ง


รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ยงยุทธ สิมสีพิมพ์, สมคิด สร้อยน้ำ, นวัตกร หอมสิน Jan 2019

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ยงยุทธ สิมสีพิมพ์, สมคิด สร้อยน้ำ, นวัตกร หอมสิน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผล และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวม 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวม ตัวอย่างคือ ผู้อํานวยการโรงเรียนเรียนรวม จํานวน 572 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การกระจาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และโปรแกรมลิสเรล 8.72 ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (M = 4.16) 2) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนรวมสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X = 51.32 df = 38, p = 0.073, GFI =0.99, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.025, SRMR = 0.015, CN = 664.52) และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโรงเรียนเรียนรวม 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง คือ การจัดการทรัพยากรองค์การ บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาคุณลักษณะของบุคลากร และภาวะผู้นําของผู้บริหาร 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม คือ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการจัดการทรัพยากรองค์การ และบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม คือ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร การจัดการทรัพยากรองค์การ บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และคุณลักษณะของบุคลากร


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, เสรี คําอั่น, กิรณา จิรโชติเดโช Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, เสรี คําอั่น, กิรณา จิรโชติเดโช

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องเซตตามเกณฑ์ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง จํานวน 31 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องเซต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.84/75.482) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก


การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี, สุธนะ ติงศภัทิย์, รัชนี ขวัญบุญจัน Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี, สุธนะ ติงศภัทิย์, รัชนี ขวัญบุญจัน

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมการออกกําลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก และ (2) ประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการออกกําลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง อายุ 12-18 ปี จํานวน 8 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงดําเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง ครั้ง ๆ 45 นาที ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลองหลังการทดลอง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ นําผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ํา Repeated One-way ANOVA Measurementการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยโดยใช้ผ้าขาวม้า การออกกําลังกายแบบเดี่ยว การออกกําลังกายแบบเป็นคู่และการออกกําลังกาย แบบเป็นกลุ่ม จํานวน 26 ท่า และ 5 ขั้นตอนการออกกําลังกาย โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.94 2) สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กออทิสติกหลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านการทํางานร่วมกับบุคคลอื่น


แนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองต้นแบบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชิตาพร เอี่ยมสะอาด, พัชรินทร์ จันทร์ส่องแสง, เสาวภาคย์ สว่างจันทร์, ชนิดา ชาตา Jan 2019

แนวทางการจัดกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองต้นแบบในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ชิตาพร เอี่ยมสะอาด, พัชรินทร์ จันทร์ส่องแสง, เสาวภาคย์ สว่างจันทร์, ชนิดา ชาตา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้นแบบใช้เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กช่วงปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกให้ประสบผลสําเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน จํานวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้นแบบใช้เสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ให้ทําให้ประสบผลสําเร็จในชีวิตเกิดจากแนวคิด ความเชื่อ ความรู้สึกยอมรับจากประสบการณ์ตรง 5 ประการ ได้แก่ 1) การฝึกให้รู้จักรับผิดชอบด้วยการทํางาน 2) การใช้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์ 3) การกํากับติดตามอย่างต่อเนื่อง 4) การเป็นโค้ช 5) การใช้หลักธรรมทางศาสนา ภายใต้ความเชื่อเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ตามวัย การจัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การให้อิสระทางความคิดและเวลา ความเสมอต้นเสมอปลายในความรักและเอาใจใส่ และใช้กิจกรรมในหมวดงานบ้าน 10 กิจกรรม หมวดงานครัว 10 กิจกรรม หมวดกิจวัตรประจําวัน 12 กิจกรรม หมวดงานอดิเรกและนันทนาการ 13 กิจกรรม จากการให้ลูกทํากิจกรรมดังกล่าว พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ชนิดของกิจกรรม ลักษณะของสื่ออุปกรณ์ วิธีการขั้นตอนที่เด็กมีส่วนร่วม บทบาทของผู้ปกครองในการกระตุ้นคิด จูงใจให้สังเกต ใช้คําถามชวนคิดการตอบข้อสงสัย ยอมรับการกระทําของเด็ก และเป็นแบบอย่าง


การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0, รัชต ไตรมาลัย, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ปรัชญนันท์ นิลสุข Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0, รัชต ไตรมาลัย, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ปรัชญนันท์ นิลสุข

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดของสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษา และพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 19 แห่ง ได้แก่ คณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษา ผู้สําเร็จการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในประเทศเยอรมนี ญี่ปุ?น ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่สถาบันการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ รวม 216 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยได้รูปแบบและยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศของสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการเป็นประเทศไทย 4.0 มี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางานเป็นทีมของผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร 2) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา 3) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการแผนงานงบประมาณที่มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล 4) สร้างสรรค์พัฒนาวัตถุประสงค์ พันธกิจ เป้าหมายของการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมและประเทศชาติ และ 5) การสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีทางอาชีวศึกษา และเป็นโครงสร้างหลักในการสนับสนุนการเป็นประเทศไทย 4.0


ทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานของนักเรียนประถมศึกษา: การพัฒนาโมเดลและแบบวัดออนไลน์, ภูมิ พระรักษา, วนิดา สิมพล, ศิริเดช สุชีวะ Jan 2019

ทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานของนักเรียนประถมศึกษา: การพัฒนาโมเดลและแบบวัดออนไลน์, ภูมิ พระรักษา, วนิดา สิมพล, ศิริเดช สุชีวะ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโมเดลการวัด พัฒนาเครื่องมือวัดออนไลน์ และศึกษาระดับ ทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานของนักเรียนประถมศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน และ นักเรียน 646 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ และความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานของนักเรียนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว 2) ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง 3) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ ข้ามวัฒนธรรม 4) การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด และ 5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ เครื่องมือใน การวิจัยเป็นแบบวัดออนไลน์ 22 ข้อ เป็นการวัดการตัดสินใจเชิงสถานการณ์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก ตอบถูก ได้ 1 ตอบผิดได้ 0 โมเดลการวัด มีความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยค่า ?2 = 50.302, df = 37, p = 0.0711, CFI = 0.990, TLI = 0.986, RMSEA = 0.024, SRMR = 0.025 มีค่าอำนาจจำแนก (r) 0.1441 ถึง 0.5233 และค่าความยาก (p) 0.42 ถึง 0.88 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .818 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก 0.29 ถึง 3.04 ค่าพารามิเตอร์ความยาก -2.01 ถึง 1.31 แสดงว่า แบบวัดมีค่าความยากและอำนาจจำแนก ปานกลาง มีความเที่ยงสูงและนักเรียนมีทักษะการดำรงชีวิตและการทำงานอยู่ในระดับมาก


สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์ Jan 2019

สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, สริน ประดู่, สมบัติ อ่อนศิริ, อำนวย ตันพานิชย์, มนธีร์ จิตต์อนันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ของโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู วิชาพลศึกษาของโรงเรียนสาธิตจำนวน 186 คน สภาพปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้วิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ เลือกประเมินด้วยข้อสอบปรนัย ด้านทักษะกีฬา ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ประเมินทักษะกีฬาเชิงปริมาณโดย ใช้แบบทดสอบและข้อทดสอบทักษะกีฬาที่ครูสร้างขึ้น ส่วนเชิงคุณภาพครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้เกณฑ์ การประเมิน (Scoring rubric) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ครูพลศึกษา ส่วนใหญ่เลือกใช้แบบสังเกตพฤติกรรม ด้านสมรรถภาพทางกาย ครูพลศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้แบบทดสอบ และเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ สภาพปัญหาที่ครูพลศึกษาพบในการวัดและประเมินผล ได้แก่ 1) ด้านความรู้ คือ การออกข้อสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัยไม่สามารถวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์ 2) ด้านทักษะกีฬา คือ การเลือกแบบทดสอบทักษะกีฬาไม่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน 3) ด้านสมรรถภาพทางกาย คือ จำนวนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบไม่เพียงพอ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม คือ การวัดคุณธรรมและจริยธรรมได้ไม่ครบทุกด้าน 5) ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ ขาดแบบสังเกต ที่วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นมาตรฐาน


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวรรณ เฉลิมสุข, อนิรุทธิ์ สติมั่น Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวรรณ เฉลิมสุข, อนิรุทธิ์ สติมั่น

Journal of Education Studies

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญาผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งที่เสริมสร้างทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิต จำนวน 113 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม อย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาและ ความต้องการ 2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานแบบทักษะปฏิบัติร่วมกับเครื่องมือทางปัญญา ผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียน การสอน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรม การเรียนรู้ 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) การให้ผลป้อนกลับ 4) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน?ผู้สอน 5) การติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน?นักเรียน และ 6) การประเมินผลการเรียน ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ มี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1) ค้นหา-สร้างแรงบันดาลใจ 2) รวบรวมข้อมูล 3) กระตุ้นความคิด 4) พินิจครุ่นคิด 5) ริเริ่มเอกลักษณ์ และ 6) วิพากษ์วิจารณ์-ประเมินผล (2) ผลการประเมินความเหมาะสมของ รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (4.47, SD = 0.02) (3) ผลการประเมิน รูปแบบการเรียนการสอนโดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี


รูปแบบการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, สามารถ รุ่งเรือง, ประกอบ คุณารักษ์ Jan 2019

รูปแบบการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, สามารถ รุ่งเรือง, ประกอบ คุณารักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้อํานวยการ และตัวแทนครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนละ 1 คน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง รวมทั้งหมด 240 โรง รวม 480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) แบบประเมินรูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสภาพการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ได้แก่ (1) วางแผนเพื่อศึกษาความต้องการในการระบุความรู้ที่จําเป็นสําหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน (2) กําหนดจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง เนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาหลักสูตร 3) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ (4) กําหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ (5) กําหนดเนื้อหาตามแต่ละหน่วยการเรียนรู้ (6) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือ (7) ออกแบบสื่อการเรียนรู้ (8) จัดการเรียนการสอนที่อยู่บนหลักการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21 (9) ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ 2) รูปแบบการจัดการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเป็นชุดของเนื้อหา วัตถุประสงค์ กระบวนการ วิธีการและการประเมินผล และ 3) รูปแบบการจัดการศึกษาที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมมีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดและข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


รู้รอบวัฒนธรรมจากห้องเรียนเสมือนจริง: การออกแบบระบบจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ, จินตวีร์ คล้ายสังข์, เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม Jan 2019

รู้รอบวัฒนธรรมจากห้องเรียนเสมือนจริง: การออกแบบระบบจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ, จินตวีร์ คล้ายสังข์, เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม

Journal of Education Studies

ระบบห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน (Multicultural virtual world: MVW) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยเรื่องระบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน จริงเพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันสำหรับผู้เรียนระดับ อุดมศึกษาของชุมชนวัฒนธรรมอาเซียน ผลการวิเคราะห์หาองค์ประกอบหลักด้วยวิธี EFA พบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) เทคนิคการสอนและสื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (2) เครื่องมือติดต่อสื่อสาร (3) การเรียนรู้ ร่วมกันเป็นทีม และ (4) บทบาทหน้าที่ จากนั้นนำผลที่ได้ไปออกแบบพัฒนาและทดลองใช้ตามกระบวน การวิจัยและพัฒนา (R&D) สรุปขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ในระบบห้องเรียนเสมือนจริงมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การเตรียมความพรอ้ ม (2) การกำหนดประเดน็ ปญั หาหรือหัวขอ้ ที่จะศึกษา (3) การตั้งกฎกตกิ า มารยาท การทำงานร่วมกัน (4) การศึกษาข้อมูลร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (5) การสร้างชิ้นงานร่วมกัน (6) การประเมินผล และ (7) การนำเสนอผลงาน โดยในบทความนี้ขอนำเสนอระบบ MVW เน้นจุดเด่นเรื่อง ของระบบและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริงได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย ความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้เสมือนนั้นมีฐานแนวคิดจากเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และแหล่งทรัพยากรเสมือนที่ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่านำสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย, สรช ชาติทอง, มนัสวาสน์ โกวิทยา, มิ่งขวัญ คงเจริญ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย, สรช ชาติทอง, มนัสวาสน์ โกวิทยา, มิ่งขวัญ คงเจริญ

Journal of Education Studies

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการ ตำรวจไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการ ตำรวจไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจไทยที่ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1.1) ขั้นผ่านประสบการณ์ (1.2) ขั้นผ่านการสะท้อนความคิด (1.3) ขั้นผ่านการตัดสินใจ และ (1.4) ขั้นผ่าน การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2) หลักยึดถือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการมี 8 ข้อ ได้แก่ (2.1) การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (2.2) การดำรงตนเหมาะสม (2.3) การช่วยเหลือประชาชน (2.4) การรู้จักควบคุมอารมณ์ (2.5) การมีความซื่อสัตย์สุจริต (2.6) การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (2.7) การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ (2.8) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 3) ปัจจัยของ การใช้รูปแบบมี 2 ปัจจัย ได้แก่ (3.1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และบุคคลภายนอก (3.2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ทำงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ และ 4) เงื่อนไข ของการใช้รูปแบบ ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข ได้แก่ (4.1) เงื่อนไขจากบุคคล ประกอบด้วย ความพร้อมของ ผู้เรียน ประสบการณ์ พื้นฐานการศึกษา และวิธีการสะท้อนความคิด (4.2) เงือ่ นไขจากหนว่ ยงาน ประกอบดว้ ย รางวัลและแรงจูงใจ บทลงโทษทางวินัย และความต่อเนื่องของการดำเนินการในการสร้างจิตสำนึกการบริการ


เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง, กุลชาติ พันธุ์วรกุล, เมษา นวลศรี Jan 2019

เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิทัล: โอกาสหรือความเสี่ยง, กุลชาติ พันธุ์วรกุล, เมษา นวลศรี

Journal of Education Studies

เด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในยุคที่มีการขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่หยุดนิ่ง เด็กวัยนี้จึงจําเป็นต้องมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างโอกาสสําคัญใน การเติบโตเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อภายใต้มิติแห่งความหลากหลายด้านสื่อเทคโนโลยี ซึ่งบทความฉบับนี้ได้นําเสนอองค์ประกอบเกี่ยวกับสภาพการณ์ในปัจจุบันของการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กไทย คุณค่าของการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีต่อเด็กปฐมวัย ปัจจัยและความเสี่ยงในยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงการสร้างโอกาสให้แก่เด็กปฐมวัยสู่การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล โดยมีครูและ ผู้ปกครองเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ ผ่านบทบาทการเป็นแบบอย่างที่ดี มีความสามารถในการคัดกรองสื่อที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก พัฒนาไปสู่การเกิดทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล หรือที่เรียกว่า "ความฉลาดทางดิจิทัล"


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานิติบุคคล ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล Jan 2019

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองสำหรับผู้บริหารสถานศึกษานิติบุคคล ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจําเป็น พัฒนาและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองสําหรับผู้บริหารสถานศึกษานิติบุคคลระดับประถมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิจัยแบบผสม 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประเมินความต้องการจําเป็นในการฝึกอบรม จากกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 485 คน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองฯ จากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 13 คน และ 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครอง ฯ จากผู้อํานวยการสถานศึกษา กลุ่มนําร่องจํานวน 40 คน และทําการติดตามผลการนําไปใช้ประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมไปครบ 1 ปี
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจําเป็นในการฝึกอบรมกฎหมายปกครองสําหรับผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
2. หลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองฯ มีจํานวนรวม 32 ชั่วโมง โครงสร้างของเนื้อหาประกอบด้วย 4 ส่วน โดยผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผู้บริหารสถานศึกษาฯ ที่เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมกฎหมายปกครองฯ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์เรื่องกฎหมายปกครองฯ สูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการเข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการประเมินติดตามผลหลังการอบรมผ่านไปครบ 1 ปีการศึกษา พบว่า ผู้บริหารมีความรัดกุม รอบคอบในการทํานิติกรรมทางปกครองมากขึ้น


การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาและแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต เพื่อเสริมสร้างการกำกับตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดบุรีรัมย์, อดิศร บาลโสง, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, อัมพร ม้าคนอง Jan 2019

การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาและแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต เพื่อเสริมสร้างการกำกับตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดบุรีรัมย์, อดิศร บาลโสง, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาและแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต เพื่อเสริมสร้างการกํากับตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน โดยศึกษากลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาสุขศึกษา จํานวน 20 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ชั่วโมง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดการกํากับตนเอง ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.90-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค = 95 2) แบบทดสอบความรู้รายวิชาสุขศึกษา ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 ค่า KR-20 = .89 ค่าความยาก 0.43-0.70 ค่าอํานาจจําแนก 0.20-0.37 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีองค์ประกอบหลัก 5 ขั้น คือ 1) สร้างความสนใจ 2) คาดการณ์ล่วงหน้า 3) วางแผนยุทธศาสตร์ 4) ปฏิบัติให้สําเร็จ และ 5) สะท้อนผลงาน และมีประสิทธิผล คือ 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการกํากับตนเองของกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการสูงขึ้น ร้อยละ 2.98 โดยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสุขศึกษา หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการสร้างสภาวะแวดล้อมการเรียนด้วยการทำงานในสภาพจริง, อลงกต ยะไวทย์, ณัฐวัฒน์ วงษ์ชวลิตกุล Jan 2019

การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการสร้างสภาวะแวดล้อมการเรียนด้วยการทำงานในสภาพจริง, อลงกต ยะไวทย์, ณัฐวัฒน์ วงษ์ชวลิตกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและสร้างสภาวะแวดล้อมการเรียนด้วยการทํางานในสภาพจริง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับ ปวส. สาขาวิชาเทคนิคการผลิต 20 คน พี่เลี้ยง 20 คน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการ 16 คน พี่เลี้ยง 16 คน ในสถานประกอบการ 6 แห่ง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ และระบบการจัดสภาวะแวดล้อมการเรียนในสภาพจริง ทําการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนด้วยค่าที
ผลการวิจัย เป็นดังนี้
1. ผลการศึกษาและสร้างสภาวะแวดล้อมการเรียนด้วยการทํางานในสภาพจริง ได้ระบบซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การเรียนการสอนในสภาพจริง 3) การให้คําปรึกษา 4) พัฒนาการของผู้เรียนตามผลลัพธ์การเรียนรู้ 5) ประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ 6) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับคะแนนผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ศึกษาอยู่ในสภาวะ แวดล้อมการเรียนด้วยการทํางานในสภาพจริงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01