Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal

2019

Journal of Education Studies

รูปแบบการจัดการเรียนรู้

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ Jul 2019

การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ยุคใหม่โดยใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม, มุสตากีม อาแว, ญาสุมิน วรกิจจานนท์, ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ

Journal of Education Studies

การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ได้เปลี่ยนผ่านจากการมุ่งเน้นการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติไปสู่ยุคของการใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้าทาย ผู้เรียนจึงจําเป็นต้องเรียนรู้ธรรมชาติของเทคโนโลยีที่มีลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กระบวนการสร้างเทคโนโลยีสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ เทคโนโลยีมีความแตกต่างไปตามบริบทของพื้นที่และเทคโนโลยีมีผลกระทบรอบด้านทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางการสอนธรรมชาติของเทคโนโลยีในวิชาวิทยาศาสตร์ควรบูรณาการกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ร่วมกับการสะท้อนคิดอย่างชัดแจ้งของนักเรียนท้ายบทเรียน ซึ่งมีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว EDP ที่สําคัญ 3 รูปแบบ คือ โมเดล SLED, 6E Learning และ Project-Based Learning ร่วมกับแนวทางการประเมินผลตามสภาพจริงตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานสะเต็มศึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อนํามาสู่การยกระดับการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ตามบริบทและกระแสสังคมในปจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ


การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู: พหุกรณีศึกษาครูโรงเรียนสาธิต ในระดับประถมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Jan 2019

การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู: พหุกรณีศึกษาครูโรงเรียนสาธิต ในระดับประถมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิหลังของการมาเป็นครูและ การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู โดยใช้การศึกษาแบบพหุกรณี จำนวน 8 คนจาก โรงเรียนสาธิต ทั้ง 3 แห่ง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์ด้วยวิธี การหวนระลึกได้จากการกระตุ้นจากวิดีโอ (Video stimulated recall interviews) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ จะถูกนำเสนอด้วยการใช้แผนภาพประกอบการอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การประทับใจครูในสมัยเมื่อตนเองเป็น นักเรียนเป็นแรงบันดาลใจให้ครูผู้เป็นกรณีศึกษาก้าวเข้าสู่วิชาชีพครู รวมทั้งมีความรักและภูมิใจในวิชาชีพครู อย่างมาก 2) ผลการสังเคราะห์การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ของครู พบว่า ความรู้ครูที่ถูก สะท้อนออกมามากที่สุดคือ ความรู้ในการสอน (PK) และ ความรู้ด้านศาสตร์การสอนทั่ว ๆ ไป (GPK) ตามการสะท้อนของครูรายบุคคลและรายโรงเรียน สำหรับตามรายวิชา พบว่า วิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ความรู้ในการสอน (PK) ถูกสะท้อนออกมามากที่สุดในการจัดการเรียนการสอน สำหรับวิชา ภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนทั้ง 3 คนสะท้อนความรู้ครูอย่างแตกต่างหลากหลาย