Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal

2019

Journal of Education Studies

Keyword

Articles 1 - 30 of 172

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์ Oct 2019

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ในด้านคุณลักษณะความเป็นครู และสมรรถนะการสอน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักศึกษาครูที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 50 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบปฏิบัติการประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาต้นแบบกระบวนการผลิตครู (3) การนำกระบวนการไปใช้ปฏิบัติการ (4) การวิเคราะห์ ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการและ (5) การสรุปและนำเสนอผลการพัฒนา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. กระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ขั้นตอน และการประเมินผล ขั้นตอนหลักที่สำคัญในการดำเนินการ คือ (1) การพัฒนาความเข้าใจผ่านการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง (2) การเรียนรู้ร่วมกันในสถานศึกษาของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง และ (3) การสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านผลการเรียนรู้พบว่า นักศึกษาครูเกิดการพัฒนาตนเองในด้าน (1) คุณลักษณะความเป็นครู และ (2) สมรรถนะการสอน รวมถึงความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น ทัศนะเกี่ยวกับความเป็นครู และกระบวนการจัดการเรียนรู้


รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนด และประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลสำหรับการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และตัวแทนบุคลากรของสถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 172 แห่ง แห่งละ 3 คน รวมทั้งหมด 516 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศนูย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการบริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ(2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นชุดการเปลี่ยนแปลงจุดเน้น วัตถุประสงค์กระบวนการ วิธีการ ซึ่งเป็นวงจรการปฏิบัติที่ต่อเนื่องของการวางแผน การนำไปใช้ การตรวจสอบ และการประเมิน และ (3) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการกระจายตัวของข้อมูลน้อย


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์ Oct 2019

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย และ(2) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 89.10 คะแนน ขณะที่นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 87.68 คะแนน และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันทั้ง 2 รูปแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = .368, p = 0.695)


แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2019

แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัฒน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิมี 5 ท่าน เครื่องมือ คือ แบบประเมินความตรงของแนวคิดและดัชนี IOC ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดการพัฒนา ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ มี 2 องค์ประกอบ (2) แนวคิดภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ใช้แนวคิดรูปแบบพีรามิดของภาวะผู้นำแบบ โลกาภิวัตน์ที่ประกอบด้วย ความรู้โลกาภิวัตน์ ลักษณะสำคัญ ทัศนคติและการปรับแนวคิด ทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะระบบ และ (3) แนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำใช้แนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำที่ประกอบด้วย การพัฒนาส่วนบุคคล การเข้าใจความคิดรวบยอด การให้ข้อติชม และการพัฒนาทักษะ ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ทั้งสองแนวคิดมีความตรงต่อการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์


กลยุทธ์การพัฒนาครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, ธารารัตน์ มาลัยเถาว์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2019

กลยุทธ์การพัฒนาครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน, ธารารัตน์ มาลัยเถาว์, นันทรัตน์ เจริญกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาการอบรมครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่ การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และกลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมการนิเทศครูประถมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วย การนำตนเองและการจัดการศึกษาไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน


ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ Oct 2019

ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจงบประมาณด้านการศึกษาประจำปี2562 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 128 แห่ง ผลการวิเคราะห์สภาพการลงทุนทางการศึกษาพบแรงตึงตัวด้านการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูง ผลการวิเคราะห์ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาโดยใช้ดัชนีความไม่เสมอภาค 4 แบบ ได้แก่ สัมประสิทธิ์ความแปรผัน สัมประสิทธิ์จินี สัมประสิทธิ์ไทล์ และความความแปรปรวนที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น พบว่าการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมยังคงความเสมอภาคโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปแต่การจัดสรรงบประมาณหมวดเงินรายได้กลับพบความไม่เสมอภาคค่อนข้างสูงโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ (1) ผลักดันแผนการกระจายอำนาจและงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง (2) จัดสรรเงินอุดหนุนพิเศษเพื่อลดความไม่เสมอภาคโดยเน้นการให้เงินโอนตามผลผลิต (3) สร้างมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ และ (4) สร้างระบบและกลไกการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาผ่านภาษีท้องถิ่นเพื่อการศึกษา


การวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม, ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Oct 2019

การวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม, ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการในการพัฒนาทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสและการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม และเพื่อวิเคราะห์ทักษะชีวิตที่จำเป็นสำหรับเด็กด้อยโอกาสในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จำนวน 2,046 คน ในพื้นที่ 3 จังหวัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆประกอบด้วยกลุ่มที่ 1 เป็นเด็กด้อยโอกาสประเภทยากจนที่อาศัยอยู่ในบริบทสังคมเมืองที่มีความเสี่ยงและครู กลุ่มที่ 2 เป็นเด็กปกติทั่วไปที่มีพื้นฐานและบริบทสังคมใกล้เคียงกัน จำนวนทั้งหมด 2,046 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปกครองและเด็กด้อยโอกาสที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 13 คน วิเคราะห์มูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและการหาค่า PNImodified
ผลการวิจัยพบว่า เด็กด้อยโอกาสได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคมในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่ากว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างตํ่าเช่นเดียวกับเด็กทั่วไปและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติของทั้งสองกลุ่ม ในภาพรวมเด็กทั่วไปถูกคาดหวังให้มีทักษะชีวิตที่สูงกว่าเด็กด้อยโอกาส ซึ่งความคาดหวัดการมีทักษะชีวิตของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าที (t) เท่ากับ 2.50 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 สำหรับทักษะชีวิตที่จำเป็นของเด็กด้อยโอกาสที่ควรได้รับการพัฒนาในการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม มีจำนวน 8 ทักษะ ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) ทักษะการแก้ปัญหา 4) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 5) ทักษะการตัดสินใจ 6) ทักษะการตระหนักรู้ในตน 7) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และ 8) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล


การประเมินตามสภาพจริงของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, วีณา วโรตมะวิชญ, เสาวนิตย์ เจริญชัย Oct 2019

การประเมินตามสภาพจริงของผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, วีณา วโรตมะวิชญ, เสาวนิตย์ เจริญชัย

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและพัฒนากรอบการประเมินผลตามสภาพจริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาฯ (2) สร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ และเกณฑ์ และ (3) ศึกษาผลของการใช้กรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงของกรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินผลตามกรอบการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยได้กรอบการประเมินผลการเรียนรู้ฯ ที่แสดงถึงแนวทางการประเมินตามสภาพจริงของอาจารย์ที่มีความสอดคล้องกันระหว่างวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในการจัดการเรียนการสอนกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ในรายละเอียดของกระบวนวิชา (มคอ.3) หลักฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมิน ได้เครื่องมือ และเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ที่ออกแบบและสร้างตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในกรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ ผลการใช้กรอบการประเมินผลตามสภาพจริงฯ พบว่าทุกกระบวนวิชาสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของกระบวนวิชาทุกด้าน โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม


A Study Of Out-Of-Class English Language Listening Activities Of Lower Secondary School Students, Kanyanee Phuangsua, Ruedeerath Chusanachoti Oct 2019

A Study Of Out-Of-Class English Language Listening Activities Of Lower Secondary School Students, Kanyanee Phuangsua, Ruedeerath Chusanachoti

Journal of Education Studies

This study aimed to explore out-of-class English language listening activities and to study the process of out-of-class English language listening activities of lower secondary students. The samples of this study were 140 ninth-grade students obtained from a calculation using the formula of Raosoft (2004). Two out of five schools under the office of secondary education area 42 and were selected by convenience sampling method. The research instruments were the questionnaires and the interview. The findings revealed that three out-of-class English language listening activities, including listening to English songs, watching English movies, and watching English TV programs, were mostly used in …


การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค Oct 2019

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค

Journal of Education Studies

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการเทคโนโลยีที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้เด็กมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเด็กจะได้ใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือกล้องถ่ายภาพอย่างสร้างสรรค์ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน เน้นให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกคิด สนทนาโต้ตอบอย่างมีเหตุผล และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข นำไปสู่การพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง กล่าวได้ว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมทั้งทักษะในศตวรรษที่ 21 อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นบุคคลที่คิดเป็น เรียนรู้เป็น และรู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้


การขายภาพออนไลน์กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์, นรินธน์ นนทมาลย์ Oct 2019

การขายภาพออนไลน์กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์, นรินธน์ นนทมาลย์

Journal of Education Studies

การขายภาพออนไลน์เป็นการหารายได้อีกรูปแบบหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องเตรียมตัวและสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อออนไลน์ต่าง ๆ หรือจากการรวมกลุ่มกันของคนขายภาพ ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเสนอแนวคิดต่าง ๆ รวมถึงการช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการขายภาพออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เดียวกัน จนเกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ ผ่านการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนขายภาพทั่วโลก และทำให้คนขายภาพที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ในการขายภาพได้เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็น การเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนนักปฏิบัติออนไลน์ของคนขายภาพ เนื่องจากความต้องการของการใช้ภาพมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมถึงอุปกรณ์และเทคนิคในการถ่ายภาพที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบของการขายภาพออนไลน์จะขึ้นอยู่กับแต่ละตัวแทนของการขายภาพว่ามีแนวทางอย่างไรแต่โดยสรุปแล้ว องค์ประกอบของการขายภาพออนไลน์มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) คนขายภาพ (2) อุปกรณ์ถ่ายภาพ (3) ภาพถ่าย (4) เอกสารยืนยันตัวตน (5) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (6) บัญชีธนาคารและมีขั้นตอนในการขายภาพออนไลน์ 7 ขั้นตอน ดังนี้ (1) สมัคร (2) อัพโหลดรูปภาพ (3) ใส่คำอธิบายและคำสำคัญของภาพ (4) รอการตรวจสอบภาพ (5) ยืนยันตัวตน (6) กรอกภาษี และ (7) ระบุข้อมูลการจ่ายเงิน


การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ Rise Model, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, โชติกา ภาษีผล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Oct 2019

การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ Rise Model, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, โชติกา ภาษีผล, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ของผู้สอบจำแนกตามระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบของข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ในประเทศไทย 7 โรงเรียน คิดเป็นนักเรียน 786 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สอบในกลุ่มสูงมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯ สูงที่สุด (M = 6.80, SD = 1.054) รองลงมา คือ กลุ่มปานกลางมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในระดับปานกลาง (M = 5.43, SD = 1.258) และกลุ่มตํ่าที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาตํ่าที่สุด (M = 2.35, SD = 2.033) 2) ความสามารถของผู้เรียน (Group)และรูปแบบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯหลังการได้รับข้อมูลย้อนกลับ (F = 5.891, Sig. = 0.000) โดย ผู้สอบที่มีระดับความสามารถแตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม (สูง ปานกลาง และตํ่า) ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกันทั้ง 5 รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผล ประชากรได้แก่ผู้บริหาร และตัวแทนครูโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 2 คน จาก 750 โรง รวม 1,500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินกลยุทธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์กับลูกค้า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย (2) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อยและ (3) การส่งเสริมการขาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 2) กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การบริหารความสัมพันธ์ (2) การสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการจัดการศึกษา และ (3) การส่งเสริมจุดขาย และ 3) ในภาพรวม กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯที่พัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วรางคณา โสมะนันทน์, ไพศาล แย้มวงษ์ Oct 2019

ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วรางคณา โสมะนันทน์, ไพศาล แย้มวงษ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศของนักศึกษาด้วยการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ และเพื่อศึกษาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งจำนวน 8 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ (2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศตามแนวพุทธศาสตร์ และ (3) คำถามแบบมีโครงสร้างในการศึกษาประสบการณ์การปรึกษาแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test และการวิเคราะห์จำแนกชนิดข้อมูลผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองสะท้อนความคิดว่า สามารถแยกความแตกต่างระหว่างแรงจูงใจเทียม (มานะ) และแรงจูงใจแท้ (ฉันทะ) ได้ นอกจากนี้ กลุ่มทดลองเกิดความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการมีแรงจูงใจใฝ่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง


A Study Of Creating Personal Learning Environments By Students Of The Faculty Of Education Majoring In Computer Education, Chayakarn Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva Oct 2019

A Study Of Creating Personal Learning Environments By Students Of The Faculty Of Education Majoring In Computer Education, Chayakarn Keereerat, Jaitip Na-Songkhla, Siridej Sujiva

Journal of Education Studies

This study aims at exploring the components and learning processes of personal learning environments shaped by students of the Faculty of Education majoring in computer education. The participants of the study were 37 students of the Faculty of Education at Chulalongkorn University who took computer programming courses selected using the purposive sampling technique. The research instruments were a questionnaire and an observation form about making use of personal learning environments. The data were collected during and after the semester, analyzed using standard statistics, namely percentage, average, and standard deviation, and examined as concept maps. The results showed that there were …


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช, อัมพร ม้าคนอง Oct 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กุลนิดา ปลื้มปิติวิริยะเวช, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คนและกลุ่มควบคุม 32 คนใช้เวลาในการทดลอง 24 คาบ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ชั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ชั้นตอน คือ 1) การพัฒนากระบวนการเรียน การสอนตามแนวคิดการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ 2) การทดลอง ใช้กระบวนการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Oct 2019

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) วิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ 21,812 คน ตัวอย่าง 1,040 คนใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิงโดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม SPSS for Window Version 21 และ R
ผลการวิจัย (1) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู คือ รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ (2) โมเดลเชิงสาเหตุ 4 รูปแบบ คือ แบบคลินิก (X2 = 489.3)แบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (X2 = 450.93) แบบพัฒนาตนเอง (X2 = 497.684) และแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร(X2 = 480.243) มีความสอดคล้องเชิงประจักษ์ โดยมีค่า p-value = .000 ทุกรูปแบบ (3) ความหลากหลายของโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศมี 4 โมเดล คือ โมเดลเชิงสาเหตุแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) 2. โมเดลเชิงสาเหตุแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.42) 3. โมเดลเชิงสาเหตุแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0.79) 4. โมเดลเชิงสาเหตุแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุด (β = 0 .36)


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน Oct 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนิน การวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ และระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชั้นตอน ได้แก่ ชั้นกำหนด ปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริง ชั้นศึกษาข้อมูลของสถานการณ์หรือปัญหากำหนดให้ ชั้นลงมือปฏิบัติ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ชั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชั้นหาข้อสรุปทั่วไปที่เป็นแบบแผน และชั้นประยุกต์และขยายองค์ความรู้ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อัครพล พรมตรุษ, อุเทน ปุ่มสันเทียะ Oct 2019

มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อัครพล พรมตรุษ, อุเทน ปุ่มสันเทียะ

Journal of Education Studies

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และ (2) หาสาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางการเรียนเรื่อง อสมการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียน 2 รูปแบบได้แก่ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านภาษา และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางด้านทฤษฎีบท กฎ สูตร บทนิยาม หรือสมบัติ และ (2) สาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ได้แก่การแปลความหมายของศัพท์เฉพาะผิด การไม่เข้าใจความหมายของประโยคข้อความ การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการบวกของการไม่เท่ากัน การเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สมบัติการคูณของการไม่เท่ากัน และพื้นฐานทางการคำนวณอยู่ในระดับตํ่า


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล Oct 2019

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 375 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายฉบับเท่ากับ 0.88 โดยเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา ทำให้ได้ตัวแปร 37 ตัวบ่งชี้ที่ไม่เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์ (Bartlett’s test: χ2 = 28487.57, df = 666, p = .00) มีค่า KMO = 0.89ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเมื่อหมุนแกนโดยวิธีแวริแมกซ์แล้ว พบว่าได้ 10 องค์ประกอบ ได้แก่1) การทำงานเป็นทีม 2) ความเป็นผู้นำของผู้นำ 3) ความไว้วางใจ 4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) ทรัพยากรมนุษย์6) การให้บริการ 7) การสื่อสาร 8) มนุษยสัมพันธ์ 9) การกระจายอำนาจ และ 10) การบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 95.23 โดยองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมมีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด (ร้อยละ 44.85) และองค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีร้อยละความแปรปรวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 2.71) ดังนั้นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 10 นี้ เพื่อพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะเหล่านี้ต่อไป


การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง Oct 2019

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตย และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยของสถานศึกษาปฐมวัย ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำชั้นระดับอนุบาล อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยแต่ละข้อมีความสำคัญอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คุณลักษณะที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ เคารพข้อตกลง กฎ กติกา และมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มและเรียนรู้จากกลุ่ม 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้ออันดับแรก คือ บูรณาการผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงให้เกิดความเข้าใจและได้ซึมซับทักษะประชาธิปไตย รองลงมา คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และวินัยในตนเองในทุกกิจกรรมประจำวันตามโอกาสและเหมาะกับวัย และให้เด็กร่วมกันคิด ใช้เหตุผลตามวัยในการกำหนดข้อตกลงในห้องเรียน และการเคารพข้อตกลง กฎ กติกา


การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ชมนาถ ลือภูเขียว, สุรชัย สิกขาบัณฑิต Oct 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ชมนาถ ลือภูเขียว, สุรชัย สิกขาบัณฑิต

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการและการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้ แก่ผู้บริหารและครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 320 คนเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1) การบริหารวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.53) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านพัฒนาหลักสูตร ด้านพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51) ค่าเฉลี่ยคะแนนจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบุคลากรด้านเทคโนโลยี ด้านวัฒนธรรม และด้านโครงสร้าง 3) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีความสัมพันธ์กับการบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างด้านวัฒนธรรม ด้านเทคโนโลยี และด้านบุคลากร (R2 = 0.606, F = 88.087, p-value = 0.000)


Evaluation Of An Early Childhood Teacher Education Curriculum In Lao People's Democratic Republic (Lao Pdr), Udomluck Kulapichitr Oct 2019

Evaluation Of An Early Childhood Teacher Education Curriculum In Lao People's Democratic Republic (Lao Pdr), Udomluck Kulapichitr

Journal of Education Studies

This study aimed to 1) evaluate the early childhood teacher education curriculum, Bachelor’s Degree programme in Dongkhamxang teacher training college in Lao PDR, and 2) identify areas for improvement of the early childhood teacher education curriculum, Bachelor’s Degree programme in Dongkhamxang teacher training college in Lao PDR. The evaluation methodology was a CIPP model consisting of 5 components: content, input, process, product and impact by Stufflebeam. The total number of population and samples from purposive sampling was 333. The population consisted of college administrators, lecturers, graduates, and 2nd year to 4th year current students. Samples from purposive sampling consisted of …


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2019

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 66 คน โรงเรียนบางแพปฐมพิทยาคม แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ จำนวน 33 คน และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที”
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนะนําหนังสือ, ณิชาภัทร โทนรัตน์ Oct 2019

แนะนําหนังสือ, ณิชาภัทร โทนรัตน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


A Visualization System Using Positive Reinforcement Theory To Develop Problem-Solving Skills And Self-Esteem In Young College-Educated Farmers, Kanjanida Kittisuban, Jintavee Khlaisang Oct 2019

A Visualization System Using Positive Reinforcement Theory To Develop Problem-Solving Skills And Self-Esteem In Young College-Educated Farmers, Kanjanida Kittisuban, Jintavee Khlaisang

Journal of Education Studies

This paper proposes a technique called the Visualization System using Positive Reinforcement Theory (VSPR) to develop problem-solving skills and self-esteem in young college-educated farmers. The research comprised four major steps (1) interviews with 10 faculty members from university Agricultural departments to identify current problems in the classroom, as well as 432 undergraduate students from Agricultural departments in order to generate opinions, suggestions and requirements with regard to development of VSPR software, (2) development of VSRP prototype software, (3) testing VSRP prototype software with undergraduate students from university Agricultural departments, and (4) interviews with experts in order to solicit opinions and …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, กนกวรรณ มณฑิราช, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Oct 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, กนกวรรณ มณฑิราช, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านการรับรู้หรือความตระหนักในความสำคัญของ ทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะ ด้านทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามที่ใช้กับนักศึกษา 383 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใช้กับ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 36 คน จาก 9 สถาบัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การรับรู้ในความสำคัญด้านคุณลักษณะของทักษะซีซีพีอาร์ ของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระตับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างผลผลิตและด้านการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบและความคิดสร้างสรรค์ และพบว่าขนาดของสถาบัน การศึกษามีผลต่อระดับการรับรู้คุณลักษณะด้านทักษะซีซีพีอาร์ โดยในสถาบันขนาดใหญ่และกลางอยู่ใน ระดับมาก ส่วนสถาบันขนาดเล็กอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะ ด้านทักษะซีซีพีอาร์ ได้แก่ 1. ผู้บริหารสถาบันการศึกษา: นโยบายการบริหารสถาบัน ทัศนคติด้านการพัฒนา เยาวชนรุ่นใหม่ 2. ผู้สอน: ค่านิยมของผู้สอน วิธีการสอน 3. ผู้เรียน: ฐานะ พื้นฐานประสบการณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หรือทัศนคติที่มีต่อการเรียน 4. สภาพแวดล้อม: การจัดสถานที่การเรียนการสอน กิจกรรมเสริม ในชั้นเรียนและในชีวิตประจำวัน


การพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับเด็กอนุบาล, ธัญวรัตน์ โหสุภา, วรวรรณ เหมชะญาติ Oct 2019

การพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับเด็กอนุบาล, ธัญวรัตน์ โหสุภา, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล โดยมีระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาล การสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล การสอนแบบเน้นงานปฏิบัติ ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติ 3 ขั้น คือ 1) เปิดประสบการณ์:การทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษและหน่วยการเรียนรู้ผ่านการพูดคุย หรือการเล่นเกม2) ขยายประสบการณ์: การแนะนำคำศัพท์ใหม่จากหน่วยการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานพร้อมให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ 3) สรุป: การสรุปความรู้ด้วยการถามคำถามหรือสนทนาเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากหน่วยการเรียนรู้ที่ได้เรียนรู้ไป การประเมินผลความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลใน 2 ด้าน คือ ด้านการเชื่อมโยงคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับรูปภาพหรือวัตถุสิ่งของ (การฟัง) และด้านการเชื่อมโยงรูปภาพหรือวัตถุสิ่งของกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ (การพูด)ซึ่งกรอบแนวคิดที่ได้นำไปพัฒนาต่อในการดำเนินการวิจัยผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร


สภาพปัญหาและความต้องการการบริการแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน, ประกายดาว แก้วชัยเถร, อาชัญญา รัตนอุบล Oct 2019

สภาพปัญหาและความต้องการการบริการแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน, ประกายดาว แก้วชัยเถร, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการของเยาวชนในการใช้แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นเยาวชนที่เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอศิลป์ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และสวนสาธารณะ จำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบและแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าสภาพการใช้บริการของแหล่งเรียนรู้เยาวชนเลือกใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.58 ปัญหาการบริการของแหล่งการเรียนรู้พบว่าเยาวชนมีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอยไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการในการใช้แหล่งเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (M = 3.58) ความต้องการการบริการของแหล่งเรียนรู้พบว่าเยาวชนมีความต้องการในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ให้บริการของแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (M = 4.05) จากนั้นนำผลที่ได้พัฒนาเป็นแนวทางในการจัดแหล่งเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ เนื้อหากิจกรรม ทรัพยากรการเรียนรู้ สถานที่ การบริหารจัดการ และส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งแนวทางในการจัดแหล่งเรียนรู้สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และจัดแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องตามความต้องการและความสนใจของเยาวชนมากขึ้น


การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน, ยุพเรศ พญาพรหม Oct 2019

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน, ยุพเรศ พญาพรหม

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติในรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเจ็บป่วย ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมฯ และ ขั้นที่ 4 การประเมินผลรูปแบบกิจกรรมฯ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบกิจกรรม 2) เป้าหมาย 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบกิจกรรม 4) เนื้อหาสาระ 5) วิธีการดำเนินกิจกรรม และ 6) การวัดและประเมินผล โดยรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวม เท่ากับ 0.88 ในด้านประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมฯพบว่านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น และมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักศึกษา(ร้อยละ 80) มีทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก นอกจากนี้พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการให้ความรู้ของนักศึกษาในระดับมาก