Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 61 - 62 of 62

Full-Text Articles in Education

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนาด้านจิตพิสัย ที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, ปาริฉัตร ทองเนื้อแข็ง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2015

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนาด้านจิตพิสัย ที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, ปาริฉัตร ทองเนื้อแข็ง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดพัฒนา ด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิชากร จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือนักเรียน กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 35 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 8 แผนมีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 0.78 แบบวัดเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้และ การปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.82, 0.86, 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.92, 0.87, 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที? ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้าน ความรู้และการปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนด้านความรู้และการปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก Jan 2015

การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี กรณีศึกษาชุมชนบ้านแพะดอนตัน ตำบลชมพู จังหวัดลำปาง, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาความรู้จำเป็นต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชน สุขภาพดี 2) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุข ภาพดี 3) เพื่อศึกษาผล การใช้สื่อต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุมชนหลัง จากได้ใช้สื่อเพื่อสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย 121 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบผสม (Mixed sampling method) ใช้วิธีเลือกแบบสมัครใจ 45 คน วิธีเลือกแบบเจาะจง 26 คน วิธีเลือกแบบตามความสะดวก 50 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สื่อวีดิทัศน์เพื่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี แบบสอบถามประเมินผลก่อน-หลังกระบวนการเรียนรู้จากสื่อ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD), การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้จำเป็นต่อการสร้างความตระหนักสุขภาวะชุมชนสุขภาพดี คือ ความรู้ การบริโภคอาหาร ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วยอันตรายจากการรับประทาน อาหารประเภทต่างๆ 2) การพัฒนาสื่อโดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับสร้างความตระหนักสุขภาวะ ชุมชนสุขภาพดี ทำให้ได้วีดีทัศน์ รูปแบบสารคดีสั้น ชุด "ของกินบ้านเฮา" 3) ผลความตระหนักสุขภาวะ สุขภาพดีของชุมชน ค่าเฉลี่ยการประเมินก่อนและหลัง คือ 3.28/4.60 พบว่า หลังการเรียนรู้ผ่านสื่อ มีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) การวิเคราะห์ความพึงพอใจของชุมชนต่อสื่อสร้างความตระหนัก สุขภาวะชุมชนสุขภาพดี อยู่ในระดับมาก (X = 4.39, SD = 0.50) โดย ความพึงพอใจสูงสุด คือ สื่อความหมายและสร้างความรู้สึกร่วมได้