Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 62

Full-Text Articles in Education

การวิจัยปฏิบัติการเชิงคุณภาพ: ถอดบทเรียนจากการศึกษาดูงานฟินแลนด์, วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช Jul 2015

การวิจัยปฏิบัติการเชิงคุณภาพ: ถอดบทเรียนจากการศึกษาดูงานฟินแลนด์, วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช

Journal of Education Studies

บทความชิ้นนี้นำเสนอหลักคิดและวิธีการในการนิเทศนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพของประเทศฟินแลนด์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ พร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยที่ทำโดยคณาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ซึ่งมีมาตราฐานและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังนำเสนอตัวอย่างการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมความไว้เนื้อเชื่อใจในการทำงาน และ การให้ความสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการศึกษาฟินแลนด์ มาบูรณาการร่วมกับการวิจัยปฏิบัติการในการนิเทศการสอนวิชาดนตรีในบริบทของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม


สร้างครูมืออาชีพไม่ยากอย่างที่คิด, ลัดดา ภู่เกียรติ Jul 2015

สร้างครูมืออาชีพไม่ยากอย่างที่คิด, ลัดดา ภู่เกียรติ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติสำหรับมหาวิทยาลัยด้านการบินของประเทศไทย, นปภา ภทรกมลพงษ์, อภิภา ปรัชญพฤทธิ, ปทีป เมธาคุณวุฒิ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติสำหรับมหาวิทยาลัยด้านการบินของประเทศไทย, นปภา ภทรกมลพงษ์, อภิภา ปรัชญพฤทธิ, ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การบริหารการจัดหลักสูตร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของสถาบันอุดมศึกษาในการเปิดสอนหลักสูตรด้านการบินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พัฒนารูปแบบของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทย และพัฒนากลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทย โดยการใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบ EDFR ในการพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน และใช้เทคนิควิธีวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและตารางวิเคราะห์การจับคู่จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (TOWS Matrix) ในการพัฒนากลยุทธ์มหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวม การบริหารจัดการของหลักสูตรด้านการบินของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสามารถดำเนินการอยู่ได้ แม้ว่าบางสถาบันจะเผชิญกับข้อจำกัดดังต่อไปนี้ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการบิน ค่าตอบแทน อาคารสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศไม่ค่อยพบปัญหาเหล่านี้ 2) รูปแบบของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบของมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาบัณฑิต เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในกำกับของรัฐ มีวิทยาเขตเดียว มีหลักสูตรเป็นหลักสูตรทางด้านการบินที่มีมาตรฐานระดับสากล มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางด้านการเรียนการสอนเฉพาะทาง และการวิจัยและพัฒนาทางด้านการบิน พัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการบิน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก และ3) กลยุทธ์ในการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้ มี 7 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์สร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน (2) กลยุทธ์พัฒนาขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยไปสู่มาตรฐานระดับนานาชาติที่สูงขึ้น (3) กลยุทธ์บริหารงานทั่วไปด้วยคุณภาพระดับสากล (4) กลยุทธ์บริหารวิชาการด้วยคุณภาพระดับสากล (5) กลยุทธ์บริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินระดับชาติและนานาชาติ (6) กลยุทธ์บริหารการเงินด้วยคุณภาพระดับสากล และ (7) กลยุทธ์บริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยคุณภาพระดับสากล


องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ Apr 2015

องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ปิยะ ศักดิ์เจริญ

Journal of Education Studies

การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือการศึกษาตลอดชีวิต นับเป็นกระแสหลักของสังคมในปัจจุบันที่ต้องการให้ประชาชนในสังคมได้ตระหนักถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องที่ไม่ได้สิ้นสุดลงหลังจบการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดแทรกไปในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ความรู้จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นมีอยู่หลายกิจกรรม ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอองค์ประกอบที่สำคัญต่อการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อันได้แก่ การฝึกปฏิบัติจากการทำงานจริง หรือ การฝึกอบรมในงาน การศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษานอกระบบ ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ที่กล่าวมานี้ล้วนมีส่วนช่วยผลักดันให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาย่อมทำให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต และการที่สังคมมีประชาชนจำนวนมากที่เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำให้สังคมแห่งนั้นกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน องค์กร จนถึงสังคมเมือง


แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2015

แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร, ดวงกมล บุญวาสนะนันท์, จุฑามาศ บัตรเจริญ, อัจฉรา เสาว์เฉลิม Apr 2015

สภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร, ดวงกมล บุญวาสนะนันท์, จุฑามาศ บัตรเจริญ, อัจฉรา เสาว์เฉลิม

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่านพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เท่ากับ 0.84 ได้ค่า Reliability ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และติดตามด้วยตนเองไปยังประชากรเป้าหมาย จำนวน 336 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าด้านครูผู้สอนแต่ละโรงเรียนมีครูผู้สอนวิชาพลศึกษา 2-3 คนจบวุฒิการศึกษาด้านสาขาวิชาพลศึกษาโรงเรียนส่วนใหญ่จัดทำสาระหลักสูตรด้วยตัวเอง จัดให้มีการเรียนการสอนพลศึกษาทุกชั้นปีสถานที่ในการจัดการเรียนวิชาพลศึกษาเป็นสนามกลางแจ้งมีความปลอดภัยเพียงพอ เหมาะสม ถูกสุขลักษณะ โครงสร้างวิชาพลศึกษากำหนดเป็นสาระพื้นฐานเรียน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์เป็นส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์ในการตัดสินคะแนนประกอบด้วยด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านทักษะ ด้านสมรรถภาพทางกายและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ซึ่งกำหนดการให้คะแนนเท่ากับ 20, 20, 40, 20, 20 ตามลำดับ


การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์, อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ, สุวิมล ว่องวาณิช Apr 2015

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์, อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ, สุวิมล ว่องวาณิช

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์ การพัฒนารูปแบบฯ มีขั้นตอนคือ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ และ 3) การทดลองใช้ โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .865 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน (2P-CARE) ซึ่งมีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นการนำเสนอเรื่องเล่า ขั้นการรับรู้ประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม ขั้นการรวบรวมข้อมูลสำคัญ ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ ขั้นการตัดสินใจร่วมกันและวางแผนการปฏิบัติ และขั้นการประเมินผลและสะท้อน (4) การกำหนดเนื้อหาการสอน (5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และ (6) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเรียนตามรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวันได้


กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกกระทรวงสาธารณสุข, รัตติยา ฤทธิรงค์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Apr 2015

กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกกระทรวงสาธารณสุข, รัตติยา ฤทธิรงค์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige 2) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาศูนย์แพทยศาสตศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งหมด 33 ศูนย์ โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกรณีศึกษาศูนย์แพทย์ฯ ที่มีการปฏิบัติที่ดี 4 ศูนย์ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige มีค่าเฉลี่ยอยู่ในกระดับปานกลาง (= 3.19) โดยด้านการนำองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (= 3.42) และด้านผลลัพธ์การดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 3.04) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุขเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศตามแนวคิดของ Malcolm Baldrige มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.45) โดยด้านการนำองค์กรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (= 4.51) ส่วนด้านผลลัพธ์การดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (= 4.42) ค่าดัชนี PNIModified ความต้องการจำเป็นของการบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข โดยภาพรวมมีค่า PNIModified = 0.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าประเด็นที่มีลำดับความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กร (PNIModified = 0.56) ด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นน้อยที่สุดคือ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNIModified = 0.56) (2) กลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กระทรวงสาธารณสุข มี 4 กลยุทธ์หลัก คือ 1) กลยุทธ์พัฒนาผลลัพธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศระดับสากล 2) กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะหลักของอาจารย์และบุคลากร 3) กลยุทธ์พัฒนาระบบการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 4) กลยุทธ์พัฒนาการจัดกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2015

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


มุมห้องเรียน, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Apr 2015

มุมห้องเรียน, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ผจงสุข เนียมประดิษฐ์, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ผจงสุข เนียมประดิษฐ์, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกิจการนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 12 แห่ง จำนวน 1,320 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 - 2 โดยใช้โปรแกรม LISREL และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 24 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักของการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบเรียกว่า M.A.I.N. Model ได้แก่ 1.1) งานด้านส่งเสริมคุณธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล (Moral) 1.2) งานด้านกิจกรรม (Activity) 1.3) งานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ การเงิน/ประหยัดเงิน (Income) 1.4) งานด้านเครือข่ายและการนำงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Network) 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลมี 4 มิติ คือ มิติที่ 1 การกำหนดหลักการและเหตุผล มิติที่ 2 วัตถุประสงค์และคุณลักษณะการบริหาร ได้แก่ 2.1) ความพอประมาณที่พอดีเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.2) ความมีเหตุผลในการปฏิบัติโดยมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของสังคม 2.3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 2.4) ความรอบรู้ 2.5) คุณธรรมส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เรียกว่า แนวคิด P.O.P.U.L.A.C.E. คือ จิตสาธารณะ/การมีส่วนร่วม (Participatory) ความโปร่งใสซื่อตรง (Open) ความอดทน (Patient) ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unitary) กฎระเบียบที่เป็นธรรม (Lawful) ความรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง (Accountable) ความเพียรการเอาใจใส่ (Careful) ความเสมอภาคเท่าเทียม (Equal) มิติที่ 3 โครงสร้างหรือองค์ประกอบหลัก คือ M.A.I.N. Model และมิติที่ 4 การดำเนินการหรือแนวทางการบริหารมี 3 แนวทาง


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Apr 2015

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เวลาในการทดลอง 36 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ความถี่การวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การนำการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการสอนแบบกลุ่มเรื่องคีย์บอร์ดสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีมาใช้ในการเรียนการสอน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Apr 2015

การนำการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการสอนแบบกลุ่มเรื่องคีย์บอร์ดสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีมาใช้ในการเรียนการสอน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) และเพื่อทดลองใช้และศึกษาติดตามผลจากการศึกษาวิธีสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียน การสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรีที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี ตัวอย่างวิจัย นิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรีได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ วิธีการสอนแบบกลุ่ม สื่อการเรียนการสอน แบบสอบถามเจตคติต่อการเล่นเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด แผนการสอนและประมวลรายวิชา 2737118 แบบวัดความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ t ชนิดตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t dependent) หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X,S.D.) ของประสิทธิภาพของความพึงพอใจในการเรียนรายวิชา2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์วิธี การสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรี ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี สรุปได้ว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นครั้งนี้สามารถนำไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการวิเคราะห์จากการทดลองใช้และศึกษาติดตามผลจากการศึกษาวิธีสอน (การจัดการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน) ในรายวิชา 2737118 คีย์บอร์ดขั้นพื้นฐาน (Elementary Keyboard) แบบกลุ่มสำหรับนิสิตปริญญาตรี ที่ไม่มีสมรรถภาพพื้นฐานทางดนตรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 92.32/80.35 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย ก่อนและหลัง การเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทักษะการเล่นเครื่องคีย์บอร์ดมีค่าเท่ากับ 92.7 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่า ผลการประเมินด้านทักษะ การเล่นคีย์บอร์ดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และ ความพึงพอใจในวิธีการความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนวิชาคีย์บอร์ด อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (= 4.78) เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าผลคะแนนรวมจากแบบวัดความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าระดับมาก


เรือนไทย: อัตลักษณ์แห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, Attayanan Jitrojanaruk, Hatairath Tubporn Apr 2015

เรือนไทย: อัตลักษณ์แห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, Attayanan Jitrojanaruk, Hatairath Tubporn

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Apr 2015

เปิดประเด็น, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Apr 2015

คิดนอกกรอบ, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซนต์ไขมันในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, ณัฐวุฒิ ฉิมมา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Apr 2015

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซนต์ไขมันในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, ณัฐวุฒิ ฉิมมา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันในนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงเรียนวิชากร จำนวน 46 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 23 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 23 คน ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดน้ำหนักและเปอร์เซ็นต์ไขมันมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.98 และเครื่องชั่งน้ำหนักและวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันทานิต้า (Tanita Model: UM-076) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบทีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สามารถลดน้ำหนักตัวและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้ดังนี้1) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ลดลงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวและเปอร์เซ็นต์ไขมันของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ลดลงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย, พระมหาสนอง จำนิล, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย, พระมหาสนอง จำนิล, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย 2)วิเคราะห์แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 78 รูป/คน โดยแบ่งผู้สัมภาษณ์ 26 รูป/คน และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 78 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 81 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 หลักการ และ 19 แนวทาง ดังนี้ หลักการมี 6 หลัก ประกอบด้วย 1) ความตระหนักในหน้าที่ 2) การเผยแผ่ศาสนาอย่างกว้างไกล 3) การดำเนินงานด้านการเผยแผ่อย่างต่อเนื่อง 4) การสงเคราะห์ประชาชนทุกระดับ 5) ความเป็นประโยชน์ต่อชีวิตชาตินี้ และ 6) การแสวงหาและสร้างกัลยาณมิตร ส่วนแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 19 ประการ ประกอบด้วย 1) การเปิดใจยอมรับฟังคำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ 2) การสอนแบบบรรยาย 3) การถามตอบปัญหา 4) การสนทนาปราศรัยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5) การสอนด้วยทฤษฎี 4ส. คือ สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนา 6) การสอนด้วยปาฏิหาริย์ 3 คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนียปาฏิหาริย์ 7) การเสนอคำสอนที่เป็นแก่นแท้ 8) การประยุกต์/บูรณาคำสอนขึ้นมาใหม่ 9) คณะพระธรรมทูต 10) การปฏิรูปและปฏิวัติ 11) การแสดงพระธรรมเทศนา 12) การปรับบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น 13) การไปเยี่ยมบ้าน 14) …


กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจาก ความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโรงเรียนอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 1, โศรยา สาและ, สุดารัตน์ สารสว่าง Jan 2015

กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจาก ความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในโรงเรียนอำเภอกรงปินัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 1, โศรยา สาและ, สุดารัตน์ สารสว่าง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสภาพ การดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน จำแนกตามประสบการณ์การสอนและขนาดโรงเรียน ที่แตกต่างกัน รวมทั้งศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในเหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอำเภอกรงปินัง สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามคือข้าราชการ ครูในอำเภอกรงปินังจำนวน 105 คน กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์คือข้าราชการครูที่มีประสบการณ์ 11 ปี ขึ้นไปจำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า F-test t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนทั้งห้าด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการสร้างความเข้าใจให้ความรู้ ด้านการดำเนินการนิเทศ ด้านการ สร้างขวัญและกำลังใจ และด้านการประเมินผลการนิเทศ ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนอำเภอ กรงปินัง โดยภาพรวมและแต่ละด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการสร้างความเข้าใจ ให้ความรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์ การสอนต่างกันเกี่ยวกับการดำเนินการนิเทศภายในทั้งในภาพรวมและแต่ละด้านพบว่าไม่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ส่วนความคิดเห็นของครูที่สอนในโรงเรียนขนาดต่างกันโดยภาพรวมและแต่ละด้านพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ยกเว้นด้านการวางแผนการนิเทศไม่แตกต่างกัน ส่วนแนวทางและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับการดำเนิน การตามกระบวนการนิเทศภายใน พบว่า 1) ควรมีการสำรวจปัญหาและความต้องการครูในพื้นที่ก่อนการ นิเทศ 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการนิเทศภายใน และวิธีการนิเทศแบบใหม่ ๆ ให้เหมาะสมกับบริบท ของปัญหาในสถานการณ์จริง ให้บริการแก่ครูเป็นสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อออนไลน์เพื่อพัฒนาตนเอง 3) ควรมี การนิเทศภาคเรียนละ 2 ครั้งและใช้วิธีที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรียนและยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ 4) ควรให้รางวัลเป็นกำลังใจแก่ครูด้วยความยุติธรรม 5) ควรตรวจสอบปัญหาและอุปสรรคก่อนและหลัง การปฏิบัติงานนิเทศ


ความเสี่ยงในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อความจงรักภักดี ของนักศึกษา: บริบทการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา, อรพรรณ คงมาลัย Jan 2015

ความเสี่ยงในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยต่อความจงรักภักดี ของนักศึกษา: บริบทการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา, อรพรรณ คงมาลัย

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความเสี่ยงทางการตลาดในมุมมองของนักศึกษา ที่ส่งผลต่อความภักดีของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา และสนอแนะแนวทางการบริหารความเสี่ยงเพื่อ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเด็นเชิงกลยุทธ์ด้านการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของ มหาวิทยาลัยราชภัฏโดยระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการทบทวนทฤษฎี บทความและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยการจัดการความเสี่ยง, การตลาด, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และงานวิจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการระบุปัจจัย ความเสี่ยงในสถาบันอุดมศึกษา ในบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ประกอบด้วยปัจจัยความเสี่ยง ด้านการตลาดในมุมมองของนักศึกษาที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีโดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 และ 4 ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏชั้นนำ จำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้รับแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ทั้งสิ้นรวม 571 ชุด และ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ครั้งนี้และได้นำเสนอปัจจัยความเสี่ยงด้านการดำเนินงานของการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้ง 7 ปัจจัย ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติได้มีการจัดกลุ่มและรวมกลุ่มของปัจจัยทำให้เกิดเป็น 7C?s Higher Education ซึ่งเป็นปัจจัยด้านการดำเนินงานของภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา และนำมาสู่การวิเคราะห์ ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยงของ การศึกษาระดับอุดมศึกษา (7C?s Higher Education) และความภักดีของนักศึกษาที่มีต่อสถาบันมีอิทธิพล เชิงบวกต่อกันตามค่านำหนักสัมพันธ์เท่ากับ 0.43 โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.000 ซึ่งสามารถอธิบายถึง ผลกระทบในการดำเนินงานที่มีต่อความจงรักภักดีที่เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 18 (R2 = .18) ดังนั้นเพื่อสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขันองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อไป


คิดนอกกรอบ, ชญฏา รัตนาพต Jan 2015

คิดนอกกรอบ, ชญฏา รัตนาพต

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ Jan 2015

เปิดประเด็น, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21, เบญญาภา คงมาลัย, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Jan 2015

การพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21, เบญญาภา คงมาลัย, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

การพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนา สมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี ข้อมูลในการศึกษาวิจัย มี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ศึกษาเอกสารและสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963-2013 จำนวน 140 รายการ 2. นิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 618 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาหาความสอดคล้องจาก หนังสือ บทความ เอกสารอิเล็คโทรนิค แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) สมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 9 สมรรถนะ ได้แก่ (1) มีความรู้ด้านหลักการจัดการความรู้ (2) มีความรู้ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) มีทักษะด้านการบ่งชี้ความรู้ (4) มีทักษะในการจัดการความรู้ (5) มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (6) มีทักษะในการแบ่งปันความรู้ (7) มีทักษะการคิดและแก้ปัญหา (8) มีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ในการจัดการความรู้ และ (9) มีความรับผิดชอบ ในการแบ่งปันความรู้ 2) สรุปผลการประเมินสมรรถนะการจัดการความรู้ ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 9 สมรรถนะพบว่า สมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อ พิจารณารายข้อ พบว่า สมรรถนะที่ค่าเฉลี่ยตำสุดคือ สมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยี สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย …


การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มัลลิกา เกตุชรารัตน์, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์ Jan 2015

การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มัลลิกา เกตุชรารัตน์, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) กำหนดสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ 2) ศึกษาสมรรถนะที่มีอยู่จริงของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามที่กำหนดใน วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรง คุณวุฒิการสัมภาษณ์จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 351 คน เลือกโดยการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ และ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีดังนี้ 1) สมรรถนะด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน 2) สมรรถนะด้านการวิจัย 3) สมรรถนะด้านการให้บริการ วิชาการ 4) สมรรถนะด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้จากการศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหา ค่าเฉลี่ยตำสุด ดังนี้ สมรรถนะด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน สมรรถนะด้านการวิจัย สมรรถนะ ด้านการให้บริการวิชาการ และสมรรถนะด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า อาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโทและเอกมีสมรรถนะอยู่ในระดับมาก วุฒิปริญญาตรีมีสมรรถนะอยู่ใน ระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการสอน พบว่า อาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอน มากกว่า 25 ปีมีสมรรถนะอยู่ในระดับมากทุกด้าน


มุมห้องเรียน, มิ่งขวัญ ศิริโชติ Jan 2015

มุมห้องเรียน, มิ่งขวัญ ศิริโชติ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษา โดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมที่มีต่อมโนทัศน์และพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ภาสุดา ภาคาผล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2015

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษา โดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมที่มีต่อมโนทัศน์และพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ภาสุดา ภาคาผล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์และพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนม่วงไข่พิทยาคม จำนวน 65 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคม ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดมโนทัศน์ จิตสาธารณะ แบบประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะด้วยตนเองของนักเรียน แบบประเมินพฤติกรรมจิต สาธารณะของนักเรียนโดยครูและผู้ปกครอง และแบบสะท้อนความคิดของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดย ใช้กิจกรรมการบริการสังคมมีมโนทัศน์จิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่านักเรียนที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานในวิชาสังคมศึกษาโดยใช้กิจกรรมการบริการสังคมมีพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังเรียนสูงกว่าก่อน เรียนและสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก, มัทนา นิถานานนท์, สนั่น ประจงจิตร Jan 2015

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก, มัทนา นิถานานนท์, สนั่น ประจงจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการ ผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสาน งานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการกับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 537 คน คือผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการผู้รับผิดชอบโครงการในโรงเรียนดังกล่าวตั้งแต่ครั้งที่ 1-8 กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาด จากตารางสำเร็จรูปของ Yamane ได้ 222 คน เลือกโดยวิธีการการสุ่มหลายขั้นตอน เลือกผู้ตอบแบบ เจาะจงโรงเรียนละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมา จำนวน 195 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับของภาวะผู้นำใฝ่บริการของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรม โลกโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีองค์ประกอบด้านการมุ่งมั่นพัฒนาบุคคลค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงสุด รอง ลงมาคือการสร้างชุมชน ส่วนการฟังมีค่าเฉลี่ยในอันดับตำที่สุด 2) ระดับผลการปฏิบัติงานของครูผู้ประสาน งานโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกโดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในอันดับสูง โดยองค์ประกอบด้านกิจวัตร ประจำวันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับสูงที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรมสร้างสรรค์สังคม ส่วนด้านการจัดการ เรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในอันดับตำที่สุด 3) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของครูผู้ประสานงานโครงการฟื้นฟูศีลธรรม โลกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


แนะนำหนังสือ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ Jan 2015

แนะนำหนังสือ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา ที่มีต่อเจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2015

ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษา ที่มีต่อเจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในความหลากหลายทาง เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนระหว่างก่อนสอนและหลังสอนโดยใช้กิจกรรมการ ลดอคติ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และ วัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการลดอคติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษานารี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบวัดเจตคติ ความเข้าใจในความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน 2) แบบ สัมภาษณ์ความเข้าใจในความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในภูมิภาคอาเซียน และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรม ศึกษาจำนวน 13 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เจตคติความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ในประชาคมอาเซียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การเปลี่ยนแปลง เจตคติเกิดจากการได้เรียนรู้เนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีทักษะทางสังคมมากขึ้น มีกระบวนการคิดและมีการเรียนรู้จากมุมมองของผู้อื่น จาก การจัดกิจกรรมการลดอคติโดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การอภิปรายกลุ่มย่อย การแสดงละคร การใช้บทบาทสมมติ การใช้สถานการณ์จำลอง การใช้กรณีตัวอย่าง และการเผชิญสถานการณ์


การพัฒนาวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ, ชัยวัฒน์ หฤทัยพันธ์, ศิริชัย กาญจนวาสิ, โชติกา ภาษีผล Jan 2015

การพัฒนาวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ, ชัยวัฒน์ หฤทัยพันธ์, ศิริชัย กาญจนวาสิ, โชติกา ภาษีผล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อพัฒนา วิธีการสำหรับการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และประการที่สองเพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบในด้านอัตราความถูกต้อง และอัตรา ความคลาดเคลื่อนของผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบกับข้อสอบที่คัดสรรมาสำหรับ การทดลองเมื่อใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยแบบวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ วิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุม แบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด ตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 139 คน ซึ่งได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวินิจฉัย การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบจากผู้เชี่ยวชาญ แบบยืนยันการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ โดยประยุกต์เทคนิคการประชุมแบบเดลฟาย แบบสอบถามสำหรับการตรวจสอบความลำเอียงของข้อสอบ สำหรับนักเรียน ชุดข้อสอบสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับการตรวจสอบการทำหน้าที่ ต่างกันของข้อสอบสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ข้อสอบที่คัดสรรมาได้นำมาผ่านการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกัน ของข้อสอบโดยวิธีแมนเทล-แฮนส์เซล ด้วยโปรแกรม DDFS 1.0 และโปรแกรม DIFAS 5.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยการตัดสินของ ผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญมี 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 การวินิจฉัยการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญ วิธีที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมแบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และวิธีที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด 2) ข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันด้านเพศของแบบสอบสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาจากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราความถูกต้องระหว่างวิธี การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีทางสถิติกับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า วิธีที่ 1 การตรวจสอบด้วยแบบวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญ มีอัตราความถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 50 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ50 วิธีที่ 2 การประยุกต์ใช้เทคนิคการประชุมแบบเดลฟายจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีอัตราความถูกต้อง ตามฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญคิดเป็นร้อยละ 0 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบคิดเป็นร้อยละ 100 วิธีที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคนิคโปรโตคอลอะลาว์ด มีอัตราความถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 25 และมีอัตราความคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75