Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

2015

การประถมศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติสำหรับมหาวิทยาลัยด้านการบินของประเทศไทย, นปภา ภทรกมลพงษ์, อภิภา ปรัชญพฤทธิ, ปทีป เมธาคุณวุฒิ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติสำหรับมหาวิทยาลัยด้านการบินของประเทศไทย, นปภา ภทรกมลพงษ์, อภิภา ปรัชญพฤทธิ, ปทีป เมธาคุณวุฒิ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การบริหารการจัดหลักสูตร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของสถาบันอุดมศึกษาในการเปิดสอนหลักสูตรด้านการบินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พัฒนารูปแบบของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทย และพัฒนากลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทย โดยการใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบ EDFR ในการพัฒนารูปแบบมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน และใช้เทคนิควิธีวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและตารางวิเคราะห์การจับคู่จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (TOWS Matrix) ในการพัฒนากลยุทธ์มหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวม การบริหารจัดการของหลักสูตรด้านการบินของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยสามารถดำเนินการอยู่ได้ แม้ว่าบางสถาบันจะเผชิญกับข้อจำกัดดังต่อไปนี้ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการบิน ค่าตอบแทน อาคารสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่สถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศไม่ค่อยพบปัญหาเหล่านี้ 2) รูปแบบของมหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบินของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นนี้ เป็นรูปแบบของมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาบัณฑิต เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในกำกับของรัฐ มีวิทยาเขตเดียว มีหลักสูตรเป็นหลักสูตรทางด้านการบินที่มีมาตรฐานระดับสากล มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศทางด้านการเรียนการสอนเฉพาะทาง และการวิจัยและพัฒนาทางด้านการบิน พัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการบิน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ภูมิภาคอาเซียน และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก และ3) กลยุทธ์ในการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้ มี 7 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์สร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยนานาชาติด้านการบิน (2) กลยุทธ์พัฒนาขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยไปสู่มาตรฐานระดับนานาชาติที่สูงขึ้น (3) กลยุทธ์บริหารงานทั่วไปด้วยคุณภาพระดับสากล (4) กลยุทธ์บริหารวิชาการด้วยคุณภาพระดับสากล (5) กลยุทธ์บริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการบินระดับชาติและนานาชาติ (6) กลยุทธ์บริหารการเงินด้วยคุณภาพระดับสากล และ (7) กลยุทธ์บริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยคุณภาพระดับสากล


การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ผจงสุข เนียมประดิษฐ์, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ผจงสุข เนียมประดิษฐ์, พันธศักดิ์ พลสารัมย์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล 2) พัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกิจการนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 12 แห่ง จำนวน 1,320 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 - 2 โดยใช้โปรแกรม LISREL และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 24 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักของการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 องค์ประกอบเรียกว่า M.A.I.N. Model ได้แก่ 1.1) งานด้านส่งเสริมคุณธรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล (Moral) 1.2) งานด้านกิจกรรม (Activity) 1.3) งานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ การเงิน/ประหยัดเงิน (Income) 1.4) งานด้านเครือข่ายและการนำงานวิจัย/นวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Network) 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการนิสิตนักศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลมี 4 มิติ คือ มิติที่ 1 การกำหนดหลักการและเหตุผล มิติที่ 2 วัตถุประสงค์และคุณลักษณะการบริหาร ได้แก่ 2.1) ความพอประมาณที่พอดีเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.2) ความมีเหตุผลในการปฏิบัติโดยมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของสังคม 2.3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 2.4) ความรอบรู้ 2.5) คุณธรรมส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เรียกว่า แนวคิด P.O.P.U.L.A.C.E. คือ จิตสาธารณะ/การมีส่วนร่วม (Participatory) ความโปร่งใสซื่อตรง (Open) ความอดทน (Patient) ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unitary) กฎระเบียบที่เป็นธรรม (Lawful) ความรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง (Accountable) ความเพียรการเอาใจใส่ (Careful) ความเสมอภาคเท่าเทียม (Equal) มิติที่ 3 โครงสร้างหรือองค์ประกอบหลัก คือ M.A.I.N. Model และมิติที่ 4 การดำเนินการหรือแนวทางการบริหารมี 3 แนวทาง