Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 62

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขาเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ชัยยศ เดชสุระ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ Oct 2015

การพัฒนาโปรแกรมโดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขาเพื่อสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ชัยยศ เดชสุระ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์แนวคิด องค์ประกอบการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักพุทธธรรมไตรสิกขา เพื่อพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมจิตสาธารณะนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลอง คือนักศึกษาปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลอง 8 วัน 3 ระยะ รวม 48 ชั่วโมง โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แผนการจัดกิจกรรม แบบวัดจิตสาธารณะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม โดยวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระแก่กัน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ แนวคิด องค์ประกอบ พบว่า มีหลักคิดสำคัญ คือการน้อมนำประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ด้านดำเนินการจัดกิจกรรม และมีขั้นการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลักไตรสิกขา 3 ขั้นตอนคือ ศีล สมาธิ และปัญญา 2) ผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม พบว่า (3.1) ระดับพฤติกรรมจิตสาธารณะในภาพรวม สูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการวิเคราะห์เนื้อหา มีการพัฒนาด้าน กาย ศีล จิต ปัญญา ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.2) ผลการประเมินโครงการสร้างเสริมจิตสาธารณะ ทุกโครงการผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด (3.3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม อยู่ในระดับมากที่สุด


การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วราธัช ตันติวรวงศ์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Oct 2015

การนำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วราธัช ตันติวรวงศ์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลให้กับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติในเรื่องคุณลักษณะธรรมาภิบาล (3) เปรียบเทียบเรื่องการตระหนักและการรับรู้ในเรื่องแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะธรรมาภิบาลระหว่างนิสิตนักศึกษาและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (4) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปี ระหว่าง พ.ศ. 2551 ? 2557 และผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการพัฒนานิสิตนักศึกษาให้มีคุณลักษณะธรรมาภิบาลของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมควรได้รับการถ่ายทอดแนวปฏิบัติจากผู้ประกอบการวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลดีเด่นแห่งปีในฐานะผู้ประกอบการต้นแบบที่มีประสบการณ์จริงฝังลึกอยู่ในตัวบุคคลและมีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้นิสิตนักศึกษาในบทบาทของเจ้าของกิจการสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติที่สมดุลระหว่างการแสวงหาผลกำไรทางธุรกิจและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมโดยผู้ประกอบการต้นแบบต้องมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และสร้างสัมพันธภาพอย่างตื่นตัวกับนิสิตนักศึกษาผ่านกิจกรรมเสริมการเรียนรู้นอกเหนือหลักสูตรในสถานประกอบการจริง โดยเน้นแนวปฏิบัติที่ดีต่อ (1) พนักงาน (2) ผู้บริโภคหรือลูกค้าและคู่ค้า และ (3) สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ล้วนสัมพันธ์กับหลักธรรมาภิบาล 6 ประการคือ (1) หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (2) หลักคุณธรรม (3) หลักการมีส่วนร่วม (4) หลักนิติธรรม (5) หลักความคุ้มค่าและ (6) หลักความโปร่งใส


การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน, เกศรารัตน์ สิงห์คำ, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Oct 2015

การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน, เกศรารัตน์ สิงห์คำ, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากการวิจัยและการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิด นีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส และการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดนและศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินความต้องการด้านสุขภาพ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดทัศนคติด้านสุขภาพ แบบสอบถามการปฏิบัติตนด้านสุขภาพ และ แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและการแพทย์วิถีธรรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของตำรวจตระเวนชายแดนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีกระบวนการดังนี้ 1) การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ 2) สร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับตนเอง 3) การบรรยายความรู้ 4) การสาธิต 5) การฝึกปฏิบัติ 6) การประเมินผลการเรียนรู้ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ร้อยละ 80 มีความพอใจในกิจกรรมที่จัดขึ้นในระดับพึงพอใจมากและมีความรู้ การปฏิบัติตนด้านสุขภาพและมีทัศนคติสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และมโนทัศน์ฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร, อมรรัตน์ บุบผโชติ Oct 2015

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการตั้งปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และมโนทัศน์ฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร, อมรรัตน์ บุบผโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ระหว่างก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการตั้งปัญหา 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ระหว่างก่อน และหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการตั้งปัญหา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยการตั้งปัญหากับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ 4) เปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยการตั้งปัญหากับกลุ่มที่เรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 ห้องเรียน โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบวิชา ว33204 ฟิสิกส์ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน เรียนฟิสิกส์โดยการตั้งปัญหา และกลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน เรียนฟิสิกส์ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.30?0.73 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.54 และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84 2) แบบวัดมโนทัศน์ เรื่อง ความร้อน และทฤษฎีจลน์ของแก๊ส มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.30?0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27-0.60 และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.71 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีมโนทัศน์ฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เรียนโดยการตั้งปัญหามีมโนทัศน์ฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับทางสถิติ .05


คิดนอกกรอบ : เหยื่อ เด็กคือนักดื่นหน้าใหม่, วรวรรณ เหมชะญาติ Oct 2015

คิดนอกกรอบ : เหยื่อ เด็กคือนักดื่นหน้าใหม่, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น เตรียมเด็กอนุบาลอย่างไรให้ขึ้น ป.1 แบบพร้อมเรียนรู้, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Oct 2015

เปิดประเด็น เตรียมเด็กอนุบาลอย่างไรให้ขึ้น ป.1 แบบพร้อมเรียนรู้, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, ณิชา ฉิมทองดี, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห Oct 2015

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, ณิชา ฉิมทองดี, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่เป็นไปได้และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง สภาพที่เป็นไปได้และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) จุดแข็ง ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมและการเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ จุดอ่อน ได้แก่ การวัดความสามารถขององค์การและการให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรม โอกาส ได้แก่ นโยบายด้านการศึกษาของรัฐและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนสภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นภาวะคุกคาม 3) กลยุทธ์หลักการบริหารโรงเรียนเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการป้องกันภาวะคุกคามในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (2) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการป้องกันภาวะคุกคามในการจัดกระบวนการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ (3) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนในการเสริมสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (4) เสริมโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการวัดความสามารถขององค์การในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และ (5) เสริมจุดแข็งและโอกาสควบคู่กับการลดจุดอ่อนและป้องกันภาวะคุกคามในการให้รางวัลผู้สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้


จับกระแสการศึกษา, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Oct 2015

จับกระแสการศึกษา, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


บทบาทของครูสุขศึกษากับกระบวนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อ, จินตนา บันลือศักดิ์ Oct 2015

บทบาทของครูสุขศึกษากับกระบวนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อ, จินตนา บันลือศักดิ์

Journal of Education Studies

ครูสุขศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทัศนคติและมีทักษะ พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต ยิ่งในปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารส่งต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว สื่อการเรียนรู้ จึงเป็นเครื่องมีอสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถพัฒนา ผู้เรียนในด้านต่างๆ สื่อการเรียนรู้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ 2. สื่อเทคในโลยี 3. สื่ออื่น ได้แก่ บุคคล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการสอน เครื่องมีอและอุปกรณ์ต่างๆ ชึ่งสื่อและแหล่งการเรียนรู้ทางสุขศึกษามีอยู่หลากหลาย ครูสุขศึกษาควรเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้อง กับหลักสูตรและสภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้ควรมีหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวอย่างของกระบวนการจัดการเรียนรู้ในบทความนี้ คือ การสอนแบบการออกแบบ ย้อนกลับในหัวข้อเรื่อง "ข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ" โดยใช้รูปแบบการสอนแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ชึ่งนักเรียนจะได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้ลงมือปฏิบัติและเกิดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง การสอนสุขศึกษาจะประสบความสำเร็จได้นั้น ครูผู้สอนต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เลือกใช้ สื่อให้เหมาะสม จัดกระบวนการเรียนรู้ให้น่าสนใจ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติทางสุขภาพที่ ถูกต้อง สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้เป็นผู้มีสุขภาพดีและมีทักษะในการดำรงชีวิตต่อไป


ครุศึกษาในประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Oct 2015

ครุศึกษาในประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

Journal of Education Studies

ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นวิชาชีพที่ควรได้รับการเคารพและให้เกียรติอย่างสูงสุด การเป็นครูในฟินแลนด์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่การสอบเข้าเพื่อศึกษาต่อทางด้านครุศึกษาของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมปลาย การสอบแข่งขันกันของนักเรียนในแต่ละปีมีจำนวนผู้สมัครเกือบ 20,000 คนเพื่อให้ได้เป็น 1 ใน 2000 คนที่ได้เรียน ซึ่งคิดเป็นเพียง 10% เท่านั้นของผู้สมัครทั้งหมด ผู้ที่สามารถเข้าเรียนได้นั้นจำเป็นต้องใช้ความรู้ ความสามารถและบุคลิกภาพประกอบกันอย่างแท้จริง และเมื่อได้เข้าศึกษาแล้ว ในหลักสูตรยังมีความเข้มข้นในการเรียนที่จะต้องผสมผสานกันระหว่าง ความรู้ ทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติควบคู่กันไป ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ไปจนถึงชั้นปีที่ 5 ในทุกขั้นตอนของการไปสู่วิชาชีพครูของประเทศฟินแลนด์ ถือได้ว่าเป็นการหล่อหลอมให้นักศึกษาได้เป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง


มุมห้องเรียน : การจัดมุมประสบการณ์ตามแนวพหุปัญญา, อัญญมณี บุญชื่อ Oct 2015

มุมห้องเรียน : การจัดมุมประสบการณ์ตามแนวพหุปัญญา, อัญญมณี บุญชื่อ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย, ศิริรัตน์ อนุวัฒน์ประกิจ, วลัยพร ศิริภิรมณ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2015

กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย, ศิริรัตน์ อนุวัฒน์ประกิจ, วลัยพร ศิริภิรมณ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะนักเรียน ของโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพ ปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงเรียนระดับประถมศึกษาในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทยจำนวน 157 แห่ง ผู้ให้ ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย และผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในคณะกรรมการ บริหารสถานศึกษา จำนวน 758 คน เครื่องมือที่โช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโช้ PNImodjfied ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน ประกอบด้วย การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป ที่ส่ง ผลต่อการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนทั้ง 7 ด้านคือ ด้านการสื่อสาร ด้านการคิด ด้านเทคในโลยี ด้านสังคมและความร่วมมือ ด้านการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการตนเอง และด้านการเป็นพลโลก โดยใช้ กระบวนการ 5 ขั้นตอนในการเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนคือ การจัดประสบการณ์ การไตร่ตรอง การสื่อสารแนวคิด การลงมือปฏิบัติ และการประเมินผล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมพบ ว่าอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.16) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.71) 3) กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักเรียน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ หลักคือ 1) กลยุทธ์ปฏิรูปการบริหารวิชาการ 2) กลยุทธ์ปฏิรูปการบริหารบุคคล 3) กลยุทธ์พัฒนาระบบ บริหารงบประมาณ 4) กลยุทธ์พัฒนาการบริหารทั่วไป โดยมีกลยุทธ์รองจำนวน 12 กลยุทธ์ และ 36 วิธี ดำเนินการ


การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติ, รังรอง สมมิตร Oct 2015

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติ, รังรอง สมมิตร

Journal of Education Studies

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กตามแนวคิดชุมชนแห่งการปฏิบัติเป็นรูปแบบหนึ่งในการพัฒนาวิชาชีพครูปฐมวัยในบริบทการทำงาน กระบวนการพัฒนาดังกล่าวมีองค์ประกอบดังนี้ เป้าหมายของการพัฒนาชุมชนแห่งการปฏิบัติ กลุ่มผู้สนับสนุน การร่วมมือแบบมีส่วนร่วม การถอดประสบการณ์จากการปฏิบัติและการสร้างความยั่งยืน การดำเนินการมี 3 ระยะ ในแต่ละระยะมีกระบวนการหลักคือ ระยะที่ 1 การก่อตั้งชุมชน ประกอบด้วย 1) การศึกษาบริบทการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม 2) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ 3) การสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่ม 4) การประสานความร่วมมือกับผู้สนับสนุน ระยะที่ 2 การพัฒนาชุมชน ประกอบ 1) การวางแผนการปฏิบัติการ 2) การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และ 4) การประสานความร่วมมือกับผู้สนับสนุน และระยะที่ 3 การสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การถอดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) การติดตามผลการเรียนรู้ ในแต่ละระยะมียุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้การดำเนินกระบวนการมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคคลและของกลุ่ม รวมถึงยุทธศาสตร์สำหรับการสร้างความยั่งยืนของกลุ่ม


แนะนำหนังสือ, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ คงเผ่า Oct 2015

แนะนำหนังสือ, วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ คงเผ่า

Journal of Education Studies

No abstract provided.


Satisfaction With The Online Teacher Self-Evaluation System: A Case Study Of Members Of The Faculty Of Education, Chulalongkorn University, Pornsook Tantrarungroj Oct 2015

Satisfaction With The Online Teacher Self-Evaluation System: A Case Study Of Members Of The Faculty Of Education, Chulalongkorn University, Pornsook Tantrarungroj

Journal of Education Studies

The primary objective of this survey research was to study the satisfaction of the members of the Faculty of Education, Chulalongkorn University toward the online teacher self-evaluation system. The study examined whether or not the participants' perception of the effectiveness of the online teacher-self-evaluation is related to the participants' characteristics and ICT literacy and to investigate comments and suggestions that could contribute to improve teacher quality and performance. The population included members of the Faculty of Education at Chulalongkorn University who was working during the school year of 2009. The instrument was a questionnaire measured by a checklist, rating scale, …


การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง, ภัทร ยืนยง, ชนิตา รักษ์พลเมือง Oct 2015

การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง, ภัทร ยืนยง, ชนิตา รักษ์พลเมือง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อศึกษาแนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขงวิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการศึกษากรณีศึกษา (Case study) คือ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา การวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก อภิปรายกลุ่ม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การใช้เทคนิคการศึกษาการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ? ล้านนา ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ (1) การก่อรูปกระบวนการเรียนรู้ ของคน กลุ่มคน ชุมชน ในพื้นที่ลุ่มน้ำ (2) การเชื่อมร้อยเครือข่ายการเรียนรู้ภายในลุ่มน้ำ (3) การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในลุ่มน้ำ และ (4) การโยงใยเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างลุ่มน้ำ 2) แนวทางกระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย (1) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างผู้กระทำการ (2) แนวทางการเรียนรู้ในการปฏิบัติการ (3) แนวทางการเรียนรู้ในการสร้างพื้นที่ทางสังคมและ (4) แนวทางการเรียนรู้ในการสะสมและแสวงหาทุน


ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการ Tpack ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์ Oct 2015

ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถ ของตนเองและความรู้บูรณาการ Tpack ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คำถามประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนในการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู และศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ ๒x๒ วิธีแฟคทอเรียลกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน ๒๓๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๖ ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทาง (two-way MANOVA) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากร่องรอยพฤติกรรมของผู้เรียนซึ่งปรากฏบนระบบบริหารจัดการเรียนรู้ Blackboard วิเคราะห์หมวดหมู่ และนำเสนอโดยการใช้ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองและคะแนนเฉลี่ยความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครูหลังการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) การใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนไม่มีอิทธิพลหลักต่อคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง และความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล และพบว่ามีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างการใช้คำถามประเมินตนเอง และการประเมินโดยเพื่อนต่อคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ แต่ไม่มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ส่งผลต่อคะแนนความรู้แบบบูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัล ๓) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานออนไลน์ ได้แก่ ด้านการใช้เครื่องมือสื่อสาร ด้านความร่วมมือในการทำกิจกรรมออนไลน์ ด้านการสรุปความคิดเห็น ผู้เรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มโครงงานออนไลน์ในระดับดี


การพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย, รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Oct 2015

การพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย, รัฐพันธ์ กาญจนรังสรรค์, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย 2) พัฒนา กลยุทธ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาด้านกีฬาในประเทศและต่างประเทศ และทิศทางแนวโน้มของการจัดการศึกษาด้านกีฬาในประเทศไทย ศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย และพัฒนาต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย โดยมีประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านกีฬาและอุดมศึกษา และคณาจารย์ทางด้านการกีฬาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ตรวจสอบและรับรองต้นแบบและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย โดยใช้วิธีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นแบบมหาวิทยาลัยกีฬาในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย หลักสูตรและการสอน การวิจัยและบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหารจัดการทางการเงิน นักศึกษาและบัณฑิต ทรัพยากรบุคคล และภูมิสถาปัตย์ เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง ด้านการฝึกกีฬา วิทยาศาสตร์การกีฬา การจัดการกีฬา และพลศึกษา ผลิตนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาชั้นเลิศที่มีความสามารถในระดับสากลทั้งที่เป็นบุคคลปกติและคนพิการ บริหารมหาวิทยาลัยในรูปแบบมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) กลยุทธ์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยกีฬา ประกอบด้วย (1) พัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและการกีฬาของนักกีฬาและบุคลากรวิชาชีพสู่ความเป็นมืออาชีพ (2) พัฒนาสมรรถนะหลักของนักกีฬาและบุคลากรวิชาชีพบนพื้นฐานของคุณธรรม (3) เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางการกีฬาในอาเซียน (4) สร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการกีฬาให้เกิดการเคลื่อนย้ายทางความคิด (5) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้านการกีฬาทั้งในและต่างประเทศ (6) พัฒนากีฬาเพื่ออาชีพ (7) สร้างเครือข่ายนักวิจัยในการวิจัยและพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการกีฬา (8) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในการพัฒนาสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (9) สร้างวัฒนธรรมกีฬา (10) จัดหลักสูตรกีฬาพื้นบ้านและกีฬาประจำชาติ (11) จัดตั้งศูนย์สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และ (12) สร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ


Incorporating Non-Formal Learning And Education Into Formal Schooling Conditions, Weerachat Soopunyo, Archanya Ratana-Ubol, Wirathep Pathumcharoenwattana, Suwithida Charungkaittikul Jul 2015

Incorporating Non-Formal Learning And Education Into Formal Schooling Conditions, Weerachat Soopunyo, Archanya Ratana-Ubol, Wirathep Pathumcharoenwattana, Suwithida Charungkaittikul

Journal of Education Studies

This descriptive research method was aimed toexplorethe incorporation of the concepts, principles, and methodology of non-formal education and learning into formal school settings and conditions. Research participants comprised 26 student teachers majoring in non-formal education who did their teaching practicum during May-September 2015 at 14 schools, and their 26 school supervisors. The results showedthat the incorporation of nonformal education and learning into formal school settings and conditions was seen as possible. Changes in the instruction approach at the Faculty of Education should be established. Attitude modification toward non-formal education and learning among stakeholders should be the first priority to address …


Contemplative Observation As A Tool For Self-Reflection Enhancement Of Early Childhood Graduate Students, Sasilak Khayankij Jul 2015

Contemplative Observation As A Tool For Self-Reflection Enhancement Of Early Childhood Graduate Students, Sasilak Khayankij

Journal of Education Studies

Being an astute observer of children is a primary skill for early childhood teachers. This paper reports on a project conducted in Thailand that investigated the use of the contemplative observation method as a tool for developing the ability of being non-judgmental. The aim of this study was to improve the processes of self-reflection of early childhood graduate students in order to build the quality of their observational skills for practice with children. Eight female early childhood graduate students were assigned to practice observation across 13 weeks involving two major types of contemplative observation practices: (a) self-observation comprising dancing meditation, …


"If It Were A Team"-A Viewpoint To Institutional Teaching And Working Culture In Thailand, Jyrki Loima Jul 2015

"If It Were A Team"-A Viewpoint To Institutional Teaching And Working Culture In Thailand, Jyrki Loima

Journal of Education Studies

No abstract provided.


Thai Teacher Education For The Future: Opportunities And Challenges, Jutarat Vibulphol Jul 2015

Thai Teacher Education For The Future: Opportunities And Challenges, Jutarat Vibulphol

Journal of Education Studies

Teachers play a key role in supporting or suppressing studentsû learning. Regarding the needs for new kinds of instruction to enhance lifelong learning and the skills necessary for the learnersû unknown future, educational reform in high performing countries like Finland, Singapore, and South Korea has been given close attention to make changes in their teacher education, while Thailand has vaguely addressed the issues related to teacher preparation in its recent draft of educational reform. This article therefore seeks to provide an understanding of the opportunities and challenges that Thai pre-service teacher education is facing in the preparation of 21st century …


การพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการนิเทศแบบนิสิตคู่, รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์, เสน่ห์ บุญช่วย Jul 2015

การพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการนิเทศแบบนิสิตคู่, รัตนาภรณ์ วามะสุรีย์, เสน่ห์ บุญช่วย

Journal of Education Studies

การนิเทศการสอนแบบนิสิตคู่เป็นกระบวนการนิเทศที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมได้ทดลองในปีการศึกษา 2557 ด้วยการใช้การนิเทศสำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2 คน ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 5 ร่วมกัน โดยแบ่งเป็นสอนวิชาสังคมศึกษา จำนวน 4 คาบต่อสัปดาห์ และสอนวิชาวิทยาศาสตร์จำนวน 4 คาบต่อสัปดาห์ร่วมกัน เป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ทั้งนี้ นิสิตทั้งสองจะอยู่ในความดูแลของอาจารย์นิเทศก์ 2 ท่าน และได้แบ่งการนิเทศการสอนออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการเตรียมตัวและวางแผนการสอน ระยะที่ 2 เป็นการค้นพบจุดเด่น จุดด้อยของนิสิต และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาตนเองตามศักยภาพและความถนัด ผลการใช้การนิเทศการสอนแบบนิสิตคู่ พบว่า นิสิตมีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ และเกิดแรงจูงใจในการประกอบวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น ในส่วนของอาจารย์นิเทศเองก็ได้รับการพัฒนารูปแบบและวิธีการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจากอาจารย์นิเทศคู่และจากนิสิตด้วย


การเรียนรู้ด้วยการสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพสำหรับนิสิตศิลปศึกษา, ขนบพร วัฒนสุขชัย แสงวณิช Jul 2015

การเรียนรู้ด้วยการสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพสำหรับนิสิตศิลปศึกษา, ขนบพร วัฒนสุขชัย แสงวณิช

Journal of Education Studies

สมุดบันทึกภาพเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การจดบันทึกภาพด้วยสมุดบันทึกภาพนอกจากจะมีการใช้ภาพเป็นหลักแล้ว ยังมีการเขียนเกี่ยวกับคำสำคัญสั้นๆหรือประเด็นทางความคิดต่างๆด้วยเช่นกัน การสะท้อนความคิดเป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการฝึกและพัฒนานิสิตครู เนื่องจากเป็นการบูรณาการทัศนคติด้านการเปิดรับฟังความคิดเห็น ความรับผิดชอบและตรวจสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความเชื่อ รวมถึงผลการสอนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้จักและเข้าใจตนเองได้เป็นอย่างดี ศิลปศึกษาเป็นศาสตร์ที่บูรณาการระหว่างการศึกษาและศิลปะ การส่งเสริมให้นิสิตศิลปศึกษาสะท้อนความคิดผ่านสมุดบันทึกภาพจะช่วยให้นิสิตศิลปศึกษาฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการสะท้อนความคิดเป็นภาพและการเขียนอย่างสม่ำเสมอ วัตถุประสงค์ของบทความนี้จึงนำเสนอถึงความสำคัญของสมุดบันทึกภาพ การเขียนสะท้อนความคิดและแนวคิดของการนำไปใช้ในการเรียนรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา ทฤษฎี แนวคิดด้านต่างๆ ซึ่งในกรณีศึกษาของการนำไปใช้กับนิสิตศิลปศึกษาในประเทศไทยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจดบันทึกเนื้อหามากกว่าการวาดภาพ แม้ว่าจะได้รับเอกสารประกอบการสอนในรายวิชา มีการสะท้อนความคิดของตนเองสั้นๆ สำหรับปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ในการเรียน คือ ความง่วงแม้ว่ารายวิชาจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย นิสิตมีความเห็นว่าไม่สามารถจดบันทึกให้เสร็จได้ทันภายในเวลาเรียน ขณะที่นิสิตบางส่วนเห็นความสำคัญและสนใจที่จะนำสมุดบันทึกภาพและการเขียนสะท้อนความคิดไปใช้ในรายวิชาอื่น รวมถึงการจดบันทึกเรื่องราวของตนเองในชีวิตประจำวันด้วย


กระบวนทัศน์ใหม่ของการครุศึกษาในอนาคต, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2015

กระบวนทัศน์ใหม่ของการครุศึกษาในอนาคต, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


Book Review, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Jul 2015

Book Review, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


5ts กับความสำเร็จด้านครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Jul 2015

5ts กับความสำเร็จด้านครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

Journal of Education Studies

ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ ขนาดของประเทศไม่ได้เป็นตัวชี้วัดต่อจำนวนคนที่มีคุณภาพ การมีประชากรจำนวนน้อยแต่มีคุณภาพที่ดีต่างหากที่สามารถเปลี่ยนประเทศของตนให้ใหญ่ขึ้นได้ในแง่ของอำนาจและศักยภาพ ประเทศฟินแลนด์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการมีประชากรที่มีจำนวนน้อยแต่มีคุณภาพ การให้ความสำคัญด้านการศึกษาของรัฐแก่พลเมืองในประเทศถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการมุ่งพัฒนาคุณภาพคนเป็นสำคัญ ความสำเร็จประการหนึ่งของประเทศฟินแลนด์คือ ครูมีความเป็นมืออาชีพสูง ด้วยเหตุนี้ครุศึกษา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตครูในประเทศฟินแลนด์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ การได้ประชากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศ ดังนั้น องค์ประกอบ 5 ประการที่ส่งผลให้ประเทศฟินแลนด์ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา และครุศึกษา ก็คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ (T1: Trust) ครู (Teacher: T2) การฝึก (Training: T3) เทคโนโลยี (Technology: T4) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork: T5) ซึ่งทั้ง 5 องค์ประกอบนี้มีความเกื้อกูลและส่งเสริมกันและกันจนทำให้ประเทศฟินแลนด์บังเกิดผลสำเร็จดังที่กล่าวมา


Classroom Observation: A Self-Study Of A Language Teacher Educator Supervising Pre-Service Teachers, Sumalee Chinokul Jul 2015

Classroom Observation: A Self-Study Of A Language Teacher Educator Supervising Pre-Service Teachers, Sumalee Chinokul

Journal of Education Studies

The purpose of this study was to explore the techniques used by a language teacher educator working as a university supervisor to monitor and assist a group of English pre-service teachers learning how to teach during each stage of their practice teaching. Self-study was employed in this study to investigate the researcherûs inquiry-to make the implicit pedagogical practice of her supervision of pre-service teachers explicit or visible. Various data sources from her own practice were obtained and triangulated to analyze her own practices. The findings revealed that reflective practice can be used as a frame of reference for the university …


จับกระแสโลก ครูใหม่ในอังกฤษพากันออกจากงานเพราะขาดการสนับสนุน การสอนพิเศษสำหรับเด็ก 7 ปี แบ่งความแตกต่างออกได้ตามเชื้อชาติ Jul 2015

จับกระแสโลก ครูใหม่ในอังกฤษพากันออกจากงานเพราะขาดการสนับสนุน การสอนพิเศษสำหรับเด็ก 7 ปี แบ่งความแตกต่างออกได้ตามเชื้อชาติ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การบริหารจัดการการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, เสาวพร บุญช่วย, ชาญณรงค์ วังเย็น Jul 2015

การบริหารจัดการการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, เสาวพร บุญช่วย, ชาญณรงค์ วังเย็น

Journal of Education Studies

การนิเทศ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนา การจัดการเรียนการสอนของครูอย่างรอบด้าน ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปถึงการพัฒนานักเรียนในห้องเรียน นิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูจัดเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่จะได้รับการฝึกฝน การพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นครูมืออาชีพที่ดีอย่างแท้จริงหลังจบการศึกษาภายใต้การดูแลของอาจารย์นิเทศก์ รูปแบบวิธีการตลอดจนการบริหารจัดการการนิเทศ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการนิเทศสามารถนำพาให้การฝึกปฏิบัติการสอนในโรงเรียนของนิสิตประสบความสำเร็จและพัฒนาเป็นครูที่ดีต่อไปในอนาคต ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบบริหารจัดการการฝึกปฏิบัติการสอนของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พบประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศนิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู ที่มาจากอาจารย์นิเทศก์และนิสิต จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดแนวทางในการพัฒนา 3 ด้านคือ 1.การพัฒนาทีมงานของศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ 2.การพัฒนาอาจารย์นิเทศก์ 3.การพัฒนานิสิตฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู และนำข้อมูลจากการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มาสร้างแนวทางการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาระบบการนิเทศภายในของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ให้มีประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อการสร้างครูที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต