Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

Journal

2019

Keyword

Articles 121 - 150 of 172

Full-Text Articles in Education

โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส Jan 2019

โมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส

Journal of Education Studies

การศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสถานะทางเศรษฐกิจ การบูรณาการทางวิชาการ การบูรณาการทาง สังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์และความผูกพันกับสถาบันที่มีต่อการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรอบแนวคิดในการวิจัยพัฒนาจากทฤษฎีปฏิกิริยาตอบโต้ของทินโตและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการศึกษาจากโมเดลเชิงสาเหตุ พบว่า การออกกลางคัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (?2 = 217.98, df = 40, p-value = 0.09, GFI = 0.90; AGFI = 0.83; SRMS = 0.03; RMSEA = 0.05) ตัวแปรแฝงด้านสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การบูรณาการทาง วิชาการ การบูรณาการทางสังคม ความผูกพันกับเป้าประสงค์และความผูกพันกับสถาบันมีอิทธิพลทางตรง ต่อในทิศทางตรงข้ามกับการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา ได้แก่ (1) พัฒนาสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวย ความสะดวกในมหาวิทยาลัย (2) สนับสนุนทุนการศึกษาและการสร้างรายได้เสริมให้กับนักศึกษา (3) การรับนักศึกษาต้องเน้นที่คุณภาพและมีการสอนเสริมในกลุ่มที่มีความต้องการเป็นพิเศษ (4) สร้าง แรงจูงใจและสร้างเป้าหมายในชีวิตให้แก่นักศึกษา (5) มีการฝึกอบรมอาจารย์ให้เป็นที่ปรึกษามืออาชีพ


การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู: พหุกรณีศึกษาครูโรงเรียนสาธิต ในระดับประถมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Jan 2019

การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู: พหุกรณีศึกษาครูโรงเรียนสาธิต ในระดับประถมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิหลังของการมาเป็นครูและ การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ครู โดยใช้การศึกษาแบบพหุกรณี จำนวน 8 คนจาก โรงเรียนสาธิต ทั้ง 3 แห่ง ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์ด้วยวิธี การหวนระลึกได้จากการกระตุ้นจากวิดีโอ (Video stimulated recall interviews) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสัมภาษณ์วิเคราะห์ ด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ จะถูกนำเสนอด้วยการใช้แผนภาพประกอบการอธิบาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การประทับใจครูในสมัยเมื่อตนเองเป็น นักเรียนเป็นแรงบันดาลใจให้ครูผู้เป็นกรณีศึกษาก้าวเข้าสู่วิชาชีพครู รวมทั้งมีความรักและภูมิใจในวิชาชีพครู อย่างมาก 2) ผลการสังเคราะห์การคิดเชิงศาสตร์การสอนที่สะท้อนถึงความรู้ของครู พบว่า ความรู้ครูที่ถูก สะท้อนออกมามากที่สุดคือ ความรู้ในการสอน (PK) และ ความรู้ด้านศาสตร์การสอนทั่ว ๆ ไป (GPK) ตามการสะท้อนของครูรายบุคคลและรายโรงเรียน สำหรับตามรายวิชา พบว่า วิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ความรู้ในการสอน (PK) ถูกสะท้อนออกมามากที่สุดในการจัดการเรียนการสอน สำหรับวิชา ภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนทั้ง 3 คนสะท้อนความรู้ครูอย่างแตกต่างหลากหลาย


กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก, ปรตี ประทุมสุวรรณ์, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจําเป็นและพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมาตรฐานสากลจํานวน 226 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลําดับความต้องการจําเป็นด้วยดัชนี PNIModified ได้เป็น 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ 2) การระบุความเสี่ยง 3) การประเมินความเสี่ยง 4) การจัดการและจัดทําแผน และ 5) การรายงานและติดตามผล สําหรับกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลก ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และวิธีการดําเนินงาน 37 วิธี


การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับช่างผมไทย, จิณณา สืบสายไทย, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร Jan 2019

การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับช่างผมไทย, จิณณา สืบสายไทย, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการจัดการความรู้ในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสําหรับช่างผมไทย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาขีดความสามารถของช่างผมไทย จํานวน 9 คน ทําการคัดเลือกโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยมีเงื่อนไขจากการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสําหรับช่างผมไทยมี 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้สู่ตลาดสากล 2) การจัดตั้งหรือกําหนดองค์กรหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้สําหรับช่างผมไทย 3) การส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่สากลของช่างผมไทย 4) การกําหนดบทบาทของภาครัฐในการส่งเสริมช่างผมไทยสู่ตลาดสากลที่ชัดเจน 5) การจัดตั้งหรือกําหนดองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ เฉพาะในการส่งเสริม ช่างผมไทยสู่สากล 6) การกําหนดและพัฒนาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมช่างผมไทยสู่สากลที่ชัดเจน 7) การพัฒนากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาหรือวิชาชีพที่มีมาตรฐานสากลเพื่อความพร้อมสู่การทํางานในต่างประเทศ และ 8) การพัฒนาและสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมช่างผมไทยสู่ตลาดสากล


การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, สุธีรา ช่อประดิษฐ Jan 2019

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, สุธีรา ช่อประดิษฐ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และองค์ประกอบคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความครอบคลุมในองค์ประกอบที่ต้องการวัดและความเหมาะสมของตัวบ่งชี้จํานวน 5 คน 2) คณบดีอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา มหาบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต ในมหาวิทยาลัยที่มีการเป?ดสอนหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต 20 แห่งที่ใช้ในการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ จํานวน 364 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจํานวน 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามใช้สําหรับตรวจสอบความครอบคลุมในองค์ประกอบที่ต้องการวัดและความเหมาะสมของตัวบ่งชี้การจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามใช้สําหรับตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง สําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ และวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่สามารถนําไปใช้ประเมินคุณภาพการจัดการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต จํานวน 9 องค์ประกอบ 51 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร 6 ตัวบ่งชี้ อาจารย์ 5 ตัวบ่งชี้ นักศึกษา/มหาบัณฑิต 8 ตัวบ่งชี้ การบริหารหลักสูตร 8 ตัวบ่งชี้ กระบวนการเรียนการสอน 5 ตัวบ่งชี้ ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนการสอน 5 ตัวบ่งชี้ งบประมาณ 4 ตัวบ่งชี้ การวัดและประเมินผล 5 ตัวบ่งชี้ และการวิจัย 5 ตัวบ่งชี้


ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม สังกัดกรุงเทพมหานคร, อัมรินทร์ โต๊ะลง, สุรชัย สิกขาบัณฑิต Jan 2019

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม สังกัดกรุงเทพมหานคร, อัมรินทร์ โต๊ะลง, สุรชัย สิกขาบัณฑิต

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม (2) ระดับประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม (3) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทั้ง 74 ศูนย์ฯ จํานวน 275 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่เป็น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ระดับประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม โดยภาพรวมและเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกข้อ (3) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม พบว่า ตัวแปรภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนอิสลาม โดยรวมส่งผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีปัจจัยทางภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรที่ทํานายประสิทธิผลของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ทั้งหมด 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ได้ดีประกอบด้วย ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างแรงดลใจ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล


ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 Mat, พิริยา สร้อยแก้ว, อริยา คูหา, มัฮดี แวดราแม Jan 2019

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 Mat, พิริยา สร้อยแก้ว, อริยา คูหา, มัฮดี แวดราแม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและการเรียนรู้แบบ 4 MAT และ 3) ความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบปกติและการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเทศบาล 4 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่น .82 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วงระหว่าง .20-.80 และค่าอํานากจําแนกอยู่ในช่วงระหว่าง 0.20?0.70 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน นักเรียนชั้นที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแตกต่างกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความคงทนในการเรียนรู้สูงขึ้นแตกต่างกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา, สมพงษ์ จิตระดับ Jan 2019

การบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านเด็กและเยาวชน: การวิจัยพหุกรณีศึกษา, สมพงษ์ จิตระดับ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการขึ้นโจทย์วิจัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนของโครงการการบูรณาการพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินพลังบูรณาการฯ 6 ด้าน แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ใช้การสัมภาษณ์โดยการสมัครใจ กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเรื่องการพัฒนางานด้านเด็กและเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของทั้ง 12 พื้นที่ส่วนใหญ่มีจุดแข็งเรื่องพลัง อปท.และพลังเครือข่ายภายใน แต่มีข้อจํากัด คือ พลังเครือข่ายภายนอก รูปแบบของการขึ้นโจทย์วิจัยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชุมชนในการหาต้นทุนในท้องถิ่นทั้ง 12 พื้นที่นั้น จําแนกออกเป็น 3 รูปแบบที่สําคัญ คือ 1) การใช้ปัญหาในพื้นที่เป็นฐานในการขึ้นโจทย์วิจัย 2) ประเด็นที่ต้องเฝ้าระวัง และ 3) การขึ้นโจทย์วิจัยจากต้นทุนในพื้นที่ ข้อค้นพบจากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถ รวมทั้งเกิดคุณลักษณะของเด็กไทย 10 ประการโดยเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างพลังเด็กและเยาวชนกับพลังชุมชนท้องถิ่นและพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบต่อไป


การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เพื่อประเมินการลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น "เรือหลวงลันตา", พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ Jan 2019

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เพื่อประเมินการลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น "เรือหลวงลันตา", พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (2) เพื่อวิเคราะห์ความล้มเหลวของตลาด และ (3) เสนอแนะแนวทางการลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเรือหลวงลันตา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ประชุมสนทนากลุ่ม ศึกษาดูงานและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์พบว่า การลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์โดยภาครัฐให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าภาคเอกชน ปัจจัยเสี่ยงที่สําคัญของการลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ ความล้มเหลวของตลาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายได้จากการกําหนดค่าตั๋วเข้าชมและยอดผู้เข้าชมขั้นตํ่าในแต่ละวัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีดังนี้ (1) มอบหมายให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์และใช้งบประมาณภาครัฐอุดหนุนส่วนต่างที่เกิดจากความล้มเหลวของตลาดหรือเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลจากการวิจัยไปกําหนดราคากลางและภาครัฐควรจัดหารายได้จากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่โดยรอบของพิพิธภัณฑ์ และ (2) บริหารจัดการเองโดยภาครัฐซึ่งต้องรับความเสี่ยงจากความล้มเหลวของตลาด ข้อเสนอแนะในระยะเวลา 5 ปีที่จะเปิดให้บริการมีดังนี้ (1) สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร และ (2) จ้างที่ปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญมาให้คําแนะนําและประเมินผลเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของพิพิธภัณฑ์


การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม, ยศวดี ดำทรัพย์, ณรงค์ พุทธิชีวิน, วันชัย ธรรมสัจการ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม, ยศวดี ดำทรัพย์, ณรงค์ พุทธิชีวิน, วันชัย ธรรมสัจการ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม หาองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําและยกร่างรูปแบบ และทําการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการพัฒนารูปแบบ ดําเนินการวิจัย ระยะ คือ 1) การศึกษาภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาตามสภาพจริง โดยการวิเคราะห์เอกสารและศึกษาสํารวจ 2) พัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) 3) ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยการสัมภาษณ์และสอบถามความเป็นไปได้ ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาร่างคุณลักษณะของภาวะผู้นํา ระยะที่ 2 ใช้เครื่องมือในการประเมินความเหมาะสมและยืนยัน องค์ประกอบโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) สามารถให้ผู้วิจัยยกร่างที่สําคัญ 7 องค์ประกอบ คือองค์ประกอบเชิงคุณลักษณะองค์ประกอบเชิงพฤติกรรม องค์ประกอบเชิงสถานการณ์ องค์ประกอบเชิงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเชิงวิชาการองค์ประกอบเชิงปฏิรูป (ภาวะผู้นําของกระทรวงศึกษาธิการ) องค์ประกอบเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะที่ 3 ค้นพบว่าองค์ประกอบมีความสําคัญในทุกด้านไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารอยู่ในสถานการณ์แบบไหน จึงจะนําเอาภาวะผู้นํารูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ เมื่อต้องการที่จะพัฒนา ผู้บริหารจึงเป็นส่วนสําคัญร่วมกับการพัฒนาบรรยากาศและสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาองค์กรให้ประสบความสําเร็จสูงสุด


การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง, พงษ์ลิขิต เพชรผล, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง, พงษ์ลิขิต เพชรผล, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง วิธีดําเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) กําหนดกรอบแนวคิด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัด สพฐ. จํานวน 230 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด ประกอบด้วย กรอบกระบวนการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล กรอบห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การสนับสนุนผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ กรอบความเป็นพลเมือง ได้แก่ ใจกว้าง รับฟัง มีเมตตา เข้าใจวัฒนธรรมและความคาดหวังของผู้อื่น และกรอบการเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง ได้แก่ การสอนความเป็นพลเมืองและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมาก 3) จุดแข็ง คือ บรรยากาศในการเรียนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ นโยบายของรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจและสังคม


การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย, ธนิยา เยาดำ, ศิริชัย กาญจนวาสี, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ Jan 2019

การพัฒนาองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: เทคนิคเดลฟาย, ธนิยา เยาดำ, ศิริชัย กาญจนวาสี, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักภาษา 9 คน และการสอนภาษาไทย 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ชุดที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 และ 3 แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่าง ควอไทล์เพื่อหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บอกความหมายของ คำศัพท์ที่มีความหมายตามอรรถ 2) บอกความหมายของคำศัพท์ที่มีความหมายโดยนัย 3) ระบุความหมาย ของพลความของข้อมูลที่ปรากฏ 4) ระบุความหมายของพลความของข้อมูลที่แฝงเร้น 5) ระบุใจความสำคัญ ของข้อมูลที่ปรากฏ 6) ระบุใจความสำคัญของข้อมูลที่แฝงเร้น และ 7) การตีความด้านองค์ประกอบของ ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 องค์ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด (Mdn = 5.00, |Mdn-Mode| = 0, IR = 0)


Guideline To Develop An Instructional Design Models Using Video-Based Open Learning: Quantitative Phenomenology Study, Narin Nonthamand, Jaitip Na-Songkhla Jan 2019

Guideline To Develop An Instructional Design Models Using Video-Based Open Learning: Quantitative Phenomenology Study, Narin Nonthamand, Jaitip Na-Songkhla

Journal of Education Studies

The objectives of this quantitative phenomenology study were: (1) to synthesize literature relevant to an open instructional design to enhance creative problem solving ability; (2) to study veterans’ experience-based opinions towards the open instructional design model; and (3) to apply the open instructional design as the guideline. The research included sample 10 veterans with 15 years of instruction experience in scholarly or professor positions, two of which specialized in five academic fields. The applied research tools included three in-depth interview sections, namely (1) inquiries about general information of the respondents, (2) opinion towards open instruction, and (3) opinion towards concepts …


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะ ของนักศึกษาศิลปศึกษา, ประไพลิน จันทน์หอม, โสมฉาย บุญญานันต์, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะ ของนักศึกษาศิลปศึกษา, ประไพลิน จันทน์หอม, โสมฉาย บุญญานันต์, ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

Journal of Education Studies

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความ สามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ขั้นตอนการจัด การเรียนรู้ และการประเมินความสามารถในการถ่ายโยงองค์วามรู้ทางศิลปะก่อนและหลังใช้ รูปแบบ เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จำนวน 30 คน จับคู่คะแนนผลการเรียนแล้วสุ่มแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้รูปแบบวิจัยแบบ สลับ-วัดซํ้า ทำการทดสอบนักศึกษาก่อนเรียน ดำเนินการสอนตามรูปแบบกับกลุ่มทดลองก่อนแล้ว ทดสอบนักศึกษาทั้งหมด โดยนำผลการสอนรอบแรกมาปรับปรุงการสอนรอบที่ 2 กับนักศึกษา กลุ่มควบคุม แล้วทดสอบหลังเรียนกับนักศึกษาทั้งหมด ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนา ความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษาให้เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2) การปรับปรุงการสอนตามรูปแบบ รอบที่ 2 ไม่ได้ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนามากกว่ากลุ่ม แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) รูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นทำให้นักศึกษากลุ่มแรกมีความคงทนในการเรียนรู้


การพัฒนาหลักสูตรเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, ปราณี พงษ์สุพรรณ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ศศิธร เขียวกอ Jan 2019

การพัฒนาหลักสูตรเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, ปราณี พงษ์สุพรรณ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ศศิธร เขียวกอ

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ และ 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตร โดยมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้ และ 4) ประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน อนุบาลปราณี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพ มีการจัดดำเนินการน้อย แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาไทยควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการสอน ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย 2) หลักสูตรเสริมนี้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีองค์ประกอบดังนี้ (1) จุดมุ่งหมาย (2) สาระการเรียนรู้ (3) การนำไปใช้ (4) การวัดประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ส. ที่นำไปสู่ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพประกอบด้วย (1) สร้างความสงสัย (2) สืบเสาะความรู้ (3) สังเคราะห์ความรู้ (4) สร้างสรรค์ผลงาน (5) สรุปความรู้ และ (6) เสนอผลงาน ผลการประเมินคุณภาพ ของหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดและมากตามลำดับ 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรพบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนา หลักสูตรบูรณาการฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษาละ 9-15 คน รวม 377 โรงเรียน ภายใต้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธีที่ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร บูรณาการฯ มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน ส่งเสริมการพัฒนาและ การสื่อสาร สืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดี รวมทั้งหมด 22 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ ประกอบด้วยจุดเน้น วัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำหลักสูตร ได้แก่ การสร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน การส่งเสริม การพัฒนาและการสื่อสาร และการสืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีภายใต้การเข้ามามีหน้าที่และ รับผิดชอบต่อกระบวนการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุดทุกข้อ


ผลการใช้ควิซออนไลน์รายสัปดาห์ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเจตคติของผู้เรียน ระดับปริญญาบัณฑิต ในรายวิชาการควบคุมน้ำหนัก, วรัญญา เตชะสุขถาวร Jan 2019

ผลการใช้ควิซออนไลน์รายสัปดาห์ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเจตคติของผู้เรียน ระดับปริญญาบัณฑิต ในรายวิชาการควบคุมน้ำหนัก, วรัญญา เตชะสุขถาวร

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเจตคติเมื่อทำ ควิซออนไลน์รายสัปดาห์ เครื่องมือวิจัย 1) แบบทดสอบควิซออนไลน์รายสัปดาห์ ชนิดข้อสอบหลายตัว เลือก 10 ชุด บนระบบ Blackboard 2) แบบประเมินด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง 20 ข้อ ที่ปรับ มาจาก Self-directed learning readiness scale และ 3) แบบประเมินเจตคติของผู้เรียนต่อการใช้ ควิซออนไลน์ 10 ข้อ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการควบคุมนํ้าหนัก ปีการศึกษา 2558 จำนวน 123 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองในสัปดาห์ที่ 2, 7 และ 12 และเก็บข้อมูลด้านเจตคติของผู้เรียนในสัปดาห์ที่ 2 และ 12 ผลคะแนนแบบประเมินด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองใน 3 ครั้ง วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ Repeated ANOVA พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบทางด้าน เจตคติ 2 ครั้ง ด้วยค่าสถิติ Paired t-test พบว่าด้านที่มีผลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การทำควิซออนไลน์ รายสัปดาห์ช่วยลดเวลาการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบกลางภาค/ปลายภาคได้ จึงสรุปได้ว่า ควิซออนไลน์ รายสัปดาห์ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ช่วยผู้เรียนบริหารจัดการเวลาอ่านหนังสือเพื่อ เตรียมสอบได้น้อยลง


ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Steam Education โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุนารี ศรีบุญ, วิสูตร โพธิ์เงิน Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Steam Education โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุนารี ศรีบุญ, วิสูตร โพธิ์เงิน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่ม ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัด การเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลัง การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับสูง 3) ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด STEAM education โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก


สิ่งอำนวยความสะดวกและการดัดแปลงห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบการจัดการเรียนรวม สำหรับนักศึกษาที่มีการได้ยินปกติและนักศึกษาที่มีความบกพร่องในการได้ยิน, สมร สุทธิปิยภัทร, จุฑารัตน์ วิบูลผล, สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ Jan 2019

สิ่งอำนวยความสะดวกและการดัดแปลงห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบการจัดการเรียนรวม สำหรับนักศึกษาที่มีการได้ยินปกติและนักศึกษาที่มีความบกพร่องในการได้ยิน, สมร สุทธิปิยภัทร, จุฑารัตน์ วิบูลผล, สิริลักษณ์ โปร่งสันเทียะ

Journal of Education Studies

บทความนี้เสนอการพัฒนาโมเดลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ DI & UD สำหรับ ห้องเรียนแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับนักศึกษาที่มีการได้ยินปกติและที่มีความบกพร่องในการได้ยิน โมเดลนี้พัฒนาขึ้นโดยใช้การจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกและการดัดแปลงตามแนวคิดการสอน ตามความสามารถของผู้เรียนและการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ผลการทดลองโมเดลการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ DI & UD ในรายวิชาภาษาอังกฤษ พื้นฐานที่มีการจัดการเรียนรวม ซึ่งมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีการได้ยินปกติจำนวน 50 คนและ นักศึกษาที่มีความบกพร่องในการได้ยินจำนวน 4 คน พบว่าโมเดลสามารถเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษ ทักษะทางสังคม และความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตาม โมเดลมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนของนักศึกษาทั้งสอง กลุ่มแตกต่างกัน งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะให้ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการสิ่งอำนวย ความสะดวกแก่นักศึกษาที่มีความบกพร่องในการได้ยิน การดัดแปลงสื่อการเรียนการสอน กิจกรรม การเรียนการสอนและการประเมินผลที่เหมาะสมกับบริบทแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานศึกษา แต่ละแห่ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถสำหรับนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม


ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบครัวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, จิรัชญา มูลหงส์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบครัวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, จิรัชญา มูลหงส์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบครัวของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบโครงงาน จํานวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงาน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 และแบบวัดความสามารถใน การดูแลสุขภาพครอบครัว ด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95, 0.97, 0.98 มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88, 0.82, 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบครัวด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบครัวด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสําคัญ กําหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์ การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมจํานวน 464 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามองค์ประกอบการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 3) แบบสอบถามเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 4) แบบประเมินโอกาสและอุปสรรคของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา และ5) แบบประเมินแผนกลยุทธ์เพื่อกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสําคัญของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ประกอบด้วย4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดและใช้แหล่งเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลรวมทั้งสิ้น 22 องค์ประกอบ 2) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯประกอบด้วย กลยุทธ์การปฏิบัติ จุดมุ่งหมายเชิงกลยุทธ์ แนวทางการดําเนินการ และตัวชี้วัดความสําเร็จ3) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


การพัฒนากรอบมาตรฐานหลักสูตรการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับชาวต่างชาติ, พรรัตน์ ถิระนันท์, อลิศรา ชูชาติ, ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ Jan 2019

การพัฒนากรอบมาตรฐานหลักสูตรการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับชาวต่างชาติ, พรรัตน์ ถิระนันท์, อลิศรา ชูชาติ, ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบมาตรฐานหลักสูตรการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจ สำหรับชาวต่างชาติ กรอบมาตรฐานหลักสูตรฉบับนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร การอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับนักธุรกิจชาวต่างชาติ โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการจำเป็นของ การอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจของนักธุรกิจชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยจำนวน 15 คนและผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศจำนวน 7 คน และการศึกษาแนวคิดการพัฒนามาตรฐาน การอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับชาวต่างชาติ ทั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินเกี่ยวกับคุณภาพของมาตรฐานการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจ ผลการวิจัยได้กรอบมาตรฐานหลักสูตรการอ่านภาษาไทยเชิงธุรกิจสำหรับชาวต่างชาติ ประกอบด้วยมาตรฐานการเรียนรู้ 3 มาตรฐาน 8 ตัวชี้วัด ดังนี้ มาตรฐาน 1 การอ่านเพื่อให้ได้ข้อมูล ข่าวสาร และความคิดในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มาตรฐาน 2 การอ่านเพื่อเข้าถึงวัฒนธรรม การสื่อสารในการทำงาน ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด และมาตรฐาน 3 การอ่านเพื่อการปฏิบัติงานและ การตัดสินใจทางธุรกิจ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด แต่ละมาตรฐานประกอบด้วยตัวชี้วัดความสามารถ ผู้เรียนที่จำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง


การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทย สำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม, รวิกรานต์ นันทเวช, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทย สำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม, รวิกรานต์ นันทเวช, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทยสําหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทยสําหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของแรงงานไทยสําหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ได้แก่ แรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมจํานวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบคือ แรงงาน ไทย 24 คนที่อาสาสมัครเข้าร่วมดําเนินการทดลองจํานวน 100 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะที่แรงงานไทยในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องการเรียนรู้มากที่สุด 3 ด้าน คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านความปลอดภัยในการทํางาน และ ทักษะการสื่อสารในองค์กร 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า แรงงานไทยในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีทักษะการปฏิบัติงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความรู้ (2) ทักษะการปฏิบัติงาน และ (3) ระดับการเรียนรู้ด้วยการนําตนเอง 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย ปัจจัยสนับสนุน คือ ความสนใจใฝ่รู้ของผู้เรียนบทบาทของผู้สอน สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการนิเทศฝึกปฏิบัติ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการนํารูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม สถานที่ในการจัดกิจกรรม ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย และความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน


ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้รูปแบบฟิตส์ที่มีต่ออาการปวดคอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา, อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2019

ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้รูปแบบฟิตส์ที่มีต่ออาการปวดคอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา, อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รูปแบบฟิตส์เพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษา 50 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รูปแบบฟิตส์ 2) แบบสอบถามการปฏิบัติเพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง และ 3) แบบสอบถามอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติและอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง โดยการทดสอบค่าที่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ทนงศักดิ์ จันทบุรี, ณัฐิยา ตันตรานนท์, เกตุมณี มากมี, สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ Jan 2019

การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ทนงศักดิ์ จันทบุรี, ณัฐิยา ตันตรานนท์, เกตุมณี มากมี, สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนําสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามครูแกนนําที่คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กําหนดไว้ 19 คน โดยผู้วิจัยได้พัฒนาคู่มือฝึกอบรมจากนั้นทําการอบรมครูแกนนําและประเมินผลการพัฒนาภาวะผู้นําของครูแกนนํา ผลการวิจัย พบว่า คู่มือมีความเหมาะสมและมีส่วนประกอบที่สําคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) แนวทางการดําเนินการ 2) การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง 3) การพัฒนาครูแกนนําสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 4) การติดตามประเมินผลภายหลังการฝึกอบรม ผู้วิจัยทําการประเมินผลการอบรมภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แนวคิดของ KIRKPATRICK'S พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและแสดงพฤติกรรมกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น และมีความสามารถในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและความร่วมมือทางวิชาการ โดยการฝึกอบรมภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีองค์ประกอบของเนื้อหาใน 5 มิติ ได้แก่การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา การบ่งชี้และให้ความชัดเจนทางวิสัยทัศน์ และการคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจากการอบรมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ


ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุปราณี ชมจุมจัง, ขนบพร แสงวณิช Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุปราณี ชมจุมจัง, ขนบพร แสงวณิช

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ Pretest-posttest one group design ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยจํานวน 8 สัปดาห์ ๆ 1 ครั้งละ ๆ 50 นาที กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดชัยมงคล สังกัดสํานักงานกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการวาดภาพก่อนและหลังเรียน แผนการสอนโดยใช้กิจกรรมมิติสัมพันธ์ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์มีผลคะแนนการวาดภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 และผลการวิเคราะห์แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์พบว่า เด็กส่วนใหญ่ชอบกิจกรรมที่จัดขึ้นมาก คิดเป็นร้อยละ 86.7


The Influence Of Pre-Exam Activities On Test Performance: Studying The Gender Differences, Simon Moxon, Athipat Cleesuntorn Jan 2019

The Influence Of Pre-Exam Activities On Test Performance: Studying The Gender Differences, Simon Moxon, Athipat Cleesuntorn

Journal of Education Studies

The aim of this study was to investigate the influence of pre-exam activities on exam performance, and the significance of gender in each case. The research instruments comprised of a behavioural trait questionnaire and the scores which were taken from a Social Studies formal examination. Respondents (n = 358, female = 224, male = 134) were assigned to one of five groups based on their chosen pre-exam activity; Practising Recall of Subject Material (PRSM), Writing/ Reviewing Course Notes (WRCN), Brain Chemical Stimuli (BCS), Mood, and Social Interaction (SI). Data were analysed in terms of mean quartile range exam scores using …


การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ, ปิยนันท์ พัชรสําราญเดช, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2019

การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ, ปิยนันท์ พัชรสําราญเดช, บัญชา ชลาภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 143 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า กรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ ประกอบด้วยการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาด้านหลัก 2 ด้าน และด้านย่อย 4 ด้าน การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง 3 รูปแบบ และ ความต้องการของสถานประกอบการ 3 ด้านและสภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการด้านบริหารวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง ด้านบริหารกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ด้านการบริหารวิชาการและด้านบริหารกิจการนักเรียน อยู่ในระดับมาก


ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีที่มีต่อตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โชติกุล รินลา, สายรุ้ง ชาวสุภา Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีที่มีต่อตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, โชติกุล รินลา, สายรุ้ง ชาวสุภา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี 2) เปรียบเทียบตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี จํานวน 44 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบสืบสอบ จํานวน 43 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบวัดตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.62 และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้เคมี มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.67
ผลการวิจัยสรุปว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดีและ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การวิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, เมษา นวลศรี Jan 2019

การวิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, เมษา นวลศรี

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 2) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จําแนกตามเพศกลุ่มสาขาวิชาที่เรียน และชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจํานวน 250 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงสรุป อ้างอิง ได้แก่ t-test และ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีระดับความสุขในการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.88, SD = 0.50) และ 2) ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาไม่แตกต่างกันตามเพศ กลุ่มสาขาวิชา และ ชั้นปี