Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

Journal

2019

ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน Oct 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนิน การวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด การเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ และระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชั้นตอน ได้แก่ ชั้นกำหนด ปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริง ชั้นศึกษาข้อมูลของสถานการณ์หรือปัญหากำหนดให้ ชั้นลงมือปฏิบัติ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ชั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชั้นหาข้อสรุปทั่วไปที่เป็นแบบแผน และชั้นประยุกต์และขยายองค์ความรู้ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, กฤษฎา วรพิน, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียน การสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตน้ การวิจัยนี้เปน็ การวิจัยและพัฒนา โดยแบง่ การวิจัย ออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิด แบบฮิวริสติกส์ และระยะที่ 2 การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวน การเรียนการสอนนี้ใช้แนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตั้งปัญหาเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิม ขั้นนำเสนอมโนทัศน์ใหม่ ขั้นเผชิญโจทย์ปัญหาและ ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นเข้ากลุ่มเพื่อดำเนินการแก้ปัญหา และขั้นสรุปความรู้และขยายปัญหา 2) นักเรียน ที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนนี้มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียน การสอนนี้มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียน การสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05