Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

Journal

2019

เด็กปฐมวัย

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค Oct 2019

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค

Journal of Education Studies

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการเทคโนโลยีที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้เด็กมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเด็กจะได้ใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือกล้องถ่ายภาพอย่างสร้างสรรค์ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน เน้นให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกคิด สนทนาโต้ตอบอย่างมีเหตุผล และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข นำไปสู่การพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง กล่าวได้ว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมทั้งทักษะในศตวรรษที่ 21 อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นบุคคลที่คิดเป็น เรียนรู้เป็น และรู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้


การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง Oct 2019

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตย และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยของสถานศึกษาปฐมวัย ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำชั้นระดับอนุบาล อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยแต่ละข้อมีความสำคัญอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คุณลักษณะที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ เคารพข้อตกลง กฎ กติกา และมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มและเรียนรู้จากกลุ่ม 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้ออันดับแรก คือ บูรณาการผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงให้เกิดความเข้าใจและได้ซึมซับทักษะประชาธิปไตย รองลงมา คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และวินัยในตนเองในทุกกิจกรรมประจำวันตามโอกาสและเหมาะกับวัย และให้เด็กร่วมกันคิด ใช้เหตุผลตามวัยในการกำหนดข้อตกลงในห้องเรียน และการเคารพข้อตกลง กฎ กติกา


การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน Jul 2019

การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) เพื่อศึกษาผลการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/8 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 35 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดเกณฑ์คะแนนการผ่านร้อยละ 70.00
ผลการวิจัย พบว่า: 1. ได้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2. ผลการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การจัดหมวดหมู่ (ร้อยละ100) รองลงมาได้แก่ การคาดคะเน (ร้อยละ 96.71) การหาความสัมพันธ์(ร้อยละ 91.42) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 89.28) และการสํารวจ(ร้อยละ 87.86) ตามลําดับ 3. ผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของกลุ่มเป้าหมายพบว่าคะแนนผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้คือร้อยละ 70.00


ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี Jul 2019

ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาลอายุระหว่าง 4-5 ปี จํานวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 18 คน กลุ่มทดลอง 18 คน ทําการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยทดสอบทักษะกลไกเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ 1) ทักษะการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 2) ทักษะการควบคุมอุปกรณ์ และ 3) พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวแต่ละด้านระหว่างกลุ่มด้วยสถิติที (Independent t-test) และภายในกลุ่มด้วยสถิติที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลอง


การศึกษาการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักวิจัยไทยและนิสิต-นักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม การท่องเที่ยว และอื่น ๆ, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ละเอียด ศิลาน้อย, ชำนาญ ศรีสวัสดิ์, ผกามาศ ชัยรัตน์ Jan 2019

การศึกษาการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักวิจัยไทยและนิสิต-นักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม การท่องเที่ยว และอื่น ๆ, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ละเอียด ศิลาน้อย, ชำนาญ ศรีสวัสดิ์, ผกามาศ ชัยรัตน์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้พบว่า งานวิจัยร้อยละ 26.23% ไม่บอกที่มาของตัวเลขขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้และงานวิจัยร้อยละ 48.36 ใช้สูตรคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 76.27 ใช้สูตร ที่ผิดพลาด) นอกจากนี้งานวิจัยอีกร้อยละ 25.41 ใช้ตารางสำเร็จรูปในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งปรากฏว่าใช้ตารางสำเร็จรูปอย่างผิดพลาดทั้งหมด) ความผิดพลาดที่พบคือ งานวิจัยที่ทำการศึกษา ค่าเฉลี่ยประชากร (ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นคำตอบ) กลับนำเอาสูตรของ ยามาเน่มาใช้มากถึงร้อยละ 73.33 รองลงมาเป็นการใช้สูตรของโคแครนและสูตรของกัลยา วานิชย์บัญชาใน ส่วนที่ออกแบบไว้เพื่อการศึกษาสัดส่วนประชากร และสูตรของเคร็จซี่แอนด์มอร์แกนร้อยละ 13.33, 8.88 และ 4.44 ตามลำดับซึ่งถือว่าผิดพลาดเพราะสูตรดังกล่าวเป็นสูตรที่ใช้คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อ การศึกษาสัดส่วนประชากร (ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวน ความถี่ ร้อยละ สัดส่วน) และกรณีใช้ตารางสำเร็จรูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาค่าเฉลี่ยประชากรพบว่าร้อยละ 74.19 นำเอาตารางสำเร็จรูป ของเคร็จซี่แอนด์มอร์แกนมาใช้งาน ร้อยละ 25.81 นำเอาตารางสำเร็จรูปของยามาเน่มาใช้งานซึ่งเป็น การใช้สูตรผิดประเภทของการศึกษาวิจัยดังกล่าว