Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Dramatic Literature, Criticism and Theory

Who Lives, Who Dies, Who Tells Your Story? A Marxist Analysis Of "Hamilton" And Its Relationship To The Broadway Economic System, Alana Ritt Apr 2021

Who Lives, Who Dies, Who Tells Your Story? A Marxist Analysis Of "Hamilton" And Its Relationship To The Broadway Economic System, Alana Ritt

Honors Projects

Lin-Manuel Miranda’s mega-hit Hamilton: An American Musical has been both a critical and academic darling since its premiere in 2015. A historical retelling of America’s inception through the eyes of an oft-ignored founding father, the musical weaves together a diverse cast and hip-hop musical stylings in order to tell the story of “America then, as told by America now.” While many critics and scholars alike have praised the musical for putting an exciting and accessible twist to American history, others have argued that the musical is not nearly as “revolutionary” as it claims to be. This essay is designed to …


Teaching The Structure Of Hamlet: The "To Be Or Not To Be" Soliloquy Repositioned In Recent Film Adaptations, Joanne E. Gates Jan 2021

Teaching The Structure Of Hamlet: The "To Be Or Not To Be" Soliloquy Repositioned In Recent Film Adaptations, Joanne E. Gates

Presentations, Proceedings & Performances

At a crucial turning point in online access to quality productions of Shakespeare, the (April 2010) Great Performances airing of Hamlet (with David Tennant and Patrick Stewart), the occasion arose to turn the open access to it into teaching strategies. Along with all else quirky about it, the production accepts what seems to be a trend in recent film adaptations, dating from at least Zeffirelli's with Mel Gibson in 1991; that is, to rearrange the sequence of Hamlet's 2.2 and 3.1 soliloquies. The precedent dates to the 1603 First Quarto, perhaps, but everything else about the first quarto …


การศึกษากลวิธีเพื่อเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะทางอารมณ์โศกเศร้า จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร : กรณีศึกษา ตัวละคร “คณิตา” ผู้แต่งเดวิด ออร์เบิร์นในบทละครเรื่องบทพิสูจน์ (2543), ชีวารัตน์ กสิบาล Jan 2021

การศึกษากลวิธีเพื่อเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะทางอารมณ์โศกเศร้า จากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยใช้หลักมหาสติปัฏฐานสูตร : กรณีศึกษา ตัวละคร “คณิตา” ผู้แต่งเดวิด ออร์เบิร์นในบทละครเรื่องบทพิสูจน์ (2543), ชีวารัตน์ กสิบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือการเจริญสติโดยมีสติเป็นประธานตามรู้ตามดูสภาวะที่เกิดขึ้นกับตนเองตามความเป็นจริงในปัจจุบันขณะ แบ่งออกเป็น 4 หลักได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้วิจัยได้นำหลักธรรมนี้มาปฏิบัติเพื่อหากลวิธีการเข้าถึงสภาวะ คงอยู่ และออกจากสภาวะภายในของตัวละครที่มีลักษณะอารมณ์โศกเศร้าจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก (Grief and Bereavement) ซึ่งมีสภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหวง่าย และมีลักษณะอาการใกล้เคียงโรคทางจิตเวชชนิดไม่รุนแรงมากนัก โดยมีจุดมุ่งหมายในศึกษาการเข้าถึง คงอยู่ และออกจากสภาวะภายในของตัวละครโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของนักแสดง งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผลการฝึกปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร, บันทึกการทำงานของผู้วิจัย, ผลการวิเคราะห์จากการรวบรวมข้อมูล และแบบสอบถามจากผู้ชม ผลการศึกษาพบว่า การฝึกปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตรมีความละเอียดและลึกซึ้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ จึงไม่สามารถปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างสูงสุดในหลักการได้ แต่ยังคงประโยชน์หลายส่วนที่นักแสดงสามารถทำความเข้าใจ นำมาเริ่มต้นปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเอง และนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการแสดงของตนได้


กระบวนการกำกับการแสดงเรื่อง เช่า เขา อยู่ ของนฤทธิ์ ปาเฉย ในรูปแบบละครอิมเมอร์ซีฟเฉพาะที่บนพื้นที่ออนไลน์, ภาณุวัฒน์ อินทวัฒน์ Jan 2021

กระบวนการกำกับการแสดงเรื่อง เช่า เขา อยู่ ของนฤทธิ์ ปาเฉย ในรูปแบบละครอิมเมอร์ซีฟเฉพาะที่บนพื้นที่ออนไลน์, ภาณุวัฒน์ อินทวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์การแสดงรูปแบบอิมเมอร์ซีฟเฉพาะที่ และทดลองกำกับการแสดง เรื่อง “เช่า เขา อยู่” ของ นฤทธิ์ ปาเฉย ในรูปแบบละครอิมเมอร์ซีฟเฉพาะที่บนพื้นที่ออนไลน์ ผ่านแอพลิเคชั่น ซูม คลาวด์มีตติ้ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แล้ว ยังเป็นการมุ่งหน้าสู่จักรวาลนฤมิตซึ่งเข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้น จึงอาจเป็นแนวทางของการสร้างสรรค์ละครเวทีรูปแบบใหม่ในอนาคต ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และสังเคราะห์เป็นกระบวนการกำกับการแสดงเรื่อง “เช่า เขา อยู่” ซึ่งมุ่งสร้างองค์ประกอบของละครอิมเมอร์ซีฟตามทัศนะของ โรส บิกกิ้น ให้เหมาะสมกับพื้นที่ออนไลน์ดังนี้คือ 1) ปรับพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่ตั้งใจจะจัดในอาคารพาณิชย์ร้างแห่งหนึ่งในเยาวราช มาเป็นพื้นที่เสมือนบนแอพลิเคชั่น ซูม คลาวด์ มีตติ้ง 2) สร้างเรื่องเล่าแบบหลากลำดับเรื่องให้ผู้ชมแต่ละคนเลือกลำดับการรับชมได้ด้วยตนเอง และ 3) ออกแบบให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์ต่อเรื่องเล่า ต่อผู้ชมด้วยกันเอง และต่อผู้แสดงผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จากนั้นจึงนำเสนอต่อผู้ชมทั่วไป ผลการวิจัยบ่งชี้ว่าการสร้างองค์ประกอบทั้ง 3 ของละครอิมเมอร์ซีฟให้สัมพันธ์กันอย่างมีเอกภาพช่วยให้ผู้ชมเชื่อว่าตนเป็นส่วนสำคัญในใจกลางของการแสดง และมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องได้ไม่ต่างจากการจัดแสดงบนพื้นทางกายภาพ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรให้มีการสร้างสรรค์ละครอิมเมอร์ซีฟเฉพาะที่บนพื้นที่ออนไลน์ในสื่ออื่นอีก เพื่อค้นหารูปแบบการแสดงออนไลน์ใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาศิลปะการละครให้ก้าวไปในจักรวาลนฤมิตอย่างสร้างสรรค์