Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 41 of 41

Full-Text Articles in Entire DC Network

การศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจของนิสิตจุฬาฯ ต่อการใช้บริการทางทันตกรรม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ขวัญศิริ เปล่งสมบัติ, วิชุลดา พุนทิกาพัทธ์, ศุลีพร ธีระเจตกูล Jan 1999

การศึกษาระดับความกลัวและกังวลใจของนิสิตจุฬาฯ ต่อการใช้บริการทางทันตกรรม, สุนทร ระพิสุวรรณ, ขวัญศิริ เปล่งสมบัติ, วิชุลดา พุนทิกาพัทธ์, ศุลีพร ธีระเจตกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการศึกษา ศึกษาเปรียบเทียบระดับความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรมและ ปัจจัยเกี่ยวข้อง ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสาขาต่าง ๆ วัสดุและวิธีการ ประชากรศึกษาที่นํามาวิเคราะห์มีจํานวน 660 คน ได้รับการแจกแบบสอบถามที่ประกอบด้วย คําถามด้านประชากรศาสตร์ และคําถามของ The Carah's Dental Anxiety Scale ผลการศึกษา พบว่า ร้อยละ 8.6 ของประชากรศึกษาไม่แสดงความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทางทันตกรรม ค่าเฉลี่ยของคะแนนความกลัวและกังวลใจต่อการใช้บริการทันตกรรม (DAS score) เท่ากับ 8.51± 3.27 เพศหญิง นิสิตในคณะต่างกันจะมีความกลัวและกังวลใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ มีความกลัวและกังวลใจมากกว่าเพศชายทางสถิติ (P≤0.001) และประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกในชีวิตมีผลต่อความกลัวและกังวลใจของ กลุ่มนี้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.001)สรุป 1. ระดับความกลัวและกังวลใจของประชากรศึกษากลุ่มนี้เท่ากับ 8.51 ± 3.27 2. เพศ, กลุ่มคณะและประสบการณ์ในการใช้บริการทันตกรรมครั้งแรกมีผลต่อความกลัวและกังวลใจอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติ


ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์ Jan 1999

ฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีดีนลดปริมาณกรดแลคติกที่เกิดจากสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลอง, เกรียงไกร คุ้มไพโรจน์, ศิวพร สุขสว่าง, ทิพรัตน์ เมฆาอภิรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซิดีน ที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการ สร้างกรดแลคติกจากเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) สายพันธุ์ KPSK-2 โดยใช้ฟลูออไรด์ และคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตที่มีความเข้มข้นต่างๆ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง การทดลองแบ่งตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดสอบฟลูออไรด์ และกลุ่มคลอร์เฮกซิดีน ในกลุ่มควบคุมเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ถูกบ่มในกับอาหารเลี้ยงเชื้อ Todd Hewitt ส่วนกลุ่มทดสอบเติมฟลูออไรต์ให้มีความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ส่วนในล้านส่วนและคลอร์เฮกซิตีนให้มีความ เข้มข้น 0.07, 0.10, 0.50 และ 1.00 mg% ลงในหลอดเลี้ยงเชื้อตามลําดับ นําไปบ่มที่ 37 องศาเซลเซียส ใน 5% CO2 เป็นเวลา 48 ชั่วโมง เก็บเชื้อโดยนําไปปั้นที่ 3,000 รอบต่อนาที นําส่วนใสมาตรวจหากรดแลคติก ผลการทดลอง พบว่าการสร้างกรดแลคติกลดลงเมื่อมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และคลอร์เฮกซีนเพิ่มขึ้น โดยมี ความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ p<0.05 (ANOVA) บทสรุป จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ยาอมบ้วนปากโซเดียมฟลูออไรด์ และหรือคลอร์เฮกซิดีน กลูโคเนตในความเข้มข้น ที่ต่ํา สามารถยับยั้งการสร้างกรดแลคติกของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ในหลอดทดลองได้


ผลของยาแก้ปวด (4 ชนิด) ต่อการลดอาการปวดและปฏิกิริยาการอักเสบภายหลังการผ่าตัดฟันคุด, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ Jan 1999

ผลของยาแก้ปวด (4 ชนิด) ต่อการลดอาการปวดและปฏิกิริยาการอักเสบภายหลังการผ่าตัดฟันคุด, สุรินทร์ ตั้งสุภูมิ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพต่อการลดอาการปวดและปฏิกิริยาการอักเสบของยาแก้ปวด 4 ชนิด ได้แก่ ยาพาราเซททามอล 1000 มก. ยาไอบูโปรเฟน 400 มก. ยาโลโซโปรเฟน 60 มก. และยาไดคอลฟีแนคโซเดียม 25 มก. ภายหลังการผ่าตัดฟันคุดของฟันกรามล่างซี่ที่สาม วิธีการศึกษา ผู้เข้ารับการศึกษาจํานวน 126 ราย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มให้รับประทานยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ทันทีภายหลังการผ่าตัดฟันคุดและให้รับประทานยาต่อทุก 4 ชั่วโมง บันทึกอาการปวดเป็นคะแนนลงในแบบบันทึก ทุก ๆ 1 ชั่วโมง เริ่มบันทึกทันทีภายหลังการผ่าตัด ผู้ศึกษาวัดผลการบวมและวัดระยะอ้าปากได้จํากัดก่อนและหลังการ ผ่าตัด 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาและสรุป ยาไอบูโปรเฟนสามารถลดอาการปวดได้ดีกว่ายาอีก 3 ชนิด อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยเฉพาะภายใน 6 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ส่วนยาพาราเซททามอล ลดอาการปวดได้น้อยที่สุด ยา ไดคอลฟีแนคโซเดียมสามารถลดการอ้าปากได้จํากัดได้ดีกว่ายาอีก 3 ชนิดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p≤0.05) ปฏิกิริยา ต่อการลดอาการบวมของใบหน้าของยาทั้ง 4 ชนิดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P≥0.05)


องค์ประกอบของรอยยิ้ม, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ, สิรินันท์ แซ่ตั้ง Jan 1999

องค์ประกอบของรอยยิ้ม, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปิยมาศ สำเร็จกาญจนกิจ, สิรินันท์ แซ่ตั้ง

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ยมาตรฐานขององค์ประกอบรอยยิ้ม อันได้แก่ รูปแบบ ของรอยยิ้ม ความหมายของโค้งปลายฟันหน้าบนกับริมฝีปากล่าง ตําแหน่งของโค้งปลายฟันหน้าบนที่สัมผัสกับ ริมฝีปากล่าง และบริเวณโปร่งแสงของฟันหน้าบน วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ซึ่งมีอายุระหว่าง 19 ปี 22 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จํานวน 100 คน โดยเลือกผู้ที่มี ฟันหน้าบนครบทุกซี่ ไม่มีช่องว่างระหว่างฟัน และมีการเรียงตัวของฟันอยู่ในแนวปกติ โดยให้กลุ่มประชากร ตัวอย่างยิ้มอย่างเต็มที่ภายใต้แสงไฟนีออนธรรมดาทีละคน ในขณะที่มีผู้สังเกตดูองค์ประกอบต่าง ๆ ของรอยยิ้ม และบันทึกผลของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจึงนําข้อมูลมาคํานวณเป็นร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสถิติชนิดไคสแควร์ ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 49 ของกลุ่มตัวอย่างขณะยิ้มเต็มที่จะเห็นฟันหน้าบน เกือบทั้งซี่ และเห็นเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันด้วย ร้อยละ 59 มีส่วนโค้งปลายฟันหน้าบนขนานกับเส้นโค้ง ด้านในของริมฝีปากล่าง ร้อยละ 74 ปลายฟันหน้าบนจะไม่สัมผัสกับริมฝีปากล่าง และร้อยละ 77 มีบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบนอยู่ที่ปลายฟัน องค์ประกอบของรอยยิ้มที่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ รูปแบบรอยยิ้ม และบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบน พบว่าเพศชายและหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 ส่วนองค์ประกอบของรอยยิ้มที่ไม่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ ความขนานและลักษณะการสัมผัสระหว่างโค้งปลายฟันหน้าบน และริมฝีปากล่าง พบว่าเพศชายและหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05


แนวโน้มของผู้ป่วยฟันสึกกลุ่มหนึ่งในคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ปรีวันท์ จันทรเวช, เทวฤทธิ์ สมโคตร Jan 1999

แนวโน้มของผู้ป่วยฟันสึกกลุ่มหนึ่งในคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิดา อนุสสรนิติสาร, ปรีวันท์ จันทรเวช, เทวฤทธิ์ สมโคตร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่พบมากในผู้ป่วยที่มาขอรับบริการใส่ฟันในคลินิก ทันตกรรมประดิษฐ์บัณฑิตศึกษา ซึ่งได้แก่ฟันสึก โดยศึกษาตําแหน่งฟันสึก รูปแบบการเกิดฟันสึก ความรุนแรง ของฟันสึก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของฟันสึก วิธีการศึกษา การศึกษานําร่องทําโดยสํารวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางทันตกรรมประดิษฐ์ จากแบบหล่อ ศึกษาจํานวน 159 ราย แล้วสุ่มเลือกศึกษาแบบหล่อศึกษาของผู้ป่วยที่มีฟันสึกมากที่จําเป็นต้องรักษาโดยการ ฟื้นฟูสภาพช่องปากจํานวน 57 ราย ที่มาขอรับบริการในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปีพุทธศักราช 2534-2540 เพื่อศึกษาตําแหน่งของฟันสึก รูปแบบการเกิดฟันสึก ระดับความรุนแรงของฟันลึก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของฟันสึก และบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูลที่ออกแบบโดยผู้วิจัยการศึกษาดูเฉพาะการสึกของฟันด้านบดเคี้ยวหรือบริเวณปลายฟันด้านริมฝีปากหรือข้างแก้มไปยังด้านลิ้น เกณฑ์วัดความรุนแรงของฟันสึกใช้ดัชนีวัดความรุนแรงของ ฟันสึกของ Johansson การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ non-parametric ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ผลการศึกษาและสรุป พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 92.98 มีฟันสึกในฟันหน้าและฟันหลังทั้งขากรรไกรบนและล่าง จํานวนร้อยละ 5.26 มีฟันสึกเฉพาะฟันหน้าทั้งขากรรไกรบนและล่าง ฟันล่างมีระดับความรุนแรงของฟันสึกสูง กว่าฟันบน ฟันหน้าสึกรุนแรงกว่าฟันหลัง ทั้งขากรรไกรบนและล่างอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.005) ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่เริ่มพบฟันสึกรุนแรง และผู้ป่วยเพศชายมีระดับความรุนแรงของฟันสึกสูงกว่าเพศ หญิงอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05) นอกจากนี้จํานวนฟันคู่สบยังมีสหสัมพันธ์กับความรุนแรงของฟันสึก กลุ่มที่มี ฟันคู่สบในฟันหลังเหลือมากกว่า 6 คู่ มีระดับความรุนแรงของฟันสึกน้อยกว่ากลุ่มที่มีฟันคู่สบในฟันหลังเหลือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 คู่ อย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05)


Dentocult Sm-Strip Mutans Kit เครื่องมือบอกอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุแบบง่ายๆ, จินตกร คูวัฒนสุชาติ Jan 1999

Dentocult Sm-Strip Mutans Kit เครื่องมือบอกอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุแบบง่ายๆ, จินตกร คูวัฒนสุชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้ ต้องการหาวิธีการง่ายๆ ที่ใช้ชี้บอกให้รู้ถึงความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดฟันผุขึ้น ที่สะดวก ต่อการที่จะนําไปใช้ทั้งในทันตกรรมชุมชนและในคลินิกทั่วไป วัสดุและวิธีการ ทําการเก็บตัวอย่างน้ําลาย โดยใช้ Dentocult SM-Strip mutans kit ที่ทําออกมาสําเร็จรูปพร้อม นํามาใช้ได้ทันที ปริมาณของ S.mutans ในน้ําลายผู้ป่วยศึกษาได้จากการเปรียบเทียบจํานวนโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย บน Dentocult SM-Strip กับแผนภูมิมาตรฐาน จากนั้นแบ่งกลุ่มความเข้มข้นของแบคทีเรียเป็น 4 ระดับคะแนน ตั้งแต่ 0 ถึง 3 ระดับความเสี่ยงของการเกิดฟันผุสามารถพิจารณาจากระดับคะแนนนั้น ผลการศึกษาและสรุป ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถแยกกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ง่าย ออกจาก กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดฟันผุได้ยากได้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


รูปแบบใบหน้าในแนวดิ่งในกลุ่มโครงสร้างคลาสทรี, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, รักพร เหล่าสุทธิวงษ์ Jan 1999

รูปแบบใบหน้าในแนวดิ่งในกลุ่มโครงสร้างคลาสทรี, พรทิพย์ ชิวชรัตน์, รักพร เหล่าสุทธิวงษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราการเกิดรูปแบบของใบหน้าในแนวดิ่ง 3 รูปแบบ ตามการวัดมุมและระยะทาง 7 ค่า ซึ่งได้แก่ SN/MP UFH LFH ULL LLL ADH และ PDH ในกลุ่มเพศชายและหญิงที่มีโครงสร้างใบหน้าเป็น และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับอัตราการเกิดรูปแบบดังกล่าวคลาสทรี วัสดุและวิธีการ ทําการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์กําหนดและได้กลุ่มตัวอย่างที่มีโครงสร้างคลาสทรีที่ไม่เคย รับการจัดฟันจํานวน 200 คน (ชาย 100 คน หญิง 100 คน) วิเคราะห์เซฟฟาโลเมตริกด้วยการวัดค่ามุมและระยะ ทาง 7 ค่า และจําแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มตามค่ามุมและระยะทางที่น้อยกว่า เท่ากับ และมากกว่าปกติ ผลของการวิจัย และสรุป พบว่า อัตราการเกิดโอเพนไบท์หรือปกติมีจํานวนมากที่สุด คือ ร้อยละ 44-47 ทั้ง เพศชายและเพศหญิง (SN/MP, LFH และ LLL) ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่พบจํานวนมากที่สุดได้แก่ ใบหน้าที่มีริม ฝีปากบนสั้นกว่าปกติ (ULL) และใบหน้าที่มีความสูงของฟันหน้า (ADH) และฟันหลัง (PDH) เป็นปกติ มีอัตรา การเกิดใกล้เคียงกันคือ ร้อยละ 55-65 ทั้งในเพศชายและเพศหญิง รวมทั้งไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศกับอัตรา การเกิดลักษณะดังกล่าวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.05) ยกเว้นพบความแตกต่างระหว่างเพศกับอัตราการเกิด ใบหน้าที่มีความผิดปกติและปกติของความยาวส่วนบน (UFH) และความยาวส่วนล่าง (LFH) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ และฟันกรามน้อย, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปรารมภ์ ซาลิมี, อัญชัย เอกอนันต์กุล, เข็มทอง มิตรกูล Jan 1999

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ และฟันกรามน้อย, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, ปรารมภ์ ซาลิมี, อัญชัย เอกอนันต์กุล, เข็มทอง มิตรกูล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่และ ฟันกรามน้อยเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาใส่ฟันปลอมให้ผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ที่มีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอม วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีฟันเหลือเฉพาะฟันกรามน้อย 17 คน, เหลือเฉพาะฟันกราม ใหญ่ 7 คน และกลุ่มควบคุมซึ่งมีฟันธรรมชาติครบ 28 ปี 20 คน โดยให้กลุ่มผู้ทดลองเคี้ยวลูกชิ้นปลาจํานวน 3 ลูก ลูกละ 10,20 และ 40 ครั้งตามลําดับจากนั้นคายลงในตะแกรงลวดเพื่อกรองลูกชิ้นปลาที่เคี้ยวแล้ว ผ่านตะแกรงความถี่เบอร์ 5 (0.1571) และเบอร์ 100 (0.0059) ตามลําดับ และนําเศษลูกชิ้นปลาในแต่ละ ตะแกรงไปชั่งน้ําหนักเพื่อคํานวณประสิทธิภาพการบดเคี้ยวจากร้อยละของน้ําหนักลูกชิ้นในตะแกรงละเอียดและ ตะแกรงหยาบ แล้วนํามาเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมโดยใช้ Independent t-test ที่ p>0.05 ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มที่มีฟันธรรมชาติอยู่ครบ เมื่อเคี้ยวจํานวน 10, 20, 40 ครั้งวัดได้ร้อยละ 16.03, 26.23 และ 42.05 ตามลําดับผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกราม น้อยวัดได้ 14.41, 19.92 และ 31.56 ตามลําดับส่วนผู้ที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่วัดได้ 14.58, 20.05 และ 30.23 ตามลําดับ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามน้อยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติจากผู้ป่วยที่เหลือเฉพาะฟันกรามใหญ่ (p>0.05) ดังนั้นผู้ป่วยที่สูญเสียฟันธรรมชาติไปควรใส่ฟันปลอม เพื่อให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวดีขึ้น แต่ในบางกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อจํากัดในการใส่ฟันปลอมก็สามารถละเว้นได้โดยที่ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาจลดลงบ้าง


พฤติกรรมการรับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยที่มาถอนฟันที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี, วรนุช พร้อมนาวิน Jan 1999

พฤติกรรมการรับบริการทางทันตกรรมของผู้ป่วยที่มาถอนฟันที่โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี, วรนุช พร้อมนาวิน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับบริการรักษาทางทันตกรรมของผู้ป่วยที่มาถอนฟันที่โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช และโรงพยาบาลชุมชนอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ ศึกษาในผู้ป่วย 185 คน อายุระหว่าง 17-65 ปี มาถอนฟันที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช 92 คน และที่โรงพยาบาลอู่ทอง 93 คน เก็บข้อมูลในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ โดยให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามเอง ทันตแพทย์ ตรวจฟัน บันทึกผลของการรักษาอย่างเหมาะสมสุด ผลการให้บริการที่ผู้ป่วยเห็นชอบและได้รับบริการจริง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for windows ทดสอบความสอดคล้อง ด้วยสถิติ Kappa ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทํางาน อาชีพรับจ้าง มารักษาโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งนี้ มีพฤติกรรม การรักษาทางทันตกรรมที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือส่วนใหญ่มาพบทันตแพทย์ด้วยอาการที่เป็นมากแล้ว คือ ปวดฟัน ฟันโยก เคี้ยวแล้วเจ็บ ฟันเหลือแต่ราก และผู้ป่วยทั้งสองโรงพยาบาลที่มารับบริการถอนฟัน ยังสามารถรักษาคลอง รากฟันได้ร้อยละ 21.7 และ 10.8 ตามลําดับ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ต้องการเก็บรักษาฟันไว้ ที่ต้องการเก็บฟันไว้มีเพียง ร้อยละ 3.3 และ 2.2 เท่านั้น และพบว่างานบริการทันตกรรมที่ทันตแพทย์วินิจฉัย กับงานบริการทันตกรรมที่ผู้ป่วย ได้รับจริงมีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ อยู่ในระดับน้อย สรุป ผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน ยังมีพฤติกรรมการรักษาทางทันตกรรมที่คล้ายคลึงกันและไม่ ถูกต้อง ผู้ป่วยจะมาพบทันตแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว ผู้ป่วยชอบที่จะถอนฟันเพื่อให้พ้นจากความเจ็บปวด ดังนั้น ทันตแพทย์ควรอธิบายแผนการรักษาทุกครั้งก่อนให้บริการ และใช้เวลามากขึ้นเพื่ออธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติ ความเชื่อในการดูแลรักษาฟัน และตระหนักถึงความสําคัญของการมีฟันธรรมชาติไว้ใช้ในช่องปาก


ความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดของวัสดุสร้างแกนฟันชนิดต่างๆ, แมนสรวง อักษรนุกิจ, พรพิมล ชรากร, เพ็ญพรรณ ตรงสวัสดิ์ Jan 1999

ความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดของวัสดุสร้างแกนฟันชนิดต่างๆ, แมนสรวง อักษรนุกิจ, พรพิมล ชรากร, เพ็ญพรรณ ตรงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล (Diametral tensile strength, DTS) และความต้านทานต่อแรงอัด (Compressive strength, CS) ของวัสดุสร้างแกนฟัน วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานจํานวน 112 ชิ้น เตรียมจากวัสดุ 7 ชนิด ได้แก่ บิสคอร์ (Biscore), ไทคอร์ (Ti-core),ลักษ์อัลลอยด์ (Luxalloy), คอมโพกลาส (Compoglass), ไดแรค (Dyract), ไวทริเมอร์ (Vitremer) และดีแทคโมลาร์ (Ketac Molar) ในจํานวน 112 ชิ้น 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และอีก 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 3 มิลลิเมตร หนา 6 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานต่อแรงอัด แซ่ชิ้นงานทั้งหมดในน้ํากลั่น และ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนการทดลอง นําชิ้นงาน มาหาค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และความต้านทานต่อแรงอัด ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง [Lloyd Instruments, LR 10K (Lloyd Instruments Ltd., Segensworth, Fareham)] ด้วยความเร็วหัวทดสอบ 5 มิลลิเมตร ต่อนาทีผลการศึกษาและสรุป จากการทดสอบทางสถิติโดยใช้ ANOVA พบความแตกต่างของความต้านทานไดอะ มีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดระหว่างวัสดุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.001 จากการศึกษาพบว่า วัสดุจําพวก กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน มีค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อ แรงอัดต่ํา ไม่เหมาะสมกับการนํามาใช้สร้างแกนฟัน


รูปแบบการสูญเสียฟันในผู้ป่วยคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิตา อนุสสรนิติสาร, ประภารัตน์ พรพงศ์อธิคม, วิมลรัตน์ วรสุทธยางกูร Jan 1999

รูปแบบการสูญเสียฟันในผู้ป่วยคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์, เพ็ชรา เตชะกัมพุช, สุภิตา อนุสสรนิติสาร, ประภารัตน์ พรพงศ์อธิคม, วิมลรัตน์ วรสุทธยางกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการสูญเสียฟันของผู้ป่วยที่มาทําการ รักษาในคลินิกบัณฑิตศึกษาทันตกรรมประดิษฐ์ วิธีการศึกษา : ทําการศึกษานําร่องโดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาทางทันตกรรมประดิษฐ์ จากแบบหล่อศึกษา ของผู้ป่วยจํานวน 159 ราย แล้วสุ่มเลือกศึกษาแบบหล่อศึกษาของผู้ป่วยจํานวน 111 คน ในคลินิกบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มาทําการรักษาเพื่อฟื้นฟูสภาพช่องปากและมีการสูญเสีย ฟันในระหว่างปีพ.ศ.2534-2540 โดยดูความถี่ของตําแหน่งและจํานวนฟันที่หายไปรวมทั้งฟันคู่สบที่เหลืออยู่ โดยไม่นับรวมฟันกรามซี่ที่สาม แล้วทําการบันทึกลงในแบบสังเกต และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุ ต่าง ๆ (น้อยกว่า 45 ปี, 45-64 ปี, และมากกว่า 64 ปี) และเพศกับลักษณะการสูญเสียฟันในแบบต่างๆ โดย ใช้ ANOVA และ student t-test ตามลําดับ ผลการศึกษาและสรุป : พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการสูญเสียฟันในทั้งสองขากรรไกรมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.78 มีการสูญเสียฟันแบ่งตามชนิดการรองรับแรงเป็นแบบรองรับด้วยฟันและเนื้อเยื่อทั้งในขากรรไกรบนและ ล่าง คิดเป็นร้อยละ 45.05 และ 40.54 ตามลําดับ มีการสูญเสียฟันในตําแหน่งฟันหลังล่างมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 95.50 โดยมีการสูญเสียฟันกรามซี่แรกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 60.36 ผู้ป่วยมีการสูญเสียฟันโดยเฉลี่ย 10.13 ซี่ ซึ่งจํานวนเฉลี่ยของฟันที่หายไปจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.005) คือ 7.44, 10.65 และ 13.50 ตามลําดับ ในแง่ของฟันคู่สบที่เหลือนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีชนิดฟันคู่สบเป็นฟันเขี้ยวมากที่สุดคิดเป็น ร้อยละ 36.71 มีฟันคู่สบเป็นจํานวนเฉลี่ย 6.15 คู่ ซึ่งจํานวนเฉลี่ยของฟันคู่สบจะลดลงตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น คือ 7.80, 5.80 และ4.15 คู่ ตามลําดับ โดยช่วงอายุน้อยกว่า 45 ปีจะมีจํานวนคู่สบแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่าง มีนัยสําคัญ (p>0.005) ส่วนลักษณะการสูญเสียฟันในเพศชาย และหญิงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (p>0.05) จากการวิจัยนี้อาจสรุปได้ว่าผู้ป่วยจะ มีการสูญเสียฟันเพิ่มขึ้นตามอายุ ดังนั้นการป้องกันการสูญเสีย ฟันควรทําอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กหรืออย่างน้อยก่อนวัยผู้ใหญ่