Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

Chulalongkorn University

1999

Core buildup material

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Entire DC Network

ความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดของวัสดุสร้างแกนฟันชนิดต่างๆ, แมนสรวง อักษรนุกิจ, พรพิมล ชรากร, เพ็ญพรรณ ตรงสวัสดิ์ Jan 1999

ความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดของวัสดุสร้างแกนฟันชนิดต่างๆ, แมนสรวง อักษรนุกิจ, พรพิมล ชรากร, เพ็ญพรรณ ตรงสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบความต้านทานแบบไดอะมีทรัลเทนไซล (Diametral tensile strength, DTS) และความต้านทานต่อแรงอัด (Compressive strength, CS) ของวัสดุสร้างแกนฟัน วัสดุและวิธีการ ชิ้นงานจํานวน 112 ชิ้น เตรียมจากวัสดุ 7 ชนิด ได้แก่ บิสคอร์ (Biscore), ไทคอร์ (Ti-core),ลักษ์อัลลอยด์ (Luxalloy), คอมโพกลาส (Compoglass), ไดแรค (Dyract), ไวทริเมอร์ (Vitremer) และดีแทคโมลาร์ (Ketac Molar) ในจํานวน 112 ชิ้น 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และอีก 56 ชิ้น (8 ชิ้นต่อวัสดุ 1 ชนิด) มีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 3 มิลลิเมตร หนา 6 มิลลิเมตร ใช้สําหรับทดสอบความต้านทานต่อแรงอัด แซ่ชิ้นงานทั้งหมดในน้ํากลั่น และ เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนการทดลอง นําชิ้นงาน มาหาค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และความต้านทานต่อแรงอัด ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง [Lloyd Instruments, LR 10K (Lloyd Instruments Ltd., Segensworth, Fareham)] ด้วยความเร็วหัวทดสอบ 5 มิลลิเมตร ต่อนาทีผลการศึกษาและสรุป จากการทดสอบทางสถิติโดยใช้ ANOVA พบความแตกต่างของความต้านทานไดอะ มีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อแรงอัดระหว่างวัสดุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.001 จากการศึกษาพบว่า วัสดุจําพวก กลาสไอโอโนเมอร์ชนิดดัดแปลงด้วยเรซิน มีค่าความต้านทานไดอะมีทรัลเทนไซล และ ความต้านทานต่อ แรงอัดต่ํา ไม่เหมาะสมกับการนํามาใช้สร้างแกนฟัน