Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Computer Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

23,564 Full-Text Articles 38,363 Authors 8,336,044 Downloads 263 Institutions

All Articles in Computer Engineering

Faceted Search

23,564 full-text articles. Page 552 of 929.

Diffusion Maps And Transfer Subspace Learning, Olga L. Mendoza-Schrock 2017 Wright State University

Diffusion Maps And Transfer Subspace Learning, Olga L. Mendoza-Schrock

Browse all Theses and Dissertations

Transfer Subspace Learning has recently gained popularity for its ability to perform cross-dataset and cross-domain object recognition. The ability to leverage existing data without the need for additional data collections is attractive for Aided Target Recognition applications. For Aided Target Recognition (or object assessment) applications, Transfer Subspace Learning is particularly useful, as it enables the incorporation of sparse and dynamically collected data into existing systems that utilize large databases. In this dissertation, Manifold Learning and Transfer Subspace Learning are combined to create new Aided Target Recognition systems capable of achieving high target recognition rates for cross-dataset conditions and cross-domain applications. …


Model Preparation And User Interface Aspects For Microsoft Hololens Medical Tutorial Applications, Andrew J. McNutt 2017 Wright State University

Model Preparation And User Interface Aspects For Microsoft Hololens Medical Tutorial Applications, Andrew J. Mcnutt

Browse all Theses and Dissertations

Augmented Reality (AR) is the combination of computer vision and graphics to allow a device to derive context about the environment and to display relevant information to the user. The Microsoft Hololens is the latest wearable AR device that includes a series of infrared sensors to perform hand tracking and Simultaneous Localization and Mapping, a wave guide optics system to project holograms, and an independent untethered operating system. This thesis will explore the hardware and software capabilities of the device, prepare 3D graphical models, and understand the user interface. Specifically, in our research the target application is a tutorial on …


การแปลงสโตแคสติกเพทริเน็ตไปเป็นห่วงโซ่มาร์คอฟ, เกศิณี สุมนาตย์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การแปลงสโตแคสติกเพทริเน็ตไปเป็นห่วงโซ่มาร์คอฟ, เกศิณี สุมนาตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการดำเนินธุรกิจ เมื่อมีจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น การให้บริการที่รวดเร็ว ทันต่อความต้องการของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากผู้ประกอบการธุรกิจ ไม่ได้มีการวางแผนเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของลูกค้า อาจทำให้การบริการมีความล่าช้า ไม่ทันกาล ต้องมีการรอคอย ซึ่งอาจเกิดจากมีจำนวนของผู้ให้บริการหรือพนักงานไม่เพียงพอกับจำนวนผู้มารับบริการ การบริหารจัดการแถวคอยที่ขาดประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ล้วนส่งผลให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อผู้มารับบริการ และอาจนำไปสู่การสูญเสียลูกค้า และเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจได้ งานวิจัยนี้ได้เสนอสโตแคสติกเพทริเน็ตซึ่งเป็นแบบจำลองที่สามารถจำลองการเข้าแถวคอยของผู้มารับบริการ, ผู้ให้บริการและลักษณะของการเข้าแถวคอยได้ ซึ่งที่ได้เสนอแบบจำลองนี้เนื่องจากว่าเป็นแบบจำลองที่สามารถวิเคราะห์การเข้าแถวคอยได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตลอดจนช่วยทำให้เข้าใจพฤติกรรมของการเข้าแถวคอยที่ได้จำลองเอาไว้ได้ แต่ด้วยข้อจำกัดของแบบจำลองสโตแคสติกเพทริเน็ตที่ไม่สามารถคำนวณความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนจากจุดของการเข้าแถวคอยจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ ทำให้ไม่เพียงพอกับการวิเคราะห์การเข้าแถวคอย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอการแปลงสโตแคสติกเพทริเน็ตไปเป็นห่วงโซ่มาร์คอฟ ซึ่งห่วงโซ่มาร์คอฟสามารถคำนวณความน่าจะเป็นเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสที่ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการที่แถวคอย และคาดการณ์การใช้บริการว่าจะสามารถแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ ซึ่งในการวิเคราะห์นี้จะถูกวิเคราะห์อยู่ในรูปแบบของการคำนวณความน่าจะเป็นที่มีการแจกแจงแบบเอ็กโพเนนเชียล โดยใช้ฟังก์ชันความหนาแน่นของความน่าจะเป็นหรือ ฟังก์ชันการแจกแจงสะสม เพื่อให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าจำนวนของผู้ให้บริการเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการหรือไม่อย่างไรและนำไปสู่การตัดสินใจและดำเนินการเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการการใช้บริการของผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพต่อไป สุดท้ายเครื่องมือได้ถูกนำไปทดสอบความถูกต้องกับ 3 กรณีศึกษา ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เครื่องมือสามารถวิเคราะห์หาโอกาสที่ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการที่แถวคอยและแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดมีค่าความน่าจะเป็นได้อย่างถูกต้อง


การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นเป็นแบบจำลองเชิงธุรกิจที่ถูกพัฒนาให้สามารถประมวลกระบวนการกิจกรรมเชิงธุรกิจบนเครื่องประมวลผลแบบจำลอง ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ต้องมีการทดสอบการทำงานของกระบวนการกิจกรรมบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขทางธุรกิจ นักทดสอบจึงได้นำเสนอวิธีการสร้างกรณีทดสอบด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่กรณีทดสอบเหล่านั้นยังไม่มีการประเมินคุณภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นในงานวิจัยนี้ ทั้งนี้การทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นของงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นที่การกำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันสำหรับแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น จากนั้นพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์ขึ้นมาเพื่อสามารถทำการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ งานวิจัยนี้ได้กำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ทั้งหมด 25 ตัวดำเนินการ และพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์สำหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นขึ้น ด้วยตัวดำเนินการสำหรับนิพจน์เงื่อนไข 3 ตัวดำเนินการคือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการเชิงสัมพันธ์ และตัวดำเนินการเชิงตรรกะ จากนั้นนำมิวแตนท์ที่ได้จากเครื่องมือสร้างมิวแตนท์มาทำการทดสอบมิวเทชัน หลังจาก ทดสอบมิวเทชันกับกรณีทดสอบที่ได้จากงานวิจัยก่อนหน้า ทำให้ทราบว่าผลการทดสอบของแต่ละเทคนิคการสร้างกรณีทดสอบนั้นมีค่าคะแนนมิวเทชันที่แตกต่างกัน ชุดกรณีทดสอบที่มีค่าคะแนนมิวเทชันมากที่สุด เป็นชุดกรณีทดสอบที่มีคุณภาพที่สุด


Random Field Optimization Using Local Label Hierarchy, Sangsan Leelhapantu 2017 Faculty of Engineering

Random Field Optimization Using Local Label Hierarchy, Sangsan Leelhapantu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Random field formulation has proven to be a powerful framework for solving various computer vision tasks, specifically those involving assigning labels to image pixels or superpixels subjected to spatial relationships and visual contexts, due to the ability to intuitively incorporate global and local information. Unfortunately, solving these problems can be impractical when large number of variables and possible labels are present as the computational complexity grows fast with the problem size. In this thesis, we propose a speedup scheme for random field optimization using local label hierarchy. We focus on problems in which the label space has a natural ordering …


The Discrete Spring Transform: An Innovative Steganographic Attack, Aaron T. Sharp 2017 University of Nebraska-Lincoln

The Discrete Spring Transform: An Innovative Steganographic Attack, Aaron T. Sharp

Department of Electrical and Computer Engineering: Dissertations, Theses, and Student Research

Digital Steganography continues to evolve today, where steganographers are constantly discovering new methodologies to hide information effectively. Despite this, steganographic attacks, which seek to defeat these techniques, have continually lagged behind. The reason for this is simple: it is exceptionally difficult to defeat the unknown. Most attacks require prior knowledge or study of existing techniques in order to defeat them, and are often highly specific to certain cover media. These constraints are impractical and unrealistic to defeat steganography in modern communication networks. It follows, an effective steganographic attack must not require prior knowledge or study of techniques, and must be …


การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การสร้างแบบจำลองด้วยโพรเมลาเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในการสร้างวงจรอสมวาร, คณุตม์ บุญเรืองขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทวนสอบวงจรอสมวารนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในขั้นตอนการออกแบบเพื่อความถูกต้องในการทำงานของสัญญาณ โดยวงจรจะถูกออกแบบในขั้นต้นด้วยซิกแนลแทรนซิชันกราฟ วิทยานิพนธ์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการตรวจสอบแบบจำลองเพื่อทวนสอบซิกแนลแทรนซิชันกราฟในคุณสมบัติซึ่งประกอบด้วย คุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะสมบูรณ์ ซึ่งซิกแนลแทนซิชันกราฟประกอบด้วยประเภทวัฏจักรเชิงเดี่ยว และประเภทวัฏจักรหลากหลาย ในขั้นแรกซิกแนลแทรนซิชันกราฟจะถูกแปลงเป็นรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน จากนั้นจึงนำซิกแนลแทรนซิชันกราฟไปแปลงเป็นตรรกะเวลาเชิงเส้นซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติความปลอดภัย คุณสมบัติไลฟ์เนส คุณสมบัติความทนทาน คุณสมบัติความต้องกัน และคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์ จากนั้นคุณสมบัติความปลอดภัยจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความปลอดภัยไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติไลฟ์เนสจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติไลฟ์เนสไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความทนทานจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบจำลองโครงสร้าง และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความทนทานไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ คุณสมบัติความต้องกันจะทวนสอบโดยนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของคุณสมบัติความต้องกันไปทวนสอบโดยเครื่องมือสปินจะได้ผลการทวนสอบของคุณสมบัติ ในขั้นสุดท้ายคุณสมบัติการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์จะนำรหัสโพรเมลาแบบแบบจำลองวัฏจักรที่มีจุดยอดไม่ซ้ำกัน และตรรกะเวลาเชิงเส้นของการกำหนดสถานะที่สมบูรณ์มาเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงล็อคและทวนสอบโดยเครื่องมือสปิน จากนั้นจึงนำผลที่ได้จากการจำลองมาตรวจสอบในเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจึงได้คำตอบของการทวนสอบคุณสมบัตินี้ อย่างไรก็ตามเทคนิคของงานวิจัยนี้ยังไม่เป็นอัตโนมัติในบางคุณสมบัติ


การอ่านทำความเข้าใจด้วยเครื่องเพื่อคำถามที่มีหลายความสัมพันธ์ด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฐชัย ตรีทศายุธ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การอ่านทำความเข้าใจด้วยเครื่องเพื่อคำถามที่มีหลายความสัมพันธ์ด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงลึก, ณัฐชัย ตรีทศายุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอ่านทำความเข้าใจเพื่อใช้ตอบคำถาม เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญและยากที่สุดในงานสายการประมวลผลภาษาธรรมชาติ วิธีการที่ได้รับความนิยมและให้ผลที่ดีที่สุดในปัจจุบัน คือการใช้โมเดลที่นำเอาการเรียนรู้เชิงลึกเข้ามาช่วยตอบ โดยโมเดลจะทำการหาคำที่คล้ายกันระหว่างคำถามและบทความเพื่อนำไปใช้ในการตอบคำถาม แต่โมเดลในรูปแบบนี้จะมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะตอบคำถามซึ่งคำตอบจะต้องใช้การเชื่อมต่อคำในหลายประโยคเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่าคำถามที่มีหลายความสัมพันธ์ได้ งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการที่จะเสนอแนวทางในการใช้คำอ้างอิงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว รวมถึงยังได้เสนอวิธีการตอบแบบสองทาง และฟังก์ชันต้นทุนจากความยาวของคำตอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ


การอ่านเลขสายรถประจำทางจากภาพ, พิชชากร วงศ์ต๊ะ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การอ่านเลขสายรถประจำทางจากภาพ, พิชชากร วงศ์ต๊ะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากข้อจำกัดในการเดินทางด้วยตนเองโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะของผู้พิการสายตาเลือนราง ที่มักมองเลขสายรถประจำทางไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ช่วยหรือสอบถามจากคนรอบข้าง จึงสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อช่วยให้ผู้พิการสายตาเลือนรางสามารถเดินทางโดยรถประจำทางได้อย่างอิสระยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้นำเสนอระบบตรวจจับเลขสายรถประจำทางจากภาพ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องที่สามารถเรียนรู้และสกัดคุณลักษณะจากชุดข้อมูลสอนได้ และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพประกอบกับใช้ข้อมูลจีพีเอสของป้ายรถประจำทางที่มีข้อมูลบอกว่าป้ายรถประจำทางนั้นมีรถประจำทางสายใดผ่าน วิเคราะห์และประมวลผลจนได้เลขสายรถประจำทางออกมา โดยขั้นตอนของระบบตรวจจับเลขสายรถประจำทางจากภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนการตรวจจับบริเวณแผงด้านบนรถประจำทาง ขั้นตอนการตรวจหาบริเวณที่มีข้อความ ขั้นตอนการรู้จำข้อความ และขั้นตอนการประมวลผลหลังเพื่อปรับปรุงความแม่นยำ โดยขั้นตอนการตรวจจับบริเวณแผงด้านบนรถประจำทางจะใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องวิธีการฟาสเตอร์อาร์ซีเอ็นเอ็น ในการเรียนรู้ตัวสกัดคุณลักษณะแผงด้านบนรถประจำทางจากชุดข้อมูลสอน และส่งต่อไปยังขั้นตอนการหาบริเวณที่มีข้อความโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องวิธีการฟาสเตอร์อาร์ซีเอ็นเอ็น จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการรู้จำข้อความกูเกิลคลาวด์วิชัน และตัวรู้จำข้อความวิธีหน่วยความจำระยะสั้นระยะยาว สุดท้ายนำผลลัพธ์ที่ได้เข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผลหลังเพื่อปรับปรุงความแม่นยำ โดยทำการตัดตัวอักษรที่ไม่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลจีพีเอสป้ายรถประจำทาง ในการช่วยแก้ไขคำตอบที่ผิดจากวิธีรู้จำข้อความให้ถูกต้องมากขึ้น จากผลการทดลองในการอ่านสายรถประจำทางพบว่าสามารถอ่านเลขรถประจำทางได้ถูกต้อง 62 เปอร์เซ็นต์ โดยประเมินความถูกต้องจากจำนวนค่าความจริงของแผงรถประจำทาง และจำนวนเลขสายรถประจำทางที่อ่านได้ถูกต้องจากขั้นตอนวิธีที่นำเสนอ


การวิเคราะห์รูปแบบการจราจรบนถนนโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากซีดีอาร์และจีพีเอส, ล่ำซำ ทองสีนุช 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์รูปแบบการจราจรบนถนนโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากซีดีอาร์และจีพีเอส, ล่ำซำ ทองสีนุช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหนึ่งที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง การทราบถึงปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่และเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการวางแผนระบบขนส่งภายในเมือง ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้อยู่มากมายเช่น โปรแกรมบนโทรศัพท์มือถือ, จีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่ (GPS), บันทึกการใช้งานเครือข่ายไวไฟ (Wi-Fi Log) และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ (CDR) โดยข้อมูลที่นักวิจัยนิยมใช้ในการหาปริมาณความต้องการในการเดินทางระหว่างพื้นที่คือข้อมูลจากจีพีเอสที่ติดบนรถแท็กซี่และบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันโดยข้อมูลจีพีเอสเป็นข้อมูลที่รายงานตำแหน่งของผู้ใช้งานอย่างแม่นยำและมีรอบการส่งตำแหน่งที่แน่นอนแต่ข้อมูลมีขนาดเล็กไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งเมืองได้ แต่ข้อมูลจากซีดีอาร์เป็นข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้งานขนาดใหญ่แต่ตำแหน่งที่ได้เป็นตำแหน่งของเสากระจายสัญญาณเท่านั้น ผู้วิจัยจึงนำข้อดีของข้อมูลจากทั้งสองแหล่งมาใช้ในการสร้างเครื่องมือ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการในการสร้างเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของประชากรระหว่างบ้านและสถานที่ทำงาน โดยใช้ข้อมูลจากบันทึกรายละเอียดการใช้งานโทรศัพท์ในการหาบ้านและสถานที่ทำงานของประชากรทำให้ทราบถึงปริมาณความต้องการในการทางระหว่างพื้นที่ และใช้ข้อมูลจีพีเอสจากรถแท็กซี่ในการหาเส้นทางบนถนนที่เป็นที่นิยมในการเดินทางระหว่างพื้นที่ และผู้วิจัยได้วิเคราะห์ในหลาย ๆ พื้นที่ยกตัวอย่างเช่น ประชากรที่ทำงานในพื้นที่สีลมและช่องนนทรี ,การเดินทางระหว่างสีลมกับอนุสาวรีชัยสมรภูมิ และการเดินทางจากฝั่งธนบุรีไปฝั่งพระนคร


การปรับปรุงแบบจำลองเสียงเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ภาษาไทย, ศุภเดช ฉันจรัสวิชัย 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การปรับปรุงแบบจำลองเสียงเพื่อเพิ่มความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ภาษาไทย, ศุภเดช ฉันจรัสวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เสียงสังเคราะห์เป็นเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับการรับรู้ข้อมูลประเภทข้อความ ความชัดเจน และความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ส่งผลโดยตรงกับความเข้าใจของผู้ฟังที่มีต่อข้อมูลในสัญญาณเสียง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาด้านความเป็นธรรมชาติ และความชัดเจนของเสียงสังเคราะห์ที่สร้างมาจากค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ซึ่งค่าพารามิเตอร์เหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาจากแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก โดยการนำเสนอแนวคิด 3 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิดการแยกกันของแบบจำลองคุณลักษณะความถี่มูลฐาน และค่าคุณลักษณะสเปกตรัม โดยทั้งสองแบบจำลองถูกฝึกฝนแยกกันเพื่อสร้างเป็นแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟสำหรับสร้างค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ที่สอดคล้องกับแบบจำลองดังกล่าว ในวิทยานิพนธ์นี้ได้นำเสนอขั้นตอนวิธีในการปรับแนวเวลาของค่าพารามิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาจากการใช้สองแบบจำลอง 2) เสนอการปรับเปลี่ยนค่าคุณลักษณะส่วนรับเข้าของโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึกที่ถูกใช้ในการสร้างค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT จากเดิมที่ใช้ค่าคุณลักษณะทางบริบท เป็นแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟที่เป็นผลลัพธ์จากต้นไม้ตัดสินใจที่ใช้ในการจัดกลุ่มบริบท 3) นำเสนอวิธีการนอร์มัลไลเซชันค่าคุณลักษณะส่วนส่งออกของแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก ที่ใช้ค่ากลาง และค่าความแปรปรวนจากแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟที่เป็นผลลัพธ์จากต้นไม้ตัดสินใจ ในการทดสอบได้ทำการทดสอบ 2 รูปแบบ คือ 1) การทดสอบปรนัยที่ใช้ตัวชี้วัดค่าความเพี้ยนของเซปตรัลในระดับเมลของค่าสัมประสิทธิ์เมลเคปสตรัม (MGC_MCD) ค่าความเพี้ยนของเซปตรัลในระดับเมลของค่าแถบคลื่นความถี่ของความไม่เป็นคาบ (BAP_MCD) ความไม่สอดคล้องกันของสถานะความก้องของเสียง (LF0_UVU) และความผิดพลาดกำลังสองเฉลี่ยของค่าความถี่มูลฐาน (LF0_RMSE) 2) การทดสอบอัตนัยที่ใช้ผู้ทดสอบ 9 คน โดยวัดในด้านของความชัดเจน และความเป็นธรรมชาติของเสียงสังเคราะห์ ผลการทดสอบปรนัยการใช้แนวคิดที่ 2 และ 3 กับแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก สามารถสังเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของตัวเข้ารหัสเสียง STRAIGHT ได้ใกล้เคียงกับเสียงต้นฉบับมากกว่าการใช้แนวคิดที่ 1 กับแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองดั้งเดิมทั้งในส่วนของแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟ และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก สำหรับในการทดสอบอัตนัยพบว่าการใช้แนวคิดที่ 1 กับแบบจำลองฮิดเดนมาร์คอฟสามารถสังเคราะห์ค่าคุณลักษณะที่มีความเป็นธรรมชาติ และชัดเจนมากกว่าการใช้แนวคิดอื่น และแบบจำลองดั้งเดิมทั้งสองแบบจำลอง


แบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี, สัญชัย จักรธีรังกูร 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

แบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี, สัญชัย จักรธีรังกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายแอดฮอกสำหรับยานพาหนะถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มคุณภาพการคมนาคมทางถนน ไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พีเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารระหว่างยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้เกิดแอพพลิเคชันของยานพาหนะที่เชื่อมต่อกัน หนึ่งในแอพพลิเคชันคือแอพพลิเคชันเพื่อความปลอดภัย ที่จะสามารถลดจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อการสื่อสารเกิดขึ้นที่บริเวณมุมอับสายตา ประสิทธิภาพของการสื่อสารอาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะนำมาซึ่งการลดลงของประสิทธิภาพของแอพพลิเคชัน หลังจากการสร้างแอพพลิเคชัน และโปรโตคอลแล้ว ประสิทธิภาพจะต้องถูกประเมินด้วย โปรแกรมจำลองเครือข่ายเป็นหนึ่งในวิธีสำหรับการประเมินประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายที่สามารถแสดงคุณลักษณะของการสื่อสารที่บริเวณมุมอับสายตาได้ใกล้เคียงกับการทดลองจริง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงเสนอแบบจำลองการสูญหายของการแพร่กระจายในมุมอับสายตาสำหรับมาตรฐานไอทริปเปิ้ลอี 802.11 พี ระยะทางที่สั้นที่สุดถูกใช้เป็นตัวประกอบหลักในแบบจำลอง นอกจากนั้น ยังมีตัวประกอบที่ใช้สำหรับปรับปริมาณการกีดขวางในแบบจำลองได้อีกด้วย การทดลองจริงจำนวนมากได้ทำขึ้นเพื่อประเมินแบบจำลอง ผลการทดลองแสดงว่าแบบจำลองที่เสนอสามารถแสดงคุณลักษณะของการสื่อสารในการทดลองจริงได้อย่างใกล้เคียง แบบจำลองสำหรับมุมอับสายตาสามารถนำไปใช้จำลองในโปรแกรมจำลองเครือข่ายได้อย่างสมจริง


การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายแนวทางได้เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันที่มีอยู่ไปสู่โปรแกรมที่มีฐานร่วมกัน ในบรรดาแนวทางต่างๆ อิเล็กตรอนเป็นกรอบงานหนึ่งที่แพร่หลายรู้จักกันดีสำหรับนักพัฒนาเว็บเพื่อใช้สร้างเดสก์ท็อปแอปลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยเว็บเทคโนโลยีต่างๆ ที่คุ้นเคย ได้แก่ เอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแนวทางสำหรับการแปลงเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่สามารถประมวลผลได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แม็คโอเอส และลินุกซ์ เดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่เป็นผลลัพธ์จากการแปลงจะยังคงประกอบด้วยซอร์สโค้ดชุดเดิมที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป


การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการเชิงฟังก์ชันถูกนำมากำหนดฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ ซึ่งความต้องการดังกล่าวสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทุกช่วงของการพัฒนาซอฟต์แวร์ บางฟังก์ชันสัมพันธ์ฐานข้อมูล หากข้อมูลนำเข้าของฟังก์ชันเกิดการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบไปยังสคีมาฐานข้อมูล เมื่อสคีมาฐานข้อมูลได้รับผลกระทบอาจจะเกิดผลกระทบกับอินสแตนซ์ฐานข้อมูลด้วย ในการทดสอบฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล กรณีทดสอบจะถูกสร้างขึ้นโดยมีรายการข้อมูลนำเข้าเป็นไปตามฟังก์ชัน และมีค่าข้อมูลทดสอบที่มาจากอินสแตนซ์ฐานข้อมูล และตารางการตามรอยจะถูกนำมาใช้เพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการเชิงฟังก์ชันกับกรณีทดสอบ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าข้องความต้องการเชิงฟังก์ชัน จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการ วิทยานิพนธ์จึงเสนอวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน 3 ประเภทคือ เพิ่ม ลบ แก้ไข โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ผลกระทบตามที่นำเสนอ โดยเครื่องมือมีความสามารถนำเข้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน ซึ่งเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสามารถปรับปรุงสิ่งที่กระทบได้อย่างอัตโนมัติ สุดท้ายเครื่องมือถูกนำไปทดสอบความถูกต้องกับกรณีศึกษาที่แบ่งการทดสอบออกเป็น 4 กรณี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบและปรับปรุงสิ่งที่ได้รับผลกระทบได้อย่างถูกต้อง


การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปการออกแบบซอฟต์แวร์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความถูกต้องของพฤติกรรมของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์มีความสัมพันธ์กับเวลาของการทำงานของระบบ หากพบข้อผิดพลาดหลังจากการพัฒนาซอฟต์แวร์จะทำให้มีผลกระทบที่ต้องสูญเสียอย่างมาก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการทวนสอบแบบจำลองของการออกแบบ เพื่อหาจุดผิดพลาดก่อนที่จะลงเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอทางเลือกในการทวนสอบเชิงรูปนัยโดยใช้ไทมด์เพทริเน็ตในการสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัย ซึ่งในปฏิบัติแล้วไทมด์เพทริเน็ตเป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่ใช้สัญลักษณ์กราฟิกสำหรับจำลองโครงสร้างของระบบ ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของระบบได้ง่าย แต่ไทมด์เพทริเน็ตยังขาดการแสดงส่วนของข้อมูลที่ใช้ภายในระบบและยังไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ หากระบบมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก อาจจะเกิดปัญหาการระบบของสถานะได้ State explosion อีกทางเลือกของวิธีการเชิงรูปนัยพบว่าอีเวนท์บี เป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่นิยมสำหรับการทวนสอบการทำงานของระบบโดยสนใจข้อมูลภายในระบบอีกทั้งสนับสนุนการปรับแต่งของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์ โดยใช้วิธีการพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาการระเบิดของสถานะในระหว่างการทวนสอบ อย่างไรก็ตามการเขียนอีเวนท์บีไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับการเขียนอีเวนท์บีเพื่อทวนสอบระบบ งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอเครื่องมือการแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย โดยสนใจแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่มีค่าน้ำหนักโทเค็นที่มีค่าเท่ากับ 1 เท่านั้น และกฎการแปลงส่วนประกอบไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีทั้งหมด 7 ข้อ ข้อมูลนำเข้าเครื่องมือการแปลงจะเป็นแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่อยู่ในรูปแบบแฟ้มเอกสารเอกซ์เอ็มแอล และเครื่องมือจะดำเนินการแปลงโดยใช้กฎการแปลงที่ได้นิยามขึ้นมา เพื่อแปลงแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีได้โดยอัตโนมัติ เมื่อได้ผลลัพธ์การแปลงอีเวนท์บีเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการทวนสอบด้วยเครื่องมือโรดิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการแปลงโดยใช้เครื่องมือการแปลงและทวนสอบการทำงานของระบบ


การตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล, ณัฐพงศ์ เอื้อเพิ่มเกียรติ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล, ณัฐพงศ์ เอื้อเพิ่มเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดับเบิลยูเอส-บีเพล เป็นภาษาที่อนุญาตให้ผู้ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ นำเว็บเซอร์วิซที่มีมาทำงานร่วมกับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร โดยเรียกผ่านพาร์ทเนอร์ลิงก์ที่เป็นแท็กเชื่อมโยงการเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิซ เมื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจโดยใช้ ดับเบิลยูเอส-บีเพล แล้ว ผู้ทดสอบควรมีการทดสอบการทำงานทุกเว็บเซอร์วิซ ที่อยู่ภายใต้ดับเบิลยูเอส-บีเพล ซึ่งความท้าทายของการทดสอบเว็บเซอร์วิซคือ การตามรอยข้อความที่รับส่งระหว่างดับเบิลยูเอส-บีเพลกับเว็บเซอร์วิซ และทดสอบทุกเว็บเซอร์วิซที่อยู่ภายใต้ดับเบิลยูเอส-บีเพล วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการสำหรับตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล โดยมุ่งเน้นการตรวจจับข้อความที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซ โดยใช้วิธีการแทรกรหัสต้นทาง และสามารถแสดงรายการเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบให้ผู้ทดสอบทราบได้ วิธีการที่นำเสนอนี้ยังครอบคลุมถึงการสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติมสำหรับเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบภายใต้ข้อจำกัดบางประการได้ วิทยานิพนธ์นี้ยังนำวิธีการที่เสนอมาพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล โดยเครื่องมือจะสามารถอ่านไฟล์ดับเบิลยูเอส-บีเพล เพื่อจัดเก็บเส้นทางการไหลและแทรกรหัสต้นทางได้ สามารถจัดเก็บและแสดงข้อความที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซกับดับเบิลยูเอส-บีเพลได้ สามารถแสดงเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบให้ผู้ทดสอบทราบได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติมสำหรับเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบภายใต้ข้อจำกัดที่ระบุไว้ได้ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ได้นำไปทดสอบกับกรณีศึกษา 3 กรณีศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ เครื่องมือสามารถจัดเก็บข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออกที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซได้ สามารถแสดงรายการเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบ และสามารถสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติม ตามที่คาดหวังได้ถูกต้อง


ระบบจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอทีโดยใช้อาร์ดีเอฟ, นราทิช ณ ลำปาง 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอทีโดยใช้อาร์ดีเอฟ, นราทิช ณ ลำปาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอทางเลือกของการจัดเก็บชิ้นส่วนโครงแบบของทรัพยากรการบริการไอที เพื่อให้การจัดการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้กับการจัดการโครงแบบ ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมและถูกต้องเพื่อการตัดสินใจ โดยนำเสนอการเก็บข้อมูลลงฐานความรู้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหาเชิงกลยุทธ์ ซึ่งโครงร่างออนโทโลยีได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาโครงแบบของทรัพยากรการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของอาร์ดีเอฟเอ็นทริปเปิล คลาสและลำดับชั้นของโครงร่างถูกออกแบบให้แสดงความสัมพันธ์ของซีไอได้อย่างเหมาะสม การออกแบบการสืบค้นใช้ภาษาสปาควอลเพื่อรองรับบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การคำนวณงบประมาณในการบำรุงรักษาประจำปี เป็นต้น โปรแกรมโพรเทเจถูกเลือกมาเพื่อใช้ในการออกแบบโครงร่างออนโทโลยี จากนั้นพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษาจาวาที่ใช้กรอบงานของจีนาผ่านทางอาปาเชจีนาฟุเซกิเซิร์ฟเวอร์ และเว็บแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้สำเร็จตามแนวทางการใช้ออนโทโลยี


Robust Scale-Invariant Normalization And Similarity Measurement For Time Series Data, Ariyawat Chonbodeechalermroong 2017 Faculty of Engineering

Robust Scale-Invariant Normalization And Similarity Measurement For Time Series Data, Ariyawat Chonbodeechalermroong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Classification is one of the most prevalent tasks in time series mining. Dynamic Time Warping and Longest Common Subsequence are well-known and widely used algorithms to measure similarity between two time series sequences using non-linear alignment. However, these algorithms work best when the time series pair has similar amplitude scaling. Unfortunately, sensor data and most real-world time series data usually contain noise, missing values, outlier, and variability or scaling in both axes, which is not suitable for the widely used Z-normalization. This research introduces the Local Feature Normalization (LFN) and its Local Scaling Feature (LSF), which can be used to …


Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook 2017 Faculty of Engineering

Developing An Area Classification System From Mobile Phone Usage Data, Naruethai Thongphasook

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since human activities are vary by time and place, there have been many attempts to extract social behavior in spatial studies which included area use in the city. This information helps gaining advantages in city and facilities planning. Nowadays, many people carry mobile phone with them for communication purpose. This motivates us to analyze mobile phone usage in different area types. This thesis proposes method of an analysis for area use classification from mobile phone usage pattern. CDR data was used to define mobile phone usage pattern by hour from 1:00 to 24:00 and day of week from Monday to …


Automatic 3d Hair Model From Small Set Of Images, Nuttapon Vanakittistien 2017 Faculty of Engineering

Automatic 3d Hair Model From Small Set Of Images, Nuttapon Vanakittistien

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

We present a system for creating hair model that matches a user's hairstyle from images. The model consists of guide hair strands and can be used in a real-time hair simulator. Our goal differs from most previous work which aims to create realistic high resolution hair for off-line applications or create mesh of the exterior of the hair volume for image manipulation. Our primary aim is for user to be able to put his/her hairstyle into game or other real-time applications. By taking photos in 8 views of the user's head using a smart phone camera and segmenting images with …


Digital Commons powered by bepress