Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

2019

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 121 - 138 of 138

Full-Text Articles in Communication Technology and New Media

กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย, ภวินท์ ศรีเกษมสุข Jan 2019

กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย, ภวินท์ ศรีเกษมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กร การออกแบบสาร ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร รวมถึงแนวทางในการสื่อสารในภาวะวิกฤตของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีระเบียบวิธีวิจัยคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ผู้ที่รับผิดชอบในด้านการสื่อสารองค์กร และผู้รับสารของแต่ละองค์กร ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ ยังได้สัมภาษณ์นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 20 ราย ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤต ประกอบด้วย กลยุทธ์การสื่อสารและกลยุทธ์การโน้มน้าวใจ โดยกลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย คือ กลยุทธ์ผู้ส่งสาร กลยุทธ์การสร้างสาร กลยุทธ์การใช้สื่อ และกลยุทธ์ผู้รับสาร โดยทั้ง 3 องค์กร มีกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรในภาวะวิกฤตที่ไม่แตกต่างกัน รวมถึงการออกแบบสารและช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร ในด้านของแนวทางการสื่อสารในภาวะวิกฤต ปตท. มีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจน ผ่านการตั้งศูนย์บริหารจัดการภาวะวิกฤตตามระดับความรุนแรง 3 ระดับ ขณะที่ ทอท. มีการจัดตั้งศูนย์รับมือภาวะวิกฤตเช่นกัน แต่ไม่ได้ระบุถึงแนวทางที่ชัดเจน และธนาคารกรุงไทย มีคู่มือเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความรุนแรงของภาวะวิกฤต โดยไม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการแต่อย่างใด


การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ Jan 2019

การเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี“กนมีนัม” (Flower Boy) เป็นผู้นำเสนอ, เวธกา พฤษศิริสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารมี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์รูปแบบของโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็น ผู้นำเสนอสินค้าที่เผยแพร่บนอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของตราสินค้า และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธี การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคที่มีต่อโฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้า ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่มีอายุ 23-39 ปีและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า โฆษณาเครื่องสำอางเกาหลีที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจำแนกได้เป็น 26 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบจินตภาพ (Imagery) อันดับที่ 2) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านดาราและผู้รับรองสินค้า (Star Appeals and Testimonials) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) อันดับที่ 3) โฆษณาที่ใช้จุดดึงดูดใจด้านคุณภาพ (Quality Appeals) ร่วมกับวิธีนำเสนอความคิดสร้างสรรค์แบบการใช้บุคคลอ้างอิงหรือผู้นำเสนอสินค้า (Testimonial/Presenter) และผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า ผู้บริโภคมีระดับการเปิดรับโฆษณาสูง มีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาและมีการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อโฆษณาของผู้บริโภค กล่าวคือ หากผู้บริโภคมีการเปิดรับโฆษณาสูงจะมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาด้วย และทัศนคติต่อโฆษณามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อ โดยหากผู้บริโภคมีทัศนคติเชิงบวกต่อโฆษณาเครื่องสำอางที่มี “กนมีนัม” เป็นผู้นำเสนอสินค้าจะมีแนวโน้มการตัดสินใจซื้อสินค้าสูงตามไปด้วย


การประชาสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ของศิลปินเพลงร็อกและค่ายเพลง กับความผูกพันและความภักดีของแฟนเพลง, เพชรภัสสร อ้นขวัญเมือง Jan 2019

การประชาสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ของศิลปินเพลงร็อกและค่ายเพลง กับความผูกพันและความภักดีของแฟนเพลง, เพชรภัสสร อ้นขวัญเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ของค่ายเพลงและการสื่อสารของศิลปินเพลงร็อกบนสื่อสังคมออนไลน์ ความสัมพันธ์ของการเปิดรับเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ของค่ายเพลง ความผูกพันต่อเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ของค่ายเพลงและการสื่อสารของศิลปิน และความภักดีต่อศิลปินเพลงร็อกของแฟนเพลง งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ งานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรมและยูทูบของค่ายเพลงและศิลปินเพลงร็อก กับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์และศิลปินเพลงร็อก กับการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลกับแฟนเพลงศิลปินเพลงร็อก จำนวน 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ค่ายเพลงมีเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ ดังนี้ 1) ด้านผลงานเพลง ได้แก่ เพลงและอัลบั้มใหม่ 2) ด้านกิจกรรม ได้แก่ งานแสดง งานเปิดตัวอัลบั้มและศิลปิน 3) ด้านสาระความรู้ ได้แก่ เบื้องหลังการทำเพลง มิวสิกวิดีโอ และข้อมูลศิลปิน และการสื่อสารของศิลปินเพลงร็อก พบว่า 1) รูปแบบการสื่อสาร มีการโพสต์ข้อความ รูปภาพ อินโฟกราฟิก วิดีโอ ไลฟ์วิดีโอ และสตอรี่ 2) เนื้อหา มีด้านผลงานเพลง ได้แก่ เพลงและอัลบั้มใหม่ และด้านกิจกรรม ได้แก่ ตารางงาน คอนเสิร์ต และงานเปิดตัวอัลบั้ม ผลการวิจัยเชิงสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ของค่ายเพลงบนยูทูบมากที่สุด มีความผูกพันต่อเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ของค่ายเพลงในระดับปานกลาง มีความผูกพันต่อการสื่อสารของศิลปินเพลงร็อกและความภักดีต่อศิลปินเพลงร็อกในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) การเปิดรับเนื้อหาการประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับสูงและมีทิศทางแปรตามกัน 2) ความผูกพันต่อเนื้อหาการประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความภักดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลางและมีทิศทางแปรตามกัน และ 3) ความผูกพันต่อการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับความภักดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับสูงและมีทิศทางแปรตามกัน


The Relationship Between Potential Chinese Tourists' Motivation, Exposure To Ewom And Intention To Travel To Thailand, Danxin Liu Jan 2019

The Relationship Between Potential Chinese Tourists' Motivation, Exposure To Ewom And Intention To Travel To Thailand, Danxin Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research are to examine the potential Chinese tourists’ internal and external motivation to travel to Thailand, exposure to eWOM about tourism in Thailand, and intention to travel to Thailand, as well as the relationship between tourists’ motivation and exposure to eWOM, and the relationship between exposure to eWOM and travel intention. The quantitative research was conducted by an online survey, collecting data from 218 Chinese male and female respondents aged between 18 and 70 years old who have not visited Thailand before but have the intention to travel there. The results show that (1) the sample’s …


Vietnamese Consumers’ Attitude Toward H&M Brand, Visual Merchandising And Their Purchasing Behavior, Ha My Phan Thi Jan 2019

Vietnamese Consumers’ Attitude Toward H&M Brand, Visual Merchandising And Their Purchasing Behavior, Ha My Phan Thi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research wants to investigate Vietnamese consumers’ attitude toward H&M brand, visual merchandising and their purchasing behavior since visual merchandising in fast fashion has been considered to be one of the most strategic marketing tools among others. Quantitative research method was employed by distributing online questionnaire to collect data from Vietnamese consumers living in Ho Chi Minh city. Two hundred and two survey participants were 18 years old or older, visited H&M stores in the past 6 months, and bought H&M products over the past 12 months. The results showed that there were positive relationships between attitude toward H&M visual …


The Relationship Between Consumers’ Digital Media Usage And Their Purchasing Behavior On Marketing Training Courses., Kulthida Phithakwongwatthana Jan 2019

The Relationship Between Consumers’ Digital Media Usage And Their Purchasing Behavior On Marketing Training Courses., Kulthida Phithakwongwatthana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to study the relationship between digital media usage and purchasing behavior on marketing training courses by using 5 steps of purchasing behavior. Online questionnaire is used as a tool to collect data via online survey. The sample size was 200 Young Entrepreneurs Chamber of Commerce (YEC) members from 5 regions, aged between 20 to 45 years. The study found a positive relationship between digital media usage and the respondents' purchasing behavior on marketing training courses. The result found that the most popular channel for respondents to purchase online courses is Facebook and website, Also …


The Relationship Between Chinese Viewers' Attitude Toward Fansub Videos And Attitude Toward Sponsorship, Ruiqi Lou Jan 2019

The Relationship Between Chinese Viewers' Attitude Toward Fansub Videos And Attitude Toward Sponsorship, Ruiqi Lou

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aimed to study Chinese viewers’ attitude toward watching fan-subtitled online courses, attitude toward sponsorship activity, and attitude toward sponsor brand. The relationships among three attitude variables were examined based on Fritz Heider’s balance theory. A quantitative approach was employed and an online questionnaire was distributed on the online forum of the most popular fansub group's website in mainland China. 216 samples were collected. The finding showed that three variables were favorable, and significantly positively correlated. This suggested that sponsoring fan-subtitled video could contribute to a positive attitude towards brands.


Generation Z'S Attitude Towards Music Consumption On Joox Online Music Streaming Application, Ravisrarat Pibulpanuvat Jan 2019

Generation Z'S Attitude Towards Music Consumption On Joox Online Music Streaming Application, Ravisrarat Pibulpanuvat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate Thai generation Z’s attitude towards their music consumption on Joox online music streaming application. A qualitative approach was selected, using semi-structured, in-depth interviews. Ten participants, Thai generation Z music listeners, aged 17-24 years old who consume Joox online music streaming application every day for at least six months, were selected through purposive, snowballing sampling methods. The interviews were interpreted using In Vivo coding. This study based on the theoretical framework of Ajzen and Fishbein’s (2000) theory of planned behavior which suggested that actual behavior is motivated by the combination of attitude towards …


Consumers’ Exposure To Facebook Fanpage, And Their Motivation, And Loyalty To “Love And Producer” Mobile Game, Bhichamon Manomaiphibul Jan 2019

Consumers’ Exposure To Facebook Fanpage, And Their Motivation, And Loyalty To “Love And Producer” Mobile Game, Bhichamon Manomaiphibul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to analyze the exposure to “Love and Producer” mobile game’s Facebook Fanpage, consumers’ motivation, and loyalty. The research explores the relationship between the exposure to Love and Producer’s Facebook Fanpage and consumers’ motivation, as well as the relationship between consumers’ motivation and their loyalty. This quantitative research was conducted through an online survey which collected data from 200 female respondents, aged between 18 and 50 years old from all over the world in which 49% of the respondents are American. The results from the study reveals that respondents most frequently see photo post (M = 4.45) followed …


การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ Jan 2019

การเปิดรับ ความผูกพัน และความรู้ของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน), คมกฤษ ทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายสาระของเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอบน เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” และเพื่อสำรวจ การเปิดรับ ความผูกพันต่อเนื้อหา และความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ของผู้ติดตามเพจ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) บนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 โดยมีจำนวนโพสต์ทั้งหมด 307 โพสต์ และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18 ขึ้นไป และเป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” จำนวน 262 คน ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” นำเสนอสาระของเนื้อหาประเภทการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมมากที่สุด รองลงมาคือ ประเภทข้อมูลเพื่อแสดงให้เกิดการยอมรับและการเป็นผู้เชี่ยวชาญ และประเภทข้อมูลที่แสดงถึงการให้บริการสนามบิน โดยสาระของเนื้อหา 8 ใน 10 ประเภท เป็นสาระของเนื้อหาที่เป็นการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรและสร้างภาพลักษณ์ ในส่วนของรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” ที่พบมากที่สุดคือ การแชร์โพสต์ (Shared Post) รองลงมาคือ รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบบรูปภาพ (Photos) การโพสต์แบบลิงก์ (Links) ตามด้วยรูปแบบวิดีโอ (Videos) และการอัปเดตสถานะ ตามลำดับ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับเนื้อหาโดยพบเห็นโพสต์จากหน้า News Feed ของตนเองอยู่ในระดับ 2 - 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างใช้ระยะเวลาในการเปิดรับในแต่ละครั้งอยู่ระหว่าง 1 นาทีขึ้นไป – 5 นาที นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีความผูกพันต่อเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ “AOT Official” โดยรวมอยู่ในระดับต่ำและแสดงออกโดยการกดไลก์มากที่สุด ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) อยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปว่า การเปิดรับเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อเนื้อหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งนี้เป็นความสัมพันธ์ระดับปานกลาง โดยมีทิศทางแบบแปรผันตามกัน ความผูกพันต่อเนื้อหามีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับ …


ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์, รัชนิดา เวชภูติ Jan 2019

ทัศนคติและการตอบสนองของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับที่มีต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์, รัชนิดา เวชภูติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ และเพื่ออธิบายความแตกต่างทางลักษณะประชากรและการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับ ลิซ่า แบล็กพิงก์ มีการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์ในระดับมากที่สุด ได้แก่เฟสบุ๊ก และในระดับรองลงมา คือ ยูทูบ อินสตาแกรม และกูเกิ้ล (โปรแกรมค้นหา) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อตราสินค้าบุคคล ว่าอยู่ในกระแสนิยม รองลงมา มีด้านความสามารถพิเศษด้านเต้น และรูปร่างหน้าตา ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์ จดจำง่าย และ มีการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคล คือ สามารถจดจำตราสินค้าได้ในระดับสูงที่สุด ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนและด้านระดับการศึกษาของกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่แฟนคลับมีความแตกต่างกันในการเปิดรับตราสินค้าบุคคล ลิซ่า แบล็กพิงก์ ผ่านช่องทางออนไลน์และการตอบสนองต่อการสื่อสารตราสินค้าบุคคลที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ความแตกต่างทางลักษณะประชากรด้านระดับการศึกษามีความแตกต่างกันด้านทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


การสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, สาธิดา สื่อประเสริฐสุข Jan 2019

การสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางและพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค, สาธิดา สื่อประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอาง พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภคและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เพศชายและหญิง อายุระหว่าง 18-40 ปี จำนวน 204 คน ผลวิจัยพบว่า ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึกและแบบหวั่นไหวอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความต้องการซื้อเครื่องสำอางของผู้บริโภค ตามกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามแต่ละขั้นตอนพบว่า ขั้นการประเมินทางเลือก และขั้นการประเมินหลังการซื้ออยู่ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐาน ทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบของพนักงานขายเครื่องสำอางมีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อของผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพแต่ละแบบของพนักงานขายเครื่องสำอางกับความต้องการซื้อของผู้บริโภค บุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบประนีประนอม แบบมีจิตสำนึก แบบเปิดรับประสบการณ์ มีความสัมพันธ์กับความต้องการซื้อของผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกัน


พฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอางเมย์เบลลีน นิวยอร์ก, ศรีสุภา ศรีเปารยะ Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอางเมย์เบลลีน นิวยอร์ก, ศรีสุภา ศรีเปารยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอาง Maybelline New York โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามออนไลน์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 18-25 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และบริโภคสินค้าเครื่องสำอาง Maybelline New York ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 210 คน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อผู้นำเสนอสินค้าในโฆษณาเครื่องสำอาง Maybelline New York ทั้ง 2 คน คือ ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์ และ ปู-ไปรยา ลุนด์เบิร์ก สัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อโฆษณาที่ผู้นำเสนอคนนั้นๆ ปรากฏอยู่ และทัศนคติต่อตราสินค้า ตลอดจนความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค


Student-Instructor Out-Of-Class Communication: A Media Multiplexity Approach, Cathlin V. Clark-Gordon Jan 2019

Student-Instructor Out-Of-Class Communication: A Media Multiplexity Approach, Cathlin V. Clark-Gordon

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

The present set of studies examined media multiplexity theory (MMT; Haythornthwaite, 2005) in the context of student-instructor out-of-class communication (OCC) in two samples: undergraduate and graduate students. It was predicted that student-instructor tie strength (closeness) would lead to a greater number of modes used for OCC, and subsequently, the number of modes used for OCC would predict positive classroom outcomes, including communication satisfaction, cognitive and affective learning, and motivation. It was also predicted that the effect of closeness on the number of modes used for OCC would be moderated by student’s enjoyment of online communication, insofar as it would suppress …


Henosis Experience In Gaming: A Metric For Adjustments To Global Schema And Appraised Meaning, Evan Robert Watts Jan 2019

Henosis Experience In Gaming: A Metric For Adjustments To Global Schema And Appraised Meaning, Evan Robert Watts

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

Meaningfulness is a media gratification distinct from enjoyment characterized by feelings of insight, contemplation, and poignancy. Video games, too, can elicit experiences of meaningfulness, but the mechanisms underlying meaningfulness are unclear and in need of further exploration. Adapting work from existential psychology, this research proposes the construct of henosis as one mechanism that might contribute to meaningful video game experiences. Henosis is a response to experiences in which a person’s fundamental schema about the world (global schema) is challenged by an event which contradicts this schema. Henosis describes the process by which this discrepancy is resolved via either reappraising the …


Rhetorics Of Functionally Applicative Game Design: Designing And Testing The Project Management Game Scrummage, Matthew Carson Beale Jan 2019

Rhetorics Of Functionally Applicative Game Design: Designing And Testing The Project Management Game Scrummage, Matthew Carson Beale

English Theses & Dissertations

In this project, I designed and tested Scrummage, a tabletop game to teach the scrum project management system to undergraduate students. The project grew from the gaps in both academic literature and pedagogical tools for project management and collaboration in the technical communication classroom. Although the field of technical communication places significance on project management, research shows that many employers find the project management skills and knowledge of recent graduates to be under-developed. Situated in the fields of game design, game studies, project management, and technical communication, this project asks how we as educators can improve the project management learning …


A Multidimensional Approach To Interorganizational Communication Via Emergency Management Organizations And Their Twitter Accounts, Lauren Johnson Jan 2019

A Multidimensional Approach To Interorganizational Communication Via Emergency Management Organizations And Their Twitter Accounts, Lauren Johnson

Theses and Dissertations--Communication

Using an adaptation of O’Connor and Shumate’s (2018) theoretical propositions, this research examines interorganizational communication through the lens of multidimensional networks. Twitter data was crawled from a selection of emergency management organization accounts to measure affinity, representational, flow, and semantic networks. These data included the organizations’ followed accounts, retweets, replies, and mentions. A thematic analysis of the organizations’ mission statements was also conducted in order to inform the examination of the semantic networks. The results show a significant relationship between the number of accounts an organization follows and the likelihood of having its message shared. This research provides a further …


A Descriptive Analysis Of Health Influencer Videos On Youtube In The Ostomy Community, Sarah Irenke Sophia Bell Jan 2019

A Descriptive Analysis Of Health Influencer Videos On Youtube In The Ostomy Community, Sarah Irenke Sophia Bell

Theses and Dissertations--Communication

The expansion of YouTube into the mainstream media and its place as the second most-used website in the world makes it a prime place for health information seeking. However, content can be created and uploaded by anyone and thus, the threat of misinformation on YouTube is high. Medical researchers have established that videos created by health professionals on YouTube promote accurate information whereas videos by non-professionals promote generally inaccurate or misleading information. Yet, videos created by non-professionals have more views and higher relevance rankings on YouTube. To begin to understand this phenomenon, a descriptive study is used to lay a …