Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 1059

Full-Text Articles in Environmental Sciences

Preventing Occupational Respiratory Disease From Exposures In Office Building : Case Study Covid-19, Panupant Phapant Jan 2021

Preventing Occupational Respiratory Disease From Exposures In Office Building : Case Study Covid-19, Panupant Phapant

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The COVID‐19 pandemic has affected human life in every possible way, and, alongside this, the need has been felt that office buildings and workplaces must have protective and preventive layers against COVID‐19 transmission so that a smooth transition from ‘work from home’ to work from office’ is possible. The present study reviews international agency regulations, country regulations, updated journal articles, etc., to critically understand lessons learned from COVID‐19 and evaluate the expected changes in sustainability requirements of office buildings and workplaces. The built environment, control environment, and regulatory environment around office buildings and workplaces have been put under test on …


Developing A System Of Community-Based Agritourism For Sustainable Local Food Systems: A Multi-Case Study Of Rural Livelihood Diversification And Sustainable Urban Consumption In City-Regional Bangkok, Sofia Anna Enrica Cavalleri Jan 2021

Developing A System Of Community-Based Agritourism For Sustainable Local Food Systems: A Multi-Case Study Of Rural Livelihood Diversification And Sustainable Urban Consumption In City-Regional Bangkok, Sofia Anna Enrica Cavalleri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Current food systems fail to directly link rural producers and urban consumers. This research explores and categorizes emerging community-based agritourism practices as strategies to reconnect rural food producers with urban consumers. The main research question of this study is: how can community-based agritourism link rural food producers and urban consumers as a rural livelihood diversification strategy? Mixed methods for data collection were selected to answer this question and analyzed with a deductive and inductive approach. These include the review of secondary grey and academic literature, shadow observation in three rural provinces, content validity index calculation performed by experts (n = …


Digital Literacy For Enhancing Preparedness Capacity To Climate Related Risks Among Ageing Population In Bankgok, Thailand, Chandhit Sawangnate Jan 2021

Digital Literacy For Enhancing Preparedness Capacity To Climate Related Risks Among Ageing Population In Bankgok, Thailand, Chandhit Sawangnate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The elderly population is amongst the most vulnerable group confronting climate related risks. This research aims to assess flood hazards distribution and investigate factors influencing flood literacy and preparedness actions among the elderly in Bangkok, Thailand. The AHP-GIS technique, land-use, drainage density, and annual maximum rainfall are the most important factors that influence flood hazard in Bangkok while land subsidence, past flooding events, and slope of the city have the lowest scores. Around 50% (784.089 sq.km.) of total area, mainly situated in the economic centers, is defined as high hazard. The results of policy analysis found that lack of integration …


Arsenic Removal From The Contaminated Soil By Bio-Based Washing Agent In A Combined Mechanical Agitation And Ultrasonication Process, Polwatte Arachchillaya Buddhika Prabath Abeyrathne Jan 2021

Arsenic Removal From The Contaminated Soil By Bio-Based Washing Agent In A Combined Mechanical Agitation And Ultrasonication Process, Polwatte Arachchillaya Buddhika Prabath Abeyrathne

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A significant amount of arsenic (As) pollution has been found globally, with several health consequences. Soil washing is a cost-effective mix of chemical and physical procedures that have been used to remove heavy metals from polluted soil. This study investigated the possibility of using a lipopeptide biosurfactant from Bacillus subtilis GY19 as a washing agent to remove As from contaminated soil. To improve the effectiveness of biosurfactants, sodium carbonate and ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA) were employed as builders to minimize the influence of exchangeable cations in the soil. The agricultural soil utilized in the study was spiked with As at an …


ผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิและการบริโภคซากใบไม้โดยกลุ่มหอยฝาเดียวในแปลงปลูกป่าชายเลนที่มีอายุแตกต่างกัน, ธนพล พงศ์สุวโรจน์ Jan 2021

ผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิและการบริโภคซากใบไม้โดยกลุ่มหอยฝาเดียวในแปลงปลูกป่าชายเลนที่มีอายุแตกต่างกัน, ธนพล พงศ์สุวโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป่าชายเลนมีบทบาทในการสร้างผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (net primary productivity, NPP) ที่สูง ปัจจุบันมีการปลูกฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างกว้างขวาง ถึงกระนั้นการประมาณ NPP ที่มีค่าผันแปรตามอายุของแปลงปลูกยังมีค่อนข้างจำกัด อีกทั้งการศึกษาเชิงปริมาณด้านการกินซากใบไม้โดยหอยฝาเดียวยังมีอยู่น้อย การศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นการประมาณ NPP ควบคู่กับอัตราการกินซากใบไม้โดยหอยฝาเดียวแปลงปลูกป่าชายเลนที่มี Avicennia alba เป็นพืชเด่นจำนวน 4 แปลง ได้แก่ Y1, Y5, Y7, และ Y9 ปี ที่มีอายุ 14, 10, 8 และ 6 ปี ตามลำดับ (ในปี พ.ศ. 2562) บริเวณศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ผลการศึกษาพบว่าความหนาแน่นต้นไม้ลดลงมากยกเว้นแปลง Y1 แต่ผลรวมพื้นที่หน้าตัดต้นไม้และมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นเมื่อแปลงปลูกมีอายุเพิ่มขึ้น NPP ผกผันกับอายุแปลงปลูก พบหอยฝาเดียวทั้งหมด 14 ชนิด โดยที่ความหนาแน่นหอยฝาเดียววงศ์ที่กินซากใบไม้ (Littorinidae, Iravadiiae และ Potamididae) มีค่ามากที่สุดในแปลง Y1 ถึงแม้ความหนาแน่นนี้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราการกินซากใบไม้โดยหอยฝาเดียว แต่ไม่พบความแตกต่างของอัตราการกินซากใบไม้ระหว่างแปลงทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าโครงสร้างพืชพรรณที่แตกต่างกันจากอายุของแปลงปลูกป่าชายเลนส่งผลให้มวลชีวภาพ NPP และสังคมหอยฝาเดียวแตกต่างกันระหว่างแปลง ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้วางแผนปลูกฟื้นฟูและจัดการแปลงปลูกป่าชายเลนบนหาดเลนงอกใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางนิเวศวิทยาและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนภายใต้กรอบเวลาที่จำกัดของการฟื้นฟูป่าชายเลน


ประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวในการลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในห้องทดสอบจำลองแบบกึ่งปิด, นพรุจ นาคจันทร์ Jan 2021

ประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวในการลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในห้องทดสอบจำลองแบบกึ่งปิด, นพรุจ นาคจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้อุปกรณ์ฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลด PM2.5 โดยการปรับเปลี่ยนลักษณะวิธีการฉีดพ่นละอองน้ำ ได้แก่ ขนาดหัวฉีดพ่น แรงดันฉีดพ่น และจำนวนหัวฉีด และทำการทดสอบประสิทธิภาพในการลด PM2.5 ด้วยสารลดแรงตึงผิว 4 ชนิด ได้แก่ Tween-80, Linear alkyl benzene sulfonate, Benzalkonium chloride และ Cocamidopropyl betaine โดยทำการทดสอบในห้องทดสอบจำลองพื้นที่แบบกึ่งปิด พร้อมทั้งวิเคราะห์ลักษณะการกระจายตัวตามขนาดของอนุภาคฝุ่นหลังจากผ่านกระบวนการฉีดพ่นน้ำและสารลดแรงตึงผิว ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของการเกาะรวมกันของฝุ่นละอองที่เปลี่ยนแปลงไป และลักษณะการไหลของฝุ่นละอองในระบบทดสอบด้วยเทคนิคพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ ผลการศึกษาพบว่า การฉีดพ่นละอองน้ำด้วยหัวฉีดพ่นขนาด 0.6 มิลลิเมตร ที่ระดับแรงดันฉีดพ่น 0.4 เมกะปาสคาล ด้วยหัวฉีดพ่นจำนวน 1 หัว มีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 สูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 22 ± 1.4 ซึ่งปัจจัยที่เพิ่มประสิทธิภาพในการลด PM2.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับแรงดันฉีดพ่นและขนาดหัวฉีดพ่น (r = 0.775 และ 0.388 ตามลำดับ) ผลการทดสอบด้วยสารลดแรงตึงผิวพบว่า Tween-80 ที่ความเข้มข้น 1% w/v มีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 สูงกว่าสารลดแรงตึงผิวชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p-value < 0.05) โดยมีประสิทธิภาพในการลด PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 23.6 ± 1.4 แต่ประสิทธิภาพดีกว่าน้ำเพียงเล็กน้อย การกระจายตัวตามขนาดของอนุภาคเมื่อฉีดพ่น Tween-80, Cocoamidopropyl betaine และ Benzalkonium chloride พบการกระจายของอนุภาคฝุ่นอยู่ในช่วงชั้นขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมครอน แสดงถึงสารทั้ง 3 ชนิดมีคุณสมบัติเป็นสารเกาะรวมที่ทำให้อนุภาค PM2.5 มีขนาดใหญ่ขึ้น และลักษณะสัณฐานวิทยาของอนุภาคฝุ่นละอองที่ฉีดพ่นด้วย Tween-80 มีลักษณะการเกาะรวมกันทางกายภาพของอนุภาคชัดเจนที่สุด แบบจำลองการไหลของฝุ่นละอองในสภาวะทดสอบแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มระดับแรงดันฉีดพ่นและขนาดหัวฉีดพ่นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของฝุ่นละอองที่ผ่านละอองน้ำได้ โดยส่งผลชัดเจนที่สุดเมื่อฉีดพ่นละอองน้ำด้วยหัวฉีดพ่นขนาด 0.6 มิลลิเมตร ระดับแรงดัน 0.4 เมกะปาสคาล


ความสัมพันธ์เชิงอัลโลเมตริกระหว่างความหนาของกระพี้และเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของชนิดพันธุ์ไม้เด่นในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ศิริพงศ์ แย้มพุ่ม Jan 2021

ความสัมพันธ์เชิงอัลโลเมตริกระหว่างความหนาของกระพี้และเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของชนิดพันธุ์ไม้เด่นในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ศิริพงศ์ แย้มพุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสร้างสมการอัลโลเมตริกระหว่างความหนากระพี้กับเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของพันธุ์ไม้เด่นจำนวน 14 ชนิดพันธุ์ ในป่าปฐมภูมิและป่าทุติยภูมิ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยวัดความหนาของกระพี้ไม้และเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และใช้เทคนิควิเคราะห์การถดถอย เพื่อหารูปแบบสมการที่เหมาะสมในการสร้างสมการอัลโลเมตริก ผลการศึกษาพบว่า ชนิดพันธุ์ไม้เหล่านี้มีความหนาของกระพี้โดยเฉลี่ย 7.6 – 24.8 เซนติเมตร คิดเป็น 46.7% – 99.3% ของรัศมีของลำต้น เมื่อวิเคราะห์โดยแยกชนิดพันธุ์ พบว่า สมการยกกำลังและสมการเส้นตรงเป็นสมการอัลโลเมตริกที่เหมาะกับชนิดพันธุ์ที่ทำการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (r2) ในช่วง 0.46 -0.99 มีค่า p น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.04 และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทุกชนิดพันธุ์ยกเว้น ยางเสียน (Dipterocarpus gracilis blume ) พบว่าสามารถสร้างสมการอัลโลเมตริกเพื่อใช้กับทุกชนิดพันธุ์ได้ (r2 = 0.86, p < 0.0001) โดยมีรูปแบบสมการดังนี้ y= 0.57x0.91 นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบความเหมาะสมของสมการเพิ่มเติมโดยใช้การวิเคราะห์เศษเหลือ (Residual analysis) เพื่อยืนยันความแม่นยำของสมการ โดยสมการอัลโลเมตริกของกระพี้ไม้ที่ได้จากงานวิจัยนี้จะช่วยในการประเมินอัตราการคายน้ำในระดับพื้นที่ของป่าเขตร้อนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


ไมโครพลาสติกในหอยสองฝาที่เพาะเลี้ยงตามชายฝั่งอ่าวไทย, อัจฉรียา สัมพันธ์พร Jan 2021

ไมโครพลาสติกในหอยสองฝาที่เพาะเลี้ยงตามชายฝั่งอ่าวไทย, อัจฉรียา สัมพันธ์พร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไมโครพลาสติกนับเป็นมลพิษที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบันเนื่องจากพบการแพร่กระจายกว้างขวางและสามารถสะสมผ่านห่วงโซ่อาหารได้ และมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหอยสองฝาเป็นหนึ่งในสัตว์กรองกินอาหารที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณไมโครพลาสติกเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นอาหารทะเลที่สำคัญ ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้เป็นดัชนีชีวภาพ (bioindicator) สำหรับไมโครพลาสติกในทะเล ซึ่งการศึกษาปริมาณไมโครพลาสติกในหอยสองฝาเศรษฐกิจที่เพาะเลี้ยงตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยครั้งนี้มีความสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลคาดการณ์ปริมาณไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนเข้าสู่ทะเลในแต่ละพื้นที่ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้วางแผนจัดการปัญหาไมโครพลาสติกบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย โดยศึกษาในหอยสองฝาทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้แก่ หอยแมลงภู่ หอยนางรม หอยแครงและหอยตลับ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ชุมพรและสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบ หอยสองฝามี ไมโครพลาสติกเฉลี่ย 1.87±0.86 ชิ้น/ตัว หรือ 0.46±0.31 ชิ้น/กรัม นน.สด โดยจังหวัดสมุทรสาครพบไมโครพลาสติกในหอยสองฝาเฉลี่ยสูงสุด และจังหวัดชลบุรีมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ซึ่งไมโครพลาสติกส่วนใหญ่ที่พบอยู่ในรูปของเส้นใย (filament/fiber) ขนาดไมโครพลาสติกเฉลี่ย 389 ไมครอน โดยพบมากที่สุดอยู่ในช่วง 100–500 ไมครอน ทั้งนี้ หอยสองฝาที่อาศัยในชั้นดินและชั้นน้ำมีการสะสมไมโครพลาสติกแตกต่างกันขึ้นกับแหล่งกำเนิดและปัจจัยทางธรรมชาติ ซึ่งการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าตามชายฝั่งอ่าวไทยมีการสะสมไมโครพลาสติกที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นในการติดตามตรวจสอบและวางมาตรการเพื่อจัดการปัญหาไมโครพลาสติก


เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Oct 2020

เรื่องจากปก: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีชมพูจากนาเกลือ...จุลินทรีย์ทนเค็มทนด่างที่มาพร้อมความสามารถอันหลากหลาย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง Oct 2020

บทความ: "ไซโคลน" เครื่องมือคัดแยกฝุ่นในภาคอุตสาหกรรม, รัชชานนท์ เปี่ยมใจสว่าง

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "แหนแดง"....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก, ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, พันธ์ทิวา กระจาย Oct 2020

บทความ: "แหนแดง"....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก, ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, พันธ์ทิวา กระจาย

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การกำจัดสารหนูปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ด้วยพืชพลังงานและจลนศาสตร์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Oct 2020

บทความ: การกำจัดสารหนูปนเปื้อนในกากโลหกรรมจากการทำเหมืองแร่ด้วยพืชพลังงานและจลนศาสตร์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: เทคโนโลยีควบคุมมลพิษอากาศที่เกิดจากเตาเผาอิฐมอญเชื้อเพลิงชีวมวลแบบถมทรายหลังเตา, อุกฤต สมัครสมาน, สุกฤษฏิ์พงษ์ ไชยมงคล, คณิต มานะธุระ Oct 2020

บทความ: เทคโนโลยีควบคุมมลพิษอากาศที่เกิดจากเตาเผาอิฐมอญเชื้อเพลิงชีวมวลแบบถมทรายหลังเตา, อุกฤต สมัครสมาน, สุกฤษฏิ์พงษ์ ไชยมงคล, คณิต มานะธุระ

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า"กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต, เดชา สีดูกา Oct 2020

บทความ: "วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของพื้นที่การบริการลูกค้า"กรณีศึกษาสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต, เดชา สีดูกา

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน, ปิโยรส ทิพย์มงคล, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ Oct 2020

บทความ: การจัดการและการแปรรูป น้ำมันใช้แล้ว ในภาคครัวเรือน, ปิโยรส ทิพย์มงคล, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: พืชพลังงาน…ทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมือง, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ Jul 2020

เรื่องจากปก: พืชพลังงาน…ทางเลือกใหม่สำหรับการฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมือง, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การศึกษาประสิทธิภาพการลดฝุ่นโดยป่านิเวศ, ศิรพงศ์ สุขทวี, อดุลย์ เดชปัดภัย, สุธีระ บุญญาพิทักษ์, นิรัน เปี่ยมใย, หทัยรัตน์ การีเวทย์, อนงค์ ชานะมูล Jul 2020

บทความ: การศึกษาประสิทธิภาพการลดฝุ่นโดยป่านิเวศ, ศิรพงศ์ สุขทวี, อดุลย์ เดชปัดภัย, สุธีระ บุญญาพิทักษ์, นิรัน เปี่ยมใย, หทัยรัตน์ การีเวทย์, อนงค์ ชานะมูล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "น้ำเหมืองเป็นกรด"…ผักตบชวาช่วยได้...ทางเลือกสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วัณณิภา ก้วยเจริญพานิชก์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2020

บทความ: "น้ำเหมืองเป็นกรด"…ผักตบชวาช่วยได้...ทางเลือกสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน, วัณณิภา ก้วยเจริญพานิชก์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "เฮมพ์"…พืชฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารพิษสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน…ยุค Thailand 4.0, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2020

บทความ: "เฮมพ์"…พืชฟื้นฟูดินปนเปื้อนสารพิษสู่นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน…ยุค Thailand 4.0, อชิรญาณ์ คเณศรักษพงษ์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี Jul 2020

บทความ: การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทำหน้ากากสำหรับกรองฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (Evaluation Of Face Mask Materials For Trapping Particulate Matter Less Than 2.5 Micron), มณีรัตน์ องค์วรรณดี, พงศธร ชมดี

Environmental Journal

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของวัสดุที่ทำหน้ากากในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ โดยจำลองการสวมหน้ากากกับใบหน้าของหุ่นฝึกทางการแพทย์ให้แนบสนิท ใช้เครื่องดูดเสมหะดูดอากาศด้วยอัตรา 15 ลิตรต่อนาทีผ่านหน้ากากที่ทดสอบ ได้แก่ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากาก N95 และหน้ากากผ้าฝ้ายสองชั้นเสริมไส้กรองต่างๆ ผลการทดสอบพบว่าหน้ากาก N95 ที่จำหน่ายในประเทศไทยมีประสิทธิภาพการกรอง 78 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยหน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีประสิทธิภาพ 65 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งใกล้เคียงกับหน้ากากผ้าที่ใช้หน้ากากอนามัยดังกล่าวเป็นไส้กรองหรือใช้แผ่นกรองฝุ่นระดับ MERV 11 จำนวน 3 แผ่นซ้อนกัน ในขณะที่การใช้หน้ากากผ้าฝ้ายเพียงอย่างเดียวมีประสิทธิภาพเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ และการใช้กระดาษทิชชูเป็นไส้กรองไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ทั้งนี้ประสิทธิภาพการกรองฝุ่นละอองของหน้ากากเมื่อสวมใส่จริงอาจมีค่าต่ำกว่าที่วัดได้ซึ่งขึ้นกับความแนบสนิทกับใบหน้าของผู้ใส่ สำหรับการฆ่าเชื้อโรคบนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ด้วยการพ่นเอทานอล 70 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำให้โครงสร้างทางกายภาพและเคมีของเส้นใยโพลีโพรพิลีนของหน้ากากแปลงเปลี่ยนไปจากเดิม จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับยืดอายุการใช้งานหน้ากากอนามัยในช่วงขาดแคลน เช่น การระบาดของโรคโควิด-19


บทความ: เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี "ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Epr) และระบบมัดจำคืนเงิน (Drs)", สุจิตรา วาสนาดำรงดี Jul 2020

บทความ: เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี "ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Epr) และระบบมัดจำคืนเงิน (Drs)", สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: Cu Zero Waste กรณีศึกษา "การจัดการขยะโรงอาหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", นุตา ศุภคต, กัลยา สุนทรวงศ์สกุล Jul 2020

บทความ: Cu Zero Waste กรณีศึกษา "การจัดการขยะโรงอาหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย", นุตา ศุภคต, กัลยา สุนทรวงศ์สกุล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา, นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล Apr 2020

บทความ: การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา, นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด The Development Of Waste Management Model Of Suanphayom Hospital, Roi - Et Hospital., กาญจนา โทหา Apr 2020

บทความ: การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด The Development Of Waste Management Model Of Suanphayom Hospital, Roi - Et Hospital., กาญจนา โทหา

Environmental Journal

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะมูลฝอย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย และการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ จำนวน 50 คนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการและการคัดแยกขยะมูลฝอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ไควสแควร์ (Chi-Square) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.0 และระดับปานกลาง ร้อยละ 8.0 ทัศนคติเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ระดับปานกลาง ร้อยละ 94.0, 6.0 ตามลำดับ พฤติกรรมในการปฏิบัติตัวในเรื่องการกำจัดการขยะมูลฝอย อยู่ในระดับปานกลาง ระดับสูง ร้อยละ 76.0, 24.0 ตามลำดับ จากการรวบรวมข้อมูลในแบบสอบถามพบว่า อายุ เพศ สถานะภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่ง รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย ส่วนการพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา พบว่า ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ยังไม่เป็นระบบ 2) ศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยมูลฝอยตามแนวประชารัฐ เช่น การเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการขยะโดยการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร รณรงค์สร้างจิตสำนึกตามแนวคิด 3Rs - ประชารัฐ โดยการลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือน ทำน้ำหมักชีวภาพ ส่งผลทำให้ปริมาณขยะหลังการดำเนินการลดลง ร้อยละ 20.35


บทความ: "ปรอทและจุลินทรีย์" บทบาทของจุลินทรีย์ในการขับเคลื่อนวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของปรอทในสิ่งแวดล้อม, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Apr 2020

บทความ: "ปรอทและจุลินทรีย์" บทบาทของจุลินทรีย์ในการขับเคลื่อนวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของปรอทในสิ่งแวดล้อม, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)" เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน, สุจิตรา วาสนาดำรงดี Apr 2020

บทความ: "หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility)" เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน, สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การประเมินโครงการลดและงดการใช้โฟมและถุงพลาสติกในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (Evaluation Of Katu Municipality Campaign To Stop Using Foam And Plastic Bags, Phuket Province), เพ็ญศิริ เอกจิตต์, ฮุสนา โรมินทร์ Apr 2020

บทความ: การประเมินโครงการลดและงดการใช้โฟมและถุงพลาสติกในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต (Evaluation Of Katu Municipality Campaign To Stop Using Foam And Plastic Bags, Phuket Province), เพ็ญศิริ เอกจิตต์, ฮุสนา โรมินทร์

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: "เขื่อนอุบลรัตน์" ภัยแล้งที่เริ่มคืบคลาน, จักรภพ พันธศรี Apr 2020

เรื่องจากปก: "เขื่อนอุบลรัตน์" ภัยแล้งที่เริ่มคืบคลาน, จักรภพ พันธศรี

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Apr 2020

บทความ: "ถ่านชีวภาพ (Biochar)" วัสดุปรับปรุงดินเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

Environmental Journal

No abstract provided.


การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข Jan 2020

การประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพในการปลูกข้าวในพื้นที่เกษตรกรรมดินเค็ม, สิรภัทร ประเสริฐสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่วิกฤตดินเค็มของประเทศไทย โดยสาเหตุสำคัญของดินเค็มในพื้นที่เกิดจากสภาพทางธรณีวิทยา และมีแนวโน้มการแพร่กระจายพื้นที่ดินเค็มเพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม โดยทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชลดลงอย่างมาก และบางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งปรับปรุงดินเค็มด้วยถ่านชีวภาพแกลบเพื่อให้สามารถเพาะปลูกข้าวได้ โดยทำการทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกที่มี pH เท่ากับ 10.6 ปริมาณโซเดียมทั้งหมดเท่ากับ 0.83 % ค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 68.6 dS/m และ SAR เท่ากับ 11,707 และจำกัดปัญหาการระเหยของเกลือจากน้ำใต้ดินขึ้นมาสู่ผิวดินโดยทำการปลูกข้าว ในวงบ่อซีเมนต์ปิดก้นบ่อ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกได้ โดยสามารถลดความเค็มของดินได้ภายในรอบการปลูกข้าว (120 วัน) ซึ่งพบว่า การนำไฟฟ้า ปริมาณโซเดียม และค่า SAR ของดินมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งไนโตรเจน แคลเซียม และแมกนีเซียมได้ โดยเฉพาะการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ร่วมกับปุ๋ยคอกในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ (ตำรับการทดลองที่ 3) มีค่าการนำไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (13.33 dS/m) เช่นเดียวกับปริมาณโซเดียมทั้งหมด (0.18 %) และค่า SAR (4,602) ของดินในตำรับการทดลองที่ 3 ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังให้ผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อทำการปลูกข้าวรอบที่ 2 และรอบที่ 3 พบว่า ถ่านชีวภาพแกลบสามารถปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษายังพบว่า ตำรับการทดลองที่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลผลิตของข้าวในรอบการปลูกข้าวที่ 3 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (202.77-492.77 กรัม) จากรอบการปลูกที่ 1 อีกด้วย ในขณะที่ ตำรับการทดลองที่ไม่ใส่ถ่านชีวภาพ ให้ผลการเจริญเติบโตข้าวที่ดีในรอบการปลูกที่ 1 (15.55 กรัม) แต่ให้ผลการเจริญเติบโตต่ำที่สุดในรอบการปลูกที่ 3 (7.30 กรัม) ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยคอกสามารถลดความเค็มในดินได้ดีกว่าการใส่ปุ๋ยคอกเพียงอย่างเดียว โดยการใส่ถ่านชีวภาพแกลบในอัตรา 1.5 และ 2 กิโลกรัมต่อวงบ่อซีเมนต์ เป็นอัตราการใส่ถ่านชีวภาพที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มโซดิกในวงบ่อซีเมนต์ เนื่องจากสามารถปรับปรุงดินเค็มโซดิกให้มีสมบัติที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวดีที่สุด