Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 51

Full-Text Articles in Environmental Sciences

เรื่องจากปก: "พืชน้ำ" ความสำคัญต่อระบบนิเวศ, ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ Oct 2019

เรื่องจากปก: "พืชน้ำ" ความสำคัญต่อระบบนิเวศ, ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การประยุกต์ใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Oct 2019

บทความ: การประยุกต์ใช้จลนศาสตร์ไฟฟ้าบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก, กฤษฎี วานิชสวัสดิ์วิชัย, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: ผลสำเร็จของงานบริการวิชาการแก่สังคมด้านสิ่งแวดล้อม...สู่การพัฒนา 1 คณะ 1 โมเดล (The Achievement Of Academic Services To Society For The Environment...To The Development Of One Faculty - One Model), ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง, ศรีสดา เจริญดี, ประกาศิต ทอนช่วย, ภากรณ์ ภู่สุวรรณ, แสงชัย วงศ์มานะกูล, อรทัย เกตุขาว Oct 2019

บทความ: ผลสำเร็จของงานบริการวิชาการแก่สังคมด้านสิ่งแวดล้อม...สู่การพัฒนา 1 คณะ 1 โมเดล (The Achievement Of Academic Services To Society For The Environment...To The Development Of One Faculty - One Model), ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง, ศรีสดา เจริญดี, ประกาศิต ทอนช่วย, ภากรณ์ ภู่สุวรรณ, แสงชัย วงศ์มานะกูล, อรทัย เกตุขาว

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การพัฒนาชุมชนสุขภาวะต้นแบบการป้องกันปัญหาหมอกควัน อำเภอปง จังหวัดพะเยา (Development Of Healthy Community Model For Smog Pollution Prevention In Pong District, Phayao Province), ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง Oct 2019

บทความ: การพัฒนาชุมชนสุขภาวะต้นแบบการป้องกันปัญหาหมอกควัน อำเภอปง จังหวัดพะเยา (Development Of Healthy Community Model For Smog Pollution Prevention In Pong District, Phayao Province), ณรงค์ ใจเที่ยง, ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: รูปแบบและผลสำเร็จการฟื้นฟูปะการังด้วย "โดมปะการัง" โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะสีชัง-เกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี (Khamyai Island Community Coral Rehabilitation By "Coral Dome"), สมภพ รุ่งสุภา Oct 2019

บทความ: รูปแบบและผลสำเร็จการฟื้นฟูปะการังด้วย "โดมปะการัง" โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะสีชัง-เกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี (Khamyai Island Community Coral Rehabilitation By "Coral Dome"), สมภพ รุ่งสุภา

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: การทำนาข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงแบบอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนของชุมชน, มลฤดี จันทรัตน์, ดวงกมล พิหูสูตร Oct 2019

บทความ: การทำนาข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงแบบอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนของชุมชน, มลฤดี จันทรัตน์, ดวงกมล พิหูสูตร

Environmental Journal

No abstract provided.


บทความ: ไม้กระถินเหลือใช้.....มวลชีวภาพสำหรับการฟื้นฟูดินปนเปื้อน, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช, พินิจภณ ปิตุยะ Oct 2019

บทความ: ไม้กระถินเหลือใช้.....มวลชีวภาพสำหรับการฟื้นฟูดินปนเปื้อน, อโณทัย โกวิทย์วิวัฒน์, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช, พินิจภณ ปิตุยะ

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: "เฮมพ์" กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน, กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ Jul 2019

เรื่องจากปก: "เฮมพ์" กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน, กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์

Environmental Journal

No abstract provided.


"เฮมพ์" พืชไม่ธรรมดา มีคุณค่ามาจากสารสกัดและเส้นใย, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์ Jul 2019

"เฮมพ์" พืชไม่ธรรมดา มีคุณค่ามาจากสารสกัดและเส้นใย, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์

Environmental Journal

No abstract provided.


"เฮมพ์"…..เส้นทางงานวิจัยที่ต้องฝ่าฟัน....., มนทิรา สุขเจริญ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2019

"เฮมพ์"…..เส้นทางงานวิจัยที่ต้องฝ่าฟัน....., มนทิรา สุขเจริญ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


"เฮมพ์" นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงและยั่งยืน, รุ่งทิพย์ ลุยเลา Jul 2019

"เฮมพ์" นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงและยั่งยืน, รุ่งทิพย์ ลุยเลา

Environmental Journal

กัญชงหรือเฮมพ์ (Hemp) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. มีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลาง บริเวณประเทศอินเดีย มณฑลยูนนาน ในประเทศจีน และเปอร์เซีย ตั้งแต่ 6,000 ปีก่อน ปัจจุบันมีการเพาะปลูกในประเทศเขตร้อนหลายพื้นที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศในแถบยุโรปด้วย (Bouloc et al., 2013; Horne, 2012; รุ่งทิพย์ ลุยเลา, 2560) แม้ว่าการปลูกกัญชงจะถูกจำกัดและมีการควบคุมอย่างเข้มงวดทางกฎหมายในหลายประเทศ แต่พบว่าในอดีตมีการปลูกเฮมพ์กันอย่างแพร่หลาย เพื่อนำมาผลิตเชือก และเส้นใยใช้ในครัวเรือน เนื่องจากเส้นใยเฮมพ์มีความแข็งแรงกว่าเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น และพบว่ามีการนำมาใช้เป็นเส้นใยเสริมแรงในวัสดุผสม (Composite materials) เพราะมีความแข็งแกร่งและมีข้อดีหลายประการเมื่อเทียบกับเส้นใยแก้ว สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ กำจัดได้ง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Dhakal and Zhang, 2015)


จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ "เฮมพ์" หรือ "กัญชง" ที่ไม่ใช่ "กัญชา", มนทิรา สุขเจริญ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2019

จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ "เฮมพ์" หรือ "กัญชง" ที่ไม่ใช่ "กัญชา", มนทิรา สุขเจริญ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


หรือจะเป็น "เฮมพ์"? การผลิตเพื่อขับเคลื่อนสังคม…สู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน, รุจิรา ชัยศิริถาวรกุล, วรวรรณ ประชาเกษม Jul 2019

หรือจะเป็น "เฮมพ์"? การผลิตเพื่อขับเคลื่อนสังคม…สู่วิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน, รุจิรา ชัยศิริถาวรกุล, วรวรรณ ประชาเกษม

Environmental Journal

No abstract provided.


เฮมพ์…รากเหง้าแห่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวม้ง, ภูมิฐวัศ สัมพันธ์พานิช, กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์ Jul 2019

เฮมพ์…รากเหง้าแห่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวม้ง, ภูมิฐวัศ สัมพันธ์พานิช, กาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์

Environmental Journal

No abstract provided.


แนวทางการทดสอบความเป็นพิษผลิตภัณฑ์ "เฮมพ์" จากพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก, เอกชา ตนานนท์ชัย, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช Jul 2019

แนวทางการทดสอบความเป็นพิษผลิตภัณฑ์ "เฮมพ์" จากพื้นที่ปนเปื้อนโลหะหนัก, เอกชา ตนานนท์ชัย, อุดมศักดิ์ บุญมีรติ, พันธวัศ สัมพันธ์พานิช

Environmental Journal

No abstract provided.


เรื่องจากปก: "เขื่อนวชิราลงกรณ" แหล่งน้ำที่สร้างพลังงานและชีวิต, ดวงกมล พิหูสูตร Apr 2019

เรื่องจากปก: "เขื่อนวชิราลงกรณ" แหล่งน้ำที่สร้างพลังงานและชีวิต, ดวงกมล พิหูสูตร

Environmental Journal

"เขื่อนวชิราลงกรณ" เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามพระนามาภิไธยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร แทนชื่อเดิม "เขื่อนเขาแหลม" เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยเป็นหนึ่งในโครงการแผนพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลองที่มีความยาวกว่า 390 กิโลเมตรเพื่ออำนวยประโยชน์หลักด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยมีขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 777 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เขื่อนวชิราลงกรณเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2527 เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผิวหน้า ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย พื้นที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนของอ่างเก็บน้ำอยู่ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี มีพื้นที่เก็บกักสูงสุดปกติ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างโดยเฉลี่ย 5,500 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี


การพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดนางรมทองจากกระดาษลังและเปลือกผลไม้เพื่อเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ณัฐวรา กิจธรรมรัตน์, ภัทรพร เอี่ยมศิริกิจ, ศศธร ศิริกุลสถิตย์, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, ภัทรญา กลิ่นทอง Apr 2019

การพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดนางรมทองจากกระดาษลังและเปลือกผลไม้เพื่อเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ณัฐวรา กิจธรรมรัตน์, ภัทรพร เอี่ยมศิริกิจ, ศศธร ศิริกุลสถิตย์, บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ, ภัทรญา กลิ่นทอง

Environmental Journal

งานวิจัยนี้ศึกษาวัสดุเพาะเห็ดนางรมทอง (Pleurotus citrinopileatus Singer.) ที่ทำมาจากวัสดุเหลือทิ้งและเปลือกผลไม้ ได้แก่ กระดาษลัง เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะ โดยผสมขี้เลื่อยไม้ยางพารากับกระดาษลัง เปลือกมังคุด และเปลือกเงาะในอัตราส่วนต่าง ๆ บันทึกการเจริญเติบโต วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของดอกเห็ด ผลการศึกษาพบว่า ขนาดและน้ำหนักแห้งของเห็ดนางรมทองที่เพาะในขี้เลื่อยผสมกับกระดาษลังและขี้เลื่อยผสมกับเปลือกมังคุดไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับเห็ดที่เพาะในขี้เลื่อยเพียงอย่างเดียว โดยเห็ดที่เจริญมาจากวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อยผสมกับเปลือกมังคุดที่อัตราส่วนร้อยละ 25:75 โดยปริมาตร มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด แม้จะมีโปรตีนและการเติบโตที่ช้าลง ดังนั้น หากต้องการทำให้เห็ดนางรมทองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง เปลือกมังคุดจึงเป็นวัสดุผสมชนิดหนึ่งที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรมทอง


การตีความผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต: การเลือกใช้ถุงพลาสติกและถุงผ้า, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์ Apr 2019

การตีความผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต: การเลือกใช้ถุงพลาสติกและถุงผ้า, ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์

Environmental Journal

No abstract provided.


ภาพรวมมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในต่างประเทศ, สุจิตรา วาสนาดำรงดี Apr 2019

ภาพรวมมาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในต่างประเทศ, สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

จากสถานการณ์การผลิตและใช้พลาสติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 มีการผลิตพลาสติกมากกว่า 8.3 พันล้านตันหรือเฉลี่ยปีละ 300 ล้านตัน (Geyer, Jambeck & Law, 2017) ด้วยคุณสมบัติของพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูงและราคาถูก ทำให้มีการใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยพลาสติกมากกว่าครึ่งหนึ่งที่ผลิตขึ้นใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single-use plastics) ซึ่งมีอายุการใช้งานสั้นและทำให้เกิดการใช้พลาสติกมากเกินความจำเป็น ทั่วโลกจึงกำลังประสบปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีระบบจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ นักวิจัยคาดการณ์ว่าขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) และส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79) สะสมในแหล่งฝังกลบหรือตกค้างในสิ่งแวดล้อมบนบกและในทะเล (Geyer, Jambeck & Law, 2017)


ข้อเท็จจริง "พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ" (Environmentally Degradable Plastics: Edp), ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์, สุจิตรา วาสนาดำรงดี Apr 2019

ข้อเท็จจริง "พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ" (Environmentally Degradable Plastics: Edp), ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์, สุจิตรา วาสนาดำรงดี

Environmental Journal

No abstract provided.


ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง "นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน", ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ. Apr 2019

ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง "นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน", ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ.

Environmental Journal

No abstract provided.


ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต, เพ็ญศิริ เอกจิตต์, สิริวรรณ รวมแก้ว Apr 2019

ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต, เพ็ญศิริ เอกจิตต์, สิริวรรณ รวมแก้ว

Environmental Journal

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน มีพื้นที่ทั้งหมด 543.034 ตารางกิโลเมตร หรือ 356,271.25 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น 392,011 คน (สํานักงานจังหวัดภูเก็ต, 2559) พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ตเป็นที่ราบสูงหรือภูเขาและที่เหลือจะเป็นที่ราบเชิงเขาหรือชายฝั่งทะเล มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 3 แสนคนและมีประชากรแฝงอีกประมาณ 3.8 แสนคน (สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต, 2558) บริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่สำคัญในการใช้ประโยชน์และการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และการประมง เป็นต้น ซึ่งมีอัตราการท่องเที่ยวมากขึ้นในทุกๆปี โดยในปี 2557 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 11 ล้านคนต่อปี (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2557) ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมใกล้ชายฝั่งทะเล ดังนั้นปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ตามมาที่เห็นได้ชัดและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนคือปัญหาขยะบริเวณชายฝั่ง ในปัจจุบันการใช้พลาสติกและวัสดุสังเคราะห์มีปริมาณเพิ่มขึ้นเหตุเพราะบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรืออุปกรณ์พลาสติกจัดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันจึงทำให้การผลิตพลาสติกมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลกที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในทะเล (Jambeck et al., 2015) ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณขยะในทะเลซึ่งมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 60-80% และในหลายพื้นที่อาจมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่สูงถึง 90-95% ของปริมาณขยะทั้งหมด และเป็นที่รู้กันว่าไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กยากต่อการเก็บและการกำจัด ประกอบกับมีคุณสมบัติที่คงสภาพย่อยสลายได้ยากจึงง่ายต่อการปนเปื้อน การแพร่กระจาย การสะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อม จากงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องพบว่าพลาสติกเป็นขยะในทะเลที่พบมากที่สุดและเป็นแหล่งของสารพิษต่างๆ เนื่องจากพลาสติกสามารถดูดซับเอาสารพิษจากน้ำทะเลเอาไว้ โดยสารพิษที่พบมากเป็นพิเศษในขยะพลาสติก ได้แก่ สาร Polychlorinated biphenyl (PCBs) สาร Dichlorodiphenyethane (DDE) สาร Nonylphenols (NP)


ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค, ศีลาวุธ ดำรงศิริ, เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์ Apr 2019

ไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำจืดและแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค, ศีลาวุธ ดำรงศิริ, เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์

Environmental Journal

ไมโครพลาสติกเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกกล่าวถึงและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันนี้ปริมาณของขยะพลาสติกนั้นเพิ่มจานวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และโดยส่วนมากมักถูกจัดการอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นบนบกเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาลงสู่แหล่งน้าและทะเล จนก่อให้เกิดปัญหาแพขยะทะเลได้ในที่สุด พลาสติกนั้นเป็นขยะที่มีน้าหนักเบาและไม่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงสามารถถูกพัดพาออกไปไกลจากแหล่งกาเนิดได้ และสามารถสลายตัวกลายเป็นชิ้นพลาสติกที่มีขนาดเล็กลงได้เมื่อถูกแสงแดด หรือแรงกระแทกจากคลื่น ลม และกระแสน้าในแหล่งน้าและทะเล พลาสติกที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ เหล่านี้ สามารถแพร่กระจายได้ง่าย สามารถถูกสะสมโดยสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้า อีกทั้งยังสามารถเป็นวัสดุตัวกลางที่สะสมสารพิษอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทาให้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจศึกษาการจัดการขยะพลาสติกและสถานการณ์การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกตั้งแต่ต้นน้า (แหล่งกาเนิดบนบก) กลางน้า (แหล่งน้าจืดผิวดิน) ไปจนถึงปลายน้า (ทะเลและมหาสมุทร) เป็นจานวนมาก นอกจากนั้นแล้วยังได้มีการเริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบการผลิตน้าประปาเพื่อการบริโภคและอุปโภคอีกด้วย เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์การปนเปื้อนของขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกอย่างรอบด้าน จนสามารถนาไปสู่แนวทางการบริหารจัดการขยะพลาสติก และการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป


กระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ Apr 2019

กระบะวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกาบมะพร้าวจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตร, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์

Environmental Journal

No abstract provided.


เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร...แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ Apr 2019

เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร...แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

Environmental Journal

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "เกษตรอินทรีย์" เชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่คงมีความคุ้นเคย หรืออย่างน้อยต้องเคยได้ยินคำๆ นี้กันมาบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดจากสารเคมีตกค้าง ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์เป็นหนึ่งในแนวทางการทำเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยไม่มีการใช้สารเคมีในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของพืช ผลผลิตที่ได้จึงมีความเป็นมิตรต่อผู้บริโภคและไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการทำเกษตรอินทรีย์ยังสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ และคำนึงถึงระบบนิเวศในแหล่งทำการเกษตรนั้นๆ จึงนับได้ว่าเป็นวิถีทางที่ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนต่อทั้งชุมชนในภาคเกษตรกรรม ภาคสังคม และต่อสภาวะแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา


Evaluation Of Carbon Dioxide And Nitrate Utilization From Recirculating Aquaculture System For Microalgal Production, Kittikoon Sucunthowong Jan 2019

Evaluation Of Carbon Dioxide And Nitrate Utilization From Recirculating Aquaculture System For Microalgal Production, Kittikoon Sucunthowong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study evaluated carbon dioxide and nitrate utilization from tilapia cultivating system by means of microalgal cultivation. The first part of this study evaluated the feasibility of using nitrate-rich effluent from aquaculture to cultivate Scenedesmus armatus in comparison with the cultivation using BG-11 media. Comparable biomass productivity and pigment content of S. armatus from the cultivation indicated that nitrate-rich effluent from aquaculture could be used as substitute for a more expensive BG-11 growth media. The second part of this study evaluated the feasibility of utilizing carbon dioxide concentrated air from roughly 3 kg/m3 tilapia cultured tank to grow S. armatus. …


Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai Jan 2019

Characterization Of Dissolved Organic Matter In Treated Textile Wastewater From Membrane Bioreactor, Nichapach Puangmalai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the DOM removal efficiency in textile wastewater by MBR at different sludge retention time. In addition, the characteristics of DOM was investigated by using resin fractionation and fluorescent excitation-emission matrix techniques. Textile wastewater was synthesized by using commercial dyes and used in all experiment. The characteristics of synthesis textile wastewater showed that the COD concentration was high as 2,000 mg/L. In addition, the DOC concentration in synthesis textile wastewater was also high at 466.1 mg/L. MBR was conducted under HRT 2.5 days and SRT was varied at 15 days, 30 days and infinite, respectively. MBR …


A Market-Based Probabilistic Risk Assessment Of As Concentration In Raw And Cooked Rice In Bangkok, Supanad Hensawang Jan 2019

A Market-Based Probabilistic Risk Assessment Of As Concentration In Raw And Cooked Rice In Bangkok, Supanad Hensawang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rice is a staple food of human and can be a main source of arsenic (As) exposure. This study was conducted to i) investigate the concentrations of total, inorganic and bioaccessible of As in raw rice, ii) investigate the effects of rice processing before human consumption on the concentrations of As in rice, and iii) evaluate the potential health impacts of As exposure through rice consumption. A total of 208 polished and non-polished samples sold in the local markets of Bangkok were collected. The total As concentrations in polished (0.0878 to 0.2949 mg kg-1, n = 154) and non-polished (0.1187 …


การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี Jan 2019

การประยุกต์กากหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาลเพื่อเป็นวัสดุเพาะเมล็ดโดยผ่านกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชัน, ชนิตสิรี สุเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตไฮโดรชาร์จากกากหม้อกรองเหลือทิ้งโรงงานน้ำตาล เพื่อให้เป็นวัสดุเพาะเมล็ดคล้ายพีทมอส ด้วยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันภายใต้อุณหภูมิ 160 180 และ 200 องศาเซลเซียส ที่เวลา 1 2 และ 3 ชั่วโมง และอัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 1:10 และ 1:15 ผลการศึกษาพบว่า สภาวะไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอไนเซชันที่เหมาะสม คือการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เวลา 3 ชั่วโมง อัตราส่วนกากหม้อกรองต่อน้ำกลั่น 1:5 ร้อยละผลผลิตที่ได้เป็น 84 เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าลักษณะสมบัติของไฮโดรชาร์และพีทมอสส่วนใหญ่ค่าไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ค่าความสามารถในการอุ้มน้ำสูงสุดเป็น 4.57 และ 3.93 กรัมต่อกรัม ค่าความพรุนทั้งหมดร้อยละ 45.3 และ 38.9 ค่าช่องว่างขนาดใหญ่ร้อยละ 2.8 และ 3.0 และค่าช่องว่างขนาดเล็กร้อยละ 42.4 และ 35.7 ค่าการนำไฟฟ้า 151 และ 140 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 1.34 และ1.51 ฟอสฟอรัส 188.18 และ 413.73 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียม 146.70 และ 372.08 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ จากนั้นนำไฮโดรชาร์และพีทมอสทดสอบปลูกกับพืชสองชนิดพบว่า ต้นอ่อนทานตะวันในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 95.31 และ 90.63 ในขณะที่ผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คในวัสดุไฮโดรชาร์และพีทมอส ได้ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกร้อยละ 89.06 และ 87.50 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าไฮโดรชาร์มีความสามารถในการเพาะเมล็ดได้เหมือนกับพีทมอส นอกจากนี้ ต้นทุนค่าการดำเนินงานในการผลิตไฮโดรชาร์เท่ากับ 54.64 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งมีราคาต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับพีทมอสที่ขายตามท้องตลาดที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม


การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย Jan 2019

การผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักร่วมกากของเสียจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปรร่วมกับตะกอนเลนจากบ่อเลี้ยงกุ้ง, ปิยะวดี ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหมักร่วมระหว่างกากตะกอนแป้ง (Starch sludge, SS) กับตะกอนสลัดจ์ (Activated biosludge, ABS) จากระบบบำบัดน้ำเสียแอกติเวเต็ดสลัดจ์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังดัดแปร และตะกอนเลน (Shrimp pond sediment, SPS) จากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วยระบบถังหมักไร้ออกซิเจนแบบสองขั้นตอน ซึ่งได้ทำการทดลองเบื้องต้นด้วยวิธีบีเอ็มพีโดยออกแบบการทดลองแบบประสมส่วนกลาง และมีการใช้หลักการพื้นผิวตอบสนองของโปรแกรม Design Expert (Trial version 10) เพื่อเลือกอัตราส่วนการหมักร่วมที่เหมาะสม พบว่าที่อัตราส่วน (SS:SPS และ SS:ABS) เท่ากับ 1:0 และ 1:1 มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูง และระบบมีความเสถียรภาพ โดยอัตราส่วนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการเดินระบบหมักกรดด้วยถังปฎิกรณ์กวนสมบรูณ์แบบแบทซ์ โดยศึกษาผลของของแข็งระเหยเริ่มต้น (TVS) ซึ่งพบว่า TVS เริ่มต้นร้อยละ 2 อัตราส่วนการหมักร่วม 1:1 ของ SS:SPS และ SS:ABS มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการผลิตกรดไขมันระเหยสูง เท่ากับ 319 และ 353 กรัมอะซิติก/กิโลกรัมของของแข็งระเหยเริ่มต้น ตามลำดับ อีกทั้งยังพบว่าถังหมักกรดมีเสถียรภาพมากกว่าการหมัก SS เพียงอย่างเดียว และน้ำหมักกรดที่ผลิตได้จากถัง CSTR ถูกนำไปใช้เพื่อศีกษาผลของอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เริ่มต้น (OLR) ที่มีต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพของถังหมักก๊าซโดยใช้ถังปฎิกรณ์ไร้อากาศแบบแผ่นกั้น (ABR) โดยพบว่าเมื่อเพิ่ม OLR ของทั้งสองชุดการหมักร่วม จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพลดลง และคุณภาพของน้ำที่ปล่อยออกแย่ลง และพบว่าที่ OLR 0.2 Kg COD/m3.day มีประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุด เท่ากับ 404 และ 367 L/Kg TVSadded สำหรับการหมักร่วมของ SS:SPS และ SS:ABS ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวมีร้อยละมีเทนสูงเท่ากับ 69.30 และ 72.06 ตามลำดับ