Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Pediatric Dentistry and Pedodontics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2021

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Pediatric Dentistry and Pedodontics

Cellular Responses Of Stem Cells Isolated From Human Exfoliated Deciduous Teeth Towards Different Concentration Of Calcium Ion, Thanika Phlinyos Jan 2021

Cellular Responses Of Stem Cells Isolated From Human Exfoliated Deciduous Teeth Towards Different Concentration Of Calcium Ion, Thanika Phlinyos

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: The purpose of this study was to investigate the effect of Ca2+ on proliferation, osteogenic differentiation, and migration of stem cells from human exfoliated teeth (SHEDs) in vitro Materials and methods: SHEDs were seeded in culture media and osteogenic induction media containing 1.8-16.2 mM of Ca2+. SHEDs proliferation was determined using MTT assay and colony forming unit assay. Osteogenic differentiation was evaluated using mineralization assay and osteogenic marker gene expression and cell migration was evaluated using wound healing assay. Values were expressed as mean + S.D. Statistical analysis of MTT assay and wound healing assay were performed using two-way …


การศึกษาผลของวัสดุบูรณะที่ปลดปล่อยแร่ธาตุต่อการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้น ของฟันกรามน้ำนมซี่ข้างเคียงในห้องปฏิบัติการ, ดนุธิดา สาเขตร์ Jan 2021

การศึกษาผลของวัสดุบูรณะที่ปลดปล่อยแร่ธาตุต่อการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้น ของฟันกรามน้ำนมซี่ข้างเคียงในห้องปฏิบัติการ, ดนุธิดา สาเขตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่สัมผัสกับวัสดุบูรณะคลาสทูด้วยนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟต (Predicta™ bioactive bulk) กับซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ (Equia Forte®) และเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ (Filtek™ Z350) เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้ชิ้นฟันน้ำนมจำนวน 60 ชิ้นจากด้านแก้มของฟันกรามน้ำนมที่ถูกถอน 60 ซี่มาสร้างรอยผุระยะเริ่มต้นที่กึ่งกลางของชิ้นฟัน นำชิ้นฟันตัวอย่างมาวัดร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆F) เริ่มต้นด้วยเครื่องวัดฟลูออเรสเซนต์ที่เกิดจากแสงเชิงปริมาณชนิดดิจิทัล เรียงลำดับร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้นจากชิ้นฟันที่สูญเสียแร่ธาตุน้อยไปมาก สุ่มชิ้นฟันออกเป็น 3 กลุ่ม นำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่บูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะทั้ง 3 ชนิด แล้วเข้ากระบวนการเลียนแบบสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณการคืนแร่ธาตุโดยวัสดุบูรณะแต่ละชนิด ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงร้อยละของการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆F) และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆Q) ผลการศึกษาพบว่าทั้งค่า ∆∆F และค่า ∆∆Q ของทุกกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ มีการคืนแร่ธาตุแก่ชิ้นฟันสูงที่สุด ส่วนกลุ่มนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตมีการสูญเสียแร่ธาตุของชิ้นฟันเล็กน้อย ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม คือเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการบูรณะด้วยวัสดุซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ สามารถคืนแร่ธาตุให้ฟันซี่ข้างเคียงได้ดีที่สุด แต่ในกรณีที่รอยผุหรือโพรงฟันคลาสทูมีขนาดใหญ่ นาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตก็ถือเป็นวัสดุหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการใช้ทดแทนเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ เนื่องจากใช้งานง่าย มีความแข็งแรงและความสวยงามเทียบเท่ากับเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการลุกลามของรอยผุระยะเริ่มต้นในฟันซี่ข้างเคียงได้ดีกว่าเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์