Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 151 - 176 of 176

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Health And Nutritional Status Of Children 6 To 12 Years Oldin One Congested Area Of Bangkok, S. Isaranurug, S. Klunklin, C. Wong-Arsa, N. Chansatitporn, P. Charupoonphol, D. Kaewsiri Feb 2000

Health And Nutritional Status Of Children 6 To 12 Years Oldin One Congested Area Of Bangkok, S. Isaranurug, S. Klunklin, C. Wong-Arsa, N. Chansatitporn, P. Charupoonphol, D. Kaewsiri

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Result Of Pneumatic Retinopexy In The Treatment Ofrhegmatogenous Retinal Detachment, P. Pisarnkorskul Feb 2000

Result Of Pneumatic Retinopexy In The Treatment Ofrhegmatogenous Retinal Detachment, P. Pisarnkorskul

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Cerebral Vasospasm Evaluated By Transcranial Dopplersonography In Aneurysmal Subarachnoid Hemorrhage Patients, W. Panitpotijaman, Ns. Suwanwela, S. Khaoroptham Jan 2000

Cerebral Vasospasm Evaluated By Transcranial Dopplersonography In Aneurysmal Subarachnoid Hemorrhage Patients, W. Panitpotijaman, Ns. Suwanwela, S. Khaoroptham

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Meningioma Presenting As A Nasopharyngeal Mass, W. Chanvimalueng Jan 2000

Meningioma Presenting As A Nasopharyngeal Mass, W. Chanvimalueng

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Adverse Effects Of Computer In Modern Medicine, V. Wiwanitkit, S. Agthong, N. Mongkolprasit Jan 2000

Adverse Effects Of Computer In Modern Medicine, V. Wiwanitkit, S. Agthong, N. Mongkolprasit

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล กรณีศึกษาฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Organization Climate Of Health Personnel In Department Of Nursing Teaching Hospital), สมสมัย สุธีรศานต์, นวลตา อาภาคัพภะกุล Jan 2000

บรรยากาศในการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล กรณีศึกษาฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (Organization Climate Of Health Personnel In Department Of Nursing Teaching Hospital), สมสมัย สุธีรศานต์, นวลตา อาภาคัพภะกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง เพราะทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนในการพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ การดูแลทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์การต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะขวัญกำลังใจ ความรู้สึกต่อองค์การที่ตน ทำงานอยู่ รวมทั้งบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรในองค์การด้วย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การบริหาร จัดการให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ \nการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อ บรรยากาศองค์การของฝ่ายบริการพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อบรรยากาศ ด้านการทํางานเป็นทีม การให้บริการ การเปลี่ยนแปลงงาน การปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายใน การทำงานร่วมกัน และความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล เสมียน คนงาน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 600 ราย วิธีการเก็บข้อมูล โดยแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 55 ข้อ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 32 ปี มีระยะ เวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 11 ปี มีโอกาสได้รับการอบรมเฉลี่ย 1 ครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในฝ่ายบริการพยาบาล (2) ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การด้านความสามารถใน การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การทำงานเป็นทีมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมายของ คุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย/ลูกค้า เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกัน และ ความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมาก ส่วนความสัมพันธ์ของผู้ป่วยใน และ การปรับปรุงระบบงานค่อนไปทางน้อย ดังนี้ 6.16 6.24 6.10 7.05 6.75 6.09 6.22 5.84 และ 4.80 (3) เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นต่อบรรยากาศในการทำงาน โดยการวิเคราะห์สมการ ถดถอย พบว่า ระดับการศึกษาและโอกาสที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับ Hospital accreditation มีผลต่อ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในการทำงาน (beta.132 และ beta.126,p<.05) (4) ผลของการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การของผู้ที่ทำงานในระดับพยาบาลประจำการ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงาน ช่วยเหลือการพยาบาล เสมียน และคนงาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปร พบว่า มีความแตกต่างกันในด้านการปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกันของบุคลากร อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการทํางานเป็นทีม การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมาย ของคุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และความพึงพอใจ ต่อการทํางาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในส่วนของข้อคำถาม ปลายเปิด คณะผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Ethnograph 4.0 พบว่า ก) ส่วนใหญ่ต้องการ เห็นภาพของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในสายตาของผู้รับบริการว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี บุคลากรมีความสามารถ และมีเครื่องมือทันสมัย รวมทั้งค่าบริการไม่แพงนัก ข) ในด้าน อุปสรรค พบว่า มีอุปสรรคที่นโยบายการบริหาร บรรยากาศในการทํางานไม่เอื้ออํานวย ซึ่งมีทั้งจาก บุคลากร การได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และนโยบายขององค์การ ค) สิ่งที่น่าจะได้พัฒนาและ นําไปสู่ความสําเร็จของการทํางานที่มีประสิทธิภาพ คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ การส่งเสริมความสามัคคี การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน ปลูกจิตสํานึกในการทํางานและรักงานของบุคลากรทุกระดับ การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ไม่มีการแบ่งระดับ และผู้บริหารควรยอมรับฟังปัญหา


ปกิณกะ : ทฤษฎีความเครียดในงานวิจัยทางการพยาบาลและจิตสังคม (Stress Theory In Nursing And Psychological Research), สุกัญญา แสงมุกข์ Jan 2000

ปกิณกะ : ทฤษฎีความเครียดในงานวิจัยทางการพยาบาลและจิตสังคม (Stress Theory In Nursing And Psychological Research), สุกัญญา แสงมุกข์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ผลของการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ต่อความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล (Effects Of Using Dependent Elderly Caring Model On Role Stress Of Caregivers.), สุดา เทพศิริ, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ Jan 2000

ผลของการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา ต่อความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล (Effects Of Using Dependent Elderly Caring Model On Role Stress Of Caregivers.), สุดา เทพศิริ, พิชญาภรณ์ มูลศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้อง พึ่งพาและเปรียบเทียบความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาระหว่างก่อนและหลัง การใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาที่เข้ารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยสามัญในแผนกอายุรกรรม สถาบันประสาทวิทยา แผนกอายุรกรรมและอายุรกรรม ประสาท โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอยู่ในช่วงวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแห่งละ 15 คน จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่ม โดยวัดก่อนทดลอง และหลังทดลอง (The one group pretest-posttest design) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเครียด ในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาก่อนการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับ ปานกลาง (X = 2.52) ระดับความเครียดในบทบาทของผู้ดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบ การดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาอยู่ในระดับต่ำ (X = 1.51) ความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ ต้องพึ่งพาหลังการใช้ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาทั้งรายด้านและโดยรวมน้อยกว่าก่อนการใช้ ตัวแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาเสนอแนะว่าควรนําตัวแบบการดูแล ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้ในการเตรียมสภาพจิตใจของผู้ดูแลโดยการลดความเครียดในบทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพา และนำตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพามาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการ วางแผนจำหน่าย จะทำให้การจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่ต้องพึ่งพามีประสิทธิภาพมากขึ้น


การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา (Aids Perceptions Of Upper Level Secondary School Students In Songkhla Provice), ทศวร มณีศรีขำ, ชฎาภา ประเสริฐทรง Jan 2000

การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสงขลา (Aids Perceptions Of Upper Level Secondary School Students In Songkhla Provice), ทศวร มณีศรีขำ, ชฎาภา ประเสริฐทรง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการรับรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา โดยจําแนกตามเพศ อายุ ระดับชั้นที่ศึกษา สถานที่ตั้งของสถานศึกษา รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และพฤติกรรมทางเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสงขลา ที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2538 จำนวน 965 คน ที่ได้มาจาก การสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากประชากรจํานวน 12,929 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบที่ การทดสอบเอฟ การหาความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบความแตกต่าง ของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ ภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธีของนิวแมน-คูลส์ \nผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ \n1. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และมีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n2. นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ สำหรับการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อ หลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนที่มีอายุต่างกัน มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่พบว่า นักเรียนที่มีอายุ 16-18 ปี มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี และ นักเรียนที่มีอายุสูงกว่า 18 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n3. นักเรียนในระดับชั้นที่ศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ มีการป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ แตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายคู่ พบว่าความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เจตคติต่อผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อผู้ป่วย โรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 การป้องกันและการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีการป้องกันและ การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงโรคเอดส์ดีกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 …


ปกิณกะ : โครงการสื่อสักการะ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, ดวงดาว วีระนะ Jan 2000

ปกิณกะ : โครงการสื่อสักการะ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, ดวงดาว วีระนะ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : โพนโฮงรำลึก : การฝึกอบรมพยาบาลระดับต้นในแขวงเวียงจันทน์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2000

ปกิณกะ : โพนโฮงรำลึก : การฝึกอบรมพยาบาลระดับต้นในแขวงเวียงจันทน์, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานกับสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Relationships Between Personal Background, Personal Trait And Workplace Environment With Competencies Of Nurse Directors As Perceived By Themselves, Community Hospitals Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health.), สุพรรณี วงคำจันทร์, ยุพิน อังสุโรจน์ Jan 2000

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อม ในหน่วยงานกับสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (Relationships Between Personal Background, Personal Trait And Workplace Environment With Competencies Of Nurse Directors As Perceived By Themselves, Community Hospitals Under The Jurisdiction Of The Ministry Of Public Health.), สุพรรณี วงคำจันทร์, ยุพิน อังสุโรจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนโดยรวมและรายด้านตามการรับรู้ของตนเอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลัง ของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน กับสมรรถนะของหัวหน้า ฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง ที่ศึกษา คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 262 คน \nเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน และแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้า ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ค่าไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน \nผลการวิจัยพบว่า \n1. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสมรรถนะ ด้านภาวะผู้นำสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาล และสมรรถนะด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถนะด้านการบริหารงาน สมรรถนะด้านการตลาด สมรรถนะด้านการสนับสนุนงาน การสาธารณสุขมูลฐาน สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีทันสมัย อยู่ในระดับปานกลาง และสมรรถนะ ด้านวิชาการและการวิจัย อยู่ในระดับต่ำ\n2. ภูมิหลังของบุคคลด้านอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในตำแหน่ง และประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเฉพาะตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล \n3. ภูมิหลังของบุคคลด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของ \nหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n4. คุณลักษณะส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสมรรถนะ \nโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n5. สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน ด้านลักษณะและสภาพการทํางานในหน่วยงาน โอกาส ในการแสดงความสามารถ และการมีพี่เลี้ยง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับสมรรถนะ โดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n6. สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน ด้านขนาดของโรงพยาบาล และการก้าวหน้าในตำแหน่ง ตามบันไดอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล


มโนมติและการวัดการนอนหลับ (Conceptual And Measurement Of Sleep), ชนกพร จิตปัญญา Jan 2000

มโนมติและการวัดการนอนหลับ (Conceptual And Measurement Of Sleep), ชนกพร จิตปัญญา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Y2k Bug On Diagnostic Instrument, Global Year 2000 Problem, V. Wiwanitkit Jan 2000

Y2k Bug On Diagnostic Instrument, Global Year 2000 Problem, V. Wiwanitkit

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (Teaching Activities And Teaching Environment In Clinical Setting In Gerontological Nursing Of Nursing Instructors, Nursing College Under The Jurisdiction Of Prabaromarajchanok Institute), วาสนา ฉัตรเวทิน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Jan 2000

การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (Teaching Activities And Teaching Environment In Clinical Setting In Gerontological Nursing Of Nursing Instructors, Nursing College Under The Jurisdiction Of Prabaromarajchanok Institute), วาสนา ฉัตรเวทิน, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมการเรียนการ สอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ของอาจารย์พยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำแนกตาม อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสอน และการได้รับการฝึกหรืออบรมเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คืออาจารย์ พยาบาลซึ่งเป็นผู้จัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 \nผลการวิจัยพบว่าอาจารย์พยาบาลจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการ พยาบาลผู้สูงอายุในขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล อยู่ในระดับสูง ( X = 4.25, 4.05, 4.10 ตามลำดับ) สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนทางกายภาพอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.31) และ สภาพแวดล้อมทางจิตใจและสังคมอยู่ในระดับสูง (X = 3.90) การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุของอาจารย์พยาบาล จำแนกตามอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการสอน และการได้รับการศึกษาหรืออบรมเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อม การเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สามารถอธิบายได้ดังนี้ ในขั้นวางแผน อาจารย์พยาบาลมีการประชุมปรึกษาและศึกษาถึงลักษณะวิชา วัตถุประสงค์ของวิชา พร้อมทั้งวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ และประสานงานกับแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในขั้นดำเนินการ พบว่าอาจารย์พยาบาลใช้วิธีการสอนหลาย วิธีผสมผสานกัน และมีการกำหนดให้นักศึกษาจัดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุหรือสถานสงเคราะห์ เพื่อ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ในขั้นการประเมินผล พบว่าเกณฑ์การประเมินผลและวิธีการประเมินผล ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของอาจารย์พยาบาล สําหรับ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในโรงพยาบาล ขาดอุปกรณ์ที่ เอื้อต่อการพยาบาลผู้สูงอายุ แต่ภายในสถานสงเคราะห์มีความเหมาะสมมากกว่า และสภาพแวดล้อม ทางจิตใจและสังคม พบว่าอาจารย์พยาบาล พยาบาลประจําการและนักศึกษาพยาบาลมีสัมพันธภาพที่ดี ต่อกัน


Multimedia: Powerful Technology In Education, S. Chittmitrapap Jan 2000

Multimedia: Powerful Technology In Education, S. Chittmitrapap

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


An Alternative Technique For Internal Fixationof Comminuted Femoral-Shaft Fractures, V. Wilairatana, P. Prasongchin Jan 2000

An Alternative Technique For Internal Fixationof Comminuted Femoral-Shaft Fractures, V. Wilairatana, P. Prasongchin

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Late Syphilis Patients Admitted To Kingchulalongkorn Memorial Hospital, T. Soommark, C. Suankratay, O. Hanvivatvont, S. Jitapunkul Jan 2000

Late Syphilis Patients Admitted To Kingchulalongkorn Memorial Hospital, T. Soommark, C. Suankratay, O. Hanvivatvont, S. Jitapunkul

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


Treatment Of Hyperthyroidism, M. Poshyachinda Jan 2000

Treatment Of Hyperthyroidism, M. Poshyachinda

Chulalongkorn Medical Journal

No abstract provided.


เปรียบเทียบเชื้อจุลินทรีย์ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ ระหว่างก่อนและหลังการรักษา ด้วย 2% ไมโนซัยคลิน (เพอริโอคลิน) เฉพาะที่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน Jan 2000

เปรียบเทียบเชื้อจุลินทรีย์ที่นํามาจากร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ ระหว่างก่อนและหลังการรักษา ด้วย 2% ไมโนซัยคลิน (เพอริโอคลิน) เฉพาะที่, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ ต้องการศึกษาดูผลของยาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% ที่ใช้เฉพาะที่ ต่อเชื้อที่อาศัยอยู่ใน ร่องลึกปริทันต์ผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ วัสดุและวิธีการ แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใส่ยา กับกลุ่มที่ใส่ยา สําหรับกลุ่มที่ ใส่ยา จะใส่ยาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% สัปดาห์ละครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน การเก็บตัวอย่างเชื้อ จากร่องลึกปริทันต์มาศึกษา จะทําการเก็บเชื้อครั้งที่ 1 (ตรงกับสัปดาห์ที่ 6) โดยเก็บก่อนใส่ยาหลังเก็บเชื้อครั้งที่ 1 จะทําการขูดล้างหินน้ำลายและเกลารากฟันทั้งฟันซี่ที่เป็นของกลุ่มควบคุมและที่เป็นของกลุ่มที่ใส่ยา ส่วนการเก็บเชื้อครั้งที่ 2 จะเก็บในสัปดาห์ที่ 4 และเก็บเชื้อครั้งที่ 3 ในสัปดาห์ที่ 12 ผลการศึกษา : พบว่ายาไมโนชัยคลิน (เพอริโอคลิน) 2% ที่ใช้เฉพาะที่ มีผลต่อเชื้อที่อาศัยอยู่ในร่องลึกปริทันต์ ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ โดยจะมีผลต่อกลุ่มเชื้อพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตอย่างชัดเจน ซึ่งใน กลุ่มที่ใส่ยาจํานวนเชื้อจะลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติหลังจากใส่ยาไป เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้ยา ส่วนในกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มที่ไม่ได้ใส่ยา จํานวนเชื้อที่ลดลงส่วนมากไม่มีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบจํานวนเชื้อที่พบก่อนทําการรักษากับภายหลังท่าการรักษา สรุป : ไมโนชัยคลิน 2% ที่ใช้เฉพาะที่ สามารถลดจํานวนเชื้อพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตที่อาศัย อยู่ในร่องลึกปริทันต์ของผู้ป่วยด้วยโรคปริทันต์ลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอมที่มีผลต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซิน วัสดุและวิธีการ นําขึ้นอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยความร้อน (เมเจอร์ เบส 2) แช่ในน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม 4 ชนิด (สเตอราเต็นท์ เซเคียว โพลิเดนท์ และน้ําส้มสายชู) โดยใช้ชิ้นทดสอบกลุ่มละ 7 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําความ สะอาดฟันปลอมแต่ละชนิดเป็นจํานวน 0 90 180 270 และ 360 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จากนั้นนําชิ้นทดสอบไป หาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักด้วยเครื่องลอยด์ รุ่นแอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคัสคาล วัลลิส เทส และแมน-วิทนีย์ ยู เทส ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าค่ากําลังตัดขวางของชิ้นอะคริลิก เรซินที่แช่ในสเตอราเต็นท์ เซเคียว และโพลิเต็นท์ ที่แซ่เป็นจํานวน 0 ครั้ง 90 180 270 และ 360 ครั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่ที่แช่ในน้ําส้มสายชูที่ จํานวน 360 มีค่ากําลังตัดขวางลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่เป็นจํานวน 0 90 180 และ 270 ครั้ง ส่วนค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของชิ้นอะคริลิก เรซิน ที่แช่ในน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมทั้ง 4 ชนิด ที่แช่เป็นจํานวน 360 ครั้ง มีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่ที่ 0 90 180 และ 270 ครั้ง และในกลุ่มน้ําส้มสายชูที่แช่ 270 ครั้ง มีค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่แซ่ 0 ครั้ง สรุป การใช้น้ําส้มสายชูแซ่อะคริลิก เรซิน เพื่อทําความสะอาดฟันปลอมอาจมีผลทําให้ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการตัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซินลดลงได้


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม Jan 2000

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารระหว่างประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่นที่มีฟันครบและศึกษาปัจจัยด้านเพศ, ด้านเคี้ยวที่ถนัด และเวลาที่ใช้ในการเคี้ยวที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว นอกเหนือจากจํานวนพื้นที่เหลืออยู่ในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ทําการสุ่มตัวอย่างโดยความบังเอิญจากประชากรวัยผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปี และประชากรวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี กลุ่มละ 40 คน เป็นเพศชายและเพศหญิงเท่าๆ กันโดยทุกคนมีฟันธรรมชาติครบ 28 ซี่ (ไม่นับฟัน กรามซี่สุดท้ายทั้ง 4 ที่) มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่มีความผิดปกติใดๆ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว ทดสอบ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารโดยให้เคี้ยวแครอทสดน้ําหนัก 3 กรัม ด้วยด้านที่ถนัด จับเวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยว จบครบ 30 ครั้ง วิเคราะห์ผลการทดลองโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยต่างๆ ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ด้วยการ ทดสอบ ที และระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปด้วยการทดสอบ เอฟ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยต่างๆ ด้วยการทดสอบไคสแควร์ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ใช้เวลาในการบดเคี้ยวจนครบ 30 ครั้ง นาน 26.25 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวสูงถึง 84.50 ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นใช้เวลาในการบดเคี้ยวเพียง 20.26 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวเพียง 68.20 เวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยวและ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มผู้ใหญ่นานกว่าและสูงกว่ากลุ่มวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สําหรับปัจจัยด้านเพศและด้านเคี้ยวที่ถนัด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของประชากรในกลุ่มอายุเดียวกัน สรุป จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปว่า เมื่อจํานวนครั้งของการบดเคี้ยวเท่าๆ กัน ประชากรวัยผู้ใหญ่จะใช้เวลานานกว่าและมีประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารสูงกว่าประชากรวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ


Radiographic Study Of Impacted Premolars And Review Of The Literature, Wichitsak Cholitgul, Callum S. Durward Jan 2000

Radiographic Study Of Impacted Premolars And Review Of The Literature, Wichitsak Cholitgul, Callum S. Durward

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To estimate the prevalence and distribution of impacted premolars in a group of New Zealand children aged 10 to 15 years and to report any associate findings. Materials and methods Panoramic radiographs of 1608 children aged 10 to 15 years were selected. All children had been registered as patients of the School of Dentistry, University of Otago, Dunedin, New Zealand since 1969. The radiographs were taken on the same panoramic machine and examined by one experienced radiologist for the presence and location of the impacted premolars and any associate pathological changes. Results One hundred and sixty nine individuals (10.5%) …


ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่แช่ในน้ํายา ทําลายเชื้อ 3 ชนิด คือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ที่ระยะเวลาต่างกัน วัสดุและวิธีการ นําชิ้นทดสอบอะคริลิกเรซินทั้งชนิดที่บ่มด้วยความร้อนและชนิดที่บ่มด้วยตนเอง (เมลิโอเต็นท์ เยอรมันนี) แบ่งเป็น 20 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําลายเชื้อ 3 ชนิดคือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซ เดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้คือ แช่ที่ระยะเวลา 10 นาที แช่ที่ระยะ เวลาที่สามารถทําลายเชื้อได้มากที่สุด (10 ชั่วโมง สําหรับ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 15 นาทีสําหรับ 0.5% โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ และ 20 นาทีสําหรับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์) และแช่ที่ระยะเวลา 14 วัน จากนั้นนําชิ้นทดสอบ อะคริลิกเรซินไปทดสอบด้วยวิธีกด 3 จุดเพื่อหาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริ ลิกเรซิน ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง รุ่น แอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินทางสถิติ ด้วย Kruskal Wallis Test และ Mann-Whitney U Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าอะครีลิกเรซินชนิด บ่มด้วยความร้อนที่แช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์มีค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา ส่วนอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตนเอง มีค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) 2 ช่วงเวลาคือที่ 10 และ 20 นาที โดยกลุ่มที่แช่นานถึง 2 สัปดาห์มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายยางจึงไม่สามารถหาค่าได้ ส่วนอะครีลิกเรซินทั้งที่บ่ม ด้วยความร้อนและบ่มด้วยตนเองที่แช่ใน 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และที่แช่ใน 2% กลูตาราลดีไฮด์ไม่พบความ แตกต่างของค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา สรุป ดังนั้นการทําลายเชื้อบนฟันปลอมฐานอะคริลิกเรซิน โดยการแช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์จึงเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม


ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช Jan 2000

ความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่เกี่ยวกับการบริการทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พรทิพย์ วตะกูลสิน, วาสนา พัฒนพีระเดช

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านความคิดเห็นของผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อ เกี่ยวกับการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรม ในคลินิกรวมคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัสดุและวิธีการ เก็บข้อมูลในผู้ป่วยใหม่ที่มาติดต่อเพื่อขอรับการรักษาทางทันตกรรมที่คลินิกรวมในระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยใช้แบบสอบถามจํานวน 500 ฉบับ และนําข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีประเภทของคลินิกให้เลือก 3 ประเภท รวมทั้งไม่ทราบว่าแต่ละประเภทของคลินิก ผู้ให้การรักษาและเวลาในการมารับการรักษาแตกต่างกัน ผู้ป่วย ส่วนใหญ่คาดหวังว่าเมื่อมาติดต่อที่คลินิกรวมผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเลย และเมื่อพิจารณาถึงความพึงพอใจของ ผู้ป่วยต่อระบบงานของคลินิกรวม ผู้ป่วยไม่พึงพอใจในด้านการเข้าคิวของการรักษา ส่วนในด้านช่วงเวลา ความถี่ ของเวลาในการมารับการรักษา ตลอดจนผู้ให้การรักษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใจปานกลาง สรุป ผู้ป่วยใหม่ส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับระบบงานในการบริการรักษาพยาบาลทางทันตกรรมในคลินิกรวม คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนไม่ทราบถึงระบบงานทั่วๆ ไปของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย ซึ่งสาเหตุนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหากับการทํางาน รวมทั้งผู้ป่วยและผู้เกี่ยวข้อง


ลักษณะทางกายวิภาคของคลองราก ในฟันหน้าล่างของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพัตรา โต๊ะชูดี Jan 2000

ลักษณะทางกายวิภาคของคลองราก ในฟันหน้าล่างของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สมไชย ลิ้มสมบัติอนันต์, สุพัตรา โต๊ะชูดี

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟัน ในฟันหน้าล่างของคนไทยและเปรียบเทียบ ผลกับการศึกษาที่ผ่านมา วัสดุและวิธีการ ฟันหน้าล่างจํานวน 650 สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ที่รวบรวมจากสถานพยาบาลทางทันตกรรม ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้รับการวัดความยาว และเปิดช่องทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟัน หลังจากแช่ฟันใน โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5.25% เป็นเวลา 24 ช.ม.แล้ว ฟันทั้งหมดได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ตามกรรมวิธีการทําฟันใส จากนั้นทําการฉีด อินเดีย อิงค์ เข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในฟันและระบบคลองราก โดยใช้เครื่องดูดแรงสูง ช่วยดูดตรงรูเปิด ปลายรากฟัน ลักษณะคลองรากฟันที่ปรากฏ ได้รับการศึกษาและจําแนกลักษณะ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตริโอ โดยยึดถือตามการจําแนกลักษณะระบบคลองรากฟันของเวอร์ทุกซี่ ผลการศึกษา ฟันเขี้ยวล่างทั้งหมดที่ศึกษาพบว่ามีคลองรากเดียว ส่วนฟันตัดล่างพบลักษณะคลองรากฟันแบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 และแบบที่ 6 ร้อยละ 74.65 6.95 6.42 11.11 และ 0.87 ตามลําดับ ในกลุ่มฟัน แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ที่มีสองคลองรากแล้วมีการรวมกันเป็นคลองรากเดียวก่อนออกสู่ปลายรากนั้น โอกาสที่พบว่า การรวมกัน เกิดขึ้น ณ ระดับ 4 ม.ม. หรือมากกว่า จากรูเปิดปลายรากมีเพียงร้อยละ 11.84 ความยาวเฉลี่ยของ ฟันตัด และฟันเขี้ยว มีค่าเท่ากับ 20.6 และ 23.5 ม.ม. ตามลําดับ สรุป การศึกษาลักษณะทางกายวิภาคของคลองรากฟันหน้าล่างในคนไทยกลุ่มหนึ่ง ปรากฏผลว่าฟันเขี้ยวที่ศึกษา ทั้งหมด มีคลองรากเดียว ส่วนในฟันตัด พบอุบัติการณ์สองคลองรากร้อยละ 25.35