Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2000

Acrylic resin

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมต่อค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหัก ของอะคริลิก เรซิน, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, อิทธิเดช ตรงต่อศักดิ์, แพน สุ่นสวัสดิ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอมที่มีผลต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซิน วัสดุและวิธีการ นําขึ้นอะคริลิก เรซิน ชนิดบ่มด้วยความร้อน (เมเจอร์ เบส 2) แช่ในน้ํายาทําความสะอาดฟันปลอม 4 ชนิด (สเตอราเต็นท์ เซเคียว โพลิเดนท์ และน้ําส้มสายชู) โดยใช้ชิ้นทดสอบกลุ่มละ 7 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําความ สะอาดฟันปลอมแต่ละชนิดเป็นจํานวน 0 90 180 270 และ 360 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที จากนั้นนําชิ้นทดสอบไป หาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักด้วยเครื่องลอยด์ รุ่นแอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคัสคาล วัลลิส เทส และแมน-วิทนีย์ ยู เทส ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าค่ากําลังตัดขวางของชิ้นอะคริลิก เรซินที่แช่ในสเตอราเต็นท์ เซเคียว และโพลิเต็นท์ ที่แซ่เป็นจํานวน 0 ครั้ง 90 180 270 และ 360 ครั้ง ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติแต่ที่แช่ในน้ําส้มสายชูที่ จํานวน 360 มีค่ากําลังตัดขวางลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่เป็นจํานวน 0 90 180 และ 270 ครั้ง ส่วนค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของชิ้นอะคริลิก เรซิน ที่แช่ในน้ำยาทําความสะอาดฟันปลอมทั้ง 4 ชนิด ที่แช่เป็นจํานวน 360 ครั้ง มีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับที่แช่ที่ 0 90 180 และ 270 ครั้ง และในกลุ่มน้ําส้มสายชูที่แช่ 270 ครั้ง มีค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่แซ่ 0 ครั้ง สรุป การใช้น้ําส้มสายชูแซ่อะคริลิก เรซิน เพื่อทําความสะอาดฟันปลอมอาจมีผลทําให้ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการตัดงอก่อนหักของอะคริลิก เรซินลดลงได้


ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล Jan 2000

ผลของน้ำยาทําลายเชื้อต่อค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่ใช้ทําฐานฟันปลอม, นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล, สรรพ์อนงค์ นักสอน, รัชฏากรณ์ อิสระพัฒนะพงษ์, ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินที่แช่ในน้ํายา ทําลายเชื้อ 3 ชนิด คือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ที่ระยะเวลาต่างกัน วัสดุและวิธีการ นําชิ้นทดสอบอะคริลิกเรซินทั้งชนิดที่บ่มด้วยความร้อนและชนิดที่บ่มด้วยตนเอง (เมลิโอเต็นท์ เยอรมันนี) แบ่งเป็น 20 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชิ้น แช่ในน้ํายาทําลายเชื้อ 3 ชนิดคือ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 0.5% โซ เดียมไฮโปคลอไรท์ และ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ตามระยะเวลาดังต่อไปนี้คือ แช่ที่ระยะเวลา 10 นาที แช่ที่ระยะ เวลาที่สามารถทําลายเชื้อได้มากที่สุด (10 ชั่วโมง สําหรับ 2% กลูตาราลดีไฮด์ 15 นาทีสําหรับ 0.5% โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ และ 20 นาทีสําหรับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์) และแช่ที่ระยะเวลา 14 วัน จากนั้นนําชิ้นทดสอบ อะคริลิกเรซินไปทดสอบด้วยวิธีกด 3 จุดเพื่อหาค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริ ลิกเรซิน ด้วยเครื่องลอยด์ยูนิเวอร์ซัลเทสติ้ง รุ่น แอลอาร์ 10 เค ผลการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักของอะคริลิกเรซินทางสถิติ ด้วย Kruskal Wallis Test และ Mann-Whitney U Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 พบว่าอะครีลิกเรซินชนิด บ่มด้วยความร้อนที่แช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์มีค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา ส่วนอะคริลิกเรซินชนิดบ่มด้วยตนเอง มีค่ากําลังตัดขวาง และค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) 2 ช่วงเวลาคือที่ 10 และ 20 นาที โดยกลุ่มที่แช่นานถึง 2 สัปดาห์มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายยางจึงไม่สามารถหาค่าได้ ส่วนอะครีลิกเรซินทั้งที่บ่ม ด้วยความร้อนและบ่มด้วยตนเองที่แช่ใน 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ และที่แช่ใน 2% กลูตาราลดีไฮด์ไม่พบความ แตกต่างของค่ากําลังตัดขวางและค่าความสามารถในการดัดงอก่อนหักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p>0.05) ทั้ง 3 ช่วงเวลา สรุป ดังนั้นการทําลายเชื้อบนฟันปลอมฐานอะคริลิกเรซิน โดยการแช่ใน 70% เอทิลแอลกอฮอล์จึงเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม