Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2000

Adolescence

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม Jan 2000

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหาร ของประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่น, ยุทธนา ปัญญางาม, พรศรี ปฏิมานุเกษม

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารระหว่างประชากรวัยผู้ใหญ่ และวัยรุ่นที่มีฟันครบและศึกษาปัจจัยด้านเพศ, ด้านเคี้ยวที่ถนัด และเวลาที่ใช้ในการเคี้ยวที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบดเคี้ยว นอกเหนือจากจํานวนพื้นที่เหลืออยู่ในช่องปาก วัสดุและวิธีการ ทําการสุ่มตัวอย่างโดยความบังเอิญจากประชากรวัยผู้ใหญ่อายุ 35-44 ปี และประชากรวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี กลุ่มละ 40 คน เป็นเพศชายและเพศหญิงเท่าๆ กันโดยทุกคนมีฟันธรรมชาติครบ 28 ซี่ (ไม่นับฟัน กรามซี่สุดท้ายทั้ง 4 ที่) มีสุขภาพสมบูรณ์และไม่มีความผิดปกติใดๆ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว ทดสอบ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารโดยให้เคี้ยวแครอทสดน้ําหนัก 3 กรัม ด้วยด้านที่ถนัด จับเวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยว จบครบ 30 ครั้ง วิเคราะห์ผลการทดลองโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยต่างๆ ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ด้วยการ ทดสอบ ที และระหว่างกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปด้วยการทดสอบ เอฟ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยต่างๆ ด้วยการทดสอบไคสแควร์ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ากลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ใช้เวลาในการบดเคี้ยวจนครบ 30 ครั้ง นาน 26.25 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวสูงถึง 84.50 ในขณะที่กลุ่มวัยรุ่นใช้เวลาในการบดเคี้ยวเพียง 20.26 วินาที และมีค่าเฉลี่ยร้อยละของประสิทธิภาพการบดเคี้ยวเพียง 68.20 เวลาที่ใช้ในการบดเคี้ยวและ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของกลุ่มผู้ใหญ่นานกว่าและสูงกว่ากลุ่มวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สําหรับปัจจัยด้านเพศและด้านเคี้ยวที่ถนัด พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบดเคี้ยวของประชากรในกลุ่มอายุเดียวกัน สรุป จากข้อมูลที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปว่า เมื่อจํานวนครั้งของการบดเคี้ยวเท่าๆ กัน ประชากรวัยผู้ใหญ่จะใช้เวลานานกว่าและมีประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารสูงกว่าประชากรวัยรุ่นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ