Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 66

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

สภาพภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนอหิวาต์สุกรในพ่อแม่พันธุ์, อธิภู นันทประเสริฐ, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ทิวากร ศิริโชคชัชวาล Jun 1992

สภาพภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีนอหิวาต์สุกรในพ่อแม่พันธุ์, อธิภู นันทประเสริฐ, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ราตรี วงษ์วัชรดำรง, ทิวากร ศิริโชคชัชวาล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาสภาพภูมิคุ้มโรคอหิวาต์สุกรในฝูงพ่อแม่พันธุ์ 2 หน่วย จำนวน 197 ตัว ในจังหวัดชลบุรี โดยตรวจซีรั่มด้วยวิธีไมโครนิวทราลไลเซชั่นอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันเฉลี่ยเปรียบเทียบตามลำดับครอกในแม่พันธุ์ ตามอายุในพ่อพันธุ์ และตามระยะเวลาหลังฉีดวัคซีน ครั้งล่าสุดก่อนเก็บเลือด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยภูมิคุ้มกันเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มของแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์มีค่าเท่ากับ 67.4+ 2.7 และ 51.5+3.1 ตามลำดับ


ผลการใช้ยาเอนโรฟล้อกซาซินในไก่กระทงที่ได้รับเชื้อ อี. โคลัย โดยการทดลอง, จิโรจ ศศิปรียจันทร์, สมศักดิ์ ภัคภิญโญ Jun 1992

ผลการใช้ยาเอนโรฟล้อกซาซินในไก่กระทงที่ได้รับเชื้อ อี. โคลัย โดยการทดลอง, จิโรจ ศศิปรียจันทร์, สมศักดิ์ ภัคภิญโญ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ไก่กระทงอายุ 23 วัน ได้รับเชื้อ อี. โคลัย ซีโรไทป์ 078 เข้าถุงลม โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับเชื้อพร้อมกับยาเอ็นโรฟลอกซาซิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน กลุ่มที่ 2 ได้รับ เชื้อพร้อมกับยาอีริโทรมัยซิน 100 พีพีเอ็ม ให้ยาทั้งสองชนิดโดยผสมน้ำกินติดต่อกัน 3 วัน ไก่กลุ่มที่ 3 ได้รับเชื้อโดยไม่ได้รับยาใดๆ ส่วนกลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับเชื้อและไม่ได้รับยา อัตรารอดตาย และน้ำหนักตัวเฉลี่ย ในช่วง 10 วันนับจากได้รับเชื้อของกลุ่มที่ 1 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญกับกลุ่มที่ 4 แต่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ 2 และ 3


Short Communication : การใช้ Diazepam ในลิงเสน, จิตตราภรณ์ ชาญราชกิจ, ปัญญา ยังประภากร Jun 1992

Short Communication : การใช้ Diazepam ในลิงเสน, จิตตราภรณ์ ชาญราชกิจ, ปัญญา ยังประภากร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชิตนี วีระประดิษฐ์ศิลป, ศิริพร รัตเชตกุล, สุรสา ตั้งใจตรง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน May 1992

ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชิตนี วีระประดิษฐ์ศิลป, ศิริพร รัตเชตกุล, สุรสา ตั้งใจตรง, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคปริทันต์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกทันตกรรมของโรงพยาบาลของรัฐบาล และโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวนกลุ่มละ 100 คน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความรู้ที่ถูกต้องในประเด็นที่ว่า สุขภาพเหงือกและฟันเป็นสิ่งสําคัญ ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจํา และการใช้แรงที่เหมาะสมในการแปรงฟัน แต่พบว่ามีความรู้เกี่ยวกับแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือสาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนจะมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มโรงพยาบาลรัฐบาล (P < 0.05) ซึ่งความแตกต่างของระดับความรู้และทัศนคติดังกล่าวอาจเป็นผลมากจาก อายุ เพศ อาชีพ และรายได้ของผู้ป่วย จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ยังคงมีความจําเป็นต้องให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปริทันต์แก่ผู้ป่วยให้มากขึ้นในขณะบําบัดรักษาทางทันตกรรม


ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว May 1992

ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรีสุคนธ์ มาลีแก้ว

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ช่วยทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ช่วยทันตแพทย์จํานวน 37 คน ซึ่งปฏิบัติงานในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการผ่านการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในงานในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2534 ผลงานวิจัยพบว่า ผู้ช่วยทันตแพทย์มีความพึงพอใจในด้านการบริหารงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ความมั่นคงในงาน ความก้าวหน้าในงานและรายได้อยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจในด้านลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทํางานและสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนําไปปรับปรุงสภาพการทํางาน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทํางานของผู้ช่วยทันตแพทย์เพิ่มขึ้น


สารรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟัน, สุรศักดิ์ บุญญาศิริรัตน์, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน May 1992

สารรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟัน, สุรศักดิ์ บุญญาศิริรัตน์, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยที่มีเหงือกร่น หรือเคยได้รับการรักษาทางปริทันต์ มักเกิดการเผยสิ่งของรากฟัน และตามด้วยภาวะไวต่อการรู้สึกของฟัน ซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการเคลื่อนไหวของของเหลว ความรู้สึกเสียวฟันที่เกิดขึ้นจะทําให้ผู้ป่วยมีความลําบากในการทําความสะอาดช่องปาก ทําให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ และเกิดความรู้สึกเสียวฟันได้มากขึ้น ดังนั้น จึงมีการคิดค้นสารเคมีช่วยในการลดหรือรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟันขึ้น ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารใดที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดสําหรับผู้ป่วยทุกราย สารเคมีที่ใช้มีทั้งในรูปแบบของยาสีฟัน ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ได้เองที่บ้าน หรือในรูปแบบที่ใช้โดยทันตแพทย์ ได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ สตรอนเซียม คลอไรด์ 10% โซเดียมฟลูออไรด์ 33% โซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต 0.76% โซเดียมซิเตรท 2% ในฟลูโรนิค เอฟ 127 เจล โปตัสเซียมไนเตรท 5% และ โปตัสเซียม ออกซาเลท หรือการใช้พลาสติกเรซิน หรือสารยึดติด นอกจากนี้ ควรแนะนําผู้ป่วยโดยเน้นถึงการทําความสะอาด และลดการรับประทานอาหารหรือ เครื่องดื่มที่มีกรดสูง เพราะจะทําให้การรักษาภาวะไวต่อความรู้สึกของฟันไม่ได้ผล


ความชุกของการเกิดฟันผุระหว่างฟันตัดกลางซี่บนในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ภรณี วัชรพงศ์, พัชรินทร์ สุภาพรอด, ไพรัช ธีรวรางกูร May 1992

ความชุกของการเกิดฟันผุระหว่างฟันตัดกลางซี่บนในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่ง, ภรณี วัชรพงศ์, พัชรินทร์ สุภาพรอด, ไพรัช ธีรวรางกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับการผุด้านใกล้กลางของฟันตัดกลางซี่บนทั้งสองซี่ของคนไทยซึ่งโดยทั่วไปแล้วฟันทั้งสองซี่นี้จะอยู่ในสภาพเหมือนกัน ควรมีการผุทางด้านใกล้กลางเท่ากัน แต่ความเป็นจริงนั้นไม่พบทุกรายที่เป็นเช่นนี้ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาพรังสีของฟันหน้าบนจากผู้ที่มารับการถ่ายภาพรังสีทั้งหมด 947 คนที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ถึง 2532 ตั้งแต่อายุ 10 ถึง 59 ปี พบว่ามีการผุมากที่สุดในช่วงอายุ 20 ถึง 29 ปี ทั้งในเพศชายและหญิง โดยในจํานวนผู้ที่มีฟันผุนั้น ส่วนมากมีการผุเป็นแบบผุทั้งสองซี่ คิดเป็นร้อยละ 75.08 เมื่อรวมทุกช่วงอายุ คือ 10 ถึง 59 ปี มีค่าเฉลี่ยของการผุในฟันตัดกลางบนขวาต่อการผุในฟันตัดกลางบนซ้าย คิดเป็น 74 คน ต่อ 66 คนและเพศหญิงมีการผุมากกว่าชาย ในทุกช่วงอายุ โดยเพศหญิงผุร้อยละ 32.95 เพศชายผู้ร้อยละ 21.96 จากการวิเคราะห์โดยการทดสอบแบบ ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สรุปได้ว่าแต่ละช่วงอายุมีการผุที่ด้านใกล้กลางไม่เท่ากัน โดยในช่วงอายุ 30 ถึง 39 ปีเพศหญิงและเพศชายมีการผุต่างกันอย่างมีนัย สําคัญที่ระดับ 0.05


คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ May 1992

คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, สิทธิโชค รัตนสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

คอมเพล็กซ์ โอดอนโตมา เป็นก้อนเนื้องอกที่มีจุดกําเนิดมาจากเนื้อเยื่อที่สร้างฟันพบได้น้อย มักขัดขวางการขึ้นของฟันบริเวณที่เกิดก้อนเนื้องอก บทวิทยาการนี้เป็นรายงานผู้ป่วยหญิงไทย 1 ราย แสดงลักษณะทางคลินิกลักษณะภาพรังสี ผลตรวจและภาพทางจุลพยาธิวิทยาตลอดจนวิธีการรักษาและติดตามผู้ป่วยอย่างละเอียด


อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม May 1992

อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

การศึกษาบริโภคนิสัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะโรคฟันของเด็กวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ซึ่งมาจากครอบครัวที่ระดับฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปี จํานวนกลุ่มอายุละ 210 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณสารอาหารที่บริโภคโดยเฉลี่ยต่อวันของเด็กชายและหญิงกลุ่มอายุ 9 ปี และ 12 ปีมีค่าเป็น 35.69, 32.50, 40.78 และ 37.47 กรัม -สําหรับสารอาหารโปรตีน มีค่าเป็น 27.16, 35.68, 40.89 และ 28.24 กรัม-สําหรับสารอาหารไขมัน และมีค่าเป็น 166.86, 155.64, 184.61 และ 174.64 กรัม -สําหรับสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ตามลําดับ ความถี่ของการบริโภคอาหารเฉลี่ย 6 ครั้งต่อวันเป็นการบริโภคอาหารในมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวันและบริโภคอาหารระหว่างมื้อเฉลี่ย 3 ครั้งต่อวัน เด็กชายและเด็กหญิงกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีมีคะแนนกิจกรรมการแปรงฟันเฉลี่ยเพียง 2.28, 2.83, 2.47 และ 3.1 ตามลําดับ จากคะแนนเต็ม 6 ซึ่งจากการทดสอบโดยใช้เอฟ-เทส พบว่าเด็กชายมีคะแนนเฉลี่ยต่ํากว่าเด็กหญิงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ( α=0.05) อัตราความชุกของโรคฟันผุสูงร้อยละ 90 เท่ากันทั้ง 2 กลุ่มอายุ มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 2.6 และ 4.0 ซี่ต่อคนในกลุ่มอายุ 9 ปีและ 12 ปีตามลําดับ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุเชิงเส้นตรง เพื่อหาลําดับความสําคัญของตัวแปร พบว่าความถี่ของการบริโภคอาหารระหว่างมื้อ สามารถใช้ทํานายความแปรปรวนของการปรากฏฟันผุถอนอุดได้ดีที่สุด ( α = 0.01)


ความบริสุทธิ์ของน้ำดื่มน้ำใช้, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ, ไกรวัช วัดตูม May 1992

ความบริสุทธิ์ของน้ำดื่มน้ำใช้, ประเสริฐ ทรงกิตติคุณ, ไกรวัช วัดตูม

Chulalongkorn University Dental Journal

ศึกษาความสะอาดของน้ำด้วยการนําสื่อไฟฟ้าหาความเป็นกรด เป็นด่าง และเพาะเชื้อ พบว่าน้ำฝนปี พ.ศ. 2534 มีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าน้ำฝนปี พ.ศ. 2533 ตัวอย่างน้ำฝนและน้ำกลั่นภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเป็นกรดใกล้เคียงกัน แต่น้ำกลั่นมีค่าการนําสื่อไฟฟ้าต่ำที่สุด ต่ำกว่าค่าน้ำมาตรฐานของตํารับยาอังกฤษ น้ำประปาและน้ำดื่ม บรรจุขายในท้องตลาดมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนและมีค่าการนําสื่อไฟฟ้าสูงสุด สามารถแก้ไขได้ด้วยการต้มเดือด น้ำฝน น้ำประปา และน้ำดื่มบรรจุขาย มีเชื้อ บักเตรีแต่ไม่เกินมาตรฐาน เนื่องจากการมีฤทธิ์เป็นกรดของน้ำฝนและน้ำกลั่น ไม่แนะนําให้ใช้บริโภค อาจมีผลเสียต่อเคลือบฟัน ส่วนน้ำประปาและน้ำขายในท้องตลาดควรต้มก่อนบริโภค


การพิมพ์ปากเพื่อทําฟันปลอมทั้งปาก, นภาพร ศิริรัตนาคินทร์, ไพจิตร หัมพานนท์ May 1992

การพิมพ์ปากเพื่อทําฟันปลอมทั้งปาก, นภาพร ศิริรัตนาคินทร์, ไพจิตร หัมพานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การพิมพ์ปาก เป็นขั้นตอนสําคัญในการสร้างฟันปลอมทั้งปาก ควรทราบลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของส่วนรองรับฟันปลอม และกล้ามเนื้อโดยรอบ เพื่อเลือกวิธีการพิมพ์ที่เหมาะสม และสามารถตัดสินว่า รอยพิมพ์ที่ได้นั้น ได้ลอกเลียนลักษณะของส่วนรองรับฟันปลอมที่ถูกต้อง เพื่อนําไปสร้างฟันปลอมให้ผู้ป่วยใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของทันตแพทย์, กมลเนตร โอฆานุรักษ์, สันต์ศิริ ศรมณี, ลัคนา เหลืองจามีกร, Jeffrey Mandel May 1992

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ของทันตแพทย์, กมลเนตร โอฆานุรักษ์, สันต์ศิริ ศรมณี, ลัคนา เหลืองจามีกร, Jeffrey Mandel

Chulalongkorn University Dental Journal

แบบสอบถามแบ่งออกได้เป็น 6 ส่วนคือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลและการอบรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3) ทัศนคติโดยทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์ 4) ทัศนคติต่อความตั้งใจที่จะให้บริการผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ 5) การประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ในระหว่าง การให้บริการทางทันตกรรม และ 6) พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ ทันตแพทย์จํานวน 130 คน ได้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ยังปฏิบัติงานทันตกรรมอยู่ และ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคเอดส์แล้ว แต่มีเพียง 15% เท่านั้นที่เคยให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ นอกจากนั้นพบว่ากว่า 90% ของทันตแพทย์กลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ในระดับที่ดี หากแต่ทัศนคติต่อโรคเอดส์โดยทั่วไปหรือต่อความตั้งใจที่จะให้บริการผู้ป่วยโรคเอดส์นั้น พบว่ามีค่าบวกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทันตแพทย์ทุกคนในการศึกษานี้คิดว่าตนเองจะอยู่ในฐานะที่เสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ ถ้าเขาต้องให้บริการผู้ป่วยเหล่านี้ เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการป้องกันแล้วจะพบว่า ทันตแพทย์กลุ่มนี้ขณะที่ตอบแบบสอบถามยังมีพฤติกรรมการป้องกันที่ไม่เพียงพอ สิ่งที่น่าสนใจมากอีกประการหนึ่งก็คือ ทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรมเรื่องโรคเอดส์แล้วนั้น มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีขึ้น แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนทัศนคติหรือพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจัง


การบริหารการเปลี่ยนแปลง, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ Apr 1992

การบริหารการเปลี่ยนแปลง, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การนิเทศ การควบคุมกำกับงานและการประเมินผล, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ Apr 1992

การนิเทศ การควบคุมกำกับงานและการประเมินผล, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทยภาคกลาง, จินตนา ยูนิพันธุ์ Apr 1992

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทยภาคกลาง, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ, วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ Apr 1992

การส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ, วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การศึกษาการใช้ห้องแยกเพื่อการบำบัด ในโรงพยาบาลจิตเวช, ทรรศนีย์วรรณ พลยศ Apr 1992

การศึกษาการใช้ห้องแยกเพื่อการบำบัด ในโรงพยาบาลจิตเวช, ทรรศนีย์วรรณ พลยศ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


สาเหตุ การลาออก โอน ย้ายของพยาบาล โรงพยาบาลตากสิน, จุฑามาศ พุทธพิทักษ์, วนิดา มงคลสินธุ์ Apr 1992

สาเหตุ การลาออก โอน ย้ายของพยาบาล โรงพยาบาลตากสิน, จุฑามาศ พุทธพิทักษ์, วนิดา มงคลสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ทางสู่แสงสว่าง : ชีวิตครอบครัวและ Aids ในเด็ก, ศรีสมวงศ์ วรรณศิลปิน Apr 1992

ทางสู่แสงสว่าง : ชีวิตครอบครัวและ Aids ในเด็ก, ศรีสมวงศ์ วรรณศิลปิน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ประเด็นการพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพการพยาบาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ Apr 1992

ประเด็นการพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพการพยาบาล, พวงเพ็ญ ชุณหปราณ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : พยาบาล : ผู้คุ้มครองผู้รับบริการ, จินตนา ยูนิพันธุ์ Apr 1992

ปกิณกะ : พยาบาล : ผู้คุ้มครองผู้รับบริการ, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ปกิณกะ : การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ, น.ท.นพ.ธนา ปุกหุต Apr 1992

ปกิณกะ : การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ, น.ท.นพ.ธนา ปุกหุต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


การนิเทศการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ Apr 1992

การนิเทศการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ของนักศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์, พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


เจตคติต่อผู้ป่วยสูงอายุและพฤติกรรมของพยาบาล ขณะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยสูงอายุ, สุภรณ์ ลิ้มวิภาวีอนันต์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Apr 1992

เจตคติต่อผู้ป่วยสูงอายุและพฤติกรรมของพยาบาล ขณะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยสูงอายุ, สุภรณ์ ลิ้มวิภาวีอนันต์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


พยาบาลกับครอบครัวผู้ป่วยมะเร็ง (Nursing Intervention With Families Of Cancer Patients), ทิพาพันธ์ ศศิธรเวชกุล Apr 1992

พยาบาลกับครอบครัวผู้ป่วยมะเร็ง (Nursing Intervention With Families Of Cancer Patients), ทิพาพันธ์ ศศิธรเวชกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


The Ethics Of Caring, Amy A. Bartjes Apr 1992

The Ethics Of Caring, Amy A. Bartjes

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


Transcultural Nursing, Amy A. Bartjis Apr 1992

Transcultural Nursing, Amy A. Bartjis

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยต้อกระจก, เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์ Apr 1992

บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยต้อกระจก, เฉลิมศรี สุวรรณเจดีย์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความสามารถ ของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย, รสพร ประทุมวัน, จินตนา ยูนิพันธุ์ Apr 1992

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความสามารถ ของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย, รสพร ประทุมวัน, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


แบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา, สุทธิดา สุขมงคล, กนิษฐา อิ่มสุวรรณ, ประไพ สุวรรณรัตน์, กฤษดา แสวงดี Apr 1992

แบบการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา, สุทธิดา สุขมงคล, กนิษฐา อิ่มสุวรรณ, ประไพ สุวรรณรัตน์, กฤษดา แสวงดี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.