Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 65

Full-Text Articles in Life Sciences

ความชุกและรูปแบบลายพิมพ์อาร์อีพีของยีน Blaoxa-51, Blandm-1, Blaadc, Apha6 และ Isaba125 ใน Acinetobacter Baumannii ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย จังหวัดพิษณุโลก, จริยา ศรชัย Jan 2020

ความชุกและรูปแบบลายพิมพ์อาร์อีพีของยีน Blaoxa-51, Blandm-1, Blaadc, Apha6 และ Isaba125 ใน Acinetobacter Baumannii ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วย จังหวัดพิษณุโลก, จริยา ศรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Acinetobacter baumannii เป็นเชื้อที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลและมีการดื้อยาปฏิชีวนะหลายชนิดเพิ่มมากขึ้น โดยการสร้างเอนไซม์ทำลายยาเป็นกลไกการดื้อยาที่มีความสำคัญและพบได้บ่อย ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำในเชื้อ A. baumannii ที่แยกได้จากสิ่งส่งตรวจตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ถึง กุมภาพันธ์ 2562 จำนวน 257 ตัวอย่าง นำมาตรวจหาความชุกของยีนที่สร้างเอนไซม์ beta-lactamase เอนไซม์ cephalosporinase เอนไซม์ aminoglycoside-modifying enzymes (AMEs) และอินเซอร์ชันซีเควน (ISAba125) โดยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส และหาความหลากหลายทางสายพันธุ์ของเชื้อด้วยวิธี repetitive element polymerase chain reaction (REP-PCR) ผลการศึกษาพบว่าเชื้อ A. baumannii 221 ตัวอย่าง (ร้อยละ 86.0) เป็นเชื้อที่ดื้อยาหลายชนิด (multidrug-resistant A. baumannii : MDR-AB) โดยเชื้อ A. baumannii 257 ตัวอย่าง ให้ผลบวกกับยีน blaOXA-51 คิดเป็นร้อยละ 100.0 รองลงมาได้แก่ ยีน blaADC ยีน blaNDM-1 ยีน ISAba125 และยีน aphA6 คิดเป็นร้อยละ 38.5, 8.2, 6.2 และ 2.3 ตามลำดับ โดยพบ blaOXA-51 ร่วมกับยีน blaADC มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35.0 ในการศึกษาครั้งนี้สามารถจำแนกความหลากหลายทางสายพันธุ์ของเชื้อ A. baumannii ด้วยวิธี rep-pcr ได้ 18 กลุ่ม โดยพบว่ากลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่ใหญ่ที่สุด กลุ่มที่ 1 พบยีน blaOXA-51 (ร้อยละ 59.7) และ blaOXA-51 ร่วมกับยีน …


ผลกระทบของยีน Flaa และ Flid ของเชื้อ Helicobacter Pylori ต่อการตายของเซลล์มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ณัฐฐวุฒิ วิเวโก Jan 2020

ผลกระทบของยีน Flaa และ Flid ของเชื้อ Helicobacter Pylori ต่อการตายของเซลล์มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหาร, ณัฐฐวุฒิ วิเวโก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อ Helicobacter pylori เป็นแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ที่มีความสำคัญทางคลินิก การติดเชื้อ H. pylori มีความสัมพันธ์กับการเกิดเป็นโรคมะเร็งกระเพาอาหาร เนื่องจากเชื้อมีปัจจัยความรุนแรงในการก่อโรคหลายชนิด อาทิ ความสามารถในการสร้างเอนไซม์ยูรีเอสปริมาณมาก การสร้างสารพิษประเภท CagA และ VacA การใช้แฟลเจลลาในการเคลื่อนที่แบบควงสว่านเข้าสู่ชั้นเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร การยึดเกาะกับเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร รวมทั้งการกระตุ้นให้เซลล์เกิดการตายแบบอะพอพโทซิสที่นำมาสู่การพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ แฟลเจลลาของเชื้อ H. pylori มีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่และเป็นสารที่ใช้ในการยึดเกาะที่สำคัญของเชื้อ อีกทั้งยังถูกสันนิษฐานว่าอาจมีส่วนกระตุ้นในการทำให้เซลล์เยื่อบุผิวเกิดการตาย การควบคุมการสร้างและการทำงานของแฟลเจลลาเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันของยีนหลายชนิด โดยมียีน flaA ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีนแฟลเจลลินหลักของแฟลเจลลา และยีน fliD ทำหน้าที่ควบคุมการสร้าง capping protein หุ้มส่วนปลายของแฟลเจลลา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของยีน flaA และยีน fliD ของเชื้อ H. pylori ต่อการเคลื่อนที่ของเชื้อ การยึดเกาะและการกระตุ้นให้เกิดการตายแบบอะพอพโทซิสของเซลล์เยื่อบุผิว Human gastric adenocarcinoma (AGS) โดยทำการศึกษาลักษณะของสายแฟลเจลลาวิธีย้อมด้วยสี leifson-tannic acid fuchsin และด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน เปรียบเทียบกันระหว่างเชื้อ H. pylori สายพันธุ์มาตรฐาน ATCC 43504 และเชื้อ H. pylori สายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน flaA และ ยีน fliD เชื้อดังกล่าวทั้งหมดยังถูกนำมาทดสอบการเคลื่อนที่ในอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว และเพาะเลี้ยงร่วมกับเซลล์ AGS เพื่อทดสอบการยึดเกาะกับเซลล์ด้วยวิธี adhesion assay และการกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อตายด้วยการย้อมสี Annexin/ PI และวัดสัญญาณด้วย flow cytometry พบว่าเชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ทั้งสองสายพันธุ์ไม่สามารถสร้างสายแฟลเจลลาที่มีรูปร่างสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน flaA มีความสามารถในการเคลื่อนที่และการยึดเกาะกับเซลล์ AGS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เชื้อ H. pylori ที่มีการกลายพันธุ์ของยีน fliD สามารถยึดเกาะเซลล์ AGS ได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อ H. pylori สายพันธุ์มาตรฐาน …


ผลของการรับประทานน้ำตาลต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, มันตา กรกฎ Jan 2020

ผลของการรับประทานน้ำตาลต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง, มันตา กรกฎ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของการรับประทานน้ำตาลซูโครสในปริมาณต่าง ๆ ต่อการไหลเวียนเลือดบริเวณแขนในทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง (OHT) และทายาทเพศชายของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ (ONT) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือดต่อการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน โดยอาสาสมัคร (OHT = 16, ONT = 16) เข้าร่วมการทดสอบทั้งหมด 4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งอาสาสมัครได้ดื่มสารละลายน้ำตาลซูโครสเพียง 1 ความเข้มข้นตามการสุ่ม จาก 4 ความเข้มข้นซึ่งมีปริมาณน้ำตาลซูโครส 0, 15, 30 และ 60 กรัม ปริมาตรรวม 200 มล. วัดปริมาตรการไหลของเลือดสูงสุดบริเวณแขน (peak FBF) ก่อนและหลังรับประทานน้ำตาลซูโครสทุก ๆ 30 นาที เป็นเวลา 2 ชั่วโมง และวัดระดับ plasma glucose, insulin และตัวบ่งชี้ภาวะเครียดออกซิเดชัน (protein carbonyl; PC and total antioxidant capacity; TAC) ก่อนและหลังรับประทานน้ำตาลซูโครสที่เวลา 30, 60 และ 120 นาที ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม OHT มีค่า peak FBF เริ่มต้นต่ำกว่ากลุ่ม ONT (22.40±1.17 vs 25.23±0.62 mL/100mLtissue/min, P < 0.0001) หลังรับประทานน้ำตาลซูโครสทุกความเข้มข้นที่เวลา 30 นาที ค่า peak FBF ของทั้ง 2 กลุ่มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับนาทีที่ 0 (P < 0.05) ระดับ plasma glucose และ insulin ของทั้งสองกลุ่มเพิ่มสูงขึ้นหลังจากรับประทานน้ำตาลซูโครส 30 นาที (P < 0.05) และลดลงจนกลับเข้าสู่ระดับก่อนได้รับน้ำตาลซูโครส ระดับ PC และ TAC ทุกช่วงเวลาและทุกความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติ (P > 0.05) จึงสรุปได้ว่าการรับประทานน้ำตาลซูโครสไม่เกิน 60 กรัม ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในการขยายตัวของหลอดเลือดทั้งในคนทีมีและไม่มีประวัติบิดามารดาเป็นความดันโลหิตสูง แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของระดับ plasma glucose กับการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน


แนวโน้มทางพันธุกรรมของระยะเวลาอุ้มท้องและความสัมพันธ์ของระยะเวลาอุ้มท้องกับลักษณะทางการสืบพันธุ์ในแม่สุกร, ระวิวรรณ บำเพ็ญกุล Jan 2020

แนวโน้มทางพันธุกรรมของระยะเวลาอุ้มท้องและความสัมพันธ์ของระยะเวลาอุ้มท้องกับลักษณะทางการสืบพันธุ์ในแม่สุกร, ระวิวรรณ บำเพ็ญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลสุกรพันธุ์แท้แลนด์เรซ (Landrace, LR) ลาร์จไวท์ (Large White, LW) ดูรอค (Duroc, DR) และข้อมูลสุกรลูกผสมที่มาจากฟาร์มสุกรเชิงพาณิชย์ จำนวน 158,313 บันทึก เป็นข้อมูลของแม่สุกรที่คลอดในปี 2549 ถึง 2562 ถูกนำมาวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยคงที่ด้วยวิธี GLM ในโปรแกรม SAS และประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยวิธี average information restricted maximum likelihood (AI - REML) ผลการศึกษาพบว่า พันธุ์สุกรและลำดับอุ้มท้องมีอิทธิพลต่อทุกลักษณะที่ทำการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ฝูง - ปี - เดือนที่ผสมพันธุ์มีอิทธิพลต่อระยะเวลาอุ้มท้องของแม่สุกร (gestation length, GL) และจำนวนลูกสุกรแรกเกิดทั้งหมด (total number of piglets born, TB) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ฝูง - ปี - เดือนที่แม่สุกรคลอดลูกมีอิทธิพลต่อจำนวนลูกสุกรเกิดมีชีวิต (number of piglets born alive, BA) จำนวนลูกสุกรตายแรกเกิด (number of stillborn piglets, SB) และน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยของลูกสุกร (average birth weight, BW) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ค่าอัตราพันธุกรรมของ GL TB BA SB และ BW มีค่าเท่ากับ 0.20 ± 0.00, 0.10 ± 0.00, 0.09 ± 0.00, 0.03 ± 0.00 และ 0.12 ± 0.01 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง GL กับ TB และ GL กับ BA มีค่าใกล้ศูนย์ (P < 0.05) ไม่พบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง GL กับ SB และ GL กับ BW (P > 0.05) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ BA มีค่าเท่ากับ 0.99 ± 0.00 ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ SB และ BA กับ SB มีค่าเท่ากับ 0.49 ± 0.05 และ 0.40 ± 0.05 ตามลำดับ และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่าง TB กับ BW และ BA กับ BW มีค่าเท่ากับ -0.56 ± 0.03 และ -0.59 ± 0.02 ตามลำดับ แนวโน้มทางพันธุกรรมของ GL มีค่าเพิ่มขึ้น 0.02 ± 0.01 และ 0.03 ± 0.01 วันต่อปี ในสุกรพันธุ์ LR และ LW ตามลำดับ และมีค่าลดลงเท่ากับ -0.02 ± 0.01 วันต่อปี ในสุกรพันธุ์ 50LW …


Effects Of Soluble And Insoluble Fibres On Pasting And Retrogradation Of Wheat Flour And Quality Of Bread, Arati Bhatta Jan 2020

Effects Of Soluble And Insoluble Fibres On Pasting And Retrogradation Of Wheat Flour And Quality Of Bread, Arati Bhatta

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to investigate the effect of selected fibres on pasting as well as short-term and long-term retrogradation of starch in wheat flour and to investigate the quality of fibre-added white pan breads. Two soluble fibres, tara gum (TG) and k-carrageenan (CAR), and one insoluble fibre, cellulose (CEL), were added to wheat flour at different levels (1.0, 1.5 and 2.0%). Regarding pasting behaviour, addition of soluble fibres was found to cause an increase in peak, trough, breakdown, and final viscosity. Meanwhile the addition tended to decrease setback viscosity and pasting temperature. In contrast, insoluble fibre addition posed a minimal …


Inhibitory Activity Of Metabolites From Mangosteen Roots Garcinia Mangostana L. On Hepatocellular Carcinoma And Colon Cancer Cell Growth, Kedkran Koopklang Jan 2020

Inhibitory Activity Of Metabolites From Mangosteen Roots Garcinia Mangostana L. On Hepatocellular Carcinoma And Colon Cancer Cell Growth, Kedkran Koopklang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Liver cancer is one of the most common deadliest diseases both worldwide and in Thailand. Because of its rich and dual blood supply, malignant tumors in the liver could grow proliferative and rapidly spread to another organ. This process was called Metastasis, the major cause of human death. Mangosteen (Garcinia mangostana L.) generally known as a queen of fruits, has been widely studied in medicinal applications for many decades, due to plenty of bioactive metabolites such as xanthones as a major component. Nonetheless, reports about bioactivities of minor components were barely known. In this study, metabolites isolated from mangosteen roots …


Development Of Nutritionally Complete Oral Nutritional Supplement Using Tapioca Maltodextrin As A Carbohydrate Source, Junaida Astina Jan 2020

Development Of Nutritionally Complete Oral Nutritional Supplement Using Tapioca Maltodextrin As A Carbohydrate Source, Junaida Astina

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbohydrate is a major composition in oral nutrition supplement. Modification of carbohydrate composition using tapioca resistant maltodextrin (TRM) may improve the glycemic response. This study aimed to investigate the effect of TRM and TRM containing-ONS on glycemic response, satiety, and gastrointestinal (GI) tolerability in healthy individuals. Physicochemical properties and sensory evaluation of developed ONS were also investigated. In Phase I, the peak of plasma glucose and insulin response after TRM (50 g) ingestion was lowest compared to 50 g glucose (GL) and tapioca maltodextrin (TM) in 16 healthy participants. Peak of plasma glucose of TRM, GL, and TM were 104.60±2.63, …


Single Nucleotide Polymorphism (Snps) Study On X-Chromosome In Thai Sle Populations, Krisana Jaiwan Jan 2020

Single Nucleotide Polymorphism (Snps) Study On X-Chromosome In Thai Sle Populations, Krisana Jaiwan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Systemic Lupus Erythematosus (SLE) is common autoimmune disease in Thailand which dominantly in females in ratio 9:1 of patients. Previous study has shown that the genetic components especially in X chromosome contributed a lot to the disease development. However, the susceptibility loci in Thai population have not been fully examined. Here, we conducted genome-wide association study (GWAS) on X chromosome using the data from two independent cohorts: primary dataset (controls = 1,683, SLE = 487) and secondary dataset (controls = 1,711, SLE = 455). Through meta-analyzing and imputation base on 1 KGP the two data set, SNP rs1059702 in IRAK1- …


Genome Annotation Pipelines For Prokaryotic And Eukaryotic Microorganisms Using De Novo Short Read Genome Assembly, Songtham Anuntakarun Jan 2020

Genome Annotation Pipelines For Prokaryotic And Eukaryotic Microorganisms Using De Novo Short Read Genome Assembly, Songtham Anuntakarun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Next-generation sequencing (NGS) is the massively parallel sequencing technology that has revolutionized biological sciences. Currently, microorganism genomes have been widely studied using NGS. However, the lack of details in the draft or reference genome is a common problem in genome analysis. Therefore, this study aims to develop genome analysis pipelines for eukaryotic and prokaryotic microorganisms using public bioinformatics software and public databases. Leishmania matiniquensis and Leptospira interrogans were used as models for genome assembly and annotation in eukaryote and prokaryote, respectively. Our pipelines used SPAdes for short read assembled, AUGUSTUS and Prokka for gene prediction in eukaryotic and prokaryotic microorganisms, …


Functional Analysis Of Glutathione S-Transferase From The Extremophile Halothece Sp. Pcc7418, Chananwat Kortheerakul Jan 2020

Functional Analysis Of Glutathione S-Transferase From The Extremophile Halothece Sp. Pcc7418, Chananwat Kortheerakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Glutathione S-transferase (GST) are a set of multifunctional enzymes encoded by large gene families. It has been functionally demonstrated that GSTs play vital roles in cellular detoxification, regulation of redox-dependent process, and stress responses. Although the GST gene family has been extensively studied across taxa, the function of the GST genes in primordial oxygenic phototrophs such as cyanobacteria is poorly understood. In this thesis, GSTs from extremophilic cyanobacterium Halothece sp. PCC7418 (hereafter Halothece GSTs) were identified and functionally characterized. The genome-based analysis showed that there were four GSTs in Halothece 7418 (GST_0647, GST _0729, GST _1478, and GST _3557). Phylogenetic …


Effect Of Sorghum Flour Substitution On Pasting Behavior Of Wheat Flour And Application Of Composite Flour In Bread, Eunice Muute Muema Jan 2020

Effect Of Sorghum Flour Substitution On Pasting Behavior Of Wheat Flour And Application Of Composite Flour In Bread, Eunice Muute Muema

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study was to investigate the effect of sorghum flour substitution to wheat flour on pasting and thermal properties of the composite flours as well as firmness of the flour gels and application of composite flour in pan bread. Wheat-to-sorghum flour ratio used were 100:0 (wheat control), 0:100 (sorghum control), 80:20, 60:40, 40:60 and 20:80, with the wheat control serving as a benchmark. Both flours had approximately 10% moisture content. Crude protein content of sorghum flour was 14.90%, which was lower than that of wheat flour (16.91%). Sorghum flour contained 60.19% starch (with 14.88% amylose) as compared …


Production And Properties Of Resistant Maltodextrin From Cassava Starch, Kamonrat Trithavisup Jan 2020

Production And Properties Of Resistant Maltodextrin From Cassava Starch, Kamonrat Trithavisup

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aimed to determine the effects of processing conditions on molecular structure and selected properties of cassava-derived resistant dextrins (RDs) and resistant maltodextrins (RMDs). Cassava starch was mixed with hydrochloric acid solution to obtain the final acid concentration of 0.04-0.10% dry starch basis, dried at 50oC until having <5% moisture, and dextrinized at 100-120oC for 60-180 min. As acid concentration, heating temperature and time increased, water solubility, reducing sugar content, total dietary fiber (TDF) content and proportion of high molecular weight fiber fraction of RDs increased while their whiteness decreased. For the solution containing RDs produced under mild conditions (0.04-0.08% HCl, 100°C, 60 min), an endothermic peak at 45-70oC, having enthalpy of 1.66-2.14 J/g was detected. However, no endotherm was detected from the solution of RDs processed under extreme conditions. Harsher dextrinization conditions resulted in the RDs with slightly higher molecular weight but containing shorter branched chains. Dextrinization resulted in the formation of α-1,2, α-1,6, β-1,2, β-1,4 and β-1,6 in RDs. Lower proportion of α-1,4 linkage and α-/β-reducing ends with higher proportion of β-1,2, β-1,4, α-/β-1,6 linkages and degree of branching (DB) were found in RDs prepared under stronger dextrinization conditions. Although indigestible portion was enhanced by dextrinization, TDF of the RDs were only 7-47%. To increase the TDF content, RDs prepared from 5 different conditions (0.04% and 0.06% HCl, 120oC, 60-180 min), having >30% TDF, were selected for RMD production. The 30% RD solutions were treated with commercial α-amylase enzyme at 70oC, pH 6, for 90 and 120 min, to obtain the final dextrose equivalent of 8 and 12, respectively. The samples were then purified and spray dried. Alpha-amylase treatment produced RMD with shorter …


Development Of Ready-To-Cook Cambodian Korko Soup Base, Meng Sreang Loem Jan 2020

Development Of Ready-To-Cook Cambodian Korko Soup Base, Meng Sreang Loem

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study develops a prototype of a ready-to-cook Cambodian Korko soup base by surveying the perception of 400 Cambodian consumers and found that 44.5% of replies prefer ready-to-cook Cambodian Korko soup base in powder form. After that, the effect of different drying temperatures on the properties of Cambodian Korko soup base ingredients (herb, spice, and fermented fish) was investigated on physicochemical, antioxidants, and microbiological properties. At higher temperature 80 oC, water activity, moisture content was decreased faster and DPPH and FRAP were decreased compared to lower temperatures 70 oC and 60 oC. On the other hand, histamine in fermented fish …


Production Of Biodegradable Uv Protection Film Using Cellulose And Lignin Extracted From Oil Palm Empty Fruit Bunch, Muhammad Taufiq Haqiqi Jan 2020

Production Of Biodegradable Uv Protection Film Using Cellulose And Lignin Extracted From Oil Palm Empty Fruit Bunch, Muhammad Taufiq Haqiqi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The optimized process for cellulose extraction from oil palm empty fruit bunch (EFB) consisting of acid pretreatment (0.5% (v/v) H2SO4), alkaline extraction (15% (w/w) NaOH), and chlorine-free bleaching (10% (w/v) H2O2) yielded pulp with the highest cellulose content at 83.42%. The EFB cellulose was then etherified into carboxymethyl cellulose (CMC) which was readily water-soluble (81.32%). The EFB CMC (2.5% (w/v)) was blended with glycerol (0.5 % (w/v)) to produce a composite film by a solution casting method. Lignin obtained from acid precipitation of the EFB black liquor was added into the film at different concentrations, and its influence on the …


Effects Of Hydrocolloids On Pasting Behavior And Gelling Properties Of Banana Flour And Its Application In Bread, Rosalin Herman Jan 2020

Effects Of Hydrocolloids On Pasting Behavior And Gelling Properties Of Banana Flour And Its Application In Bread, Rosalin Herman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bananas have a high potential in becoming a future staple crop due to its rapid growth rate, short harvest time, and high starch content. However, banana flour is highly retrograded which is its major limitation. The objective of this study was to study the effects of selected hydrocolloids on the pasting and gelling properties as related to the gelatinization and retrogradation of banana flour as well as its application in bread as a wheat flour substitute. Xanthan gum (XG), gum arabic (GA), hydroxypropyl methylcellulose (HPMC), and guar gum (GG) were added to banana flour at different concentrations (0.5, 1.0, and …


Phytoalexin And Biomarker Peptide Detection Using Mass Spectrometry, Sasikarn Komkleow Jan 2020

Phytoalexin And Biomarker Peptide Detection Using Mass Spectrometry, Sasikarn Komkleow

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Mass spectrometry (MS) has been one of the scientific techniques most commonly used in different areas. Therefore, the current research was carried out in order to investigate the role of MS in biological analysis. This study is divided into two main parts. The first part used MS imaging to reveal the ability of the technique for imaging metabolites directly from plant tissue. Thai rice varieties were used to investigate the production and distribution of diterpenoid phytoalexins using matrix-assisted laser desorption/ionization mass spectrometry imaging (MALDI-MSI). Results revealed the successfully detection of 5 types of diterpenoid phytoalexins on RD6 rice leaf tissue, …


Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang Jan 2020

Variation Of Symbiodiniaceae In Broadcaster Acropora Humilis And Brooder Pocillopora Damicornis Corals, Suppakarn Jandang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Reef-building corals sustain a symbiotic relationship with single-cell algae belonging to family Symbiodiniaceae. Symbiotic algae contribute up to 50-95% of the metabolic needs by supplying photosynthetic products to the coral host. Therefore, the symbiosis between corals and Symbiodiniaceae is essential for the development and survival of coral reefs. Over the past years, significant losses and changes in coral reef ecosystems have been caused by anthropogenic activities and natural phenomena. Thus, relevant national organizations have raised awareness regarding the conservation of coral populations. Our Reef Biology Research Group, Department of Marine Science, Chulalongkorn University have been producing corals using a sexual …


Effect Of Protein And Calcium Chloride Concentration, Ph, And Temperature On Almond Protein Gelation, Thiri Hlaing Jan 2020

Effect Of Protein And Calcium Chloride Concentration, Ph, And Temperature On Almond Protein Gelation, Thiri Hlaing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Almond (Prunus dulcis) seeds are good sources of protein that contain healthy fatty acids and dietary fiber. Protein gelation has been traditionally achieved by heating, but other factors can be affected in different gel structures in protein gelation. However, most studies were focused on the heat-induced gel formation of soymilk proteins, there was limited research on the gelling property of almond milk proteins. Therefore, this study aimed to investigate the effects of protein, and calcium chloride concentration, pH, and temperature on almond protein gel-forming and to analyze the physicochemical properties of the almond protein gel. Heat-induced gel formation of almond …


ผลของการให้ผงว่านหางจระเข้ทางปากร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ ของมนุษย์ต่อการหายของแผลในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวาน, สุพัสนันท์ แก้วศรีสังข์ Jan 2020

ผลของการให้ผงว่านหางจระเข้ทางปากร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ ของมนุษย์ต่อการหายของแผลในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวาน, สุพัสนันท์ แก้วศรีสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการหายของแผลและการเกิดหลอดเลือดใหม่ในหนูนูดไมซ์ที่เป็นเบาหวานหลังจากให้กินว่านหางจระเข้ร่วมกับการปลูกถ่าย EPCs โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มเบาหวาน กลุ่มเบาหวานที่ได้รับเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ (1×106 เซลล์) บริเวณแผล กลุ่มเบาหวานที่ได้รับว่านหางจระเข้ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันทางปาก และกลุ่มเบาหวานที่ได้รับเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ (1×106 เซลล์) บริเวณแผลร่วมกับการกินว่านหางจระเข้ 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทำการเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสารสเตรปโตโซโตซิน 45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมทางช่องท้องวันละครั้งติดต่อกันห้าวัน เมื่อครบ 10 สัปดาห์หลังจากเหนี่ยวนำให้หนูเป็นเบาหวาน หนูแต่ละกลุ่มถูกทำให้เกิดแผลชนิดที่ถูกตัดจนถึงชั้นไขมันที่บริเวณผิวหนังทั้งสองข้างจากแนวหลังของหนู ขนาด 0.6×0.6 ตารางเซนติเมตร ในวันที่ 7 และ 14 หลังทำให้เกิดแผล ทำการศึกษาระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องกลูโคมิเตอร์ วัดขนาดแผลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Image Pro Plus 6.1 วัดการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผลด้วยเครื่องเลเซอร์ดอปเปลอร์โฟลมิเตอร์ ศึกษาการเกิดหลอดเลือดใหม่ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบคอนโฟคอลโดยใช้แสงฟลูออเรสเซ็นต์ ศึกษาการเกิด re-epithelialization ด้วยการย้อมฮีมาท้อกซิลินและอีโอซิน และวัดระดับ VEGF ที่แผลด้วยวิธี ELISA ผลการทดลองพบว่า ทั้งในวันที่ 7 และ 14 หลังทำให้เกิดแผล ค่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากได้รับว่านหางจระเข้ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์เอนโดทีเลียมโปรเจนนิเตอร์ร่วมกับการกินว่านหางจระเข้ มีการเพิ่มขึ้นของการปิดของแผล การไหลเวียนของเลือดบริเวณแผล การเกิดหลอดเลือดใหม่ การเกิด re-epithelialization และระดับ VEGF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ในวันที่ 14 กลุ่มที่ได้รับการรักษาร่วมกันมีการเพิ่มขึ้นของการไหลเวียนของเลือดบริเวณแผลและการเกิดหลอดเลือดใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย EPCs หรือ Aloe เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษานี้อาจเป็นประโยชน์และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาแผลเบาหวานได้ในอนาคต


การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ Jan 2020

การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora Damicornis ในห้องปฏิบัติการ, กมลพร พัฒนศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น และ ความเค็มของน้ำทะเลลดต่ำลง เมื่อเกิดการฟอกขาวปะการังมีการปรับตัวต่อสภาวะนี้แตกต่างกัน และปะการังที่เกิดฟอกขาวบางส่วนสามารถรับซูแซนเทลลีจากมวลน้ำและเกิดการร่วมอาศัยใหม่อีกครั้งเพื่อฟื้นตัวจากการฟอกขาว เพื่อให้ทราบบทบาทของซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว การศึกษาครั้งนี้ จึงแบ่งการทดลอง 3 การทดลองหลัก ได้แก่ 1) ผลของอุณหภูมิ (27 30 และ 33 องศาเซลเซียส) และความเค็ม (10 20 และ 30 psu) ต่อการเติบโตของซูแซนเทลลี 2) ผลของอุณหภูมิและความเค็มต่อการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ และ 3) การใช้ซูแซนเทลลีในการฟื้นตัวการฟอกขาวของปะการังดอกกะหล่ำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้ปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis ซึ่งเก็บจาก 3 สถานีบริเวณเกาะแสมสาร ได้แก่ สถานีเขาหมาจอ เกาะปลาหมึก และจุดดำน้ำหาดเทียน และทำการศึกษาในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปะการังอยู่ที่ระดับอุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส ภายใต้ระดับความเค็ม 10 psu พบการฟอกขาวสูงถึง 50-90% และพบซูแซนเทลลีหลุดออกมาในมวลน้ำด้วยความเข้มข้นเซลล์มากที่สุด และที่ภายใต้สภาวะเดียวกันนี้ ซูแซนเทลลีไม่สามารถเติบโตได้ เซลล์ส่วนใหญ่ตายในวันที่ 4 ของการทดลอง โดยพบความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการทดลองอื่น และเซลล์ที่พบในกลุ่มการทดลองนี้มีสีจางลง และสูญเสียรงควัตถุภายในเซลล์อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติ ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิสูง 33 องศาเซลเซียส และความเค็มต่ำ 10 psu ส่งผลต่อการเติบโตของซูแซนเทลลีและการฟอกขาวของปะการัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ภายใต้สองปัจจัยร่วมกัน และเมื่อให้ซูแซนเทลลีกับปะการังที่ฟอกขาว พบว่า กิ่งปะการังที่ฟอกขาวประมาณ 5% สามารถฟื้นตัวจากการฟอกขาวได้ หากภายหลังฟอกขาวอุณหภูมิค่อยๆลดต่ำลงจนถึงระดับควบคุม


องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร Jan 2020

องค์ประกอบทางชีวเคมีและผลของเมือกจากทากทะเล Onchidium Sp. ต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม, กัณพจน์ เตชะวงค์เสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งมีชีวิตหลายชนิดในทะเลสร้างและหลั่งเมือกเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตและกระบวนการทางสรีระอย่างหลากหลาย เช่น การเคลื่อนที่ การป้องกันตัว และการหาอาหาร กล่าวได้ว่าเมือกมีความสำคัญต่อกิจกรรมการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยเฉพาะกับมอลลัสก์ เมือกจากมอลลัสก์นอกจากถูกใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิตของตัวมอลลัสก์เองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสังคมสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยรอบด้วย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาองค์ประกอบทางชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium และผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเติบโตของเบนทิคไดอะตอม เมือกจากทากทะเล Onchidium ถูกเจือจางความเข้มข้นแบ่งเป็น 100% 75% 50% และ 25% ในน้ำทะเลเพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม นอกจากนี้เมือกจากทากทะเลอีกส่วนถูกบ่มในชุดจำลองน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นเวลา 0 1 2 4 และ 8 รอบน้ำขึ้น-น้ำลง ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงเบนทิคไดอะตอม 3 ชนิด ได้แก่ Navicula sp., Nitzschia sp., และ Thalassiosira sp. ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบชีวเคมีของเมือกจากทากทะเล Onchidium มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำ (82.5%) และองค์ประกอบอินทรียสารประกอบด้วย โปรตีน (40%) คาร์โบไฮเดรต (13.33%) และไขมัน (0.19%) ผลของเมือกจากทากทะเลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมมีความแตกต่างกันในแต่ละสภาพของเมือกและชนิดพันธุ์ของเบนทิคไดอะตอม เมือกที่หลั่งใหม่และเมือกที่เข้มข้นยับยั้งและลดการเติบโตของ Navicula sp. และ Nitzschia sp. ในขณะที่เมือกที่เจือจางและมีอายุมากเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเบนทิคไดอะตอมทั้งสองชนิด อย่างไรก็ตามเมือกจากทากทะเลไม่ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ Thalassiosira sp. ในทุกสภาพของเมือก กล่าวได้ว่าทากทะเล Onchidium อาจมีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างชุมชนระบบนิเวศชายฝั่งทำหน้าที่เป็น intertidal ecosystem engineer ที่ส่งเสริมการลงเกาะและเจริญเติบโตของชุมชนเบนทิคไดอะตอม


การตรวจ Trimethylamine N-Oxide (Tmao) ในซีรัมเพื่อทำนายภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, สมพงศ์ บุญให้ Jan 2020

การตรวจ Trimethylamine N-Oxide (Tmao) ในซีรัมเพื่อทำนายภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, สมพงศ์ บุญให้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: การเพิ่มขึ้นของสาร trimethylamine N-oxide (TMAO) ซึ่งเป็นสารพิษที่มาจากแบคทีเรียในลำไส้ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease; CKD) อาจช่วยเพิ่มการผลิต TMAO reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ของแบคทีเรียในลำไส้และมีการแทรกผ่านไปยังกระแสเลือดอันเนื่องมาจากข้อบกพร่องในการซึมผ่านของลำไส้ (gut leakage) และอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง serum TMAO, serum TMAO reductase, gut leakage, ระบบการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแข็งตัวในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิธีการ: ทำการวิเคราะห์แบบตัดขวางในตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการฟอกเลือดเป็นประจำ (n = 48) และใช้ตัวอย่างของผู้ที่มีสุขภาพดีในการควบคุม (n = 20) โดยวัดค่าการทำงานของตับ (serum glutamic-oxaloacetic transaminase; SGOT และ serum glutamate-pyruvate transaminase; SGPT) วิเคราะห์หาค่าสารพิษทั้งหมดของภาวะ uremia toxin ได้แก่ สารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก (BUN และ creatinine) สารที่มีโมเลกุลขนาดกลาง (beta-2 microglobulin; B2M) สารที่มีโมเลกุลที่จับกับโปรตีน (serum TMAO) วิเคราะห์หาข้อบกพร่องในการซึมผ่านของลำไส้ได้แก่ serum LPS และ serum TMAO reductase วิเคราะห์หาการตอบสนองต่อการอักเสบ (serum C-reactive protein, serum TNF-α และ serum IL-6) และประเมินภาวะหลอดเลือดแข็งตัวโดยใช้ดัชนี ankle-brachial index (ABI) และดัชนี cardio-ankle vascular index (CAVI) ผลการวิจัย: ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีระดับ serum TMAO และ serum TMAO reductase รวมทั้งระดับสารพิษทั้งหมดของภาวะ uremia toxin และระดับการตอบสนองต่อการอักเสบสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังตรวจพบภาวะ endotoxemia …


การพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อ Avian Adenoviruses โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสเพื่อใช้ในงานประเมินคุณภาพวัคซีน, ศราวุฒิ ยอดทอง Jan 2020

การพัฒนาวิธีตรวจหาเชื้อ Avian Adenoviruses โดยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสเพื่อใช้ในงานประเมินคุณภาพวัคซีน, ศราวุฒิ ยอดทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัคซีนที่มีความปลอดภัยก่อนนำไปใช้ในมนุษย์ต้องปราศจากเชื้อปนเปื้อนแฝง (extraneous agents) โดยเชื้อ Avian adenoviruses เป็นเชื้อปนเปื้อนแฝงชนิดหนึ่งที่อาจปนเปื้อนมากับไข่ไก่ฟักซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Inactivated Influenza Vaccine, IIV) การตรวจหาเชื้อ Avian adenoviruses ในปัจจุบันทำการทดสอบโดยวิธีเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถตรวจได้เฉพาะเชื้อ Avian adenovirus ในกลุ่มที่ 1 (Fowl adenovirus) ใช้แรงงานจำนวนมาก และใช้เวลาในการทดสอบนาน ด้วยเหตุนี้จึงได้พัฒนาวิธี nested PCR และ real-time PCR เปรียบเทียบกับวิธีเซลล์เพาะเลี้ยงในการตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อ Avian adenoviruses ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย โดยพบว่าวิธี nested PCR และ real-time PCR สามารถตรวจหาเชื้อ Avian adenoviruses ในกลุ่มที่ 1 ได้แก่ Fowl adenovirus ซีโรไทป์ 1 2 และ 4 เชื้อ Hemorrhagic enteritis virus ในกลุ่มที่ 2 และเชื้อ Egg drop syndrome ในกลุ่มที่ 3 ได้อย่างจำเพาะ โดยไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกัน (cross-reaction) กับเชื้อก่อโรคชนิดอื่นในไก่ ได้แก่เชื้อ Mycoplasma gallisepticum Mycoplasma synoviae Infectious laryngotracheitis virus Chicken anemia virus Chicken bronchitis virus โดยวิธีเซลล์เพาะเลี้ยง nested PCR และ real-time PCR มีความไวในการตรวจหาเชื้อ Fowl adenovirus 1 ซึ่งมีการติดเชื้อในไก่แบบแฝงและตรวจพบได้ยาก ได้เท่ากับ 10-2 10-8 และ 10-18 TCID50/0.1ml …


การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific-Polymerase Chain Reaction ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน Katg และยีน Inha ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, นวลนภา จรจำรัส Jan 2020

การพัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific-Polymerase Chain Reaction ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน Katg และยีน Inha ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ของเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis, นวลนภา จรจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis เป็นสาเหตุของวัณโรค ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อโรคพัฒนาสู่ภาวะวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Multidrug-resistant Tuberculosis: MDR-TB) ยา Isoniazid เป็นหนึ่งในยาขนานแรกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นการดื้อยา Isoniazid จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรค และยังพบว่าผู้ป่วยวัณโรคที่ดื้อต่อยา Isoniazid มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และมีโอกาสในการรักษาสำเร็จที่ลดลง สาเหตุหลักของการดื้อยา Isoniazid จากการกลายพันธุ์ของยีน katG และยีน inhA ตามลำดับ การศึกษานี้ได้พัฒนาเทคนิค Multiplex Allele Specific Polymerase Chain Reaction (MAS-PCR) ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography เพื่อใช้วินิจฉัยการกลายพันธุ์ของยีน katG ที่ตำแหน่งโคดอน 315 และยีน inhA ที่ตำแหน่งเหนือยีน (-15) ของเชื้อ M. tuberculosis ซึ่งสัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid ผลการทดสอบกับดีเอ็นเอที่สกัดได้จากโคโลนีของเชื้อ M. tuberculosis จำนวน 250 ตัวอย่าง พบว่าเทคนิค MAS-PCR ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography มีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยการกลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับการดื้อยา Isoniazid เท่ากับ 91.67% และ 100% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีทดสอบทางฟีโนไทป์ ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค Sanger DNA sequencing ในการตรวจหากลายพันธุ์ของยีน katG ณ ตำแหน่งโคดอน 315 มีค่าความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100% และ 99.28% ตามลำดับ และในการตรวจหายีน inhA ที่ตำแหน่งเหนือยีน (-15) มีค่าความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100% และ 99.51% ตามลำดับ โดยเทคนิค MAS-PCR ร่วมกับแผ่นทดสอบ Dipstick Chromatography มีค่าความสอดคล้องในระดับดีมากกับทุกเทคนิคที่นำมาเปรียบเทียบ เทคนิค MAS-PCR …


การพัฒนาแถบตรวจ Mtb Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-Recombinase Polymerase Amplification, วิลาณี เดชขจร Jan 2020

การพัฒนาแถบตรวจ Mtb Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-Recombinase Polymerase Amplification, วิลาณี เดชขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดทั่วโลก และยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย วัณโรคยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคติดต่อสูงเป็นอันดับสองรองจากโรคเอดส์ โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis complex (MTBC) การตรวจวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ เป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค การนำเทคนิคทางอณูชีววิทยาเข้ามาใช้วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความรวดเร็วมากกว่าการเพาะเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีดั้งเดิมและสามารถวินิจฉัยโรคได้ภายใน 1 วัน มีบทบาทที่สำคัญในการวินิจวัณโรคในปัจจุบัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแถบตรวจ MTB Strip แบบอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็ว สำหรับวินิจฉัยวัณโรคจากปฏิกิริยา Multiplex-recombinase polymerase amplification (M-RPA) โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อ IS1081 และ IS6110 ซึ่งมีความจำเพาะต่อเชื้อ MTBC และตรวจสอบผลผลิตของทั้งสอง IS ร่วมกัน เพื่อเพิ่มความไวของเทคนิคในการวินิจฉัยวัณโรค การทดสอบเบื้องต้นกับดีเอ็นเอที่สกัดจากโคโลนีของเชื้อ แสดงให้เห็นว่าเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip สามารถจำแนกเชื้อ MTBC ออกจาก NTM ได้อย่างถูกต้อง เมื่อนำเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip มาวินิจฉัยกับดีเอ็นเอที่สกัดจากสิ่งส่งตรวจเสมหะจำนวน 131 ตัวอย่าง พบว่ามีความไวและความจำเพาะ เท่ากับ 91.03% และ 84.91% ตามลำดับ โดยมีค่าความสอดคล้องในเกณฑ์ดี (κ=0.762) เมื่อเปรียบเทียบกับการย้อมสีทนกรด ในขณะที่มีความไวและความจำเพาะเท่ากับ 100.0% และ 94.55% ตามลำดับ และมีค่าความสอดคล้องในเกณฑ์ดีมาก (κ=0.953) เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิค Real-time PCR เทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip ใช้ระยะเวลาทำปฏิกิริยาเพียง 25 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และตรวจสอบผลผลิตด้วยแถบตรวจ MTB Strip ภายในเวลา 15 นาที โดยตรวจสอบความเข้มข้นดีเอ็นเอตั้งต้นน้อยที่สุดได้เท่ากับ 0.1 ng/µl และไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มเชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์อื่นที่มักก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นเทคนิค M-RPA ร่วมกับแถบตรวจ MTB Strip จึงเป็นเทคนิคที่มีความรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน …


การหาความชุกและการกระจายสายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย, นพพล โพธิ์พฤกษ์ Jan 2020

การหาความชุกและการกระจายสายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย, นพพล โพธิ์พฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลกโดยพบผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสและปรสิต การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก ชนิดสายพันธุ์ และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสของผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานในพื้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ตัวอย่างอุจจาระและแบบสอบถามเก็บรวบรวมจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน 130 คนและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน 100 คน โดยนำตัวอย่างอุจจาระทั้งหมดมาตรวจหาเชื้อบลาสโตซิสติส ด้วยวิธี simple smear technique และตรวจหายีน small subunit ribosomal DNA ของเชื้อบลาสโตซิสติสด้วยเทคนิค nested PCR และจำแนกสายพันธุ์ด้วยเทคนิค Sanger sequencing วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสโดยใช้การทดสอบไคสแควร์และอัตราส่วน odds (odds ratio) ที่ช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า พบผู้ติดเชื้อบลาสโตซิสติสจำนวน 25 คน จากตัวอย่างอุจจาระทั้งหมด 230 คน คิดเป็นความชุกของการติดเชื้อบลาสโตซิสติสร้อยละ 10.9 การติดเชื้อชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 12.3 และร้อยละ 9 ตามลำดับ ในขณะที่สายพันธุ์ของเชื้อบลาสโตซิสติสที่ตรวจมากที่สุดประกอบด้วย สายพันธุ์ที่ 3 สายพันธุ์ที่ 1 และสายพันธุ์ที่ 4 ตามลำดับ การศึกษาปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ภาวะโรคเบาหวาน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ประเภทห้องน้ำ การมีสัตว์เลี้ยง ความถี่ของการรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การล้างผักและผลไม้ก่อนรับประทาน การล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ และการขับถ่ายโดยใช้ห้องส้วม ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อบลาสโตซิสติสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่ามีแนวโน้มการติดเชื้อบลาสโตซิสติสที่สูงในเพศชาย ผู้ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ผู้ที่ใช้ห้องส้วมแบบราดน้ำหรือนั่งยอง รวมทั้งผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง ผลของการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญที่เป็นประโยชน์เพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวานในชุมชนต่อไป


การแสดงออกของโปรตีนจากเอ็กซ์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลของเซลล์แมคโครฟาจภายหลังการติดเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae, สหรัฐ นันทวงค์ Jan 2020

การแสดงออกของโปรตีนจากเอ็กซ์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลของเซลล์แมคโครฟาจภายหลังการติดเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae, สหรัฐ นันทวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคหนองในเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) โดยมีอุบัติการณ์มากที่สุดในกลุ่มของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทยและทั่วโลก จากการรายงานขององค์การอนามัยโลก ผู้ป่วยจำนวนมากไม่แสดงอาการของโรคโดยเฉพาะในผู้ป่วยหญิง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ส่วนบนและนำไปสู่การเป็นหมันและการตั้งครรภ์นอกมดลูก พยาธิสภาพของโรคเกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมกลุ่มของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันและกระบวนการอักเสบโดยเซลล์แมคโครฟาจซึ่งเป็นเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันแบบกำเนิด การตอบสนองของเซลล์ต่อการติดเชื้อภายในเซลล์สามารถติดตามได้จากเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลที่ผลิตออกจากเซลล์แมคโครฟาจ เช่น การติดเชื้อวัณโรค ลิชมาเนีย และซัลโมเนลา ที่พบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อภายในเซลล์ การปลดปล่อยเวสิเคิลนั้นจะมีผลต่อการกระตุ้นการทำงาน กระบวนการอักเสบ และปรับเปลี่ยนการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้ ในการศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการแสดงออกและค้นหาโปรตีนในเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลจากเซลล์แมคโครฟาจทั้งชนิดติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ N. gonorrhoeae โดยนำเซลล์เม็ดเลือดขาว THP-1 ที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเซลล์แมคโครฟาจเกิดกระบวนการฟาโกไซโทซิสเชื้อ N. gonorrhoeae เข้าไปภายในเซลล์ ติดตามการแสดงออกของโปรตีนภายในเวสิเคิล และวิเคราะห์โปรตีนด้วย Tandem mass spectrometry ซึ่งพบการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบโปรตีนภายในเวสิเคิลที่ครอบคลุมโปรตีนของเซลล์แมคโครฟาจและของเชื้อ ทั้งยังพบว่ามีความแตกต่างกันทั้งชนิดและการแสดงออกจำเพาะในช่วงเวลาของการติดเชื้อ เมื่อนำผลวิเคราะห์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลชีวสารสนเทศทั้ง Vesiclepedia, PANTHER และ Uniprot database ศึกษาคุณสมบัติและหน้าที่ของโปรตีนภายในเวสิเคิล โปรตีนของมนุษย์ และโปรตีนของเชื้อ N. gonorrhoeae ตามลำดับ ทำให้บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์และบทบาทต่อเซลล์แมคโครฟาจในช่วงเวลาที่ทดสอบ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการตรวจติดตามเชื้อก่อโรคหนองในและองค์ความรู้ในความเข้าใจบทบาทของเอ็กต์ตราเซลลูลาร์เวสิเคิลต่อพยาธิสภาพและการดำเนินไปของโรคหนองใน


เทคนิคใหม่ทางคอมพิวเตอร์ในการอ่านผล Treponema Pallidum Particle Agglutination Test (Tppa), ภาคภูมิ เดชหัสดิน Jan 2020

เทคนิคใหม่ทางคอมพิวเตอร์ในการอ่านผล Treponema Pallidum Particle Agglutination Test (Tppa), ภาคภูมิ เดชหัสดิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ซิฟิลิสเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ผ่านทางกระแสโลหิต สารคัดหลั่งของร่างกาย ซึ่งสามารถติดต่อจากมารดาไปยังทารกในครรภ์ อีกทั้งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพยาธิสภาพของร่างกายหลายระบบ นอกจากนี้ซิฟิลิสยังสามารถถ่ายทอดผ่านการรับโลหิตและผลิตภัณฑ์ของโลหิตจากผู้บริจาคที่ติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้งานทางธนาคารโลหิตจึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองซิฟิลิสในโลหิตของผู้บริจาคโลหิตทุกราย โดยนิยมใช้เทคนิคการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องต้นแบบบันทึกภาพและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบโดยใช้ภาษา C# ที่สามารถบันทึกภาพ อ่านและแปลผลผลปฏิกิริยา ของการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาด้วยวิธี Treponema pallidum Particle Agglutination (TPPA) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการอ่านและแปลผลระหว่างเครื่องต้นแบบ กับการอ่านและแปลผลด้วยตาเปล่าโดยผู้ปฏิบัติงาน การศึกษาใช้ตัวอย่างพลาสมาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และพลาสมาของผู้บริจาคโลหิต ที่ได้รับความอนุเคราะห์จาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จำนวนทั้งสิ้น 65 ตัวอย่าง ซึ่งทั้งหมดได้ผ่านการตรวจซิฟิลิสด้วยวิธี Chemiluminescent Microparticle Immunoassay (CMIA) พบว่า เมื่อนำเครื่องบันทึกภาพต้นแบบและซอฟท์แวร์ที่พัฒนาขึ้น มาอ่านปฏิกิริยา TPPA เปรียบเทียบกับการอ่านผลด้วยตาเปล่าโดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พบว่าให้ผลตรงกันในแต่ละระดับของปฏิกิริยาจำนวน 60 ตัวอย่าง และไม่ตรงกันในแต่ละระดับของปฏิกิริยาจำนวน 5 ตัวอย่าง ส่งผลให้มีความสอดคล้องของทั้งสองเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kappa = 0.88 แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในระดับดีมาก อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะการอ่านผล reactive โดยมิได้คำนึงถึงระดับปฏิกิริยา พบว่าทั้งสองวิธีอ่านให้ผลปฏิกิริยาตรงกัน 64 ตัวอย่าง และไม่ตรงกันจำนวนเพียง 1 ตัวอย่าง ส่งผลให้มีความสอดคล้องของทั้งสองเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kappa = 0.98 แสดงให้เห็นถึงว่าความสอดคล้องในระดับดีมาก ดังนั้น เครื่องบันทึกภาพต้นแบบและซอฟท์แวร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยอ่านและแปลผลปฏิกิริยาของการทดสอบด้วยวิธี TPPA ในการตรวจวินิจฉัยโรคซิฟิลิสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เวลาอ่านผลที่รวดเร็วกว่าการอ่านผลโดยผู้ปฏิบัติงาน ไม่มีความคลาดเคลื่อนในการอ่านผลที่อาจเกิดจากปัจจัยของผู้ปฏิบัติงาน ใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาถูก สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ยังห้องปฏิบัติการทั่วไปได้


ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด Jan 2020

ความหลากหลายของจีนเคซีนของแพะนมในประเทศไทย, นภารัตน์ เนาวนัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาความหลากหลายของจีนเคซีนทั้ง 4 ชนิดในฐานะของจีนแคนดิแดท ที่มีผลต่อลักษณะการปริมาณน้ำนมในแพะจำนวน 65 ตัวแบ่งเป็นกลุ่มแพะที่มีบันทึกการให้ผลผลิตแล้วอย่างน้อย 1 ลำดับการให้นมและมีข้อมูลของลูกแพะ จำนวน 26 ตัว และกลุ่มแพะที่ไม่มีบันทึกการให้ผลผลิต จำนวน 35 ตัว จากการตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีนทั้ง 4 ชนิดด้วยวิธี DNA sequencing พบอัลลีลของจีนอัลฟาเอส 1 เคซีนทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ A, C และ E มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.577, 0.177 และ 0.246 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AC, AE, CC และ EE เท่ากับ 0.292, 0.292, 0.277, 0.031 และ 0.108 ตามลำดับ จีนเบต้าเคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ F มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.538 และ 0.462 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA, AF และ FF เท่ากับ 0.246, 0.585 และ 0.169 ตามลำดับ จีนอัลฟาเอส 2 เคซีน พบอัลลีลทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ A และ B มีความถี่ของอัลลีล เท่ากับ 0.862 และ 0.138 ตามลำดับ มีความถี่จีโนไทป์ของ AA และ AB เท่ากับ 0.723 และ …


Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee Jan 2020

Marine Influence On Chemical Composition Of Aerosol In Thailand, Jariya Kayee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study was focused on atmospheric aerosols covering aerosols over both continent and ocean. Continent's aerosols were collected from two coastal cities, Bangkok and Chonburi, and one in-land city, Chiangrai. To investigate seasonal variation and air-sea-land influences on chemical composition of aerosols, metals, lead isotope and water-soluble inorganic ions were examined coupled with air mass trajectory analysis. The study was divided into 3 parts. The first part, PM2.5 samples were collected in Bangkok and Chonburi during January 2018 to April 2019. The results revealed the highest PM2.5 concentrations in NE monsoon, and the lowest in SW monsoon. During NE monsoon, …