Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Operational Research

PDF

Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 121 - 129 of 129

Full-Text Articles in Engineering

Analyzing And Forecasting Online Tour Bookings Using Google Analytics Metrics, Jiaranai Awichanirost Jan 2019

Analyzing And Forecasting Online Tour Bookings Using Google Analytics Metrics, Jiaranai Awichanirost

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In today's world, the internet is growing fast and has revolutionized many business operations in the tourism industry. The tourism industry plays an important role in Thailand's GDP and is a great boost to the domestic economy. Most tour operators have created websites to be used as part of their business operations which are the main way to build relationships with customers and sales and hence make the website performance measurement an important strategic factor for online marketing. The objective of this research is to analyze the significant impact of Google Analytics metrics that is a measurement of website performance …


Customer Churn Prediction For A Software-As-A-Service Inventory Management Company, Phongsatorn Amornvetchayakul Jan 2019

Customer Churn Prediction For A Software-As-A-Service Inventory Management Company, Phongsatorn Amornvetchayakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis proposes customer churn prediction model for a Software-as-a-Service inventory management company in Thailand. Software-as-a-Service is the fast growing and high market values industry as a new emerging online business. Customer churn is a critical measure for this business. Thus, this thesis focuses on seeking a customer churn prediction model specified for a Software-as-a-Service inventory management company in Thailand which is facing a high churn rate issue. This thesis executes the prediction models with four machine learning algorithms: logistic regression, support vector machine, decision tree and random forest. The results show that the optimized decision tree model is capable …


การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์ Jan 2019

การออกแบบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง, จินตชาติ ชาติพาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ในระดับค่าใช้จ่ายกับค่าแรงงานที่เหมาะสมศูนย์กระจายสินค้าจึงต้องทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการลูกค้าจากข้อมูลในอดีตดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าไฟฟ้าแสงสว่างของบริษัทกรณีศึกษาที่ทำหน้าที่จัดเก็บและกระจายสินค้าที่มีขนาดน้ำหนักและรูปทรงที่แตกต่างกันอีกทั้งยังแตกหักง่ายจึงต้องอาศัยความระมัดระวังในการขนย้าย จากสภาพและธรรมชาติของสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นส่งผลให้กิจกรรมการหยิบเป็นกิจกรรมที่อาศัยชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุดโดยสูญเสียไปกับการเดินทางและการค้นหาสินค้า นอกจากการวิเคราะห์ข้อมูลของศูนย์กระจายสินค้าที่ศึกษาเบื้องต้นพบว่ารูปแบบคำสั่งซื้อส่วนใหญ่ของลูกค้ามีลักษณะที่มีจำนวนรายการต่อคำสั่งซื้อและปริมาณสินค้าอยู่ในระดับที่ต่ำในขณะที่อาศัยนโยบายการจัดเก็บแบบสุ่มและจัดเก็บในหน่วยของพาเลทความไม่สอดคล้องกันของรูปแบบความต้องการและวิธีการจัดเก็บส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ผู้บริหารกำหนดไว้ที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอการประยุกต์ใช้ Fast Picking Area (FPA) เพื่อลดเวลาในการเดินทางลงสำหรับการออกแบบการทดลองจะพิจารณาปัจจัยด้านขนาดพื้นที่ของ FPA, การจัดอันดับสินค้า, การปันส่วนพื้นที่สินค้า และ การจัดวางสินค้าโดยอาศัยการนำข้อมูลในอดีตไปทดสอบแบบจำลองสถานการณ์แบบ Monte Carlo เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการออกแบบซึ่งผลการออกแบบที่ดีที่สุดสามารถลดเวลาการทำงานเฉลี่ยรวมต่อปีลงได้ 2768 ชั่วโมงเทียบเท่ากับการลดแรงงานคนลง 1.33 FTE ส่งผลให้เวลาเฉลี่ยในการหยิบต่อคำสั่งซื้ออยู่ที่ 7.9 นาทีต่อคำสั่งซื้อซึ่งเร็วกว่าเวลาที่ทำได้ในปัจจุบันที่ 10 นาทีต่อคำสั่งซื้อ


การประยุกต์ใช้ตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่หินเพื่อการผลิตอิฐเผา, ณัฐวุฒิ ธงชัย Jan 2019

การประยุกต์ใช้ตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่หินเพื่อการผลิตอิฐเผา, ณัฐวุฒิ ธงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์หาสัดส่วนดินตะกอนจากอุตสาหกรรมเหมืองหินไปขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นอิฐดินตะกอนโดยใช้ดินเหนียวเป็นส่วนผสม งานวิจัยเริ่มจาก1) วิเคราะห์คุณสมบัติของตะกอนเพื่อหาองค์ประกอบของแร่ธาตุและสารประกอบที่พบในดินตะกอน 2) ทำการออกแบบการทดลองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อิฐดินตะกอนจากเหมืองหิน โดยมีตัวแปรต้นได้แก่ สัดส่วนผสมระหว่างตะกอนจากเหมืองและดินเหนียวตั้งแต่ร้อยละ 40 ถึง80 โดยน้ำหนัก และเผาที่อุณหภูมิ 900, 1000 และ1100 องศาเซลเซียส 3) ทำการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของผลิตภัณฑ์แล้วสรุปผลงานวิจัย จากการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิ 1100 องศาเซลเซียส และสัดส่วนของดินตะกอนต่อดินเหนียวเป็น 60:40 ให้ความต้านแรงอัดสูงสุด เท่ากับ 43.67 เมกกะปาสคาล ซึ่งสูงกว่าอิฐมอญและอิฐดินเผา คิดเป็น 49.95 และ33.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ค่าอัตราการดูดซึมน้ำของอิฐดินตะกอนจากเหมืองที่สัดส่วนดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 11.53 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าอิฐมอญและอิฐดินเผาถึง 53.87 และ 67.63 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าความหนาแน่นและค่าสูญเสียน้ำหนักของอิฐดินตะกอนจากเหมืองมีค่าเท่ากับ 1.37 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และ 17.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ต้นทุนการผลิตของอิฐดินตะกอนจากเหมืองมีค่าต่ำกว่าอิฐดินเผา 24.76 เปอร์เซ็นต์


การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล Jan 2019

การปรับปรุงกระบวนการผสมยางมาสเตอร์แบท Epdm ไม่มีน้ำมัน โดยใช้หลักการซิกซ์ ซิกมา, นภนิกันติ์ วงศ์ทรัพย์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผสมซึ่งจะสื่อออกมาในรูปของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ของบริษัทกรณีศึกษาและปรับปรุงกระบวนการผสม EPDM ที่ไม่ใช่น้ำมัน โดยใช้แนวคิด ซิกซ์ ซิกมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญที่เรียกว่า DMAIC ได้แก่ ขั้นตอนกำหนดปัญหา (Define phase) , ขั้นตอนการวัดเพื่อใช้หาสาเหตุของปัญหา (Measure phase) , ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา (Analyze phase) ,ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ (Improve phase) และสุดท้ายคือขั้นตอนการควบคุมกระบวนการ (Control phase) หลังจากใช้ขั้นตอน DMAIC ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยค่าความหนืดมูนนี่เฉลี่ยที่ได้จากกระบวนการหลังปรับปรุง มีค่าเข้าใกล้ค่าที่คาดหวังหรือค่าเป้าหมายมากขึ้นและได้สะท้อนไปยังดัชนีความสามารถในกระบวนการที่เพิ่มขึ้น (Cpk) จาก -1.25 ถึง 3.92 นอกจากนี้ผลลัพธ์ของวิธี Response Surface Design เผยให้เห็นถึงการตั้งค่าสภาวะกระบวนการผสมยาง EPDM non-oil มาสเตอร์แบทที่เหมาะสมดังนี้: เวลาผสม ~ 14 (นาที), ระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง (nip gap) ~ 1.10 (มิลลิเมตร) และจำนวนรอบของการรีดผ่าน nip gap ~ 9 (รอบ) ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ลดลงจาก 0.45 เป็น 0.30


การจัดตารางทรัพยากรสำหรับระบบโลจิสติกส์ขาเข้าแบบบูรณาการของโรงงานน้ำตาล, ธารินทร์ โชติวนิช Jan 2019

การจัดตารางทรัพยากรสำหรับระบบโลจิสติกส์ขาเข้าแบบบูรณาการของโรงงานน้ำตาล, ธารินทร์ โชติวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบโลจิสติกส์ขาเข้าของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยประกอบไปด้วยเกษตรกรไร่อ้อยอยู่เป็นจำนวนมาก หากแต่มีทรัพยากรการเก็บเกี่ยวที่จำกัด อีกทั้งยังขาดการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องแย่งชิงการใช้ทรัพยากรการเก็บเกี่ยวในบางช่วงเวลา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาการเผาอ้อยก่อนตัด ตลอดจนการสูญเสียคุณภาพน้ำตาลจากการรอเทอ้อยตามมา ผู้วิจัยได้ทำการแก้ปัญหาดังกล่าวผ่านตัวแบบจำลองการจัดตารางทรัพยากรการเก็บเกี่ยวแบบหลายวัตถุประสงค์ (MOHRSP) อีกทั้งยังได้ทำการพัฒนาวิธีการทางฮิวริสติกส์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอ้างอิงจากวิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยการเคลื่อนที่ของกลุ่มอนุภาค (PSO) ในวิธีการดังกล่าว ผู้วิจัยยังได้สอดแทรกวิธีการค้นหาเฉพาะที่อีก 3 รูปแบบ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการค้นหาคำตอบ ผู้วิจัยได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของฮิวริสติกส์ที่พัฒนาขึ้น โดยทำการเปรียบเทียบคำตอบที่ได้กับคำตอบจาก CPLEX ที่มีการจำกัดระยะเวลาในการคำนวณบนปัญหาที่สุ่มสร้างขึ้นจำนวน 30 ปัญหา ทั้งนี้ ผู้วิจัยพบว่า วิธีการค้นหาคำตอบที่ออกแบบขึ้น ให้ผลการค้นหาที่ดีทั้งในปัญหาแบบวัตถุประสงค์เดี่ยว และหลายวัตถุประสงค์ โดยคุณภาพของคำตอบที่ได้มีค่าใกล้เคียง หรือดีกว่าคำตอบของ CPLEX ในขณะที่ใช้เวลาในการค้นหาคำตอบที่สั้นกว่ามาก อย่างไรก็ดี ในการค้นหาคำตอบครั้งหนึ่ง ๆ ฮิวริสติกส์อาจให้กลุ่มคำตอบซึ่งไม่ถูกครอบงำเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอวิธีการในการคัดเลือกคำตอบ เพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจสามารถเลือกตารางการทำงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยยังสามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมได้


การพัฒนากระบวนการตรวจสอบการไม่ยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าคาร์บอนและผ้าใยแก้วใน ผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและเทคนิคการรู้จําแบบ, นภาพรรณ สุขประเสริฐ Jan 2019

การพัฒนากระบวนการตรวจสอบการไม่ยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าคาร์บอนและผ้าใยแก้วใน ผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและเทคนิคการรู้จําแบบ, นภาพรรณ สุขประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาการตรวจสอบการยึดติดกันของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์กับผ้าใยแก้วหรือผ้าคาร์บอนในผลิตภัณฑ์วินเซิร์ฟ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบในปัจจุบันใช้คนในการเคาะและฟังเสียงเพื่อตัดสินชิ้นงานที่มีการยึดติดหรือไม่มีการยึดติด และเกิดความผิดพลาดจากการตัดสินโดยพนักงานที่ไม่มีทักษะ จึงมีการพัฒนาการตรวจสอบโดยการประยุกต์ใช้เซนเซอร์เสียงและการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วเพื่อแปลงสัญญาณเสียงให้อยู่ในรูปของโดเมนความถี่ จากนั้นระบุความถี่การยึดติดและคำนวณพื้นที่ใต้กราฟ และใช้เทคนิคการรู้จำแบบและการแบ่งแบบอาบิทารีในการจำแนกชิ้นงานที่ไม่มีการยึดติดออกจากชิ้นงานที่มีการยึดติด โดยทำการทดลองกับวินเซิร์ฟทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่วินเซิร์ฟ 1,วินเซิร์ฟ 2,วินเซิร์ฟ 3 และ วินเซิร์ฟ 4 ที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ที่มีความหนาเท่ากันแต่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน โดยผลการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนมีผลต่อความถี่การยึดติด โดยวินเซิร์ฟที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นสูงจะมีความถี่การยึดติดสูงกว่าวินเซิร์ฟที่ประกอบด้วยแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์ ผ้าใยแก้วและผ้าคาร์บอนที่มีความหนาแน่นต่ำ และความเข้มพาวเวอร์สเปกตรัมที่ความถี่การยึดติดนี่เองที่บ่งบอกการยึดติดของแผ่นโพลีไวนิลคลอไรด์กับผ้าใยแก้วหรือผ้าคาร์บอน โดยความเข้มเพาเวอร์สเปกตรัมที่มากจะแปรผันตรงกับพื้นที่ใต้กราฟ ซึ่งพื้นที่ใต้กราฟที่มากหมายถึงการยึดติดที่ดีด้วย ผลการทดลองพบว่าจุดที่มีการยึดติดมีพื้นที่ใต้กราฟมากกว่าจุดที่มีการยึดติดบางส่วนและมากกว่าจุดที่ไม่มีการยึดติด โดยรูปแบบพื้นที่จำแนกการไม่ยึดติดของวินเซิร์ฟ 1 มีค่า ≤ 0.23 dB2 วินเซิร์ฟ 2 ≤ 0.25 dB2 วินเซิร์ฟ 3 ≤ 0.36 dB2 วินเซิร์ฟ 4 ≤ 0.26dB2 และผลการทดสอบความแม่นยำของรูปแบบพื้นที่จำแนกการยึดติดของวินเซิร์ฟ 1 วินเซิร์ฟ 2 และ วินเซิร์ฟ 4 มีค่าเท่ากับ 80% และ วินเซิร์ฟ 3 มีค่าเท่ากับ 90% จากผลการทดลองพบว่า การพัฒนาการตรวจสอบการยึดติดด้วยการใช้เซนเซอร์เสียงนี้ สามารถนำไปใช้ตรวจสอบการไม่ยึดติดได้ โดยไม่ต้องอาศัยทักษะการตรวจสอบของพนักงาน


การออกแบบสถานีงานของสถานีตรวจสุขภาพนอกสถานที่, ภัทรพันธุ์ อังอติชาติ Jan 2019

การออกแบบสถานีงานของสถานีตรวจสุขภาพนอกสถานที่, ภัทรพันธุ์ อังอติชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงที่ผ่านมาองค์กรขนาดใหญ่ต่างเสนอสวัสดิการการตรวจสุขภาพประจำปี ณ สถานประกอบการเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานและรักษาจำนวนพนักงานในแต่ละวัน อย่างไรก็ดีบริการการตรวจสุขภาพดังกล่าวนั้นแตกต่างจากโรงพยาบาลและเป็นเรื่องท้าทายของผู้ให้บริการในการกำหนดทรัพยากรเพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยดังเช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กรณีศึกษาซึ่งดำเนินการผลิต 3 กะ งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายในการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับการไหลของพนักงานระหว่างการตรวจสุขภาพของโรงงานกรณีศึกษา เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดตารางตรวจคนไข้ การปรับจำนวนเจ้าหน้าที่ และลำดับสถานีของการตรวจสุขภาพนอกสถานที่ จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่ากระบวนการเก็บตัวอย่างเลือดเป็นขั้นตอนวิกฤติเนื่องจากพนักงานต้องงดน้ำและอาหาร นอกจากนี้กระบวนการดังกล่าวต้องเสร็จก่อนการเริ่มทำงาน ในขณะที่กระบวนการตรวจสุขภาพอื่นสามารถทำได้ระหว่างเวลาพัก หรือ วันถัดมา ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำเสนอการไหลของพนักงานและเปรียบเทียบนโยบายเพื่อปรับปรุงอรรถประโยชน์ของทรัพยากรด้วยแบบจำลองสถานการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์แบบจำลองพบว่า การจัดตารางตรวจคนไข้ การปรับจำนวนเจ้าหน้าที่ และลำดับสถานีของการตรวจสุขภาพนอกสถานที่ สามารถลดจำนวนเจ้าหน้าที่ไปได้ 16 คน จากทั้งหมด 82 คน และเพิ่มอรรถประโยชน์ขึ้น พร้อมทั้งลดการรบกวนเวลาทำงานของพนักงานกะแรกลง


การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม Jan 2019

การพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงานสำหรับการกลึงซีเอ็นซีโดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียม, อริชยา เผือกหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อพยากรณ์ความตรงและความขรุขระผิวชิ้นงาน ภายใต้กระบวนการการควบคุมด้วยเงื่อนไขการตัดและอัตราส่วนแรงตัดที่เกิดขึ้นในขณะกลึงซีเอ็นซีของชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน S45C ด้วยมีดคาร์ไบด์เคลือบผิว โดยมีเงื่อนไขการตัดที่ความเร็วตัด 100 - 260 เมตร/นาที อัตราการป้อนตัด 0.1 - 0.3 มิลลิเมตร/รอบ ความลึกในการตัด 0.2 - 0.8 มิลลิเมตร รัศมีจมูกมีดตัด 0.4 และ 0.8 มิลลิเมตร และมุมคายเศษวัสดุ -6 และ +11 องศา การแปลงฟูเรียร์อย่างเร็วถูกใช้เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงตัดและความขรุขระผิวในโดเมนความถี่ โดยพบว่ามีความถี่ที่ตรงกัน อัตราส่วนแรงตัดจึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อพยากรณ์ความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย (Ra), ความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด (Rz) และความตรงผิวชิ้นงาน (St) ในกระบวนการโดยที่เงื่อนไขการตัดไม่เปลี่ยนแปลงไป ค่าความตรงและความขรุขระผิวถูกคำนวณด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบสองชั้นป้อนไปข้างหน้า ซึ่งได้รับการฝึกฝนโดยใช้การเรียนรู้แบบแพร่ค่าย้อนกลับของเลเวนเบิร์ก-มาร์ควอร์ด จากการเปรียบเทียบผลการทดลอง พบว่าวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้การพยากรณ์ที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 67.96%, 69.50% และ 59.29% ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความแม่นยำสูง เมื่อทำการเปรียบเทียบกับโครงข่ายประสาทเทียมที่มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 61.19%, 67.96% และ 40.71% ตามลำดับ สำหรับชิ้นงานอะลูมิเนียม (Al 6063) อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอน (S45C) โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมที่ได้รับการฝึกสอนแล้วของค่าความขรุขระผิวชิ้นงานเฉลี่ย ค่าความขรุขระผิวชิ้นงานสูงสุด และค่าความตรงเบี่ยงหนีศูนย์มีค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 88.78%, 92.51% และ 91.89% ตามลำดับ ส่วนวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยสุดให้ค่าเฉลี่ยความแม่นยำเท่ากับ 91.89%, 91.79% and 91.85% ตามลำดับ