Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 107

Full-Text Articles in Educational Technology

การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ปวริศร์ ปิงเมือง Jan 2021

การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ปวริศร์ ปิงเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นของผู้ใช้งานโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างการสร้างโมไบล์แอปพลิเคชันกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาในการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 655 คนและครูผู้สอนมัธยมศึกษาจำนวน 5 คนและตัวอย่างในการทดลองเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 35 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลง เครื่องมือที่ใช้ทดลองการวิจัยได้แก่ 1) โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ และ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการการจัดการเรียนรู้ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) ภาระงานเขียนภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ 3) เกณฑ์การประเมินทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้โมไบล์แอปพลิเคชันและกระบวนการจัดการเรียนรู้ฯ ในกระบวนการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยกำหนดเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรราฐาน การทดสอบทีและ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. การสำรวจและการสัมภาษณ์ประสบการณ์ผู้ใช้และความต้องการจำเป็นของนักเรียนและครูในระดับมัธยมศึกษาตอนนั้นพบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ นักเรียนมีความต้องการเรียนทักษะการเขียนที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของนักเรียน ผ่านการศึกษาข้อผิดพลาด ตัวอย่างงานเขียน และรูปแบบการเขียน พร้อมกับการประเมินจากเพื่อนผู้เรียนและผลป้อนกลับที่มีประโยชน์จากครูผู้สอน 2. กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยโมไบล์แอปพลิเคชันช่วยการเรียนภาษาที่ใช้ภาระงานเป็นฐานและเกมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบได้แก่ 1) Pre-Task 2) Task Process และ 3) Language focus และ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) Selecting themes 2) Exploring topics 3) Drafting ideas 4) Editing tasks 5) Giving feedbacks 6) Review submissions และ 7) Concluding findings 3. การวิเคราะห์ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน พิจารณาข้อมูลจากคะแนนเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและการทดสอบหลังเรียนใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบที พบว่า ในภาพรวมการทดสอบก่อนเรียนมีระดับคะแนนอยู่ในระดับที่ ดี (Mean=18.08, SD= …


รูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ, ปองสิชฌ์ สิงห์ประไพ Jan 2021

รูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ, ปองสิชฌ์ สิงห์ประไพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ (2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิต และนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีลักษณะรายวิชาเกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาสื่อ ได้มาจากการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์ตามรูปแบบการฝึกงานทางไกลฯ แผนกำกับการฝึกงานที่สอดคล้องกับรูปแบบฯ แบบประเมินผลการฝึกงาน และแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเมื่อมีการวัดซ้ำ (One-way repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์แบบประเมินผลการฝึกงานของกลุ่มตัวอย่างหลังการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการ เฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.7, S.D.=0.75) 2) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการประเมินพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของกลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการฝึกงานด้วยรูปแบบการฝึกงานทางไกลด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลของครูก่อนประจำการทั้ง 3 ครั้ง พบว่า นิสิต และนักศึกษา ที่ประเมินพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 420.770, Sig = .000)


ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไป, เปรมิกา ฟ้าสว่าง Jan 2021

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไป, เปรมิกา ฟ้าสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไป 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไปกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยที่มีเพศสภาพ สถาบันการศึกษา สาขาวิชา และหลักสูตรแตกต่างกัน และ 4) วิเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไป ตัวอย่าง คือ 1) ผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 510 คนที่ตอบแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 7 ระดับ 2) ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จำนวน 16 คน ที่เข้าร่วมการสัมภาษณ์เชิงลึก และ 3) ผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 14 คนที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มออนไลน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไปมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 (2553, N = 510) = 4468.288, p < .001, CFI = .914, TLI = .901, SRMR = .056, RMSEA = .038) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด คือ การรับรู้ผลลัพธ์ทางการเรียนออนไลน์ (TE = .548) รองลงมาคือ เจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์ (TE = .351) ส่วนความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ไม่ส่งผลต่อเจตจำนงในการเรียนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมีค่าเฉลี่ยของระดับเจตจำนงในการเรียนออนไลน์สูงที่สุด (M = 5.35, SD = 0.93) รองลงมาคือ ผู้เรียนที่มีภาระงานประจำควบคู่กับการเรียนออนไลน์ (M = 5.28, SD = 0.94) แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเจตจำนงในการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัยในความปรกติถัดไป ได้แก่ 1) ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ 2) ให้ความสำคัญกับเจตคติของผู้เรียนไม่กำหนดเงื่อนไขในหลักสูตรที่เกินความจำเป็น 3) ควรมีความยืดหยุ่นสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและบริบทของสังคม และ 4) ควรเอาใจใส่ผู้เรียนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อภาวะการเรียนรู้ถดถอย


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ศราวุฒิ ช่วยเงิน Jan 2021

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ศราวุฒิ ช่วยเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ สังเคราะห์ทฤษฎี หลักการ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญตามแนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์ เว็บแอปพลิเคชัน การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 4) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้แก่ 1) มีความพร้อมในด้านการใช้เทคโนโลยี 2) มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และ 3) เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 4 ด้าน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินตนเอง (Self – Assessment) 3) แบบทดสอบเป็นแบบอัตนัย 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 6) แบบประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษา สังเคราะห์ทฤษฎี แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเป็นแนวคิดที่มุ่งสร้างประสบการณ์แก่ผู้เรียนและบูรณาการโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในการเข้าใจและแก้ไขปัญหาชุมชน ซึ่งทำให้เกิดการสังเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนและกำหนดขอบเขตการเรียนรู้ ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิม ขั้นไตร่ตรองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นดำเนินการศึกษาและเรียนรู้ ขั้นสรุปและสะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง 2. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 6 ขั้นตอนร่วมกับการใช้เว็บแอปพลิเคชันโดยมีฟังก์ชันสำคัญ ได้แก่ การอภิปรายกลุ่ม การตอบคำถาม เกม การวางแผนการทำงาน และการจดบันทึกรายการ โดยใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน 3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า 1) ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านความรู้ …


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก, อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ในระดับชั้นคลินิก, อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 3) ศึกษาผลและเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ 4) นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนกระบวนการวินิจฉัยโรคแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2563 ที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกของโรงพยาบาลจังหวัด จำนวน 45 คน มีระยะเวลาการทดลองทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม คือกลุ่มเรียนแบบปกติและกลุ่มเรียนแบบผสมผสาน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบวัดทักษะการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ซึ่งจะประเมินทักษะในกระบวนการวินิจฉัย 4 ทักษะ คือ การเลือกข้อมูลสำคัญ การกำหนดปัญหาสำคัญ การวินิจฉัยแยกโรค และการวินิจฉัยโรค ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์หลังเรียนมากกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยของการให้เหตุผลในการวินิจฉัยทางการแพทย์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รติมา สิงหโชติสุขแพทย์ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รติมา สิงหโชติสุขแพทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ 3) เว็บไซต์การเรียนรู้ตามรูปแบบฯ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน และ 3) บุคลากรในชุมชน โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูล 2) เพิ่มพูนประสบการณ์ 3) วิเคราะห์งานแก้ปัญหา 4) สร้างนวัตกรรมจากปัญญา และ 5) นำพาความรู้สู่ชุมชน ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นวลลออ ทวิชศรี Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นวลลออ ทวิชศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนารูปแบบการสอน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ 4) นำเสนอรูปแบบการสอน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนโดยการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการสอน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ ระยะที่ 4 รับรองและนำเสนอรูปแบบการสอน โดยระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการเรียน ตัวอย่างการวิจัยได้จากการเลือกอย่างเจาะจง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันและกรณีศึกษาตามหลักการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) แบบทดสอบความรู้ เรื่อง การสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล และ 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัญหาการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คือ ไม่กล้า ไม่มั่นใจ ไม่รู้หลักการและเทคนิคที่ดีและเหมาะสมในการสื่อสารขณะปฏิบัติงาน สาเหตุเนื่องจากไม่มีความรู้และประสบการณ์ มีโอกาสน้อยในการพัฒนาและฝึกทักษะการสื่อสาร ขาดตัวแบบที่ดี และอาจารย์หรือพยาบาลพี่เลี้ยงดูแลในการฝึกปฏิบัติไม่ทั่วถึง และการส่งเสริมพัฒนาความสามารถสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลมีความสำคัญและจำเป็น เนื่องด้วยการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพจะช่วยลดช่องว่างระหว่างบุคลากรทีมดูแลสุขภาพ ช่วยลดและป้องกันข้อผิดพลาดหรืออันตรายจากการสื่อสารในการปฏิบัติการพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ 2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผล 2) ระบบจัดการเรียนรู้ (LMS) 3) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในการเรียน 4) กรณีศึกษา และ 5) ผู้เรียนและผู้สอน และมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นสร้างประสบการณ์ ขั้นสะท้อนการเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ และขั้นที่ 3 …


การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, นฤบดี วรรธนาคม Jan 2020

การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา, นฤบดี วรรธนาคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะและสมรรถนะผู้ประกอบการและศึกษาสภาพความต้องการจำเป็น 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้และนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 ท่าน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน นิสิตนักศึกษาจำนวน 689 คน ทั่วประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันฯ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอพลิเคชันฯได้แก่ นิสิตนักศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองโมบายแอปพลิเคชันฯ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะผู้ประกอบการประกอบด้วย 6 ด้าน โมบายแอปพลิเคชันฯที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2) ซอฟต์แวร์ประมวลผล 3) การสื่อสารกับผู้ช่วยสอนส่วนบุคคล 4) กิจกรรมและสื่อการสอน 5) แบบประเมินผลผู้เรียน และผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการและความคิดสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เจษฎากร เพิ่มพรทวีสุข Jan 2020

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เจษฎากร เพิ่มพรทวีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยได้พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 จำนวน 919 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 30.86, SD = 4.83) 2. โมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านทักษะเฉพาะบุคคล (β = 0.59, p < .001) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = 0.24, p < .01) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยด้านอินเทอร์เน็ตและสื่อ (β = 0.59, p < .001) โดยส่งผ่านปัจจัยทักษะเฉพาะบุคคล ซึ่งโมเดลเชิงสาเหตุของการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 137.762, df = 50, p = 0.00, GFI = 0.97, AGFI = 0.95, RMR = 0.029, RMSEA = 0.043)


รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน, นพดล รุ่งเรืองธนาผล Jan 2020

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน, นพดล รุ่งเรืองธนาผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบรูปแบบฯ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในสภาพแวดล้อมเสมือนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงคำนวณและการสร้างคุณค่าร่วมกันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีระดับความสามารถต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ด้านการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ และด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเพื่องานวิจัย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนฯ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะเชิงคำนวณ แบบประเมินตนเอง ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อศึกษาพัฒนาด้านสมรรถนะเชิงคำนวณ และการสร้างคุณค่าร่วมกันโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบคะแนนแบบ Paired-samples T-Test และการวิเคราะห์แบบ One-Way ANOVA เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน คือ 1) ด้านแนวคิดเชิงคำนวณ 2) ด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3) ด้านสภาพแวดล้อมเสมือน 4) ด้านวิทยาการคำนวณ และ 5) ด้านการสร้างคุณค่าร่วมกัน ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีพัฒนาการด้านสมรรถนะเชิงคำนวณ และการสร้างคุณค่าร่วมกันหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลัก ของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ภาษิตา ชัยศิลปิน Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลัก ของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ภาษิตา ชัยศิลปิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมฯ ใน 2 ประเด็น คือ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 2.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ 1) ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจำนวน 10 คน 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 404 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินรูปแบบการสอนฯ 2) เว็บเควสต์ตามรูปแบบการสอนฯ และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์ฯ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย 2) แบบสอบถามฯ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าที (t-test) การวัดความเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการสอนโดยบูรณาการเว็บเควสต์ร่วมกับการใช้ 5 คำถามหลักของการรู้เท่าทันสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนให้เหตุผลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้และสื่อสังคม 3) กระบวนการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยเว็บเควสต์ 4) กระบวนการกลุ่ม และ 5) การประเมินผล มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ 1) สงสัยใฝ่รู้ 2) สำรวจดูภารกิจ 3) …


การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียน, กาญจนาภา วัฒนธรรม Jan 2020

การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียน, กาญจนาภา วัฒนธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลัง ประสบการณ์ และความต้องการจำเป็นของผู้ใช้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ 2) พัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ให้มีคุณภาพเหมาะสม 3) ศึกษาผลการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ซึ่งแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ มากที่สุด ด้านความต้องการจำเป็นพบว่าการรู้คำศัพท์ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร มีดัชนีลําดับความสําคัญของความต้องการจําเป็นสูงสุด ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง-พูดภาษาจีน พบว่า การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีน จำนวน 6 ท่าน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัยคือต้นแบบโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือดังกล่าวได้รับการประเมินคุณภาพระดับดีมาก ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือวิจัยคือ รูปแบบโมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ใช้โมไบล์แอปพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีเสียงในห้องเรียนกลับด้านฯ มีทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะและความมั่นใจในการฟัง-พูดภาษาจีนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนที่มีต่อความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, เบญจวรรณ งามอุไรรัตน์ Jan 2020

ผลการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนที่มีต่อความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, เบญจวรรณ งามอุไรรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านของนักเรียนจากการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือน 2) เปรียบเทียบผลความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่านก่อน และหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง 3) เปรียบเทียบผลความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่านระหว่างนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง และ 4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนในในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลจำนวน 35 คน และกลุ่มทดลองที่เรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคลร่วมกับผู้ช่วยเสมือนจำนวน 35 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเอง แบบประเมินผลงานนักเรียน และแบบประเมินนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบค่าทีแบบDependent และIndependent และค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ และความยึดมั่นผูกพันในการอ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) กลุ่มทดลองมีความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไม่แตกต่างกัน และ 3) ความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณและความยึดมั่นผูกพันในการอ่านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


Virtual Learning Prototype In Flipped Classroom For Developing English Listening And Reading Skills Of Undergraduates In Thai Higher Education Institutions, Hambalee Jehma Jan 2020

Virtual Learning Prototype In Flipped Classroom For Developing English Listening And Reading Skills Of Undergraduates In Thai Higher Education Institutions, Hambalee Jehma

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this research and development study was (1) to explore and analyze the level of English receptive skills of undergraduates studying in Thai higher education institutions, (2) to develop the prototype of virtual learning as implemented in flipped classrooms in improving Thai undergraduates' English receptive skills, and (3) to evaluate the effectiveness of the developed prototype of virtual learning as a tool implemented in flipped classrooms in developing Thai undergraduates' English receptive skills. The research methodology was explained as follows: the samples of this study were 160 undergraduate students, and 40 students from four regions of Thailand, namely …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่พัฒนาขึ้นส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 ห้องเรียน รวมจำนวนเป็น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ และแผนการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหุ่นยนต์ แบบวัดทักษะทางสังคม ใบกิจกรรมรายวิชาหุ่นยนต์ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม ที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) สื่อการเรียนการสอนสำหรับการสร้างทักษะทางสังคม 2) หุ่นยนต์ Lego 3) ใบงาน-ใบความรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม 5) สภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนหุ่นยนต์ และ 6) การสื่อสาร แลกเปลี่ยน และนำเสนอ โดนมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ 1) เกริ่นนำโดยการดึงดูดความสนใจ 2) ทบทวนความรู้เดิม 3) ชี้ให้เห็นข้อความสำคัญ 4) นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบของอุปกรณ์ 5) แสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดหมวดข้อมูล6) สร้างความเข้าใจในแต่ละหมวดหมู่ 7) แสดงให้เห็นถึงวิธีการใช้รหัสเพื่อจดจำรายการ 8) จัดเตรียมเรียนรู้ซ้ำและ 9) สร้างความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและทักษะเบื้องต้น ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00


การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด Jan 2019

การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน, อลิษา เมืองผุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ และ 4) เพื่อนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายฯ คือผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่าน ครู 10 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 980 คน ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วพื้นที่ 5 ภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพระบบ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองระบบฯ โมบายแอปพลิเคชันฯ แบบวัดสมรรถนะการจัดการทางการเงิน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล และการทดสอบค่าที (T-Test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบโมบายแอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ 2) กลยุทธ์เสริมการเรียนรู้ผ่านโมบาย 3) การติดต่อสื่อสารสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 4) กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอน และ 5) แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ โดยมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) เกริ่นนำและให้ความรู้ 2) ศึกษาสถานการณ์เรียนรู้ตามสภาพจริง 3) ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหา 4) เสริมความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญผ่านโมบายโดยการเสริมศักยภาพแบบยืดหยุ่น (Soft Scaffolding) และแบบคงที่ (Hard Scaffolding) 5) แบ่งปันในสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 6) อภิปรายและสรุปผลบนสื่อสังคม และ 7) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และหลังจากการวิเคราะห์ระดับความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการทางการเงิน พบว่า ผู้ที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้น้อยก็จะส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินน้อยไปด้วย แต่ในทางกลับกันผู้เรียนที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้มากส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินมากไปด้วย


การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นลิน คำแน่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาและเกมิฟิเคชัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงคำนวณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบฯ เว็บการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบการคิดเชิงคำนวณ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เป้าหมายการเรียน 4) เกมิฟิเคชัน 5) แหล่งเรียนรู้และเครื่องมือ และ 6) การวัดและประเมินผล โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การทำความเข้าใจปัญหา 3) การดำเนินการค้นคว้าข้อมูล 4) การวางแผนและร่างแบบจำลอง 5) การออกแบบและพัฒนาโปรแกรม และ 6) การนำเสนอผลงานและสะท้อนผล ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์, นุจรีย์ โลหะการ Jan 2019

โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์, นุจรีย์ โลหะการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย จำนวน 10 คน และนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างโมเดล แบบประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินรับรองโมเดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังเรียนบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) เนื้อหา 3) ขั้นตอน 3P 4) กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ ได้แก่ เส้นกริด สี เส้นโปรเจคชั่น และภาพเคลื่อนไหวโต้ตอบสามมิติ และ 5) คอร์สแวร์ 2. ขั้นตอนของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ดู 2) ฝึก และ 3) สรุปพยากรณ์ 3. ผลการทดลองใช้โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ พบว่า 1) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาออกแบบ ที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์เสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก และ 3) การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพที่ใช้มากที่สุดและมีประสิทธิภาพคือ สี


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, กิตติ ละออกุล Jan 2019

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, กิตติ ละออกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 2) ศึกษาผลของการใช้ รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอนและด้านการรู้ดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การทดลอง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ชุดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการรู้ดิจิทัล และแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลที่ใช้เทคนิคระดมสมองด้วยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สื่อการสอน (2) ผู้สอน (3) การระดมสมอง (4) อินโฟกราฟิกส์ และ (5) การวัดและประเมินผล มีขั้นตอน 5 ขั้นได้แก่ (1) กิจกรรมการเรียนการสอน และ กระตุ้นด้วยคำถาม (2) กิจกรรมระดมสมองภายในกลุ่ม เพื่อตอบคำถาม (3) กิจกรรมแชร์คำตอบ ค้นหาข้อสรุป (4) กิจกรรมระดมสมองเพื่อ สร้าง และ แชร์ ผลงาน และ (5) สรุปและประเมิน ผลการทดลองใช้รูปแบบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการรู้ดิจิทัลฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการรู้ดิจิทัลหลังเรียนของกลุ่ม ตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาไทยออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง, คัทลียา วิเลปะนะ Jan 2019

ผลของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาไทยออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง, คัทลียา วิเลปะนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาไทยออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของทักษะการสื่อสารด้วยวาจาระหว่างผู้เรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการของทักษะการสื่อสารด้วยวาจาของผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน และแผนจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการสื่อสารด้วยวาจา และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างการพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยวาจา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำชนิดสองทาง (Two-way repeated ANOVA measurement) และค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สองที่เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาไทยออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานมีทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวัดซ้ำ 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการสื่อสารด้วยวาจาสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภาษาออนไลน์โดยใช้ภาระงานเป็นฐานมีคะแนนพัฒนาการทักษะการสื่อสารด้วยวาจาเฉลี่ยสูงร้อยละ 54 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ, จิตราภรณ์ ไกรวรรณ์ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ, จิตราภรณ์ ไกรวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานที่มีต่อภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมของลูกเสือที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล ตัวอย่างวิจัย คือ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่กำลังศึกษาอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ฯ 2) แบบทดสอบด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล 3) แบบวัดภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นและพฤติกรรม การวิเคราะห์ผลข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ t-test dependent และการวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกันออนไลน์ 2) เนื้อหา 3) แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล และขั้นตอนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การสำรวจและค้นหา 3) การอธิบายและลงข้อสรุป 4) การแสดงความคิดเห็น 5) การถ่ายทอดความรู้ 6) การนำเสนอผลงาน และ 7) การติดตามและประเมินผล โดยผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ที่ 4.55 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเหมาะสมต่อการนำไปใช้ 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังเรียนของลูกเสือที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 43.19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับกลาง 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นและพฤติกรรมของลูกเสือที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังจากที่ได้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ฯ พบว่า ลูกเสือมีมุมมองความคิดเรื่องมารยาทในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีพฤติกรรมการใช้สื่อเครือข่ายสังคมที่ดีขึ้น โดยใช้คำพูดที่สุภาพ แบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล …


การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด Jan 2019

การพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น, ภัทรา จันทร์เกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนงานด้วยเว็บแอปพลิเคชันจำลองกระบวนการทางธุรกิจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจของหัวหน้างานระดับต้น 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงานฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาผลการใช้ชุดการสอนงาน คือ หัวหน้างานระดับปฏิบัติการส่วนงานคลังสินค้า เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยองจำนวน 20 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการสอนงาน แบบทดสอบวัดความสามารถในการตัดสินใจ แบบสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน แบบประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คู่มือ (2) สื่อ (3) เนื้อหา (4) กิจกรรม (5) แบบวัด มีขั้นตอนกิจกรรม 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) นำเสนอสถานการณ์ (2) ระบุปัญหาและขอบเขตที่ศึกษา (3) รวบรวมข้อมูล (4) สร้างทางเลือก (5) วิเคราะห์ทางเลือก (6) ตัดสินใจเลือก นอกจากนี้พบว่า ประสบการณ์การทำงานและพื้นฐานด้านสื่อเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรม โดยผลการใช้ชุดการสอนงานฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจหลังใช้ชุดการสอนสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, มูอาซ อับดุลเลาะแม Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, มูอาซ อับดุลเลาะแม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับ และผู้เชี่ยวชาญด้านประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบชุดการสอนฯ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการอ่าน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนการเรียนรู้ร่วมกันด้วยชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ชุดการสอน AR (2) ผู้สอน (3) ผู้เรียน (4) การเรียนรู้ร่วมกัน (5) การประเมินผล และมีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) เตรียมความพร้อมและแบ่งกลุ่ม (2) ครูอ่านออกเสียงและนักเรียนออกเสียงตาม (3) เข้ากลุ่มย่อยและเรียนรู้ร่วมกัน (4) ทำแบบฝึกหัดและรับผลป้อนกลับ (5) การประเมินกลุ่ม ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการอ่านหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571, ภัสส์ธีมา มาสิริธนาธิป Jan 2019

การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571, ภัสส์ธีมา มาสิริธนาธิป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบภควันตภาพ และ 3) พัฒนาและรับรองแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นการศึกษาเฉพาะบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคกลาง 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม ตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Mendelow's matrix) และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย คือ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม 2) การวิเคราะห์แหล่งทรัพยากร สังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด 3) การตั้งเป้าหมาย โดยการนำตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย 4) การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ โดยการใช้เทคนิค SWOT analysis และ TOWS matrix แบ่งเป็นสนทนากลุ่มแยกตามตำแหน่งงาน และ 5) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพของยุทธศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก จึงนำแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาราชภัฏมาทำประชาพิจารณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNIModified) และการจัดลำดับความต้องการจำเป็นผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จำนวน 48 คน และแบบสอบถาม จำนวน 419 ฉบับ พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านดังนี้ ด้านที่ 1 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย 4.28 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่ 2 อาจารย์มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.14 อยู่ในระดับมาก ด้านที่ 3 มหาวิทยาลัยมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ย 3.97 อยู่ในระดับมาก 2) ความต้องการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับการเรียนรู้ภควันตภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.03 อยู่ในระดับมาก และมีค่า PNIModified = 0.241 3) การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2562-2571 มีทั้งหมด 5 ยุทธศาสตร์ …


การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับกระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รักษณาลี นาครักษา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับกระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รักษณาลี นาครักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับกระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับกระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนภาษาอังกฤษสังคม โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40คน สำหรับการศึกษาบริบทการใช้งาน 2) ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ1) แหล่งข้อมูลสารสนเทศ 2) เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ครูและนักเรียน 4) เครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ 5) การประเมินผล 2) การรู้เรื่องภูมิศาสตร์หลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับกระบวนการสืบสอบและแผนที่แบบ 3 มิติทางภูมิศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการรู้ภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 2) สร้างและศึกษาคุณภาพรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 4) นำเสนอรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษาความต้องการรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ จากผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 434 คน 2) สร้างและศึกษาคุณภาพรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจเครื่องมือวิจัยและประเมินรูปแบบ จำนวน 7 คน 3) ศึกษาผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพฯ กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยี คือ ผู้สูงอายุชมรมหมู่บ้านนักกีฬาแหลมทอง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร และผู้สูงอายุศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงวัย ตำบลบางโฉลง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 20 คน และ 4) รับรองรูปแบบเทคโนโลยีฯ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิรับรองรูปแบบจำนวน 7 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุต้องการให้มีศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.69) และในด้านเทคโนโลยี ผู้สูงอายุต้องการใช้โปรแกรมในสมาร์ตโฟนหาความรู้สุขภาพเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.97) 2) รูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพในศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การจัดการ การจัดพื้นที่ สาระและเนื้อหา สื่อเทคโนโลยีส่งเสริมการเรียน และเครื่องมือประเมิน และมีการเรียน 3 ระยะ คือ เตรียมความพร้อมและวางแผนการเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมิน 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการใช้เทคโนโลยีฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยการรู้สุขภาพของผู้สูงอายุหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลประเมินความสำเร็จของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบเท่ากับร้อยละ 70 โดยพิจารณาจากเกณฑ์ 4 ด้านได้แก่ คะแนนพัฒนาการการรู้สุขภาพเพิ่มขึ้น คะแนนพฤติกรรมการเรียนในระดับดี คะแนนสมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับดี และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระดับมาก 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ …


การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี Jan 2019

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา, สุธิดา การีมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ มีตัวอย่างวิจัยดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และคุณครูระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 17 คน 2) ครูระดับประถมศึกษา จำนวน 8 คน เข้าร่วมวิจัยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น รวม 32 สัปดาห์ และ 3) ครู 84 คน จากโรงเรียนที่ทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2) แบบทดสอบวัดความรู้ 3) แบบประเมินตรวจสอบรายการฯ 4) แบบประเมินรูบริกส์ และ 5) แบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ทีมเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวก ผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน ปฏิสัมพันธ์และบริบทของโรงเรียน การดำเนินกิจกรรมของชุมชน แรงจูงใจ และแหล่งเรียนรู้ และมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) วางแผนร่วมกัน 3) วิเคราะห์และออกแบบร่วมกัน 4) นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) จัดการเรียนรู้และสังเกตการสอน และ 6) สะท้อนคิด 2. คะแนนประเมินหน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษาจากแบบประเมินรูบริกส์ระหว่างรอบที่ 1 และรอบที่ 2 พบว่า คุณครูที่เข้าร่วมวิจัยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงสมรรถนะทางด้านการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาและบางสมรรถนะมีผลคะแนนเฉลี่ยทั้งที่ลดลงและคงเดิม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ส่งผลให้คุณครูในระดับชั้นเดียวกันได้มีปฎิสัมพันธ์กันที่มีการผสมผสานทั้งแบบเผชิญหน้าร่วมกับการใช้ระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา อีกทั้งช่วยให้คุณครูมีเพื่อนร่วมปรึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างวิชา 3. ปัจจัยทางด้านโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่เอื้อให้ผู้สอนรวมกลุ่มเพื่อเป้าหมายในการพัฒนาทางวิชาชีพ การให้ความร่วมมือกับเพื่อนครูในระดับชั้นเดียวกันเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2) ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีที่มีต่อชุมชนแห่งการเรียนรูทางวิชาชีพแบบออนไลน์ ได้แก่ การใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการเอื้ออำนวยและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดของการพัฒนาบทเรียนร่วมกันภายในโรงเรียน …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, เดช พละเดช Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, เดช พละเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think – Talk – Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี อำเภอปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ใช้ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน สำหรับการศึกษาบริบทการใช้งาน 2) ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ฯประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบคือ 1) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน 2) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน 3) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหา 4) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องมือ 2) ความสามารถทางการสื่อสารของผู้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think - Talk - Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ผลของการนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ พบว่า ผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับดี


โมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบสอบบนฐานการโต้แย้ง, เจตนิพิฐ แท่นทอง Jan 2019

โมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยการสืบสอบบนฐานการโต้แย้ง, เจตนิพิฐ แท่นทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 105 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้ดัชนีความต้องการจำเป็น ตัวอย่างที่ทดลองออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ คือ ผู้วิจัย เมื่อผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จำนวน 40 คน วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการทดสอบที จากนั้นนำเสนอโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมและรับรองโมเดลการออกแบบ และรูปแบบของของสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบันไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์ แลัการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ได้เท่าที่ควรจะเป็น 2. ขั้นตอนของการการออบแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 18 ขั้นตอน 3. ผู้เรียนที่เรียนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงที่ส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีคะแนนการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่าโมเดลการออกแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก 5. ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีความเห็นว่ารูปแบบสถานการณ์จำลองเสมือนจริงส่งเสริมการสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดีมาก


รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง Jan 2019

รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์, เทพยพงษ์ เศษคึมบง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาเอกสารและความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ในโลกเสมือน การคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน และส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ฯ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 67 คน และจัดทีมแบบคละความสามารถออกเป็น 14 ทีม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3 มิติ (โลกเสมือน) และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบสังเกตการมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน แบบประเมินคุณภาพของผลงานการจัดนิทรรศการทางการศึกษาในโลกเสมือนของนักศึกษา และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างการคิดสร้างสรรค์ร่วมกันสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โลกเสมือน 2) การจัดสภาพแวดล้อม 3 มิติ 3) เครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน 4) กิจกรรมการเรียนรู้ในโลกเสมือน 5) บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง 6) ส่วนประกอบที่สนับสนุนการคิดสร้างสรรค์ของทีมเสมือน และ 7) การประเมินผล และประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) เตรียมการในชั้นเรียนปกติ 2) ร่วมเรียนรู้ในโลกเสมือนด้วยการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ร่วมสำรวจตรวจตราสถานการณ์ 2.2) ร่วมคิดร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ 2.3) ร่วมค้นคว้าสืบเสาะข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ 2.4) ร่วมเสนอแนวทางในการแก้ไขสถานการณ์ 2.5) ร่วมคัดร่วมเลือกวิธีการแก้ไขสถานการณ์ และ 2.6) ร่วมสรุปแนวคิดการแก้ไขสถานการณ์ …