Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Articles 31 - 34 of 34

Full-Text Articles in Art Education

การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล Jan 2017

การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอนและการใช้ห้องปฏิบัติการเครื่องเคลือบดินเผาในหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ 2) หลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา และ 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม และเพื่อนำเสนอรูปแบบการสอนที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธีดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสมผสาน ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน 3 หลักสูตร และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเคลือบดินเผา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลมาจำแนกและจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ แล้วเปรียบเทียบหารูปแบบการสอนที่สำคัญของแต่ละหลักสูตร 2) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ผู้สอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 - 4 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม พร้อมการสังเกตลักษณะและการใช้ห้องปฏิบัติการ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรผลิตครูศิลปะส่วนใหญ่ให้ความสำคัญคือคำนึงถึงการเป็นต้นแบบการสอนที่ดี การตั้งคำถามและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่วนหลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา พบว่าอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสอนเทคนิคต่างๆจากตัวอย่างงานหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนนำมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ และในหลักสูตรการผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม พบว่าอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างแนวคิด (Concept) หรือโจทย์แก่ผู้เรียนนำไปแก้ปัญหาในการออกแบบ
รูปแบบการสอนเครื่องเคลือบดินเผา 3 หลักสูตรสรุปได้ดังนี้ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ เรียนรู้กระบวนการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่เน้นการสำรวจประสบการณ์ที่ครอบคลุมในกระบวนการสร้างสรรค์ กิจกรรมการสอนเน้นปลูกฝังคุณค่าของการเป็นครูต้นแบบ และการออกแบบแผนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะทางเครื่องเคลือบดินเผาไปใช้สอนได้จริง วัดและประเมินผลจากความเข้าใจในกระบวนการผลิตงาน และกระบวนการคิดในการออกแบบแผนการสอน 2) หลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา เรียนรู้กระบวนผลิตชิ้นงานทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ กิจกรรมการสอนเน้นคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ หลักการทางสุนทรียภาพ อารมณ์ความรู้สึกของชิ้นงาน รวมถึงการเรียนรู้เทคนิคทางเครื่องเคลือบดินเผาที่หลากหลายผ่านตัวอย่างงานของศิลปิน ซึ่งหลักสูตรนี้จะวัดและประเมินผลจากพัฒนาการด้านทักษะ ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม เรียนรู้หลักการออกแบบที่คำนึงถึงความงามหน้าที่ใช้สอย และกระบวนผลิตชิ้นงานทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในเชิงอุตสาหกรรม นอกจากนี้กิจกรรมการสอนเน้นการแก้ปัญหาทางการออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งหลักสูตรนี้จะวัดและประเมินผลจากกระบวนการคิดและการออกแบบ


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม Jan 2017

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ชุดที่ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของศิลปหัตถกรรมภาคใต้ และเพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม BestPractice 2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ชุดที่ 2 เครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชนประกอบด้วย 1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบประเมินพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเน้นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลาย ที่ได้แรงบันดาลมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2) ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้จำนวน 6 กิจกรรม 1) กิจกรรมเข็มกลัดจากหนังตะลุง 2) กิจกรรมผ้ายกกระดาษ 3) กิจกรรมตกแต่งหม้อสทิงหม้อ4) กิจกรรมสมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส 5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 6) กิจกรรมด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3) ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน มีระดับการเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (x̄=51.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (x̄= 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, บุญยนุช สิทธาจารย์ Jan 2017

การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, บุญยนุช สิทธาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสะตีมศึกษาและพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา 3 คน 2) ครูด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา จำนวน 3 คน 3) ครูที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสอนศิลปะแบบบูรณาการ จำนวน 3 คน 4) ครูศิลปะในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 คน 5) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินชุดการสอน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดสะตีมศึกษาเป็นการนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์มาใช้ในการสร้างชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นความสนใจด้วยสื่อที่หลากหลาย ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อนำสู่เรื่องที่สอน สาธิตวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน มอบหมายงานให้นักเรียนปฏิบัติโดยให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า วางแผน ออกแบบ และลงปฏิบัติมือตามที่ออกแบบไว้ นำเสนอผลงาน สะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม 2. ชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนคิดอย่างเป็นองค์รวมโดยการนำความรู้ 5 ศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน มีหลักการสำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย การบูรณาการ 5 ศาสตร์ การทำงานเป็นทีม และกระบวนการสร้างสรรค์ มีการออกแบบกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักสูตรแกนกลางของแต่ละวิชาและสอดแทรกเนื้อหาความเป็นไทยผ่าน 5 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ตะลุงหลากสี 2) ดนตรีสื่อสาร 3) นิทานสัตว์หรรษา 4) นาวาลูกโป่ง และ 5) บ้านสามมิติ 3. ผลการตรวจชุดการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า ชุดการสอนมีคุณภาพในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.36) 4. ผลจากการนำชุดการสอนไปทำการทดลองกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 …


รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, ปทุมมา บำเพ็ญทาน Jan 2017

รูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ, ปทุมมา บำเพ็ญทาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของไทยในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะในพิพิธภัณฑ์ และ 3) ศึกษาผลการใช้และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะในพิพิธภัณฑ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามสำหรับครูทัศนศิลป์ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์บุคลากรในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ การวิจัยภาคสนามในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และการศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาและรูปแบบที่ควรจะเป็นจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) การพัฒนารูปแบบโดยสังเคราะห์ข้อมูลการวิจัยระยะที่ 1 ทดลองใช้ร่างรูปแบบ และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) การใช้รูปแบบกับตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ในนิทรรศการที่มีเนื้อหาแตกต่างกัน ด้วยแผนการทดลอง 2 กลุ่ม วัดผลหลังกิจกรรม และนำเสนอรูปแบบ เครื่องมือการทดลองประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรม ใบงาน คู่มือการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ศิลปะในพิพิธภัณฑ์ศิลปะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) รวบรวมข้อมูล 2) พิจารณารายละเอียดข้อมูล 3) วิเคราะห์และจำแนกข้อมูล 4) สรุปและตีความโดยใช้เหตุผล และ 5) ประเมินและตัดสินใจโดยใช้เหตุผล เชื่อมโยงกับมิติการคิด 3 ด้าน คือ ด้านองค์ประกอบศิลป์ มโนทัศน์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ ผ่านกระบวนการทำความเข้าใจศิลปะ อภิปรายแสดงความคิดเห็น และสร้างงานศิลปะ โดยเน้นพฤติกรรมการแสดงออก 6 ข้อ คือ อธิบาย ตีความผลงาน เปรียบเทียบผลงาน แสดงมุมมองของตนเอง เข้าใจมุมมองของผู้อื่น และสร้างงานศิลปะ โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ วิทยากร ครูผู้สอน นักเรียน สื่อ และบรรยากาศการเรียนรู้ ซึ่งกลไกสนับสนุนประกอบด้วย การพัฒนาการเข้าถึง การพัฒนาความรับผิดชอบ และการพัฒนาความร่วมมือ ผลการใช้รูปแบบสรุปได้ว่า …