Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 34

Full-Text Articles in Art Education

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์ Jan 2022

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ โดยได้จากการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบอาชีพทางศิลปะ จำนวน 24 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมมิฟิเคชัน 1 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษา 1 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลหลังจากการใช้นวัตกรรม ด้วยแบบประเมินความเข้าใจในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนานวัตกรรมสรุปได้ว่า นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) Find Myself การใช้แบบประเมิน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินความเหมาะสมของตนเองกับสาขาทางศิลปะ โดยใช้กลไกของเกมมิฟิเคชันในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) Based on True Stories การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ 3) My Way in Art Careers การให้ข้อมูลสถาบันการศึกษาศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย 4) Design your Life in Art Careers การตัดสินใจเลือกอาชีพและวางแผนการศึกษาในอนาคต ผลการทดลองสรุปได้ว่า 1) หลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนมีความเข้าใจในตนเองรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.32, …


การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและคณะ ด้านพุทธิพิสัยและด้านจิตพิสัย ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทย หลักการการจัดกิจกรรมศิลปะชุมชน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ 3) ปราชญ์ชุมชน 4) ครูผู้สอนในสถานศึกษาท้องถิ่น 5) ผู้จัดกิจกรรมศิลปะชุมชน รวมจำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชุดกิจกรรม คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างงานลายคำกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ได้แก่ เยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปาง 2) แบบวัดเจตคติต่อการเห็นคุณค่างานลายคำสกุลช่างลำปาง 3) แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าจากการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการสร้างสรรค์งานลายคำสกุลช่างลำปาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเอกสารและสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วยหลักการจัดกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านรูปแบบกิจกรรม 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเผยแพร่ ชุดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเรียนรู้ชุมชนยลงานศิลปกรรม 2) กิจกรรม 4 เทคนิคของงานลายคำ 3) กิจกรรมร่วมมือสร้างสรรค์ ลายคำร่วมสมัย 4) กิจกรรมนิทรรศการสร้างศิลป์ถิ่นลำปาง ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในพื้นที่จังหวัดลำปางมีความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมาก (x̄=8.33) จากคะแนนเต็ม 10 และมีเจตคติที่ดีต่องานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมากที่สุด (x̄=4.68) …


การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี Jan 2022

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดน่านมีความโดดเด่นด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยเฉพาะศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่นอกจากจะงดงามด้วยสีสันและความวิจิตรบรรจงของการทอแล้ว ลวดลายต่าง ๆ ยังมีความหมายที่สะท้อนถึงความเชื่อ สอดคล้องกับความนิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งการอนุรักษ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านสามารถทำได้ด้วยการอนุรักษ์ให้คงลักษณะสภาพเดิม และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานเชิงท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และการจัดกิจกรรมศิลปะ ระยะพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสาน ระยะศึกษาทดลองใช้กิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน 2) นักท่องเที่ยวไทยที่เคยมาเที่ยวจังหวัดน่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ 4) ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกศิลปะพื้นบ้านกลุ่มตัวอย่าง และ 6) นักท่องเที่ยวไทย 3 กลุ่มช่วงวัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสังเกตการจัดกิจกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินการเห็นคุณค่า แบบสะท้อนคิด แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน พบว่า 1.1) ลวดลายของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลายเรขาคณิต กลุ่มลายสิ่งของเครื่องใช้และลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มลายธรรมชาติ 1.2) ความหมายของลวดลายศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มป้องกันปราบปราม กลุ่มเจริญเฟื่องฟู กลุ่มบูชาโชคลาภ กลุ่มงดงามคู่ครอง 1.3) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน มีจำนวนทั้งหมด 12 สี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีม่วง สีบานเย็น สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีเขียว สีเงิน และสีทอง 1.4) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านมีความสัมพันธ์กับความหมายตามความเชื่อมูเตลูในด้านการแสดงความรู้สึกตามทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก แบ่งเป็นด้านการงานการเงิน ด้านการเรียน ด้านความรัก ด้านสุขภาพ ด้านแคล้วคลาดจากอันตราย ด้านดึงดูดพลังงานดี ๆ และด้านอื่น …


รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2022

รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (1) ระยะพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ (2) ระยะการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ และ (3) ระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 18 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวม 48 ครั้ง โดยใช้แบบแผนการทดลอง Single Subject Design ประเภท A-B-A-B Design ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ เป็นการเรียนรู้เชิงรุก เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักบทบาทของตนเอง และแสดงออกทางความคิด การกระทำ และอารมณ์อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ (1) การใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการพัฒนาประสบการณ์ทางปัญญาผ่านประสาทการรับรู้ต่าง ๆ (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น ในการเลือกและตัดสินใจ ลองผิดลองถูก และลงมือทำผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3) การจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก่ การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการกำกับตนเอง และ (4) การจัดให้เด็กเกิดกระบวนการคิดผ่านการตั้งคำถาม การสาธิต และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเกิดแรงบันดาลใจ (2) ขั้นแบ่งปัน และ (3) ขั้นลงมือทำ และ 2) เด็กมีความสามารถคิดบริหารจัดการตนสูงขึ้น โดยทุกองค์ประกอบมีคะแนนสูงขึ้น แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมเมื่อใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ประกอบด้วย (1) การยั้งคิดไตร่ตรอง เด็กสามารถอดทนรอคอย จดจ่อ ไม่ขัดจังหวะหรือพูด ปฏิบัติและยอมรับกฎกติกาโดยไม่ต่อต้าน (2) การยืดหยุ่นความคิด …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรณีศึกษา: ครูผู้สอนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 3 ท่าน และกรณีศึกษา: ผู้เรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน แบบพหุเทศะกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปศึกษา และด้านการสอนระดับประถมศึกษา ในระยะที่ 3 ขั้นทดสอบประสทิธิภาพของกิจกรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 20 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะ และ 4) แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก นำมาซึ่ง …


รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ Jan 2022

รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวัฒนธรรม จำนวน 3 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมศิลปศึกษา จำนวน 3 คน 4. ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน และ 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2. แบบวัดความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 3. แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 หลักการ (ERES) ดังนี้1) การสร้างความรู้ซึ้งถึงความรู้สึก (E: Empathy) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2) การสร้างบทบาทสมมติ (R: Role Acting) โดยการสวมบทบาทสมมติผ่านหุ่นละคร 3) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (E: Exchanging) เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเพื่อนร่วมชั้น และ4) การแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ (S: Sharing) โดยการนำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกับเพื่อนร่วมชั้น เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศด้านที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความเข้าใจมากที่สุดคือ ด้านความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 3.63) ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมหลังการทดลอง พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.10, S.D. …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการสอนในชั้นเรียนปฐมวัยที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 3 โรงเรียน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ประกอบด้วย ครูปฐมวัย 2 ท่าน ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ที่สอนในระดับปฐมวัย 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะเด็ก 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย 2 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษา 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการสอน และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 2) ระยะทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 28 คน และครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจสำหรับนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบไปด้วย 4 หลักการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสบการณ์สุนทรียะ (Aesthetic Experiences) 2) ประสบการณ์การสร้างงานศิลปะ (Art making Experiences) 3) การเข้าสู่โลกศิลปะ (Encounters with art) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement) โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและเชื่อมโยงประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย ด้วยการใช้สื่อของจริงร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ขั้นสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการนำกิจกรรมศิลปะปฏิบัติแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และ …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในศิลปะพื้นบ้าน 2) ศึกษาการนำชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษไปใช้เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ​​3 ใช้เครื่องมือวิจัยจำนวน 2 ชุด คือ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 5 กลุ่ม คือ 1) ศิลปินพื้นบ้านที่ทำงานกระดาษ 2) ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ผลงานงานจากกระดาษ 3) นักออกแบบที่สร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพื้นบ้าน 4) ครูสอนวิชาศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) นักวิชาการด้านศิลปศึกษาที่เชี่ยวชาญการใช้ชุมชนเป็นฐาน เครื่องมือศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบประเมินการเห็นคุณค่างานศิลปะพื้นบ้าน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 3) แบบสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ได้ดังนี้ ตอนที่ 1 ​ด้านรูปแบบชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) รู้จักศิลปะพื้นบ้าน 2) สร้างสรรค์งานศิลป์ร่วมกับปราชญ์และ 3) จากงานศิลปะพื้นบ้านสู่งานออกแบบ โดยกิจกรรมทุกชุดจะประกอบไปด้วยหลักการ 3 หลักการ คือ 1) การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ 2) การสะท้อนคิดการเรียนรู้และ 3) การสรุปองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ ตอนที่ 2 เมื่อนำชุดกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้พบว่า ผลการใช้ชุดกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเห็นคุณค่าหลายระดับ คือ มีการเห็นคุณค่าในขั้นรับรู้ ​ที่นักเรียนสามารถบอกลักษณะ ชนิดและประเภทของงานศิลปะพื้นบ้านได้ สามารถตอบคำถามครูผู้สอนได้ การเห็นคุณค่าในขั้นการตอบสนองคุณค่าโดยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็น คือ นักเรียนมีความสนใจในชุดกิจกรรมและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมจนเสร็จ นอกจากนี้ยังมีความสนใจและแสดงอารมณ์ร่วมเชิงบวกต่อกิจกรรมหรือศิลปะพื้นบ้าน และระดับการเห็นคุณค่า ขั้นการรู้คุณค่า นักเรียนแสดงออกผ่านการบอกคุณค่าของงานศิลปะพื้นบ้านได้ มีการบันทึกสิ่งที่นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมและสามารถนำองค์ความรู้จากศิลปะพื้นบ้านมาต่อยอด ประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง จากการสะท้อนคิดพบว่า กิจกรรมศิลปะสามารถช่วยเสริมสร้างระดับการเห็นคุณค่าที่สูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่การเห็นคุณค่า ขั้นรับรู้คุณค่า คือ นักเรียนมีความสนใจ ชื่นชอบกิจกรรม …


ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์ Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาข้อมูลรูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) แพทย์ และ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน 4) ผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันที่ผ่านการเป็นโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ส่วนระยะที่สอง ใช้เครื่องมือจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) แบบสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่อการทำกิจกรรมศิลปะ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับโรคพาร์กินสัน (PDQ - 39) 5) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมศิลปะ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันต่อรูปแบบกิจกรรมศิลปะ โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 14 คน กลุ่มควบคุม 14 คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน คือ “พาร์สร้างงานศิลป์” ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ศิลปะการเคลื่อนไหว (Activation) ที่สร้างเสริมด้านร่างกาย 2) ร่วมใจสร้างงานศิลป์ (Participation) สร้างเสริมด้านสังคม 3) จินตนาการสู่งานสร้างสรรค์ (Creation) สร้างเสริมด้านปัญญา 4) ประสานสัมพันธ์งานศิลป์ (Co-ordination) …


การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล Jan 2021

การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ และการจัดการเรียนการสอนจิตรกรรมไทย 2) พัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศึกษา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปบัณฑิต ศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทย นักอนุรักษ์จิตรกรรมไทย นักประวัติศาสตร์ศิลป์และทฤษฎีศิลป์ 2) สถาบันระดับปริญญาบัณฑิตที่มีการสอนรายวิชาเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยในหลักสูตรศิลปศึกษา จำนวน 2 แห่ง 3) นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบรับรองรายวิชา ผลการวิจัยพบว่ารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยประเพณี การอนุรักษ์จิตรกรรมไทย และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ได้ 2) เนื้อหา ด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ได้แก่ คุณค่าในด้านเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิควิธีการ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ได้แก่ การอนุรักษ์ในเชิงสงวนรักษาที่ครอบคลุมถึงหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกัน และการอนุรักษ์ในรูปแบบศึกษาและเผยแพร่ ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวทางและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความร่วมสมัย 3) วิธีการสอน ใช้การบรรยายในด้านทฤษฎี ส่วนการปฏิบัติใช้วิธีการสาธิตและให้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง พร้อมทั้งมีการศึกษานอกสถานที่ 4) สื่อการสอน ได้แก่ วัสดุในการทำงานจิตรกรรมไทยของผู้เรียน ภาพประกอบการบรรยาย รวมถึงผลงานและสถานที่จริง 5) การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดจากความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณค่าของจิตรกรรมไทยประเพณีและหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ด้านทักษะพิสัย ประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองเทคนิคทางด้านจิตรกรรมไทยและผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ โดยประเมินกระบวนการทำงานควบคู่ไปกับผลงาน จิตพิสัย วัดจากการนำเสนอคุณค่าทางด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ผลจากการประเมินผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ของผู้เรียนจากการทดลองใช้รายวิชาพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม โดยในด้านเนื้อหา ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการประยุกต์ใช้เนื้อหาเรื่องราวทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ผลงาน ด้านเทคนิคและกระบวนการ ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม และด้านการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในส่วนของความสมบูรณ์ของผลงานการสร้างสรรค์ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรายวิชาที่ทำการทดลงใช้พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (x=4.88) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจมากที่สุด คือ …


การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ มีเป้าหมายเพื่อการจัดการศึกษาระยะสั้นแก่เยาวชนในฐานะแรงงานสร้างสรรค์ของภาคเหนือให้สามารถออกแบบนวัตศิลป์ที่นำเสนอเรื่องราวและคุณค่าเดิมของศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและคุณค่าใหม่ตามแนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อันจะนำไปสู่การมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และสามารถนำไปแข่งขันเชิงนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร นวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา และประเมินคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น ประกอบด้วย 1) เยาวชนในภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบ จำนวน 5 คน และ 3) ผู้ประกอบการด้านนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการประเมินคุณภาพหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน และ 2) เยาวชนที่มีความสนใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และอยากพัฒนาต่อยอดธุรกิจนวัตศิลป์ล้านนา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบสะท้อนความคิด และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ ด้านความรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ด้านความรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมล้านนา ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และด้านการออกแบบหลักสูตร โดยพบว่าการมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงที่สุด เท่ากับ 0.364 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการคิดเชิงออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาและมีแนวทางในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรมีลักษณะเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบูรณาการเนื้อหาข้ามศาสตร์ (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ และ (3) ด้านการออกแบบหลักสูตร และ 3) ด้านภาพรวมของคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.219) โดยภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผลการสะท้อนคิดของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03, S.D. …


การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ Jan 2021

การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 4กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 2. อาจารย์ผู้สอนวิชาประติมากรรมตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 3. สถาบันระดับอุดมศึกษาในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 2แห่ง และ 4. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 10คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการสอน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติจากแบบสังเกตการสอน มี 4องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมการสอน ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน สื่อประกอบเนื้อหาการสอน สภาพห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ สื่อประเภทข่าวสาร เนื้อหาจำเพาะ วิธีการ ตัวอย่างผลงาน 1.2 กระบวนการสอน จัดเนื้อหาการสอนสร้างชิ้นงานตั้งแต่สอนความรู้พื้นฐานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีการสอนในแต่ละด้าน 1.3 การดำเนินการสอน ด้วยสื่อการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน 1.4 พฤติกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย ความสนใจของผู้เรียนระหว่างทำการสอนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 2. กระบวนการสร้างและวิธีการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล ครอบคลุมถึงกระบวนการทั้ง 5ด้าน ประกอบด้วย 2.1 ด้านการออกแบบตัวละคร 2.2 ด้านการวิเคราะห์แบบตัวละคร 2.3 ด้านการสร้างและตกแต่งชิ้นงาน 2.4 ด้านการสร้างความสมจริง และ 2.5 ด้านการประเมินผลงาน โดยใช้มีวิธีการสอนแบบบรรยาย สอนแบบคิดวิเคราะห์ สอนแบบอภิปรายผล สอนแบบสาธิตใช้ตัวอย่างประกอบ และสอนแบบสืบสวนสอบสวน 3. รูปแบบกิจกรรมสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล มีการจัดลำดับเนื้อหาโดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมสู่เทคนิคการสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เข้าใจวิธีการออกแบบสร้างชิ้นงานตามเวลาที่กำหนด ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสร้างตัวละครโดยประเมินดูจากความถูกต้องตามแนวคิดที่วางไว้ ผลการตรวจสอบรับรองคุณภาพกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและพัฒนาชุดกิจกรรมของกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มกับตัวอย่างในการศึกษาแนวทาง คือ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ศิลปินภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5 กิจกรรม โดยนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรม คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 79 ปี ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่จำแนกเพศในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและสมัครใจ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับศิลปินภาพพิมพ์ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ 4) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5) ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 6) แบบประเมินการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะผ่านชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 7) แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 8) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษ 9) แบบบันทึกผลการทดลองสำหรับผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) ทำสีพิมพ์ 2) พิมพ์ภาพด้วยการพับ 3) พิมพ์ภาพด้วยกระดาษลัง 4) พิมพ์ภาพผ่านช่องฉลุ 5) พิมพ์ภาพผ่านร่องลึก ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีผลการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุหลังทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่ 3.32 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าการกระจายตัวน้อยอยู่ที่ 0.19 สามารถแปลผลได้ว่า ในด้านร่างกาย ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ได้โดยไม่ใช้กำลังมากจนก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า ในด้านจิตใจ ผู้สูงอายุรู้สึกดีต่อการทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ มีความเพลิดเพลิน สามารถจดจำกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะภาพพิมพ์ได้ และมีความพึงพอใจในผลงงานของตนเอง ในด้านสังคม ผู้สูงอายุและลูกหลานหรือเพื่อนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน …


การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย, สุชาติ ทองสิมา Jan 2020

การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย, สุชาติ ทองสิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาและบริบทร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษาและกำหนดลักษณะหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัยที่ผู้ใช้หลักสูตรต้องการ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาค้นคว้าตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษาและด้านบริบทร่วมสมัย 19 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร 803 คน 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย และจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษาและด้านบริบทร่วมสมัย 12 คน เพื่อประเมินร่างนวัตกรรมหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการกำหนดกรอบประเด็น การให้รหัส/ทำดัชนี ตีความและสรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยระยะแรกพบว่า กรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาควรประกอบด้วย 7 แนวคิดคือ 1) ทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐาน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา 3) เทคโนโลยีและนวัตกรรมศิลปศึกษา 4) ศิลปศึกษาเพื่อภูมิปัญญาและท้องถิ่น 5) การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปศึกษา 6) ศิลปศึกษาตามศักยภาพบุคคล และ7) สหศาสตร์ศิลปศึกษา ส่วนแนวคิดบริบทร่วมสมัยประกอบด้วย 5 แนวคิดคือ 1) ลักษณะความเป็นส่วนบุคคล 2) ความเป็นสหวิทยาการ 3) ความเป็นท้องถิ่น 4) การสร้างนวัตกรรม 5) การเงินและการประกอบการ ผลการวิจัยระยะที่สองพบว่า กลุ่มอาจารย์มีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด กลุ่มบัณฑิตมีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาสูงสุด กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด ผลการวิจัยระยะที่สามพบว่า นวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัยคือ หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้แบบรายบุคคลที่กำหนดหน่วยกิตวิชาเลือกมากกว่าหน่วยกิตวิชาบังคับในกลุ่มวิชาเอก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและความสนใจ และมีเนื้อหาหลักสูตรในลักษณะของการบูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งการบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะอันได้แก่ สาขาวิชาดนตรีศึกษา และนาฏศิลป์ศึกษา และการบูรณาการกับสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน, สมพงษ์ เลิศวิมลเกษม Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน, สมพงษ์ เลิศวิมลเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทที่มีผลต่อการรับรู้ทางสุนทรียะ กลุ่มตัวอย่างสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนากิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มคนวัยทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงและ นักแสดงมืออาชีพ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพ และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่างคนวัยทำงานขณะร่วมกิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีท ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับคนวัยทำงาน มีวิธีการสร้าง และลักษณะการเกิดสุนทรียภาพที่คล้ายคลึงกัน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ เส้น สี รูปร่าง ช่องว่าง การทำซ้ำ ความกลมกลืน การตัดกัน การใช้ลวดลาย 2) การพัฒนากิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพ มี 4 องค์ประกอบหลัก 1) เนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจเช่น เนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่ายหรือใกล้กับชีวิตประจำวัน เรื่องตลกขบขัน 2) รูปแบบการแสดง ที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยการสร้างภาพเชิงทัศน์บูรณาการผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายของศิลปะการแสดงแบบสตรีท 3) การแต่งกาย ที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) การออกแบบการเกิดสุนทรียภาพ 5 ระดับ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 15 นาที นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นสามารถจัดได้ในสถานที่ปิด เช่นในห้อง หรืออาคาร และสถานที่เปิดเช่น บนถนน หรือในสวนสาธารณะ


การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย, สุภิญญา สมทา Jan 2020

การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย, สุภิญญา สมทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย มีความเข้าใจมีความสามารถในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้าน ด้านการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านการเรียนการสอนศิลปศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้านการสอนในบริบทการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม 3) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้หลายมิติ โดยใช้เนื้อหาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในเชิงเปรียบเทียบและบูรณาการ เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ให้แก่ผู้เรียนในวัยประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ แนวทางคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก แนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ 3 ด้าน (ความรู้ ทักษะ ลักษณะนิสัย) วิธีการสอนแบบเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เนื้อหาที่เหมาะสมและใกล้ตัวผู้เรียน และสื่อหลากหลายประเภท ทั้งเทคโนโลยีที่สร้างอารมณ์และความสนุกสนาน นำมาซึ่ง 2) …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น, จิราพร พนมสวย Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น, จิราพร พนมสวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กประถมศึกษาตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการเห็นในโรงเรียนเฉพาะทาง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง 6 คน ช่วงอายุ 6-12 ปี จากโรงเรียนสอนตาบอดกรุงเทพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเห็น 2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่สร้างประสบการณ์สุนทรียะ 3) รายการตรวจสอบประสบการณ์เดิมก่อนการทำกิจกรรม 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังจากทำกิจกรรม และ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ (MATA) ดังนี้ 1) พหุประสาทสัมผัส (M: Mutiple Sensories) เป็นการใช้พหุประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม 2) วิธีการสอนเชิงสุนทรียะ (A: Aesthetical Teaching) เป็นวิธีการสอนโดยสร้างประสบการณ์ตรง ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ความเหมือนจริงจากวัตถุจริง เรียนรู้เทคนิคทางศิลปะของศิลปิน และเน้นความสนุกสนาน 3) สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่มีผิวสัมผัส (T: Tactile Media) เป็นการใช้สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่เน้นการสัมผัส รวมถึงส่งเสริมการได้ยิน และการดมกลิ่น และ 4) การวัด และประเมินผล (A: Assessment) เป็นการวัดและประเมินผลประสบการณ์สุนทรียะด้วยการสังเกตและการสอบถาม เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของประสบการณ์สุนทรียะของนักเรียนอยู่ระดับที่ 2 ความงามและความจริง และประสบการณ์สุนทรียะขั้นสูงสุดที่นักเรียนทำได้ คือ ระดับที่ 3 การแสดงออก


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชลนิศา ชุติมาสนทิศ Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชลนิศา ชุติมาสนทิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเครื่องมือพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือประเมินคุณภาพชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์และแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมตามลำดับของกระบวนการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1) เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เพื่อสร้างเจตคติที่ดีส่วนบุคคล (3) เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นในส่วนรวม (4) เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ (5) เพื่อเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากร และ (6) เพื่อถ่ายทอดจิตสำนึกสู่คนรอบข้าง 2) ผลการวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (mean) เท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.367 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับของชุดกิจกรรมศิลปะ อยู่ในระดับมากที่สุด


การพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, อาคีรา พูลจันทร์ Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, อาคีรา พูลจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) อาจารย์ผู้สอนออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อสิ่งแวดล้อม 2) นักออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น 3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่นของชุมชน และ 4) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้านการออกแบบสิ่งทอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม สำหรับการพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน มีการรับรองและตรวจสอบกิจกรรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนากิจกรรม และด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่น และสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนได้ โดยควรมีการบูรณาการการออกแบบร่วมกับชุมชน 2) เนื้อหา สอนเรื่องการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่น ได้แก่ กระบวนการผลิต ชุมชนผลิตสิ่งทอ วัตถุดิบ เป็นต้น และแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน ต้องครอบคลุมความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านวัฒนธรรม 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน การกำหนดเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การพัฒนาแบบร่างโดยช่างท้องถิ่นมีส่วนร่วม และ การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 4) สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ ใบกิจกรรมการเรียนรู้ ช่างท้องถิ่นในชุมชน และสื่อวัสดุและอุปกรณ์ ได้แก่ เส้นใยธรรมชาติ สิ่งทอชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น วัตถุดิบท้องถิ่นและวัตถุดิบธรรมชาติ 5) ชุมชน ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม มีคุณสมบัติดังนี้ มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีองค์ความรู้วัฒนธรรมที่ต่อยอดไปสู่การขาย สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเป็นชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมือจัดกิจกรรม 6) การวัดประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งทอพื้นถิ่นและแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน และด้านทักษะพิสัย ประเมินจากผลงานการออกแบบของผู้เรียน ที่แสดงออกผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.96) …


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะไทยในท้องถิ่น 4 คน อาจารย์สอนศิลปะสำหรับวัยรุ่น 1 คน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 4 คน และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุดกิจกรรม 1 คน และวัยรุ่นที่มีอายุ 18-25 ปี จำนวน 70 คน เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างชุดกิจกรรม 2) วัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย อายุ 18-25 ปี จำนวน 14 คน เพื่อใช้ทดลองชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามและการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา มีดังนี้ 1) แนวคิดสำคัญของชุดกิจกรรม คือ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราว ความสำคัญของศิลปะล้านนา จากศิลปวัตถุและสถานที่จริง ประกอบกับข้อความรู้จากคู่มือและการทำกิจกรรมการตอบคำถาม ถ่ายภาพ วาดภาพ เล่นเกม และการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะล้านนา โดยเป็นกิจกรรมที่มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสื่อต่างๆ มีการใช้บทบาทสมมติและมีรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยรุ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดอารมณ์ร่วมกับบทบาทสมมติและบริบททางประเพณีของกิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 1 วัน 2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าถึงคุณค่าของศิลปะล้านนา ผ่านการซึมซับผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเอง 3) องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา สื่อการเรียนรู้ และแบบประเมิน 4) องค์ประกอบด้านลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน ใช้ผู้สอน 1 คนต่อผู้เรียน 15 คน ผู้สอนมีหน้าที่อธิบายรายละเอียดดูแลและควบคุมกิจกรรม ส่วนผู้เรียนมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมศิลปะ หลังจากได้นำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับวัยรุ่นในเชียงรายพบว่า ผู้เรียนเกิดการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก โดยผู้เรียนเห็นคุณค่าศิลปะด้านรูปทรงมากที่สุด มีระดับความรู้เกี่ยวกับศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการเห็นคุณค่าศิลปะถึงระดับการรู้คุณค่าในขั้นชื่นชอบคุณค่าและมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อกิจกรรมศิลปะ


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมสำหรับวัยรุ่นอายุ 12-14 ปี และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรมกลุ่มเป้าหมาย คือ วัยรุ่นอายุ 12-14 ปี ที่อาศัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง หรือ 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสันติวัฒนธรรม และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม 3) แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม 4) แบบสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้สันติวัฒนธรรม 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมความงามของความหลากหลาย สีน้ำสร้างสุข และสร้างเมืองในฝัน 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม สำหรับวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี โดยวิเคราะห์ผลจากการสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ทางสันติวัฒนธรรม พบว่า พฤติกรรมสันติวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด คือ ด้านการยอมรับความแตกต่าง คิดเป็นร้อยละ 98.71 รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแก้ไขความขัดแย้งและปฏิเสธความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 97.43 ด้านการเข้าใจตนเอง คิดเป็นร้อยละ 96.15 ด้านทักษะการสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 74.78 และด้านการรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ 61.53 ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อลักษณะการสื่อสารและการเป็นที่ปรึกษาของวิทยากรมากที่สุดเท่ากับ µ = 4.92 รองลงมา คือ อยากให้มีจัดกิจกรรมขึ้นอีกในอนาคต เท่ากับ µ = 4.84 และความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่ากับ µ = 4.72 โดยผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ µ …


การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศิลปะในระดับประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และระยะที่ 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดกิจกรรม โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินผลด้านการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนด้านความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) สื่อการสอน 3) แบบประเมินผล โดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้เรียน 2) ใช้รูปแบบการสอนด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ 3) กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจผู้เรียน 4) ใช้สื่อการสอนประเภทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 5) ประเมินผลจากพฤติกรรมและผลงานของผู้เรียน จากนั้นผู้วิจัยทดลองใช้ชุดกิจกรรมและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า 1) ผู้เรียนประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทักษะคอมพิวเตอร์ทั่วไป, ด้านทักษะการบริหารจัดการไฟล์และการจัดการประมวลผลข้อมูล, ด้านทักษะการสื่อสารแบบออนไลน์และด้านข้อมูลสารสนเทศ 2) นักเรียนมีระดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก 3) นักเรียนมีระดับคุณภาพการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีในระดับดีมาก


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์ Jan 2018

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ฯ จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการณ์สอน แบบสัมภาษณ์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างกิจกรรม แบบประเมินพัฒนาการแบบองค์รวมแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เพื่อใช้ทดลองกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม เป็นกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเนื้อหาสาระและกระบวนการ ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา และภาษาอังกฤษ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพระบายสี การปั้น ภาพพิมพ์ ปะติด และศิลปะประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Studio Habits of Mind (SHoM) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกวิธีการเรียนรู้ตามความต้องการของตน และช่วยส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 2) ผลพัฒนาการแบบองค์รวมจากการทำกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านปัญญา โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับมาก และผลของความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 2) ศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Repeated Measured ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1 )แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกมีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสาธิต (Demonstration) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้จากการตั้งคำถามของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงสามารถส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานจากการสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆของผู้สอน (2) ขั้นสตูดิโอ (Studio Time) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการฝึกให้ผู้เรียนได้วางแผน ร่างแบบจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกวัสดุ อุปกรณ์และตั้งชื่อผลงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันเพื่อนำมาพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อค้นพบเทคนิควิธีการใหม่ๆ (3) ขั้นคลีนอัพ (Cleanup) เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้เรียนรู้จักทำความสะอาดและเก็บวัสดุอุปกรณ์ และ(4) ขั้นวัดผล (Assessment) ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างสรรค์งานผลงานโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำเสนอเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่ค้นพบ และการประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกอยู่ในระดับมาก ( σ = 4.38)


การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทย สำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรชัย เคียรประเสริฐ Jan 2017

การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทย สำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต, ฉัตรชัย เคียรประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทยสำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิตเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดย สุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทย 5 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญในการสอนการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทย 3 ท่านและนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคาดหวัง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์ด้านเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และนำเสนอในรูปแบบความเรียง จากการสอบถามความคาดหวังนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิต สรุปว่า ควรบูรณาการร่วมกับศาสตร์วิชาอื่น ผู้เรียนชอบลงมือปฏิบัติงานจริงและนำความรู้หลังการเรียนไปต่อยอดสร้างอาชีพได้ จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทยและผู้เชี่ยวชาญในการสอน การพัฒนารายวิชาเครื่องแต่งกายละครไทยสำหรับนักศึกษานาฏศิลป์ระดับปริญญาบัณฑิตประกอบด้วย 6 ด้านได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้ทางด้านการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละคร 2) เนื้อหาสาระ ศึกษาประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทยและกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทย 3) กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดการศึกษานอกสถานที่เพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ตรง 4) วิธีการสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ตรง 5) การประเมินผล คือประเมินตามสภาพจริงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 6) แหล่งอ้างอิง ศิลปินที่สืบทอดงานสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายละครไทย งานวิจัย โบราณวัตถุ สื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอน รายวิชาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอาศัยรูปแบบการจัดการเรียนการสอน คือ 1) การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง 2) การเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ 4) การเรียนรู้แบบร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) ทักษะการเรียนรู้และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสารและการประสานความร่วมมือกัน 2) ทักษะทางสารสนเทศและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ทักษะการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพในการอนุรักษ์เพื่อสืบทอดศิลปะแต่โบราณและเป็นแนวทางสร้างสรรค์ รู้จักประยุกต์ใช้ เพื่อสนองต่อความต้องการของสังคมสมัยใหม่ ผลจากการประเมินและรับรองรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ารายวิชามีความเหมาะสม และสามารถนำไปใช้ได้โดยมีค่าเฉลี่ยรวมระดับความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ผลจากการนำกิจกรรมจากรายวิชาไปทดลองใช้ จากการสัมภาษณ์นิสิตมีความพึงพอใจในการทำกิจกรรมเนื่องจากเนื้อหาที่จัดการเรียนการสอนสามารถนำความรู้ไปใช้ในด้านการแสดงศิลปนิพนธ์และสามารถประกอบอาชีพได้


การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์, ณิชาบูล ลำพูน Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์, ณิชาบูล ลำพูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ 2. ศึกษาผลการจัดโปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กหญิงอายุในช่วง 11-15 ปี ในบ้านอุปถัมภ์ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก จำนวน 16 คน ทำการทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมกิจกรรมศิลปะโดยใช้ทีมเป็นฐาน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของทีม แบบประเมินตนเองหลังเข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบประเมินความพึงพอใจ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น 4) แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์ ลักษณะโปรแกรมเน้นการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองผ่านการศึกษาความรู้และทักษะการทำงานศิลปะ โดยใช้กลยุทธ์ทีมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำคัญ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านคุณธรรม และด้านความสามารถ ซึ่งแบ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นทดสอบความรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ โดยองค์ประกอบโปรแกรมประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์: เน้นการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) เนื้อหาการเรียนรู้: เน้นการทำงานศิลปะ การทำงานประดิษฐ์ การออกแบบที่สอดแทรกคุณธรรม 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้: เน้นการศึกษาความรู้ด้วยตนเอง ทำแบบทดสอบ 4) การวัดและประเมินผล: เน้นการสังเกตพฤติกรรมและประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งผลการทดลองโดยใช้โปรแกรมพบว่าเด็กและเยาวชนในสถานสงเคราะห์มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกสำหรับนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี, ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง Jan 2017

การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกสำหรับนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี, ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์ปัญหาในการวาดลวดลายกระหนกของนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี 2.เพื่อพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกจากความเห็นของอาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทยลวดลายกระหนกและผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ศึกษาวิชาจิตรกรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน 1.2 นักศึกษาที่กำลังศึกษาในปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2559 ชั้นปีละ 5 คน 2. อาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทยลวดลายกระหนก จำนวน 5 ท่าน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยสำหรับนักศึกษา แบบสอบถามการวิจัยสำหรับอาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทย แบบสังเกตการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอนและแบบประเมินแบบฝึกลวดลายกระหนกสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้เรียนประสบปัญหาด้านทักษะและความเข้าใจในรายละเอียดและสัดส่วนของตัวลายเป็นส่วนมาก 2.การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน มีเนื้อหาด้านรายละเอียดเป็นไปตามลำดับขั้นตอน อธิบายขั้นตอนการวาด โครงสร้าง องค์ประกอบย่อยและสัดส่วนของลวดลายกระหนกได้ชัดเจน โดยแสดงขั้นตอนการวาดที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถฝึกทบทวนได้ด้วยตนเองได้ 3.การประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน ให้ความเห็นในระดับมากที่สุด ในด้านคุณลักษณะแบบฝึกที่ดีและด้านเนื้อหาการเรียนและโครงสร้างแบบฝึกที่ดี


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม Jan 2017

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ชุดที่ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของศิลปหัตถกรรมภาคใต้ และเพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม BestPractice 2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ชุดที่ 2 เครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชนประกอบด้วย 1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบประเมินพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเน้นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลาย ที่ได้แรงบันดาลมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2) ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้จำนวน 6 กิจกรรม 1) กิจกรรมเข็มกลัดจากหนังตะลุง 2) กิจกรรมผ้ายกกระดาษ 3) กิจกรรมตกแต่งหม้อสทิงหม้อ4) กิจกรรมสมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส 5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 6) กิจกรรมด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3) ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน มีระดับการเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (x̄=51.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (x̄= 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05