Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 34

Full-Text Articles in Art Education

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์ Jan 2022

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ โดยได้จากการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบอาชีพทางศิลปะ จำนวน 24 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมมิฟิเคชัน 1 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษา 1 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลหลังจากการใช้นวัตกรรม ด้วยแบบประเมินความเข้าใจในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนานวัตกรรมสรุปได้ว่า นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) Find Myself การใช้แบบประเมิน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินความเหมาะสมของตนเองกับสาขาทางศิลปะ โดยใช้กลไกของเกมมิฟิเคชันในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) Based on True Stories การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ 3) My Way in Art Careers การให้ข้อมูลสถาบันการศึกษาศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย 4) Design your Life in Art Careers การตัดสินใจเลือกอาชีพและวางแผนการศึกษาในอนาคต ผลการทดลองสรุปได้ว่า 1) หลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนมีความเข้าใจในตนเองรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.32, …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย, ณัฐณิชา มณีพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยและเพื่อพัฒนารูปแบบชุดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาข้อมูล โดยการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการสอนในชั้นเรียนปฐมวัยที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 3 โรงเรียน และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน ประกอบด้วย ครูปฐมวัย 2 ท่าน ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (คอมพิวเตอร์) ที่สอนในระดับปฐมวัย 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะเด็ก 2 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย 2 ท่าน 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษา 2 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตการสอน และแบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 2) ระยะทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 28 คน และครูปฐมวัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจสำหรับนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบไปด้วย 4 หลักการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสบการณ์สุนทรียะ (Aesthetic Experiences) 2) ประสบการณ์การสร้างงานศิลปะ (Art making Experiences) 3) การเข้าสู่โลกศิลปะ (Encounters with art) และ 4) การเสริมแรง (Reinforcement) โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจและเชื่อมโยงประสบการณ์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสที่หลากหลาย ด้วยการใช้สื่อของจริงร่วมกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ขั้นสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการนำกิจกรรมศิลปะปฏิบัติแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และ …


รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ Jan 2022

รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวรรณ เจริญภัทราวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวัฒนธรรม จำนวน 3 คน 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้ความรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ จำนวน 3 คน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมศิลปศึกษา จำนวน 3 คน 4. ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 คน และ 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2. แบบวัดความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ 3. แบบสังเกตพฤติกรรม และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 หลักการ (ERES) ดังนี้1) การสร้างความรู้ซึ้งถึงความรู้สึก (E: Empathy) ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 2) การสร้างบทบาทสมมติ (R: Role Acting) โดยการสวมบทบาทสมมติผ่านหุ่นละคร 3) การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (E: Exchanging) เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเพื่อนร่วมชั้น และ4) การแบ่งปัน และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ (S: Sharing) โดยการนำผลงานศิลปะมาจัดแสดงร่วมกับเพื่อนร่วมชั้น เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศด้านที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านความเข้าใจมากที่สุดคือ ด้านความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศอยู่ในระดับ มาก ( x̄ = 3.63) ผลการสำรวจความพึงพอใจต่อกิจกรรมหลังการทดลอง พบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.10, S.D. …


การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี, สุภาพรรณ วงศ์ศักดิ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก งานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กรณีศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จำนวน 3 แห่ง โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ กรณีศึกษา: ครูผู้สอนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ จำนวน 3 ท่าน และกรณีศึกษา: ผู้เรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน แบบพหุเทศะกรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนากิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจงได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปศึกษา และด้านการสอนระดับประถมศึกษา ในระยะที่ 3 ขั้นทดสอบประสทิธิภาพของกิจกรรม นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 20 คน เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรม 3) แบบประเมินการสร้างสรรค์ศิลปะ และ 4) แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี มีองค์ประกอบ 4 ด้านได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดการเรียนรู้กิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก นำมาซึ่ง …


ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์ Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน, อริสรา วิโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะที่สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาข้อมูลรูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) แพทย์ และ พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน จำนวน 3 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 3 คน 4) ผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันที่ผ่านการเป็นโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ส่วนระยะที่สอง ใช้เครื่องมือจำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 2) แบบสะท้อนคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ต่อการทำกิจกรรมศิลปะ 3) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน 4) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตสำหรับโรคพาร์กินสัน (PDQ - 39) 5) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมศิลปะ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันต่อรูปแบบกิจกรรมศิลปะ โดยเก็บข้อมูลจากผู้สูงวัยโรคพาร์กินสันระยะแรกถึงระยะที่ 2.5 จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 14 คน กลุ่มควบคุม 14 คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน คือ “พาร์สร้างงานศิลป์” ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ศิลปะการเคลื่อนไหว (Activation) ที่สร้างเสริมด้านร่างกาย 2) ร่วมใจสร้างงานศิลป์ (Participation) สร้างเสริมด้านสังคม 3) จินตนาการสู่งานสร้างสรรค์ (Creation) สร้างเสริมด้านปัญญา 4) ประสานสัมพันธ์งานศิลป์ (Co-ordination) …


การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี Jan 2022

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 …


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์พื้นบ้านสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน, สุชาติ อิ่มสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จังหวัดน่านมีความโดดเด่นด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยเฉพาะศิลปะผ้าทอพื้นบ้านที่นอกจากจะงดงามด้วยสีสันและความวิจิตรบรรจงของการทอแล้ว ลวดลายต่าง ๆ ยังมีความหมายที่สะท้อนถึงความเชื่อ สอดคล้องกับความนิยมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งการอนุรักษ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านสามารถทำได้ด้วยการอนุรักษ์ให้คงลักษณะสภาพเดิม และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานเชิงท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน มีการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะศึกษารูปแบบอัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน และการจัดกิจกรรมศิลปะ ระยะพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบผสมผสาน ระยะศึกษาทดลองใช้กิจกรรมศิลปะแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน 2) นักท่องเที่ยวไทยที่เคยมาเที่ยวจังหวัดน่าน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ 4) ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะพื้นบ้านในแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 5) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกศิลปะพื้นบ้านกลุ่มตัวอย่าง และ 6) นักท่องเที่ยวไทย 3 กลุ่มช่วงวัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบสังเกตการจัดกิจกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินการเห็นคุณค่า แบบสะท้อนคิด แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน พบว่า 1.1) ลวดลายของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มลายเรขาคณิต กลุ่มลายสิ่งของเครื่องใช้และลายเบ็ดเตล็ด กลุ่มลายธรรมชาติ 1.2) ความหมายของลวดลายศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มป้องกันปราบปราม กลุ่มเจริญเฟื่องฟู กลุ่มบูชาโชคลาภ กลุ่มงดงามคู่ครอง 1.3) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่าน มีจำนวนทั้งหมด 12 สี ได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีม่วง สีบานเย็น สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีเหลือง สีส้ม สีเขียว สีเงิน และสีทอง 1.4) สีของศิลปะผ้าทอจังหวัดน่านมีความสัมพันธ์กับความหมายตามความเชื่อมูเตลูในด้านการแสดงความรู้สึกตามทฤษฎีจิตวิทยาสีกับความรู้สึก แบ่งเป็นด้านการงานการเงิน ด้านการเรียน ด้านความรัก ด้านสุขภาพ ด้านแคล้วคลาดจากอันตราย ด้านดึงดูดพลังงานดี ๆ และด้านอื่น …


รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2022

รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะตามแนวคิดการสอนพฤติกรรมศิลปะและการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถคิดบริหารจัดการตนของเด็กอนุบาล และศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (1) ระยะพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ (2) ระยะการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ และ (3) ระยะการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ตัวอย่าง คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 18 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที รวม 48 ครั้ง โดยใช้แบบแผนการทดลอง Single Subject Design ประเภท A-B-A-B Design ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ เป็นการเรียนรู้เชิงรุก เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักบทบาทของตนเอง และแสดงออกทางความคิด การกระทำ และอารมณ์อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ (1) การใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการพัฒนาประสบการณ์ทางปัญญาผ่านประสาทการรับรู้ต่าง ๆ (2) การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้น ในการเลือกและตัดสินใจ ลองผิดลองถูก และลงมือทำผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (3) การจัดกิจกรรมศิลปะให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ได้แก่ การวางแผน การกำหนดเป้าหมาย และการกำกับตนเอง และ (4) การจัดให้เด็กเกิดกระบวนการคิดผ่านการตั้งคำถาม การสาธิต และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเกิดแรงบันดาลใจ (2) ขั้นแบ่งปัน และ (3) ขั้นลงมือทำ และ 2) เด็กมีความสามารถคิดบริหารจัดการตนสูงขึ้น โดยทุกองค์ประกอบมีคะแนนสูงขึ้น แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมเมื่อใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ศิลปะฯ ประกอบด้วย (1) การยั้งคิดไตร่ตรอง เด็กสามารถอดทนรอคอย จดจ่อ ไม่ขัดจังหวะหรือพูด ปฏิบัติและยอมรับกฎกติกาโดยไม่ต่อต้าน (2) การยืดหยุ่นความคิด …


การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและคณะ ด้านพุทธิพิสัยและด้านจิตพิสัย ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทย หลักการการจัดกิจกรรมศิลปะชุมชน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ 3) ปราชญ์ชุมชน 4) ครูผู้สอนในสถานศึกษาท้องถิ่น 5) ผู้จัดกิจกรรมศิลปะชุมชน รวมจำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชุดกิจกรรม คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างงานลายคำกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ได้แก่ เยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปาง 2) แบบวัดเจตคติต่อการเห็นคุณค่างานลายคำสกุลช่างลำปาง 3) แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าจากการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการสร้างสรรค์งานลายคำสกุลช่างลำปาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเอกสารและสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วยหลักการจัดกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านรูปแบบกิจกรรม 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเผยแพร่ ชุดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเรียนรู้ชุมชนยลงานศิลปกรรม 2) กิจกรรม 4 เทคนิคของงานลายคำ 3) กิจกรรมร่วมมือสร้างสรรค์ ลายคำร่วมสมัย 4) กิจกรรมนิทรรศการสร้างศิลป์ถิ่นลำปาง ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในพื้นที่จังหวัดลำปางมีความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมาก (x̄=8.33) จากคะแนนเต็ม 10 และมีเจตคติที่ดีต่องานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมากที่สุด (x̄=4.68) …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, มรุต มากขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในศิลปะพื้นบ้าน 2) ศึกษาการนำชุดกิจกรรมศิลปะจากกระดาษไปใช้เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ​​3 ใช้เครื่องมือวิจัยจำนวน 2 ชุด คือ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 5 กลุ่ม คือ 1) ศิลปินพื้นบ้านที่ทำงานกระดาษ 2) ศิลปินสาขาทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ผลงานงานจากกระดาษ 3) นักออกแบบที่สร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะพื้นบ้าน 4) ครูสอนวิชาศิลปะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5) นักวิชาการด้านศิลปศึกษาที่เชี่ยวชาญการใช้ชุมชนเป็นฐาน เครื่องมือศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบประเมินการเห็นคุณค่างานศิลปะพื้นบ้าน 2) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 3) แบบสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน ได้ดังนี้ ตอนที่ 1 ​ด้านรูปแบบชุดกิจกรรม พบว่า ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) รู้จักศิลปะพื้นบ้าน 2) สร้างสรรค์งานศิลป์ร่วมกับปราชญ์และ 3) จากงานศิลปะพื้นบ้านสู่งานออกแบบ โดยกิจกรรมทุกชุดจะประกอบไปด้วยหลักการ 3 หลักการ คือ 1) การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ 2) การสะท้อนคิดการเรียนรู้และ 3) การสรุปองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ ตอนที่ 2 เมื่อนำชุดกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้พบว่า ผลการใช้ชุดกิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกต่อการเห็นคุณค่าหลายระดับ คือ มีการเห็นคุณค่าในขั้นรับรู้ ​ที่นักเรียนสามารถบอกลักษณะ ชนิดและประเภทของงานศิลปะพื้นบ้านได้ สามารถตอบคำถามครูผู้สอนได้ การเห็นคุณค่าในขั้นการตอบสนองคุณค่าโดยมีพฤติกรรมที่แสดงให้เห็น คือ นักเรียนมีความสนใจในชุดกิจกรรมและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมจนเสร็จ นอกจากนี้ยังมีความสนใจและแสดงอารมณ์ร่วมเชิงบวกต่อกิจกรรมหรือศิลปะพื้นบ้าน และระดับการเห็นคุณค่า ขั้นการรู้คุณค่า นักเรียนแสดงออกผ่านการบอกคุณค่าของงานศิลปะพื้นบ้านได้ มีการบันทึกสิ่งที่นักเรียนสนใจ มีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมและสามารถนำองค์ความรู้จากศิลปะพื้นบ้านมาต่อยอด ประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง จากการสะท้อนคิดพบว่า กิจกรรมศิลปะสามารถช่วยเสริมสร้างระดับการเห็นคุณค่าที่สูงขึ้นตามลำดับตั้งแต่การเห็นคุณค่า ขั้นรับรู้คุณค่า คือ นักเรียนมีความสนใจ ชื่นชอบกิจกรรม …


การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ, รวิธ รัตนไพศาลกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ มีเป้าหมายเพื่อการจัดการศึกษาระยะสั้นแก่เยาวชนในฐานะแรงงานสร้างสรรค์ของภาคเหนือให้สามารถออกแบบนวัตศิลป์ที่นำเสนอเรื่องราวและคุณค่าเดิมของศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้ออกมาในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและคุณค่าใหม่ตามแนวทางของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ อันจะนำไปสู่การมองเห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และสามารถนำไปแข่งขันเชิงนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร นวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา และประเมินคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความต้องการจำเป็น ประกอบด้วย 1) เยาวชนในภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน ได้จากการเลือกแบบบังเอิญ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงออกแบบ จำนวน 5 คน และ 3) ผู้ประกอบการด้านนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 5 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการประเมินคุณภาพหลักสูตร ประกอบด้วย 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 3 คน และ 2) เยาวชนที่มีความสนใจด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และอยากพัฒนาต่อยอดธุรกิจนวัตศิลป์ล้านนา จำนวน 9 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการจำเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร แบบสะท้อนความคิด และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสำหรับเยาวชนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ ด้านการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ ด้านความรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงออกแบบ ด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ด้านความรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมล้านนา ด้านรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และด้านการออกแบบหลักสูตร โดยพบว่าการมุ่งพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเป็นผู้ประกอบการมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญสูงที่สุด เท่ากับ 0.364 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อสร้างประสบการณ์ด้านการคิดเชิงออกแบบและการเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ เพื่อให้เยาวชนสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างนวัตศิลป์จากทุนทางวัฒนธรรมล้านนาและมีแนวทางในการพัฒนาตนเอง ตลอดจนพัฒนาอาชีพในปัจจุบันและอนาคต หลักสูตรมีลักษณะเฉพาะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบูรณาการเนื้อหาข้ามศาสตร์ (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ และ (3) ด้านการออกแบบหลักสูตร และ 3) ด้านภาพรวมของคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (x̄ = 4.83, S.D. = 0.219) โดยภายหลังการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผลการสะท้อนคิดของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.03, S.D. …


การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล Jan 2021

การพัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ภูมินทร์ นวลรัตนตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ และการจัดการเรียนการสอนจิตรกรรมไทย 2) พัฒนารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์หลักสูตรศิลปศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปศึกษา อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตรกรรมไทยจากหลักสูตรศิลปบัณฑิต ศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีประสบการณ์ด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทย นักอนุรักษ์จิตรกรรมไทย นักประวัติศาสตร์ศิลป์และทฤษฎีศิลป์ 2) สถาบันระดับปริญญาบัณฑิตที่มีการสอนรายวิชาเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยในหลักสูตรศิลปศึกษา จำนวน 2 แห่ง 3) นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปศึกษา โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลงาน แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบรับรองรายวิชา ผลการวิจัยพบว่ารายวิชาจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยประเพณี การอนุรักษ์จิตรกรรมไทย และจิตรกรรมไทยร่วมสมัยทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถพัฒนาผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ได้ 2) เนื้อหา ด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ได้แก่ คุณค่าในด้านเนื้อหา รูปแบบ และเทคนิควิธีการ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ได้แก่ การอนุรักษ์ในเชิงสงวนรักษาที่ครอบคลุมถึงหลักการอนุรักษ์เชิงป้องกัน และการอนุรักษ์ในรูปแบบศึกษาและเผยแพร่ ด้านจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ได้แก่ แนวทางและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความร่วมสมัย 3) วิธีการสอน ใช้การบรรยายในด้านทฤษฎี ส่วนการปฏิบัติใช้วิธีการสาธิตและให้ทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง พร้อมทั้งมีการศึกษานอกสถานที่ 4) สื่อการสอน ได้แก่ วัสดุในการทำงานจิตรกรรมไทยของผู้เรียน ภาพประกอบการบรรยาย รวมถึงผลงานและสถานที่จริง 5) การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดจากความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณค่าของจิตรกรรมไทยประเพณีและหลักการอนุรักษ์จิตรกรรมไทย ด้านทักษะพิสัย ประเมินทักษะปฏิบัติการทดลองเทคนิคทางด้านจิตรกรรมไทยและผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ โดยประเมินกระบวนการทำงานควบคู่ไปกับผลงาน จิตพิสัย วัดจากการนำเสนอคุณค่าทางด้านจิตรกรรมไทยประเพณี ผลจากการประเมินผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยเชิงอนุรักษ์ของผู้เรียนจากการทดลองใช้รายวิชาพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม โดยในด้านเนื้อหา ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการประยุกต์ใช้เนื้อหาเรื่องราวทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ผลงาน ด้านเทคนิคและกระบวนการ ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในการเลือกใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเหมาะสม และด้านการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้เรียนทำได้ดีที่สุดในส่วนของความสมบูรณ์ของผลงานการสร้างสรรค์ ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อรายวิชาที่ทำการทดลงใช้พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก (x=4.88) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจมากที่สุด คือ …


การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ Jan 2021

การพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ยุทธวี เจ๊ะเละ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมการสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งออกเป็น 4กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 2. อาจารย์ผู้สอนวิชาประติมากรรมตัวละครดิจิทัล จำนวน 7คน 3. สถาบันระดับอุดมศึกษาในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 2แห่ง และ 4. นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ลงเรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติ จำนวน 10คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการสอน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัลในรายวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก 3มิติจากแบบสังเกตการสอน มี 4องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1.1 การเตรียมการสอน ได้แก่ ความพร้อมของผู้สอน สื่อประกอบเนื้อหาการสอน สภาพห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และแหล่งสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ได้แก่ สื่อประเภทข่าวสาร เนื้อหาจำเพาะ วิธีการ ตัวอย่างผลงาน 1.2 กระบวนการสอน จัดเนื้อหาการสอนสร้างชิ้นงานตั้งแต่สอนความรู้พื้นฐานสู่การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยประยุกต์ใช้เครื่องมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านวิธีการสอนในแต่ละด้าน 1.3 การดำเนินการสอน ด้วยสื่อการสอนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกัน 1.4 พฤติกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย ความสนใจของผู้เรียนระหว่างทำการสอนทั้งเชิงบวกและเชิงลบ 2. กระบวนการสร้างและวิธีการสอนสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล ครอบคลุมถึงกระบวนการทั้ง 5ด้าน ประกอบด้วย 2.1 ด้านการออกแบบตัวละคร 2.2 ด้านการวิเคราะห์แบบตัวละคร 2.3 ด้านการสร้างและตกแต่งชิ้นงาน 2.4 ด้านการสร้างความสมจริง และ 2.5 ด้านการประเมินผลงาน โดยใช้มีวิธีการสอนแบบบรรยาย สอนแบบคิดวิเคราะห์ สอนแบบอภิปรายผล สอนแบบสาธิตใช้ตัวอย่างประกอบ และสอนแบบสืบสวนสอบสวน 3. รูปแบบกิจกรรมสร้างประติมากรรมตัวละครดิจิทัล มีการจัดลำดับเนื้อหาโดยเริ่มจากการเตรียมความพร้อมสู่เทคนิคการสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เข้าใจวิธีการออกแบบสร้างชิ้นงานตามเวลาที่กำหนด ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสร้างตัวละครโดยประเมินดูจากความถูกต้องตามแนวคิดที่วางไว้ ผลการตรวจสอบรับรองคุณภาพกิจกรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ, กิตติ์นิธิ เกตุแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและพัฒนาชุดกิจกรรมของกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้วิจัยทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มกับตัวอย่างในการศึกษาแนวทาง คือ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ศิลปินภาพพิมพ์ จำนวน 3 คน ผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน ผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 5 กิจกรรม โดยนำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรม คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 79 ปี ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยไม่จำแนกเพศในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและสมัครใจ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สำหรับอาจารย์ระดับอุดมศึกษาที่สอนวิชาภาพพิมพ์ 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับศิลปินภาพพิมพ์ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้จัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ 4) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้อำนวยการสถานสงเคราะห์คนชรา และผู้ดูแลผู้สูงอายุ 5) ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 6) แบบประเมินการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะผ่านชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 7) แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุ 8) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อคิดเห็นหลังเข้าร่วมกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษ 9) แบบบันทึกผลการทดลองสำหรับผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) ทำสีพิมพ์ 2) พิมพ์ภาพด้วยการพับ 3) พิมพ์ภาพด้วยกระดาษลัง 4) พิมพ์ภาพผ่านช่องฉลุ 5) พิมพ์ภาพผ่านร่องลึก ซึ่งผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทำกิจกรรมมีผลการประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุหลังทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากที่ 3.32 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าการกระจายตัวน้อยอยู่ที่ 0.19 สามารถแปลผลได้ว่า ในด้านร่างกาย ผู้สูงอายุสามารถทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ได้โดยไม่ใช้กำลังมากจนก่อให้เกิดความเหนื่อยล้า ในด้านจิตใจ ผู้สูงอายุรู้สึกดีต่อการทำกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ มีความเพลิดเพลิน สามารถจดจำกระบวนการเรียนรู้ทางศิลปะภาพพิมพ์ได้ และมีความพึงพอใจในผลงงานของตนเอง ในด้านสังคม ผู้สูงอายุและลูกหลานหรือเพื่อนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน …


การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย, สุชาติ ทองสิมา Jan 2020

การพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย, สุชาติ ทองสิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาและบริบทร่วมสมัย 2) เพื่อศึกษาและกำหนดลักษณะหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัยที่ผู้ใช้หลักสูตรต้องการ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาค้นคว้าตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษาและด้านบริบทร่วมสมัย 19 คน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหลักสูตร 803 คน 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัย และจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษาและด้านบริบทร่วมสมัย 12 คน เพื่อประเมินร่างนวัตกรรมหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการกำหนดกรอบประเด็น การให้รหัส/ทำดัชนี ตีความและสรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยระยะแรกพบว่า กรอบแนวคิดหลักสูตรศิลปศึกษาควรประกอบด้วย 7 แนวคิดคือ 1) ทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐาน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา 3) เทคโนโลยีและนวัตกรรมศิลปศึกษา 4) ศิลปศึกษาเพื่อภูมิปัญญาและท้องถิ่น 5) การพัฒนาผู้ประกอบการศิลปศึกษา 6) ศิลปศึกษาตามศักยภาพบุคคล และ7) สหศาสตร์ศิลปศึกษา ส่วนแนวคิดบริบทร่วมสมัยประกอบด้วย 5 แนวคิดคือ 1) ลักษณะความเป็นส่วนบุคคล 2) ความเป็นสหวิทยาการ 3) ความเป็นท้องถิ่น 4) การสร้างนวัตกรรม 5) การเงินและการประกอบการ ผลการวิจัยระยะที่สองพบว่า กลุ่มอาจารย์มีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด กลุ่มบัณฑิตมีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาสูงสุด กลุ่มผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการแนวคิดหลักสูตรด้านทฤษฎีศิลปศึกษาเป็นฐานสูงสุด ผลการวิจัยระยะที่สามพบว่า นวัตกรรมหลักสูตรศิลปศึกษาบนฐานบริบทร่วมสมัยคือ หลักสูตรที่มีการจัดการเรียนรู้แบบรายบุคคลที่กำหนดหน่วยกิตวิชาเลือกมากกว่าหน่วยกิตวิชาบังคับในกลุ่มวิชาเอก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและความสนใจ และมีเนื้อหาหลักสูตรในลักษณะของการบูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งการบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะอันได้แก่ สาขาวิชาดนตรีศึกษา และนาฏศิลป์ศึกษา และการบูรณาการกับสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน, สมพงษ์ เลิศวิมลเกษม Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน, สมพงษ์ เลิศวิมลเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพในกลุ่มคนวัยทำงาน 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทที่มีผลต่อการรับรู้ทางสุนทรียะ กลุ่มตัวอย่างสำหรับเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนากิจกรรมประกอบด้วย กลุ่มคนวัยทำงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงและ นักแสดงมืออาชีพ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพ และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มตัวอย่างคนวัยทำงานขณะร่วมกิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีท ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการเกิดสุนทรียภาพจากกิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับคนวัยทำงาน มีวิธีการสร้าง และลักษณะการเกิดสุนทรียภาพที่คล้ายคลึงกัน โดยมีองค์ประกอบหลักคือ เส้น สี รูปร่าง ช่องว่าง การทำซ้ำ ความกลมกลืน การตัดกัน การใช้ลวดลาย 2) การพัฒนากิจกรรมศิลปะบูรณาการระหว่างทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแบบสตรีทส่งเสริมการรับรู้ทางสุนทรียภาพ มี 4 องค์ประกอบหลัก 1) เนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจเช่น เนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่ายหรือใกล้กับชีวิตประจำวัน เรื่องตลกขบขัน 2) รูปแบบการแสดง ที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยการสร้างภาพเชิงทัศน์บูรณาการผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายของศิลปะการแสดงแบบสตรีท 3) การแต่งกาย ที่สอดคล้องกับเนื้อหา 4) การออกแบบการเกิดสุนทรียภาพ 5 ระดับ ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 15 นาที นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นสามารถจัดได้ในสถานที่ปิด เช่นในห้อง หรืออาคาร และสถานที่เปิดเช่น บนถนน หรือในสวนสาธารณะ


การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย, สุภิญญา สมทา Jan 2020

การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย, สุภิญญา สมทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ให้เด็กวัยประถมศึกษาตอนปลาย มีความเข้าใจมีความสามารถในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระยะศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 4 ด้าน ด้านการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ด้านการเรียนการสอนศิลปศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ด้านการสอนในบริบทการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และด้านการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ท่าน โดยใช้วิธีเลือกเฉพาะเจาะจง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบประเมินคุณภาพนวัตกรรม 3) แบบวัดทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ การพัฒนาชุดสื่อการเรียนรู้หลายมิติ โดยใช้เนื้อหาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในเชิงเปรียบเทียบและบูรณาการ เพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ให้แก่ผู้เรียนในวัยประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ ได้แก่ แนวทางคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก แนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ 3 ด้าน (ความรู้ ทักษะ ลักษณะนิสัย) วิธีการสอนแบบเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เนื้อหาที่เหมาะสมและใกล้ตัวผู้เรียน และสื่อหลากหลายประเภท ทั้งเทคโนโลยีที่สร้างอารมณ์และความสนุกสนาน นำมาซึ่ง 2) …


การพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, อาคีรา พูลจันทร์ Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, อาคีรา พูลจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) อาจารย์ผู้สอนออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่นเพื่อสิ่งแวดล้อม 2) นักออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น 3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่นของชุมชน และ 4) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้านการออกแบบสิ่งทอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม สำหรับการพัฒนากิจกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน มีการรับรองและตรวจสอบกิจกรรม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนากิจกรรม และด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่น และสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนได้ โดยควรมีการบูรณาการการออกแบบร่วมกับชุมชน 2) เนื้อหา สอนเรื่องการผลิตสิ่งทอพื้นถิ่น ได้แก่ กระบวนการผลิต ชุมชนผลิตสิ่งทอ วัตถุดิบ เป็นต้น และแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน ต้องครอบคลุมความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านวัฒนธรรม 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน การกำหนดเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การพัฒนาแบบร่างโดยช่างท้องถิ่นมีส่วนร่วม และ การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม 4) สื่อการเรียนรู้ ได้แก่ ใบกิจกรรมการเรียนรู้ ช่างท้องถิ่นในชุมชน และสื่อวัสดุและอุปกรณ์ ได้แก่ เส้นใยธรรมชาติ สิ่งทอชนิดต่างๆ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นถิ่น วัตถุดิบท้องถิ่นและวัตถุดิบธรรมชาติ 5) ชุมชน ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม มีคุณสมบัติดังนี้ มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีองค์ความรู้วัฒนธรรมที่ต่อยอดไปสู่การขาย สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเป็นชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมือจัดกิจกรรม 6) การวัดประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย วัดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งทอพื้นถิ่นและแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน และด้านทักษะพิสัย ประเมินจากผลงานการออกแบบของผู้เรียน ที่แสดงออกผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x=3.96) …


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชลนิศา ชุติมาสนทิศ Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชลนิศา ชุติมาสนทิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเครื่องมือพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือประเมินคุณภาพชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์และแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมตามลำดับของกระบวนการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1) เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เพื่อสร้างเจตคติที่ดีส่วนบุคคล (3) เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นในส่วนรวม (4) เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ (5) เพื่อเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากร และ (6) เพื่อถ่ายทอดจิตสำนึกสู่คนรอบข้าง 2) ผลการวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (mean) เท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.367 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับของชุดกิจกรรมศิลปะ อยู่ในระดับมากที่สุด


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น, จิราพร พนมสวย Jan 2020

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น, จิราพร พนมสวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กประถมศึกษาตอนต้นที่มีความบกพร่องทางการเห็นในโรงเรียนเฉพาะทาง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่าง 6 คน ช่วงอายุ 6-12 ปี จากโรงเรียนสอนตาบอดกรุงเทพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเห็น 2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปะที่สร้างประสบการณ์สุนทรียะ 3) รายการตรวจสอบประสบการณ์เดิมก่อนการทำกิจกรรม 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังจากทำกิจกรรม และ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็นที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ (MATA) ดังนี้ 1) พหุประสาทสัมผัส (M: Mutiple Sensories) เป็นการใช้พหุประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม 2) วิธีการสอนเชิงสุนทรียะ (A: Aesthetical Teaching) เป็นวิธีการสอนโดยสร้างประสบการณ์ตรง ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ความเหมือนจริงจากวัตถุจริง เรียนรู้เทคนิคทางศิลปะของศิลปิน และเน้นความสนุกสนาน 3) สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่มีผิวสัมผัส (T: Tactile Media) เป็นการใช้สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ที่เน้นการสัมผัส รวมถึงส่งเสริมการได้ยิน และการดมกลิ่น และ 4) การวัด และประเมินผล (A: Assessment) เป็นการวัดและประเมินผลประสบการณ์สุนทรียะด้วยการสังเกตและการสอบถาม เมื่อนำกิจกรรมฯไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยของประสบการณ์สุนทรียะของนักเรียนอยู่ระดับที่ 2 ความงามและความจริง และประสบการณ์สุนทรียะขั้นสูงสุดที่นักเรียนทำได้ คือ ระดับที่ 3 การแสดงออก


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะไทยในท้องถิ่น 4 คน อาจารย์สอนศิลปะสำหรับวัยรุ่น 1 คน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 4 คน และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุดกิจกรรม 1 คน และวัยรุ่นที่มีอายุ 18-25 ปี จำนวน 70 คน เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างชุดกิจกรรม 2) วัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย อายุ 18-25 ปี จำนวน 14 คน เพื่อใช้ทดลองชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามและการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา มีดังนี้ 1) แนวคิดสำคัญของชุดกิจกรรม คือ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราว ความสำคัญของศิลปะล้านนา จากศิลปวัตถุและสถานที่จริง ประกอบกับข้อความรู้จากคู่มือและการทำกิจกรรมการตอบคำถาม ถ่ายภาพ วาดภาพ เล่นเกม และการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะล้านนา โดยเป็นกิจกรรมที่มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสื่อต่างๆ มีการใช้บทบาทสมมติและมีรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยรุ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดอารมณ์ร่วมกับบทบาทสมมติและบริบททางประเพณีของกิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 1 วัน 2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าถึงคุณค่าของศิลปะล้านนา ผ่านการซึมซับผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเอง 3) องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา สื่อการเรียนรู้ และแบบประเมิน 4) องค์ประกอบด้านลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน ใช้ผู้สอน 1 คนต่อผู้เรียน 15 คน ผู้สอนมีหน้าที่อธิบายรายละเอียดดูแลและควบคุมกิจกรรม ส่วนผู้เรียนมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมศิลปะ หลังจากได้นำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับวัยรุ่นในเชียงรายพบว่า ผู้เรียนเกิดการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก โดยผู้เรียนเห็นคุณค่าศิลปะด้านรูปทรงมากที่สุด มีระดับความรู้เกี่ยวกับศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการเห็นคุณค่าศิลปะถึงระดับการรู้คุณค่าในขั้นชื่นชอบคุณค่าและมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อกิจกรรมศิลปะ


การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศิลปะในระดับประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และระยะที่ 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดกิจกรรม โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินผลด้านการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนด้านความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) สื่อการสอน 3) แบบประเมินผล โดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้เรียน 2) ใช้รูปแบบการสอนด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ 3) กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจผู้เรียน 4) ใช้สื่อการสอนประเภทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 5) ประเมินผลจากพฤติกรรมและผลงานของผู้เรียน จากนั้นผู้วิจัยทดลองใช้ชุดกิจกรรมและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า 1) ผู้เรียนประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทักษะคอมพิวเตอร์ทั่วไป, ด้านทักษะการบริหารจัดการไฟล์และการจัดการประมวลผลข้อมูล, ด้านทักษะการสื่อสารแบบออนไลน์และด้านข้อมูลสารสนเทศ 2) นักเรียนมีระดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก 3) นักเรียนมีระดับคุณภาพการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีในระดับดีมาก


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์ Jan 2018

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ฯ จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการณ์สอน แบบสัมภาษณ์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างกิจกรรม แบบประเมินพัฒนาการแบบองค์รวมแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เพื่อใช้ทดลองกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม เป็นกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเนื้อหาสาระและกระบวนการ ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา และภาษาอังกฤษ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพระบายสี การปั้น ภาพพิมพ์ ปะติด และศิลปะประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Studio Habits of Mind (SHoM) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกวิธีการเรียนรู้ตามความต้องการของตน และช่วยส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 2) ผลพัฒนาการแบบองค์รวมจากการทำกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านปัญญา โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับมาก และผลของความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมสำหรับวัยรุ่นอายุ 12-14 ปี และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรมกลุ่มเป้าหมาย คือ วัยรุ่นอายุ 12-14 ปี ที่อาศัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง หรือ 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสันติวัฒนธรรม และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม 3) แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม 4) แบบสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้สันติวัฒนธรรม 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมความงามของความหลากหลาย สีน้ำสร้างสุข และสร้างเมืองในฝัน 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม สำหรับวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี โดยวิเคราะห์ผลจากการสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ทางสันติวัฒนธรรม พบว่า พฤติกรรมสันติวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด คือ ด้านการยอมรับความแตกต่าง คิดเป็นร้อยละ 98.71 รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแก้ไขความขัดแย้งและปฏิเสธความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 97.43 ด้านการเข้าใจตนเอง คิดเป็นร้อยละ 96.15 ด้านทักษะการสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 74.78 และด้านการรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ 61.53 ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อลักษณะการสื่อสารและการเป็นที่ปรึกษาของวิทยากรมากที่สุดเท่ากับ µ = 4.92 รองลงมา คือ อยากให้มีจัดกิจกรรมขึ้นอีกในอนาคต เท่ากับ µ = 4.84 และความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่ากับ µ = 4.72 โดยผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ µ …


ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 2) ศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Repeated Measured ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1 )แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกมีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสาธิต (Demonstration) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้จากการตั้งคำถามของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงสามารถส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานจากการสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆของผู้สอน (2) ขั้นสตูดิโอ (Studio Time) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการฝึกให้ผู้เรียนได้วางแผน ร่างแบบจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกวัสดุ อุปกรณ์และตั้งชื่อผลงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันเพื่อนำมาพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อค้นพบเทคนิควิธีการใหม่ๆ (3) ขั้นคลีนอัพ (Cleanup) เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้เรียนรู้จักทำความสะอาดและเก็บวัสดุอุปกรณ์ และ(4) ขั้นวัดผล (Assessment) ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างสรรค์งานผลงานโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำเสนอเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่ค้นพบ และการประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกอยู่ในระดับมาก ( σ = 4.38)


แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ, ณัฐชนา มณีพฤกษ์ Jan 2017

แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ, ณัฐชนา มณีพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูศิลปะ 5 คน และนักเรียน 80 คน จากโรงเรียนนานาชาติที่มีการจัดการศึกษาศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากระบบการศึกษาหลักของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกหลักสูตรศิลปศึกษา 2) แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนในวิชาศิลปศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษา 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 5) แบบประเมินแนวทางการจัดการเรียนการสอน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของหลักสูตรศิลปศึกษาในโรงเรียนนานาชาติมีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระที่แสดงถึงวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม บูรณาการระหว่างเนื้อหาทางศิลปะและวัฒนธรรม สื่อการสอนนำเสนอวัฒนธรรมได้ดี ไม่ก่อให้เกิดอคติ มีกระบวนการในการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 2) แนวทางการจัดการเรียนการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ หลักสูตรควรเอื้อต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการกำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม วันสำคัญ เทศกาล วัฒนธรรมและประเพณี เน้นการจัดการเรียนการสอนให้เข้าใจแนวคิดหลัก และสามารถแสดงออกในรูปแบบของตนเอง เป็นการพัฒนาทักษะวิธีการทางศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและเจตคติที่ดีและจำเป็นต่อการอยู่อาศัยในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะพัฒนานักเรียนตามแนวคิดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมสูงกว่าระดับการเห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมตนเอง ประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลายทั้งผลงานศิลปะ การอธิบายผลงานที่แสดงการประยุกต์วัฒนธรรม การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะ ผลจากการประเมินและรับรองแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า แนวทางการสอนมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมระดับความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด


การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล Jan 2017

การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ, ธัญชนก เนตรนวนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอนและการใช้ห้องปฏิบัติการเครื่องเคลือบดินเผาในหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ 2) หลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา และ 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม และเพื่อนำเสนอรูปแบบการสอนที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ ด้วยวิธีดำเนินการวิจัยโดยการวิจัยแบบผสมผสาน ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน 3 หลักสูตร และผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเคลือบดินเผา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลมาจำแนกและจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ แล้วเปรียบเทียบหารูปแบบการสอนที่สำคัญของแต่ละหลักสูตร 2) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ผู้สอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 - 4 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม พร้อมการสังเกตลักษณะและการใช้ห้องปฏิบัติการ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสอนของอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรผลิตครูศิลปะส่วนใหญ่ให้ความสำคัญคือคำนึงถึงการเป็นต้นแบบการสอนที่ดี การตั้งคำถามและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่วนหลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา พบว่าอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสอนเทคนิคต่างๆจากตัวอย่างงานหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนนำมาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ และในหลักสูตรการผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม พบว่าอาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างแนวคิด (Concept) หรือโจทย์แก่ผู้เรียนนำไปแก้ปัญหาในการออกแบบ
รูปแบบการสอนเครื่องเคลือบดินเผา 3 หลักสูตรสรุปได้ดังนี้ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ เรียนรู้กระบวนการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่เน้นการสำรวจประสบการณ์ที่ครอบคลุมในกระบวนการสร้างสรรค์ กิจกรรมการสอนเน้นปลูกฝังคุณค่าของการเป็นครูต้นแบบ และการออกแบบแผนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้และทักษะทางเครื่องเคลือบดินเผาไปใช้สอนได้จริง วัดและประเมินผลจากความเข้าใจในกระบวนการผลิตงาน และกระบวนการคิดในการออกแบบแผนการสอน 2) หลักสูตรผลิตศิลปินเครื่องเคลือบดินเผา เรียนรู้กระบวนผลิตชิ้นงานทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ กิจกรรมการสอนเน้นคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ หลักการทางสุนทรียภาพ อารมณ์ความรู้สึกของชิ้นงาน รวมถึงการเรียนรู้เทคนิคทางเครื่องเคลือบดินเผาที่หลากหลายผ่านตัวอย่างงานของศิลปิน ซึ่งหลักสูตรนี้จะวัดและประเมินผลจากพัฒนาการด้านทักษะ ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม เรียนรู้หลักการออกแบบที่คำนึงถึงความงามหน้าที่ใช้สอย และกระบวนผลิตชิ้นงานทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในเชิงอุตสาหกรรม นอกจากนี้กิจกรรมการสอนเน้นการแก้ปัญหาทางการออกแบบโดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ ซึ่งหลักสูตรนี้จะวัดและประเมินผลจากกระบวนการคิดและการออกแบบ


การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม Jan 2017

การพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน, ธีติ พฤกษ์อุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าเรื่องอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มเยาวชนในจังหวัดสงขลาที่มีอายุ 15-25 เป็นอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการและยินดีให้ข้อมูลในการทดลองกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ชุดที่ 1 เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของศิลปหัตถกรรมภาคใต้ และเพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดกิจกรรม BestPractice 2) แบบสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้ 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ชุดที่ 2 เครื่องมือวัดคุณภาพของกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชนประกอบด้วย 1) แบบประเมินเรื่องการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 3) แบบประเมินพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมผู้ร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ด้วยสถิติ t-test dependent และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ มีการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นภาคใต้ สีสันที่ใช้มีความสดใสเป็นพิเศษเน้นสีที่มีลักษณะตัดกันอย่างชัดเจนและมีการตกแต่งด้วยลวดลาย ที่ได้แรงบันดาลมาจากธรรมชาติในท้องถิ่น 2) ชุดของกิจกรรมศิลปะที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้จำนวน 6 กิจกรรม 1) กิจกรรมเข็มกลัดจากหนังตะลุง 2) กิจกรรมผ้ายกกระดาษ 3) กิจกรรมตกแต่งหม้อสทิงหม้อ4) กิจกรรมสมุดสวยด้วยลายว่าวเบอร์อามัส 5) ตกแต่งแหวนด้วยวิธีการทำเครื่องถมเมืองนคร 6) กิจกรรมด้ามจับปากกาสานย่านลิเภา ใช้เวลาในการปฏิบัติจำนวน 2 ชั่วโมงต่อกิจกรรม 3) ผลจากการนำกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ในงานศิลปหัตถกรรมภาคใต้สำหรับเยาวชน มีระดับการเห็นคุณค่าหลังการทำกิจกรรม (x̄=51.93) สูงกว่าก่อนทำกิจกรรม (x̄= 41.37) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, บุญยนุช สิทธาจารย์ Jan 2017

การพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, บุญยนุช สิทธาจารย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสะตีมศึกษาและพัฒนาชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา 3 คน 2) ครูด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา จำนวน 3 คน 3) ครูที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสอนศิลปะแบบบูรณาการ จำนวน 3 คน 4) ครูศิลปะในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 คน 5) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบประเมินชุดการสอน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดสะตีมศึกษาเป็นการนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์มาใช้ในการสร้างชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน ในการจัดการเรียนการสอนครูควรกระตุ้นความสนใจด้วยสื่อที่หลากหลาย ตั้งคำถามเพื่อให้นักเรียนร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพื่อนำสู่เรื่องที่สอน สาธิตวิธีการสร้างสรรค์ผลงาน มอบหมายงานให้นักเรียนปฏิบัติโดยให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้า วางแผน ออกแบบ และลงปฏิบัติมือตามที่ออกแบบไว้ นำเสนอผลงาน สะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสรุปสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม 2. ชุดการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนคิดอย่างเป็นองค์รวมโดยการนำความรู้ 5 ศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน มีหลักการสำคัญ 3 ส่วน ประกอบด้วย การบูรณาการ 5 ศาสตร์ การทำงานเป็นทีม และกระบวนการสร้างสรรค์ มีการออกแบบกิจกรรมโดยคำนึงถึงหลักสูตรแกนกลางของแต่ละวิชาและสอดแทรกเนื้อหาความเป็นไทยผ่าน 5 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ตะลุงหลากสี 2) ดนตรีสื่อสาร 3) นิทานสัตว์หรรษา 4) นาวาลูกโป่ง และ 5) บ้านสามมิติ 3. ผลการตรวจชุดการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า ชุดการสอนมีคุณภาพในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.36) 4. ผลจากการนำชุดการสอนไปทำการทดลองกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 …