Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2022

PDF

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 1051 - 1070 of 1070

Full-Text Articles in Architecture

พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง Jan 2022

พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในเมือง รวมถึงการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ที่อาจสร้างปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและสิ่งแวดล้อมของเมืองในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองในนครปากเซ และศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมปี 2000, 2010 และ 2020 โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) ในซอฟต์แวร์ TerrSet 2020 ตรวจสอบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 2000-2010, 2010-2020 และ 2000-2020 นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและการขนส่งระดับแขวง ระดับเมือง และ อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยจำปาสัก ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ป่าไม้มีความน่าจะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประเภทเบ็ดเตล็ดมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมมีพื้นที่ลดลงมากกว่าที่ดินประเภทอื่น โดยในช่วงปี 2000-2020 มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไป 93.4 ตร.กม. (ร้อยละ 18.60) และพื้นที่เกษตรกรรมลดลง 1.49 ตร.กม. (ร้อยละ 0.26) ส่วนพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเพิ่มขึ้น 74.96 ตร.กม. (ร้อยละ 14.87) รองลงมาเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 18.04 ตร.กม. (ร้อยละ 3.61) สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้นครปากเซขยายตัวไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดมี 5 ปัจจัยสำคัญได้แก่ (1) ปัจจัยด้านความใกล้เขตการศึกษา (ใกล้เขตมหาวิทยาลัย) (2) ปัจจัยด้านความใกล้เส้นทางสายหลัก (3) ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่ไม่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมที่เกิดจากแม่น้ำโขง และแม่น้ำเชโดน (4) ปัจจัยด้านนโยบาย และแผนการพัฒนาเมืองที่ภาครัฐกำหนด และ (5) ปัจจัยด้านความใกล้เขตอุตสาหกรรม โดยผลการวิจัยจะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักวางแผนและนักพัฒนาเมือง รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่เมืองอย่างยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม


ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์ Jan 2022

ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการลดลงของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา กล่าวคือโรงเรียนของรัฐ ที่เป็นสาธารณูปการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบในมิติหนึ่งจากการลดลง ของประชากรในพื้นที่ คล้ายกับภาพความเสื่อมถอยของโครงสร้างพื้นฐาน ตามบริบทของปรากฏการณ์ เมืองหดที่ถูกกล่าวถึงในระดับสากล โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจำนวนและสัดส่วน รวมถึงการกระจายตัวของประชากรแสดงให้เห็นว่า การลดลงของประชากรเกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง ประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มที่มีการลดลงอย่างชัดเจนที่สุดทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่ลดลงในโรงเรียนของรัฐที่ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรธานีมีขนาดที่เล็กลง ขณะที่อัตราการลดของประชากรวัยเด็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกช่วงปีทำให้ภาพปรากฏการณ์ของโรงเรียนถูกยุบชัดเจนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงขนาดสะท้อนถึงสถานภาพโรงเรียนในแต่ละช่วงปี การถูกยุบ ลดขนาด ขยายขนาด เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบครอบคลุม ไม่พบรูปแบบของการพึ่งพาหรือสหสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนแต่ละแห่งในภาพรวมของจังหวัดอย่างชัดเจน เนื่องจากการลดลงของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์เพียงปัจจัยเดียว นอกเหนือปัจจัยอัตราการเกิดต่ำที่ทำให้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนลดลงในภาพรวมแล้ว การลดลงของจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ชานเมืองและพื้นที่ชนบทเกิดจากการย้ายถิ่นเข้าสู่โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งถูกมองว่ามีความพร้อมมากกว่าในพื้นที่เมือง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทต้องดิ้นรนในการสร้างคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ภายใต้ภาวะข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรเพื่อไม่ให้ถูกยุบ ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่เมืองและโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทห่างไกล งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นการจัดการให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีส่วนร่วม และการส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีบทบาทด้านการศึกษาเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรับมือกับปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น


Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera Jan 2022

Challenges Of Ngos In Facilitating Access To Health Care Services For The Urban Poor In Slums During The Covid-19 Pandemic: A Case Study Of Kampala, Uganda||ความท้าทายขององค์กรนอกภาครัฐในการช่วยเหลือการเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพสำหรับคนจนเมืองในชุมชนแออัดในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา กรุงกัมปาลา ประเทศยูกันดา, Brendah Kyaterekera

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the challenges NGOs face in providing healthcare access to the urban poor during the COVID-19 pandemic, using cases of slum communities in Kampala, the capital city of Uganda. The COVID-19 pandemic has disproportionately affected vulnerable populations, including those living in slums characterized by overcrowding, inadequate infrastructure, and limited access to basic services, especially access to healthcare, a fundamental right of people. During the past years, the pandemic has further restricted the already limited accessibility to healthcare services for the urban poor. The primary research methodology employed in this study is case study research, using in-depth interviews, observations, …


Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win Jan 2022

Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Urban migrant workers play a vital role in the economic growth of a country. As housing is a fundamental human need that greatly impacts individual and societal well-being, it is crucial to ensure the welfare of urban migrant workers. While several studies have explored the factors that influence urban migrants' housing choices, limited attention has been paid to the spatial distribution of housing and housing choices among urban migrant workers in Thailand. This study aims to fill this gap by examining the housing locations and determinants of housing choices among Myanmar migrants working in the Central Business District (CBD) of …


Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri Jan 2022

Assessing The Physical Conditions Of Motorcycle Taxi Stands And Comfort Conditions Of The Drivers In The Central Business District Of Bangkok, Nissa Phloimontri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research explores the current physical conditions of motorcycle taxi stands located near the BTS stations in the central business district (CBD) and the comfort conditions experienced by motorcycle taxi drivers at those stands. Stand conditions were assessed using design and location standards for transit stops. A total of 25 stands were surveyed and compared with design standards, considering factors such as location, physical form, and features. Stands that share similar characteristics were classified into stand typologies. Based on the environmental comfort model, questionnaires and in-depth interviews were conducted to evaluate the comfort levels of drivers, encompassing physical, functional, and …


The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham Jan 2022

The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore stakeholder perspectives on developing affordable housing in Bangkok through in-depth interviews and questionnaires. The study investigates three areas: definitions, critical criteria, and supporting measures. The data will be collected from stakeholders representing three sectors: the public sector, the private sector, and academia and non-governmental organizations. This research has established a framework for developing in-depth interviews and questionnaire surveys as part of its study from case studies of affordable housing development in other countries. During the literature review of case studies from other countries, it was discovered that affordable housing targets not only low-income households but …


Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo Jan 2022

Assessing The Potential Of Developing An Ecosystem For Electric Scooters In Bangkok, Thailand, Rosyad Yan Wibowo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The rising need for mobility induces challenges to providing a sustainable mode of transportation. The absence in providing door-to-door service by public transportation gives the opportunity for micromobility to take a position. With millions of people commuting every day, Thailand's capital city requires more choices in transportation. E-scooters can travel short distances in a vehicle and are not affected by traffic. However, under the current regulation, e-scooters are not recognized as a mode of transportation in Bangkok which question the existence of the ecosystem of e-scooters in the city. To address the problems, this research focuses on exploring the potential …


Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang Jan 2022

Relationship Of The Relocation Decision And Job Location Of Klong Toei Community's Residents, Shu Hsuan Tang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the relationship between job location and the willingness to relocate of informal settlement residents, using the Klong Toei community in Bangkok as a case study. Informal settlements have emerged due to urbanization and rapid economic growth, especially in developing countries. The Klong Toei community, which has evolved around the Port Authority of Thailand, has become the largest informal settlement in Bangkok. The port authority has tried to reclaim the land occupied by the community and provide relocation options to residents. However, the relocation process encounters challenges as many residents fear losing their livelihoods and express concerns about …


Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su Jan 2022

Public-Private Partnerships For Implementing Sponge City Development : A Case Study Of Xiamen City, China, Ting Su

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To mitigate the disasters caused by extreme weather induced by climate change in cities, the Chinese government has proposed the implementation of sponge cities in recent years. However, the construction of sponge cities is characterized by significant investments, long project cycles, and many risks. It is difficult to implement the project only by relying on government investment. Therefore, Public-private Partnership (PPP) model is gradually applied to sponge cities' implementation. As a model of urban infrastructure implementation, PPP can significantly reduce stakeholders' risks in some respects and accelerate infrastructure implementation in sponge cities. However, the PPP model has some disadvantages. Therefore, …


กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2564, แพรววลัย เสนาวุธ Jan 2022

กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2564, แพรววลัย เสนาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจทั่วโลกรวมถึงอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) ทั้งนี้ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดให้ทุกธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนภายในปี 2565 งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนตามแนวคิด ESG โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากรายงาน 56-1 One Report ประจำปี 2564 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 15 แห่ง แบ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 3 แห่ง บริษัทขนาดกลาง 3 แห่ง และขนาดเล็ก 9 แห่ง รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากบริษัทกรณีศึกษาจำนวน 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนเชิงเปรียบเทียบระหว่างขนาดบริษัท และเกณฑ์ ESG รวมทั้งหมด 21 ประเด็น แนวคิด และแนวทางดำเนินงาน รวมถึงผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานตามแนวทางเพื่อความยั่งยืนดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์พันธกิจ และค่านิยมองค์กรด้านความยั่งยืนที่สำคัญ คือ การเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายโดยเฉพาะลูกค้า และผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบการดำเนินชีวิต 2) แนวทางดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่มีการรายงานด้านสังคม (social) มากที่สุด เนื่องจากบริษัทมีการพัฒนาต่อยอดมาจากการกําหนดการดําเนินงานเพื่อสังคมในกระบวนการกํากับกิจการ (CSR in Process) โดยเฉพาะประเด็นด้านแรงงาน สังคม ชุมชน รองลงมาคือด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (governance & economy) ในประเด็นที่สัมพันธ์กับองค์กร ลูกค้า และนักลงทุน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สัมพันธ์ต่อการลงทุน และผลตอบแทนทางการเงินของบริษัท และรายงานน้อยที่สุดด้านสิ่งแวดล้อม (environment) ในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ 3) บริษัทขนาดใหญ่มีความโดดเด่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ขณะที่บริษัทขนาดกลางมุ่งดำเนินงานด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และบริษัทขนาดเล็กมุ่งดำเนินงานโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม 4) กลยุทธ์การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวคิด ESG ของบริษัทกรณีศึกษามีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อลดผลกระทบเชิงลบในการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีส่วนสำคัญตลอดช่วงการพัฒนาโครงการ และสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ที่เหลือ (2) กลยุทธ์การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ (3) กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่ตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบัน (4) …


ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร Jan 2022

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากโดยเฉพาะธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงและมีแนวโน้มไม่กลับมาเหมือนเดิม ทั้งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยและกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายกลายเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยและอาศัยอย่างแท้จริง (Real Demand) ทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ อีกทั้งเป็นเป้าหมายหลักที่บริษัทพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจทั้งในช่วงวิกฤตโควิด-19 และช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยมีปัจจัยที่ควบคุม คือ อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และ บริษัทเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อคอนโดมิเนียมที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 29-35 ปี (Y2) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยทำเลที่ตั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อทาวน์เฮาส์ที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 22-28 ปี (Y1) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยโควิด-19 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยลักษณะบ้าน ซึ่งปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด โดยปัจจัยโควิด-19 ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านของราคาและโปรโมชั่น ช่วยให้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภครวดเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการตัดสินใจหนึ่งเดือนหรือน้อยกว่า


ความสัมพันธ์ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรณีศึกษา ถนนราชพฤกษ์ และ ถนนกัลปพฤกษ์, ชยางกูร กิตติธีรธำรง Jan 2022

ความสัมพันธ์ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค และ สาธารณูปการ ที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม กรณีศึกษา ถนนราชพฤกษ์ และ ถนนกัลปพฤกษ์, ชยางกูร กิตติธีรธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาที่อยู่อาศัย แหล่งงาน และสาธารณูปการ เมื่อทำการศึกษาย้อนไปในอดีตช่วง 20 - 30 ปีก่อนหรือช่วงพ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2564 พบว่า การเติบโตของโครงข่ายการคมนาคมมีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ทั้งจากการสร้างถนนกาญจนาภิเษก ถนนบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาของที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเพื่อนำรูปแบบการพัฒนา และแผนการพัฒนาของภาครัฐมาพิจารณาถึงลำดับการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการเกิดสาธารณูปการที่เชื่อมโยงอันจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการกำหนดแผนงานในการพัฒนาการขยายตัวของพื้นที่เมืองต่อไป โดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการลงพื้นที่สำรวจภาคสนาม และการรวบรวมข้อมูลจากเว็ปไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าลำดับการเกิดที่อยู่อาศัย และสาธารณูปการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) การเกาะกลุ่มของประเภทอสังหาริมทรัพย์ 3 ประเภทหลัก คือ ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และสาธารณูปการ โดยพบว่าที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวจะมีการเกาะกลุ่มกันมากบริเวณถนนราชพฤกษ์เป็นหลัก ส่วนบ้านแถวและอาคารชุด พบการเกาะกลุ่มกันมากในบริเวณถนนกัลปพฤกษ์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหนาแน่นมากขึ้นจะสัมพันธ์กับการจราจรที่หนาแน่นตามมา ไม่ว่าจะเป็นในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า และช่วงเย็น หรือ ช่วงระหว่างวันจะพบการจราจรหนาแน่นในโซนพาณิชยกรรม ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแผนการคมนาคมตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กับเส้นทางคมนาคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่มีความสอดคล้องกัน 3) แผนที่ลำดับการพัฒนาตามรายปีได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อถนนถูกพัฒนาใหม่ กลุ่มหมู่บ้านจัดสรรจะเกิดขึ้นก่อนเป็นลำดับแรก ต่อมาเมื่อมีความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจะเริ่มพบเห็นพื้นที่พาณิชยกรรม และสาธารณูปการเกิดขึ้นตามมา โดยมีรูปแบบการพัฒนาไปตามแนวแกนถนน(Ribbon Development) ซึ่งพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร แต่ในส่วนสาธารณูปการที่เกิดขึ้น มีความครอบคลุมแต่ไม่ใช่ด้วยกลไกหรือการวางแผนของภาครัฐแต่เกิดจากการพัฒนาของภาคเอกชนเป็นหลัก จึงทำให้รูปแบบการพัฒนาขาดการดำเนินการอย่างดีพอจนไม่สอดคล้องกับการวางผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครในย่านนี้ จึงสรุปได้ว่าจากการพัฒนาที่เกิดขึ้นบนถนนราชพฤกษ์ และถนนกัลปพฤกษ์ พบว่า มีทั้งในประเด็นที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งในประเด็นที่ไม่สอดคล้องนำมาสู่ข้อเสนอ ในการส่งเสริมการพัฒนาถนนสายย่อย การศึกษาเส้นทางเดินรถสาธารณะ การนำเครื่องมือทางผังเมืองด้านอื่นๆมาใช้งาน เช่น การจัดรูปที่ดิน รวมไปถึงการบังคับใช้แผนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาใช้บริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รีสอร์ทเพื่อสุขภาพได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากและต้องปรับตัวเพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย การตลาด การบริการ ลักษณะทางกายภาพ การบริหารจัดการภายในองค์กรและแนวทางการพัฒนารีสอร์ทเพื่อสุขภาพเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่มีความคล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีกรณีศึกษา 3 แห่งและเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ จำนวน 2 คน ผู้บริโภครีสอร์ทเพื่อสุขภาพ จำนวน 30 คน รวมเป็นจำนวน 36 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านกลุ่มเป้าหมายรีสอร์ทเพื่อสุขภาพต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ด้านการตลาดรีสอร์ทเพื่อสุขภาพมีการปรับลดราคาและรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางไปยังรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ คือ ปัจจัยทางด้านราคา รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการบริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ 4) ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ลงความเห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นแนวทางในการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม ในรูปแบบระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในยามวิกฤต


การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์ Jan 2022

การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้อง หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. ขึ้นไปต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในหลักเกณฑ์คือ พื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของเมือง ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การประกาศใช้การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปีพ.ศ. 2535 หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวให้ดีขึ้น โดยกำหนดกรอบการวิจัยคือ การศึกษาโครงการอาคารชุดพักอาศัยรวมที่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2561 เป็นกรณีศึกษา และจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การวิจัยเชิงเอกสารพบว่า พื้นที่สีเขียวทุกประเภทสามารถทำได้เกินจากหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์กลุ่มที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดทำพื้นที่สีเขียว คือ การทำให้ผ่านหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะต้องเกินมากน้อยเพียงไร ซึ่งแสดงให้เห็นจากตัวเลขพื้นที่สีเขียวรวมที่หลักเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ 1 ตร.ม. ต่อ 1 คนนั้นมีค่าเฉลี่ยเกินเพียง 1.07 ตร.ม. ต่อ 1 คน ปัจจัยสำคัญรองลงมาคือ ชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้น เพราะต้องนำไปคำนวณการดูดซับคาร์บอน โดยกลุ่มที่ปรึกษาขอให้กลุ่มผู้ออกแบบเลือกใช้ชนิดพันธุ์จากตารางอ้างอิงที่ถูกทำขึ้นในปีพ.ศ. 2538 และยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ออกแบบพบว่า ไม่สามารถนำชนิดพันธุ์เหล่านั้นมาใช้ได้จริง เพราะตารางอ้างอิงนี้ไม่ได้ตรวจทานเพิ่มเติมมาถึง 28 ปีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจพบว่าชนิดพันธุ์ในเล่มรายงานไม่ตรงกับในโครงการจริง พิสูจน์ได้ว่าหลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนนี้ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้เพราะชนิดพันธุ์ที่ใช้ในการคำนวณไม่ได้นำมาใช้จริง และเมื่อรวมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพื้นที่สีเขียว จึงได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ได้แก่ 1) หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวรวม 1 ตร.ม. ต่อ 1 คน ต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นต่ำมากขึ้น เนื่องด้วยหลักเกณฑ์เดิมไม่เพียงพอต่อสถานการณ์การอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นขึ้นมากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา 2) หลักเกณฑ์ขั้นต่ำประเภทอื่นๆ ควรถูกนำมาประเมินเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน 3) หลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนต้องปรับปรุงให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อให้สิ่งที่ปรากฎในเล่มรายงานส่งผลไปยังการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ต่อไป


ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง Jan 2022

ประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของการทำความเย็นวิธีกระจายลมแบบแทนที่โดยใช้เครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลม, สุพัตรา สุขเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านพลังงานและความน่าสบายของเครื่องปรับอากาศแยกส่วนต้นแบบ โดยการนำหน้ากากครอบแอร์และพัดลมในคอยล์เย็นออกแล้วตั้งค่าอัตโนมัติให้อุณหภูมิเริ่มต้นที่ 25.5 องศาเซลเซียส แรงดันน้ำยาแอร์ 250 PSI กำลังไฟฟ้า 2.7 กิโลวัตต์ และกำลังไฟฟ้าของเครื่องลดความชื้น 0.02 กิโลวัตต์ แล้วทำงานติดตั้งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับเหนือข้อเท้า (+0.15 ม.) 2. ระดับลำตัว (นั่งเก้าอี้) (+0.81 ม.) 3. ระดับเหนือลำตัว (+1.47 ม.) และ 4. ระดับเหนือศีรษะ (+2.13 ม.) ตามลำดับ จากนั้นทำการทดสอบในห้องจำลองเสมือนจริงที่ขนาด 1.60 x 2.70 x 2.60 ม. ในขณะทดสอบมีการใช้หลอดไฟ LED ทั้งหมด 35 วัตต์ เพื่อเพิ่มความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้อง ซึ่งภายในห้องทดลองได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิ 12 ช่อง เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ อุณหภูมิกระเปาะเปียก-แห้ง เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าและเครื่องลดความชื้น โดยมีระยะเวลาในการทำวิจัยอยู่ในช่วงสั้น ๆ คือช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (เริ่มต้นเข้าฤดูหนาว) มีช่วงเวลาทดสอบตลอด 24 ชม.ของหนึ่งตัวอย่างทดสอบ ภายใต้อุณหภูมิภายนอก 19-36 องศาเซลเซียส ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการทดสอบนี้อาศัยหลักการไหลของมวลอากาศ ตามหลักการจ่ายลมเย็นแบบ displacement ventilation (การกระจายลมเย็นแบบแทนที่) จากการทดสอบพบว่าการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ผลการทดสอบพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยลดลง 0.5 - 1 องศาเซลเซียสทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีการกระจายความเย็นอย่างสม่ำเสมอเมื่อเครื่องทำงานต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงเป็นต้นไป ซึ่งจากผลการประเมินประสิทธิภาพความน่าสบายพบว่า ร้อยละ 80 ของช่วงเวลาการทดสอบ คืออุณหภูมิ 23.3 – 29.4 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกินร้อยละ 70 (ในการศึกษาเฉพาะ 2 ตัวแปร คืออุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์) สรุปการวิจัยพบว่าเครื่องปรับอากาศแยกส่วนแบบไร้พัดลมที่มีเครื่องลดความชื้น …


ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี Jan 2022

ผลกระทบของ Covid-19 ต่อการใช้พื้นที่ทำงาน: กรณีศึกษา พนักงาน 3 กลุ่มที่ทำงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 3 แห่งในกรุงเทพมหานคร, ศิริพร เลิศอภิรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

COVID-19 ถูกประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย มีภาวะรุนแรงและเกิดการแพร่ระบาดของโรคทำให้เกิดวิธีปฏิบัติการเพิ่มระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลกระทบต่อการใช้สถานที่ทำงานในหลายด้าน และเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคและความต่อเนื่องทางธุรกิจ องค์กรต่าง ๆ มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากบ้าน รวมถึงมีการปรับพื้นที่ทำงานในรูปแบบที่ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้ได้มากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของพนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงเวลาแพร่ระบาด และปัญหาของการทำงานจากบ้าน โดยรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามพนักงานของธนาคารพาณิชย์สังกัดสำนักงานใหญ่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3 กรณีศึกษา นำข้อมูลมาแจกแจง วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการศึกษา ผลการศึกษาจะช่วยให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารได้นำไปใช้เพื่อการวางแผนการจัดสรรพื้นที่ทำงานหากมีสถานการณ์โรคระบาดขึ้นอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 มีการทำงาน 3 รูปแบบคือ เข้ามาทำงานที่สำนักงาน ทำงานจากบ้าน และทำงานจากนอกสถานที่ ๆ ไม่ใช่สำนักงานและบ้าน จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ได้แก่ 1) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นการพบปะบุคคลภายนอกองค์กร 2) ปัจจัยจากลักษณะการทำงานที่เน้นไปทางการทดลอง ทดสอบระบบและอุปกรณ์ และ 3) ปัจจัยจากปัญหาการทำงานจากบ้านในเรื่องการเชื่อมต่อระบบขององค์กรส่งผลกระทบต่อการเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่สำนักงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้ง 3 กรณีศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง ส่วนปัญหาของการทำงานจากบ้านนั้นจากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคการทำงานจากบ้านในเรื่องเฟอร์นิเจอร์ไม่รองรับและบรรยากาศไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน รวมถึงมีความไม่สมดุลระหว่างระยะเวลาการทำงานและเวลาส่วนตัว มีระดับความจำเป็นในระดับสูงทั้ง 3 กรณีศึกษา ถึงแม้ว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนวันที่เข้าปฏิบัติงานและปัญหาดังกล่าวไม่ได้อยู่ในระดับสูง แต่ก็เป็นปัญหาที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ ซึ่งหากละเลยการแก้ไขดูแลปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียกับองค์กรในระยะยาวได้ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การระบาดและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่สำนักงาน โดยปัจจัยเหล่านี้สัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าใช้พื้นที่สำนักงาน หากปัจจัยดังกล่าวมีระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในสถานการณ์โรคระบาดก็จะแปรเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตามการจัดสรรพื้นที่ให้พนักงานเข้าปฏิบัติงานในช่วงการระบาดนั้นยังคงต้องคำนึงถึงการจัดสรรขนาดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย


การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ Jan 2022

การรวบรวมและจัดกลุ่มกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและการศึกษาเชิงปฏิบัติ, สุชานาฏ ภู่ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการในแขนงต่างๆ และเนื่องด้วยในปัจจุบัน 56% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเมือง ส่งผลให้หลายประเทศเผชิญปัญหาการขยายตัวของเมือง ดังนั้นจึงเริ่มมีการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้ร่วมกับการจัดการเมือง เช่น การบูรณาการเข้ากับโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งก่อให้เกิดทางเลือกในการจัดการพลังงานและช่วยเพิ่มปริมาณการประหยัดพลังงานในเมืองได้ โดยการบูรณาการเช่นนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองในทุกๆแง่มุมจนนำไปสู่แนวคิด “การดำรงชีวิตอัจฉริยะ” ในทางเดียวกันการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเกิดจากการบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ากับอาคารอัจฉริยะ (Smart building) หรือบ้านอัจฉริยะ (Smart home) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ แม้ว่าแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยนั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่กลับพบว่าข้อมูลเหล่านั้นกระจายและสอดแทรกอยู่ภายใต้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาคารหรือบ้านอัจฉริยะซึ่งขาดการรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลด้านนี้อย่างเป็นระบบรวมถึงขาดการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน อีกทั้งการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะส่วนใหญ่เน้นข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่กรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยที่ผสานระหว่างข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่ไม่ใช่เทคโนโลยีสารสนเทศจากการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาความครอบคลุมด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะในบริการและผลิตภัณฑ์จากภาคธุรกิจจริงที่มีความเป็นปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่อ้างอิงตามแนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นด้วยการคัดกรองการศึกษาทางวิชาการทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับอาคารอัจฉริยะหรือบ้านอัจฉริยะจำนวน 30 ฉบับแล้วจึงทำการทบทวนวรรณกรรม จากนั้นจึงคัดเลือกการศึกษาที่มีการนำเสนอรูปแบบของแนวปฏิบัติ เกณฑ์ ตัวบ่งชี้หรือแบบจำลองความคิดสำหรับบ้านหรืออาคารอัจฉริยะ กรณีศึกษาที่ได้รับคัดเลือกประกอบด้วยการศึกษาเชิงทฤษฎี 5 กรณีศึกษาและการศึกษาเชิงปฏิบัติ 2 กรณีศึกษา ต่อมาจึงทำการรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะในแง่ของคุณภาพที่อยู่อาศัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบความคิด ผลการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งกรอบความคิดได้เป็น 2 กลุ่มหลักได้แก่ การจัดการและการยกระดับ ซึ่งประกอบด้วย 9 เกณฑ์และ 30 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำกรอบความคิดที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการศึกษาเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ รวมทั้งทำการสาธิตวิธีการประยุกต์ใช้กรอบความคิดในการพิจารณาโครงการที่เกี่ยวข้องการดำรงชีวิตอัจฉริยะเพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและพัฒนาต่อยอดในอนาคต จากการวิเคราะห์พบว่าการศึกษาเชิงทฤษฎีได้วางกรอบความคิดการดำรงชีวิตอัจฉริยะไว้อย่างคลุมครอบมากกว่าการศึกษาเชิงปฏิบัติ นอกจากนั้นยังทราบถึงแนวโน้มของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตอัจฉริยะว่ามีการเน้นย้ำในการปฏิบัติการด้านเกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขภาพและเกณฑ์การจัดการภาวะส่วนตัวสูงสุด รวมถึงพบช่องว่างในการสาธิตเกณฑ์การประเมินระดับความอัจฉริยะว่าควรบูรณาทั้งการประเมิณเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงตัวเลขซึ่งช่วยส่งเสริมให้เกิดการประเมินระดับการดำรงชีวิตอัจฉริยะที่สมบูรณ์


ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา Jan 2022

ผลกระทบจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงกับการออกแบบพลังงานหมุนเวียน เพื่อไปสู่อาคารพักอาศัยปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์, อภิญญา เวชกามา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต อาจส่งผลให้การจำลองประสิทธิภาพอาคารมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากไฟล์ข้อมูลอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการจำลองนั้น เป็นข้อมูลในช่วงปี ค.ศ.1990 และยังไม่มีข้อมูลที่คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในปัจจุบันและอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างไฟล์อากาศของกรุงเทพฯ ที่เป็นไปตามการคาดคะเนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตของ IPCC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการนำไปใช้ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคารที่มีเป้าหมายเป็น Net Zero Carbon งานวิจัยนี้ได้ทำการนำข้อมูลอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัยในกรุงเทพฯ มาใช้เป็นอาคารกรณีศึกษา โดยทำการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร จากนั้นวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลังงานตลอด 60 ปีข้างหน้า เพื่อนำผลรวมของการใช้พลังงานไปใช้ในการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี (LCA) และเสนอแนวทางการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยวิธีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากการศึกษาพบว่า ตลอดช่วงชีวิตอาคาร 60 ปี ของอาคารคอนโดมิเนียมพักอาศัย ผลการจำลองการใช้พลังงานโดยการใช้ไฟล์อากาศที่สร้างขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้น อาคารมีการใช้พลังงานในอาคารเพิ่มมากขึ้นเป็น 43% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลให้ผลการประเมินวัฏจักรชีวิตอาคารมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และหากพิจารณาเรื่องการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 40% เมื่อเปรียบเทียบกับการที่ไม่ได้คำนึงถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ


การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน Jan 2022

การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Bim) ในขอบเขตของงาน (Tor) จ้างออกแบบ: กรณีศึกษาโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, อลีนา ธรรมสอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modelling: BIM) เป็นกระบวนการในการสร้างและจัดการข้อมูลตัวแทนดิจิทัล (digital representation) ของสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิต งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการศึกษาในช่วงการวางแผนและออกแบบซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการจัดเตรียม BIM โดยมีเอกสารข้อตกลง คือ ขอบเขตของงาน (Terms of Reference: TOR) จากกระบวนการทำงานของ BIM ส่งผลให้ TOR มีลักษณะเฉพาะตัวและจำเป็นต้องมีข้อกำหนดเพิ่มเติม จึงนำมาสู่การศึกษาข้อกำหนดเกี่ยวกับ BIM ใน TOR จ้างออกแบบเพื่อเป็นแนวทางการนำ BIM ไปใช้ในขอบเขตของการจ้างงานออกแบบสำหรับโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ จากการศึกษาพบว่า เอกสาร TOR โครงการของรัฐยังขาดการระบุรายละเอียดสำหรับ BIM องค์ประกอบของข้อกำหนดข้อมูล (Information Requirements) ที่สำคัญสำหรับ BIM ได้แก่ การใช้ประโยชน์ BIM (BIM Uses), กำหนดการ (Schedule), มาตรฐาน (Standard), การสื่อสาร (Communication), เทคโนโลยี (Technology), โครงสร้างแบบจำลอง (Model Structure), ทีมปฏิบัติงาน BIM (BIM Team), การประชุมโครงการ (Project Meeting) และการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) โดยสามารถจำแนกรูปแบบของ TOR โครงการกรณีศึกษาตามจำนวนองค์ประกอบข้างต้นได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ไม่มีการกำหนดเพิ่มเติม รูปแบบที่มีการระบุ 1, 2 และ 6 องค์ประกอบ จากการสัมภาษณ์เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนและออกแบบโครงการที่ใช้ BIM ได้แก่ ปัจจัยด้านความเข้าใจเกี่ยวกับ BIM ปัจจัยด้านการนำ BIM ไปปฏิบัติ และปัจจัยด้านเทคนิคและทรัพยากร ผลการวิจัยสรุปได้ว่าโครงการที่แนะนำให้กำหนดใช้ BIM คือ โครงการที่อาคารมีความซับซ้อน ซับซ้อนมาก ขนาดใหญ่ หรือขนาดใหญ่พิเศษ เพื่อให้สามารถนำ …


Development And Changes In The Ergo Design Of Protestant Churches In Ukraine (1991-2021), Valentyna Kuryliak, Volodymyr Dudarets, Valeriy Bulatov Jan 2022

Development And Changes In The Ergo Design Of Protestant Churches In Ukraine (1991-2021), Valentyna Kuryliak, Volodymyr Dudarets, Valeriy Bulatov

Occasional Papers on Religion in Eastern Europe

The article presents the evolution of ergonomics and design of Protestant churches in Ukraine in the period from 1991-2021. Since Ukraine left the Soviet Union, the Soviet worldview of Ukrainian Protestants has gradually changed, which, in turn, influenced the formation of the subject-spatial environment and, in general, the ergo design of Protestant churches. The concept presented in the article is that ergo design is similar to a living organism, which changes under the influence of external factors, such as the emotional feeling of believers, political and economic changes, etc. This influence was especially evident during the transitional period on the …