Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Architecture

การประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวที่ได้จากการประมูลทรัพย์ผ่านกรมบังคับคดีในจังหวัดสมุทรปราการ, วิศัลยา สุดเสถียร Jan 2022

การประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวที่ได้จากการประมูลทรัพย์ผ่านกรมบังคับคดีในจังหวัดสมุทรปราการ, วิศัลยา สุดเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การซื้อบ้านมือสองผ่านการประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดีมีจุดเด่นคือราคาที่ต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดประมาณร้อยละ 20 – 60 และมีทรัพย์ให้เลือกในหลากหลายทำเล แต่เนื่องจากทรัพย์ที่กรมบังคับคดีนำออกมาประมูลจะเป็นทรัพย์ที่มีข้อพิพาททางกฎหมายจึงมีสภาพทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษาและอาจก่อให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกันออกไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมือสองจากกรมบังคับคดีทราบถึงขั้นตอนการดำเนินการและข้อพึงระวัง รวมถึงการเตรียมค่าใช้จ่ายและประเมินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์ที่ประมูลได้ ผลการศึกษาพบว่าในการเข้าร่วมประมูลทรัพย์จะแบ่งช่วงระยะในการดำเนินงานได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1. ก่อนการประมูล 2. ระหว่างประมูล และ 3. หลังการประมูล โดยช่วงที่มีความสำคัญและส่งผลทำให้เกิดค่าใช้จ่ายได้แก่ ช่วงก่อนการ ประมูล และช่วงหลังการประมูล โดยช่วงก่อนการประมูลเป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษารายละเอียดและเงื่อนไข, การลงพื้นที่เพื่อสำรวจ, การเตรียมหลักฐานแสดงตนและการเตรียมเงินประกัน นอกจากนี้ยังพบทรัพย์ที่จะเพิ่มค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1. ทรัพย์ที่ขายตามสำเนาโฉนด 2. ทรัพย์ที่ขายแบบติดจำนอง 3. ทรัพย์ที่ยังมีผู้อยู่อาศัยเดิมอาศัยอยู่ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลานานในการย้ายออกหรืออาจต้องมีการฟ้องขับไล่ และ4. ทรัพย์ที่โครงสร้างชำรุดเสียหาย ทรุดหรือเอียงอย่างเห็นได้ชัด การเตรียมตัวที่ดีและการหลีกเลี่ยงทรัพย์ที่มีลักษณะดังที่กล่าวมาจะช่วยลดความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสียสิทธิ เสียเวลา รวมถึงเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ และในช่วงหลังการประมูลทรัพย์หากเป็นผู้ชนะการประมูลจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการปรับปรุงซ่อมแซม ซึ่งพบว่าการปรับปรุงเพื่อนำไปขายต่อของบ้านประเภททาวน์เฮาส์รวมค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมจะคิดเป็นร้อยละ 9.60 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แบ่งเป็น 1.หมวดงานสถาปัตยกรรม ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 89.78 2.หมวดงานระบบ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 7.05 และ 3.หมวดงานอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง ซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 3.17 และบ้านประเภทบ้านเดี่ยวรวมค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมจะคิดเป็นร้อยละ 10.91 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แบ่งเป็น 1.หมวดงานสถาปัตยกรรม ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 93.31 2.หมวดงานระบบ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 4.51 และ 3.หมวดงานอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมคิดเป็นร้อยละ 2.18 สำหรับการปรับปรุงเพื่ออยู่อาศัยจริงอาจมีรายละเอียดที่ผู้ซื้อทรัพย์จะต้องเปลี่ยนหรือทำการปรับปรุงมากขึ้น เพื่อให้สามารถอยู่อาศัยได้ตามลักษณะครอบครัวจริง พบว่าการปรับปรุงเพื่อการอยู่อาศัยนั้นอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเพิ่มขึ้นของบ้านประเภททาวน์เฮาส์คิดเป็นร้อยละ 13.59 และบ้านเดี่ยวคิดเป็นร้อยละ 16.30 ของราคาทรัพย์ โดยอัตราที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการทรุดตัวของสภาพบ้าน เช่น บริเวณโรงรถ และพื้นที่ต่อเติมครัว รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อให้ได้ตำแหน่งตรงตามการใช้งาน


รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์ Jan 2022

รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของปริมาณทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นผลมาจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อเข้าบริหารหนี้เสียจากสถาบันการเงิน โดยภาพรวมทรัพย์สินรอการขายของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2555 และหลังจากพ.ศ. 2559 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแบบชะลอตัวลง บทความนี้มีประเด็นคําถามในงานวิจัยคือ ปัจจัยทางกายภาพด้านใดที่มีความสําคัญและส่งผลต่อการจําหน่าย ทรัพย์สินรอการขายประเภทที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์ดังกล่าว พร้อมศึกษาแนวทางและนโยบายการจัดการทรัพย์สินรอการขายของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) หรือ บสก. ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลโดยการสืบค้นจากข้อมูลเอกสารแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบ้าน มือสองประเภททรัพย์สินรอการขาย และศึกษาจากฐานข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์ของบสก.โดยตรง ซึ่ง ข้อมูลที่นํามาวิเคราะห์อยู่ในช่วง พ.ศ. 2541-2562 รวมระยะเวลา 21 ปี ต่อมาเป็นขั้นตอนการสํารวจทรัพย์สินรอการขายใน ปัจจุบัน เพื่อนําข้อมูลดังกล่าวไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร ถึงแนวทางการบริหารจัดการสินทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ แล้ว จึงวิเคราะห์ มุมมองสอดคล้อง เพื่อทราบถึงปัจจัยทางกายภาพด้านที่ส่งผลสําคัญต่อการจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวของบสก. จากการศึกษาพบว่าบริษัทฯมีสินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 9,136 รายการ มูลค่า 16,008 ล้านบาท การ กระจุกตัวจะอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯมากที่สุดมี 3,592 รายการ มูลค่า 7,770 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48 ของสินทรัพย์รวม และหากศึกษาการกระจุกตัวของจํานวนและราคาสินทรัพย์จะพบว่าบ้านเดี่ยวเป็นทรัพย์ที่มีเหลือขายมากที่สุดรวม 735 รายการ มูลค่ารวม 3,874 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 ต่อมาเมื่อจําแนกสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ของบสก. จะพบว่าทรัพย์ ราคา 5-10 ล้านบาทจะเหลือขายมากที่สุดมี 221 รายการ คิดเป็นร้อยละ 30 ของสินทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว ทั้งนี้จากการ วิเคราะห์ทําให้ทราบว่าระยะเวลาการถือครองบ้านของบสก.เฉลี่ยอยู่ที่ 3.2 ปี ส่วนระยะเวลาการถือครองบ้านหลังนํามา ปรับปรุงนั้นอยู่ที่ 2.1 ปี ลดลงจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 34 โดยก่อนนํามาปรับปรุงทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่คงค้างอยู่เป็น เวลานานและยังไม่ได้รับการสนใจ แต่เมื่อนําทรัพย์มาพัฒนาก็สามารถจําหน่ายได้รวดเร็วขึ้น โดยบ้านที่จําหน่ายออกได้เร็วกว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือบ้านที่มุ่งเน้นการปรับปรงุ รูปลักษณค์ ือความสะอาดและทาสีภายนอกใหม่ ส่วนบ้านที่จําหน่ายออกได้ล่าชา้ กว่าค่าเฉลี่ยคือบ้านที่ปรับปรุงใหม่และทาสีใหม่ทั้งหลังมีสภาพพร้อมอยู่แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้จําหน่ายยาก


Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot Jan 2022

Process And Stakeholder Relations In The Development Of City Festival To Stimulate The Creative Economy : The Case Study Of Chiang Mai Blooms, Atikarn Arunchot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Festivals relate to the creative economy in diverse ways, in which collaboration and relationships of stakeholders in the festival development process are significant factors that lead to positive impact of the festival. The aims of this paper are to examine the development process of the Chiang Mai Blooms as a city festival, the relationship of the stakeholders involved in the festival to promote the creative economy, and the factors promoting collaboration among festival stakeholders to drive the creative economy. The qualitative data was collected by conducting interviews and using questionnaires, and the secondary data was gathered from the related news …


รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษา ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน, ชญตา ลีวงศ์เจริญ Jan 2022

รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษา ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน, ชญตา ลีวงศ์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยหันมาทำวิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise: SE) เพื่อมุ่งประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับการดำเนินงานที่พักนักท่องเที่ยวยังอยู่ในวงจำกัด แม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มาก วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการนำแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน 2 กรณีศึกษา คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการของที่พักนักท่องเที่ยวแต่ละกรณี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 5 คนต่อกรณีศึกษา และนักท่องเที่ยว 20 คนต่อกรณีศึกษา ใช้การวิเคราะห์ผลในเชิงเปรียบเทียบ แสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของการพัฒนาโครงการเพื่อสังคม รวมถึงสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ประกอบการของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ได้ใช้รูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวเหมือนกัน แม้ว่าจะมีจุดเริ่มต้นในการพัฒนาต่างกัน คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต นำแนวคิดมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ขณะที่โรงแรมสวนสามพรานนำแนวคิดมาใช้เพื่อสร้างจุดขาย 2) การดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 2 แห่ง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทในการดำเนินงานโครงการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจหลักรวมถึงธุรกิจเครือข่าย กลุ่มผู้รับประโยชน์ และกลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนในด้านต่าง ๆ และองค์ประกอบอีกประการ คือ (2) กิจกรรมหลักในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคม 5 ด้านที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การจัดการความรู้และให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ แก่กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบของธุรกิจ การรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคายุติธรรม การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรผ่านผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ การจัดหาตลาดและการกระจายสินค้าทางการเกษตร และการท่องเที่ยวที่สนับสนุนความยั่งยืน 3) การดำเนินโครงการเพื่อสังคมของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ส่งผลกระทบใน 4 ด้าน คือ (1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ (2) ผลกระทบทางสังคม ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3) ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการส่งเสริมกิจกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ (4) ผลกระทบทางธุรกิจ ทำให้เกิดสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้เกิดจุดขายที่แตกต่าง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดเพื่อสังคมทั้งสองกรณี มีกลไกที่สามารถสร้างผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก บทเรียนสำคัญและปัจจัยความสำเร็จคือ …


กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย Jan 2022

กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มูลนิธิสวนแก้ว เป็นองค์กรที่มีนโยบายเปิดรับบริจาควัสดุก่อสร้างมือสอง หรือสิ่งของเหลือใช้ ที่เจ้าของไม่ต้องการใช้แล้ว และพบว่าวัสดุก่อสร้างมือสองเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้มีรายได้น้อย สามารถนำวัสดุไปใช้ในการก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยของตนเองได้ในราคาย่อมเยา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษากระบวนการคัดแยกประเภทวัสดุก่อสร้างในมูลนิธิสวนแก้ว รวมถึงติดตามวัสดุมือสองเหล่านั้น ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 หลัง โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจ และการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยร่วมกับแรงงานก่อสร้าง เพื่อให้เห็นวิธีการนำวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ รวมถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา พบว่ามูลนิธิสวนแก้ว แบ่งวัสดุก่อสร้างมือสองออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ไม้ชนิดต่างๆ วัสดุปูพื้นและหลังคา วัสดุช่องเปิดประตูหน้าต่าง วัสดุสุขภัณฑ์ และวัสดุเบ็ดเตล็ด ส่วนในการนำวัสดุมือสองไปประยุกต์ใช้กับบ้านทั้ง 12 หลัง พบว่ามีปัญหาจากการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยแบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น 2 ประเภท คือ การใช้วัสดุตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากการที่เจ้าของบ้าน หรือแรงงานก่อสร้าง ขาดความเข้าใจในวิธีการใช้งานของวัสดุมือสองและวิธีการก่อสร้าง และการใช้วัสดุไม่ตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากเจ้าของบ้านไม่ได้วัสดุตามที่ต้องการ เนื่องจากวัสดุที่ถูกนำมาวางขายในมูลนิธิสวนแก้ว มีรูปแบบไม่ซ้ำเดิมในแต่ละวัน เพราะเป็นของที่ได้จากการรับบริจาค รวมถึงเจ้าของบ้านต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณไม่เพียงพอ จึงต้องเลือกวัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน และจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสามารถแบ่งวิธีการแก้ปัญหาเป็น 2 รูปแบบ คือการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวด้วยการใช้วัสดุเดิมที่เจ้าของบ้านเลือกใช้ ที่กระทบต่อค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนวัสดุหรือวิธีก่อสร้างใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมในการจ่ายที่มากกว่า ดังนั้น แม้ว่าการนำวัสดุมือสองมาใช้ในการก่อสร้างหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย จะสามารถตอบโจทย์ให้ผู้มีรายได้น้อยได้ในระดับหนึ่ง แต่หากไม่เข้าใจในคุณสมบัติของวัสดุ และไม่เข้าใจในวิธีก่อสร้าง ก็จะพบปัญหาจากการใช้วัสดุเหล่านี้ ซึ่งในการแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในการนำวัสดุมือสองไปใช้งาน พบว่า 1. ควรเลือกวัสดุมือสองให้ตรงตามประเภทการใช้งาน 2. ควรเลือกวัสดุมือสองที่ยังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ และ 3. ควรเตรียมความพร้อมของวัสดุมือสองก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งถ้าหากผู้มีรายได้น้อยสามารถนำวัสดุมือสองไปใช้ในการก่อสร้างได้อย่างถูกวิธีก็จะส่งผลต่อการลดปัญหาจากการใช้วัสดุได้อีกทางหนึ่ง


บทเรียนจากกระบวนการจัดการชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร, กัญจนวรินทร์ ธรรมานวัตร์ Jan 2022

บทเรียนจากกระบวนการจัดการชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร, กัญจนวรินทร์ ธรรมานวัตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ช่วงต้นเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ลามไปทั่วกรุงเทพมหานคร โดยชุมชนแออัดถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนช่วยเหลือชุมชนโดยพบว่า ชุมชนบ้านครัวได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีการบริหารจัดการชุมชนได้อย่างดี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการชุมชนบ้านครัวในช่วงของการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยศึกษาลักษณะของชุมชนบ้านครัว ก่อนการแพร่ระบาดและศึกษาผลกระทบเมื่อเกิดการแพร่ระบาด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้นำชุมชน อาสาสมัคร และสมาชิกชุมชนทั่วไป และผู้เชี่ยวชาญตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ โดยมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 382 ราย และผู้เสียชีวิต 18 ราย จากสภาพทางกายภาพที่มีการอยู่อาศัยอย่างแออัดทำให้เกิดการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างรวดเร็ว โดยทางด้านเศรฐกิจมีผู้ได้รับกระทบโดยขาดรายได้ ทางสังคมเกิดการงดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางศาสนา โดยชุมชนบ้านครัวมีกระบวนการจัดการวิกฤติโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.กิจกรรมที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชนเองได้แก่ 1) การจัดตั้งครัวชุมชนแจกจ่ายอาหารและสิ่งของที่จำเป็น 2) การประกาศปิดทางเข้าออกชุมชนคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ 3) การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัคร ร่วมกับ กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์พัฒนาบ้านครัว เพื่อช่วยเหลือตนเอง 2.ชุมชนบ้านครัวมีการประสานงานและได้รับความช่วยเหลือและงบประมานจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชนที่ทำให้เกิดกิจกรรม คือ 1) การสอบสวนโรคเพื่อหาจุดเสี่ยงและทำความสะอาดที่อยู่อาศัย 2) การจัดประชุมออนไลน์เพื่อให้ความรู้ 3) การวิเคราะห์ผังชุมชนที่เป็นจุดด้อย 4) การเข้าร่วมส่งผู้ป่วยกักตัวที่ศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 พาณิชยการเจ้าพระยา 5) การนัดตรวจโควิดเชิงรุกผู้อาศัยบ้านครัว 6) การจัดตั้งศูนย์ประสานงานในชุมชน บทเรียนเความสำเร็จด้วยปัจจัยต่าง ๆ คือ 1) เป็นชุมชนเข้มแข็ง ที่มีประวัติการต่อสู้มายาวนาน และผ่านกระบวนการบ้านมั่นคงจึงมีความพร้อมทั้งด้านข้อมูลและการจัดการตนอง 2) แกนนำชุมชนมีความเข้มแข็งและได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน 3) ชุมชนสามารถสื่อสารความต้องการ เปิดรับและคัดสรรความร่วมมือจากภาคีต่างๆอย่างเหมาะสม โดยมีคนในชุมชนเป็นกำลังหลักในการจัดการ 4) ความจำเป็นในการจัดการอาหารฮาลาลด้วยชุมชนเอง เพิ่มความเข้มแข็งชุมชน 5) การเกิดกิจกรรมการจัดการด้านกายภาพของบ้านและชุมชนร่วมกับภาคีในการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะชุมชนผู้มีรายได้น้อยเมื่อเกิดวิกฤตในอนาคต ครัวเรือนควรมีการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีการเปิดระบายอากาศและแสงเข้าถึงได้มากขึ้นและปรับปรุงห้องน้ำให้ใช้งานได้อย่างถูกสุขลักษณะ ชุมชนควรมีการจัดพื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อเป็นพื้นที่ให้กลุ่มอาสาสมัครใช้ในการประสานงานช่วยเหลือ ควรมีการจัดกิจกรรมทางด้านอาหารเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนและป้องกันการแพร่ระบาด รวมถึงเป็นการเสริมสร้างพลังแก่ชุมชน ข้อเสนอต่อหน่วยงานภายนอก ควรมีการทำงานด้วยข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง และมีความเชื่อมโยงประสานกันระหว่างแต่ละหน่วยงาน ข้อเสนอแนะต่อผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการชุมชนเมื่อเกิดภาวะวิกฤติในอนาคต คือควรมีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานอย่างครบถ้วน เพื่อนำไปใช้ในการออกนโยบายและนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน ที่มีทุนมนุษย์และทุนสังคมที่แตกต่างกัน และควรสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) ให้กับทุกชุมชนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม


การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม Jan 2022

การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จากร้อยละ 12 และใน พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 จากประชากรรวมทั้งประเทศ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวพบว่าสถิติผู้มีงานทำทั่วประเทศที่มีอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับสัดส่วนแนวโน้มแรงงานก่อสร้างในเขตกทม. ที่เพิ่มจาก ร้อยละ 12 ในพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2564 จากจำนวนแรงงานก่อสร้างรวมทั้งประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่ายิ่งมีแรงงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแคมป์มากขึ้นจะมีสัดส่วนแรงงานที่ต้องสูงอายุมากขึ้น ซึ่งแรงงานก่อสร้างที่พักอาศัยในแคมป์คนงาน หลังจากเกษียณอายุแล้วไม่สามารถอาศัยอยู่ในแคมป์ได้ แรงงานกลุ่มนี้ก่อนวัยเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุอย่างไร โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้าง และพักอยู่ในแคมป์คนงานที่รับผิดชอบโดย 4 บริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณจากการเก็บแบบสอบถามแรงงานก่อสร้างชาวไทย 400 ตัวอย่าง และชาวเมียนมา 400 ตัวอย่าง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คน จากแรงงานกลุ่มประชากรแรงงานก่อสร้าง จำนวน 2,471 คน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวไทย มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 84.25 และ 15.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน 5,000-10,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55-60 ปี, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่มีที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคอีสาน, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม …


โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี Jan 2022

โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) กรณีศึกษา เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก, บุศรินทร์ เขียวไพรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจ โดยการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง 12 ประเภท เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต โดยจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มดังกล่าวขึ้น อาทิเช่น มาตรการการส่งเสริมการลงทุน การจัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) นั้นจัดอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบันมีการพัฒนาทคโนโลยีในการรักษาคุณภาพชีวิตของมนุนย์ให้มีชีวิตยืนยาว ประกอบกับประเทศไทยเป็นปลายทางของนักท่องเที่ยวและคนไข้ เนื่องด้วยข้อได้เปรียบเรื่องราคา การบริการที่ดี รวมทั้งคุณภาพของบุคลากร โดยเฉพาะแพทย์ทางเลือกและการดูแลฟื้นฟู รวมทั้งบริการต่อเนื่อง ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีแนวโน้มการลงทุนในอนาคตสูง รัฐบาลนำโดยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมทางแพทย์ นำมาสู่การจัดทำแผนงานโครงการและมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ก่อให้เกิดการจัดตั้งศูนย์การแพทย์ครบวงจร ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้บริการของกลุ่มเป้าหมาย ดังเช่น กรณีศึกษาทั้งสองแห่งของการวิจัย ได้แก่ เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา และโครงการยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จากข้างต้นจึงนำมาสู่การศึกษาโอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาศูนย์การแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) โดยศึกษาข้อมูลแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยอื่นๆ และศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการของกรณีศึกษาทั้งสองแห่ง โดยวิเคราะห์ที่ตั้งการใช้ที่ดิน รวมทั้งนโยบาย กฎหมายข้อบังคับต่างๆ นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ผนวกกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องทั้งในด้านการดำเนินการโครงการศูนย์การแพทย์ ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และด้านกฎหมายหรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ จากการศึกษา พบว่า การดำเนินโครงการศูนย์การแพทย์ครบวงจรนั้น จะต้องมีปัจจัยสนับสนุน คือ พื้นที่โครงการจะต้องมีศักยภาพในเรื่องที่ตั้งและโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ เช่น สถาบันการศึกษาและสถานพยาบาลที่มีการรองรับการให้บริการด้านการแพทย์ การเข้าถึงพื้นที่ ปัจจัยดึงดูดด้านการท่องเที่ยวโดยรอบเพื่อผนวกร่วมกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รวมทั้งปัจจัยส่งเสริมด้านกฎหมาย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน มาตรการทางผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ในการดำเนินการโครงการเนื่องด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่ จะต้องมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนโครงการในภาพรวม ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง และภาครัฐที่จะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และจัดการข้อจำกัดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มวิชาการ รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพที่รองรับการให้บริการในพื้นที่


แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย Jan 2022

แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากมีประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการตั้งคำถามมากมายโดยเฉพาะความเหมาะสมของประกาศแนบท้ายการประกอบพื้นที่เกษตร กำหนดเพียงอัตราส่วนพื้นที่ต่อจำนวนชนิดต้นไม้ 57 ชนิด ทำให้เจ้าของที่ดินแผ้วถางที่เพื่อปลูกพืชเช่นกล้วยและมะนาวแทน ในมาตรา 37 วรรคหก กำหนดให้คณะกรรมการของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีตามความเหมาะสมของบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นได้ ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาบริบทพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเป็นเมืองมากกว่าชนบท รวมถึงมีมาตรการผังเมือง แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะในหลายด้าน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับประโยชน์ของเกษตรในเมือง โดยมีปัจจัย 3สิ่งต้องคำนึงถึง คือ พื้นที่ตั้ง วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรในเมือง โดยงานวิจัยนี้สามารถเสนอแนะสาระสำคัญการประกอบพื้นที่เกษตรในเมือง ในกรุงเทพมหานครคือ พื้นที่ 3 กลุ่มเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่นิติบุคคล มีวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่เพื่อการปลูก การเลี้ยงดู การทำให้เพิ่มพูน การนำเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างการเพิ่มมูลค่า และการกระจายผลผลิตที่เป็นอาหาร รวมถึงผลผลิตที่ไม่ใช่อาหารอย่างพืชที่เป็นยาสมุนไพร รวมถึงการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ และการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้น การเสนอสาระสำคัญในข้อบัญญัติเกษตรในมืองในกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมการลดหย่อนภาษีตามมาตรการส่งเสริมการพัฒนา โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ คำนวณเพื่อลำดับคะแนนกิจกรรมที่สอดคล้องกับเมือง กิจกรรมที่สอดคล้องสูงสุดได้แก่ การปลูกพืช การฝึกอาชีพ อบรมผู้นำ รวมกลุ่มแม่บ้าน ขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และอบรมการจัดการเกษตรในเมือง


การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า(ทีโอดี) : กรณีศึกษาสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน, พีระพงศ์ เวชส่งเสริม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมิทัศน์ถนน (Street Scape) เป็นคุณลักษณะทางกายภาพสำคัญที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองๆนั้น ให้ผู้คนได้เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ ตลอดจนวิถีชีวิต วัฒนธรรมที่สอดคล้องกันกับผู้อาศัยในเมืองนั้นๆ ซึ่งแต่เดิมสยามประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น นครเวนิสตะวันออก ที่ใช้เรือเป็นพาหนะขนส่งหลัก แต่หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring Treaty) ในปี พ.ศ. 2399 ถนนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีองค์ประกอบภูมิทัศน์ถนนที่สำคัญ ได้แก่ อาคารทางประวัติศาสตร์ ต้นไม้ ทางเท้า ที่ว่าง กิจกรรมของชุมชน ฯลฯ เมื่อเวลาผ่านไปความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ถนนในย่านเมืองเก่า ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยของกฎระเบียบภายในพื้นที่เมืองเก่า ปรากฎการณ์ของเจนตริฟิเคชัน (gentrification) รวมทั้งการมาถึงของโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่ใช้แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยอาศัยสถานีรถไฟฟ้าเป็นจุดศูนย์กลาง คือโครงการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือทีโอดี (Transit Oriented Development : TOD) มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่ช่วยให้คนหันมาใช้รถน้อยลงในการเดินทาง เพิ่มการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมการเดินและใช้จักรยาน จากการศึกษาพื้นที่โดยรอบสามสถานีรถไฟฟ้า ได้แก่ สนามไชย สามยอด และวัดมังกร พบรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนในทางกายภาพอย่างเดียว 2) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม และ 3) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงโครงสร้างให้กลายเป็นอาคารสถานีรถไฟฟ้าและอาคารระบายอากาศ (IVS: intervention station) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยข้อกำหนดต่างๆในเกาะรัตนโกสินทร์ และปัจจัยจากสถานีรถไฟฟ้าและทีโอดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนนที่มีผลมาจากปัจจัยเจนตริฟิเคชัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพทั้งรูปแบบอาคาร ที่มีผลมาจากการก่อสร้างบนพื้นที่เดิม และกิจกรรมภายในพื้นที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ถนน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบอาคาร ที่ว่าง และกิจกรรม


แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ Jan 2022

แนวทางการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน Leed ในการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ, ภวัต สถิตกาญจนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐานอาคารเขียวโดยเฉพาะมาตรฐาน LEED มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนของผู้พัฒนา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะในการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED และปัจจัยในการเลือกข้อกำหนดผ่านการเก็บข้อมูลทุติยภูมิด้านการเลือกข้อกำหนดของศูนย์กระจายสินค้าในประเทศไทย และสัมภาษณ์ของผู้พัฒนาโครงการ และ ผู้ใช้งานกรณีศึกษาตัวแทนสำหรับแต่ละระดับคะแนนได้แก่ Certified Silver และ Gold สุดท้ายนำข้อมูลดังกล่าวมาสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอเป็นของเสนอแนะการเลือกข้อกำหนดตามมาตรฐาน LEED ในโครงการศูนย์กระจายสินค้า ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะด้านที่ตั้งที่ใกล้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มในการได้รับคะแนนและระดับมาตรฐานที่สูงขึ้นกว่าโครงการที่ตั้งอยู่ห่างออกไป และพบลักษณะในการเลือกข้อคะแนนของโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED แล้วโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1) โครงการในระดับ Certified มีการมุ่งเน้นการเลือกใช้ข้อคะแนนที่ตอบสนองการลดค่าใช้จ่ายด้านค่าน้ำ และค่าไฟฟ้าในโครงการ 2) โครงการในระดับ Silver มีการมุ่งเน้นการเลือกข้อคะแนนที่ตอบสนอง ประโยชน์ด้านการส่งเสริมปฏิบัติงานในโครงการด้านส่งเสริมการเดินทางของพนักงาน และ การเพิ่มประสิทธิภาพโครงการผ่านการตรวจและทดสอบระบบ 3) โครงการในระดับ Gold มีการมุ่งเน้นประโยชน์ด้านคุณภาพอากาศที่ดีแก่พนักงาน และ ลดผลผลกระทบและมลภาวะแก่ชุมชนโดยรอบโครงการ โดยจากลักษณะในการเลือกข้อกำหนดนำไปสู่การสัมภาษณ์ผู้พัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้ใช้งานโครงการ พบข้อค้นพบสำคัญดังนี้ 1) หมวดข้อคะแนนที่มีการเลือกใช้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ Energy and Atmosphere Water Efficiency และ Location and Transportation ตามลำดับ 2) แนวคิดด้านโอกาสในการเลือกใช้ข้อคะแนน คือ สอดคล้องกับนโยบายบริษัทด้านการพัฒนาโครงการ และ มีการใช้ข้อกำหนดทั้งด้านอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว 3) แนวคิดด้านข้อจำกัดในการไม่เลือกใช้ข้อคะแนน คือ ผังเมืองและโครงสร้างคมนาคม ผลกระทบด้านต้นทุนและเวลา และ ขัดกับการปฏิบัติงาน/ความปลอดภัยของสินค้า งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นลักษณะการเลือกข้อกำหนด และปัจจัยในการเลือกหรือไม่เลือกทำข้อกำหนดในมุมมองของผู้พัฒนา ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาด้านอาคารเขียว และผู้พัฒนาที่สามารถนำปัจจัยในการเลือกจากการสัมภาษณ์และข้อเสนอแนะในการเลือกข้อคะแนนเบื้องต้นในงานวิจัยไปปรับใช้สำหรับการเริ่มต้นวางแผนการพัฒนาโครงการศูนย์กระจายสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการมาตรฐานรับรองแต่มีความต้องการพัฒนาโครงการให้ตอบสนองความต้องการของผู้พัฒนา ผู้ใช้งาน ชุมชนโดยรอบ และสิ่งแวดล้อม และ โครงศูนย์กระจายสินค้าการต้องการขอมาตรฐาน LEED ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดโดยรอบ


การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล Jan 2022

การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการพัฒนาเมืองส่งผลให้เกิดอาคารสูงจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้เกิดความหนาแน่นและความแออัดของการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงการรับลมธรรมชาติของอาคารในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะทำให้การระบายอากาศภายในอาคารมีประสิทธิภาพลดลง โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศที่เกิดขึ้นภายในห้องชุดพักอาศัย เพื่อนำเสนอทางเลือกการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในบริบทเมืองที่มีความหนาแน่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ในด้านการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ การทดลองใช้วิธีจำลองผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคำนวณพลศาสตร์ของไหล ANSYS 2023 R1 ทดสอบกับผังอาคารคอนโดมิเนียมจำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ ผังอาคารแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปตัวซี (C) ที่ความสูง 63 เมตรจากระดับพื้น โดยเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุดทั้ง 2 แบบระหว่างห้องชุดทั่วไป กับห้องชุดที่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ 100 มม., 125 มม., และ 150 มม. เพื่อเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุด ซึ่งความเร็วลมตั้งต้นกำหนดจากความเร็วลมเฉลี่ยที่น้อยที่สุดที่วัดได้จากการจำลองกระแสลม 3 ทิศตามทิศลมประจำฤดู จำลองในพื้นที่พระราม9 พื้นที่สามย่าน และพื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ในพื้นที่รัศมี 500 ม. รอบสถานีรถไฟฟ้า การประเมินวัดจากความเร็วลมที่ขอบประตูห้องชุด (ในกรณีห้องทั่วไป) และ ที่ระยะ 0.75 ม. จากปลายท่อเพื่อนำมาคำนวณอัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) และเปรียบเทียบผลกับมาตรฐาน ASHRAE 62.1 ที่ 0.35 ACH ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อัตราการระบายอากาศของห้องชุดปกติที่ไม่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศมีค่าไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งการเพิ่มระบบท่อระบายอากาศเข้าไปในห้องชุด ส่งผลให้อัตราการระบายอากาศมีค่าที่สูงขึ้น โดยส่งผลกับห้องชุดแบบ simplex มากกว่าห้องชุดแบบ loft เนื่องจากปริมาตรของห้องที่แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีของห้องชุดแบบ simplex จะมีอัตราการระบายอากาศเฉลี่ย 0.362 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 3.43% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 100 มม. และในกรณีของห้องชุดแบบ loft จะมีอัตราการระบายอากาศ 0.352 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 0.57% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 125 มม. ซึ่งอัตราการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้นเมื่อท่อระบายอากาศมีขนาดหน้าตัดใหญ่ขึ้น โดยห้องชุดในตำแหน่งมุมอาคารจะสามารถติดตั้งระบบท่อระบายอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าห้องชุดตำแหน่งอื่น ๆ


การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก Jan 2022

การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมปกป้อง รักษา และฟื้นฟูคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของตน ดังนั้นแนวคิดการมีส่วนร่วมจึงได้รับประยุกต์ใช้ในกฎบัตรสากลในการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยได้รับการให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิทยานิพนธ์นี้เลือกเมืองเก่าสงขลาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเมืองเก่าสงขลาผ่านกระบวนการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ คือ วิเคราะห์การดำเนินงานอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมในเมืองเก่าสงขลา และจัดทำข้อเสนอแนะที่สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์ผลตามเกณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสรุปข้อค้นพบและนำเสนอข้อเสนอแนะ วิทยานิพนธ์พบว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาของการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองเก่าสงขลา มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก 4 ประเภท ได้แก่ ภาครัฐท้องถิ่น ภาคประชาสังคม-ประชาชน ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เมืองเก่าสงขลามีจุดเด่นด้านทุนทางสังคม กล่าวคือ ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมเป็นภาคประชาสังคมที่มีทักษะในการทำงานกับภาครัฐท้องถิ่นและภาคเอกชน ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานภาคเอกชนมีนโยบายในการสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณของภาครัฐได้ อย่างไรก็ตาม เมืองเก่าสงขลาประสบกับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจะมีหน่วยงานภาคประชาสังคมเป็นตัวกลาง แต่ขาดผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย อีกทั้งขาดกระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่ กฎหมายท้องถิ่นไม่สามารถรักษาความแท้ของอาคารเก่าที่ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันโดดเด่นของเมืองเก่าสงขลาได้ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมมีลักษณะ “อาสาสมัครจากฐานทุนสังคม” ที่ช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมมีอิสระในการเข้าร่วมดำเนินงาน แต่มีข้อด้อยคือการมีส่วนร่วมนั้นขาดความยั่งยืน ซึ่งสถานการณ์ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ปัญหาจากการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ดำเนินการแบบซ้ำซ้อน ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของสมาชิก ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการแปลงพื้นที่ในลักษณะ “เจนตริฟิเคชั่น” (gentrification) ตลอดจนอาจนำไปสู่การสูญเสียความแท้และบูรณภาพของมรดกทางวัฒนธรรม จากผลการศึกษาดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้เสนอข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเก่าสงขลา รวมถึงสามารถนำไปใช้กับเมืองเก่าอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีประเด็นปัญหาใกล้เคียงกัน 2 ประการ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการจัดตั้ง “คณะทำงาน” จากตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เพื่อประสานให้เกิดการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการมีส่วนร่วม และ 2) การใช้วิธีการค้นหาประเด็นร่วมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก ประเมินความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมทั้ง 3 ระดับ ขั้นตอนที่สอง วิเคราะห์บรรทัดฐานทางสังคม โดยเน้นการวิเคราะห์ด้านวิถีประชาและจารีต และขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีประชาและจารีต เพื่อค้นหาประเด็นที่เชื่อมโยงไปสู่การมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม


การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน Jan 2022

การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

องค์การอนามัยโลกตรวจพบไวรัส โควิด 19 ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด 19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อาคารสำนักงานให้เช่าเป็นอาคารที่มีผู้ใช้อาคารจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคระบาด งานรักษาความสะอาดจึงเป็นส่วนงานสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของโรคระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ 5 กรณีศึกษาในช่วงปกติและช่วงแพร่ระบาด โดยศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ, วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการสำรวจพื้นที่ จากนั้นนำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาลักษณะร่วม สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดจากช่วงปกติสู่ช่วงแพร่ระบาดนั้น มีการเพิ่มรายการและความถี่ของวิธีการรักษาความสะอาด เพิ่มวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษ และมีการจัดการงบประมาณ2 รูปแบบ ได้แก่ มีและไม่มีการขออนุมัติงบประมาณสำหรับการรับมือและจัดการโรคระบาด โดยแนวทางการจัดการงบประมาณที่ไม่มีการขออนุมัติ คือ โยกงบประมาณที่คงเหลือจากหมวดที่มีค่าใช้จ่ายลดลงตามการใช้งาน และการจัดการงบประมาณทั้ง 2 รูปแบบ ได้รับการสนับสนุนวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษจากผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดและจากผู้เช่าและมีวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาด 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ 2.การยับยั้งการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่หลังจากพบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งผลต่อวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาดมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ประเภทองค์กรผู้เช่า 2.รูปแบบพื้นปฏิบัติงาน และ 3.ผู้ติดเชื้อ


อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช Jan 2022

อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลหลายแห่งมีการต่อขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่และสมรรถภาพในการรักษาพยาบาล ซึ่งการต่อขยายมักไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงพยาบาลยิ่งมีความซับซ้อนและไม่เป็นเอกภาพ อีกทั้งผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความบกพร่องเนื่องจากความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อความสามารถในทุกด้าน รวมถึงการค้นหาเส้นทางด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าการค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลมีความลำบาก ซับซ้อนและส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาระบบนำทางที่เหมาะสมด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ จะสามารถเป็นตัวช่วยให้ผู้มารับบริการสามารถค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลได้ง่ายมากขึ้น การศึกษานี้เป็นเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะป้ายต่อความคิดเห็นของผู้ใช้งาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะเส้นทางเดินต่อการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะกายภาพ คือ ป้ายและเส้นทางเดิน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อป้ายและพฤติกรรมการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่มารับบริการทางการแพทย์ ณ ห้องตรวจโรคอายุรกรรม ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกรณีศึกษา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างของของป้ายและเส้นทางเดินมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ในส่วนสีของป้าย พบว่าการใช้ตัวหนังสือสีขาวบนพื้นหลังสีส้มและตัวหนังสือสีดำบนพื้นหลังสีเหลืองยังคงเป็นคู่สีที่เหมาะสม และพบว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีเหลืองและสีส้มซึ่งเป็นสีโทนร้อนชัดเจนกว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีฟ้าซึ่งเป็นสีโทนเย็น ในส่วนขนาดตัวอักษรพบว่าสำหรับป้ายบอกทาง ขนาดตัวอักษรภาษาไทยแนะนำให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ที่ระยะติดตั้งสูงจากพื้น 1.5 เมตร และพบว่าจำนวนข้อมูลบนป้ายที่เหมาะสมคือ 5-7 ข้อมูล/ป้าย และไม่ควรเกิน 10 ข้อมูล/ป้าย ในส่วนของป้ายที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาเส้นทาง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าป้ายที่สื่อสารด้วยข้อความเป็นประโยชน์มากกว่าป้ายที่สื่อสารด้วยรูปภาพ สำหรับลักษณะเส้นทางเดิน ผลชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เส้นทางเดินจะมีลักษณะตรงและมีระยะทางสั้น แต่อาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้งานได้ หากระหว่างเส้นทางมีการใช้สอยพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อจำนวนป้ายและข้อมูลข่าวสารให้มีความหนาแน่นด้วยเช่นกัน


The Relationship Between The Land And Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), And The Land Use And Land Cover (Lulc) Of Bangkok, Thailand, James Anthony Orina Jan 2022

The Relationship Between The Land And Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), And The Land Use And Land Cover (Lulc) Of Bangkok, Thailand, James Anthony Orina

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Land and Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), was enacted in Thailand with the aim of wealth distribution, revenue increase, and discouraging unproductive land use. However, since its implementation in 2020, in Bangkok, a notable increase in land use and land cover (LULC) changes, specifically vacant lands being converted to agricultural lands, has been observed. These changes are hypothesized to be related to tax avoidance activities. This study aims to investigate the phenomenon of vacant-to-agricultural land conversions in Bangkok and employ spatial analysis techniques to identify and locate these LULC changes. By employing a statistical t-test and conducting …


ศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติ, โศจิรัตน์ วรพันธุ์ Jan 2022

ศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติ, โศจิรัตน์ วรพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภัยพิบัติ สามารถสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีภาวะโลกร้อนเป็นตัวกระตุ้นให้อัตราการเกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้น 5 เท่าและสร้างความเสียหายมากขึ้น 7 เท่า วิจัยเล่มนี้จึงดำเนินการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับมือในสถานการณ์ภัยพิบัติ และการจัดศูนย์พักพิงชั่วคราว 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในการดำรงชีวิตในศูนย์พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบภัย 3) เสนอแนะแนวทางการจัดศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อศึกษาการเตรียมรับมือ การตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านที่อยู่ และผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ศึกษากรณีศึกษา 3 แห่ง จากสถิติการเกิดภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านที่พัก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประสบภัย ในความดูแลของศูนย์ปภ.เขต 12 สงขลา, ศูนย์ปภ.เขต 13 อุบลราชธานี และศูนย์ปภ.เขต 18 ภูเก็ต จำนวน 30 คน พร้อมลงพื้นที่สำรวจศูนย์พักพิงชั่วคราว ประเทศไทย มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง จากความอุดมสมบูรณ์และมีฝนตกตามฤดูกาล มีโอกาสเกิดภัยพิบัติน้อย พบเพียงวาตภัย อุทกภัย อัคคีภัยและแผ่นดินไหว เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติขึ้นอยู่กับความพร้อม ประสบการณ์และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นประเทศที่ประสบภัยพิบัติบ่อยครั้ง มักมีการเตรียมแผนรับมือสถานการณ์ และกำหนดอาคารศูนย์พักพิงชั่วคราวไว้ล่วงหน้า โดยศูนย์พักพิงชั่วคราวที่พบแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) ศูนย์พักพิงชั่วคราวนอกระบบ 2) ศูนย์พักพิงชั่วคราวในระบบ ได้แก่ เต็นท์, บ้านน็อคดาวน์, อาคารถาวรที่มีอยู่เดิม และอาคารถาวรที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับการอพยพโดยเฉพาะ จากการศึกษาพบว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่ง เพราะ ขาดการซักซ้อม และผู้ประสบภัยบางส่วนไม่ยอมอพยพ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับศูนย์พักพิงชั่วคราว, บ้านและทรัพย์สินในพื้นที่ประสบภัย และศูนย์พักพิงชั่วคราวไม่เป็นมิตรกับผู้พักพิงกลุ่มเปราะบางที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย แม้ว่าศูนย์พักพิงชั่วคราวอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ศูนย์พักพิงฯ ที่มีความเหมาะสม อาจเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน ดังนั้นที่ตั้งศูนย์พักพิงฯ ควรมีความปลอดภัย ลดความเปราะบาง สนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี


กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย Jan 2022

กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงพ.ศ.2559-2565 ประเทศไทยประสบปัญหาโควิด-19 ในปี 2563 จากนั้นพบว่าอัตราการขายบ้านเดี่ยวโครงการบ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพและปริมณฑลสูงขึ้นกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมบ้านเดี่ยวในโครงการบ้านจัดสรรในระดับราคา 5-10 ล้านบาทที่เปิดขายในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2565 ของบริษัทที่มีรายได้จากบ้านแนวราบมากที่สุด 4 บริษัทได้แก่ 1) บมจ. เอพี(ไทยแลนด์) (AP) 2) บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) 3) บมจ. แสนสิริ (SIRI) 4) บมจ. ศุภาลัย (SPALI) โดยรวบรวมแบบบ้านทั้ง 4 บริษัทจากแบบเริ่มต้น 13 แบบใน 18 โครงการ และศึกษา 1) รวบรวมข้อมูลกลยุทธ์จากรายงานประจำปี56-1 และรวบรวมแบบบ้านจากเว็บไซต์รีวิวโครงการ 2) สัมภาษณ์การดำเนินกลยุทธ์และสัมภาษณ์สอบทานการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงก่อน พ.ศ.2563 มีการดำเนินกลยุทธ์องค์กรแตกต่างกันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลยุทธ์องค์กรมุ่งเน้นการพัฒนากายภาพ จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทมีกลยุทธ์มุ่งเน้นการพัฒนาการอยู่อาศัยและพัฒนาสังคมคือ SIRI และ SPALI เมื่อได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ทั้ง 4 บริษัทปรับกลยุทธ์องค์กรในทิศทางเดียวกันคือมุ่งการพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานกลยุทธ์เดิมที่แตกต่างกันในแต่ละบริษัท โดยพบว่ากลุ่มลูกค้ามี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูง จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทเน้นกลุ่มรายได้ไม่สูงคือ SIRI และ SPALI และภาพรวมการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกบริษัทปรับเพิ่มกลยุทธ์จากฐานกลยุทธ์เดิม จำแนกได้เป็นกลยุทธ์ 1) กลยุทธ์การพัฒนาขนาดพื้นที่ใช้สอย (AP) 2) กลยุทธ์ด้านความยืดหยุ่นพื้นที่ใช้สอยพัฒนาFunction (SC) 3) กลยุทธ์ความยืดหยุ่นพื้นที่และการออกแบบที่โดดเด่น (SIRI) …


การประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี, จิระดา มาพงษ์ Jan 2022

การประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี, จิระดา มาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เกาะล้านมีภูมิทัศน์ที่สวยงามจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนเกาะล้านส่งผลให้มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปยังพื้นที่ชายหาด และก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะความเสียหายต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้านจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ หาดตายาย หาดทองหลาง หาดตาแหวน หาดสังวาลย์ หาดเทียน หาดแสม และหาดนวล โดยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวทางการประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ที่พัฒนาโดยหน่วยงานของประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้านทั้ง 7 แห่ง คือ ทราย โขดหิน หิน กรวด ภูเขา ต้นไม้ สะพาน และอาคาร รวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ร่มชายหาด เก้าอี้ชายหาด และเสาไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนของกิจกรรมชายหาด ประกอบด้วย การถ่ายรูป การเล่นน้ำ การดำน้ำ การนั่งเรือกล้วย และการเล่นวอลเลย์บอล เป็นต้น โดยองค์ประกอบเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วทำให้เกิดลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชายหาด ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทตามระดับของการพัฒนาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเภทที่ 1 ชายหาดที่มีการพัฒนาน้อย ประเภทที่ 2 ชายหาดที่มีการพัฒนาปานกลาง และประเภทที่ 3 ชายหาดที่มีการพัฒนามาก


การวิเคราะห์ลักษณะทางภูมินิเวศ และ การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศเมืองชายฝั่งทะเล : กรณีศึกษา เมืองกันตัง จังหวัดตรัง, ญาณิศา ปิยะกมลนิรันดร์ Jan 2022

การวิเคราะห์ลักษณะทางภูมินิเวศ และ การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศเมืองชายฝั่งทะเล : กรณีศึกษา เมืองกันตัง จังหวัดตรัง, ญาณิศา ปิยะกมลนิรันดร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง เป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งน้ำจืดจากแม่น้ำและน้ำเค็มจากทะเลมาบรรจบและเกิดการผสมผสานกัน ทำให้ภูมินิเวศชะวากทะเลเป็นระบบที่ซับซ้อน เป็นพลวัต อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยที่ทำงานร่วมกันผ่านมิติเวลาและพื้นที่ เกิดเป็นรูปแบบ กระบวนการ และลักษณะของภูมินิเวศชะวากทะเล ประกอบด้วย โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และพลวัตการเปลี่ยนแปลง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและมนุษย์ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการบ่งชี้ปัญหาและนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง โดยดำเนินการระบุโครงสร้างและความสัมพันธ์ของลุ่มน้ำและชะวากทะเล การจำแนกโครงสร้างและรูปแบบของลักษณะทางภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง และการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและรูปแบบของลักษณะทางภูมินิเวศกับการใช้ประโยชน์จากภูมินิเวศของคนในพื้นที่ ผลการวิจัยแสดงถึงลักษณะเฉพาะทางภูมินิเวศของชะวากทะเลในหลากหลายระดับ นิเวศบริการ เงื่อนไขในการตั้งถิ่นฐาน และศักยภาพในการฟื้นฟู ประกอบกันเป็นรากฐานของการวางแผนและจัดการภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง


ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างภูมินิเวศแม่น้ำกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์: กรณีศึกษา แม่น้ำยมกับเมืองแพร่, ณัฐพงศ์ สิริสมพรคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิประเทศรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงให้ทรัพยากรแก่มนุษย์ นอกจากปัจจัยด้านทรัพยากรแล้ว ในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขจากผลกระทบของกระบวนการของแม่น้ำด้วย เช่น การหลากของน้ำตามฤดูกาลที่ทำให้เกิดที่ราบน้ำท่วมถึงและลานตะพักลำน้ำ ซึ่งเป็นรูปแบบทางธรณีสัณฐานที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน โดยลานตะพักลำน้ำในที่ราบลุ่มหรือแอ่ง เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากสามารถเข้าถึงแม่น้ำได้สะดวก และพื้นที่มีระดับสูงทำให้ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากน้อย วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตภูมินิเวศแม่น้ำและความสัมพันธ์ระหว่างการตั้งถิ่นฐานของเมืองแพร่กับแม่น้ำยม โดยอาศัยพื้นฐานจากกรอบแนวคิดภูมินิเวศวิทยาและภูมินิเวศแม่น้ำ ใช้การวิเคราะห์ในเชิงพื้นที่ด้วยรูปตัดภูมิประเทศจากแบบจำลองความสูงเชิงเลข และข้อมูลธรณีวิทยา รวมถึงสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมืองแพร่ตั้งอยู่บนลานตะพักแม่น้ำยมชิดกับแนวเขตที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นการตั้งถิ่นฐานที่อยู่บนเงื่อนไขของปัจจัยเชิงนิเวศ แต่ในปัจจุบันเมืองแพร่มีการขยายตัวมากขึ้นจนขยายเข้าสู่พื้นที่แนวแม่น้ำยม และมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยในที่ราบน้ำท่วมถึงอีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษานี้จึงจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวางแผนการจัดการภูมินิเวศให้สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมินิเวศของภูมินิเวศแม่น้ำ และการอยู่ร่วมกับแม่น้ำในอนาคต


รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล Jan 2022

รูปแบบและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการชลประทานของเมืองโบราณในประเทศไทย : กรณีศึกษาเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่, ปุญชรัสมิ์ เอี่ยมประเสริฐกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบชลประทานโบราณเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญประเภทหนึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เพื่อการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมทัศนียภาพและสภาพแวดล้อมให้แก่เมือง เมื่อเมืองถูกพัฒนาโดยขาดการคำนึงถึงระบบชลประทานโบราณ นำไปสู่การเกิดปัญหา เช่น น้ำท่วม น้ำแล้งและน้ำเน่าเสีย เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้ศึกษารูปแบบและการเปลี่ยนแปลงระบบชลประทานโบราณของเมืองสุโขทัยและเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารวิชาการ ศึกษาภาพถ่ายทางอากาศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การสัมภาษณ์นักวิชาการที่สามารถให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ การสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง และสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระบบชลประทานโบราณเกิดจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงลักษณะภูมิศาสตร์และทำเลที่ตั้งของเมือง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและระบบนิเวศเมือง รวมทั้งทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ


ผลกระทบทางสายตาของโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงต่อแหล่งโบราณคดี จ.พระนครศรีอยุธยา, ธาริต อิ่มอภัย Jan 2022

ผลกระทบทางสายตาของโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงต่อแหล่งโบราณคดี จ.พระนครศรีอยุธยา, ธาริต อิ่มอภัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ มีการดำเนินโครงการ 2 ช่วง คือ ช่วงที่1 กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา และช่วงที่ 2 คือ นครราชสีมาถึงหนองคาย โดยเส้นทางช่วงที่1 ตัดผ่านพื้นที่โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบทางสายตาของทางรถไฟและสถานีรถไฟที่มีต่อโบราณสถานโดยกำหนดพื้นที่ศึกษาจากรางรถไฟออกไปข้างละ 1 กิโลเมตร โดยเริ่มจากจุดศูนย์กลางของสถานีลงมา 3 กิโลเมตร และขึ้นไป 3 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 6 กิโลเมตร ในพื้นที่ศึกษาดังกล่าวมีพื้นที่มีโบราณสถานทั้งหมด 40 แห่ง แต่จะเลือกศึกษา 24 แห่งที่ยังเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและยังไม่มีการศึกษามาก่อน ผลการวิจัยพบว่า จากโบราณสถานที่ศึกษา 24 แห่ง มีจำนวน 13 แห่งที่สถานีและรางรถไฟส่งผลกระทบต่อมุมมองของโบราณสถาน โดยในส่วนของการวิเคราะห์จะประเมินระดับผลกระทบ และลำดับความสำคัญของคุณค่าโบราณสถาน รวมทั้งเสนอแนวทางการออกแบบพืชพรรณโดยรอบพื้นที่


ทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รินรดา พิทักษ์จำนงค์ Jan 2022

ทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รินรดา พิทักษ์จำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับว่ามีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสบการณ์การเดินภายในมหาวิทยาลัยและเป็นพื้นฐานการออกแบบมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน รวมถึงส่งผลต่อพฤติกรรมและการรับรู้สภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยของนักศึกษาด้วย วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจทัศนคติของนิสิตต่อความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัย โดยการพัฒนาเครื่องมือสำรวจที่มีรูปแบบเป็นแบบสอบถามออนไลน์สำหรับใช้เก็บข้อมูลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 ถึงชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์จริงในการเดินภายในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยและพฤติกรรมการเดินและการรับรู้สภาพแวดล้อมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินในมหาวิทยาลัยได้ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 85 คนเคยเดินเท้าภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเดินเท้าคือความต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย จึงมักเดินทุกวันหรือเกือบทุกวัน ใช้เวลาในการเดินโดยประมาณไม่เกิน 15 นาที ในช่วงเวลาพักกลางวัน 12.00 - 13.00 น. และมักจะเดินเป็นกลุ่มขนาดเล็ก 3 คนขึ้นไป และพบว่าคุณสมบัติของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยสามารถจำแนกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมและมีความต่อเนื่อง 2) การเข้าถึง 3) ความปลอดภัย 4) ความสะดวกสบาย 5) สุนทรียภาพ นอกจากนี้ยังพบว่าคุณสมบัติทางสภาพแวดล้อมของความสามารถเดินได้ของมหาวิทยาลัยที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ ความปลอดภัย และคุณสมบัติทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเดินมากที่สุดคือ ความสะดวกสบาย


การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์ Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นระบบที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและค้ำจุนชีวิตบนโลก และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการเลือกพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตำแหน่งของชุมชนในอดีตแสดงถึงการพึ่งพาและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขตามธรรมชาติ แตกต่างกับเมืองในปัจจุบันที่ไม่สนใจเงื่อนไขเหล่านั้น และพลวัตน้ำหลาก (Flood pulse) ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติกลับถูกมองว่าเป็นปัญหาและสร้างความเสียหายให้แก่เมือง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้าง บทบาท การเปลี่ยนแปลง และพลวัตของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก เพื่อการกำหนดขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล และใช้เป็นขอบเขตในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินภายในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำมูลในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่ามีเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองบนพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บทบาท และพลวัตน้ำหลากที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขตามธรรมชาติของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก จนทำให้เกิดการตัดขาดการเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำและพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศพลวัตน้ำหลาก ส่งผลต่อนิเวศบริการและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งการขยายตัวบนพื้นราบน้ำท่วมถึงทำให้เกิดน้ำท่วมเมือง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมเมืองคือ เมืองกำลังพัฒนาอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ รอให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่เป็นไปตามธรรมชาติเข้าท่วมและสร้างความเสียหายซ้ำซากให้แก่เมือง


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณเชียงแสน จ.เชียงราย, อภิปิยา เทียนทรัพย์ Jan 2022

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณเชียงแสน จ.เชียงราย, อภิปิยา เทียนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมืองโบราณเชียงแสน คือ เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญเพราะเป็นทั้งเมืองต้นกำเนิดอาณาจักรล้านนา และเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความโดดเด่นทางกายภาพจากทำเลที่ตั้งเมืองบนส่วนโค้งของแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดสามเหลี่ยมทองคำบรรจบชายแดนสามประเทศทำให้มีโครงสร้างเมืองที่สอดคล้องตามลักษณะของภูมิประเทศ และด้านวิถีชีวิตที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโบราณสถานในแง่วัฒนธรรมทางด้านศาสนา แต่ด้วยแผนแม่บทในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าฉบับก่อนหน้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เท่าที่ควร เนื่องจากแบ่งแยกพื้นที่โบราณสถานและชุมชนออกจากกัน ส่งผลให้ทั้งคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมในเมืองโบราณเชียงแสน และความผูกพันระหว่างชุมชนกับโบราณสถานลดลง วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์รวมถึงสภาพปัจจุบันของเมืองโบราณเชียงแสนเพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนภายใต้แนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ (Historic Urban Landscape) โดยทำการบ่งชี้พื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณเชียงแสน และลงสำรวจพื้นที่ภาคสนาม ตลอดจนสัมภาษณ์ตัวแทนประธานชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนภายใต้แนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งเน้นการอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาพื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ให้มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านการเรียนรู้ นันทนาการ และประเพณีของชุมชน ตลอดจนการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะการใช้งานพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของเมืองโบราณเชียงแสน


ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์ Jan 2022

ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้โรงแรมบางส่วนมีการปรับตัวเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือกเพื่อเฝ้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีพฤติกรรมในการเข้าพักแรมที่แตกต่างจากช่วงการท่องเที่ยวโดยทั่วไป และส่งผลต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในช่วงก่อน และหลังที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือก กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็ก ในจังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2562 – 2564 โดยรวบรวมข้อมูลกิจกรรมจากการรวบรวมใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จการสั่งซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม และการสอบถามผู้ประกอบการ พนักงาน ประกอบกับการพิจารณาข้อกำหนดสำหรับโรงแรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ผลการศึกษาพบว่า สำหรับโรงแรมกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่ง ในปี พ.ศ. 2564 ปีที่ปรับเป็นโรงแรมกักตัว ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายปีโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.71 % และช่วงที่โรงแรมปรับเป็นโรงแรมกักตัวปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.94 โดยเฉพาะการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในขอบเขตที่ 3 ซึ่งจากการสอบถามพบว่ามีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ ถุงครอบแก้ว รองเท้าสำหรับใส่ในห้อง และการขนส่งอาหาร เพิ่มขึ้น คิดเป็นปริมาณร้อยละ 327.78 ท้ายที่สุด ในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมในช่วยที่ปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก งานวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ในบางส่วนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์ในขอบเขตที่ 3


การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ Jan 2022

การออกแบบอาคารด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป : สำนักงานราชการขนาดเล็กกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ, ณัทน์ธัญ อธิศธันยวัศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูปมักถูกนำไปใช้ในการออกแบบอาคารขนาดใหญ่ที่มีหน่วยซ้ำๆ หรืออาคารขนาดเล็กที่มีรูปแบบซ้ำๆ เช่น อาคารชุดพักอาศัยและบ้านจัดสรรเท่านั้น บทความนี้นำเสนอการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบสำนักงานราชการขนาดเล็กที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ผ่านกรณีศึกษา อาคารสำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งออกแบบโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ก่อสร้างไปเเล้วในหลายจังหวัด เป็นอาคารขนาดเล็ก พื้นที่อาคารรวม 1,170 ตร.ม. มีรูปทรงคล้ายกัน เเละผังพืิ้นเหมือนกัน เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย ห้องโถง ห้องรับเรื่อง ห้องเก็บของ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย ห้องเก็บพัสดุ ห้องเอนกประสงค์ ห้องเลขานุการ ห้องผู้อำนวยการ ส่วนพื้นที่ทำงานของหน่วยงาน ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย ห้องไต่สวน ห้องมั่นคง ห้องประชุม จากการศึกษาพบว่าสามารถจำแนกพื้นที่ใช้สอยดังกล่าวได้ 3 ขนาด คือ 1) ขนาดเล็ก ได้แก่ ห้องเก็บของ ห้องรับเรื่อง ห้องเลขานุการ ห้องไต่สวน ห้องเก็บพัสดุ 2) ขนาดกลาง ได้แก่ ห้องโถง ห้องเอนกประสงค์ ห้องมั่นคง ห้องผู้อำนวยการ เเละ 3) ขนาดใหญ่ ได้แก่ ส่วนพื้นที่ทำงานของเเต่ละหน่วยงาน ห้องประชุม ทั้งนี้การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ระบบผนังรับน้ำหนัก จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็ก และขนาดกลาง ส่วนระบบเสาคาน จะเหมาะกับพื้นที่ใช้สอยขนาดกลาง เเละขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ในการออกแบบอาคาราชการขนาดเล็กด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้ระบบเสาคาน ร่วมกับชิ้นส่วนพื้น เเละผนังภายนอกสำเร็จรูป กั้นแบ่งพื้นที่ภายในด้วยระบบผนังเบา หรือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก แต่ต้องจัดผังพื้นแต่ละชั้นใหม่ โดยสลับให้ชั้นที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดเล็กอยู่ชั้นล่าง เเละขนาดใหญ่อยู่ชั้นบน หรือจะใช้ระบบผสม เพื่อไม่ต้องจัดผังพื้นใหม่ก็ได้ โดยใช้ระบบผนังรับน้ำหนักในพื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลาง เเละเพิ่มชิ้นส่วนคานสำหรับช่วงพาดกว้างในหน่วยที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปอื่น ๆ เช่น ประตู-หน้าต่าง โครงหลังคา เเละส่วนตกแต่ง ทั้งแผงตกแต่ง และแผงกันแดด


การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์ Jan 2022

การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจในหลักคิดการสร้างมณฑลทางพุทธศาสนาที่แตกต่างกันของสามนิกายหลัก (เถรวาท มหายาน และวัชรยาน) ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีหลักปฏิบัติในอริยมรรคเพื่อการเข้าถึงพุทธธรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงบรรยาย (ในเชิงสหสัมพันธ์) โดยศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสอน, สิ่งที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติ, และกิจกรรม ประเพณี ที่แตกต่างกันของแต่ละนิกาย (แต่ยังคงหลักมีหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา) ที่มุ่งสู่พุทธรรมเป็นเป้าหมายที่เหมือนกัน) ที่ส่งผลให้พุทธสถานของทั้ง 3 นิกายมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีความเหมือนในความสอดคล้องไปกับการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอย่างเป็นลำดับขั้น ผลการศึกษาทำให้เข้าใจหลักคิดการสร้างอริยมรรคมณฑล โดยสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้ อริยมรรคมณฑลนั้นต้องมีหลักร่วมใจหรือนิมิตหมายแห่งปัญญาญาณเป็นศูนย์กลาง อันเป็นเป้าหมายหลัก และมีพื้นที่โดยรอบดุจเรือนแก้วขยายออกมาจากศูนย์กลาง ดุจเป็นลำดับชั้นการเข้าถึงปัญญาญาณ หรือความเป็นพุทธะ อันเป็นคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบภายในตน ควบคุมการรับรู้ภายนอกที่เป็นปรากฏการณ์ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติรอบตัว โดยมีองค์ประกอบทางพุทธสถาปัตยกรรมที่มีความประณีตจากภายนอกค่อย ๆ มากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้น และประณีตสูงสุดที่ศูนย์กลาง (อันเปรียบดุจจิตแห่งปัญญาที่เจิดจรัส) เทียบเคียงกับสภาวะจิตที่กำลังเข้าสู่ความเป็นพุทธะ มีความบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว อันทำให้อริยมรรคมณฑลนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถพัฒนาจักรวาลชีวิตให้เจริญขึ้น สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เป็นไปตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำให้บุคลเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่อยู่บนหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจความสุข สงบ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอิสระจากความทุกข์ มีปัญญาและมีความเบิกบาน เป็นความสมบูรณ์ของชีวิต


ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์ Jan 2022

ศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ : กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน, พิสิฐพงศ์ ตันติมาสน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันปัญหาสภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีการใช้พลังงานตลอด 24 ชม. ในปัจจุบันอาคารประเภทโรงแรมในประเทศไทยมีการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมยังหากแต่งานวิจัยในด้านการชดเชยคาร์บอนในอาคารประเภทโรงแรมยังมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในโรงแรมขนาดเล็กซึ่งเป็นโรงแรมทางเลือกหลักของนักท่องเที่ยวชาวไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยใช้โรงแรมขนาดเล็ก (2 ชั้น ขนาด 928 และ 820 ตร.ม.) ในจังหวัดน่านเป็นกรณีศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงจำลองสถานการณ์ซึ่งพิจารณาในเรื่องของ พื้นที่หลังคาอาคาร รูปทรงหลังคา รูปร่างอาคาร มุมเอียงหลังคา มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ ทิศทางการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้ง 8 ทิศทาง โดยคำนวณพลังงานไฟฟ้าและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยโปรแกรม DesignBuilder v7.0.1.006 และ ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการติดตั้งที่เหมาะสม ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ครอบคลุมการใช้พลังงานไฟฟ้าของอาคารใน 1 ปี และปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อศักยภาพในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ รูปร่างอาคาร มุมเอียงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 18 องศา การวางแนวอาคารและการหันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้สามารถผลิตพลังงานได้ดีที่สุด คือทิศใต้ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีผลตอบแทนทางการเงิน (Internal rate of return: IRR) อยู่ที่ 11.00% ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 8.60 ปี ท้ายที่สุด งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดน่าน