Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2018

Discipline
Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 32311 - 32340 of 37575

Full-Text Articles in Entire DC Network

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะไทยในท้องถิ่น 4 คน อาจารย์สอนศิลปะสำหรับวัยรุ่น 1 คน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 4 คน และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุดกิจกรรม 1 คน และวัยรุ่นที่มีอายุ 18-25 ปี จำนวน 70 คน เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างชุดกิจกรรม 2) วัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย อายุ 18-25 ปี จำนวน 14 คน เพื่อใช้ทดลองชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามและการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา มีดังนี้ 1) แนวคิดสำคัญของชุดกิจกรรม คือ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราว ความสำคัญของศิลปะล้านนา จากศิลปวัตถุและสถานที่จริง ประกอบกับข้อความรู้จากคู่มือและการทำกิจกรรมการตอบคำถาม ถ่ายภาพ วาดภาพ เล่นเกม และการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะล้านนา โดยเป็นกิจกรรมที่มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสื่อต่างๆ มีการใช้บทบาทสมมติและมีรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยรุ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดอารมณ์ร่วมกับบทบาทสมมติและบริบททางประเพณีของกิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 1 วัน 2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าถึงคุณค่าของศิลปะล้านนา ผ่านการซึมซับผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเอง 3) องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา สื่อการเรียนรู้ และแบบประเมิน 4) องค์ประกอบด้านลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน ใช้ผู้สอน 1 คนต่อผู้เรียน 15 คน ผู้สอนมีหน้าที่อธิบายรายละเอียดดูแลและควบคุมกิจกรรม ส่วนผู้เรียนมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมศิลปะ หลังจากได้นำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับวัยรุ่นในเชียงรายพบว่า ผู้เรียนเกิดการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก โดยผู้เรียนเห็นคุณค่าศิลปะด้านรูปทรงมากที่สุด มีระดับความรู้เกี่ยวกับศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการเห็นคุณค่าศิลปะถึงระดับการรู้คุณค่าในขั้นชื่นชอบคุณค่าและมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อกิจกรรมศิลปะ


การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศิลปะในระดับประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และระยะที่ 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดกิจกรรม โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินผลด้านการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนด้านความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) สื่อการสอน 3) แบบประเมินผล โดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้เรียน 2) ใช้รูปแบบการสอนด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ 3) กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจผู้เรียน 4) ใช้สื่อการสอนประเภทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 5) ประเมินผลจากพฤติกรรมและผลงานของผู้เรียน จากนั้นผู้วิจัยทดลองใช้ชุดกิจกรรมและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า 1) ผู้เรียนประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทักษะคอมพิวเตอร์ทั่วไป, ด้านทักษะการบริหารจัดการไฟล์และการจัดการประมวลผลข้อมูล, ด้านทักษะการสื่อสารแบบออนไลน์และด้านข้อมูลสารสนเทศ 2) นักเรียนมีระดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก 3) นักเรียนมีระดับคุณภาพการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีในระดับดีมาก


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมสำหรับวัยรุ่นอายุ 12-14 ปี และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรมกลุ่มเป้าหมาย คือ วัยรุ่นอายุ 12-14 ปี ที่อาศัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง หรือ 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสันติวัฒนธรรม และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม 3) แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม 4) แบบสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้สันติวัฒนธรรม 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมความงามของความหลากหลาย สีน้ำสร้างสุข และสร้างเมืองในฝัน 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม สำหรับวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี โดยวิเคราะห์ผลจากการสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ทางสันติวัฒนธรรม พบว่า พฤติกรรมสันติวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด คือ ด้านการยอมรับความแตกต่าง คิดเป็นร้อยละ 98.71 รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแก้ไขความขัดแย้งและปฏิเสธความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 97.43 ด้านการเข้าใจตนเอง คิดเป็นร้อยละ 96.15 ด้านทักษะการสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 74.78 และด้านการรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ 61.53 ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อลักษณะการสื่อสารและการเป็นที่ปรึกษาของวิทยากรมากที่สุดเท่ากับ µ = 4.92 รองลงมา คือ อยากให้มีจัดกิจกรรมขึ้นอีกในอนาคต เท่ากับ µ = 4.84 และความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่ากับ µ = 4.72 โดยผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ µ …


สภาพทางกายภาพที่สัมพันธ์กับการใช้งานห้องอเนกประสงค์ภายในอาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่, ชลันธร ชูตินันท์ Jan 2018

สภาพทางกายภาพที่สัมพันธ์กับการใช้งานห้องอเนกประสงค์ภายในอาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่, ชลันธร ชูตินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ห้องอเนกประสงค์เพื่อประกอบพิธีทางการทูตและกิจกรรมอื่นๆ หลากหลายรูปแบบตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถรองรับการดำเนินกิจกรรมหลากหลายรูปแบบและรองรับผู้ใช้งานหลายกลุ่ม นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทในการแสดงออกถึงภาพลักษณ์และเกียรติภูมิของประเทศและประชาชนชาวไทย การใช้งานดังกล่าวอาจนำมาซึ่งปัญหาและอุปสรรคหลายประการ เช่น ขนาดพื้นที่ไม่มีความยึดหยุ่นกับการจัดกิจกรรม องค์ประกอบของห้องไม่สอดคล้องกับรูปแบบการจัดกิจกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย อีกทั้งยังส่งผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้พื้นที่และผู้เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพทางกายภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพทางกายภาพและการใช้งาน ปัญหาทางกายภาพที่เกิดจากการใช้งานห้องอเนกประสงค์ภายในอาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ โดยมีระเบียบวิธีในการศึกษา คือ 1) ทบทวนเอกสาร หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาและวิเคราะห์จากแบบก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม 3) สำรวจสภาพทางกายภาพของห้องอเนกประสงค์โครงการกรณีศึกษา 4) สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 5) วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าห้องอเนกประสงค์ควรถูกออกแบบให้มีความยึดหยุ่น สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลาย แต่ทั้งนี้การใช้พื้นที่เพื่อประกอบกิจกรรมแต่ละประเภทมีความต้องการทางด้านกายภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม ตลอดจนจำนวนและประเภทของผู้ใช้พื้นที่ ปัญหาทางกายภาพที่เกิดจากการใช้พื้นที่ที่พบมีสาเหตุจาก 1) ไม่ถูกจัดเตรียมไว้ในขั้นการออกแบบ 2) การใช้พื้นที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการออกแบบ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพตามรูปแบบของกิจกรรมและประเภทของผู้ใช้งาน ควรมีการจัดทำคู่มือการใช้พื้นที่เพื่อเป็นแนวทาง คำแนะนำในการใช้พื้นที่ห้องอเนกประสงค์ในการจัดกิจกรรมต่างๆ สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ตลอดจนการจัดทำรายละเอียดข้อกำหนดการออกแบบเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดรายละเอียดพื้นที่ใช้สอย ปัจจัยและเกณฑ์กำหนดสภาพทางกายภาพที่ต้องพิจารณาในการออกแบบพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ปรับปรุงอาคารสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ และผู้ปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไป


องค์ประกอบพื้นที่บ้านปกาเกอะญอ กรณีศึกษา หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, ดิษฐา สุเทพประทานวงศ์ Jan 2018

องค์ประกอบพื้นที่บ้านปกาเกอะญอ กรณีศึกษา หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, ดิษฐา สุเทพประทานวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเข้ามาของการท่องเที่ยวและกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของชาวปกาเกอะญอหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีเริ่มหายไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ และรูปแบบการใช้พื้นที่ของบ้านปกาเกอะญอ หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยทำการศึกษาด้วยการรังวัดสถาปัตยกรรมบ้านปกาเกอะญอภายในหมู่บ้าน จำนวน 6 หลัง และนำผังพื้นของบ้านแต่ละหลังมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเพื่อหาองค์ประกอบพื้นที่ของบ้านปกาเกอะญอ หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย จากการศึกษาพบว่า องค์ประกอบพื้นที่พื้นที่บ้านปกาเกอะญอมีทั้งหมด 9 พื้นที่โดยแบ่งเป็นพื้นที่นอกตัวบ้าน 2 พื้นที่ ได้แก่ กัวลาดี (บริเวณ-บ้าน) และเดอะพาละ (ใต้ถุนบ้าน) และพื้นที่บนตัวบ้าน 7 พื้นที่ได้แก่ กลุโคะ (ชานบันได), โจละ (พื้นที่รับแขก), โจคุ (ที่นอน-ผู้ชาย), เอ๊าะมีเลาะห์ (ครัว) พะปู (เตาไฟ), ริคุ (ชั้นวางของ), เดอมิ(ห้องนอนลูกสาว) ลักษณะการใช้พื้นที่มีลำดับการเข้าถึง เริ่มที่กลุโคะ(ชานบันได) หรือ โจละ(พื้นที่รับแขก) แล้วส่วนสุดท้ายที่เข้าถึงได้คือ เดอมิ(ห้องนอนลูกสาว) โดยที่มีส่วนกลุโคะ (ชานบันได) หรือโจละ(พื้นที่รับแขก) เป็นส่วนแรกที่เข้าถึงได้ของตัวบ้าน และเดอมิ (ห้องนอนลูกสาว) เป็นส่วนที่เข้าถึงได้ท้ายสุด


จิตวิญญาณแห่งพุทธสถาปัตยกรรมวัดไหล่หินหลวง จ. ลำปาง, ธีรยุทธ อินทจักร์ Jan 2018

จิตวิญญาณแห่งพุทธสถาปัตยกรรมวัดไหล่หินหลวง จ. ลำปาง, ธีรยุทธ อินทจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายในเชิงความคุณ ค่าของงานสถาปัตยกรรมจากวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา งานวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายในเชิงความคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมจากวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา และนาเสนอคุณสมบัติในงานสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาความเป็นมนุษย์ตามหลักการทางพุทธศาสนา จากกรณีศึกษา วัดไหล่หินหลวง จ.ลาปาง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่รองรับสถาบันทางพุทธศาสนาภายในวัฒนธรรมล้านนาที่ได้รับการยอมรับในคุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปสถาปัตยกรรมยังคงสืบสานวิถีทางวัฒนธรรมมาจนปัจจุบัน โดยการวิจัยนี้เป็นลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสังเคราะห์หลักการทางพุทธศาสนาร่วมกับการสังเกตเชิงลึกการจากข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาสามารถสรุปในเชิงคุณสมบัติทางงานสถาปัตยกรรม มีดังต่อไปนี้ คือสถาปัตยกรรมแห่งการตระหนักรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจต่อคุณค่าและความหมายของชีวิต และการรู้เท่าทันตามความเป็นจริงบนวิถีที่เป็นเอกภาพกับธรรมชาติ, สถาปัตยกรรมแห่งสภาวะจิตตั้งมั่นมีสติสัมปชัญญะเห็นแจ้งในสภาวะสากลของชีวิต และสถาปัตยกรรมแห่งการน้อมนา เหตุและปัจจัยจากภายนอกที่ให้จิตได้รับรู้ และเข้าถึงสภาวะแห่งศีล สภาวะแห่งสมาธิและสภาวะแห่งปัญญา อันเป็นวิถีแห่งการพัฒนาทางจิตวิญญาณและผลการศึกษาในเชิงคุณค่าและความหมาย คือการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่รองรับการดำรงอยู่บนวิถีที่มีเป้าหมายในการพัฒนาจิตใจไปสู่จุดสูงสุดของชีวิตเป้าหมายของชีวิตคือวิถีทางเดียวกันกับธรรมชาติ สถาปัตยกรรมจึงมีความหมายเป็นดั่ง มหาวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สะท้อนพลังในมิติทางจิตวิญญาณ ที่มุ่งพัฒนาชีวิตสู่สภาวะการดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์และเข้าถึงคุณค่าสูงสุด


แนวทางในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการสะท้อนของเปลือกอาคาร, ทัชชา อังกนะภัทรขจร Jan 2018

แนวทางในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการสะท้อนของเปลือกอาคาร, ทัชชา อังกนะภัทรขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเปลือกอาคารกระจกเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาแสงสะท้อนที่สร้างความเดือดร้อนแก่สภาพแวดล้อมโดยรอบตามมา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของแสงสะท้อนจากเปลือกอาคาร ที่มีสาเหตุมาจากรูปทรงอาคารและทิศทางการวางอาคารต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการออกแบบอาคารเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากแสงสะท้อนของเปลือกอาคาร สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งงานวิจัยนี้ ได้ใช้ซอฟต์แวร์ทางคอมพิวเตอร์ในการคำนวณหาความส่องสว่างและทิศทางการสะท้อนของรังสีอาทิตย์ตามวันเวลาที่กำหนด โดยมีอาคารกรณีศึกษา 5 รูปทรง ประกอบด้วย อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสเปลือกอาคารเรียบตรง อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมเปลือกอาคารลาดเอียงเข้าหาอาคาร อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมเปลือกอาคารลาดเอียงออกจากอาคาร อาคารรูปทรงโค้งเว้า และอาคารรูปทรงแตงกวา เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจำลอง พบว่า บนพื้นที่ขนาด 500 เมตร x 500 เมตร อาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกอาคารลาดเอียงออกจากอาคารในแนวตั้งในทางทิศใต้ ก่อให้เกิดแสงสะท้อนในแนวราบเป็นพื้นที่รวมมากที่สุด ในขณะที่อาคารรูปทรงแตงกวาก่อให้เกิดการกระจายตัวของแสงสะท้อนทุกทิศทางเป็นบริเวณกว้างมากที่สุด และอาคารรูปทรงโค้งเว้าก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างของแสงสะท้อนสูงที่สุดจากการสะท้อนรวมกันไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ที่โดนแสงสะท้อนสูงสุดมีค่าความส่องสว่างมากกว่าค่าเฉลี่ยแสงธรรมชาติในส่วนที่ไม่ถูกสะท้อนกว่า 2 เท่า และสำหรับแสงที่สะท้อนตกกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารกรณีศึกษา หากรัศมียิ่งใกล้อาคารจะเกิดแสงสะท้อนที่มีระยะเวลายาวนานกว่า โดยจากการใช้วิธีการทางสถิติในการแบ่งระดับคะแนนของแสงสะท้อนจากเปลือกอาคารออกเป็น A B C และ D โดยระดับ A เป็นระดับที่ก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างต่ำที่สุด ในขณะที่ระดับ D เป็นระดับที่ก่อให้เกิดค่าความส่องสว่างสูงที่สุด พบว่า อาคารรูปทรงแตงกวา เป็นรูปทรงที่แสงสะท้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับคะแนน D เป็นจำนวนมากที่สุดในรูปทรงทั้งหมดที่ทำการศึกษา ทั้งสภาพแวดล้อมแนวราบและแนวตั้ง จึงถือเป็นรูปแบบอาคารที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบเพราะก่อให้เกิดผลกระทบด้านแสงสะท้อนโดยรวมมากที่สุด


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์ Jan 2018

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ฯ จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการณ์สอน แบบสัมภาษณ์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างกิจกรรม แบบประเมินพัฒนาการแบบองค์รวมแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เพื่อใช้ทดลองกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม เป็นกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเนื้อหาสาระและกระบวนการ ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา และภาษาอังกฤษ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพระบายสี การปั้น ภาพพิมพ์ ปะติด และศิลปะประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Studio Habits of Mind (SHoM) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกวิธีการเรียนรู้ตามความต้องการของตน และช่วยส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 2) ผลพัฒนาการแบบองค์รวมจากการทำกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านปัญญา โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับมาก และผลของความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


การบริหารทรัพยากรกายภาพโรงละคร: กรณีศึกษา 6 โรงละครในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิรดา ดำรงทวีศักดิ์ Jan 2018

การบริหารทรัพยากรกายภาพโรงละคร: กรณีศึกษา 6 โรงละครในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิรดา ดำรงทวีศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงละครถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการแสดงสด มีอัตลักษณ์ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดำเนินงาน ผสมผสานไปด้วยความละเอียดอ่อนของศิลปะและความแข็งแกร่งทางวิศวกรรม เพื่อที่จะรักษาโรงละครให้ยั่งยืน โรงละครจำเป็นจะต้องมีการบริหารทรัพยากรกายภาพที่ดี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครและปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร โดยการสำรวจโรงละครที่ดำเนินงานโดยผลิตทั้งผลงานของโรงละครเองและผลงานของผู้เช่า 6 โรงละคร ได้แก่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ เมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ หอนาฏลักษณ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แบล็คบ็อกซ์เธียเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทองหล่ออาร์ตสเปซ และเดโมเครซี่เธียเตอร์สตูดิโอ เพื่อทำการวิเคราะห์ สรุป และอภิปรายผล จากการศึกษาพบว่า โรงละครบริหารทรัพยากรกายภาพตามช่วงการใช้งานซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมการ ซึ่งในแต่ละช่วงการใช้งานโรงละครจะต้องรองรับการใช้งานที่แตกต่างกันทั้งผู้ใช้งาน พื้นที่ที่มีการใช้งาน และกิจกรรมการใช้งาน จากการวิเคราะห์พบว่า การบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร เป็นการบริหารความรับผิดชอบต่อทรัพยากรกายภาพที่โรงละครมี โดยคำนึงถึง สถานที่ ผู้ใช้งาน และการใช้งานโรงละคร มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการบริหารทรัพยากรกายภาพของอาคารทั่วไป เนื่องจากมีส่วนงานและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการแสดงโดยเฉพาะ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานหลักของโรง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือที่ตั้ง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงลักษณะการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละครรวมถึงคุณประโยชน์ของการบริหารทรัพยากรกายภาพที่มีต่อโรงละคร และปัจจัยที่ต้องคำนึงในการบริหารทรัพยากรกายภาพของโรงละคร ซึ่งนักศึกษาวิชาการละคร หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงละคร สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ไปประยุกต์ใช้กับโรงละครที่ดำเนินอยู่หรือที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดำเนินการ


ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษาแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช, พาขวัญ รูปแก้ว Jan 2018

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ให้บริการตรวจรักษาและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษาแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช, พาขวัญ รูปแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวชเป็นแผนกที่มีความเกี่ยวเนื่องกันของผู้มารับบริการ เนื่องจากแผนกสูตินรีเวชเป็นแผนกที่ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคของระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงรวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดบุตร จึงมีความซับซ้อนในด้านขั้นตอนการให้บริการ อีกทั้งต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ป่วย ในส่วนของแผนกกุมารเวชเป็นแผนกที่ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคในทารก เด็ก และวัยรุ่น มีบางพื้นที่แตกต่างจากแผนกผู้ป่วยนอกทั่วไป นอกจากนี้ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่พบวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจัยด้านกายภาพของแผนกผู้ป่วยนอกแผนกสูตินรีเวชและกุมารเวช จึงดำเนินการวิจัยโดยเข้าศึกษาในพื้นที่ของโรงพยาบาลที่มีลักษณะการให้บริการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ การวางผัง ลักษณะการใช้พื้นที่และปัญหาของพื้นที่ให้บริการตรวจโรคและส่วนเกี่ยวเนื่องแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช และหาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพและการวางผังของแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวช ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีการแบ่งแผนกสูติกรรมและนรีเวชกรรมออกจากกัน เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้งานมาก แตกต่างจากโรงพยาบาลประเภทอื่น ในแผนกกุมารเวชของโรงพยาบาลกรณีศึกษาเกือบทุกแห่งมีการแบ่งพื้นที่พักคอยของผู้ป่วยเด็กสุขภาพดี และเด็กป่วยออกจากกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบแผนกสูตินรีเวชและแผนกกุมารเวชของประเภทโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน คือจำนวนผู้ใช้งานของโรงพยาบาลแต่ละประเภทซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ในแผนกสูตินรีเวชและกุมารเวชมีขนาดแตกต่างกันเพื่อมารองรับจำนวนผู้ใช้งานตามประเภทโรงพยาบาลนั้นๆ อีกหนึ่งปัจจัยคือขั้นตอนการให้บริการ เนื่องจากโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลรัฐมีจำนวนผู้มารับบริการจำนวนมาก ขั้นตอนการให้บริการจำเป็นต้องกระจายผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชนที่มีจำนวนผู้มารับบริการน้อยกว่าโรงพยาบาลทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ปัญหาที่พบจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานได้แก่ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานและพื้นที่ที่ออกแบบมาไม่ตรงกับการใช้งาน ดังนั้นในอนาคตหากการออกแบบได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้แผนกที่ถูกออกแบบมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


กระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมกรณีศึกษาโครงการบ้านวัฒนธรรมบ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, พงศ์ชวิน อุดหนุนสมบัติ Jan 2018

กระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมกรณีศึกษาโครงการบ้านวัฒนธรรมบ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, พงศ์ชวิน อุดหนุนสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีประวัติการตั้งถิ่นฐานของชาวปกาเกอะญอมาเป็นเวลานาน ภายหลังการขึ้นทะเบียนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานชาวปกาเกอะญอได้รับผลกระทบจากการจัดสรรพื้นที่ทำกินทำให้วิถีของการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป จากการสำรวจพื้นที่ผลกระทบดังกล่าวส่งผลต่อด้านสถาปัตยกรรมของชาวปกาเกอะญอเป็นหลัก ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญในการจดบันทึกเก็บรายละเอียดการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิม เพื่อให้ภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมแขนงนี้ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา จึงได้ทำการศึกษาร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอแบบดั้งเดิมภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชนปกาเกอะญอ บ้างโป่งลึก - บางกลอย จังหวัดเพชรบุรี บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจดบันทึกและวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษากระบวนการก่อสร้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนในหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอยในอนาคต โดยลงพื้นที่เพื่อจดบันทึกตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง ตลอดจนถึงหลังการก่อสร้าง โดยเน้นความสำคัญถึงเรื่องเทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิมของช่างปัจจุบันภายในหมู่บ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะแรงงานกับวันและเวลาในการก่อสร้าง และความสัมพันธ์ของการเตรียมวัสดุกับขั้นตอนการก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่ากระบวนการก่อสร้างเรือนปกาเกอะญอดั้งเดิมใช้เวลาทั้งหมด 19 วัน ระบบโครงสร้างมีลักษณะเป็นแบบเรือนเครื่องผูกดั้งเดิม การก่อสร้างถูกดำเนินงานโดยช่างในหมู่บ้านซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ช่างอาวุโสภายในหมู่บ้าน ช่างประจำโครงการ และ แรงงานรับจ้างรายวัน


การศึกษาการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามสัญญาจ้างของโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, พิชชานันท์ สวัสดิ์เอื้อ Jan 2018

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่ผู้ควบคุมงานตามสัญญาจ้างของโครงการอาคารหน่วยงานของรัฐ, พิชชานันท์ สวัสดิ์เอื้อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561เป็นต้นมา ขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้างหน่วยงานของรัฐ เป็นไปตามพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ฉบับใหม่) ซึ่งมีการแก้ไขจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 (ฉบับเดิม) จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่าบริการวิชาชีพและรายละเอียดงานตามข้อกำหนดโครงการ (TOR: Terms of Reference) เพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงศึกษาขอบเขตหน้าที่ตามรายละเอียด TOR ตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 (เดิม) และระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2560 (ใหม่) มาศึกษาการเปรียบเทียบ เพื่อหาข้อสรุปของรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ 1) ศึกษาข้อมูลและทบทวนทฤษฎีเกี่ยวกับระเบียบการจัดจ้างผู้ควบคุมงาน และขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน 2) เปรียบเทียบข้อกำหนดโครงการ (TOR) จากกรณีศึกษา ระหว่างระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 จำนวน 5 โครงการ และ ระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 จำนวน 9 โครงการ 3) ประมวลผลและวิเคราะห์เพื่อสรุปผลการศึกษา จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า การระบุในข้อกำหนดโครงการ(TOR) ขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานเกินกว่าขอบเขตจากที่ระเบียบฯ(เดิม)กำหนด และพบว่าขอบเขตหน้าที่ของผู้ควบคุมงานตามข้อกำหนดโครงการ (TOR) ในระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 มีขอบเขตงานที่เพิ่มเติมจาก ระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ ปีพ.ศ.2535 (เดิม) คือ 1) เพิ่มเติมด้านบุคลากร 2) ข้อกำหนดการปฏิบัติงาน และเครื่องมือการบริหารงาน และ 3) ผู้ควบคุมงานเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เรื่อง ค่าซอฟต์แวร์ ค่าเช่าสำนักงานสนาม พร้อมอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ค่าใช้จ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องในกระหว่างการควบคุมงานก่อสร้าง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าในการปรับเปลี่ยนค่าบริการวิชาชีพให้มีอัตราค่าบริการวิชาชีพเพิ่มสูงขึ้นตามพรบ. ส่งผลให้เกิดการพัฒนาการบริหารโครงการ ในเรื่องจำนวนและความชำนาญของบุคลากร ทั้งนี้กรณีศึกษาตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2560 บางโครงการเริ่มใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling : BIM) เข้ามาเป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการ เพื่อลดข้อผิดพลาดปัญหาข้อผิดในการก่อสร้าง จากผลวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ความซับซ้อนของโครงการมีผลต่อการระบุรายละเอียดขอบเขตงานใน TOR ดังนั้นโครงการหน่วยงานของรัฐ ควรมีมาตรฐานในการเขียนข้อกำหนด TOR เพื่อคัดเลือกผู้ควบคุมงานและรายละเอียดของเขตหน้าที่ ตามความซับซ้อนของโครงการ อย่างมีมาตรฐานเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมงาน และประโยชน์สูงสุดของรัฐ


พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553), พิมพ์พร ไชยพร Jan 2018

พัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส : กรณีศึกษา ผลงานออกแบบของสถาปนิกยุคบุกเบิก (พ.ศ. 2509-2553), พิมพ์พร ไชยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพัฒนาการแนวคิดและรูปแบบสถาปัตยกรรมและองค์ประกอบในเขตพุทธาวาส ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ วิหาร และมณฑป ที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกซึ่งมีผลงานในช่วงพ.ศ. 2509-2553 ที่คัดเลือกมาจำนวน 10 คน เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมวัดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และสถาปัตยกรรม โดยมีสมมติฐานว่าจุดเปลี่ยนที่มีบทบาทสำคัญคือการก่อตั้งหลักสูตรการเรียนการสอนสถาปัตยกรรมแบบสากลขึ้น การศึกษาวิจัยใช้การเปรียบเทียบระหว่างสถาปัตยกรรมวัดที่ออกแบบโดยสถาปนิกไทยยุคบุกเบิกกับสถาปัตยกรรมวัดในอดีตซึ่งทั้งหมดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยอิงทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมแบบสากล กรณีศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจ และการสัมภาษณ์แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดจำนวน 53 หลัง จากวัด 42 แห่งทุกภูมิภาค และจำแนกกลุ่มลักษณะทางกายภาพตามประเด็นทางสถาปัตยกรรม ดังนี้ 1. ผังบริเวณวัดและผังบริเวณในเขตพุทธาวาส 2. รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการประดับตกแต่งและสัญลักษณ์ 3. การใช้สอย และที่ว่างภายใน และ 4. โครงสร้าง และวัสดุก่อสร้าง และนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาสรุปว่าสถาปัตยกรรมวัดที่ทาการวิจัยมีความหลากหลายของรูปแบบและการใช้สอยและมีลักษณะเฉพาะอยู่เป็นจำนวนมาก การเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมวัดไม่ได้เกิดขึ้นและจบลงตามลำดับเวลา แต่เกิดขึ้นพร้อมกันและขนานกันไปตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นจึงไม่สามารถจำแนกเป็นกลุ่มรูปแบบตามลำดับช่วงเวลาอย่างพัฒนาการประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมทั่วไปได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถาปนิกยุคบุกเบิกได้พัฒนาแนวคิดในการออกแบบจากการใช้ศาสตร์สถาปัตยกรรมแบบสากลมาทำความเข้าใจองค์ความรู้เดิม ทำให้มีมุมมองว่าวัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเหมือนกับสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ และสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีรูปแบบตั้งแต่ประเพณีนิยมไปจนถึงรูปแบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงพร้อมกับการใช้สอยและที่ว่างภายใน รวมถึงการทดลองใช้โครงสร้างและวัสดุก่อสร้างใหม่ ซึ่งผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมวัดมีความเป็นปัจเจกตามแนวคิดและประสบการณ์ของสถาปนิก และยังคงพัฒนาตามแนวทางของแต่ละคนต่อไป


การจัดผังรูปแบบและการใช้สอยของส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน, พิชญ์สินี จงยั่งยืนวงศ์ Jan 2018

การจัดผังรูปแบบและการใช้สอยของส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน, พิชญ์สินี จงยั่งยืนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หอผู้ป่วยในเป็นแผนกหนึ่งในโรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยส่วนบริการผู้ป่วยและญาติ ส่วนทำงานเจ้าหน้าที่ ส่วนสนับสนุนเจ้าหน้าที่ และหอผู้ป่วยในเป็นส่วนที่ให้บริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ในปัจจุบันการทำงานภายในหอผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี แต่มาตรฐานในการออกแบบพื้นที่ส่วนพยาบาลปัจจุบันอิงข้อมูลการใช้พื้นที่ในอดีต และมีความแตกต่างในการใช้งานแต่ละแผนก รวมถึงแต่ละประเภทโรงพยาบาลมีลักษณะการจัดพื้นที่ส่วนพยาบาลแตกต่างกัน ส่งผลให้เกณฑ์และมาตรฐานเดิมไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานพื้นที่ในปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบของพื้นที่ส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยใน ศึกษาลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนพยาบาล และเพื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อพื้นที่ส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยใน จากการศึกษาพบว่ามาตรฐาน และพบข้อจำกัดที่ใช้ในการออกแบบแต่ละประเภทโรงพยาบาลแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้การจัดผังรูปแบบและการใช้สอยพื้นที่ของแต่ละประเภทโรงพยาบาลมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช้งานพื้นที่ส่วนหัตถการของพื้นที่ส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยในแต่ละแผนกก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน และพบว่าในการออกแบบพื้นที่ส่วนพยาบาลหอผู้ป่วยในมีปัจจัยที่ส่งผล คือประเภทโรงพยาบาล ประเภทหอผู้ป่วย ตำแหน่งที่ตั้งพื้นที่ส่วนพยาบาล จำนวนผู้ป่วย และจำนวนบุคลากร ดังนั้นพื้นที่ส่วนพยาบาลในแต่ละประเภทโรงพยาบาลมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยโรงพยาบาลเอกชนมีสัดส่วนพื้นที่ส่วนพยาบาลน้อยกว่าโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากการให้บริการเน้นพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยเป็นหลักและมีความต้องการใช้สอยพื้นที่ใช้สอยน้อยที่สุดทั้งด้านขนาดและลักษณะพื้นที่ ส่วนโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์มีสัดส่วนพื้นที่ส่วนพยาบาลมากกว่าโรงพยาบาลรัฐเนื่องจากโรงเรียนแพทย์มีผู้ใช้งานที่หลากหลายและมีจำนวนบุคลากรมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ รวมถึงมีความต้องการใช้สอยพื้นที่ใช้สอยมากที่สุดทั้งด้านขนาดและลักษณะพื้นที่ ทั้งนี้ ระบบการทำงาน และการจัดการภายโรงพยาบาลก็ส่งผลต่อสัดส่วนพื้นที่ส่วนพยาบาลเช่นกัน


องค์ประกอบและรูปแบบทางกายภาพที่ส่งผลต่อการจัดการโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาโรงอาหารส่วนกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มุจลินท์ สุพรรณชนะบุรี Jan 2018

องค์ประกอบและรูปแบบทางกายภาพที่ส่งผลต่อการจัดการโรงอาหารภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาโรงอาหารส่วนกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มุจลินท์ สุพรรณชนะบุรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ ที่มีทรัพยากรกายภาพพื้นฐานให้บริการแก่ทั้งนิสิต อาจารย์ บุคลากรทั่วไป โรงอาหารคือหนึ่งในทรัพยากรกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีจำนวนผู้เข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากและบ่อยครั้งที่สุดในแต่ละเทอมหรือปีการศึกษา ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดเตรียมโรงอาหารเพื่อรองรับผู้ใช้บริการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 โรงอาหาร บริหารโดยหน่วยงานส่วนกลางของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของโรงอาหารทั้งหมด โรงอาหารส่วนกลางทั้ง 7 โรงอาหารมีบางแห่งที่ได้ผ่านการเปิดใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน โดยเปิดให้บริการมาเป็นเวลากว่า 40 ปี ในระหว่างการเปิดให้บริการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนชุดคณะทำงานรวมไปถึงมีการปรับเปลี่ยนสภาพทางกายภาพในหลายส่วนจากการใช้งานเดิมเพื่อให้สอดรับกับการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและเพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่มีความต้องการในจำนวนที่เพิ่มขึ้น โดยจากการสำรวจพบข้อจำกัดและอุปสรรคในพื้นที่อันเกิดจากสภาพทางกายภาพ จึงเป็นที่มาของการศึกษาถึงปัญหาและรูปแบบด้านกายภาพที่เกิดกับโรงอาหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบทความวิจัยนี้ ในการนี้ได้คัดเลือกกรณีศึกษาคือโรงอาหารส่วนกลางที่บริหารโดยหน่วยงานส่วนกลางของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical Research) แบบกรณีศึกษา (Case Study Approach) ที่ได้ทำการสำรวจและพบปัญหา จึงนำมาวิเคราะห์ร่วมกับตำราและเอกสารที่สืบค้น พบองค์ประกอบของโรงอาหาร 3 ประเภท คือ 1) องค์ประกอบด้านกายภาพ 2) องค์ประกอบด้านผู้ปฏิบัติงาน 3) องค์ประกอบด้านผู้ใช้งาน เมื่อนำองค์ประกอบข้างต้นมาแยกเป็นองค์ประกอบย่อยที่อยู่ในขอบเขตของการศึกษาเพื่อนำมาพิจารณาร่วมกับเกณฑ์ด้านสุขอนามัยและอาคารสถานที่ ปรากฏกรณีที่เกิดขึ้นเฉพาะสำหรับแต่ละองค์ประกอบย่อย เมื่อนำแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นเฉพาะข้างต้นมาวิเคราะห์และพิจารณาร่วมกันในกรณีศึกษาทั้ง 7 (โรงอาหารส่วนกลางทั้ง 7) พบรูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านความสะอาดของโรงอาหารคือ 1) รูปแบบและตำแหน่งผังของร้าน 2) ระยะทางจากร้านค้าถึงจุดพักขยะใหญ่ 3) ระยะทางจากจุดคัดแยกภาชนะถึงที่ล้าง 4) วิธีการที่ปฏิบัติงานที่พื้นที่ปรุงและพื้นที่เตรียม 5) ระยะทางจากพื้นที่ปรุงและพื้นที่เตรียมถึงพื้นที่ขาย รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของระบบที่ใช้ในโรงอาหารคือ 1) รูปแบบและตำแหน่งที่ติดตั้งท่อแก๊ส 2) ระยะทางจากห้องวางถังแก๊สรวมถึงจุดจ่ายแก๊ส 3) วิธีการกำหนดจุดวางถัง 4) วิธีการจ่ายแก๊ส รูปแบบและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการด้านประสิทธิภาพของระบบที่ใช้ในโรงอาหารคือ 1) วิธีการที่ระบายควัน 2) ระยะทางจากจุดดูดควันถึงจุดระบายควัน ข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้คือ 1) การจัดการด้านความสะอาด ประกอบไปด้วยองค์ประกอบจุดพักขยะ จุดคัดแยกภาชนะ จุดล้างภาชนะ จุดเตรียมวัตถุดิบ จุดปรุง จุดจำหน่าย 2) การจัดการด้านความปลอดภัย ประกอบไปด้วยองค์ประกอบระบบแก๊สหุงต้ม และ 3) การจัดการด้านประสิทธิภาพระบบ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบระบบดูดควันระบายควัน ทั้ง 3 ส่วนนี้ล้วนส่งผลถึงประสิทธิภาพ สุขอนามัยและความปลอดภัยอันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของโรงอาหาร การสำรวจตรวจสอบร่วมกับการกำหนดและวางแผนรูปแบบด้านกายภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการของโรงอาหารที่เป็นหนึ่งในทรัพยากรของมหาวิทยาลัย


ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทำงาน, ลัญจ์ฉัตร นิลชัยโกวิทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันรูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไป จากแบบเดิมที่เป็นทางการเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่ที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม และมีการทำงานขนานกันมากขึ้น ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ทำงาน และการใช้พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเนื่องเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ จำนวน 10 กรณีศึกษา จาก 2 องค์กร โดยเป็นฝ่ายงานขนาดเล็ก จำนวน 7 กรณีศึกษา และฝ่ายงานขนาดใหญ่ จำนวน 3 กรณีศึกษา โดยเก็บรวมรวมเอกสารแบบผังพื้น การสำรวจพื้นที่ทำงาน การจัดวางผังและชุดโต๊ะทำงานพนักงาน ร่วมกับการสังเกตการณ์การใช้พื้นที่ทำงานใน 4 จุดเวลา จากการศึกษา พบว่า มีพื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ พื้นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง 8 กรณีศึกษามีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย 2 แบบ คือ กระดานระบุสถานะ 7 กรณีศึกษา และโต๊ะส่วนกลาง 1 กรณีศึกษา และพื้นที่ทำงานแบบปิดล้อม 2 กรณีศึกษา มีพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย คือ กระดานระบุสถานะและพื้นที่ทำงานกลุ่ม 1 กรณีศึกษา และกระดานระบุสถานะ 1 กรณีศึกษา ภายในพื้นที่ทำงานทั้ง 2 แบบมีชุดโต๊ะทำงานพนักงานประกอบด้วยโต๊ะทำงาน ตู้เก็บของล้อเลื่อน และเก้าอี้นั่งทำงาน จากการวิเคราะห์พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานไอที พบว่า ชุดโต๊ะทำงานพนักงานพบ 2 แบบ คือแบบทำงานคนเดียว และแบบทำงานกลุ่ม การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดเล็กพบว่ามีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการทำงานที่โต๊ะทำงานในการทำงานเพียงอย่างเดียว 5 กรณีศึกษา และแบบที่ใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา การใช้พื้นที่ทำงานของฝ่ายงานขนาดใหญ่ พบว่า มีการใช้พื้นที่ทำงาน 2 แบบ คือ แบบที่มีการใช้กระดานระบุสถานะในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 2 กรณีศึกษา และแบบที่มีการใช้โต๊ะส่วนกลางในการทำงานร่วมกับการทำงานที่โต๊ะทำงาน 1 กรณีศึกษา การศึกษานี้ทำให้เข้าใจว่า พื้นที่ทำงานของสายงานไอทีประกอบด้วยพื้นที่ทำงานหลัก ซึ่งมีโต๊ะทำงานที่มีขนาดใหญ่กว่าโต๊ะทำงานขนาดมาตรฐาน และพื้นที่กิจกรรมสนับสนุนย่อย ซึ่งการออกแบบกระดานระบุสถานะที่อยู่ในพื้นที่เปิดโล่งจะอยู่ด้านข้างพื้นที่ทำงานของพนักงาน การออกแบบกระดานระบุสถานะในพื้นที่ปิดล้อมจะอยู่ตามแนวผนังห้อง โต๊ะส่วนกลางที่อยูในพื้นที่เปิดโล่งจะแทรกอยู่ในพื้นที่ทำงานของพนักงาน การทำงานที่กระดานระบุสถานะจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า ก่อนจะแยกย้ายกันไปปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงาน ซึ่งพบทั้งการทำงานแบบเดี่ยวและการทำงานแบบกลุ่มที่โต๊ะ


การปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ กรณีศึกษา อาคารในพื้นที่อนุรักษ์ของกรุงเทพมหานคร, ภูรี อำพันสุข Jan 2018

การปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ กรณีศึกษา อาคารในพื้นที่อนุรักษ์ของกรุงเทพมหานคร, ภูรี อำพันสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับประโยชน์ใช้สอยเป็นหนึ่งในวิธีการอนุรักษ์ด้วยการนำอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ถูกทิ้งร้าง หรือมีสภาพที่ไม่สามารถตอบสนองการใช้งานเดิมได้ มาปรับปรุงพร้อมกับปรับเปลี่ยนการใช้งาน ซึ่งในการปรับปรุงอาคารนั้นอาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของอาคารมากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และการเลือกระดับของการอนุรักษ์ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับวิธีการนี้ คือเมื่อทำการปรับปรุงแล้วจะต้องคำนึงถึงการคงคุณค่าของอาคารให้ได้มากที่สุด หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะต้องส่งเสริมคุณค่าของอาคารให้เด่นชัดขึ้น วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคาร ศึกษาการวางแนวคิด ศึกษาการออกแบบโปรแกรมการใช้สอย และศึกษาการวางผังพื้นที่ใช้สอย จากอาคารที่ได้รับการปรับประโยชน์ใช้สอยเป็นพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ กรณีศึกษาในการวิจัยนี้คืออาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของกรุงเทพมหานคร 3 โครงการ อันประกอบด้วยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร กรอบทฤษฎีของการวิจัยนี้คือแนวคิดในเรื่องการปรับประโยชน์ใช้สอยและการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่ากรณีศึกษาทั้ง 3 โครงการมีการดำเนินการเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการปรับประโยชน์ใช้สอยตามหลักการอนุรักษ์สากล เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดโครงการ การวางแผน การปรับปรุง และการดูแลหลังเปิดใช้งาน โดยกรณีศึกษาทั้ง 3 เป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการนำเอาอาคารประวัติศาสตร์ในลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เคยใช้งานเป็นสำนักงานมาปรับประโยชน์ใช้สอยใหม่ เนื่องจากอาคารประเภทนี้เป็นอาคารที่มีศักยภาพตามที่พื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์พึงมี ทั้งนี้กรณีศึกษาทั้ง 3 ได้รับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ โดยออกแบบในลักษณะของ"พื้นที่การเรียนรู้" ผสมผสานกับ "พื้นที่ทำงานร่วมกัน" ในการนี้แต่ละโครงการได้เลือกวิธีการอนุรักษ์หลายระดับอันประกอบด้วย การรักษาสภาพ การปรับปรุงและซ่อมแซม และการต่อเติม ซึ่งในภาพรวมของตัวอาคารยังคงรักษารูปลักษณ์ภายนอกเอาไว้ได้ ในขณะที่อาคารได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ที่ว่างภายใน งานระบบ และอุปกรณ์ประกอบอาคารเป็นหลัก จากการศึกษาการปรับประโยชน์ใช้สอยอาคารประวัติศาสตร์เพื่อใช้เป็นพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์ในพื้นที่อนุรักษ์ของกรุงเทพมหานคร นำมาสู่ข้อค้นพบที่ว่าการปรับประโยชน์ใช้สอยไม่ได้เป็นแค่วิธีการอนุรักษ์ในลักษณะแช่แข็งอาคารให้อยู่ในสภาพเดิม แต่การอนุรักษ์ด้วยวิธีการนี้ยังให้ความสำคัญกับคุณค่าและความแท้ของอาคารประวัติศาสตร์ ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้งานตามความต้องการในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ


การศึกษาคุณลักษณะที่ว่างของตรอกบริเวณชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิสุทธิ์ นุชนาบี Jan 2018

การศึกษาคุณลักษณะที่ว่างของตรอกบริเวณชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิสุทธิ์ นุชนาบี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะที่ว่างของ "ตรอก" ในเขตชุมชนเมืองเก่า ผ่านกรณีศึกษาชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอยู่อาศัยทางสังคมของมนุษย์ ผ่านทฤษฎีทางจิตวิทยาสถาปัตยกรรมและการอยู่อาศัยสถาปัตยกรรมเป็นกรอบในการวิเคราะห์ งานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องราวของของย่านและชุมชน สู่การศึกษาการใช้สอยที่ว่างภายในตรอก โดยอาศัยข้อมูลภาคสนามจากแผนที่แสดงการใช้สอยที่ว่างของตรอกในฐานะ "ทางแห่งการเชื่อมโยง" และ "ที่แห่งการปฏิสัมพันธ์" ด้วยการบันทึกพฤติกรรมการสัญจรบนตรอกโดยวิธีการสะกดรอยและการบันทึกพฤติกรรมการครอบครอบที่ว่างบนตรอกโดยวิธีการจับภาพชั่วขณะตามลำดับ ผ่านมิติของผู้ใช้งานตรอกประกอบด้วยคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ และมิติของเวลาทั้งในวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางกายภาพและการใช้สอยที่ว่างภายในตรอกในบทบาท "ทางแห่งชีวิต" และ "ที่แห่งชีวิต" ผ่านแผนที่แสดงความเข้มข้นของการใช้สอยที่ว่างภายในตรอก สู่การสังเคราะห์คุณลักษณะที่ว่างของตรอกในฐานะ "พื้นที่รองรับชีวิต" ซึ่งส่งผลให้ตรอกในชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดินเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยทางสังคมที่มีชีวิตชีวา โดยสรุป สาระสำคัญของคุณลักษณะที่ว่างของตรอกบริเวณชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน ประกอบด้วย ที่ว่างที่ให้ประสบการณ์อันหลากหลาย ที่ว่างที่มีปฏิสันถารกับชีวิต ที่ว่างที่ซ่อนอยู่ในที่ว่าง ที่ว่างที่รองรับมิติการใช้สอยอันหลากหลาย และที่ว่างที่มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนการใช้สอย


การประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติและการใช้พลังงานจากการออกแบบหิ้งสะท้อนแสงในอาคารสำนักงานตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว ลีด เวอร์ชัน 4.0, ศิรวิชญ์ รงควิลิต Jan 2018

การประเมินประสิทธิภาพแสงธรรมชาติและการใช้พลังงานจากการออกแบบหิ้งสะท้อนแสงในอาคารสำนักงานตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว ลีด เวอร์ชัน 4.0, ศิรวิชญ์ รงควิลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารสำนักงาน โดยการลดการใช้พลังงานจากแสงประดิษฐ์ ด้วยการออกแบบหิ้งสะท้อนแสง และประเมินผลโดยใช้ค่า Spatial Daylight Autonomy (sDA) และ Annual Sunlight Exposure (ASE) ตามเกณฑ์ LEED V4 หัวข้อ Daylight ด้วยโปรแกรม Rhinoceros - Grasshopper - Ladybug Tools, Honeybee Tools ในการจำลองผล โดยมีตัวแปร คือ ระยะยื่นของหิ้งสะท้อนแสงภายนอกขนาด 0.30 เมตร 0.60 เมตร และ 0.90 เมตร ระยะติดตั้งต่ำจากฝ้าเพดาน 0.50 เมตร และ 1.00 เมตร องศาฝ้าเพดาน 0 องศา 15 องศา และ 30 องศา สัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนัง 60% และ 100% ตำแหน่งทิศที่ติดตั้งหิ้งสะท้อนแสงทั้ง 8 ทิศ และการติดตั้งหิ้งสะท้อนแสงภายในระยะยื่นขนาด 0.30 เมตร โดยจำลองกับห้องภายในอาคารสำนักงาน กว้าง 9 เมตร ลึก 12 เมตร และสูง 3 เมตร ซึ่งผลการวิจัย ทุกกรณีศึกษามีค่า sDA ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ส่วนค่า ASE มีกรณีศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งการมีระยะยื่นของหิ้งสะท้อนแสงภายนอกที่มากขึ้น ทำให้แสงสามารถเข้าสู่ภายในอาคารได้น้อยลง ส่งผลให้ค่า sDA และ ASE ลดลง การมีระยะติดตั้งต่ำจากฝ้าเพดานที่มากขึ้น ทำให้ค่า sDA และ ASE เพิ่มขึ้น องศาของฝ้าเพดานที่เพิ่มขึ้น ช่วยในการกระจายแสงเข้าสู่ภายในอาคาร มีผลให้ค่า sDA เพิ่มขึ้น แต่ไม่ส่งต่อค่า ASE สัดส่วนพื้นที่ช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังที่มากขึ้น …


การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม, ธนาพิพัฒน์ ทรัพย์ครองชัย Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอย สำหรับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบสุ่มที่มีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์ม, ธนาพิพัฒน์ ทรัพย์ครองชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบความถดถอย เมื่อตัวแปรตามมีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอลและตัวแปรตามบางค่าเป็นข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ด้วยวิธีด้วยวิธีกำลังสองต่ำสุด (OLS), วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็ม (MLE_EM) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนอีเอ็มเมื่อมีการปรับค่าข้อมูลก่อนคำนวณ (MLE_EM_AD) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการจำลองข้อมูล 243 สถานการณ์ ขนาดตัวอย่าง (n) เท่ากับ 30, 50, 100 ร้อยละของตัวแปรตามที่ถูกตัดปลายทางขวา (r1) เท่ากับ 10, 20, 30 สัดส่วนช่วงเวลาที่เปิดรับผู้ป่วยต่อช่วงเวลาที่ติดตามการรอดชีวิต (r2) เท่ากับ 0.1, 0.2, 0.3 อัตราส่วนความแปรปรวนของตัวแปรอิสระตัวที่ 1 ต่อตัวแปรอิสระตัวที่ 2 คือ 1:1, 1:2, 1:5 และอัตราส่วนความแปรปรวนรวมของตัวแปรอิสระต่อความคลาดเคลื่อน คือ 2:1, 1:1, 1:2 จากการศึกษาพบว่า 1) วิธี MLE_EM และ MLE_EM_AD เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดปานกลางและใหญ่ (n = 50, 100) หรือร้อยละของข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาปานกลางและมาก (r1 = 20%, 30%) ในทางกลับกัน 2) วิธี OLS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก (n = 30) หรือตัวแปรอิสระมีการกระจายตัวน้อยกว่าความคลาดเคลื่อน แต่ CM มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวแปรอิสระมีการกระจายตัวมากกว่าหรือเท่ากับความคลาดเคลื่อน 3) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือตัวแปรถูกตัดปลายทางขวาน้อยลง หรือสัดส่วนช่วงเวลาที่เปิดรับผู้ป่วยต่อช่วงเวลาที่ติดตามการรอดชีวิตลดลง หรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ


การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอยสำหรับข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล, ศิวพร ทิพย์พันธุ์ Jan 2018

การศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าจากตัวแบบการถดถอยสำหรับข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ที่มีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอล, ศิวพร ทิพย์พันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการประมาณค่าจากตัวแบบ การถดถอย เมื่อตัวแปรตามมีการแจกแจงแบบล็อกนอร์มอลและตัวแปรตามบางค่าเป็นข้อมูล ที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 ด้วยวิธีกำลังสองต่ำสุด (OLS) วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด (MLE) วิธีของแชตเทอร์จีและแมคลีช (CM) และวิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดด้วยขั้นตอนวิธีอีเอ็ม (MLE_EM) ข้อมูลในการศึกษาได้จากการจำลองข้อมูลจำนวน 81 สถานการณ์ สถานการณ์ละ 10,000 รอบ ขนาดตัวอย่าง (n) เท่ากับ 30, 50, 100 และเปอร์เซ็นต์การถูกตัดปลายทางขวาของตัวแปรตาม (r) เท่ากับ 10%, 20%, 30% และอัตราส่วนความแปรปรวนของตัวแปรอิสระตัวที่ 1 ต่อตัวแปรอิสระ ตัวที่ 2 คือ 1:1, 1:2, 1:5 และอัตราส่วนความแปรปรวนรวมของตัวแปรอิสระต่อความคลาดเคลื่อน คือ 2:1, 1:1, 1:2 จากการศึกษาพบว่า 1) วิธี MLE และวิธี MLE_EM มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ (n=100) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวามาก (r=30%) ในทางกลับกัน 2) วิธี OLS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อตัวอย่างมีขนาดเล็ก (n=30) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวาน้อย (r=10%) และ 3) วิธี CM เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในสถานการณ์ที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อตัวอย่างมีขนาดปานกลาง (n=50) หรือตัวแปรตามถูกตัดปลายทางขวาปานกลาง (r=20%) นอกจากนั้นพบว่า 4) ทุกวิธีมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือตัวแปรตาม ถูกตัดปลายทางขวาน้อยลงหรือความคลาดเคลื่อนกระจายตัวน้อยกว่าตัวแปรอิสระ


ภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย, เพ็ญพิชชา เล็กศรัณยพงษ์ Jan 2018

ภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย, เพ็ญพิชชา เล็กศรัณยพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางเพื่อศึกษาภาวะวิตกกังวลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะวิตกกังวลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่ศึกษาอยู่โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดในประเทศไทย จำนวน 77 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มมาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาการศึกษา ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 - มกราคม พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบประเมินภาวะวิตกกังวลสำหรับเด็ก ฉบับอักษรเบรลล์ (The State-Trait Anxiety Inventory for children) และสัมภาษณ์นักเรียนบางคนเพิ่มเติม ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.80) พิการทางการเห็นตั้งแต่กำเนิด (ร้อยละ 70.10) ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 88.30) ไม่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีความพิการ (ร้อยละ 89.60) ศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 67.50) พักอาศัยอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจำ (ร้อยละ 85.70) และครึ่งหนึ่งมีสถานภาพของบิดา-มารดาแยกกันอยู่ (ร้อยละ 50.65) พบความชุกของภาวะวิตกกังวล ประเภท State และประเภท Trait ในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ร้อยละ 33.80 และ ร้อยละ 45.50 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล ประเภท State ได้แก่ การเรียน เพื่อน ค่าใช้จ่าย สิ่งแวดล้อม และความเครียด ส่วนปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลประเภท Trait ได้แก่ เพศ การเรียน ครอบครัว ความเครียด วิตกกังวล และหงุดหงิดง่ายกว่าเดิม สรุป พบความชุกของภาวะวิตกกังวลในนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้สูง และสัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อการเรียน เพื่อน ค่าใช้จ่าย ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงควรตระหนักและสนับสนุนให้มีการประเมิน และดูแลทางจิตสังคมอย่างเหมาะสม เพื่อให้นักเรียน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้มีสุขภาพจิตที่ดี


การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร, กชพร ธัญญานุรักษา Jan 2018

การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร, กชพร ธัญญานุรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเห็นคุณค่าในตนเองต่ำนำมาสู่ปัญหาอื่นๆทางสังคม รวมถึงปัญหาทางสุขภาพจิตของคนได้โดยง่าย ในปัจจุบัน เฟสบุ๊ค เป็นสื่อออนไลน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกและในประเทศไทย ผู้วิจัยสนใจศึกษาในกลุ่มคน Generation Y ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้และเข้าถึงเฟสบุ๊คมากที่สุด ทั้งนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คของคน Generation Y ในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยตระหนักถึงปัญหานี้ว่าเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญ ควรได้การดูแลแก้ไข และสนับสนุนการป้องกันกลุ่มเสี่ยงนี้ จึงเกิดหัวข้อวิจัยนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในสังคมภายหน้า การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้สถานที่ในการเก็บข้อมูลเป็นสถานีรถไฟฟ้าซึ่งเป็นที่นิยมของคน Generation Y และมีคนใช้มากที่สุด 5 สถานี ได้แก่ สยาม อโศก หมอชิต อนุสาวรีย์ และศาลาแดง โดยเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 285 คน โดยเป็นผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จนถึง พ.ศ. 2539 (ณ ปัจจุบัน มีอายุตั้งแต่ 22 ถึง 38 ปี) เป็นผู้ที่ใช้บริการเฟสบุ๊คในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสำรวจพฤติกรรมการใช้, แบบสอบถาม Bergen Facebook addiction scale ฉบับภาษาไทย (Thai-BFAS) และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองในตนเองของ Rosenberg ฉบับปรับปรุง (Revised Thai RSES) วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละและความถี่ เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ต้องการศึกษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 285 คน ผู้ที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 56.1 รองลงมาร้อยละ 32.3 มีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง และมีการเห็นคุณค่าในตนเองระดับต่ำ ร้อยละ 11.6 ตามลำดับ และพบผู้ที่ติดเฟสบุ๊ค ร้อยละ 17.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี และความเกี่ยวข้อง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, จุฑาพร แต้ภักดี Jan 2018

ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี และความเกี่ยวข้อง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, จุฑาพร แต้ภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross - sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 716 คน ซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ของจิตราภรณ์ ทองกวด ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีของโกลแมน และแบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว Chulalongkorn Family Inventory (CFI) นำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ t-test , One way ANOVA และ Multiple Linear Regression โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.93 ในขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับดีพอสมควร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.11 ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.001) และมีความสัมพันธ์กับทุกด้านของการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวยกเว้นด้านการควบคุมพฤติกรรม และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยเพศ ( p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยสะสม ( p < 0.001) สถานะความสัมพันธ์ของบิดามารดา ( p = 0.03) และความสัมพันธ์ของนักเรียนกับมารดา ( p = 0.001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการช่วยให้ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแข็งแรงย่อมช่วยในการเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้กับเด็กได้


ความสุขเชิงอัตวิสัย การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นของสาววายในประเทศไทย, ณิณา ธนทัดนัททนน Jan 2018

ความสุขเชิงอัตวิสัย การเห็นคุณค่าในตนเอง และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นของสาววายในประเทศไทย, ณิณา ธนทัดนัททนน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้น การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัย รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสาววายในประเทศไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 จำนวน 1,745 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดระดับความสุขคนไทย (THI-15) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 22.63 ปี ส่วนใหญ่มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 38.8 ในขณะที่ร้อยละ 34.1 มีความสุขมากกว่าคนทั่วไป และร้อยละ 27.1 มีความสุขน้อยกว่าคนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นคุณค่าในตนเองในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.6 และส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 70.5 โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาในการติดตามคู่จิ้นหรือคู่ชิปน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 82.6 นอกจากนี้ยังพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองและความสุขเชิงอัตวิสัยนั้น มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (R = 0.745, p < 0.001) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขเชิงอัตวิสัย ได้แก่ การมีแฟน การเปิดเผยตัวตนว่าเป็นสาววาย การไม่มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ความคลั่งไคล้คู่จิ้นต่ำ และการเห็นคุณค่าในตนเองสูง โดยพบว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยของสาววายในประเทศไทยได้ (R2 = 0.555) กล่าวโดยสรุปคือ สาววายในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความคลั่งไคล้คู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบ การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสุขเชิงอัตวิสัยในระดับปานกลาง การเห็นคุณค่าในตนเองนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถทำนายความสุขเชิงอัตวิสัย และทัศนคติที่มีต่อคู่จิ้นหรือคู่ชิปที่ชื่นชอบได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ให้การดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมสุขภาพจิตของสาววายในประเทศไทยอย่างเหมาะสมต่อไป


บุคลิกภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พัชราภา จตุพร Jan 2018

บุคลิกภาพและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, พัชราภา จตุพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูบบุหรี่ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ ณ หน่วยเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จานวน 115 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ.2562 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบทดสอบประเมินภาวะเสพติดนิโคติน คือ แบบทดสอบ Fagerstrom Test for Nicotine Dependence ฉบับภาษาไทย และ ประเมินแบบทดสอบบุคลิกภาพ International Personality Item Pool (IPIP) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent sample t-test, และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างวิจัยส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรงสูบบุหรี่ และมีคนใกล้ชิดที่สูบบุหรี่ ในหนึ่งปีที่ผ่านมากผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ยาเสพติดที่นอกเหนือจากการสูบบุหรี่ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ไม่พบผู้เข้าร่วมวิจัยใช้สารเสพติดชนิดร้ายแรง เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ กัญชา ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน คะแนนเฉลี่ยการติดนิโคตินในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนการติดนิโคตินที่ต่ำ จัดเป็นผู้ไม่ติดนิโคติน ส่วนคะแนนเฉลี่ยบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบในผู้สูบบุหรี่พบว่ามีด้านมั่นคงทางอารมณ์ (Emotion stability) ต่ำที่สุด รองลงมาคือด้านเข้าสังคม ชอบแสดงออก (Extraversion) และมีด้านเข้าใจ เห็นใจ (Agreeableness) สูงที่สุด


ความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของพนักงานประจำ บริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง, ยศพร ปัญจมะวัต Jan 2018

ความสุขในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของพนักงานประจำ บริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง, ยศพร ปัญจมะวัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานประจำบริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในบริษัทแจ่มใสพับลิชชิ่ง จำนวน 124 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสุขในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร และแบบสอบถาม PHQ9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent sample t-test ,one way ANOVA, Spearman ‘s Correlation Coefficiency and Multiple Liner Regression และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Liner Regression) ด้วยวิธี Stepwise พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ50.8) มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ64.5) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.788 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานได้แก่ ระดับการศึกษา สถานะภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัว ภาวะซึมเศร้า การได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชาและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ปัจจัยทำนายความสุขในการทำงานได้แก่ ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี การได้รับคำชมจากผู้บังคับบัญชาและเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ผลวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้กับองค์กรเพื่อใช้ไปพัฒนาและเป็นแนวทางในการดูแล และเสริมสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรให้กับพนักงาน โดยกำหนดเป็นนโยบายและแผนงานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรสู่ องค์กรที่มีความสุขและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน


รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, รักษ์พล สุระขันธ์ Jan 2018

รูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, รักษ์พล สุระขันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มประสบการณ์รังแกและการใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกของกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 376 คน โดยใช้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, The revised Olweus bully/victim questionnaire และ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (Adolescent Coping Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มทั้งผู้รังแกและถูกรังแกร้อยละ 39.89,กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องร้อยละ 30.59, กลุ่มผู้ถูกรังแกมีร้อยละ 23.67 และกลุ่มผู้รังแกร้อยละ 5.85 ทั้ง 4 กลุ่มมีรูปแบบการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องมีคะแนนรูปแบบเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่สุด, ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้แหล่งสนับสนุนอื่นๆและด้านหลีกเลี่ยงปัญหา กลุ่มผู้ถูกรังแกมีคะแนนรูปแบบการเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่ รูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นวิธีที่จะใช้จัดการกับความเครียดแต่ละคนมีรูปแบบที่เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลเรื่องรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกในไทยและต่างประเทศยังมีไม่มากและการศึกษาที่ผ่านมายังพบข้อสรุปที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน


ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม ร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า กับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วนัสนันท์ จันทร์นิ่ม Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคม ร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า กับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วนัสนันท์ จันทร์นิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย เฉลี่ยร้อยละ 12 พบความชุกชั่วชีวิต เกิดในเพศหญิงได้มาก กว่าชายและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยรวมทั้งครอบครัว มีอาการสำคัญคือ 1)อาการด้านอารมณ์ 2)อาการทางกาย 3)ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว 4)อาการทางความคิด 5)อาการด้านสัมพันธภาพ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความบกพร่องของหน้าที่ทางสังคม จากการขาดทักษะทางสังคมที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดการหลีกออกจากสังคมและมีอาการซึมเศร้าที่มากขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมร่วมกับการใช้ยารักษาซึมเศร้า เทียบกับการใช้ยารักษาซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ มาเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental study) แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial, RCT) ทำการคัดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ (purposive sampling) ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (MDD) ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่แผนกผู้ป่วยนอก จิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาสาสมัครจำนวน 42 คน ทำการสุ่มแบบบล็อก (block randomization) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 21 คนที่ได้รับโปรแกรม STTP และได้รับการรักษาตามปกติจากแพทย์ และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 21 คนที่ได้รับการรักษาตามปกติจากแพทย์เท่านั้น เก็บข้อมูลด้วย1) แบบสอบถามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล 2) แบบกรอกข้อมูลทางการแพทย์ 3) แบบประเมินอาการซึมเศร้า (BDI-II) และแบบประเมินหน้าที่ทางสังคม (SFQ) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ยและโดยปรับค่าเริ่มต้น (Baseline) แล้วนำมาทำการวัดสองครั้งด้วยสถิติ repeated-measures analysis of variance (ANOVA) เพื่อหาค่าความแตกต่างของค่าคะแนนในการวัดสัปดาห์ที่ 0 - 5 และสัปดาห์ที่ 0 - 10 แล้วนำมาวิเคราะห์การลดลงของคะแนนซึมเศร้า (BDI-II) ว่ามีการลดลงของคะแนนซึมเศร้ามากกว่ากันอย่างไรระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ p < 0.05 ผลการศึกษามีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 42 คนโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 21 คนไม่พบความแตกต่างของคะแนนซึมเศร้าเริ่มต้น (กลุ่มทดลอง = 34.52 + 13.07 และ กลุ่มควบคุม = 29.95 + 09.97) ทั้งสองกลุ่มได้รับยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs เป็นหลักด้วยขนาดเทียบเท่ายา sertraline 50-100 มิลลิกรัมต่อวัน หลังจากคำนวนความแตกต่างจากค่าเริ่มต้นพบว่าค่าคะแนนซึมเศร้า BDI-II ระหว่างสองกลุ่มไม่พบว่ามีความแตกต่างทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม (P < 0.05) ส่วนของคะแนนหน้าที่ทางสังคม (SFQ) พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนหน้าที่ทางสังคมที่แตกต่างจากเดิม ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างภายในกลุ่ม (p < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ามีความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม (p < 0.01) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงของคะแนนซึมเศร้า ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าคะแนนหน้าที่ทางสังคมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านความ สัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศ การเข้าสังคม และการใช้เวลาว่างของตนเอง ทำให้ผู้ป่วยลดการแยกตัวทางสังคม ส่งผลให้มีหน้าที่ทางสังคมที่ดีขึ้น


คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ Jan 2018

คุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยศึกษาในเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงอายุ 2 - 18 ปีบริบูรณ์ ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ณ สถาบันราชานุกูล กทม. โดยใช้การสอบถามจากผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 424 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตเด็ก รุ่นที่ 4.0 (PedsQLTM 4.0) ฉบับรายงานของผู้ปกครอง (Parent Proxy-Report) พัฒนาและแปลเป็นฉบับภาษาไทยโดย Dr.James W Varni และทีมงาน เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ t-test, One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต พบว่า เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 4 ปี ศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล มีระดับความรุนแรงของความบกพร่องทางสติปัญญามาก และได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญามามากกว่า 5 ปี มีคุณภาพชีวิตที่อยู่ในระดับต่ำ และพบว่าเศรษฐานะและการมีความขัดแย้งภายในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการศึกษาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการวางแผนการรักษา ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองหรือครู และดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดผลสูงสุดในการรักษา ส่วนปัจจัยต่าง ๆ ที่พบว่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตนั้น ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือและเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น