Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Demography, Population, and Ecology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2022

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Demography, Population, and Ecology

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์ Jan 2022

ปัจจัยกำหนดการเข้าสู่การทำงาน รูปแบบการทำงาน และชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ในประเทศไทย, กนกนิษก์ ตัณฑ์กุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กอายุ 15-17 ปี ในประเทศไทยที่เข้าสู่การทำงาน รวมทั้ง รูปแบบการทำงานและชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ (เด็กอายุ 15-17 ปี ที่ทำงาน) นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังมุ่งศึกษาปัจจัยทางประชากรในครัวเรือนและลักษณะครัวเรือนที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานของเด็ก ตลอดจน รูปแบบการทำงานและการทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานของแรงงานวัยเยาว์ ทั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาส 3 พ.ศ. 2561 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานวัยเยาว์ จำนวน 27 คน ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า แรงงานวัยเยาว์ส่วนใหญ่ทำงานช่วยเหลือธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง รองลงมาคือการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ ยังพบว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วยมีสัดส่วนของการทำงานในชั่วโมงที่ยาวนานมากกว่าแรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียว ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเข้าสู่การทำงานในรูปแบบการทำงานอย่างเดียว ได้แก่ ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนและสมาชิกคนอื่นในครัวเรือนที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน ความเกี่ยวพันทางญาติกับหัวหน้าครัวเรือน การขาดการเอาใจใส่ด้านการศึกษาของผู้ปกครอง สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ได้เก่ การหารายได้ที่เพียงพอเพื่อเลี้ยงครอบครัว การเป็นลูกจ้าง และการขาดทักษะชีวิตในการจัดการเวลา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในครัวเรือนและจัดการรายกรณีสำหรับเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้องกันการหลุดออกนอกระบบการศึกษาและช่วยให้แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานอย่างเดียวกลับมาเรียนต่อได้ โดยอาจเป็นการทำงานควบคู่กับการเรียน 2. ควรพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสการทำงานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลง 3. ควรร่วมมือกับนายจ้างในการออกแนวทางการกำหนดชั่วโมงการทำงานสำหรับแรงงานวัยเยาว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานวัยเยาว์ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเด็กที่เรียนในสายสามัญนอกเหนือจากสายอาชีพ 4. ควรพัฒนาทักษะชีวิติในการจัดการเวลาในการทำงานตั้งแต่วัยเยาว์เพื่อตอบสนองการทำงานในอนาคต


ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ Jan 2022

ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง, สุพนิดา จิระสินวรรธนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น


การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช Jan 2022

การเปิดรับสื่อและคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป, กัลยกร ฝูงวานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภท และความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทกับคุณภาพชีวิตประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 และ 2564 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า ประชากรอายุ 50-59 ปี ร้อยละ 91.23 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ92.87 เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองผ่านสื่ออย่างน้อย 1 ประเภท โดยจะเปิดรับสื่อแต่ละประเภทในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน และมีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ผ่านสื่อแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ประชากรทั้ง 2 กลุ่ม เปิดรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2560 และ 2564 มีสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันตนเอง นำไปสู่การเพิ่มบทบาทการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันของประชากรในทุกกลุ่มวัย นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าการเปิดรับสื่อประเภทต่างๆมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และ การมีหลักประกันและความมั่นคงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มประชากรอายุ 50-59 ปี การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพใจและการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ จะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และการมีส่วนร่วม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ในขณะที่กลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป พบว่า การเปิดรับเฉพาะโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีสุขภาพกาย การมีส่วนร่วม และการหลักประกันและความมั่นคง ขณะที่การเปิดรับเฉพาะสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านการมีส่วนร่วม และการเปิดรับเฉพาะสื่อออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่เปิดรับสื่อประเภทใดเลย ทั้งนี้การเปิดรับสื่อที่มีความหลากหลายจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไปดีขึ้น ทั้งในมิติด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ การมีส่วนร่วม และการมีหลักประกันและความมั่นคง โดยปัจจัยด้านประเภทสื่อที่เปิดรับและความหลากหลายของสื่อมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของประชากรไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum Jan 2022

Human Rights Due Diligence: Roles And Contributions Of Sustainability Professional In Thailand, Pimpilai Rumthum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines the role of sustainability professionals in driving Human Rights Due Diligence (HRDD) within organizations and provides valuable insights into their responsibilities, competencies, and impact. As there was no study done to understand this particular career that tends to be trendy for sustainability businesses to achieve their goals beyond financial efficiency. The study examines the tasks, competencies, and impact of sustainability professionals from different viewpoints of related stakeholders. Using primary data gathered through semi-structured interviews, the research investigates the question that sustainability professionals positively contribute to HRDD processes. Through 9 interviews with key informants from diverse backgrounds, including …


Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa Jan 2022

Study On Nepalese Migrant Remittances: Usage, Gender Perspective And Remittance Methods, Tsering Diki Sherpa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to shed light on remittance usage types and methods of remittance transfer to Nepalese migrant households. To achieve this, data from the Nepal Living Standards Survey III (NLSS III) was utilized, which comprises a sample size of 5,988 households selected from 499 primary sampling units (PSUs) included in the cross-sectional sample of the NLSS III survey. By analyzing and interpreting this data, the study investigates the allocation and utilization patterns of remittance funds by recipient households. It looks into their expense patterns, occupation types, destination countries, and how gender plays an active role in these dynamics. This …


Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen Jan 2022

Factors Associated With And Impacting Coming Out For Sexual Identity Minorities In The United States, Matthew Robert Kusen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore socio-demographic and other individual factors potentially associated with the probability of coming out as Lesbian, Gay, Bisexual, Queer and other sexual identities (LGBQ+) to friends and family and the probability of being outed as LGBQ+ to family members before being ready or without consent in the United States (UCS). This research analyzed quantitative data from the 2016-17 Generations Study, a nationally representative population-based survey collecting information from LGBQ+ persons residing across the US (N=1,416), and employed both descriptive and multivariate analyses, using the logistic regression model and the Cox proportional hazard model. Several factors were …


The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar Jan 2022

The Socio-Economic Determinants Of The Life Satisfaction Of Older Persons In Myanmar In 2019, Myo Thandar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar has undergone significant demographic changes, and the share of the older population has increased. Myanmar is facing the challenge in providing social protections to the increasing number of older people, like many other rapidly-ageing societies. As people get older, their physical health and functional ability deteriorate and, as a result, their life satisfaction also declines in most cases. Therefore, it is crucial to consider factors that contribute to the perception of life satisfaction among this venerable cohort. This study explored the determinants of life satisfaction of older persons and investigated whether there are gender differences in the determinants of …


Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi Jan 2022

Preventive Health Care And Health Care Services Utilization Of Vietnamese Older Persons : Results From National Household Living Standards Survey 2018, Thao Nguyen Thi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As many countries are aging rapidly, improving older persons’ health and reducing the burden of disease are important goals. However, many developing countries still lack effective policies in the areas of preventive health care and health services utilization of older persons. This study aims: (1) to determine the health status by severe injury report and health care service needs of Vietnamese older persons, (2) to investigate the factors associated with the use of health check-up services of Vietnamese older persons, and (3) to investigate the differences in health care services utilization between different medical needs of Vietnamese older persons. Using …