Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Criminology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2019

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Criminology

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด Jan 2019

อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา, สัณหวรรณ ศรีสด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ “อาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์: ศึกษากรณีชาวโรฮีนจาในประเทศเมียนมา” ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัจจัย สถานการณ์ และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมที่มีลักษณะของอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยนำสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ ประเทศเมียนมา ในระหว่างปี พ.ศ. 2555 ถึงปี พ.ศ. 2560 มาพิจารณาประกอบกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน หรือ Collective Action Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีอาชญาวิทยาที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐยะไข่ โดยเฉพาะความรุนแรงที่เกิดแก่ชาวโรฮีนจาในปีพ.ศ. 2559 และ 2560 นั้นมีลักษณะเป็นการประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามบทนิยามของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีทั้งองค์ประกอบด้านการกระทำและด้านเจตนาพิเศษ เมื่อนำมาปรับเข้ากับทฤษฎีการกระทำร่วมกันพบว่าสถานการณ์ในรัฐยะไข่สนับสนุนทฤษฎีการกระทำร่วมกัน โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ตามทฤษฎี ได้แก่ องค์ประกอบเกี่ยวกับระบอบการปกครอง มีการรวมกลุ่มสังคม มีการสร้างตัวตนสูง และมีเจตนาร่วมกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่เป็นการหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่ายังมีสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นแต่พบว่าไม่สอดคล้องกับทฤษฎีการกระทำร่วมกัน และทฤษฎีดังกล่าวยังจำต้องถูกปรับปรุงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างคตินิยมของบุคคลทั่วไปต่ออัตลักษณ์ชาวโรฮีนจา และปัจจัยที่หล่อหลอมโครงสร้างและสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในรัฐยะไข่ที่นำไปสู่การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮีนจาและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามทฤษฏีการกระทำร่วมกันยังพบว่าปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ชาติพันธุ์ ศาสนา รูปแบบการปกครอง การจำกัดสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และการสร้างความเกลียดชังในพื้นที่ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัจจัยข้างต้นที่เอื้อต่อการใช้ความรุนแรงในรัฐยะไข่ทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการแก้ไขและป้องกันอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในพื้นที่รัฐยะไข่ประเทศเมียนมานั้นคือการกำจัดองค์ประกอบทั้งหลายตามทฤษฎีการกระทำร่วมกันมิให้เกิดขึ้น ทั้งการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านการปกครอง การสนับสนุนให้มีการยอมรับความแตกต่างและยุติการเลือกปฏิบัติทั้งในความเป็นจริงและทางกฎหมาย การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม ยุติโครงการใด ๆ ที่เอื้อให้พลเรือนเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการทหาร และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เป็นต้น


“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง Jan 2019

“คุกมีไว้ขังคนจน” กับนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา, กฤตานนท์ มะสะนิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย การให้ความหมาย และอำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมายเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ผ่านการแพร่กระจายความเชื่อในสังคมไทย รวมทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ซึ่งมีข้อค้นพบ ดังนี้ 1) การให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มได้สะท้อน 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมมีราคาแพง กระบวนการยุติธรรมมีการเลือกปฏิบัติ กระบวนการยุติธรรมมีความซับซ้อน มีแบบแผนพิธีการ และประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญา ได้เพิ่มเติมในประเด็นความยากจนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน 2) องค์ประกอบหรืออำนาจที่อยู่เบื้องหลังการให้ความหมาย “คุกมีไว้ขังคนจน” นั้น มี 3 ประเด็น ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การผลิตซ้ำของสื่อ และการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค โดยใน 2 ประเด็นแรกนั้น ได้รับการอธิบายจากทั้งสองกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่อธิบายตรงกัน มีเพียงประเด็นสุดท้ายที่อธิบายจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่าน/เผยแพร่ หรือสร้างความเข้าใจเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” เพียงกลุ่มเดียว 3) การรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และถือเป็นเรื่องที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแม้ว่าการรับรู้หรือได้ยินของผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสองกลุ่มนั้นได้แตกต่างกันไปตามแต่ละบริบท แต่จุดร่วมประการหนึ่งที่สำคัญของการรับรู้หรือได้ยินเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” คือ ได้ยินมานานและรับรู้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการส่งผ่านจาก 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ส่งผ่านจากเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม จากสื่อมวลชน และจากข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ 4) ความเชื่อของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีต่อประเด็นเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” สามารถจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อ กลุ่มที่ไม่เชื่อ และกลุ่มที่ยังลังเล และ 5) แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือคนยากจนในคดีอาญาของรัฐต่อการทัดทานความเชื่อเรื่อง “คุกมีไว้ขังคนจน” จะประกอบไปด้วยการขับเคลื่อนกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 การปล่อยตัวชั่วคราวแบบไม่มีประกันที่เป็นไปตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 …


เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร Jan 2019

เพศต้องห้าม: การวิเคราะห์ในเชิงอาชญาวิทยาและวิพากษ์โดยใช้ทฤษฎีเควียร์ถึงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (Lgbtq) ในสังคมไทย, ณรงค์ศักดิ์ กล้าปราบโจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัวของสังคมไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ซึ่งมีรูปแบบของสาเหตุความรุนแรงที่มี “ลักษณะพิเศษ” เนื่องจากการใช้ความรุนแรงต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) นั้นล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ว่าบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบรรทัดฐานทางสังคมนั้นเป็นสิ่งที่ “ผิดปกติ” และ “น่าอับอาย” จึงส่งผลให้พ่อและแม่เลือกวิธีการใช้ความรุนแรงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviant Behavior) ของทายาทให้กลับสู่ความเป็น “ปกติ” ตามบรรทัดฐานของสังคมที่ได้กำหนดไว้ จากการศึกษาวิจัย พบว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเพศต้องห้าม (LGBTQ) ของสังคมไทย ล้วนเกิดจากการมลทินประทับ (Stigmatization) ของสมาชิกในครอบครัว ว่าเป็นสิ่งที่ “แตกต่าง” ไปจากบรรทัดฐานทางสังคมโดยทั้งสิ้น ซึ่งการมลทินประทับต่อเพศสภาพที่หลากหลาย (LGBTQ) ของครอบครัวในสังคมไทยสามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้ 1) การมลทินประทับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ว่าเป็นผู้ที่มีความ “ผิดปกติ” “วิปริต” หรือเป็นความบกพร่องทางจิตรูปแบบหนึ่ง 2) การมลทินประทับว่าการมีทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เป็นการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของครอบครัว 3) การมลทินประทับว่าทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ไม่สามารถสืบต่อสกุล / วงศ์ตระกูลได้ 4) การมลทินประทับว่าอนาคตของทายาทชายที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จะต้องเผชิญกับความล้มเหลวในชีวิต ซึ่งจากการวิพากษ์โดยทฤษฎีเควียร์ (Queer Theory) ต่อการมลทินประทับของครอบครัวไทยต่อทายาทชายที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ทั้ง 4 รูปแบบ ก็ถือว่าเป็นการยืนยันถึงการ ”ดำรงอยู่” ของบรรทัดฐานทางสังคมแบบกลุ่มคนรักเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ว่ายังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอยู่ ทั้งนี้ แนวทางการยุติความรุนแรงความรุนแรงในครอบครัวต่อทายาทเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากครอบครัว ชุมชน และภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ควบคู่ไปกับการรื้อถอนการประกอบสร้างทางสังคม (Deconstruction) ว่าด้วยเรื่องของไม่เท่าเทียมทางเพศที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมไทย เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเสมอภาคกันทางเพศ ตลอดจนการเคารพสิทธิและเสรีภาพในการเป็น “มนุษย์” คนหนึ่ง


เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา Jan 2019

เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ตฤณห์ โพธิ์รักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง เส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากผู้ต้องขังหญิงจำนวน 7 คน จากทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางชีวิตการกระทำผิดของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน และเพื่อศึกษามูลเหตุจูงใจของการก่ออาชญากรรมของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยก่อคดีตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กและเยาวชน จากนั้นจะเป็นการศึกษาเพื่อสร้างแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยก่อคดีแรกครั้งยังเป็นเด็กและ เยาวชน มีมูลเหตุจูงใจมาจากปัจจัยด้านอายุ ครอบครัว กลุ่มเพื่อนในขณะที่เริ่มเสพยาเสพติด สภาพจิตใจ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ โดยเรียงลำดับจากมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวข้องจากมากไปน้อยตามลำดับ มูลเหตุจูงใจด้านอายุที่เริ่มเสพยาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งกรณีมีการเริ่มใช้ยาเสพติดอายุน้อยเท่าใดก็จะมีโอกาสเสพติดต่อเนื่องไปยาวนานเท่านั้น ซึ่งกรณีศึกษาทุกรายไม่ได้เข้ารับการบำบัดให้เลิกเสพอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ครั้งแรก ส่งผลให้เมื่อพ้นโทษ จึงกลับมาเสพ และกระทำผิดซ้ำ มูลเหตุจูงใจรองลงมาได้แก่ครอบครัว การขาดการดูแลเอาใจใส่ และไม่มีความผูกพันกับครอบครัว ส่งผลให้กรณีศึกษา เข้าสู่วงจรยาเสพติดได้ง่าย ไม่มีสมาชิกในครอบครัวคอยสอดส่องดูแล หรือห้ามปราม ถัดมาคือกลุ่มเพื่อน ซึ่งพบว่า เป็นมูลเหตุจูงใจที่มีอิทธิพลมากที่สุด ในการชักชวนให้กรณีศึกษาเริ่มลองยาเสพติด มูลเหตุจูงใจถัดมา ได้แก่สภาพจิตใจของกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า กรณีศึกษามักมีปัญหาทางด้านครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น ตัวอย่างเช่น ความไม่พอใจ ที่บิดาของตนมีภรรยาใหม่ จึงแสดงความก้าวร้าวและก่อปัญหา หรือ การที่กรณีศึกษาเคยโดนลวนลามทางเพศโดยญาติผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านเดียวกัน ปัญหาเหล่านี้ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจอย่างมาก และเมื่อไม่สามารถพึ่งพิงคนในครอบครัวได้ การหันหน้าไปหาเพื่อนที่มีปัญหาเหมือนกัน หรือ หันมาใช้ยาเสพติดช่วยให้ผ่านช่วงเวลาเลวร้ายไปในแต่ละวัน จึงทางออกสำหรับกรณีศึกษา และมูลเหตุจูงใจอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำได้แก่ สภาพสังคม การศึกษา การติดยาและการบำบัด และสภาพเศรษฐกิจ ตามลำดับ ข้อเสนอแนะของการวิจัยพบว่าแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดของเด็ก เยาวชนและผู้หญิง ได้แก่ การบำบัดให้หายขาดตั้งแต่ครั้งแรกของการเสพยาเสพติด รวมถึงการทบทวนการลงโทษแบบเดิม ร่วมกับการปรับใช้ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) และการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เอกชน และชุมชนเอง ช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กในชุมชน พร้อมทั้งให้ความรู้ถึงโทษของยาเสพติด มีการฝึกงานอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด มีการพบปะเยี่ยมเยียนสมาชิกในชุมชนจากผู้นำของชุมชนเป็นประจำ และให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมสำหรับสมาชิกที่ผิดพลาด เพื่อป้องกันปัญหาการกระทำผิดซ้ำอย่างถาวร


การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์ Jan 2019

การศึกษามาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อสถาบันการเงิน, ปรมัตถ์ ไวรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของธนาคารกลางของไทยในการกำกับดูแลสถาบันการเงินต่อการบังคับใช้มาตรการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และศึกษาถึงแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสถาบันการเงิน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติงานในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสถาบันการเงิน ผู้ปฏิบัติงานจากสายงานกระบวนการยุติธรรมหรือสายกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) บทบาทที่สำคัญของธนาคารกลางของไทย คือ การวางกรอบแนวทางการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ โดยมีการกำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจสอบกำกับดูแล และการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ภาคประชาชน 2) ธนาคารกลางของไทยมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันการเงินและองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะความรู้ใหม่ ๆ ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติการ สถาบันการเงินควรมีการฝึกซ้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ ไปพร้อมกับการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในเชิงรุก รวมทั้งสร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการเงิน ด้านการออกนโยบาย เสนอให้เพิ่มบทลงโทษสถาบันการเงินจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่บังคับใช้ และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีบทเรียนเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์และมาตรการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์


การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู Jan 2019

การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาแรงงานเด็กข้ามชาติในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล, ปานชนก ชูหนู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายและแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายมาปฏิบัติกับแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล พร้อมทั้งศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการมาปฏิบัติ โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่มประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการในส่วนขององค์กรภาครัฐ 9 คน เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ จำนวน 1 คน และ ตัวแทนนายจ้างในสถานประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการละเมิดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย กอปรกับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 182 จึงก่อให้เกิดนโยบายและแผนระดับชาติฯ ฉบับนี้ขึ้นมา 2) การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัตินั้นดำเนินงานผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ คือ การป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การช่วยเหลือและคุ้มครองแรงงานเด็กจากการทำงานในรูปแบบที่เลวร้าย การพัฒนาและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่าย การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่อการนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติที่สามารถแบ่งออกเป็น 5 ปัจจัยคือ 1. ความสามารถในการจัดการปัญหา คือ การจัดการปัญหาของการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ความซับซ้อนเชิงพฤติกรรมของนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่ผู้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับสถานประกอบกิจการ 2. ลักษณะของตัวนโยบายและแผนระดับชาติฯ คือการตรานโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ไม่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา การเขียนรายละเอียดของการนำไปปฏิบัติแบบภาพกว้าง 3.หน่วยงานที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือ การขาดความเข้าใจและความรู้สึกผูกพันในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.บุคลากรที่นำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ไปปฏิบัติ คือการไม่เข้าใจในรายละเอียดและขอบข่ายงาน อาจมีผลมาจากความไม่ชัดเจนในตัวของนโยบายฯ และ 5. การติดตาม ประเมินผล การนำนโยบายและแผนระดับชาติฯ ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่เป็นรูปธรรม คือ ปัญหาในส่วนของการรวบรวมข้อมูล ความล่าช้าในการรายงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับ


พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช Jan 2019

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550: จากเจตนารมณ์สู่การปฏิบัติ, ฐานา วิบูลย์ภาณุเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์ของสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หลังจากที่มีการนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปบังคับใช้ 2) เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มา เจตนารมณ์และกระบวนการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยศึกษาเปรียบเทียบจากปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี (Declaration on the Elimination of Violence Against Women) 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย สตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และผลกระทบต่อสังคม ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และ 4) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกระบวนการออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงพัฒนากระบวนการออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเสริมพลังสตรีที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรง โดยผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interviews) เพื่อรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายคือ 1) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนในการรักษาสิทธิต่อเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวได้รับความคุ้มครองจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม 2) เพื่อใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวแทนการใช้กฎหมายอาญา กรณีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว 3) เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด และปกป้องคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง 4) เพื่อรักษาสถานภาพความเป็นครอบครัว เมื่อนำพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ไปใช้บังคับ พบว่ามีปัญหาหลัก 5 ประการ ดังนี้ 1) ในมาตรา 5 ต้องให้มีการร้องทุกข์ให้เป็นคดีก่อนแล้วจึงมีกลไกในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว การฟื้นฟูและปรับปรุงพฤติกรรม 2) เปิดโอกาสให้ยอมความได้ในทุกชั้นของกระบวนการยุติธรรม 3) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ประสานกันระหว่างหน่วยงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก 4) ความไม่รู้กฎหมายของประชาชน และ 5) มีงบประมาณไม่เพียงพอสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ สิ่งเหล่านี้ควรเร่งแก้ไขปรับปรุงให้กฎหมายมีความชัดเจน สร้างแนวทางการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ ตลอดจนสร้างความรู้เรื่องกฎหมายให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองได้


การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ปณิธาน พิมลวิชยากิจ Jan 2019

การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา, ปณิธาน พิมลวิชยากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “การบังคับสูญหายในประเทศไทย: ประสบการณ์และมุมมองในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ในเชิงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึงมุมมองหรือทัศนคติของผู้ให้ข้อมูลสำคัญต่อปัญหาการบังคับสูญหายในประเทศไทย สำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย และสมาชิกครอบครัวของผู้สูญหาย โดยผลการศึกษาพบว่า การบังคับสูญหายในประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีบทกฎหมายฉบับใดกำหนดคำนิยามและกำหนดว่ามีความผิด จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านบทบัญญัติทางกฎหมาย กล่าวคือสังคมไทยไม่เข้าใจถึงความหมายของการบังคับสูญหายอย่างถ่องแท้ และส่งผลให้การบังคับสูญหายไม่มีสถานะเป็นอาชญากรรม ดังนั้นจึงทำให้มีการนำกฎหมายอื่นที่ระบุถึงฐานความผิดที่เกี่ยวข้องซึ่งยังมีอัตราโทษที่ไม่เหมาะสมมาบังคับใช้แทน นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เช่น การสืบสวนสอบสวนที่ไม่น่าเชื่อถือ การที่ครอบครัวของผู้สูญหายไม่สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม หรือการช่วยเหลือเยียวยาที่ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงควรบังคับใช้กฎหมายสำหรับการบังคับสูญหายเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาการบังคับสูญหายอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่น เช่น การช่วยเหลือเยียวยาด้านการเงินแก่ครอบครัวผู้สูญหายในระหว่างการดำเนินคดี การจัดตั้งกลุ่ม/เครือข่ายสำหรับกรณีปัญหาการบังคับสูญหายโดยเฉพาะ เป็นต้น


บทบาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีความรุนแรงในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร, ศาสนพงษ์ วรภาพ Jan 2019

บทบาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีความรุนแรงในครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร, ศาสนพงษ์ วรภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงศึกษาบทบาทหน้าที่ ขั้นตอนดำเนินการของพนักงานสอบสวนในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวและปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนศึกษามาตรการในการเยียวยาชดใช้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด โดยวิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสาร เทคนิคการสังเกตการณ์ และเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง รวมทั้งหมด 20 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทยมีจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยมีทั้งรูปแบบสามีทำร้ายภรรยา รูปแบบบิดามารดาหรือผู้ปกครองทำร้ายบุตรหลาน และรูปแบบบุตรหลานทำร้ายผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อตัวผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวและสังคมประเทศชาติโดยรวม โดยมีสาเหตุมาจากรากเหง้ามายาคติชายเป็นใหญ่และสะท้อนออกมาสู่รูปแบบการทำร้ายบุคคลภายในครอบครัวที่มีอำนาจด้อยกว่า รวมถึงความกดดันทางสภาพเศรษฐกิจสังคมที่ยากจน และปัญหาการดื่มสุราหรือการเสพสารเสพติดเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในสังคมไทย 2) พนักงานสอบสวนยึดบทบาทเป็นคนกลางเป็นหลักในกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิด ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยทำหน้าที่ประสานงานนัดหมายผู้เข้าร่วมกระบวนการ เป็นผู้ดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายกล่าวถึงปัญหาของตนเอง และเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหารวมทั้งมาตรการในการเยียวยาชดใช้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมและยุติธรรม 3) ปัญหาหลักที่พบจากงานวิจัยนี้ คือ พนักงานสอบสวนยังขาดความรู้ในขั้นตอนการดำเนินกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อขั้นตอนกระบวนการที่เป็นสาเหตุให้ผลลัพธ์ของการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ 4) การเยียวยาชดใช้ด้วยเงินให้แก่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นมาตรการเยียวยาชดใช้ที่เหมาะสมที่สุด แต่ควรมีการเยียวยาด้านสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวด้วย โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยเหยื่อ-ผู้กระทำผิดของพนักงานสอบสวน สำหรับการจัดการแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยจากประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญ


วาทกรรม “กัญชา” ในสังคมไทย : กัญชายาเสพติด หรือ กัญชาการแพทย์, อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี Jan 2019

วาทกรรม “กัญชา” ในสังคมไทย : กัญชายาเสพติด หรือ กัญชาการแพทย์, อัครพนธ์ เอี้ยวรัตนวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ประกอบสร้างภาพแทนของกัญชาในสังคมไทย และเพื่อศึกษาองค์ประกอบความเป็นอาชญากรรมของกัญชา ตลอดจนศึกษาแนวทางการรื้อถอนความเป็นอาชญากรรมของกัญชาในสังคมไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร (documentary Research) วิเคราะห์วาทกรรม (discourse Analysis) และตรวจสอบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นอาชญากรรมของกัญชามีลักษณะลื่นไหล มีเส้นทางที่ปรับเปลี่ยนไปตามอำนาจทางกฎหมาย (และการลงโทษ) กับกระบวนการผลิตความรู้และความจริงทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การชี้นำของมาตรฐานสังคมโลก สำหรับการประกอบสร้างวาทกรรมกัญชาเป็นยาเสพติดมีเหตุปัจจัยมาจากการเมืองโลกที่ส่งผลต่อการรับรู้ความหมาย (significance) ของกัญชาในสังคมไทย การออกกฎหมายมากำหนดความเป็นอาชญากรรม (criminalized) ให้แก่ “กัญชา” การสร้างความเป็นอื่น (otherness) ให้กับกัญชาโดยศาสนาและวัฒนธรรม การตีตรา (labelling) กัญชาว่าเป็นปัญหาสังคมโดยนโยบายสาธารณะหลายรูปแบบซึ่งมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสร้างความชอบธรรมในกำหนดวาทกรรมดังกล่าว และภาคปฏิบัติการของกลไกต่าง ๆ ในสังคมได้ร่วมกันผลิตซ้ำความหมายทำให้วาทกรรมดังกล่าวคงอยู่เป็นระยะยาวนานในสังคมไทย ส่วนการรื้อถอน “วาทกรรมกัญชาเป็นยาเสพติด” อันเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความล้มเหลวของนโยบายยาเสพติด การคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพ โดยมีกระบวนการหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรม ภายใต้กระแสการครอบงำทางความคิดขององค์กรระดับนานาชาติที่ชี้ทิศทางใหม่แก่สังคมโลก ในขณะที่วาทกรรมชุดเก่าเริ่มสั่นคลอนและเสื่อมสลายลงก็ได้เกิดมีวาทกรรมชุดใหม่ขึ้นแทนที่คือ “วาทกรรมกัญชาทางการแพทย์” อันประกอบด้วยการรื้อถอนและปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่แห่งนโยบายยาเสพติดจากกระแสสังคมโลก การแก้ไขกฎหมายยาเสพติดอนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ และมีการขับเคลื่อนเร่งรัดจากภาคประชาสังคม โดยมีการสนับสนุนจากภาคการเมืองและวงการวิชาการ


บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม Jan 2019

บทบาทและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากลว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, พรภัทร์ รอดโพธิ์ทอง บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องบทบาทและความรับผิดชบของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไทยตามหลักสากล ว่าด้วยมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่อาจส่งผลต่อการปรับใช้มาตรฐานสากล รวมถึงมาตรการ ระเบียบปฏิบัติ และนโยบายกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นและความเหมาะสมในการหาแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย แลระเบียบต่างๆประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่าประเทศไทยยังมีความบกพร่องด้านกรอบของกฎหมายตามข้อแนะนำที่ 22 ในส่วนของการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ในการรู้จักตัวตนของลูกความ การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริง อันจะนำไปสู่การรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย ส่งผลให้มาตรฐานของประเทศไทยอาจไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ทัดเทียมมาตรฐานสากล ซึ่งในการพิจารณากำหนดหน้าที่ดังกล่าว ประเทศไทยจำต้องพิจารณาความเหมาะสมระหว่างสิทธิเสรีภาพของข้อมูลส่วนบุคคลกับหน้าที่การรายงานธุรกรรมและการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือความรับผิดชอบต่อสังคมภายใต้จริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนั้นการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายมีหน้าที่ต้องรายงานตามมาตรฐานของ FATF ในส่วนของสภาทนายความควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนและมีการขึ้นทะเบียนให้ครอบคลุมทุกประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย เพื่อกำกับดูแลคุณภาพและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายต้องตระหนักถึงคุณธรรมและจริยธรรมและมีอุดมการณ์ในการให้บริการทางกฎหมาย คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม และควรมีความรู้ความเข้าใจในความเสี่ยงและความเปราะบางของวิชาชีพที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้บทบาทหน้าที่ดังกล่าว มิได้เพียงแต่เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น แต่เป็นมาตรการที่ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายได้เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป


การกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ, ภัทรจรัส บำรุงพงษ์ Jan 2019

การกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ, ภัทรจรัส บำรุงพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องการกลั่นแกล้งในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษานิสิตที่มีความต้องการพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุ การกลั่นแกล้งในระดับมหาวิทยาลัย โดยศึกษากรณีของผู้ที่เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ รวมทั้งยังบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ อาจารย์ บุคลากร และเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และจัดการปัญหาการกลั่นแกล้ง โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีการ สัมภาษณ์เชิงลึกโดยกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 11 ราย ผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างและข้อมูลจากเอกสารมาดำเนินการวิเคราะห์และประมวลผล โดยได้ผลการศึกษาซึ่งผ่านการประมวล และเชื่อมโยงในลักษณะพรรณนา ดังนี้ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบของการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย ที่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบเจอบ่อยครั้ง ได้แก่ การกลั่นแกล้งทางสังคม และการกลั่นแกล้งทางวาจา ซึ่งสาเหตุของการถูกกลั่นแกล้งเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความไม่เข้าใจในลักษณะอาการหรือพฤติกรรมที่แตกต่าง และพฤติกรรมการแสดงออกที่แตกต่างจากผู้อื่นของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยเมื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่าก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านจิตใจ และผลกระทบทางด้านการเรียนเป็นหลัก นอกจากนี้ บทบาทของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาจารย์ และเพื่อนร่วมชั้นเรียนนั้น อาจเป็นได้ทั้ง ผู้ช่วยเหลือ ทั้งด้านการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ปกป้องหรือให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดการกลั่นแกล้ง และในขณะเดียวกัน อาจเปลี่ยนบทบาทกลายเป็นผู้กลั่นแกล้ง หรือผู้ให้การสนับสนุนการกลั่นแกล้งได้เช่นกัน ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่าแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งนั้น ควรเริ่มต้นตั้งแต่หน่วยงานหลักเช่นมหาวิทยาลัย ในการประเมิน คัดกรอง และจัดทำแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ การอบรมให้ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องพิเศษ การรณรงค์หรือผลักดันโครงการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์ Jan 2019

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทย: กรณีศึกษาบิทคอยน์, กิจชัยยะ สุรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ สภาพปัญหาและสาเหตุของอาชญากรรมที่ใช้บิทคอยน์ในฐานะสกุลเงินเข้ารหัสเป็นเครื่องมือ ตลอดจนศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินเข้ารหัสทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัสในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันมีการนำบิทคอยน์ไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมโดยตรงด้วยการนำไปใช้เป็นสื่อกลางในการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมาย การฟอกเงินและการสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มผู้ก่อการร้าย และการนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางอ้อมด้วยการนำเอาชื่อของบิทคอยน์ไปหลอกลวงฉ้อโกงในลักษณะคล้ายกันกับแชร์ลูกโซ่ โดยมีสภาพปัญหาและสาเหตุจากลักษณะพิเศษต่างๆของบิทคอยน์ที่เอื้อต่อการนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรม โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ไม่มีการเปิดเผยตัวตนผู้ใช้งาน สภาพปัญหาและสาเหตุจากกฎหมาย ได้แก่ สถานภาพทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจนของบิทคอยน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถใช้ป้องกันการนำบิทคอยน์ไปใช้ในการกระทำผิดได้ ปัญหาในด้านการตีความกฎหมายที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเก็บพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ และการขาดกฎหมายที่บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการในการยึดและอายัดบิทคอยน์ รวมทั้งสภาพปัญหาและสาเหตุจากการบังคับใช้กฎหมายที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังขาดองค์ความรู้ วิธีการ และเครื่องมือหรือกลไกต่างๆ ทั้งยังขาดการบูรณาการร่วมกันทั้งจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ และจากการศึกษาแนวนโยบาย กฎหมายและมาตรการต่างๆที่เกี่ยวข้องพบว่าแต่ละประเทศมีทิศทางการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกันทั้งรูปแบบของการยอมรับ กึ่งยอมรับกึ่งควบคุม และปฏิเสธบิทคอยน์และสกุลเงินเข้ารหัสต่างๆขึ้นอยู่กับแนวคิดทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยควรมีการกำหนดมาตรการในการยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน กำหนดหลักปฏิบัติในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ชัดเจน บัญญัติหลักกฎหมายเกี่ยวกับการยึดและอายัดสกุลเงินเข้ารหัส ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ และกลไกต่างๆ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและหน่วยงานระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันให้มีการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ และการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับสกุลเงินเข้ารหัส


ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ Jan 2019

ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ, จุฬารัตน์ รัฐพิทักษ์สันติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ ประเภทความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และใช้ผลการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และใช้วิธีการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป จำนวน 9 คน ในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่เคยกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด คือ ปัจจัยด้านภูมิหลัง ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม การคบเพื่อน อาชีพ และรายได้ ปัจจัยด้านจิตใจ ได้แก่ การคิดก่อนกระทำผิด ความรู้สึกแปลกแยก และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความกดดันทางสังคม พันธะทางสังคม ประสบการณ์การใช้ชีวิตในเรือนจำ ประสบการณ์การใช้ชีวิตหลังได้รับการปล่อยตัวก่อนกระทำผิดซ้ำ และการถูกตีตรา 2) ความกลัวที่มีผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดมากที่สุดคือความกลัวต่อการสูญสิ้นอัตตา รองลงมาคือความกลัวต่อการสูญเสียที่เกี่ยวกับชีวิตกับความกลัวต่อการโดนทอดทิ้ง และความกลัวต่อการสูญเสียอิสรภาพของตนเอง โดยความกลัวต่อความพิกลพิการไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษของการศึกษานี้ ได้แก่ การนำปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ศาสนา อาชีพ และรายได้ มาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมของผู้ต้องขัง นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการคืนคนดีสู่สังคม และลดอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำ เช่น ความกดดันทางสังคม การถูกตีตรา เพื่อให้ผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษสามารถรับมือกับความกลัวต่อการตัดสินใจกระทำผิดซ้ำได้อย่างถูกต้อง


แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี Jan 2019

แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น "Police I Lert U", ณัฐดนัย บำรุงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการใช้แอพพลิเคชั่น Police I Lert U มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U และแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Police I Lert U การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่รู้จัก Police I Lert U และการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อแอพพลิเคชั่น Police I Lert U สามารถช่วยให้การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และช่วยลดการสูญเสียจากอาชญากรรมได้ ปัญหาและอุปสรรคของประชาชนในการเข้าถึงการตัดสินใจใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U โดยภาพรวมส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักแอพพลิเคชั่น Police I Lert U จึงทำให้ไม่มั่นใจในการตัดสินใจใช้งานในด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับมากในทุกประเด็นยกเว้นประเด็นที่แอพพลิเชั่น Police I Lert U ช่วยลดการเกิดอาชญากรรมกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นว่า มีความยากในการเข้าถึงในระดับน้อย ขั้นตอนในการลงทะเบียนการใช้งานมีความยุ่งยากในระดับน้อย มีความรู้สึกถึงการกระทบสิทธิส่วนบุคคลในการให้ข้อมูลในระดับน้อย ผู้ให้ข้อมูลรู้สึกหวาดกลัวการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลในระดับน้อย และกลัวข้อมูลการแจ้งเหตุรั่วไหลไปยังคนร้ายในระดับน้อย แนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ควรมีปุ่มยืนยันการแจ้งเหตุ ควรมีปุ่มยกเลิกการแจ้งเหตุ และควรมีหมายเลขโทรศัพท์ของสถานีตำรวจในพื้นที่ปรากฏบนแอพพลิเคชั่น Police I Lert U ส่วนแนวทางการพัฒนาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรมีบริการอื่นเสริม ข้อมูลที่รับแจ้งควรนำไปวิเคราะห์พัฒนาเพิ่มเติม และนำเสนออาชญากรรมที่เกิดขึ้นในท้องที่ได้


อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช Jan 2019

อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทย, ณธัญ วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์หัวข้อ อาชญากรรมต่อสัตว์: ประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ผ่านการรับรู้ของสังคมไทยนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์และที่มาของปัญหานี้ที่ถูกพบได้ในสังคมไทยและแนวคิดประกอบกับหลักการเกี่ยวกับการลงโทษความผิดเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ที่มีความเหมาะสมตามมุมมองของกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อสัตว์อีกทั้งมีความสอดคล้องต่อลักษณะความเป็นไปของสภาพสังคมไทย จากการศึกษานั้นพบว่าการทารุณกรรมสัตว์นั้น มีเหตุมาจากปัญหาเกี่ยวกับสัตว์ดังเช่น ปริมาณสัตว์จรจัดจำนวนมากที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ประชาชน จนเกิดการออกมาแก้ปัญหาเองโดยใช้ความรุนแรง ซึ่งได้กระทำการทารุณกรรมสัตว์เหล่านั้นเพื่อแก้ปัญหาความรำคาญดังกล่าว หรือการกระทำทารุณกรรมสัตว์ที่กระทำเพื่อหาความพึงพอใจหรือผลประโยชน์ในแง่ต่างๆ เช่นการหายรายได้บนโลกไซเบอร์ ซึ่งในนิติรัฐสมัยใหม่นี้เองก็ได้มีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการตราขึ้นและบังคับใช้กฎหมายในกรณีการคุ้มครองสัตว์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองตัวสัตว์และปกป้องศีลธรรมอันดีในสังคมไทย โดยทั้งนี้เอง การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ในอนาคต นอกจากการบังคับใช้กฎหมายแล้วนั้น ยังจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์แก่ประชาชนประกอบไปด้วย เนื่องจากที่มาของปัญหานั้นเกิดจากการปล่อยให้ปัญหาสัตว์จรจัดนั้นดำเนินต่อไป จากการจัดการที่ไม่เด็ดขาดของรัฐ จากผู้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีความรับผิดชอบ หรือจากบุคคลที่ไม่เห็นถึงคุณค่าของสัตว์ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การทารุณกรรมสัตว์ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสัตว์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการนำมาตรการอื่นๆมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสัตว์จรจัด และสัตว์ถูกทารุณกรรมในต่อไป


สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร Jan 2019

สวัสดิภาพของสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ที่ถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์, ธัญจิรา วรรณวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ในมิติต่างๆของสังคมโดยเฉพาะกับสัตว์เศรษฐกิจ จนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าของมนุษย์ ซึ่งพบว่ามีปัญหาตั้งแต่การเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม การขนส่ง และกระบวนการฆ่าสัตว์ในโรงฆ่า โดยเฉพาะในโรงฆ่าที่มีปัญหาตั้งแต่สภาพอาคารโรงฆ่าที่สกปรก เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน การดูแลสัตว์ก่อนการเข้าฆ่าที่พนักงานไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ และวิธีการฆ่าที่ใช้วิธีการทำให้สัตว์สลบโดยใช้ค้อนทุบที่ศีรษะของสัตว์ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงฆ่าขนาดเล็ก ที่มีปัญหาทั้งด้านสุขอนามัยและด้านสวัสดิภาพสัตว์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ไม่สามารถตรวจสอบขั้นตอนในการฆ่าของโรงฆ่าสัตว์ได้อย่างทั่วถึง รวมถึงข้อกฎหมายที่ยังมีช่องโหว่ในการปฏิบัติต่อสัตว์ ส่งผลให้สัตว์เศรษฐกิจในโรงฆ่านี้ยังไม่ได้รับความคุ้มครองที่ดีพอโดยมีแนวคิดและทฤษฎีเป็นฐานเครื่องมือในการอธิบายถึงความสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อสัตว์ของมนุษย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ ซึ่งพื้นที่ในการศึกษาจะศึกษาเฉพาะการปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสัตว์ที่เกิดขึ้นในบริบทต่างๆของสังคม มีความเกี่ยวพันกับ ศาสนา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกฎหมาย จนนำไปสู่วิธีการปฏิบัติต่อสัตว์แต่ละประเภท ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์และสัตว์ในสังคมโดยจะมุ่งเน้นไปที่สัตว์เศรษฐกิจจนนำไปสู่การปฏิบัติต่อสัตว์ในโรงฆ่าที่เป็นปัญหา ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ คือให้รัฐสนุบสนันผู้ประกอบการรายย่อยด้านอุปกรณ์ สถานที่ และเครื่องมือให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น ปรับแก้บทลงโทษให้มีรายละเอียดและบทลงโทษที่มากขึ้น และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีการตื่นตัวต่อชีวิตสัตว์ในโรงฆ่า การศึกษาในครั้งนี้จึงคาดหวังที่จะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงประชาชน ได้ตระหนักถึงคุณค่าในชีวิตของสัตว์ทุกชีวิตและคาดหวังให้มีการตื่นตัวในการรณรงค์ให้มีการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องตามหลัก


การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน, พัฒนพงษ์ ทองเนื้อสุก Jan 2019

การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน, พัฒนพงษ์ ทองเนื้อสุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน : บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย รูปแบบ กระบวนการ และแนวคิด รวมถึงแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ในการนำกระบวนการเชิงสมานฉันท์ใช้จัดการความขัดแย้งในโรงเรียน คุณลักษณะที่ดีของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน และเสนอแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีที่เหมาะสมกับบริบทของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโรงเรียน โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเอกสารและใช้กรณีศึกษาโรงเรียนพนมสารคาม”อดุลพนมสารคาม” การสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แล้วประเมินผลตามตัวแบบซิป (CIPP Model) และวิเคราะห์บทบาทผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชน ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนในการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ในโรงเรียน 1) เป็นผู้ช่วยสนับสนุนให้คู่ขัดแย้งสามารถหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 3) มีความเอาใจใส่คู่ขัดแย้งและแสดงออกถึงความต้องการให้เกิดการไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ 2) ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และเหตุผลที่ควรให้ผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนเป็นผู้ดำเนินการไกล่เกลี่ยในโรงเรียน 1) บทบาทของผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนทำงานแตกต่างกับการใช้กฎระเบียบของโรงเรียน 2) เด็กนักเรียนได้เรียนรู้การจัดการความขัดแย้งเชิงสันติวิธี 3) ผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนสามารถเป็นกลไกสำคัญในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ดังนั้น จากการวิจัยที่พบว่าผู้ไกล่เกลี่ยเยาวชนมีความเหมาะสมในการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในโรงเรียน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการขยายผลนำกระบวนการการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ไปใช้ในสถานศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะอาชีวะ และมหาวิทยาลัยด้วย


แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี Jan 2019

แนวทางในการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว, จุฑามาศ จุลจันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาบทบาทของกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจากทัณฑสถานหญิงชลบุรี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บทบาทของกรมราชทัณฑ์ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่เคยตกเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) เป็นหลักการสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงมีบทบาทสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) บทบาทด้านการจำแนกและรับตัวผู้ต้องขังหญิง 2) บทบาทด้านสุขภาพอนามัย 3) บทบาทด้านการจัดการสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ 4) บทบาทด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย และ5) บทบาทด้านการติดตามหลังพ้นโทษ นอกจากนี้พบว่าการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งจากภายในและจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ควรประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดเนื่องจากเคยตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวอย่างเหมาะสมต่อไป


แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม Jan 2019

แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทําผิดทางเพศ และการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ, นพรัตน์ บุญถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และลักษณะเฉพาะของการกระทำผิดทางเพศ รวมถึงมาตรการป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาหลักการ แนวคิด รูปแบบ และวิธีการนำระบบขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนมาใช้ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางเพศ ที่ได้ดุลยภาพระหว่างการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมกับสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบแนวทางในการที่จะนำ “การขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน” มาใช้พัฒนาฐานข้อมูลการกระทำผิดทางเพศในกระบวนการยุติธรรมของไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าเอกสารวิชาการ กฎหมาย และระเบียบต่างๆ ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางสรุป ผลการวิจัยพบว่า การกระทำผิดทางเพศเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางจิตใจ หากไม่ได้รับการรักษาหรือดำเนินการอย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดทางเพศซ้ำเมื่อกลับเข้ามาสู่สังคมได้ ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส และอีก 27 ประเทศ มีระบบการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชน เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางเพศซ้ำ แต่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าประเทศไทยควรตรากฎหมายในการขึ้นทะเบียนผู้กระทำผิดทางเพศและการแจ้งเตือนต่อสาธารณชนขึ้นเพื่อให้การป้องกันปราบปรามการกระทำผิดทางเพศในประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานในการจัดเก็บและบริหารข้อมูล มีการบูรณาการข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศกับฐานข้อมูลทะเบียนประวัติอาชญากรเดิม แบ่งประเภทผู้กระทำผิดทางเพศตามความรุนแรงของการกระทำผิด และกำหนดระยะเวลาการขึ้นทะเบียน 5 ปี 15 ปี และ 25 ปี ตามลำดับ สำหรับการเปิดเผยข้อมูล ผู้วิจัยกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลผู้กระทำผิดทางเพศที่มีความรุนแรงและกระทำต่อเหยื่อที่เป็นเด็กเท่านั้น เพื่อรักษาดุลยภาพของความปลอดภัยของสมาชิกในสังคมโดยรวมและสิทธิ เสรีภาพของผู้กระทำผิดทางเพศ โดยผู้วิจัยได้กำหนดให้มี การจำกัดถิ่นที่อยู่ การจำกัดอาชีพ และการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศด้วย อันเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในสังคม และประสิทธิภาพการป้องกันการกระทำผิดทางเพศ


การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร Jan 2019

การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ, รษิกา พงษ์ยุทธกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง "การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากการกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 2) สมาชิกในครอบครัวเดียวกันกับผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ 3) บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยใช้เอกสารหรือลายเซ็นต์ของผู้สูงอายุไปทำธุรกรรม 2) การละเมิดทางทรัพย์สินที่มีการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ หรือการปล่อยทิ้งผู้สูงอายุร่วมด้วย 3) การละเมิดเหยื่อที่มีลักษณะนิ่งเฉย 4) การเอาทรัพย์สินไปจากผู้สูงอายุโดยตรง เช่น การลักทรัพย์ บัตรเอทีเอ็ม เครื่องประดับ เป็นต้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุประกอบด้วย 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) ความอ่อนแอทางร่างกายหรือจิตใจ 2) การรับรู้เกี่ยวกับการตกเป็นเหยื่อ 3) การขาดผู้ดูแลหรืออยู่คนเดียว 4) ความไว้วางใจยอมให้ผู้อื่นกระทำการแทน 5) กิจวัตรประจำวัน 6) ภาวะพึ่งพิง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรสร้างความตระหนักในปัญหาการละเมิดทางทรัพย์สินต่อผู้สูงอายุให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐควรทำงานร่วมกับภาคประชาชนในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ อีกทั้งควรตรวจสอบการทำธุรกรรมที่ผู้สูงอายุมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และควรปรับปรุงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุ


การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย, ดนัยกันต์ จงเฟื่องปริญญา Jan 2019

การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย, ดนัยกันต์ จงเฟื่องปริญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความนี้อภิปรายถึงสถานการณ์การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย ประเด็นด้านสุขภาพของแม่และเด็ก ด้านสิทธิของผู้ต้องขังแม่และเด็กและด้านการดูแลเด็ก โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาสถานการณ์ของการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการเสนอแนะการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประทศไทย วิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ของการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม การวิจัยนี้เน้นการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแนวคิดทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดองค์กรสหประชาชาติและข้อกำหนดกรุงเทพว่าด้วยสุขภาพแม่และเด็กติดผู้ต้องขังหญิง การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย มาตรฐานสากลเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง แนวคิดความผูกพันทางสังคม (Social Bonding) แนวคิดการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ผลการศึกษาพบว่าผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหญิงที่มีลูกอ่อนและเด็กติดผู้ต้องขัง ยังมีปัญหาในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของเรือนจำและทัณฑสถานที่ผู้ต้องขังหญิงจองจำอยู่ในแต่ละจังหวัด เนื่องจากอุปสรรคอันเกิดจากงบประมาณรายปีที่อาจไม่เหมาะสมกับจำนวนผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหญิงที่มีลูกอ่อน และเด็กติดผู้ต้องขัง ปัญหาเรื่องสถานที่อภิบาลทารก ปัญหาสุขอนามัยของผู้ต้องขังหญิง การจัดการเรือนนอนของผู้ต้องขังหญิง สวัสดิการของผู้ต้องขังหญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังหลังคลอดและเด็กติดผู้ต้องขัง การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านจิตวิทยาและการเข้าถึงกุมารแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์ ขาดระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกันระหว่างเรือนจำและทัณฑสถาน การประสานงานและทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง ยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพได้อย่างสมบูรณ์ แม้จะมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนจากข้อกำหนดกรุงเทพก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการแตกต่างกันไปตามขนาดของสถานที่และการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ในแต่ละเรือนจำและทัณฑสถาน ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังได้อย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้กำหนดนโยบาย เป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็กติดผู้ต้องขัง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย


การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ Jan 2019

การวิเคราะห์บทบาทและการทำหน้าที่ “คนกลาง” ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, มณีรัตน์ ชื่นเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำหน้าที่ของคนกลางภายในหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยนั้นเกิด คนกลางยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริง ในด้านบุคลากรปฏิบัติงานนั้นพบปัญหาในเรื่องคุณสมบัติ เทคนิค ทักษะ การสมัครใจ และความเป็นกลางของคนกลาง การมีบุคลากรที่ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนของบุคลากรในการปฏิบัติงานยังไม่เหมาะสม ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการและการบริหารจัดการในการดำเนินงานนั้นหากคนกลางไม่เตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการและในระหว่างการดำเนินการไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ก็จะทำให้กระบวนการฯ ไม่สำเร็จ ส่วนทางด้านปัญหาและอุปสรรคด้านนโยบายนั้นพบว่าขาดนโยบาย แนวทาง การติดตามประเมินผลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่อง ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของคนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ระหว่างหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทยและหลักการพื้นฐานฯ ขององค์การสหประชาชาติพบว่าการทำหน้าที่ของคนกลางนั้นมีความสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานฯ โดยคนกลางจะมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเตรียมการประชุม ดำเนินการประชุม ทำการประเมินและตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละฝ่าย พร้อมทั้งพัฒนาและดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยง และปฏิบัติต่อผู้เข้าร่วมอย่างเป็นธรรม บริหารจัดการเวลาให้เพียงพอสำหรับกระบวนการเพื่อให้ประสบความสำเร็จ และมีการติดตามผลทั้งกับผู้กระทำความผิดเพื่อให้มั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว และกับผู้เสียหายว่าได้รับการชดใช้เยียวยาตามข้อตกลง ในส่วนของข้อเสนอแนะและแนวทางที่เหมาะสมในการทำหน้าที่คนกลางในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์นั้นพบว่าคนกลางควรมีองค์ความรู้และเข้าใจในหลักการอย่างแท้จริง และควรให้มีการเพิ่มบุคลาการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งจะต้องผ่านการฝึกอบรม เทคนิค และทักษะ รวมทั้งจะต้องมีนโยบายอย่างต่อเนื่องในการให้ความสำคัญและการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์


การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี Jan 2019

การกระทำความผิดทางอาญากับอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (Hate Crime) ในประเทศไทย, ลดาวัลย์ ใยมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่งที่ประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยนั้นเผชิญหน้ากับอาชญากรรมประเภทนี้มาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปรากฏการณ์ของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อวิเคราะห์ประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังในประเทศไทย เพื่อศึกษาสาเหตุและมูลเหตุจูงใจของผู้กระทำความผิด และเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากการศึกษาวิจัย 17 กรณีศึกษา ในประเทศไทยพบว่า ในส่วนของประเภทของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้น ประเทศไทยมี 4 ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง พวกที่ทำเพื่อความสนุกสนาน ประเภทที่สอง พวกทำเพื่อป้องกันหรือโต้กลับ ประเภทที่สาม พวกปฏิบัติตามหน้าที่ และประเภทที่สี่ พวกที่ได้ยินเรื่องเล่าลือว่ามีผู้ทำร้ายคนในกลุ่มเดียวกับตนเอง จึงลงมือประกอบอาชญากรรมในลักษณะการแก้แค้นทดแทน ส่วนมูลเหตุจูงใจที่พบมี 4 ประเภทคือ มูลเหตุจูงใจจากสถาบันชั่วคราวหรือการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มูลเหตุจูงใจที่มาจากเพศ มูลเหตุจูงใจที่มาจากเชื้อชาติ สัญชาติ และศาสนา และมูลเหตุจูงใจที่มาจากอัตลักษณ์หรือรสนิยมทางเพศ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ประกอบอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังนั้นคือ ฐานะทางเศรษฐกิจ การไม่ประสบความสำเร็จทางการศึกษา การชอบดูละครที่มีทัศนคติเป็นลบ การคบเพื่อนฝูงที่ประกอบอาชญากรรม และการที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ส่วนแนวทางการป้องกันและแก้ไขนั้นสามารถกระทำได้โดยใช้สองมาตรการ โดยมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคม ในส่วนของผู้วิจัยนั้นสนับสนุนให้ใช้มาตรการทางสังคมนำมาตรการทางกฎหมาย


อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์ Jan 2019

อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ, วนัสนันท์ กันทะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการหลอกลวง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาชน และผู้ตกเป็นเหยื่อ จำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่าวิธีการหลอกลวงประชาชนให้ตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี 2 กรณี คือ 1) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นบุคคลธรรมดา มีวิธีการสอนให้เก็งกำไรด้วยตัวเองผ่านบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะได้รับเงินจากการสอนคอร์สสัมมนา และค่าตอบแทนจากบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศในลักษณะของ Internal Broker หรือ IB 2) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล มีวิธีการจัดตั้งทีมงานชักชวน อ้างว่าใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือหุ่นยนต์เก็งกำไร เน้นการชักชวนประชาชนเข้าร่วมลงทุน มีการการันตีผลตอบแทนและกำหนดระยะเวลาที่จะได้รับเงิน นิติบุคคลจะได้เงินจากการร่วมลงทุน ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ วิธีการชักชวนจะประกาศโฆษณาผ่านทาง Facebook และพูดคุยผ่านทาง LINE ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ 2) ความโลภ 3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ 4) คบหาสมาคม 5) ภาพลักษณ์ 6) ความรู้ความเข้าใจ 7) กิจวัตรประจำวัน 8) การทำงานภาครัฐ อีกทั้งผู้วิจัยได้พบปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านกฎหมาย 2) ปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 3) ปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) ปัญหาด้านการปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ 5) ปัญหาด้านการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ หน่วยงานการเงินการธนาคาร หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดตั้งคณะทำงาน (Task force) ทำงานร่วมกันในเชิงรุกในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่ 1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์อาชญากรรมเศรษฐกิจแชร์ลูกโซ่ 2) พิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ 3) ผลักดันนโยบายด้านการออมเงินเเพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 4) ผลักดันแผนรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อไป


การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์ Jan 2019

การแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม: จากนักโทษสู่นักกีฬาอาชีพ, พรรณวดี คำไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคมของผู้เคยเป็นนักโทษสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ ศึกษาแนวทางการใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดและลดการกระทำผิดซ้ำ ใช้วิธีศึกษาเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง โดยการศึกษาแบบกรณีศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญของการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คือ นักกีฬาอาชีพผู้ซึ่งเคยเป็นนักโทษ ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับนโยบาย ผู้บริหารค่าย/สโมสรที่นักกีฬาสังกัดอยู่ และเพื่อนร่วมงานรวมถึงผู้ใกล้ชิด รวมทั้งสิ้น 22 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเปลี่ยนพฤติกรรมและความสำเร็จในการกลับคืนสู่สังคม ประกอบด้วย 1) แรงจูงใจ ประกอบด้วย แรงจูงใจภายนอก คือการมีเป้าหมายในความสำเร็จ การได้รับโอกาส การเป็นที่ยอมรับ การได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่าง การมีรายได้ที่เพียงพอในการดูแลครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว และแรงจูงใจภายในประกอบด้วย การรับรู้ในความสามารถตนเอง ความรู้สึกว่ามีคุณค่า และความกลัวที่ต้องกลับไปรับโทษหากกระทำผิดซ้ำ 2) สภาพแวดล้อมที่ดีทางสังคม คือ ครอบครัวและเพื่อน 3) การฟื้นฟูและแก้ไขผู้กระทำผิดจากในเรือนจำ คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระหว่างการรับโทษด้วยการใช้กีฬา โดยกรมราชทัณฑ์ได้ใช้กีฬาเพื่อฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำ เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย พัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมระเบียบวินัย รวมถึงมีการสนับสนุนนักโทษที่มีความสามารถในกีฬาเฉพาะด้าน ให้เข้ารับการแข่งขันในรายการต่าง ๆ ตลอดจนโครงการด้านกีฬาจากภาครัฐและเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการสร้างโอกาสในการกลับคืนสู่สังคม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากและแนวทางการพัฒนาพฤตินิสัย, วีรวัฒน์ บุญนิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรและพฤติกรรมการกระทำผิดของผู้ต้องขังชั้นเลวมาก เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกลดชั้นเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังที่ตกเป็นผู้ต้องขังที่ชั้นเลวมาก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยนำข้อมูลทุติยภูมิจากระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขังที่จัดเก็บด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังชั้นเลวมากเพื่อจัดทำกรณีศึกษา จำนวน 15 คน และการจัดประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ 3 แห่ง คือ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เรือนจำกลางบางขวาง และ เรือนจำกลางคลองเปรม ผลการศึกษาพบว่า การตกเป็นผู้ต้องชั้นเลวมาก แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.) ผู้ต้องขังกลุ่มที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป 2.) ผู้ต้องขังชั้นเลวมากที่เกิดจากการถูกลดชั้นจากการกระทำผิดวินัยเรือนจำ และ3.)ผู้ต้องขังกระทำผิดตามประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง กำหนดความผิดในคดีอุกฉกรรจ์คดีสะเทือนขวัญ หรือคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชน พ.ศ.2563 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ส่วนใหญ่เป็นชาย เป็นกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำเกิน 3 ครั้งขึ้นไป กระทำผิดในคดียาเสพติดมากที่สุด ส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษา รับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่กระทำผิดตั้งแต่อายุยังน้อย เกี่ยวข้องกับอบายมุขและถูกไล่ออกจากโรงเรียน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมากพบว่า ปัจจัยด้านความผูกพันทางสังคม ปัจจัยด้านการถูกตีตราจากสังคม ปัจจัยด้านการเรียนรู้พฤติกรรมในเรือนจำมีส่วนทำให้ผู้ต้องขังตกเป็นผู้ต้องขังชั้นเลวมาก อย่างไรก็ตามจากการประชุมกลุ่มย่อยเจ้าหน้าที่ยังเห็นว่าคนกลุ่มนี้สามารถแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาและออกแบบโปรแกรมเฉพาะสำหรับผู้ต้องขังชั้นเลวมาก ซึ่งมีพฤติกรรมแตกต่างจากผู้ต้องขังกลุ่มอื่น