Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 23701 - 23730 of 25957

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

Does The Acquisition Increase Shareholder Wealth?: Evidence From The Case Of Bjc Acquiring Big C, In Thailand, Saraphan Choowattanapakorn Jan 2020

Does The Acquisition Increase Shareholder Wealth?: Evidence From The Case Of Bjc Acquiring Big C, In Thailand, Saraphan Choowattanapakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aims to investigate whether BJC taking over BigC transactions creates any wealth to shareholders in the short run and long run reflecting in two measures, stock measures and accounting measures. The stock returns are evaluated by using an event study approach to answer three questions in the short time. The first question is the length of time the market absorbs information reflects in the movement of stock price trading surroundings the event date. The finding suggests that there is the possibility of rumors spreading before the announced date for CPALL, Big C and Makro. Secondly, for the short-term …


การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “The Mettad” และ “ลุงตู่ตูน”ในช่วงการเลือกตั้ง 2562, ทัตเทพ ดีสุคนธ์ Jan 2020

การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “The Mettad” และ “ลุงตู่ตูน”ในช่วงการเลือกตั้ง 2562, ทัตเทพ ดีสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการรณรงค์ทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “THE METTAD” และ “ลุงตู่ตูน” ซึ่งมีลักษณะเป็นเฟซบุ๊กเพจนิรนามที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ก่อตั้งเพจได้ชัดเจน แต่ผลิตเนื้อหาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์และโจมตีคู่แข่งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเลือกตั้ง 2562 เพื่อตอบคำถามหลักว่า เฟซบุ๊กเพจเหล่านี้มีลักษณะ บทบาท และนัยสำคัญที่เหมือนหรือต่างจากการรณรงค์ทางการเมืองผ่านช่องทางอื่น ๆ ของรัฐบาลอย่างไร โดยศึกษาในเชิงคุณภาพด้วยแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิจัยเอกสาร เพื่อสำรวจรูปแบบและประเด็นที่เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจใช้ในการรณรงค์ ลักษณะความคิดเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ปรากฏบนเพจ รวมถึงประเด็นที่ถูกหยิบยกไปขยายผลทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า แม้เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจจะนิยมใช้รูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องไปตามวัฒนธรรม การสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ยุคปัจจุบัน แต่ประเด็นส่วนใหญ่ที่หยิบยกมาสนับสนุนรัฐบาลและโจมตีคู่แข่งกลับยังคง ผูกโยงอยู่กับชุดอุดมการณ์ซึ่งครองอำนาจนำในสังคมไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แตกต่างจากการรณรงค์ผ่านช่องทางอื่น ๆ ที่มักสนับสนุนรัฐบาลด้วยการนำเสนอนโยบายและผลงาน โดยไม่ปรากฏการโจมตีคู่แข่งด้วยชุด อำนาจนำมากนัก นอกจากนั้น ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่มักแสดงความคิดเห็นไปในเชิงสนับสนุนเนื้อหาที่เพจนำเสนอ จนอาจทำให้เฟซบุ๊กเพจนิรนามเหล่านี้กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber) บนโลกออนไลน์ซึ่งรวมกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เข้ามาไว้ด้วยกัน โดยไม่ได้แพร่กระจายเนื้อหาไปสู่กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์แบบอื่น ๆ มากนัก อย่างไรก็ตาม บางประเด็นที่เฟซบุ๊กเพจนิรนามร่วมกันนำเสนอเพื่อโจมตีคู่แข่งทางการเมืองกลับไม่ได้ถูกพูดถึงอยู่ภายในห้องเสียงสะท้อนบนโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังถูกหยิบยกไปขยายผลทางการเมืองบนโลกจริงผ่านการให้สัมภาษณ์ของบุคคลสาธารณะและการยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีโดยบุคคลต่าง ๆ ด้วย จนอาจแสดงให้เห็นถึงพลังอีกแง่หนึ่งของ เฟซบุ๊กเพจนิรนามซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกที่ทำงานอยู่เบื้องหลังการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 2562 และคงจะถูกนำมาประยุกต์ใช้อย่างเข้มข้นมากขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ ไป


บทบาทของเทคโนโลยีต่อความสัมพันธ์ทางชนชั้นในสังคมไทย: กรณีศึกษาแกร็บแท็กซี่ พ.ศ. 2555 - 2564, ธนวิชย์ ถาวร Jan 2020

บทบาทของเทคโนโลยีต่อความสัมพันธ์ทางชนชั้นในสังคมไทย: กรณีศึกษาแกร็บแท็กซี่ พ.ศ. 2555 - 2564, ธนวิชย์ ถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสองประเด็นด้วยกันคือ 1. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อชนชั้นทางสังคม 2. เพื่อศึกษาลักษณะชนชั้นทางสังคมของแกร็บแท็กซี่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษา (Case Study) ผู้เขียนรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัยมาเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อที่จะนำไปสู่การตีความ (Hermeneutics) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาของระบบทุนนิยมแพลตฟอร์มในปัจจุบัน และเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางชนชั้นเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีและไม่มีอำนาจในการควบคุมแพลตฟอร์ม(ปัจจัยในการผลิต) การแสวงหากำไรจากแพลตฟอร์ม และทำให้แพลตฟอร์มนั้นเสมือนเป็นของสาธารณะ แกร็บแท็กซี่เป็นหนึ่งในอาชีพที่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มในการทำงาน ส่งผลให้ลักษณะการทำงานของแกร็บแท็กซี่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนชั้นกลาง กล่าวคือเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตเอง เลือกเวลาในการทำงานเองได้ แบกรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเสมือนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว และสามารถเลือกทำงานแกร็บแท็กซี่ในเวลาว่างหลังเสร็จสิ้นจากงานประจำได้ เป็นอิสระในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และในขณะเดียวกันนั้นแกร็บแท็กซี่ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับชนชั้นแรงงานที่ถูกแพลตฟอร์มของบรรษัทข้ามชาติขูดรีดมูลค่าส่วนเกินด้วย ดังนั้นอาชีพแกร็บแท็กซี่จึงมีความเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงานในบางเวลา สอดคล้องกับทฤษฏีตำแหน่งของชนชั้นที่ขัดแย้งกันเองภายใน (Contradictory Class Location theory)


การเมืองในสถาปัตยกรรมรัฐสภาไทย, อรณัฐ ปิยะจารุวัฒน์ Jan 2020

การเมืองในสถาปัตยกรรมรัฐสภาไทย, อรณัฐ ปิยะจารุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษานัยทางการเมืองที่ปรากฏและแฝงตัวอยู่ภายในสถาปัตยกรรมของอาคารรัฐสภาไทย โดยมุ่งศึกษาไปที่อาคารรัฐสภาสัปปายะสภาสถานซึ่งเป็นอาคารรัฐสภาแห่งที่สามของประเทศ เพื่อตอบคำถามงานวิจัยว่า อาคารรัฐสภาไทยมีแนวคิดในการออกแบบ ความเป็นมาในการจัดตั้ง และความหมายทางการเมืองไทยอย่างไร โดยอาศัยการตีความผ่านหนังสือ เอกสารงานวิจัย และข่าวที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ทั้งในแง่ของแนวคิด การเลือกพื้นที่ และการเลือกแบบในการก่อสร้างของอาคารรัฐสภาไทย ผลการวิจัยประการแรกพบว่า สถาปัตยกรรมของอาคารราชการ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมอาคารรัฐสภาไทยมีนัยยะสำคัญที่สื่อถึงความไม่เท่ากันของอำนาจทางการเมืองระหว่างรัฐและประชาชนผ่านการออกแบบและสถาปัตยกรรม ประการที่สอง พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งเป็นอาคารที่เดิมถูกออกแบบไว้สำหรับการจัดพระราชพิธีและรับรองพระราชอาคันตุกะ ตกแต่งด้วยภาพวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ ก็กลายเป็นสถานที่ซึ่งจัดพระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะที่อาคารรัฐสภาแห่งที่สองถูกก่อสร้างในช่วงที่ประเทศถูกปกครองด้วยรัฐบาลทหารอย่างยาวนาน สถาปัตยกรรมแบบทันสมัยของอาคารเป็นการสื่อถึงการเป็นประเทศที่ทันสมัยไปพร้อมกับการเบ่งบานของประชาธิปไตย ประการสุดท้าย อาคารรัฐสภา ‘สัปปายะสภาสถาน’ เป็นอาคารรัฐสภาที่ถูกทีมสถาปนิกออกแบบภายใต้แนวคิดเรื่องคุณค่าทางศีลธรรมจากการเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ผ่านการออกแบบด้วยคติพุทธ-พราหมณ์ และเรื่องไตรภูมิ อันเป็นรูปแบบจักรวาลวิทยาที่มีพระอาทิตย์และพระจันทร์โคจร บนยอดของอาคารมีเจดีย์พระจุฬามณีเป็นที่ประดิษฐานพระสยามเทวาธิราช แนวความคิดและการออกแบบเหล่านี้เป็นการออกแบบที่มุ่งสร้างศีลธรรมและการอุปถัมภ์จากเทพผู้คุ้มครองรัฐสยาม เพราะทีมสถาปนิกมองว่าปัญหาทางการเมืองเกิดจากนักการเมืองและประชาชนขาดศีลธรรม การเลือกเขาพระสุเมรุมาสร้างเป็นอาคารจะเป็นการทำให้เหล่าผู้ทำงานภายในอาคารระลึกถึงการทำหน้าที่ของตนเพื่อคนในชาติภายใต้การอุปถัมภ์จากเทพผู้คุ้มครองรัฐสยาม แต่ในอีกด้านหนึ่งพระสยามเทวาธิราชก็แสดงถึงการที่จัดให้สถาบันกษัตริย์เป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงที่สุดในจักรวาลวิทยาแบบไทยเหนือคุณค่าของประชาธิปไตยแบบตะวันตก


พัฒนาการกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ, วสุชน รักษ์ประชาไท Jan 2020

พัฒนาการกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ, วสุชน รักษ์ประชาไท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาพัฒนาการการเคลื่อนไหวกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณ โดยพยายามตอบคำถามว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีพัฒนาการทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวอย่างไร ส่งผลต่อขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมและต่อการเมืองไทยอย่างไร ผ่านกรอบแนวคิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม 3 แนวคิดได้แก่ แนวคิดระดมทรัพยากร แนวคิดโครงสร้างโอกาสทางการเมือง และแนวคิดกระบวนการสร้างและจัดระเบียบกรอบโครงความคิด การเก็บข้อมูลประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำกลุ่มการเคลื่อนไหวจำนวน 5 คน และผู้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวจำนวน 20 คน การศึกษาพบว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในขบวนการต่อต้านทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและปฏิบัติการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นพลวัต พวกเขาเติบโตในช่วงเวลาที่อยู่ภายใต้ขบวนการพันธมิตรฯ ต่อมาได้แยกออกจากขบวนการใหญ่เพื่อขยายฐานมวลชนและกำหนดประเด็นการต่อสู้ใหม่ที่เน้นการปกป้องชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มพลังอื่น ๆ ในขบวนการ อย่างไรก็ตามกลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วได้สมานความขัดแย้งกับกลุ่มอื่น ๆ ในช่วงก่อนเกิดขบวนการกปปส. และเข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านทักษิณขบวนการใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2556 – 2557 โดยตลอดระยะเวลาการเคลื่อนไหว กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วมีบทบาทเป็นผู้ปลุกกระแสต่อต้านทักษิณและจัดตั้งมวลชนให้พร้อมสำหรับการชุมนุม ซึ่งส่งผลให้ขบวนการต่อต้านทักษิณในภาพรวมเกิดความต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ทหารมีพื้นที่ในการเมืองไทย และมวลชนที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวเริ่มปฏิเสธกระบวนการแก้ไขปัญหาตามระบอบประชาธิปไตย


นโยบายของไทยในการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนในจังหวัดสงขลาระหว่างปี ค.ศ. 2014–2018, ปิยนาถ อิฏฐกรพันธ์ Jan 2020

นโยบายของไทยในการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนในจังหวัดสงขลาระหว่างปี ค.ศ. 2014–2018, ปิยนาถ อิฏฐกรพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษานโยบายของไทยในการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนในจังหวัดสงขลาระหว่างปี ค.ศ. 2014–2018 เพื่อศึกษาบทบาทและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา จากการศึกษาพบว่า บทบาทของตัวแสดงในการผลักดันให้เกิดนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา มีดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายเป็นหลักในการปรับปรุงพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนด้านแรงงาน และการให้คำปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์ในการลงทุน โดยหน่วยงานส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและส่งมอบนโยบายให้กับหน่วยงานในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา หน่วยงานเอกชน จะเป็นผู้ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างรัฐตอนเหนือของประเทศมาเลเซียกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย การสนับสนุนงานวิจัย และการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานในต่างประเทศ จะเป็นผู้ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างไทย – มาเลเซีย โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย บริเวณรัฐปะลิส และรัฐเกดะห์เชื่อมโยงกับจังหวัดสงขลา อย่างไรก็ตาม บทบาทของภาคประชาสังคมในพื้นที่ต่างมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา ดังนั้น บทบาทและปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงในการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลาจึงมีลักษณะผสมผสานทั้งการสนับสนุนและการต่อต้านนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจบริเวณชายแดนจังหวัดสงขลากับประเทศมาเลเซีย


การปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคล: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบเหลื่อมเวลาไขว้, ติณณ์ ชุ่มใจ Jan 2020

การปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคล: การวิเคราะห์อิทธิพลส่งผ่านแบบเหลื่อมเวลาไขว้, ติณณ์ ชุ่มใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการปรับงานในระดับกลุ่ม การปรับงานในระดับบุคคล และความผูกใจมั่นในงานของบุคคล ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานรายเดือนบริษัทเอกชนในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความสัมพันธ์ในช่วงเวลาเดียวกัน (cross-sectional study) และความสัมพันธ์ช่วงเหลื่อมเวลา (cross-lagged panel design) โดยเว้นช่วงการวัดครั้งละ 1 สัปดาห์ 3 ครั้ง (N = 175) ผลการวิเคราะห์การวัดในช่วงเวลาเดียวกันพบว่า ความสัมพันธ์ของการปรับงานระดับกลุ่ม การปรับงานรายบุคคล และความผูกใจมั่นในงาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดีและมีอิทธิพลทางตรงในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งพบว่าการปรับงานรายบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการปรับงานระดับกลุ่มและความผูกใจมั่นในงานรายบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงเวลาเดียวกันทั้ง 3 ช่วงเวลา แต่อิทธิพลทางตรงในทางบวกของการปรับงานระดับกลุ่มที่ไปยังความผูกใจมั่นในงานระดับบุคคลนั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการวิเคราะห์แบบเหลื่อมเวลาไขว้ผู้วิจัยไม่พบอิทธิพลทางตรงในทางบวกที่มีนัยสำคัญทางสถิติของทุกเส้นอิทธิพลยกเว้นเส้นอิทธิพลของการปรับงานระดับกลุ่มครั้งที่ 1 ไปยัง การปรับงานรายบุคคลครั้งที่ 2


ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และ ความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที ในนักแสดงละครเวที, อาภัสสร ผาติตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน การยอมรับ และความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที กลุ่มตัวอย่างคือนักแสดงละครเวทีอายุระหว่าง 18-62 ปี มีประสบการณ์แสดงละครเวทีประเภทละครพูดหรือละครเพลง โดยละครดังกล่าวเป็นละครที่จัดแสดงเต็มเรื่องและมีผู้ชมอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่การแสดงเฉพาะบางฉากหรือบางองก์เพื่อการฝึกหัดหรือซ้อม กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 205 คน ใช้เครื่องมือวัดในการวิจัย 5 ฉบับ ได้แก่ มาตรวัดบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล มาตรวัดความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ มาตรวัดความเพลิน มาตรวัดการยอมรับ และมาตรวัดความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพแบบวิตกกังวลมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .52, p < .001, หนึ่งหาง) ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = .66, p < .001, หนึ่งหาง) ความเพลินมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.44, p < .001, หนึ่งหาง) การยอมรับมีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวที (r(203) = -.41, p < .001, หนึ่งหาง) และบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบ ความเพลิน และการยอมรับ ร่วมกันทำนายความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R 2 = .50, p < .001) และอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลทางการแสดงละครเวทีได้ร้อยละ 50


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน, พธู พิมพ์ระเบียบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการบนสื่อออนไลน์และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์ ในจำนวน 354 กลุ่มตัวอย่างผู้มีประสบการณ์ท่องอินเตอร์เน็ต รวม 1,062 ชุดข้อมูล จากการสุ่มแบบสะดวก โดยมีสมมติฐานงานวิจัยคือ ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการที่สูง จะทำให้การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลต่ำ ส่งผลให้ความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลสูงขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานอาจกล่าวได้ว่า การรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการทั้งแบบแยกปัจจัยและรวมปัจจัยกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการ และความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่เป็นไปตามสมมติฐานของงานวิจัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ผลการศึกษาเพิ่มเติมบนพื้นฐานการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการและความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคค โดยมีการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์เป็นตัวแปรกำกับ ผลการวิจัยพบอิทธิพลกำกับของการรับรู้ความเสี่ยงออนไลน์ ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะของผู้ประกอบการกับความเต็มใจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้อวัจนภาษาของนักจิตวิทยาการปรึกษาในผู้มารับบริการปรึกษาเป็นตัวแปรส่งผ่าน, คีตา มากศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างมิติความผูกพันของผู้รับบริการและสัมพันธภาพในการบำบัด โดยมีการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับบริการปรึกษาทางจิตวิทยาจำนวน 137 คน อายุเฉลี่ย 26.15 ± 7.219 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้แก่ (1) แบบสอบถามอวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (2) แบบสอบถามสัมพันธภาพในการบำบัด และ (3) แบบสอบถามรูปแบบความผูกพัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและทดสอบตัวแปรส่งผ่านโดยใช้คำสั่ง PROCESS (Hayes et al., 2017) ผลการวิจัยพบว่า มิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .276, p < .01) และมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = .346, p < .01) ในขณะที่มิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการ มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = -.302, p < .01) และมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา (r = -.179, p < .05) นอกจากนี้ การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยา มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกกับสัมพันธภาพในการบำบัด (r = .546, p < .01) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรส่งผ่าน พบว่า การรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อม (Indirect Effect) ระหว่างมิติความผูกพันแบบวิตกกังวลกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ .39 (p < .05) และการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่ออวัจนภาษาของนักจิตวิทยาส่งผลทางอ้อมระหว่างมิติความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้รับบริการกับสัมพันธภาพในการบำบัดในระดับ -.18 (p < .05)


ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์ Jan 2020

ประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่ประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ, วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ถึงประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ โดยใช้ระเบียบวิจัยคุณภาพแนววิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือกำลังประสบกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจทั้งหมด 7 ราย ผลการวิจัยพบ 3 ประเด็นหลักที่สำคัญได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ ทักษะและประสบการณ์ และ การจัดการตนเองและการบริการโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ การจัดการปัญหาส่วนตัว จำนวนผู้รับบริการต่อวันมากเกินไป และการควบคุมความเหนื่อยไม่ให้ถูกแสดงออกมา 2) ผลกระทบของสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง และ ความยากที่จะแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ ความสามารถในการสะท้อนความรู้สึกของผู้รับบริการลดลงและ ไม่สามารถมีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้าง 3) การจัดการกับสภาวะความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจ ประกอบด้วย การให้เวลาดูแลตัวเอง และ การสนับสนุนจากสังคมรอบข้างโดยมีประเด็นย่อยได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ช่วยทำความเข้าใจภาวะที่เกิดขึ้น และความเข้าใจจากคนสำคัญรอบข้าง โดยผลการวิจัยครั้งนี้ทำเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดที่เคยหรือประสบกับสภาวะกับความเหนื่อยล้าในการเห็นอกเห็นใจหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง


ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล Jan 2020

ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในมุมมองของผู้รับบริการ, สิรัช สุเมธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของผู้เข้ารับบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ที่เคยมีช่วงเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์เกิดขึ้นจากการเข้ารับบริการ เนื่องจากเป็นช่วงที่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับบริการสูง และยังไม่พบว่าเคยมีการศึกษาในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้คือการวิเคราะห์ปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 ราย ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของผู้รับบริการสามารถออกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ (1) คุณลักษณะของสัมพันธภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ประกอบด้วย 3 ประเด็นรอง คือการได้บอกเล่าเรื่องราวที่เก็บไว้ในใจ, นักจิตวิทยาการปรึกษาตั้งใจรับฟังและเข้าใจไปด้วยกัน และการรับรู้และพิจารณาโลกภายในโดยผู้รับบริการเอง (2) กระบวนการสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ประกอบด้วย 4 ประเด็นรอง คือเกิดการสังเกตและทำความเข้าใจประสบการณ์ตัวเอง, เกิดการเปลี่ยนแปลง/ตั้งคำถามกับความเชื่อหรือความเข้าใจที่ตนมีอยู่เดิม, เกิดการทดลองทำสิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาตามข้อสรุปที่ได้จากการปรึกษา และขยายมุมมองที่มีต่อสถานการณ์และทางเลือก และ (3) ผลลัพธ์เชิงบวกจากการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือการเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับปัญหา/สถานการณ์ และการยอมรับตัวเองและอยู่กับปัญหาด้วยความเข้าใจ ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงภาพรวมของประสบการณ์และกลไกการเปลี่ยนแปลงตลอดจนผลลัพธ์ที่ผู้ให้ข้อมูลได้จากการเข้ารับบริการ ผลที่ได้สอดคล้องกับวรรณกรรมที่ผ่านมาหลายชิ้น และได้เสนอแนะประเด็นที่น่าศึกษาเพิ่มเติม คือการศึกษาถึงลักษณะของข้อมูลที่มีความสำคัญ และการศึกษากลไกของกระบวนการเกิดความเข้าใจใหม่ในบริบทที่กว้างขึ้น รวมถึงการนำมโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องระดับของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเข้ามาช่วยกำหนดขอบเขตการศึกษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา Jan 2020

ผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเอง : การเปรียบเทียบระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น, อาภา กำวิจิตรรัตนโยธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของเป้าหมายการกำกับต่อความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างวัยรุ่นกับวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 320 คน ซึ่งจะถูกแบ่งเข้าเงื่อนไขตามเป้าหมายการกำกับ ได้แก่ เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมจำนวน 160 คน และเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันจำนวน 160 คน แต่ละเงื่อนไขประกอบด้วยวัยรุ่นอายุ 13-15 ปี จำนวน 80 คน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุ 18-24 ปี จำนวน 80 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกขอให้เขียนประสบการณ์ตามเงื่อนไขที่ได้รับ จากนั้นจึงตอบแบบวัดความมุ่งมั่นในตนเอง มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองภายในกลุ่มเงื่อนไขระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นด้วยการทดสอบทางสถิติ t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความมุ่งมั่นในตนเองระหว่างกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นภายใต้แต่ละเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับในรูปแบบเดียวกันว่าแตกต่างกันอย่างไร จากผลการวิจัยพบว่า (1) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความมีอิสระอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (2) ไม่พบการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัย ต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ และไม่พบอิทธิพลหลักของทั้งช่วงวัยและเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับที่มีต่อคะแนนความต้องการมีความสัมพันธ์ (3) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างเงื่อนไขเป้าหมายการกำกับกับช่วงวัยของผู้เข้าร่วมการวิจัยต่อคะแนนความต้องการรู้สึกประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .016 โดยภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบส่งเสริมวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่าวัยรุ่น ในขณะที่ภายใต้เงื่อนไขเป้าหมายการกำกับแบบป้องกันวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนไม่แตกต่างกัน


ความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์, ปรเมศวร์ กุมารบุญ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์, ปรเมศวร์ กุมารบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนกับอาชญากรรมไซเบอร์ด้วยทฤษฎีเกม โดยการไร้ตัวตนในดุษฎีนิพนธ์นี้หมายถึง การหลบพ้นการสืบสวนจับกุมทางดิจิทัลและการไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัลเพื่อดำเนินคดีเอาผิดได้ เพราะอาชญากรไซเบอร์เป็นอาชญากรที่คอยมองหาโอกาสอยู่เสมอและเมื่อได้พบไซเบอร์เทคโนโลยีใดที่มีปัจจัยการไร้ตัวตนจะตัดสินใจเลือกก่ออาชญากรรมทันทีและเมื่อไซเบอร์เทคโนโลยีนั้นการไร้ตัวตนหมดสิ้นไป อาชญากรรมไซเบอร์ประเภทนั้นจะหมดไปเป็นวัฏจักร ดุษฎีนิพนธ์นี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณจากสถิติคดีอาชญากรรมไซเบอร์กับการสำรวจความเห็นออนไลน์จำนวน 35 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร รวบรวมเนื้อหาอาชญากรรมไซเบอร์ คำสารภาพของอาชญากรไซเบอร์ คดีที่มีคำพิพากษาอาชญากรรมไซเบอร์ที่เคยเกิดขึ้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 1 กรณีศึกษา จากนั้นเลือกกรณีศึกษาที่น่าสนใจขึ้นมา 17 กรณีศึกษาและใช้ทฤษฎีเกมกับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมไซเบอร์กับการไร้ตัวตน โดยอธิบายรูปแบบความสัมพันธ์เป็น ต้นไม้การตัดสินใจ ตารางผลตอบแทน และสมการผลตอบแทน ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีเกมอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการไร้ตัวตนและการเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ให้ได้เข้าใจง่ายและได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐแก้กฎหมายที่ยังมีช่องว่างและเสนอให้มีศาลชำนัญพิเศษพิจารณาอาชญากรรมไซเบอร์โดยเฉพาะต่อไป


สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ Jan 2020

สถานการณ์และผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวปลอมที่เกี่ยวกับ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการป้องกันในประเทศไทย, พรรณวดี ชัยกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในไทย อันจะนำไปสู่การแสวงหาข้อเสนอแนะเชิงมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายข่าวปลอมของไทยในอนาคต โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีขอบเขตการศึกษาระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2563 โดยจำแนกสถานการณ์การศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) การแพร่ระบาดรอบที่ 1 ระว่างเดือนมกราคม-เดือนพฤศจิกายน 2563 และ 2) การแพร่ระบาดรอบที่ 2 เดือนธันวาคม 2563-เดือนมีนาคม 2564 ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่คัดเลือกด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์ประเด็นอย่างรอบด้านผ่าน 4 มุมมอง ได้แก่ 1) มุมมองเชิงนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 2) มุมมองเชิงข้อเสนอแนะจากนักวิชาการ 3) มุมมองเชิงสาธารณะจากภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดบนโลกออนไลน์ และ 4) มุมมองเชิงการสื่อสารจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นตัวการสำคัญที่ให้เกิดการแพร่กระจายข่าวปลอมจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยการส่งต่อข่าวปลอมมีปัจจัยกระตุ้นมาจากการรับรู้ ความคิด และอารมณ์ร่วมขณะเสพข่าว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการผลักดันการส่งต่อข่าวระหว่างกัน ขณะเดียวกันผู้รับสารยังสามารถเปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่ผู้ส่งสารได้อย่างคู่ขนานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การส่งต่อข่าวปลอมได้ก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 5 มิติ ได้แก่ 1) ผลกระทบต่อสุขภาพ 2) ผลกระทบต่อจิตใจ 3) ผลกระทบต่อสังคม 4) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ 5) ผลกระทบต่อความมั่นคงและความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ดี แม้ว่าการดำเนินมาตรการป้องกันข่าวปลอมของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถจำแนกมาตรการออกเป็น 2 มาตรการหลัก คือ มาตรการจากภาครัฐ และมาตรการที่ไม่ใช่ภาครัฐ แต่กลับพบว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ งานชิ้นนี้จึงมุ่งแสวงหามาตรการป้องกันข่าวปลอมที่มีประสิทธิภาพผ่านข้อเสนอแนะเชิงมาตรการทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระบบและเทคโนโลยี 2) ด้านโครงสร้าง 3) ด้านความรู้ 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการสื่อสาร และ 6) ด้านการดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิด


การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์ Jan 2020

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง, วณีนุช ตั้งพรพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ในโครงการฟื้นฟูเยียวยา และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ตลอดจนศึกษาถึง ปัญหา อุปสรรค โอกาสในการพัฒนา และการสร้างความยั่งยืนต่อโครงการฟื้นฟูเยียวยาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนชายขอบในสังคมเมือง เพื่อแสวงหารูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโครงการฯ หัวหน้าแก๊งและเด็กเยาวชนชายขอบ พี่เลี้ยงจิตอาสา และเครือข่ายพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลการศึกษา พบว่า แนวทางปฏิบัติที่ดีต่อเด็กและเยาวชนในโครงการฯ มี 4 แนวทางคือ (1) P : POSSIBILITY มองปัญหาเป็นโอกาสเสมอ (2) C : COOPERATION บริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (3) L : LEARNING รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย และ(4) O : OCCUPATION มุ่งเน้นกิจกรรมสร้างอาชีพ ที่ดำเนินงานผ่านแนวคิด "5C พิชิตใจเด็กชายขอบ" ซึ่งประกอบไปด้วย Core person หากลุ่มคนที่ใช่ Connect ติดต่อ สร้างสัมพันธ์ในเชิงลึก Control ควบคุมกำหนดทิศทาง Continue ติดตามอย่างต่อเนื่อง และ Complete บรรลุผลสำเร็จ นำมาซึ่งรูปแบบแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากที่โครงการฯได้ดึงศักยภาพ และคุณความดีในจิตใจของเด็กเยาวชนชายขอบออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ส่งผลให้เด็กเยาวชนชายขอบสามารถสร้างอาชีพ ดูแลตนเอง ดูแลครอบครัว และทำประโยชน์เพื่อสังคมได้ ส่งผลให้คนในสังคมให้การยอมรับเด็กเยาวชนชายขอบมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโครงการฯยังคงพบปัญหาอีกหลายประการ คือ ปัญหาด้านการเข้าถึงเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาการดูแลเด็กและเยาวชนไม่ทั่วถึง ปัญหาด้านการปรับเปลี่ยนทัศนคติเด็กและเยาวชนชายขอบ ปัญหาด้านการประสานความร่วมมือระหว่างเครือข่าย และปัญหาด้านความยั่งยืนของโครงการฯ จึงนำมาซึ่งข้อเสนอแนะต่อโครงการฯดังนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายในการผลักดันการปฏิบัติต่อเด็ก เยาวชนชายขอบในทุกพื้นที่ วางแผนจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์เด็กเยาวชนชายขอบระหว่างจังหวัด มอบหมายหน้าที่ให้รุ่นพี่ที่มีพฤติกรรมที่ดี เป็นหัวหน้ากลุ่มในการช่วยดูแลทีม เปิดพื้นที่ให้เด็กเยาวชนชายขอบแสดงศักยภาพผ่านสื่อออนไลน์ ต่อยอดสร้างอาชีพเจ้าของธุรกิจให้ทีมแกนนำเยาวชนในโครงการฯ เพื่อต่อยอดพัฒนาโครงการฯ และขยายไปยังเครือข่ายจังหวัดอื่นที่สนใจต่อไป


การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ Jan 2020

การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ, พรรษพร สุวรรณากาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง การผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน: กรณีศึกษาผู้ต้องขังสูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาของผู้ต้องขังสูงอายุ เพื่อศึกษาถึงกระบวนการและรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ต้องขังจำนวน 24 คนและเจ้าหน้าที่จำนวน 14 คน และการสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังสูงอายุเผชิญสภาพปัญหาทั้งทางด้ายร่างกาย จิตใจและสังคม ในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนพบว่าในแต่ละขั้นตอนมีข้อจำกัด ดังนี้ 1) ขั้นตอนการรับตัว เนื่องจากการบริหารจัดการแต่ละเรือนจำที่แตกต่างกันผู้ต้องขังที่ชราในเรือนจำจึงอาจไม่ได้รับการจำแนกซ้ำเพื่อจัดเข้าอยู่ในกลุ่มพิเศษที่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมโปรแกรมเฉพาะเพื่อแก้ไขฟื้นฟู 2) ขั้นดำเนินการ การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นการให้ความสำคัญต่อการดูแลด้านสวัสดิการเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็นมากกว่าการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรการแก้ไขฟื้นฟู ดังนั้นการส่งเสริมการให้ความรู้สิทธิและสวัสดิการสูงอายุจึงยังคงมิได้ครอบคลุม 3) ขั้นตอนเตรียมการปลดปล่อย ที่ประสบปัญหาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่ายภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการใช้ชีวิตหลังพ้นโทษและพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรเตรียมพร้อมก่อนปล่อยสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถนำไปใช้ได้จริง 4) ขั้นติดตามหลังปล่อยที่ยังคงไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ผู้ต้องขังสูงอายุโดยเฉพาะและความล่าช้าของระบบราชการที่ทำให้ติดตามหรือสงเคราะห์มิอาจทันท่วงที ดังนั้นการเสนอรูปแบบการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนสำหรับผู้ต้องขังสูงอายุในสังคมไทย คือ ควรเป็นรูปแบบเครือข่ายที่เน้นการทำงานลักษณะบูรณาการขององค์กร โดยทางราชทัณฑ์ควรมีลักษณะที่เป็นองค์กรกลางเนื่องด้วยมีความใกล้ชิดเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติกับผู้ต้องขังในระยะรอยต่อที่ควรเริ่มตั้งแต่ในเรือนจำ และแต่ละหน่วยงานซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องที่อยู่รายล้อมยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผสานรอยต่อจากเรือนจำสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องจนได้รับการปล่อยตัว


การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี, พจมานพจี ทวีสว่างผล Jan 2020

การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี, พจมานพจี ทวีสว่างผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง "การละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุมในการดำเนินคดีอาญาชั้นก่อนฟ้องคดี ประกอบกับระยะเวลาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุม เพื่อเสนอแนวทางในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาและผู้ถูกจับกุมในการดำเนินคดีอาญาชั้นก่อนฟ้องคดี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ต้องหา จำนวน 7 ราย และ2) กลุ่มบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 26 ราย รวมทั้งสิ้น 33 ราย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหาในชั้นก่อนฟ้องคดี ปรากฎอยู่ใน 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นตอนการจับกุม : มีการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหา สร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำโดยผู้ต้องหาที่ไม่ได้กระทำผิด การเรียกรับประโยชน์จากผู้ต้องหา 2) ในขั้นตอนการสอบสวน : ผู้ต้องหาไม่ได้รับสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก ไม่ได้รับสิทธิพบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว ไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนในชั้นสอบสวน ไม่ได้รับสิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ไม่ได้รับสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย อีกทั้งพบว่า พนักงานสอบสวนมีจำนวนน้อย ปริมาณงานมาก ทำให้พนักงานสอบสวนย้ายไปทำงานในตำแหน่งอื่นที่ก้าวหน้ามากกว่า และที่สำคัญที่สุดระยะเวลาการควบคุมผู้ต้องหา 48 ชั่วโมง ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 3) ในขั้นตอนการสั่งคดี : พนักงานสอบสวนมักจะส่งสำนวนล่าช้าไม่เหลือเวลาให้พนักงานอัยการตรวจสอบและไม่สามารถส่งสอบสวนเพิ่มเติมได้ เนื่องจากไม่มีเหลือเวลาในการควบคุมผู้ต้องหา มีผลให้พนักงานอัยการต้องรีบสั่งฟ้องคดี หรือหากไม่มีหลักฐานเพียงพอพนักงานอัยการต้องสั่งไม่ฟ้องและปล่อยตัวผู้ต้องหาไป สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ต้องหา : เจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนงดสร้างพยานหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำผู้ต้องหาที่ไม่ได้กระทำผิด งดทำลายพยานหลักฐาน งดการข่มขู่ งดการทำร้ายร่างกาย เรียกรับผลประโยชน์จากผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนควรส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการมีระยะเวลาการตรวจสอบ ผู้วิจัยนำเสนอให้แยกเวลาพิจารณาคดีระหว่างพนักงานสอบสวนออกจากพนักงานอัยการ หากควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 48 วัน ควรเหลือเวลาให้พนักงานอัยการอย่างน้อย 14 วัน และหากการควบคุมตัวผู้ต้องหาได้ 84 วัน ควรเหลือเวลาให้พนักงานอัยการอย่างน้อย 28 วัน และพนักงานอัยการเข้าตรวจสอบการสอบสวนคดีร่วมกับพนักงานสอบสวน


เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย, ศิริรัตน์ พรหมหิตาธร Jan 2020

เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย, ศิริรัตน์ พรหมหิตาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง "เหยื่อจากศัลยกรรมความงามและกระบวนการเยียวยาเหยื่อในประเทศไทย" นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับศัลยกรรมความงาม 2) ศึกษากระบวนการเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อการทำศัลยกรรมที่เกิดความผิดพลาด และ 3) ศึกษาแนวทางป้องกันและเยียวยาการตกเป็นเหยื่อศัลยกรรมความงาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการและข่าวที่นำเสนอในปี 2558-2562 ที่ปรากฏในสื่อ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากการทำศัลยกรรมความงาม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับความเสียหาย ญาติและผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการศัลยกรรมความงามจากหมอกระเป๋าและคลินิกศัลยกรรมความงาม จำนวน 5 คน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการเยียวยาผู้เสียหายจากการทำศัลยกรรมที่มีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งหมด 9 คน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่ผู้ตกเป็นเหยื่อได้รับผลกระทบที่ปรากฏให้เห็นภายนอกทั้งทางร่างกายและจิตใจตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อย เสียโฉม พิการและเสียชีวิต อีกทั้งพบว่ารูปแบบการทำศัลยกรรมกับหมอกระเป๋าได้รับความนิยมในกลุ่มสาวประเภทสอง เพราะความต้องการตอบสนองด้านความงาม ต้องการเหมือนผู้หญิง เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ทำศัลยกรรมความงาม ปัจจุบันความนิยมเหล่านี้ขยายวงกว้างในกลุ่มผู้หญิง เกือบทุกช่วงอายุ เนื่องจากอิทธิพลของกระบวนการสร้างอัตลักษณ์โดยใช้สื่อทางสังคม การโฆษณา การรีวิว และการบอกกันแบบปากต่อปาก การเยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อจากการศัลยกรรมความงามพบว่ามีการเยียวยาโดยสังคมผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย องค์กรต่างๆที่ไม่หวังผลกำไร, การเยียวยาโดยคู่กรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ย และการบังคับตามคำพิพากษาของศาล ประกอบกับการเยียวยาโดยภาครัฐผ่านพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และ การเยียวยาตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 ที่นำหลักการชดเชยความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดมาใช้ แต่ยังไม่ครอบคลุมความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยเพื่อเป็นแนวทางป้องกันการตกเป็นเหยื่อศัลยกรรมความงาม คือ ควรเพิ่มช่องทางตรวจสอบใบอนุญาตประกอบกิจการสถานเสริมความงาม, การมีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะของแพทย์ที่จะทำศัลยกรรมความงาม, การทำความเข้าใจระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงขั้นตอนและวิธีการรักษา การผ่าตัด และผลกระทบ, มีการควบคุมข้อความที่ใช้โฆษณาของคลินิกศัลยกรรมให้มีความเหมาะสม, การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงผลดีและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการทำศัลยกรรมความงาม และการตรวจสอบแพทย์และคลินิกศัลยกรรมความงาม รวมทั้งการผสานการทำงานเชิงรุกของหน่วยงานภาครัฐและมีหน่วยงานกลางกำกับดูแลเฉพาะเรื่องศัลยกรรมความงาม และแนวทางการเยียวยาความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม คือ เพิ่มเติมข้อกำหนดในพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2545 ในมาตรา 41 ให้มีการชดเชยที่ครอบคลุมความเสียหายจากการทำศัลยกรรมความงาม, จัดให้มีการประกันภัยความรับผิดทางการแพทย์ หรือกองทุนเพื่อเยียวยากรณีเกิดความผิดพลาดจากการทำศัลยกรรมความงาม


แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส, วิสูต กัจฉมาภรณ์ Jan 2020

แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส, วิสูต กัจฉมาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ "แนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส" เป็นการศึกษาวิจัยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัสอันเป็นนวัตกรรมการโอนมูลค่าระหว่างกันโดยตรงแบบไร้พรมแดนได้อย่างรวดเร็วและไม่มีหน่วยงานกลางใดกำกับ เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออาชญากรที่อาจเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน รูปแบบของอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินสกุลเข้ารหัส รวมถึงแนวทางการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัสที่เหมาะสม โดยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับเทคนิควิธีเดลฟายรูปแบบปรับปรุง จากการศึกษาพบว่า ระบบนิเวศเงินสกุลเข้ารหัสมีกลไกการปกปิดตัวตนของผู้ใช้งาน สามารถกลบเกลื่อนร่องรอยเส้นทางธุรกรรมไม่ให้พิสูจน์ย้อนกลับถึงต้นทางได้ กอรปกับมีช่องว่างทางกฎหมายของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน อาชญากรจึงอาจเลือกใช้เงินสกุลเข้ารหัสเป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน ทั้งนี้ มาตรการป้องกันและปราบปรามที่เหมาะสม คือ ควรเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ตัวตนของผู้ขอใช้งานโดยจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลกลางของประเทศ เฝ้าระวังธุรกรรมแปรสภาพเงินสกุลเข้ารหัสของผู้ต้องสงสัย พร้อมกับสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านการต่อต้านการฟอกเงิน และปรับปรุงกฎระเบียบในกระบวนการดำเนินคดีเกี่ยวกับธุรกรรมเงินสกุลเข้ารหัส รวมถึงพัฒนาโปรแกรมสืบค้นเส้นทางธุรกรรมบนระบบปฏิบัติการบล็อกเชน และเสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับเงินสกุลเข้ารหัสที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงประชาชนทั่วไป


แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์, กรวรรณ คำกรเกตุ Jan 2020

แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์, กรวรรณ คำกรเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชน ผ่านโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อนำไปสู่ตัวอย่างรูปแบบและนโยบายที่เหมาะสมต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กและเยาวชนต่อโอกาสในการตกเป็นเหยื่อและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยและแต่ละบริบทสังคมต่อไป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน และการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนนั้น ต้องมีการสำรวจสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนก่อน ทั้ง 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยทางด้านครอบครัว 3) ปัจจัยทางด้านกลุ่มเพื่อน /สถาบันการศึกษา 4) ปัจจัยทางด้านสังคม และ 5) ปัจจัยอื่น ๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนให้มีวัคซีนทางสังคมต่อการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ และการกระทำความผิดในสังคม โดยปัญหาและอุปสรรคจากกรณีศึกษาการดำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2562 สามารถแบ่งปัญหาออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 2) ด้านวิธีการแก้ไข/เนื้อหา หรือกิจกรรม 3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้แก้ไข 4) ด้านเด็กและเยาวชนผู้รับการแก้ไข 5) ด้านระยะเวลา และ 6) ปัญหาด้านอื่น ๆ ทั้งงบประมาณ การติดตามประเมินผล และสถานการณ์ Covid-19 ดังนั้น การนำเสนอนโยบาย และรูปแบบที่เหมาะสม โดยผู้ศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผ่านกระบวนการตามหลักของทฤษฎีระบบ (System Theory) การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ การวิเคราะห์และสำรวจสภาพปัญหา จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนโดยใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดกระบวนการ (Process) คือ แนวทาง/วิธีการ/โปรแกรม ที่จะนำไปสู่กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง และนำแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม ตามบริบทของสังคมไทยไปปฏิบัติที่เหมาะสม แบ่งเป็นหลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรเฉพาะด้าน ในแต่ละโรงเรียน จึงนำไปสู่ผลลัพธ์ (Output) คือ เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง ไม่หันไปกระทำผิดในสังคมหรือตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ นั้น ดำเนินการผ่านการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้อัตราการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนลดลง และเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง จึงนำไปสู่แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์, พรรษาวดี คล้อยระยับ Jan 2020

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์, พรรษาวดี คล้อยระยับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ 2) ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ และ 3) เสนอแนะแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงลึกในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน อัยการ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น สาเหตุการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ เกิดจากหลายสาเหตุทั้งจากตัวของเด็กที่เข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่าย ครอบครัวของเด็กมีปัญหาในครอบครัวทำให้ต้องพึ่งพาสังคมออนไลน์ สภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ รวมไปถึงเพื่อนของเด็ก และตัวผู้กระทำความผิดมักจะเป็นผู้มีความชำนาญ รูปแบบการคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีดังนี้คือ การกลั่นแกล้งทางเพศ การข่มขู่ทางเพศ การลวนลามทางเทศ และ การอนาจารทางเพศ 2) ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ พบว่า กฎหมาย บทลงโทษตลอดจนนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการป้องกันการถูกคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ มีความสอดคล้องเหมาะสม แต่การนำผู้ต้องหามาลงโทษมีความยากลำบาก เนื่องจากในโลกออนไลน์ไม่สามารถเก็บพยานหลักฐานได้ครบ ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาครัฐกับภาคเอกชน และการได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนยังไม่เพียงพอทั้งด้านงบประมาณ ด้านข้อมูล และบุคลากรยังไม่เพียงพอ 3) แนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ ดังนี้ คือรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการดำเนินการเชิงรุก โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กและเยาวชน ประชาชน ในการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในโลกออนไลน์ องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ร่วมเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยง ควรให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร และข้อมูล เนื่องจากภาครัฐมีทรัพยากรดังกล่าวไม่เพียงพอและ ผู้ปกครองสร้างความรู้ความเข้าใจ เอาใจใส่ดูแลบุตรหลาน ทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมป้องกัน แก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่รัฐไม่เผยแพร่ข้อมูลเหยื่อสู่สาธารณะ


แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: กรณีศึกษาอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ, ตุลาการ ขยันขันเกตุ Jan 2020

แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: กรณีศึกษาอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ, ตุลาการ ขยันขันเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัย เรื่อง "แนวทางการลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทย: ศึกษากรณีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อกำหนดและแนวทางของสหประชาชาติ รวมถึงความสอดคล้องของสภาพสังคมไทยกับการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุด และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยในการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามมาตรฐานสหประชาชาติ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำนโยบายมาปฏิบัติ กลุ่มประชาสังคม และกลุ่มนักวิชาการ จำนวน 14 คน ผลการศึกษาพบว่า ข้อกำหนดและแนวทางการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดของสหประชาชาติเป็นมาตรฐานสากลที่พึงปฏิบัติ แม้ว่าในแต่ละประเทศจะมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน หากประเทศไทยกำหนดนโยบายการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดสอดคล้องต่อแนวทางของสหประชาชาติจะส่งผลให้สามารถลดความผิดพลาดในการดำเนินคดีอาญาด้วยการลงโทษผู้บริสุทธิ์ และลดผลกระทบต่อเหยื่อได้ แนวทางที่เหมาะสมในการใช้โทษประหารชีวิตในกรณีคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางของสหประชาชาติ คือ การใช้โทษประหารชีวิตเฉพาะในคดีเจตนาฆ่าทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และอาจพักการใช้โทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ อีกทั้งการนำมาตรการแทนการลงโทษประหารชีวิตในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงถึงขั้นประหารชีวิตที่ไม่สอดคล้องต่อแนวทางของสหประชาชาติ คือ กำหนดโทษจำคุกเพิ่มเข้าไปในบางฐานความผิดที่มีบทลงโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว, การใช้โทษจำคุกระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในการพ้นโทษ, การจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ได้รับการลดโทษ และการนำนักโทษประหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงแนวทางการลงโทษประหารชีวิตในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุด (Most Serious Crime) ที่สอดคล้องกับแนวทางของสหประชาชาติและเหมาะสมกับสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคตสืบไป


โมเดลเชิงสาเหตุแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีชาวต่างประเทศที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย, ทศพิธ รุจิระศักดิ์ Jan 2020

โมเดลเชิงสาเหตุแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีชาวต่างประเทศที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย, ทศพิธ รุจิระศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมต่อสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ (2) ศึกษาบทบาทของการสนับสนุนทางสังคมในโมเดลเชิงสาเหตุดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี 207 คน (หญิง 127 คน ชาย 80 คน) อายุเฉลี่ย 21.68 + 2.11 ปี ระยะเวลาที่อาศัยในประเทศไทยเฉลี่ย 1.47+1.44 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม มาตรวัดกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม มาตรวัดการสนับสนุนทางสังคม และมาตรวัดสุขภาวะ เก็บข้อมูลทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) และการทดสอบโมเดลแข่งขัน ผลการวิจัยพบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 44.167, df = 34, p = .114, SRMR = 0.059, RMSEA = 0.038, CFI = 0.989) และในการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมและสุขภาวะของนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีที่ศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ ที่มีกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยที่การสนับสนุนทางสังคมส่งผลต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรม เป็นโมเดลที่ดีที่สุด (Chi-square = 66.675, df = 50, p = .057, SRMR = 0.071, RMSEA = 0.040, CFI = 0.986) นอกจากนี้ผลการวิจัยยังบ่งชี้ว่า เมื่อนักศึกษาชาวต่างชาติเผชิญกับแหล่งความเครียดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่มีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การแยกตัว และเมื่อได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากขึ้น กลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่นักศึกษาชาวต่างชาติมีแนวโน้มจะถูกนำมาใช้ คือ กลยุทธ์การบูรณาการ นอกจากนี้การสนับสนุนทางสังคมส่งผลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อสุขภาวะผ่านกลยุทธ์การผสมผสานทางวัฒนธรรมเฉพาะด้านการยึดมั่นต่อวัฒนธรรมสังคมถิ่นฐาน


การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ปาณิสรา จันทร์นวล Jan 2020

การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารการตลาดของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ปาณิสรา จันทร์นวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนำเสนอในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 2) ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประเภทของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน 3) ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบคลิปวิดีโอ รูปแบบการโฆษณา และ การระบุผู้โฆษณาของสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์จากประเทศไทยและไต้หวัน โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาคลิปวิดีโอในช่องยูทูบจำนวน 10 ช่อง ที่มีช่วงเวลาในการลงคลิปวิดีโอตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนธันวาคม ในปี พ.ศ. 2562 และสุ่มคลิปวิดีโอ 3 คลิปต่อเดือน รวมเป็นจำนวน 180 คลิปวิดีโอที่นำมาเป็นตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่ายูทูบเบอร์ไต้หวันมีปริมาณคลิปวิดีโอที่มีสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าคลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทย ในด้านประเภทสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไต้หวันนั้นมีสินค้าประเภทอาหารปรากฏมากที่สุด ในขณะที่คลิปวิดีโอของยูทูบเบอร์ไทยมีสินค้าประเภทสุขภาพและความงามปรากฏมากที่สุด ในด้านรูปแบบคลิปวิดีโอ การโฆษณา และการระบุผู้โฆษณา พบว่า ยูทูบเบอร์ทั้งไทยและไต้หวันใช้รูปแบบคลิปวิดีโอรีวิวสินค้า รูปแบบการโฆษณาทดลองสินค้ามากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าคลิปวิดีโอส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีการระบุผู้โฆษณา จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อแนะนำที่สอดคล้องกับผลการวิจัยของงานที่ผ่านมาในส่วนของการสื่อสารการตลาดบนยูทูบว่าควรมีการสร้างความโปร่งใสในการให้ผู้รับสารทราบว่าคลิปวิดีโอนั้นมีการโฆษณาหรือไม่ อีกทั้งผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเนื้อหาคลิปวิดีโอที่เกี่ยวกับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียนในประเทศไทย, พัฒนโชค ชูไทย Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียนในประเทศไทย, พัฒนโชค ชูไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียนในประเทศไทยใน โดยใช้ข้อมูลกลุ่มนักเรียนในช่วงอายุ 13 ปี ถึง 17 ปี ในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 4,971 คน จากรายงานการสำรวจการทำงานของเด็กในประเทศไทย พ.ศ. 2558 และจำนวนทั้งสิ้น 14,580 คน จากรายงานการสำรวจการทำงานของเด็กในประเทศไทย พ.ศ. 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวมถึงใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษานี้วิเคราะห์ผลการศึกษาผ่านการวิเคราะห์แบบจำลองโพรบิท เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลในเชิงบวกต่อความน่าจะเป็นของการลาออกจากโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ นักเรียนเพศชาย อายุของนักเรียน จำนวนชั่วโมงภายในบ้านซึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทน และนักเรียนที่ทำงานควบคู่กับการเรียนในโรงเรียนในกรณีระดับประถมศึกษา จำนวนชั่วโมงทำงานที่ได้รับรายได้และผลตอบแทน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นักเรียนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักเรียนที่อยู่อาศัยในภาคเหนือในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในเชิงลบต่อความน่าจะเป็นของการลาออกจากโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุของนักเรียนในกรณีระดับมัธยมศึกษา นักเรียนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลในระดับประถมศึกษา และสัดส่วนจำนวนโรงเรียนต่อจำนวนประชากร 1,000 คนในแต่ละจังหวัด ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการลดอัตราการลาออกจากโรงเรียนของนักเรียน รัฐบาลควรเพิ่มสัดส่วนจำนวนโรงเรียนต่อจำนวนประชากร 1,000 คนในแต่ละจังหวัด โดยการสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย ด้านนโยบายการศึกษาสำคัญของประเทศไทย รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณสนับสนุนนโยบายเรียนฟรี 15 ปีและกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเงินและขยายโอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนจากครัวเรือนยากจน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษีในมุมมองของผู้ขายรายย่อย, ญาณิศา เชื้อไทย Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษีในมุมมองของผู้ขายรายย่อย, ญาณิศา เชื้อไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดา จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการศึกษาด้วยแบบจำลองถดถอยเชิงพหุ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษี ได้แก่ รายรับเฉลี่ยจากการขาย ลักษณะช่องทางการขาย และทัศนคติเกี่ยวกับระบบการตรวจสอบภาษี โดยรายรับเฉลี่ยจากการขายส่งผลเชิงบวกต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษีเนื่องจากประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบอัตราก้าวหน้า รายรับเพิ่มขึ้นจะต้องจ่ายภาษีมากขึ้น และการเป็นผู้ขายที่มีช่องทางการขายเป็นออนไลน์อย่างเดียวส่งผลให้มีความกังวลการถูกตรวจสอบภาษีมากกว่าผู้ขายที่มีช่องทางการขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกาศใช้กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าความกังวลใจเกี่ยวกับระบบการตรวจสอบภาษีของภาครัฐเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลเชิงบวกต่อความกังวลการถูกตรวจสอบภาษีของผู้ขายรายย่อย


การเลื่อนชั้นทางสังคมข้ามรุ่นของคนจนเมือง ในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริตตา หวังเกียรติ Jan 2020

การเลื่อนชั้นทางสังคมข้ามรุ่นของคนจนเมือง ในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริตตา หวังเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบาทของเมืองในฐานะพื้นที่ที่สร้างโอกาสเลื่อนชั้นทางสังคมของบุคคลที่มีภูมิหลังยากจน ถูกตั้งคำถามในช่วงสองทศวรรษหลัง เมื่อสัดส่วนคนจนเมืองเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยมีความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นในเขตเมือง งานวิจัยนี้จึงตรวจทานสถานการณ์การเลื่อนชั้นทางสังคมข้ามรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครเบื้องต้น ด้วยการศึกษาเชิงคุณภาพในกลุ่มครอบครัวที่มีภูมิหลังยากจน 30 ครอบครัว มีรุ่นพ่อแม่เป็นอดีตแรงงานอพยพไร้ทักษะ ตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานครช่วงทศวรรษที่ 2510-2530 อันเป็นช่วงเริ่มต้นการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ของประเทศไทย พบว่าตัวแทนจากรุ่นลูก 28 คนจาก 30 ครอบครัว มีจำนวนปีการศึกษาสูงกว่ารุ่นพ่อแม่ 19 คนมีระดับอาชีพสูงกว่า แต่มีเพียง 8 คน หรือหนึ่งในสี่ที่มีควินไลท์รายได้สูงกว่ารุ่นพ่อแม่ มีความสัมพันธ์กับข้อจำกัดด้านทักษะของรุ่นลูกในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ บริบทของตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง และเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา การเลื่อนชั้นทางสังคมแบบก้าวกระโดดจึงยังไม่เกิดขึ้นในรุ่นลูก นอกจากนี้ ครอบครัวกรณีศึกษาที่รุ่นลูกประสบความสำเร็จในการเลื่อนชั้นทางสังคมข้ามรุ่น มีรุ่นพ่อแม่ที่มีความสามารถในการครอบครองทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม จัดเป็นทุนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการนอกระบบตลาด ได้มากกว่าครอบครัวที่รุ่นลูกไม่ประสบความสำเร็จ เพิ่มโอกาสให้รุ่นพ่อแม่เข้าถึงทุนทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น การเข้าถึงงานและรายได้ ส่งผลต่อการเลื่อนชั้นทางสังคมในทางที่ดีขึ้นในรุ่นลูก ข้อค้นพบนี้สะท้อนว่าทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมสามารถชดเชยภูมิหลังเสียเปรียบของครอบครัวที่มีภูมิหลังยากจนได้ อีกด้านหนึ่ง ก็บ่งชี้ว่าครอบครัวเหล่านี้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงโอกาสในระบบตลาด อันเกิดจากการกระจายทรัพยากรในเมืองไม่ทั่วถึง


ชนชั้นกลาง นโยบายประชานิยม และการกลายเป็นประชาธิปไตย: แบบจำลองทางทฤษฎี, กฤษณา ทองใบใหญ่ Jan 2020

ชนชั้นกลาง นโยบายประชานิยม และการกลายเป็นประชาธิปไตย: แบบจำลองทางทฤษฎี, กฤษณา ทองใบใหญ่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎีในการอธิบายบทบาทของกลุ่มชนชั้นกลางทั้งระดับบนและระดับล่าง ภายใต้การดำเนินนโยบายประชานิยมที่ส่งผลต่อการกลายเป็นประชาธิปไตยของไทย โดยอาศัยแบบจำลองของ Acemoglu and Robinson (2006) เป็นกรอบแนวคิดพื้นฐาน และขยายเพิ่มเติมจากกรอบแนวคิดพื้นฐานใน 2 ประเด็นคือ หนึ่งกลุ่มประชากรประกอบด้วย กลุ่มชนชั้นปกครอง กลุ่มชนชั้นกลางระดับบน กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่าง และกลุ่มคนจน โดยแต่ละกลุ่มประชากรสมมติให้มีความต้องการอรรถประโยชน์ในการดำรงชีวิตที่ต่างกัน และสองรัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายการคลังผ่านการจัดสรรงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อการประชานิยมได้ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้การดำเนินนโยบายประชานิยม หากกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างมีรายได้ใกล้เคียงกับกลุ่มคนจนแล้ว การดำเนินนโยบายประชานิยมจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการดำเนินนโยบายประชานิยมเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กลุ่มชนชั้นกลางระดับบนหากมีรายได้ใกล้เคียงกับกลุ่มคนรวยแล้ว สัดส่วนรายจ่ายเพื่อการประชานิยมที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้คนกลุ่มนี้สูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกลุ่มชนชั้นสูงในการทำรัฐประหารเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาในแง่ภาระทางภาษีผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมได้การสร้างภาระทางภาษีให้แก่กลุ่มคนชั้นกลางระดับบนมากกว่ากลุ่มชนชั้นกลางระดับล่าง และยิ่งช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชนชั้นกลางมีมากเพียงใด ภาระทางภาษีของกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนก็จะยิ่งมีเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทางออกของปัญหาคือ การนำเสนอนโยบายซึ่งไม่จำเพาะเพียงการประชานิยมที่ให้ผลประโยชน์แก่กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างในฐานะผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐานเท่านั้น แต่ต้องให้ผลประโยชน์แก่คนทั้งสองกลุ่ม และนโยบายดังกล่าวต้องทำให้ส่วนแบ่งรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนเพิ่มสูงขึ้น จึงจะทำให้ต้นทุนการทำรัฐประหารของคนกลุ่มนี้มีเพิ่มมากขึ้น โอกาสการร่วมมือกับกลุ่มชนชั้นสูงในการทำรัฐประหารจะลดลง และโอกาสในการธำรงระบอบประชาธิปไตยจะมีมากขึ้น


ประสบการณ์ความไม่แน่นอนในอดีตและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของกลุ่มเกษตรกรไทย, นภัสสร วิวัฒนกุลกิจ Jan 2020

ประสบการณ์ความไม่แน่นอนในอดีตและความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของกลุ่มเกษตรกรไทย, นภัสสร วิวัฒนกุลกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานชิ้นนี้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเผชิญความไม่แน่นอนของราคาสินค้าเกษตรกับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงด้านรายได้ของเกษตรกรไทย ในการศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งการศึกษาสินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย และเป็นสินค้าเกษตรที่อยู่ภายใต้นโยบายความช่วยเหลือทางการเกษตรจากทางภาครัฐ โดยจะทำการศึกษา 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลราคาสินค้าเกษตร(ราคา ณ ไร่นา) และปริมาณน้ำฝนรายปี 21 ปีย้อนหลัง เพื่อศึกษาประสบการณ์ความไม่แน่นอนของเกษตรกรในด้านราคาและภูมิอากาศ 2) การทดลอง The Bomb Task เพื่อประเมินระดับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง 3) การทำแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 112 คน ในพื้นที่จังหวัดเลย เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสถานะความมั่นคงทางการเงินและบุคลิกภาพส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรไทยมีประสบการณ์การเผชิญความไม่แน่นอนด้านราคาอยู่ตลอดเวลา โดยมีความสัมพันธ์กับความไม่แน่นอนด้านภูมิอากาศ ประกอบกับการใช้นโยบายช่วยเหลือทางการเกษตรจากภาครัฐ โดยประสบการณ์ความไม่แน่นอนเหล่านี้ส่งผลต่อสถานะความมั่นคงทางการเงินของเกษตรกร ซึ่งผลจากการจำลองสถานการณ์การตัดสินใจในสถานการณ์ความเสี่ยง โดยวิธี The Bomb Task พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 จัดอยู่ในกลุ่มผู้หลีกหนีความเสี่ยง โดยจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรผ่านการใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติด้วยสมการถดถอยพหุ (Multiple Regression) ซึ่งทั้งประสบการณ์ความไม่แน่นอนที่เกษตรกรได้พบเจอมาในด้านราคาสินค้าเกษตร สถานะความมั่นคงทางการเงิน รวมไปถึงบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล ล้วนมีผลต่อความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของเกษตรกร โดยเฉพาะปัจจัยด้านสถานะความมั่นคงทางการเงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของเกษตรกร