Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

UNISEARCH (Unisearch Journal)

2016

Articles 31 - 34 of 34

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

โปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช, วัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์, ฐิติรัช งานฉมัง, ศรัณย์ เกียรติมาลีสถิตย์ Jan 2016

โปรแกรมและสื่อในการให้ความรู้เชิงประจักษ์ด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช, วัฒน์สิทธิ์ ศิริวงศ์, ฐิติรัช งานฉมัง, ศรัณย์ เกียรติมาลีสถิตย์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรที่มีงานทำในภาคเกษตรกรรมประมาณ 12.09 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31.74ของประชากรที่มีงานทำทั้งหมด (38.09 ล้านคน) (ข้อมูล ณ ตลุาคม 2558) (สำนักงานสถิติ แห่งชาติ, 2558)อาชีพเกษตรกรจึงเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันยังคงเน้นการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช และช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยในแต่ละปี มีการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชมากกว่าแสนตันและมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง(Panuwet et al., 2012) ในปี พ.ศ. 2556 มีรายงานปริมาณการนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชสูงถึง 164,383 ตันหรือคิดเป็นมูลค่า 22,044 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร, 2557) ผลของการทำเกษตรกรรมโดยใช้เคมีเป็นหลักทำให้เกิดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสขุภาพต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศ การเจ็บป่วยหรือได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้ถือเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ(Panuwet et al., 2012) จากข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่ง แวดล้อม พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 มีอัตราผู้ป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 12.37 รายต่อประชากรกลางปี แสนคน ซึ่งพบผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอาชีพเกษตรกรร้อยละ 37.07 นอกจากนี้ ผลการตรวจคัดกรองระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase Enzymes)ในเลือดของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ทางชีวภาพ (Biomarker) ต่อสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (Organophosphate) และคาร์บาเมต (Carbamate) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพบว่า เกษตรกรร้อยละ 30.57 มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารกำจัดศัตรูพืช (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2558) และมีรายงานถึงสาเหตุสำคัญของปัญหาดังกล่าวว่า เกิดจากการขาดความรู้และความตระหนักถึงอันตรายของสารกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม เช่น ผสมสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดศัตรูพืช ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะที่ผสมหรือพ่นสารกำจัดศัตรูพืช หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายอย่างไม่ถูกวิธี (Norkaew, 2009; Panuwet et al., 2012; Taneepanichskul et al., 2012a, 2012b;Taneepanichskul et al., 2010; Tirado et al., 2008; Wilaiwan and …


ภาวะพหุสัณฐานของยีน Fshr ที่ตำแหน่งเบส -29 และ 2039 ของโรคกระดูกพรุน, ชลิต อิ่มเงิน, ณัฐพล ธรรมโชติ, แอนนา วงษ์กุหลาบ, ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต Jan 2016

ภาวะพหุสัณฐานของยีน Fshr ที่ตำแหน่งเบส -29 และ 2039 ของโรคกระดูกพรุน, ชลิต อิ่มเงิน, ณัฐพล ธรรมโชติ, แอนนา วงษ์กุหลาบ, ปฐมวดี ญาณทัศนีย์จิต

UNISEARCH (Unisearch Journal)

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่เกิดจากภาวะความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone MineralDensity) ลดลงควบคู่ไปกับโครงสร้างของกระดูก ที่เสื่อมลงจึงทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่ายพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือหญิงวัยหมดประจำเดือน โดยที่โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น การที่กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เกิดจากผลรวมของความแข็งแรงกระดูกลดลง อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างๆ ของกระดูก ซึ่งส่งผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดทับได้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหักของกระดูกได้จากจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีผู้ป่วยกระดูกพรุนและกระดูกหักเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนตลอดอายุขัยเป็นปัญหาที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบประมาณร้อยละ 30-50 ในผู้หญิง และร้อยละ 15-30 ในผู้ชาย(Randell et al., 1995) ทั้งนี้ การเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิงนั้นมีสาเหตุมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน(Estrogen) ในหญิงวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ผู้สูงอายุผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ภาวะโภชนาการ เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย เป็นต้น พันธุกรรม เชื้อชาติ การขาดการออกกำลังกาย โรคประจำตัวบางอย่างเช่น เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งการใช้ยาบางชนิด เช่นยาสเตียรอยด์ เป็นต้น (ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล, 2552)ดังนั้น การศึกษาถึงสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุนจึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถหาแนวทางป้องกันผลกระทบจากปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนต่อไปการเกิดภาวะกระดูกพรุน เกิดจากความไม่สมดุลของกระบวนการสร้างและสลายกระดูก ซึ่งโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการสร้างและสลายกระดูกนั้น สร้างมาจากยีนที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนที่แตกต่างกันในหญิงวัยหมดประจำเดือน ยกตัวอย่างเช่น ยีน VDR(Vitamin D receptor) หรือยีนตัวรับวิตามินดี ซึ่งเป็นยีนที่นิยมหาความสัมพันธ์ของความหลากหลายทางพันธุกรรมต่อการเกิดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน จากการศึกษาของ Thakkinstian และคณะ (2004) พบว่าที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน BsmI มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสันหลัง แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของกระดูกสะโพก Gross และคณะ(1996) พบว่า ที่ตำแหน่งภาวะพหุสัณฐาน FokI มีความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกและการเกิดโรคอีกด้วย เป็นต้น


สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ กวาวเครือขาว...สมุนไพรเฉพาะถิ่นของไทยในการรักษาโรคกระดูกพรุน, สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ Jan 2016

สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร. สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ กวาวเครือขาว...สมุนไพรเฉพาะถิ่นของไทยในการรักษาโรคกระดูกพรุน, สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.


แนะนำโครงการ โครงการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชื่อมโยง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เลย-ลาว, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม Jan 2016

แนะนำโครงการ โครงการพัฒนาความร่วมมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเชื่อมโยง 2 ฝั่งแม่น้ำโขง เลย-ลาว, เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม

UNISEARCH (Unisearch Journal)

No abstract provided.