Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Animal Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Zoology

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Animal Sciences

Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark Jan 2019

Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The eastern Russell’s viper, Daboia siamensis, is one of the important venomous snakes in Thailand. Its venom possesses hematotoxin causing pathological alterations to circulatory and renal systems. Although antivenom serum is used for standard medical treatment, its cost per dose, ineffectiveness for some symptoms, and potential to develop allergic reactions in patients has called attention to an alternative remedy including the medicinal herb. To find effective herbs, appropriate screening assays are needed. This study aims to develop in vitro and in vivo screening assays and use for screening Thai herbs with anti-hematotoxic activity against D. siamensis venom. For in vitro …


พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ Jan 2019

พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผึ้งให้น้ำหวานเป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบสําหรับการศึกษาการตอบสนองต่อกลิ่นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบมี เงื่อนไข (classical conditioning) ผ่านทางพฤติกรรมการแลบลิ้นหรือ Proboscis Extension Response (PER) ซึ่งมีรายงานอย่างกว้างขวางในผึ้งพันธุ์หรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์ยุโรป (A. mellifera) ในขณะที่การศึกษาในผึ้งโพรงหรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์เอเชีย (A. cerana) กลับยังมีการศึกษาอยู่น้อยมาก ทั้งที่มีความสําคัญในการเป็นแมลงผสมเกสรในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ในการศึกษาครั้งนี้ วิธีการ PER ถูกนํามาใช้เพื่อเป็นตัวประเมินความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อสาร 2,4–ไดไนโตรโทลูอีน (DNT, สารตั้งต้นวัตถุระเบิด) โดยทําการเปรียบเทียบความสามารถของการเรียนรู้และตอบสนองระหว่างผึ้งทั้งสองชนิด การศึกษานี้ทดลองในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ผึ้งที่มีหน้าที่หาอาหารจะถูกจับและนําไปฝึกให้เกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 50% w/v (ใช้เป็นรางวัล) และ DNT ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อลิตร (ใช้เป็นสิ่งเร้าเงื่อนไข) การฝึกให้ผึ้งเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขนั้นจะทําการฝึกผึ้งทั้งหมด 6 ครั้ง ในช่วงเวลา 13:00–15:00 น. เพื่อที่จะสามารถประเมินได้ว่าผึ้งมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจํากลิ่น DNT ได้หรือไม่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผึ้งพันธุ์ (N=61) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้ โดยมีการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 9.84±3.84% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.54±6.44% (การฝึกครั้งที่ 6) ในขณะที่ผึ้งโพรง (N=36) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้เช่นกัน เกิดการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 2.78±2.78% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.22±8.44% (การฝึกครั้งที่ 6) จากผลการศึกษายังระบุอีกว่า ผึ้งพันธุ์มีความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อ DNT (49.18±6.45%) ได้ดีกว่าผึ้งโพรง (16.67±6.30%) ในช่วงที่สองของการฝึก (P<0.01) สําหรับการทดสอบความสามารถในการจดจํา (memory retention test) พบว่า ผึ้งพันธุ์ยังคงสามารถตอบสนองต่อ DNT และแสดงพฤติกรรม PER ได้ 46.00±3.68%, 67.34±4.83% และ 52.03±3.77% ในขณะที่ผึ้งโพรงก็สามารถแสดงพฤติกรรม PER ได้ 55.50±6.10%, 50.50±7.09% และ 44.50±6.37% หลังจากที่เวลาผ่านไป 10 นาที 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังการฝึกตามลําดับ อย่างไรก็ตามความสามารถในการจดจําต่อกลิ่น DNT ของผึ้งทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยพบว่าผึ้งทั้งสองชนิดมีความจําระยะยาว (long-term memory) ที่ยังคงสามารถแสดงพฤติกรรม PER และตอบสนองต่อกลิ่น DNT ได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมงก็ตาม ความสามารถในการเรียนรู้และจดจําที่แตกต่างกันระหว่างผึ้งให้หวานทั้งสองชนิดนี้อาจจะเป็นผลมาจากคัดเลือกทางธรรมชาติเนื่องจากผึ้งทั้งสองชนิดมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความสามารถในการเรียนรู้และการจดจําของผึ้งให้น้ําหวานสายพันธุ์เอเชียชนิดอื่น ๆ จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างผึ้งที่อาศัยในเขตอบอุ่นกับในเขตร้อนชื้น


Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong Jan 2019

Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parasitoid wasps of the family Braconidae are classified in the order Hymenoptera, same as bees, ants and other wasps. The Braconidae is one of the most species-rich families in the Insecta. Doi Phu Kha National Park (DPKNP) has highly diverse organisms, both flora and fauna reflecting the great varieties of habitat types, however, there is very little information on the taxonomy of Braconidae in this national park. Therefore, the aim of this research is to establish the taxonomy of nocturnal parasitic wasps in the family Braconidae within the DPKNP using light trapping technique. A total of 846 specimens, 177 morphospecies …