Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Animal Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Zoology

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Publication Year

Articles 1 - 16 of 16

Full-Text Articles in Animal Sciences

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken Jan 2021

Comparative Pharmacokinetics Of Puerarin In Pure Compound Form And Puerarin In White Kwao Krua Extract In Female Cynomolgus Monkeys, Sureerat Namken

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pueraria mirifica is an endemic Thai plant that puerarin is a major chemical found in this plant and shows several pharmacological activities in aging diseases. Although the pharmacokinetic data on puerarin have been reported in rodents, it is still inconclusive for the development of puerarin as phytopharmaceutical products for human use. This is because of the differences in anatomical and physiological characteristics between rodents and humans. Therefore, the comparative pharmacokinetics of puerarin in pure compound form (PUE) and puerarin in P. mirifica extract (PME) was conducted in female cynomolgus monkeys. PME at a dose of 826 mg/kg.BW (equivalent to 10 …


รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา Jan 2021

รอยสึกบนฟันกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae จากสมัยไพลสโตซีนและปัจจุบันของประเทศไทย, จักรีทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ย่อย Caprinae สามชนิด ได้แก่ เลียงผาใต้ (Capricornis sumatraensis) กวางผาจีน (Naemorhedus griseus) และกวางผาหิมาลัย (Naemorhedus goral) ปรากฎหลักฐานการกระจายตัวในประเทศไทยสมัยไพลสโตซีน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกวางผาหิมาลัยได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว เพื่อบ่งบอกนิเวศวิทยที่เปลี่ยนแปลงไปในอดีตจนถึงปัจจุบันของสัตว์กลุ่มนี้ รอยสึกบนฟันกรามจึงถูกนำมาใช้เพื่อการศึกษาอาหาร รููปแบบการกินอาหาร และนิเวศวิทยาบรรพกาลของสัตว์ในวงศ์ย่อย Caprinae ผู้วิจัยศึกษาตัวอย่างจาก 4 แหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ที่มีอายุระหว่างสมัยไพลสโตซีนตอนกลางถึงตอนปลาย ได้แก่ ถ้ำผาบ่อง, บ้านโคกสูง, ถ้ำวิมานนาคินทร์ และเพิงผาถ้ำลอด รวมไปถึงตัวอย่างปัจจุบันจากพิพิธภัณฑ์และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 10 แห่ง โดยเก็บข้อมูลค่าดัชนีความสูงตัวฟัน (hypsodonty index: HI), รอยสึกระดับ mesowear I และ II, และรอยสึกระดับ microwear จากฟันกราม ผลการศึกษาพบว่า รอยสึกระดับ mesowear และค่า HI บ่งชี้ว่าเลียงผาและกวางผาทั้งในปัจจุบันและไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้า โดยเลียงผาใต้มีแนวโน้มการกินใบไม้มากกว่าชนิดอื่น ผลการศึกษารอยสึกระดับ microwear จากทั้งตัวอย่างปัจจุบันและไพลสโตซีนพบว่า เลียงผาใต้กินใบไม้อ่อนนุ่ม ขณะที่กวางผาจีนและกวางผาหิมาลัยกินใบไม้และหญ้าที่มีความแข็ง เมื่อพิจารณาผลการศึกษาที่ได้ร่วมกับค่าไอโซโทปเสถียรของธาตุคาร์บอนจากงานวิจัยก่อนหน้า อาจกล่าวได้ว่า เลียงผาใต้ในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้อ่อนนุ่มทั้งประเภท C3, C3/C4, และ C4 อยู่อาศัยได้ทั้งป่าทึบและทุ่งหญ้า กวางผาจีนในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 ที่มีความแข็ง อาศัยในทุ่งหญ้าเปิด สำหรับกวางผาหิมาลัยในสมัยไพลสโตซีนกินใบไม้และหญ้าประเภท C4 หรือ C3/C4 และอาศัยในทุ่งหญ้าเปิด ผลการศึกษาสามารถสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนิเวศวิทยาของสายพันธุ์เลียงผาและกวางผาได้ว่า เลียงผาและกวางผาสมัยไพลสโตซีนอาศัยในทุ่งหญ้าเปิดมากกว่าประชากรในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และการรุกรานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนที่ส่งผลให้จำนวนประชากรลดลง


ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย Jan 2021

ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนสร้างโปรตีน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium Falciparum ในประเทศไทย, พรปวีณ์ สุขพงษ์ไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pfs25 เป็นโปรตีนที่พบได้บนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum ในระยะ sexual stage และเป็นหนึ่งในแอนติเจนของวัคซีนสำหรับป้องกันการติดต่อของโรคมาลาเรียชนิด transmission blocking vaccine (TBV) วัคซีนชนิดนี้สร้างจากแอนติเจน Pfs25 ของเชื้อมาลาเรีย P. falciparum สายพันธุ์ 3D7 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนทดสอบทางคลินิก อย่างไรก็ดี การศึกษาความหลากหลายของยีน Pfs25 ในประชากร P. falciparum ในธรรมชาติทั้งในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก ตัวอย่างประกอบด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์ของ Pfs25 ของ P. falciparum ในประเทศไทยจำนวน 83 ตัวอย่าง และข้อมูลจากฐานข้อมูล GenBank และ PlasmoDB จำนวน 224 ตัวอย่าง ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมและสร้างฐานข้อมูลนิวคลีโอไทด์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำการศึกษาความหลากหลายด้วยการวิเคราะห์ทาง พันธุศาสตร์ประชากร ผลการศึกษาพบว่า Pfs25 ในประชากรเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ทั่วโลกมีจำนวน 11 haplotype ในจำนวนนี้ พบในประเทศไทยจำนวน 7 haplotype (H) โดย H2 เป็น haplotype ที่พบมากที่สุดในประชากรเชื้อมาลาเรียในทวีปเอเชีย ส่วน H1 พบมากที่สุดในประชากรในทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ การวิเคราะห์ด้วย Fst แสดงให้เห็นว่า การกระจายของ haplotype ทั้งหมดแตกต่างกันตามแต่ละทวีป แสดงว่า เชื้อมาลาเรีย P. falciparum แบ่งออกเป็น 3 ประชากรย่อย ๆ ตามพื้นที่ คือ ประชากรในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ haplotype ด้วย …


Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi Jan 2021

Influences Of Herbicides On Health Of Rice Frog Fejervarya Limnocharis Populations In Nan Province, Thailand, Luhur Septiadi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Intensive and continuous herbicide use in agriculture may pose a risk to health of environment and non-target organisms, including amphibian. Prior research conducted between 2010-2011 using the rice frog, Fejervarya limnocharis, as a sentinel revealed an accumulation of herbicides (atrazine, glyphosate, and paraquat) in environmental samples and frog tissue, as well as adverse effects on the health status. This study aims to determine the potential influence of herbicides on population health of the rice frog. Between July 2020 and February 2021, frogs were collected from two paddy fields with varying degrees of herbicide use in Nan province, Thailand. The results …


Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon Jan 2021

Degree Of Genetic Admixture In Hybrid Populations Between Macaca Fascicularis Fascicularis And M. F. Aurea In Association With Stone Tool-Use Behavior, Poompat Phadphon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Burmese long-tailed macaque (Macaca fascicularis aurea) is the only Old World monkey that habitually uses stones as tools to access encased food. The natural range of M. f. aurea closely contacts to the common long-tailed macaque (M. f. fascicularis) in southern Thailand at 8°10'-12°24'N, where the intraspecific hybridization between the two subspecies was reported. While M. f. aurea x M. f. fascicularis hybrids were expressed a stone-tool use behavior, the behavior has never been seen in the wild or captive M. f. fascicularis. It is interesting to understand if the genetic factor plays a role on the emergence of this …


Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark Jan 2019

Screening Development For Anti-Hemotoxic Activity Of Thai Herbs Against Eastern Russell’S Viper Daboia Siamensis (Smith, 1917) Venom, Patchara Sittishevapark

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The eastern Russell’s viper, Daboia siamensis, is one of the important venomous snakes in Thailand. Its venom possesses hematotoxin causing pathological alterations to circulatory and renal systems. Although antivenom serum is used for standard medical treatment, its cost per dose, ineffectiveness for some symptoms, and potential to develop allergic reactions in patients has called attention to an alternative remedy including the medicinal herb. To find effective herbs, appropriate screening assays are needed. This study aims to develop in vitro and in vivo screening assays and use for screening Thai herbs with anti-hematotoxic activity against D. siamensis venom. For in vitro …


พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ Jan 2019

พฤติกรรมการเรียนรู้และการตอบสนองต่อ 2,4-ไดไนโตรโทลูอีนในผึ้งพันธุ์ Apis Mellifera Linnaeus, 1758 และผึ้งโพรง Apis Cerana Fabricius, 1793, ศิรัช เลิศจินตนากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผึ้งให้น้ำหวานเป็นสิ่งมีชีวิตต้นแบบสําหรับการศึกษาการตอบสนองต่อกลิ่นโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบมี เงื่อนไข (classical conditioning) ผ่านทางพฤติกรรมการแลบลิ้นหรือ Proboscis Extension Response (PER) ซึ่งมีรายงานอย่างกว้างขวางในผึ้งพันธุ์หรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์ยุโรป (A. mellifera) ในขณะที่การศึกษาในผึ้งโพรงหรือผึ้งให้น้ำหวานสายพันธุ์เอเชีย (A. cerana) กลับยังมีการศึกษาอยู่น้อยมาก ทั้งที่มีความสําคัญในการเป็นแมลงผสมเกสรในภูมิภาคเอเชียและในประเทศไทย ในการศึกษาครั้งนี้ วิธีการ PER ถูกนํามาใช้เพื่อเป็นตัวประเมินความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อสาร 2,4–ไดไนโตรโทลูอีน (DNT, สารตั้งต้นวัตถุระเบิด) โดยทําการเปรียบเทียบความสามารถของการเรียนรู้และตอบสนองระหว่างผึ้งทั้งสองชนิด การศึกษานี้ทดลองในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ผึ้งที่มีหน้าที่หาอาหารจะถูกจับและนําไปฝึกให้เกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 50% w/v (ใช้เป็นรางวัล) และ DNT ความเข้มข้น 25 มิลลิกรัมต่อลิตร (ใช้เป็นสิ่งเร้าเงื่อนไข) การฝึกให้ผึ้งเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขนั้นจะทําการฝึกผึ้งทั้งหมด 6 ครั้ง ในช่วงเวลา 13:00–15:00 น. เพื่อที่จะสามารถประเมินได้ว่าผึ้งมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจํากลิ่น DNT ได้หรือไม่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผึ้งพันธุ์ (N=61) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้ โดยมีการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 9.84±3.84% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.54±6.44% (การฝึกครั้งที่ 6) ในขณะที่ผึ้งโพรง (N=36) สามารถเกิดการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขระหว่างกลิ่นและน้ำตาลซูโครสได้เช่นกัน เกิดการแสดงพฤติกรรม PER เพิ่มขึ้นจาก 2.78±2.78% (การฝึกครั้งที่ 1) เป็น 47.22±8.44% (การฝึกครั้งที่ 6) จากผลการศึกษายังระบุอีกว่า ผึ้งพันธุ์มีความสามารถในการเรียนรู้และตอบสนองต่อ DNT (49.18±6.45%) ได้ดีกว่าผึ้งโพรง (16.67±6.30%) ในช่วงที่สองของการฝึก (P<0.01) สําหรับการทดสอบความสามารถในการจดจํา (memory retention test) พบว่า ผึ้งพันธุ์ยังคงสามารถตอบสนองต่อ DNT และแสดงพฤติกรรม PER ได้ 46.00±3.68%, 67.34±4.83% และ 52.03±3.77% ในขณะที่ผึ้งโพรงก็สามารถแสดงพฤติกรรม PER ได้ 55.50±6.10%, 50.50±7.09% และ 44.50±6.37% หลังจากที่เวลาผ่านไป 10 นาที 24 ชั่วโมงและ 48 ชั่วโมงหลังการฝึกตามลําดับ อย่างไรก็ตามความสามารถในการจดจําต่อกลิ่น DNT ของผึ้งทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P>0.05) จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยพบว่าผึ้งทั้งสองชนิดมีความจําระยะยาว (long-term memory) ที่ยังคงสามารถแสดงพฤติกรรม PER และตอบสนองต่อกลิ่น DNT ได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมงก็ตาม ความสามารถในการเรียนรู้และจดจําที่แตกต่างกันระหว่างผึ้งให้หวานทั้งสองชนิดนี้อาจจะเป็นผลมาจากคัดเลือกทางธรรมชาติเนื่องจากผึ้งทั้งสองชนิดมีถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน การศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความสามารถในการเรียนรู้และการจดจําของผึ้งให้น้ําหวานสายพันธุ์เอเชียชนิดอื่น ๆ จะช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างผึ้งที่อาศัยในเขตอบอุ่นกับในเขตร้อนชื้น


Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong Jan 2019

Taxonomy Of Nocturnal Parasitic Wasps Family Braconidae (Hymenoptera: Ichneumonoidea) In Doi Phu Kha National Park, Thailand, Marisa Raweearamwong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Parasitoid wasps of the family Braconidae are classified in the order Hymenoptera, same as bees, ants and other wasps. The Braconidae is one of the most species-rich families in the Insecta. Doi Phu Kha National Park (DPKNP) has highly diverse organisms, both flora and fauna reflecting the great varieties of habitat types, however, there is very little information on the taxonomy of Braconidae in this national park. Therefore, the aim of this research is to establish the taxonomy of nocturnal parasitic wasps in the family Braconidae within the DPKNP using light trapping technique. A total of 846 specimens, 177 morphospecies …


ผลของเสียงรบกวนต่อการปรากฏของนกในสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร, ปาณิศา เอี่ยมวิจารณ์ Jan 2018

ผลของเสียงรบกวนต่อการปรากฏของนกในสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร, ปาณิศา เอี่ยมวิจารณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบนิเวศเมืองได้รับผลกระทบของการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงส่งผลให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น มลภาวะทางเสียงซึ่งส่งผลต่อนกที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องใช้เสียงเพื่อการสื่อสาร งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลกระทบของเสียงรบกวนต่อการปรากฏของนกภายในสวนสาธารณะทั้ง 12 แห่งในกรุงเทพมหานคร โดยทำการสำรวจการปรากฏของนก และปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพของสวนสาธารณะทั้งหมด 10 ครั้งระหว่างเดือน มีนาคม-กันยายน 2561 โดยพบว่าระดับความดันเสียงของสวนสาธารณะอยู่ในช่วงระหว่าง 45-70 dB(A) ซึ่งเสียงการจราจรเป็นแหล่งกำเนิดเสียงหลัก พบนกทั้งหมด 25 ชนิดซึ่งพบนก 16-22 ชนิดในแต่ละสวน จำนวนชนิดนกลดลงเมื่อระดับความดันเสียงเพิ่มขึ้นแต่การปรากฏของนกเฉลี่ยไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความดันเสียง เมื่อพิจารณารายชนิด การปรากฏของนกต่างชนิดมีความสัมพันธ์เชิงลบ หรือบวกกับระดับความดันเสียง ซึ่งแสดงถึงการตอบสนองที่แตกต่างกันระหว่างชนิดนกต่อเสียงรบกวนในสวนสาธารณะ นก 10 ชนิด เช่น นกกางเขนบ้าน Copsychus saularis นกขมิ้นน้อยธรรมดา Aegithinidae tiphia และนกปรอดสวน Pycnonotus blanfordi มีการปรากฏของนกลดลงเมื่อระดับความดันเสียงเพิ่มขึ้น และการปรากฏของนกเอี้ยงสาริกา Acridotheres tristis และนกเอี้ยงหงอน Acridotheres grandis เพิ่มขึ้นเมื่อระดับความดันเสียงเพิ่ม ปัจจัยบางประการของสวนสาธารณะ เช่น ขนาดของสวนสาธารณะ พื้นที่แหล่งน้ำภายในสวนสาธารณะ และความหนาแน่นของไม้ยืนต้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การปรากฏของนกเพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้ในการออกแบบ และจัดการสวนสาธารณะที่เอื้อต่อการปรากฏของนกนั้นจะสามารถช่วยในการอนุรักษ์นกภายในระบบนิเวศเมืองได้


Changes Of Hypothalamic-Pituitary-Testicular Axis In Male Rats During Cognitive Impairment, Patteera Wititsuwankul Jan 2018

Changes Of Hypothalamic-Pituitary-Testicular Axis In Male Rats During Cognitive Impairment, Patteera Wititsuwankul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

From the previous reports denoting that hypothalamus regulating reproductive function via hypothalamic-pituitary-testicular (HPT) axis, and hippocampus controlling learning and memory capacity can synthesize reproductive hormones, and that cognitive impairment particularly occurs during reproductive senescence, it leads to the following research questions; i) which system first enters the aging stage and ii) how the changes are related. Male rats at the ages of 4, 6, 8, 10 and 12 months old were subjected for this study. Blood samples were collected for serum testosterone (T) and luteinizing hormone (LH) assays by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) techniques. Testes, seminal vesicle, prostate gland and …


Effects Of Alpha-Mangostin On Hematopoiesis In Zebrafish Danio Rerio (Hamilton, 1822) Embryos, Wannakarn Kitipaspallop Jan 2018

Effects Of Alpha-Mangostin On Hematopoiesis In Zebrafish Danio Rerio (Hamilton, 1822) Embryos, Wannakarn Kitipaspallop

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alpha-mangostin (AM) is in the xanthone group and a main compound extracted from mangosteen (Garcinia mangostana Linn.). It is effective in antioxidant, antimicrobe and anticancer activities. However, the underlying side effects on normal cells, especially in hematopoiesis have not been investigated completely. In this research, it was aimed to elucidate the possible effects of AM on hematopoiesis using zebrafish (Danio rerio) embryos as a representative model. The results showed that AM could cause the zebrafish embryonic mortality with the concentration dependent manner. The median lethal concentration (LC50) of AM at 72 h was 5.75 ± 0.26 µM. In addition, AM …


Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit Jan 2017

Nutritional Effects On Morphological Characteristics And Male-Male Competition Of Stag Beetle Aegus Chelifer Chelifer Macleay, 1819, Nut Songvorawit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Stag beetles have great intraspecific variation in their bodies and weapon sizes, which are strongly influenced by the environment during the larval stage. However, the impacts of environmental factors affect on such variation and the links between environmental factors, morphological characteristics and behaviours are still unclear. This study first surveyed stag beetles discovered in natural habitat of a dry-evergreen forest in Chanthaburi province, Thailand, to roughly examine possible factors relating to growth of stag beetles. The occurrence and numbers of stag beetle larvae found in logs were high in those of a moderate decay class with relatively high nitrogen content …


Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk Jan 2017

Effects Of Cytokine-Induced Killer Cells On Concanavalin-A Induced Hepatitis In Mouse, Warakorn Srisantisuk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Autoimmune hepatitis (AIH) is a chronic inflammatory disease of liver that the pathogenic mechanisms of AIH have not yet been clarified. All patients with AIH lead to cirrhosis and liver cancer. Presently the best feasible medicines of AIH need aid immunosuppressive medications and liver transplantation which have many side effects, high cost and sustained remission. Thus, immunotherapy is an alternative therapy in which cellular material is injected into a patient. Many previous studies showed cytokine induced killer (CIK) cells, T lymphocytes that have a phenotype of NK cells, have a potential to against several diseases associated with liver. The current …


สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์ Jan 2017

สัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณสกุล Liphistius Schiödte, 1849 ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์, วรัตถ์ ศิวายพราหมณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แมงมุมฝาปิดโบราณในสกุล Liphistius (Liphistiidae, Mesothelae) เป็นหนึ่งในสกุลของแมงมุมโบราณที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน โดยยังมีแผ่นปิดท้องด้านบนที่แบ่งเป็นปล้องและมีอวัยวะสร้างใยอยู่บริเวณส่วนกลางของ abdomen การศึกษาเกี่ยวกับแมงมุมในสกุล Liphistius ในอดีตส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะในด้านอนุกรมวิธานเท่านั้น ในการศึกษานี้ได้ให้ความสนใจในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและโครงสร้างรังของแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์ Liphistius maewongensis Sivayyapram et al., 2017 ซึ่งถือเป็นแมงมุมฝาปิดโบราณชนิดใหม่ของโลก โดยผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างแมงมุมและข้อมูลทางกายภาพที่เกี่ยวข้องจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ที่ระดับความสูง 1,000–1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผลการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวอย่างแมงมุมจำนวน 46 ตัวอย่าง (♀ = 24, ♂ = 22) พบว่าแมงมุมที่พบภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์มีลักษณะโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมียแตกต่างจากแมงมุมในสกุล Liphistius ที่เคยมีการค้นพบมาก่อน จากการศึกษาโครงสร้างรังของแมงมุมจำนวน 359 รัง พบว่าแมงมุมชนิดนี้มีการสร้างรังอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ โครงสร้างรังแบบทั่วไปและโครงสร้างรังแบบตัว T โดยโครงสร้างรังแบบทั่วไปมีลักษณะเป็นท่อตรงมีทางเข้าออกทางเดียว ในขณะที่โครงสร้างรังแบบตัว T มีทางเข้าออก 2 ทาง จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าขนาดทางสัณฐานวิทยาของแมงมุมและรูปแบบโครงสร้างของรังมีความสัมพันธ์กัน โดยความยาวและความกว้างของฝาปิดทางเข้ารังและความลึกของรังมีความสัมพันธ์กับความยาวลำตัวของแมงมุม (Pearson’s correlation r = 0.80, 0.73, 0.51 ตามลำดับ n = 46, p < 0.01) แสดงให้เห็นว่าขนาดและความลึกของรังมีการเพิ่มขึ้นเมื่อแมงมุมมีการเจริญเติบโตและขยายขนาดลำตัว นอกจากนี้ chi-square test ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขนาดลำตัวแมงมุมที่มีต่อรูปแบบการสร้างรัง (X2= 92.23, 2; p < 0.01) จากรังแบบตรงกลายเป็นรังรูปตัว T เมื่อแมงมุมมีอายุมากขึ้น จากผลการศึกษารูปแบบการกระจายของประชากรพบว่าแมงมุมฝาปิดโบราณแม่วงก์มีการกระจายตัวแบบกลุ่ม (Morisita’s index, Iδ = 2.76) ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถในการกระจายพันธุ์ที่จำกัดของแมงมุมในกลุ่มนี้ และอาจบ่งชี้ให้เห็นถึงผลของ dilution effect หรือ selfish herd effect ที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเพื่อตอบสนองต่อผู้ล่า การระวังภัยที่เพิ่มขึ้น และโอกาสประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในการศึกษ


ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา Jan 2017

ความหลากชนิดและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์โดยมนุษย์ในอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน, อนงค์นาฏ เช็งสุทธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษาในเขตอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 ในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์ 3 ประเภท ได้แก่ ป่าชุมชน (CF), สวนป่าสัก (TP) และพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน (IF) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบความหลากหลายและความชุกชุมของมดในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์โดยมนุษย์และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมบางประการต่อความชุกชุมของมด 3 ชนิด ได้แก่ มดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes มดแดง Oecophylla smaragdina และมดละเอียดท้องดำ Trichomyrmex destructor ทำการเก็บตัวอย่างมดทุก ๆ 2 เดือนโดยใช้วิธีเก็บตัวอย่าง 4 วิธี ได้แก่ การเก็บด้วยมือแบบกำหนดเวลา การใช้กับดักน้ำหวานผสมโปรตีน การใช้กับดักหลุม และ การร่อนดิน ผลการศึกษาพบมดจำนวนหกวงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย Dolichoderinae วงศ์ย่อย Dorylinae วงศ์ย่อย Formicinae วงศ์ย่อย Myrmicinae วงศ์ย่อย Ponerinae และ วงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae ซึ่งพบมดทั้งสิ้นจำนวน 40 สกุล 70 ชนิด (69 ชนิด และ 1 สัณฐานวิทยา) โดยที่มดชนิด Paratopula macta ได้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในภาคเหนือของประเทศไทย ค่าเฉลี่ยของดัชนีความหลากหลายทางชนิดมด (Shannon - Wiener's diversity index (H')) มีค่าเท่ากับ 1.05, 0.90 และ 0.77 ในพื้นที่ IF CF และ TP ตามลำดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดมด (Pielou's evenness index (J')) มีค่า 0.31, 0.28 และ 0.26 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบดัชนี …


Dna Barcoding Of Lepidopteran Hosts And Their Parasitoids At Chulalongkorn University Area, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Pornthap Kerkig Jan 2017

Dna Barcoding Of Lepidopteran Hosts And Their Parasitoids At Chulalongkorn University Area, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, Pornthap Kerkig

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Relationships between caterpillars and their parasitoids are poorly known due to the limitation of insect rearing and accurate identification. However, this knowledge is very important for controlling agricultural insect pests using parasitoids as natural enemies in biological control programmes and also for understanding interactions between caterpillar hosts and their parasitoids. During the recent decades, DNA barcoding technique has been developed and used for molecular identification, it could help identify both caterpillars and their parasitoids accurately and fast, also solve the problems about insect rearing. This research aims to preliminary study the relationships between caterpillars and their parasitoids at Chulalongkorn University …