Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication
Publication Type
File Type

Articles 721 - 750 of 8641

Full-Text Articles in Law and Economics

มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, สุรสิทธิ์ ธัญพุทธิวงศ์ Jan 2022

มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, สุรสิทธิ์ ธัญพุทธิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ได้ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นจำนวนมากในการประกอบการอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนตามมา จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรง อาทิ การเกิดภัยพิบัติต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ จนเกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั่นคือ สัญญาปารีส และพิธีสารโตเกียว โดยประเทศสมาชิกจะต้องกำหนดแผนงานระดับประเทศ เพื่อเป็นการลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศ และรักษาอุณหภูมิของโลกให้ไม่ร้อนไปกว่านี้ ประเทศไทยได้เข้าร่วมกับอนุสัญญาความร่วมมือทั้งสองฉบับด้วย ส่งผลให้ ภาครัฐต้องกำหนดแผนนโยบายระดับชาติขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนนำมาสู่แผนพลังงานชาติ ซึ่งหนึ่งในสาระสำคัญคือ การส่งเสริมการใช้และพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 ส่งผลให้มีมาตรการทางภาษี และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อมาสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย อาทิ การลดอัตราภาษีสรรพสามิต การลดอากรนำเข้า การยกเว้นอากรขาเข้า หรือแม้กระทั่งการอุดหนุนทางการเงิน ขณะเดียวกันเอง มีมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี เพื่อส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ให้มีจำนวนเพียงพอครอบคลุมกับความยานยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ดี ยังไม่มีมาตรการใดเลยที่เป็นการช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยที่มีราคาค่อนข้างสูง อีกทั้ง โครงการนำร่องที่เป็นการให้เงินอุดหนุนในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน มีเงื่อนไขในการอุดหนุนที่แตกต่างกันคือ หากเป็นภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินอุดหนุนเกือบทั้งหมดของราคาต้นทุนในการติดตั้ง ในขณะที่ ภาคเอกชนจะได้รับการอุดหนุน มากที่สุดเพียง 70% และมีสัดส่วนการอุดหนุนภาคเอกชนที่แตกต่างกันไปตามรอบระยะเวลาที่เปิดรับสมัคร ส่งผลให้อาจเกิดความไม่ธรรมต่อภาคเอกชนในการประกอบกิจการให้บริการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการใช้มาตรการเครดิตภาษีแก่ผู้ที่ติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ในที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่ภาคประชาชน อีกทั้ง ยังมีมาตรการให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สามารถบรรลุเป้าหมายที่จะมีเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 10,000 เครื่องได้เร็วกว่ากำหนดถึง 2 ปี ดังนั้นผู้ศึกษา จึงได้มีการนำเสนอให้มีการนำแนวทางมาตรการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย และมุ่งเน้นการหามาตรการอื่นๆ ในการส่งเสริมการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะเช่นกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ตามนโยบายของประเทศ


แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออโต้จีนัสวัคซีน เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อจุลชีพที่เป็นต้นเหตุของการระบาดในฟาร์ม เมื่อผลิตเสร็จจะนำวัคซีนนั้นกลับไปใช้ ณ ฟาร์มที่เกิดปัญหา ดังนั้นจึงเป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคระบาดที่เกิดขึ้นและสามารถลดความเสียหายและควบคุมการระบาดของโรคได้รวดเร็ว อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และเครือรัฐออสเตรเลีย การออกใบอนุญาตการผลิต จะต้องออกตามใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยได้รับการยกเว้นจากการขึ้นทะเบียนตำรับยา เพื่อนำไปใช้กับสัตว์ที่วินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค เฉพาะในกรณีที่พบว่าไม่มีวัคซีนขึ้นทะเบียน หรือมีวัคซีนที่มีทะเบียนแต่ไม่ตรงสเตรนของสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคหรือมีหลักฐานแสดงว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กฎหมายต่างประเทศที่ใช้ในการกำกับดูแล มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง โดยขึ้นกับบริบทต่อการบริหารจัดการและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งข้อจำกัดของแต่ละประเทศ เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อกำกับออโต้จีนัสวัคซีน อยู่ภายใต้การกำกับของพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2510 ในมาตรา 4 เป็นสาระสำคัญหลัก ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตสถานที่ ผลิต นำเข้า ขาย และขึ้นทะเบียน คือมาตรา 12 มาตรา 79 และ มาตรา 83 (3) สำหรับเรื่องการกำหนดและข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิต ขาย นำสั่ง ในราชอาณาจักรไทยจะอาศัยมาตรา 13 (1) และ 13 (5) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต และมาตรา 13 (2) ยังคงมีข้อให้ตีความทางกฎหมายกับแนวทางปฏิบัติตามข้อเท็จจริง อันเนื่องมาจาก ระบบการเลี้ยงสัตว์เป็นระบบ “ฝูง” โดยมาตรา 13 (1) ได้กำหนดข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับแก่ “(1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม” กฎหมายที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อระเบียบการกำกับดูแลออโต้จีนัสวัคซีน โดยปัจจุบันบทบาทหน้าที่และอำนาจการรับผิดชอบหลัก เป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่เพียงผู้เดียว ตามกระบวนการกรอบการปฏิบัติเดิม เพราะแท้จริงแล้ว หากกรมปศุสัตว์ จะกระทำการแทนก็ย่อมจะกระทำได้โดยชอบ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเสนอให้มีการออกร่าง “กฎหมายเฉพาะ” สำหรับบริหารจัดการโดยเฉพาะ โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับยา สารชีววัตถุ หรือวัคซีนสัตว์โดยตรงเป็นการเฉพาะ หรือทำการส่งเสริมสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (Bureau of Veterinary Biologics) ของกรมปศุสัตว์ ที่มีอยู่แล้วให้มาบริหารจัดการออโต้จีนัสวัคซีนเป็นการเฉพาะโดยประกอบด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นผู้ทำงานที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับออโต้จีนัสวัคซีนอย่างแท้จริง


ปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ Data Center และ Cloud Service : กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยสำหรับลงทุน Data Center เพื่อสนับสนุน Cloud Service ในต่างประเทศ, อัจฉรียา เครืออ้น Jan 2022

ปัญหาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ Data Center และ Cloud Service : กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทยสำหรับลงทุน Data Center เพื่อสนับสนุน Cloud Service ในต่างประเทศ, อัจฉรียา เครืออ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการ Data center และ Cloud service ในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมภายใต้มาตรการภาษี 2 รูปแบบ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุน และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบกิจการ Data center ภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 759 พ.ศ. 2565 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกสำหรับให้บริการ Data center ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุน Cloud service ในต่างประเทศ เป็นการวางแผนโครงสร้างธุรกิจโดยมีเจตนาเลี่ยงการมีสถานประกอบการ และเพื่อควบคุมปริมาณกำไรในบริษัทลูก การประกอบกิจการของบริษัทลูกในประเทศไทยทำให้ผู้ประกอบกิจการ Cloud service ในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยจัดเก็บภาษีได้เพียงกำไรของบริษัทลูกที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น จากปัญหาข้างต้นประเทศไทยควรบังคับให้ผู้ประกอบกิจการ Cloud service ในต่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทลูกในประเทศไทยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร นอกจากนั้น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทลูกในประเทศไทยที่ทำหน้าที่สนับสนุนการให้บริการ Cloud service ของต่างประเทศ ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี แรงงานทักษะ หรือการซื้อวัตถุดิบภายในประเทศไทยอย่างมีสาระสำคัญ และการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นความร่วมมือในการจัดตั้งบริษัทเพื่อวางแผนทางภาษี จึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริม ดังนั้น การประกอบกิจการภายใต้กรณีบริษัทต่างชาติจัดตั้งบริษัทลูกสำหรับให้บริการ Data center ในประเทศไทยเพื่อสนับสนุน Cloud service ในต่างประเทศไม่ควรได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีใด นอกจากนั้นผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อให้มาตรการภาษีสอดคล้องกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่ประเทศไทยต้องการส่งเสริม โดยข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ได้แก่ ประการที่หนึ่ง รัฐควรเพิ่มเงื่อนไขด้านคุณลักษณะของผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ โดยรัฐอาจพิจารณาให้ถอดหรือลดทอนสิทธิแก่บริษัทลูกในประเทศไทย เพื่อให้สิทธินั้นตกแก่ผู้ประกอบกิจการทั่วไปที่ไม่ใช่การจัดโครงสร้างเพื่อการวางแผนภาษีของบริษัทต่างประเทศ และประการที่สอง มาตรการส่งเสริมควรให้เลือกรับสิทธิประโยชน์เพียงสิทธิเดียว เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและลดความเสี่ยงที่จะถูกประเมินจากให้เป็นมาตรการภาษีที่เป็นภัย (Harmful tax practice) ตามข้อตกลงของ OECD ที่ประเทศไทยได้ไปเข้าร่วม


แนวทางการกำหนดมาตรการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าใช้บริการในร้านอาหาร, โญดา ลิขิตเจริญนุกูล Jan 2022

แนวทางการกำหนดมาตรการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าใช้บริการในร้านอาหาร, โญดา ลิขิตเจริญนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบกิจการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารด้วย พบว่าเป็นค่านิยมใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นที่มาจากพฤติกรรม Pet Humanization คือ การเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเสมือนลูก และจะให้ความสำคัญต่อสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูง อยากให้สัตว์เลี้ยงของตนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขเพิ่มขึ้น รวมถึงการพาออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงสวนสาธารณะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงห้างสรรพสินค้า หรือการพาเข้าร้านอาหารต่าง ๆ ด้วย กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารเกี่ยวกับ การพาสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารในไทย พบว่ามีกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องอยู่หลายฉบับ แต่ส่วนใหญ่ในกฎหมายไทยจะบัญญัติไว้ในทางอ้อม ไม่ได้กล่าวถึงการห้ามเข้าโดยตรง เช่น ใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 นั้นกำหนดเพียงว่าให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารต้องประกอบอาหารให้บริสุทธิ์ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ใน มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ผู้ประกอบการอาจต้องตีความในกฎหมายเองต่อไปว่า ในการจะทำให้อาหารบริสุทธิ์เข้าข่ายตามคำนิยามที่กำหนดไว้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ให้ถูกต้องตามคำนิยาม คำนิยามหนึ่งที่ว่าอาหารไม่บริสุทธิ์ คืออาหารที่ได้ผลิต บรรจุหรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการจะต้องเล็งเห็นแล้วว่า ในการที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาร่วมใช้บริการในร้านอาหารนั้น อาจจะทำให้ขนของสัตว์ที่สามารถหลุด และปลิวมาปนเปื้อนในจานอาหารที่กำลังจะนำไปเสิร์ฟ หรือปนเปื้อนไปในครัวที่กำลังเตรียมอาหารอยู่ได้ และเมื่อผู้บริโภคอาหารเหล่านั้นไปแล้วส่งผลให้อาจจะเกิดอันตราย ถึงขั้นแก่ชีวิต หรือสัตว์เลี้ยงอาจจะก่อความรำคาญให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้ร้านอาหารเดียวกันได้ หรือในอีกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกฉบับหนึ่งคือ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จะมีเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงซึ่งได้บัญญัติไว้ใน หมวดที่ 5 เรื่องเหตุรำคาญ (2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อผู้เขียนพิจารณาจากบทบัญญัติข้างต้นแล้ว ในเรื่องของเหตุรำคาญเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงนี้อาจมีความเกี่ยวข้องการเรื่องการนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปใช้บริการในร้านอาหารโดยตรง เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ที่เกินจำนวนสมควร อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต่าง ๆต่อผู้คนอื่น ๆที่ใช้บริการในร้านอาหาร เนื่องจากผู้เลี้ยงไม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงของตนได้อย่างทั่วถึง และหมวดที่ 6 เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ มีการกล่าวถึงเรื่องการควบคุมสัตว์เลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์เลี้ยงในพื้นที่สาธารณะ โดยมีหลักการสำคัญคือเพื่อรักษาสภาพความเป็นอยู่ในชุมชนให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของผู้คน รวมถึงเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจติดต่อจากสัตว์สู่สัตว์หรือสัตว์สู่คนได้ ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ดังนั้นเจ้าของสัตว์เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมสัตว์เลี้ยงของตนไม่ให้สร้างความเดือดร้อน รวมถึงควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงไม่ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถนำเชื้อโรคมาติดต่อผู้คนในสังคมได้ ในการวิจัยครั้งนี้ จึงเห็นสมควรศึกษาถึงปัญหา และข้อบกพร่องของกฎหมายไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมาย บทลงโทษ รวมถึงหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจ ที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันไม่สามารถที่จะเข้ามาจัดการผู้ประกอบการร้านอาหารที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้านอาหารได้อย่างเด็ดขาด โดยตรงและเต็มประสิทธิภาพแต่อย่างใด เนื่องจากยังขาดกฎหมายหรือมาตรการที่ให้อำนาจในการเข้ามาจัดการ และควบคุม ดังนั้นควรจะมีการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างชัดเจน รวมถึงอาจจะมีการจัดตั้งหน่วยที่รับผิดชอบขึ้นมาใหม่ เพื่อกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงมีบทลงโทษในสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามด้วย


มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม, กุสุมา ปันสาม Jan 2022

มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม, กุสุมา ปันสาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกมเป็นการขยายตัวจากฝั่งผู้บริโภค ซึ่งรายได้ของผู้จัดจำหน่าย และนำเข้า มาจากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าในเกม และดาวน์โหลดเกมผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนามาจากผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าเกมที่พัฒนาโดยคนไทยมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าประเทศไทยจะสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม โดยออกมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกมในประเทศยังไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตเกมไทยยังขาดเงินทุนในการผลิตและพัฒนาเกม แสดงให้เห็นว่ามาตรการทางภาษีของภาครัฐที่ออกมาเพื่อส่งเสริมนั้นยังไม่เหมาะสมและเพียงพอที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษาถึงปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักร เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและนำมาปรับใช้กับมาตรการทางภาษีของประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และสหราชอาณาจักร พบว่ามาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักรย่อมส่งผลให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมมากกว่า เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงลดต้นทุนในการลงทุนเริ่มแรกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกมโดยตรง และภาระภาษีของผู้ลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับการลงทุนตามความเป็นจริง กล่าวคือ หากผู้ลงทุนต้องการที่จะเสียภาษีน้อย ก็ต้องลงทุนในปริมาณที่มาก ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่แท้จริง ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ประเทศไทยควรมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและประโยชน์ทางภาษีให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยการนำมาตรการลดหย่อนภาษีวิดีโอเกมของสหราชอาณาจักรมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมเกมของไทยต่อไป


แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร Jan 2022

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ออนไลน์โดยมาตรการกำกับดูแลของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม, ขวัญชนก ศรีภมร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากสภาพสังคมของประเทศไทยในปัจจุบันได้มีการอาศัยเทคโนโลยีในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสารที่มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยมีรูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลายจนทำให้เกิดช่องว่างในการหลอกลวงต่างๆมากมายทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้กลับมาระบาดในสังคมไทยเป็นวงกว้างและสร้างความสูญเสียมหาศาลอีกครั้ง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่เจอปัญหากับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกัน จากการค้นคว้ากฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผู้วิจัยพบว่าในประเทศไทยได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามโดยการกำหนดความผิดทางอาญาและการใช้นโยบายทางอาญาของรัฐซึ่งยังไม่รวมถึงมาตรการการป้องกันอาชญากรรมโดยความร่วมมือของเอกชนประกอบกับบริบทต่างๆที่ทำให้การบังคับกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจึงทำให้ไม่สามารถจับกุมและกวาดล้างได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้มักมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่งและรูปแบบการหลอกลวงมีวิธีที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ยากต่อการสืบสาวต้นตอและบทกฎหมายที่ใช้ในการปราบปรามทางผู้วิจัยมองว่าเป็นการแก้ปัญหาทางปลายเหตุ เนื่องจากบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องมักเป็นบทกฎหมายทางอาญา การที่จะสามารถลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้จะต้องเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วเท่านั้นประกอบกับการลงโทษผู้กระทำผิดจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆเนื่องจากเป็นการลงโทษทางอาญา การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษแทบจะไม่ได้มีผลอะไรที่ทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ลดน้อยลง ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำกับดูแลก่อนที่จะเกิดเหตุเสียมากกว่า เพราะการหาแนวทางในการป้องกันตั้งแต่ต้นจะสามารถช่วยลดความเสียหายได้ไม่มากก็น้อยและเป็นการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชน (Public Awareness Raising) ในการระมัดระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปัจจุบัน ปัญหาการจับกุมและการบังคับใช้กฎหมายในการปราบปรามดังกล่าวก็เป็นปัญหาหลักของต่างประเทศเช่นเดียวกับประเทศไทย ดังนั้นในเมื่อขั้นตอนในการจับกุมหรือปราบปรามเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากในทางปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงเห็นควรว่าถ้าทำปลายทางไม่ได้ก็ควรหันมาหาวิธีการป้องกันต้นทางตั้งแต่แรกก่อนเกิดเหตุการณ์จะดีกว่าและจากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่า ในต่างประเทศมักจะเน้นการบังคับใช้แผนปฏิบัติการเชิงรุกและมาตรการทางกฎหมายที่ใช้การป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนมากกว่าการเน้นการปราบปรามและวิธีที่จะช่วยการป้องกันได้ดีคือการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเป็นตัวดักจับความผิดปกติของหมายเลขโทรศัพท์นั่นเองเนื่องจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายหรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่มีคนใช้งานโดยใช้เทคโนโลยีในการแปลงหมายเลขและแอบอ้างเป็นหน่วยงานหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือหมายเลขโทรศัพท์ผิดกฎหมายที่โทรมาจากต่างประเทศ ดังนั้นถ้าในส่วนของต้นทางคือกิจการโทรคมนาคมสามารถทำการตรวจสอบหรือตรวจพบตั้งแต่แรกจะทำให้ประชาชนเกิดความสูญเสียลดน้อยลง ซึ่งจากการที่ต่างประเทศหันมาสนใจการป้องกันมากกว่าปราบปรามพบว่าสถิติการสูญเสียของประชาชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกรณีผู้เยาว์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, จาตุรันต์ เจียรกุล Jan 2022

การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกรณีผู้เยาว์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562, จาตุรันต์ เจียรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดอายุของผู้เยาว์ที่ผู้ปกครองให้ความยินยอมในการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแทน และปัญหาการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับอันว่าด้วยเรื่องการใด ๆ ที่ผู้เยาว์สามารถกระทำเองโดยลำพัง จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์หากผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 10 ปีการกำหนดอายุดังกล่าวยังไม่เหมาะสม และแตกต่างกับมาตรา 8 ของกฎหมายสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ผู้เยาว์มีอายุต่ำกว่า 16 ปีต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา นอกจากนี้การให้ความยินยอมของผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์นั้นผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยลำพังเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การกำหนดให้นำเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้กับความยินยอมให้ข้อมูลแก่ผู้ควบคุมข้อมูลดังกว่าวไม่เหมาะสมและไม่อาจคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้เยาว์ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากการยินยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการ และผลทางกฎหมายแตกต่างจากการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมและตัวผู้เยาว์ให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวมรวบ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในขณะที่จากการศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation) จะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของการให้ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เอง ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สิทธิแก่เยาวชนอย่างมีขอบเขต และให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์โดยจัดทำคู่มือแนะนำให้มีการแจ้งไปยังผู้เยาว์ถึงการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยวิธีการที่รัดกุม ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นต้น ข้อเสนอด้านกฎหมาย ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 โดยควรมีมาตรการเข้ามาคุ้มครองสิทธิเด็กในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กจึงต้องนำเกณฑ์อายุในช่วงไม่เกิน 18 ปีมาพิจารณาด้วย และไม่ควรจะนำเอาการใดๆทางแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้เพื่อเป็นเงื่อนไขที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เองโดยลำพัง


แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ Jan 2022

แนวทางการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, จิตติมา กลิ่นสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indication (GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งให้การคุ้มครองชื่อหรือสิ่งที่เรียกแทนชื่อแหล่งกำเนิดของสินค้า ซึ่งคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ เป็นผลมาจากแหล่งกำเนิดดังกล่าว เช่น ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือภูมิปัญญาของชุมชนในแหล่งผลิตนั้น ทำให้สินค้าเหล่านั้นไม่สามารถผลิตได้ในพื้นที่อื่น ด้วยความพิเศษและความมีเอกลักษณ์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงถือได้ว่าสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นของดี ของหายาก และไม่สามารถหาซื้อได้ในพื้นที่อื่น ส่งผลให้สินค้า มีราคาสูง ประกอบกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการนำสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ไปใช้กับสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งผลิตตามที่ระบุไว้ในทะเบียน รวมถึงสินค้าที่มีคุณภาพ หรือคุณลักษณะเฉพาะที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในทะเบียน จนอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิด และอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงแหล่งผลิตที่แท้จริงของสินค้าได้อีกด้วย เอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา หลักการคุ้มครอง และการบริหารจัดการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายใต้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ของไทยและสหภาพยุโรป และเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกัน การละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เนื่องจากกฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย มีบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุมต่อการป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ การไม่มีผู้ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลสิทธิ การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ ไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และการไม่มีบทบัญญัติให้สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต้องแสดงฉลากหรือตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์บนสินค้า รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่แท้จริงของสินค้าได้ ส่วนสหภาพยุโรปมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมและชัดเจนกว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงรายละเอียดของหน้าที่ดังกล่าว และบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบย้อนกลับ และการแสดงฉลาก ด้วยเหตุนี้ เพื่อขจัดข้อบกพร่องของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จึงควรมีการปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยนำบทบัญญัติของกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรปมาปรับใช้ ได้แก่ การแก้ไขผู้มีสิทธิ ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการเพิ่มเติมบทบัญญัติว่าด้วยการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการแสดงฉลากและตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เพื่อให้การป้องกันการละเมิดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์ Jan 2022

ปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทรัพย์สินบางประเภท : กรณีศึกษารถบ้านเคลื่อนที่, จิรัชยา ผู้พัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิ่งปลูกสร้างได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาของที่อยู่อาศัยได้มีหลากหลายมากขึ้นโดยที่อยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องมีการปลูกสร้างลงบนที่ดิน ฝังลงดิน หรือยึดติดตรึงถาวรเสมอไป ได้แก่ รถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) ที่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและหาประโยชน์อื่นใด จึงมีประเด็นที่ควรพิจารณาว่า รถบ้านเคลื่อนที่ประเภทดังกล่าวเข้าข่ายขอบเขตตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 หรือไม่ โดยคำนิยาม “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น” ที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ซึ่งให้หมายความรวมถึงแพที่บุคคลอาจใช้อยู่อาศัยได้หรือที่มีไว้เพื่อหาผลประโยชน์ด้วย เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในประเทศไทย และการจัดเก็บภาษีรถบ้านเคลื่อนที่ในต่างประเทศเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหาจุดบกพร่องหรือข้อควรแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย จากการศึกษาของผู้เขียนพบปัญหาการตีความ “สิ่งปลูกสร้าง” ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ที่ไม่ครอบคลุมถึงยานพาหนะที่เป็นที่อยู่อาศัยมีลักษณะเคลื่อนที่ได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยไม่สอดคล้องกับหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ (Benefit Principle) และหลักความเป็นธรรม (Fairness Principle) ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีที่ดีและยังขัดต่อเจตนารมณ์ของภาษีทรัพย์สิน ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่มีองค์ประกอบการเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้ หรือที่ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรม ที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบเทียบเคียงได้จากแพ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง องค์ประกอบที่หนึ่ง ประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าอยู่อาศัยและใช้สอย องค์ประกอบที่สอง ลักษณะการไม่ติดตรึงลงบนพื้นดิน องค์ประกอบที่สาม มีลักษณะที่สามารถการเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับแพ องค์ประกอบที่สี่ การได้รับประโยชน์จากสาธารณูปโภคและทรัพยากรในท้องถิ่นเช่นเดียวกับแพ จากองค์ประกอบดังกล่าวทำให้ผู้เขียนมีความเห็นว่ารถบ้านเคลื่อนที่ ควรจะถือเป็น “สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่บุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้” ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีข้อเสนอแนะให้รถบ้านเคลื่อนที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และได้รับการยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี รถบ้านเคลื่อนที่ทุกชนิด (รถเฉพาะกิจมอเตอร์โฮม) ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ประกอบกับพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของภาษีและเพื่อความเป็นธรรม ทั้งนี้ จะต้องมีการกำหนดลักษณะของรถบ้านที่ชัดเจน ในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อประโยชน์ในการจำแนก รถบ้านเคลื่อนที่ ออกจากรถยนต์ทั่วไปที่ใช้เพื่อการคมนาคมขนส่งโดยปกติ และเพื่อความชัดเจนในการยกเว้นภาษี นอกจากนี้ เมื่อรถบ้านเคลื่อนที่ (Recreational Vehicle , Mobile Home, Caravan) อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ภาษีส่วนนี้ควรถูกจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนกรมขนส่งทางบก


ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์ Jan 2022

ความแตกต่างในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีสำหรับกิจการอสังหาริมทรัพย์ระหว่างกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Paes) และกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Npaes), ชเนตตี นิลวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการรับรู้รายได้ของกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ถือปฏิบัติจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทยที่ได้ปรับปรุงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) และกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities : PAEs) ซึ่งมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้ที่นำมาใช้ มีวิธีการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) สามารถเลือกรับรู้รายได้ได้ 3 วิธี ได้แก่ 1).การรับรู้รายได้ทั้งจำนวน 2).การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำเสร็จและ 3).การรับรู้รายได้ตามเงินงวดที่ถึงกำหนดชำระ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) จะสามารถเลือกรับรู้รายได้ได้เพียงวิธีเดียว คือ เมื่อกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่มีนัยสำคัญในสินทรัพย์ไปยังผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการรายการทางการเงิน TFRS 15 ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวน (Full Accrual Method) มีข้อจำกัดว่าจะสามารถใช้วิธีนี้ได้เมื่อกิจการมีการโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับที่มีการขายนั้นเกิดขึ้นตามประมวลรัษฎากร และส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางด้านบัญชีและภาษี ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป.262/2559 แต่สำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถรับรู้รายได้เมื่อโอนกรรมสิทธิ์โดยที่หลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากรไม่มีความแตกต่างกัน และไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันเหมือนกับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันสำหรับการเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้แบบทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในด้านภาษีอากรแห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาผลกระทบและเปรียบเทียบการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีสำหรับทั้งสองกิจการ เพื่อให้เห็นความแตกต่างในแต่ละวิธีการรับรู้รายได้ของทั้งสองกิจการ และเพื่อเสนอแนะแนวทางสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียให้สามารถเลือกใช้วิธีการรับรู้รายได้ทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ได้ โดยที่ไม่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ภายในระยะเวลาบัญชีเดียวกัน และเพื่อช่วยให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะสามารถชะลอการจ่ายภาษีเงินได้รวมถึงมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการเพียงพอ อีกทั้งการรับรู้รายได้ตามวิธีทั้งจำนวนหรือเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ยังเป็นวิธีการรับรู้รายได้ที่มีความแน่นอนมากกว่าวิธีอื่นๆ เนื่องจากกิจการจะรับรู้รายได้ตามวิธีก็ต่อเมื่อความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดได้โอนไปให้แก่ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว


แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา Jan 2022

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบริการเสริมความงามเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2563, ชรัลธร หล่าบรรเทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ธุรกิจที่ได้รับความนิยมในการประกอบอาชีพ นั่นก็คือ ธุรกิจเสริมความงาม เพราะเปิดธุรกิจดังกล่าวขึ้นเนื่องจาก ผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น หรือวัยทำงานได้รับอิทธิพลการดูแลตัวเองมาจากประเทศเกาหลีใต้ ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ละคร หรือวงการเพลง K-pop ที่ถ่ายทอดมาให้แก่ผู้บริโภคที่ได้รับสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผิวให้เนียน กระจ่างใสด้วยการทำทรีทเมนต์หรือการรับการยิงเลเซอร์ การปรับรูปหน้าให้มีลักษณะเรียวขึ้น หรือแม้แต่การศัลยกรรม ล้วนมีความคาดหวังให้ผลลัพธ์ออกมาตามต้องการและออกมาในทางที่ดี หากแต่ว่า การเปิดธุรกิจแบบเชิงพาณิชย์มากเกินไปของผู้ประกอบการ ก็ทำให้มีผลลัพธ์ที่ออกมาผิดคาดไปในทางที่แย่ลงกว่าสภาพปกติ อย่างที่ได้เห็นตามข่าว ไม่ว่าจะเป็น ศัลยกรรมทำพิษ จนหน้าบิดเบี้ยว จมูกทะลุ หรือแม้แต่เสียชีวิตระหว่างได้รับการผ่าตัดเพราะแพ้ยาสลบ การแพ้เครื่องสำอางที่นำมาทำทรีทเมนต์ การได้รับหัตถการปรับรูปหน้าโดย botox filler และการร้อยไหม แต่แพทย์ที่ทำไม่ชำนาญจนใบหน้าเกิดการห้อยย้อย หรือเบี้ยว และแม้แต่หมอปลอมหรือหมอกระเป๋าที่แอบอ้างเป็นหมอจริงโดยขโมยหลักฐานจาก แพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจริง ๆ มา ด้วยความที่อุปสงค์ของผู้บริโภคนั้นมีมาก ทำให้อุปทานการรับพนักงาน หรือตัวแพทย์เองไม่มีมาตรฐานที่แน่ชัด ในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านความปลอดภัย การป้องกันการเปรียบจากผู้ประกอบการจากการทำสัญญาฝ่ายเดียวของผู้ประกอบการหรือ แม้แต่กฎหมายในเรื่องนี้ยังไม่มีเป็นการเฉพาะ ดังนั้นแล้วเอกัตศึกษานี้จากการศึกษาพบว่า ในขณะนี้กระแสการรับบริการเสริมความงามนั้นมีความนิยมกันอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะดารา นักร้องหรือนักแสดงได้ดูแลความสวยงามเพื่อเสริมความมั่นใจ เป็นที่ดึงดูดความสนใจ ทำให้กระแสดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคที่อยากมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น มีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบเพื่อตอบสนอง เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้สืบเนื่องในปัจจุบันการใช้สื่อทางโทรทัศน์ สื่อโซเชียลออนไลน์ มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้ก่อเกิดเป็นค่านิยมให้การดูแลตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหาย ใด อีกทั้งยังทำให้มีความก้าวหน้าในงานหรือประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะตัวผู้บริโภคได้ลบจุดด้อยและเพิ่มจุดเด่นมากขึ้น เนื่องด้วยปัจจุบันทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น ลักษณะการให้บริการเสริมความงาม กล่าวคือ เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง หรือ เพื่อปรับปรุงสภาพผิวหน้าให้ขาวใส ไร้ริ้วรอย เป็นการให้บริการเสริมความงามเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับโดยเฉพาะ นอกเหนือไปจากการรักษาปัญหาโรคผิวหนังโดยการบริการจะมีให้เลือกมากมาย จากการศึกษาทำให้ทราบว่าปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานพยาบาลเสริมความงามตามพระราชบัญญัติผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2549 ยังไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมอยู่หลายประการและยังได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับด้านสัญญาที่ไม่มีความเสมอภาคกันโดยจะเป็นเพียงฝ่ายผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้ทำสัญญาออกมาแบบสำเร็จรูปโดยที่ผู้บริโภคเสียเปรียบหากเกิดการเรียกร้องสิทธิที่ผู้บริโภคพึ่งได้รับ อาทิ การจำกัดสิทธิไม่ว่าจะเป็นการได้รับบริการที่ไม่ตรงตามที่ได้ตกลงมัดจำค่าคอร์ส เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี คู่มือหรือแนวทางปฏิบัติในการทำสัญญาที่เกี่ยวกับการควบคุมสัญญาทั้งหมด เป็นเพียงการควบคุมการรับเงินในหลักฐานรับเงินเพียงเท่านั้น แต่เนื่องด้วย การรับบริการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้บริโภคจึงควรปรับปรุงหรือยกระดับให้เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาได้แล้วในปัจจุบัน


กรณีศึกษาปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยช่องโหว่ของแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), ชาญชัย เจียรวัฒนภักดี Jan 2022

กรณีศึกษาปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอาศัยช่องโหว่ของแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30), ชาญชัย เจียรวัฒนภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มภายใต้กฎหมายไทยกับสหราชอาณาจักร ผ่านปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มและโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบ ภ.พ.30 ที่พบเห็นในปัจจุบัน ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาความคิดเกี่ยวกับการจัดองค์กรในการจัดเก็บภาษี หลักการทั่วไปเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี และลักษณะขององค์กรในการจัดเก็บภาษี และวิเคราะห์จุดอ่อนเชิงระบบของการจัดเก็บของไทยที่ควรมีการปรับปรุง รวมถึงเสนอแนะโดยการนำเอากฎหมายของสหราชอาณาจักรมาปรับใช้รวมทั้งการปรังปรุงแบบ ภ.พ.30 เพื่อให้ข้อมูลรอบด้านและป้องกันปัญหาใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย


วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย Jan 2022

วิเคราะห์และศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต (Duty Of Loyalty) ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, ชิวเย่ว เหว่ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์และการศึกษาหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริต(Duty of loyalty)ของกรรมการภายใต้กฎหมายบริษัทแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อทำความเข้าใจกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการจีนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาทางกฎหมายต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และเพื่อให้ทราบถึง ความรับผิดของกรรมการ หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในทางกฎหมาย ผลบังคับใช้ทางกฎหมาย และหน้าที่ในการรับผิดชดเชย หวังว่าเอกัตศึกษานี้จะสามารถให้คำแนะนำและแนวทางในการบริหารกรรมการและบริษัท และหวังว่าจะมีความสำคัญในการอ้างอิงสำหรับนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะนักลงทุนหรือผู้ประกอบธุรกิจของไทย เมื่อกฎหมายข้อกำหนดต่างๆที่ใช้ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นได้ค่อยๆ พัฒนามาจนมีความสมบูรณ์มากขึ้น อำนาจในการควบคุมบริษัทโดยรวมและอำนาจในการบริหารกิจการนั้นได้แบ่งแยกออกจากกัน ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมาภิบาลของบริษัทไปแล้ว ในที่นี้หมายถึงอำนาจของผู้ที่ออกเงินทุนให้กับบริษัทและที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นแยกส่วนออกจากที่ประชุมคณะกรรมการอันเป็นผู้บริหารบริษัทและชั้นผู้จัดการด้วย ดังนั้น เรื่องหน้าที่ของกรรมการและอำนาจบริหารจึงเป็นหัวข้อที่ควรค่าแก่การวิเคราะห์และขบคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อการควบคุมหน้าที่ของกรรมการเพื่อให้บริษัทได้ประโยชน์สูงสุด กฎหมายบริษัทจีนได้อ้างอิง“หลักการผลประโยชน์ทับซ้อน”จากประเทศอังกฤษเพื่อนำมาปรับใช้กับกฎหมายบริษัทจีน และตั้งหลักการหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ หลักการนี้มาจากกฎหมายทรัสต์อันเก่าแก่ของประเทศอังกฤษ ซึ่งหมายความว่าผู้รับมอบหมายนั้นไม่อาจจะแสวงหาประโยชน์จากผู้มอบหมาย ให้กระทำการใด เขาจะกระทำการได้แค่เพื่อผลประโยชน์ของผู้รับประโยชน์และตัวแทนของผู้รับประโยชน์เท่านั้น หากว่าผู้รับมอบหมายนั้นละเมิดกฎก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำหรับกฎหมายบริษัทจีน บทสรุป หน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตเป็นข้อกำหนดของจรรยาบรรณของกรรมการ เมื่อกรรมการมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ผลประโยชน์ของบริษัทต้องมาก่อนเสมอ งานวิจัยฉบับนี้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการบริษัทจีน หลังจากการวิเคราะห์และการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนแล้ว สรุปได้ว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการในประเทศจีนยังมีข้อบกพร่องอยู่ ข้อบกพร่องอยู่หลักสามารุสรุปได้ดังต่อไปนี้ (1) กฎบางประการขาดผลทางกฎหมายหากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎหมายมีโครงสร้างและลำดับชั้นที่เข้มงวด และกฎหมายที่ครอบคลุมควรประกอบด้วยสันนิษฐาน การปฏิบัติ และการลงโทษ สามประการนี้ขาดไม่ได้ หากขาดส่วนใดไป ผลของกฎหมายจะลดลงอย่างมาก จนไม่สามารถบรรลุบทบาทเชิงบรรทัดฐานในอุดมคติได้ หากกฎหมายมีเพียงข้อกำหนดที่ห้ามเท่านั้นและขาดข้อกำหนดในเชิงปฏิบัติจริง กฎหมายนั้นย่อมไม่สมบูรณ์และสามารถถือเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้เท่านั้น (2) กฎหมายบางประการกำหนดไม่ชัดเจน ซึ่งส่งผลให้ศาลสามารถตัดสินคดีด้วยดุลพินิจและไม่มีข้อกฎหมายมารับรอง แต่ละศาลอาจมีการตีความกฎหมายที่แตกต่างกันในคดีเดียวกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและเกิดความวุ่นวายในสังคมได้ พร้อมกันนี้ควรเรียนรู้จากมาตรการกฎหมายที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างการจัดหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ ออลิเวอร์ เวนเดล โฮล์มส์ (Oliver Wendell Holmes ) ผู้พิพากษาที่มีเชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาเคยกล่าวไว้ว่า "ชีวิตของกฎหมายไม่ได้อยู่ที่ตรรกะ แต่ปรากฏอยู่ที่ประสบการณ์ต่างหาก" (the life of the law has not been logic, it has been experience) ในกระบวนการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายบริษัทอย่างต่อเนื่อง กฎหมายบริษัทไม่เพียงแต่อยู่ในระดับทฤษฎีและบทบัญญัติทางกฎหมายเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ การตีความ พัฒนา และสร้างสรรค์ "กฎหมายบนกระดาษ" ตามสถานการณ์จริงระหว่างการพิจารณาคดี เพื่อให้กลายเป็น”กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน” ดังนั้น ประเทศจีนจึงต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการ เพื่อให้กฎหมายบริษัท มีความสอดคล้องและใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจราบรื่นขึ้น แม้ว่ากฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวกับหน้าที่แห่งความซื่อสัตย์สุจริตของกรรมการยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่เชื่อว่ากฎหมายนั้นจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ผลที่ตามมาก็คือ ผู้พิพากษาจะเกิดความซับซ้อนเมื่อพิจารณาคดี และจำเป็นต้องพิจารณาคดีตามดุลพินิจของตนเอง จึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก, ชุติมน บุญเสริมสุขเจริญ Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก, ชุติมน บุญเสริมสุขเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือขยะถุงพลาสติก ซึ่งขยะถุงพลาสติกในปริมาณมากส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดขยะถุงพลาสติกเพียงมาตรการเดียว คือ การให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยไม่มีผลให้ปริมาณขยะพลาสติกลดจำนวนลง ผู้เขียนได้ศึกษาแนวทางจากประเทศเดนมาร์กและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก ที่ประสบผลสำเร็จในการลดการใช้ถุงพลาสติก เพื่อนำมาปรับเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกในประเทศไทย โดยแนวทางการจัดเก็บภาษีที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยมีดังนี้ ประเภทของถุงพลาสติกที่ต้องเสียภาษี การกำหนดความหนาของถุงพลาสติกและชนิดพลาสติก ประเภทของถุงพลาสติกที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยสามารถปรับใช้ได้สองข้อ คือ ถุงพลาสติกประเภทมีฝาปิดและถุงขยะในครัวเรือน ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี สำหรับประเทศไทยผู้มีหน้าที่ชำระภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการสถานบริการ และบุคคลอื่นๆที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม อัตราภาษี สำหรับการกำหนดอัตราภาษีนั้น จำเป็นต้องนำหลักทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ เพื่อหาอัตราภาษีที่เหมาะสม หน่วยงานจัดเก็บภาษี สำหรับประเทศไทยหน่วยงานจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ กรมศุลกากร กรณีนำเข้า และกรมสรรพสามิต กรณีผลิตสินค้า ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด กำหนดการชำระภาษี สำหรับประเทศไทยกรณีนำเข้าจะเหมือนกับทั้งสองประเทศ คือ เมื่อเกิดการนำเข้า กรณีผลิตสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันจะมีกำหนดชําระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นําสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามทั้งสองประเทศ กรณียกเว้นภาษี ประเทศไทยอาจไม่จำเป็นต้องนำกรณียกเว้นภาษีของประเทศเดนมาร์กมาใช้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การหลบเลี่ยงภาษี และเป็นช่องทางการออกนอกระบบของผู้มีหน้าที่ชำระภาษี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกอาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการผลิตถุงพลาสติก ส่งผลให้ประชาชนใช้ถุงพลาสติกลดลง โดยรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการจัดเก็บภาษีอัตราต่ำในช่วงแรกหรือการให้เงินอุดหนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการ หรือใช้มาตรการอื่นๆนอกเหนือจากมาตรการทางภาษีเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของคนในสังคมให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะถุงพลาสติกกันมากขึ้น


มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล Jan 2022

มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Smes) ที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19, ณิชชาพัชร์ อิทธิเมศร์มงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรการการบรรเทาภาระภาษีสำหรับวิสาหกิจ ฯ เป็นสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิสาหกิจ ฯ ในหลายด้าน ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน วิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีเงินทุนสำรองต่ำ ดังนั้นแล้วในหลายประเทศจึงมีการใช้มาตรการทางภาษีต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่วิสาหกิจ ฯ จากการการศึกษาพบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยยังไม่สามารถที่จะช่วยเหลือวิสาหกิจ ฯ ดังกล่าวได้ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีการใช้นโยบายทางด้านภาษีอย่างจริงจังในการช่วยเหลือทางด้านต้นทุนกับผู้ประกอบการ เช่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ที่มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยตรงโดยการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานร้อยละ 25-75 ของค่าจ้างพื้นฐานเป็นเวลา 9 เดือน มาตรการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กโดยการให้เงินช่วยเหลือไม่เกิน 10,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ต่อบริษัทสำหรับประเทศไทยนั้นมีการช่วยเหลือทางด้านภาษีโดยมีลักษณะในการหักรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาด ฯ วิสาหกิจแทบจะไม่มีรายได้เลย ทำให้เกิดผลขาดทุน วิสาหกิจ ฯ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนั้นซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวจึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของมาตรการภาษีของประเทศไทยและมีการนำมาตรการการบรรเทาภาระภาษีของสาธารณรัฐสิงคโปร์มาปรับใช้ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีสำหรับผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับจากรัฐบาลเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ครอบคลุมถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการแบกรับเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าว การใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้วิสาหกิจ ฯ นั้น นอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำรงธุรกิจต่อไปได้ในช่วงเศรษฐกิจอันย่ำแย่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีอากรตามหลักภาษีอากรที่อีกด้วย


แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ Jan 2022

แนวทางการนำข้อมูลด้านราคาโอนมาใช้ประโยชน์ในทางศุลกากร กรณีการกำหนดราคาศุลกากรในธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ, ธันยนันท์ ธีระพงศ์ภูเบศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งในทางศุลกากร ธุรกรรมการซื้อขายระหว่างกันของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติดังกล่าว เข้าข่ายเป็นธุรกรรมการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ที่อาจเป็นมูลเหตุให้ไม่สามารถรับราคาศุลกากรตามวิธีการกำหนดราคาศุลกากรวิธีที่ 1 ราคาซื้อขายของที่นำเข้าได้ เนื่องจากราคาซื้อขายระหว่างกันดังกล่าว อาจมีความแตกต่างจากราคาซื้อขายกับคู่สัญญาอื่นๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อรองรับแนวโน้มรูปแบบการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว WCO โดยความร่วมมือจาก OECD จึงได้ตีพิมพ์คู่มือ WCO Guide to Customs Valuation and Transfer Pricing ขึ้น โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสาร Transfer Pricing Study เอกสาร Transfer Pricing Documentation เอกสาร Advance Pricing Arrangement (APA) หรือเอกสารราคาโอนนอื่นใดที่ระบุถึงรูปแบบความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มาใช้ประกอบการตรวจสอบสภาพแวดล้อมการขาย ก่อนพิจารณากำหนดราคาศุลกากร พร้อมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานศุลกากรนำกลไกเรื่องการวินิจฉัยราคาศุลกากรล่วงหน้า (Advance Ruling on Customs Valuation) มาใช้ในกรณีธุรกรรมที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้นำแนวทางของคู่มือดังกล่าวมาใช้กับการกำหนดราคาศุลกากร จากการศึกษาแนวทางการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน มาใช้ประกอบการกำหนดราคาศุลกากรของสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน พบว่า แม้แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันไป แต่มีข้อสังเกตว่า ทุกประเทศต่างมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ การมีข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในกรณีของสหราชอาณาจักร และประเทศแคนนาดา มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรได้ กรณีของประเทศออสเตรเลีย และสาธารณรัฐเกาหลี มีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้าได้ และในกรณีของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีการยอมให้กลุ่มบรรษัทข้ามชาติสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเอกสารด้านราคาโอนมาใช้ได้ทั้งในการประกอบการสำแดงราคาศุลกากรและการใช้ประกอบการขอรับคำวินิจฉัยราคาล่วงหน้า สำหรับกรณีของประเทศไทย ผู้ศึกษาเห็นควรให้มีการออกแนวปฏิบัติหรือเพิ่มถ้อยความยอมรับ ในกฎหมาย โดยการออกประกาศกรมศุลกากรฉบับใหม่ ที่มีสาระสำคัญว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราคาศุลกากรและราคาโอน และการให้การยอมรับการนำเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอนมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดราคาศุลกากร และเห็นควรให้มีการปรับถ้อยความในแบบคำร้องขอให้กำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า ของประกาศกรมศุลกากรที่ 17/2561 ให้มีการเพิ่มข้อความ “เอกสารที่เกี่ยวข้องด้านราคาโอน” เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความจำเป็นต่อการกำหนดราคาศุลกากรล่วงหน้า กรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานศุลกากรและสรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาศุลกากรและราคาโอนล่วงหน้า ในรูปแบบกระบวนการปรึกษาหารือร่วมกันสามฝ่ายร่วมกับผู้นำเข้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประเมินราคาศุลกากร ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของกลุ่มบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งเป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี


มาตรการจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการที่มีการขนส่งปิโตรเลียมอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำมันรั่วไหล, ปวันรัตน์ ว่องธวัชชัย Jan 2022

มาตรการจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการที่มีการขนส่งปิโตรเลียมอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำมันรั่วไหล, ปวันรัตน์ ว่องธวัชชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย รวมถึงศึกษามาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยจำเป็นต้องมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 80 ของพลังงานที่จัดหาทั้งหมด โดยการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งผ่านทางเรือจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลอยู่เสมอ ประกอบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดได้ล่วงหน้า และหากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาและควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลาเพื่อไม่ให้ความเสียหายยิ่งแพร่กระจายไปเป็นวงกว้างและยากต่อการแก้ไข ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล คือการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ.1992 และ ภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ.1992 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าข้อกำหนดในการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศ และความรับผิดของกองทุนยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถรับค่าสินไหมชดเชยได้ครอบคลุมทุกกรณี ประกอบกับประเทศไทยไม่มีกองทุนสิ่งแวดล้อมซึ่งระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่จะนำมาใช้เพื่อชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมลพิษน้ำมัน ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษน้ำมันเพื่อบังคับใช้ภายในประเทศ คือ กฎหมายมลพิษน้ำมัน โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิด ค่าเสียหาย มาตรการควบคุมมลพิษ ไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมในหลายกรณี อีกทั้งกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความรับผิดจากมลพิษน้ำมัน เพื่อเป็นกองทุนในประเทศซึ่งใช้ช่วยเหลือ จ่ายค่าสินไหม เยียวยาความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ได้รับความเสียหาย โดยมีแหล่งที่มาของรายได้จากการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หรือเรียกว่าภาษีน้ำมัน (Barrel Tax) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหากมีกองทุนภายในประเทศจะทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไข และวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ตามความเหมาะสมกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ และสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุณ์การได้อย่างไม่ล่าช้า ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอให้นำแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย


แนวทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในการออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อป้องกันประเด็นปัญหาการฟองเขียว (Greenwashing) ซี่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน, ปาณิสรา เบ็ญจกุล Jan 2022

แนวทางของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในการออกตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนเพื่อป้องกันประเด็นปัญหาการฟองเขียว (Greenwashing) ซี่งส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน, ปาณิสรา เบ็ญจกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวความคิดในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับความยั่งยืนด้วยการผนวกประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า “ESG” กำลังได้รับความสนใจในมุมกว้าง โดยเฉพาะตลาดทุนในฐานะที่เป็นศูนย์กลางในการระดมเงินทุนจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ “ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน” หรือ “ESG Bond” ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยในปัจจุบันมีเครื่องมือการระดมทุนประเภทตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน 4 ประเภท ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1) ตราสารหนี้ที่พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการใช้เงิน (Use of Proceeds-based Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) และกลุ่มที่ 2) ตราสารหนี้ที่อ้างอิงกับผลสำเร็จที่คาดหมายในอนาคต (Forward-looking performance-based instrument หรือ Sustainability-Linked Financing) ได้แก่ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond) Sustainability-Linked Bond หรือ SLB คือ ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีเงื่อนไขการให้ผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยที่สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับผลสำเร็จของตัวชี้วัดและเป้าหมายของบริษัทผู้ออก SLB ที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยผู้ออกตราสารสามารถนำเงินไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดก็ได้ ด้วยการเปิดกว้างในเรื่องของวัตถุประสงค์การใช้เงินซึ่งมีความยืดหยุ่นมากเกินไปนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่า เม็ดเงินที่ลงทุนไปนั้นอาจจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริงและอาจจะก่อให้เกิดภาวะการฟอกเขียว (Greenwashing) ในตลาดทุนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันภาวะการฟอกเขียวในการลงทุนในตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน ข้อมูลจะต้องมีความชัดเจนเพียงพอและโปร่งใส โดยข้อมูลที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลและเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วนี้เองจะเป็นข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ดีขึ้น สหภาพยุโรป ภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้านความยั่งยืนได้มีการออกกฎหมายการจัดหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว หรือที่รู้จักกันในชื่อ “EU Taxonomy Regulation” ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจสีเขียว (Environmentally Sustainable) ซึ่งจะช่วยเป็นกรอบอ้างอิงให้ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน สามารถบรรจุแนวคิดความยั่งยืนลงไปในระดับจุลภาคเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ตามทิศทางที่กำหนด การมีกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอในประเทศไทยจะช่วยป้องกันหรือลดภาวะฟอกเขียวได้และส่งเสริมให้ตลาดทุนเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน โดยการกำหนดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว (Taxonomy) เพื่อให้สามารถจำแนกและจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของไทย (Thai Taxonomy)


มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง, ภัทร คำสวัสดิ์ Jan 2022

มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง, ภัทร คำสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดอกไม้เพลิงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มอบความบันเทิงแก่ผู้ใช้งานและผู้รับชมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผ่านความงดงามทางแสงสีเสียง อย่างไรก็ตาม ความสวยงามของดอกไม้เพลิงนั้นมีความอันตรายที่ซ่อนอยู่ ดอกไม้เพลิงจึงเป็นหนึ่งในวัตถุอันตรายที่รัฐจำเป็นต้องเข้าไปควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่าย เนื่องจากหากมีการปล่อยให้ใช้ดอกไม้เพลิงได้อย่างอิสระ จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และความเสียหายจากการระเบิดและความร้อนซึ่งเป็นเหตุอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ดังนั้น รัฐจึงต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพในการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงของปัจเจกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการในการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเข้มข้นผ่านระบบการขออนุญาต โดยเฉพาะการขออนุญาตเป็นผู้ค้าดอกไม้เพลิง ผู้ประสงค์จะจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงต้องยื่นขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของร้านค้าดอกไม้เพลิง ขณะที่ดอกไม้เพลิงที่ยิงขึ้นสู่อากาศนั้น ผู้ที่ประสงค์จะจุดก็ต้องขออนุญาตต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่ อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ถูกคลี่คลายดังที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น มาตรการทางภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษีสรรพสามิต จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการนำมาปรับใช้เพื่อการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง เนื่องจากภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่มีการเก็บอย่างเฉพาะเจาะจงกับบางสินค้าที่รัฐเห็นว่าเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งดอกไม้เพลิงก็เป็นสินค้าที่มีลักษณะเช่นว่านั้น ดังนั้นรัฐควรลดการบริโภคดังกล่าวผ่านกลไกทางภาษีสรรพสามิต และเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนภายนอกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนีย และประเทศจีนเป็นตัวอย่างประเทศที่มีการปรับใช้มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง และมีการใช้ระบบขออนุญาตสำหรับผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงสำหรับผู้บริโภค รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง หากประเทศไทยนำมาตรการทางภาษีของต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง โดยการเพิ่มดอกไม้เพลิงเข้าไปในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิต และยังสอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากส่งผลให้ความต้องการในสินค้าประเภทดอกไม้เพลิงมีปริมาณลดลงจากการที่ทั้งผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายมีต้นทุนในดอกไม้เพลิงที่สูงขึ้น


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในโรงแรมหรืออาคารที่พักอื่นที่เปลี่ยนเป็นฮอสพิเทลในประเทศไทย, มินตรา องค์เนกนันต์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในโรงแรมหรืออาคารที่พักอื่นที่เปลี่ยนเป็นฮอสพิเทลในประเทศไทย, มินตรา องค์เนกนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่เริ่มมาตั้งแต่พ.ศ. 2562 เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานให้ทันต่อสถานการณ์ รัฐจึงต้องออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อรับมือกับเหตุการณ์และจำกัดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ฮอสพิเทลก็นับเป็นหนึ่งในมาตรการฉุกเฉินนั้น หมายถึงการใช้โรงแรมหรืออาคารอยู่อาศัยสาธารณะอื่นเพื่อให้บริการด้านการสาธารณสุขแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เพื่อเป็นพื้นที่ในการรักษาตัวและกักกันโรค ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพและแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก ฮอสพิเทลจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงรวมอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก มูลฝอยที่เกิดจากฮอสพิเทลนั้นเป็นมูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณมากตามนิยามของคำว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการก็จะเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในฮอสพิเทลนั้นยังไม่ถูกกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง และยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่มีผลบังคับทางกฎหมายอันเป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของสถานพยาบาลซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ ผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างละเอียด ชัดเจน รวมถึงมีบทกำหนดโทษหากไม่ทำตาม มูลฝอยติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ถูกต้องตามหลักอนามัยไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการคัดแยก เก็บ ขนหรือกำจัด โดยเฉพาะการคัดแยก เนื่องจากหากสามารถคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างถูกต้อง ณ แหล่งกำเนิดก็จะมีส่วนช่วยให้ห่วงโซ่การจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือทั้งหมดมีโอกาสเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่จะมีมูลฝอยติดเชื้อหลุดรอดออกไปภายนอกจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สัมผัสอื่น ๆ ได้ มาตรการการจัดการที่ถูกต้องทำให้สามารถจำกัดพื้นที่ของมูลฝอยติดเชื้อ จำกัดการเคลื่อนย้ายและทำให้มูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัดในวิธีที่ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถแพร่กระจายได้ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรวมถึงต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานการป้องกันการแพร่และการติดเชื้อตามที่กำหนดตลอดขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในฮอสพิเทลได้รับการกำกับดูแลให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสาธารณะ ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการแก้ไข ปรับปรุง และเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้สถานประกอบการประเภทฮอสพิเทลอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงว่าด้วยมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงมีการกำหนดบทบาทของผู้ประกอบการในเรื่องการกำกับดูแลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างชัดเจนและมีบทลงโทษในกรณีที่ฝ่าฝืน หรือละเว้นการปฏิบัติดังกล่าว


มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ Jan 2022

มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยแม้ว่าจะมีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายสนับสนุนการศึกษาเพื่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการบริจาคแก่สถานศึกษาและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร แต่ยังไม่มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาของผู้เสียภาษีเงินได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลีย ผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายด้านการศึกษาและรายจ่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มเติม โดยกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่ประเทศอินเดียมีมาตรการบรรเทาภาระภาษี สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการเงินมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีโดยตรงของประเทศไทยเพื่อช่วยให้เกิดแรงจูงใจและส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต


แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์ Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ, วิรงรอง นัยวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรือยอชต์เป็นยานพาหนะทางน้ำที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 โดยเรือยอชต์เป็นเรือที่มีคุณลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเรือที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำโดยทั่วไป และเป็นที่ทราบกันดีว่าเรือยอชต์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาค่อนข้างสูง จากข้อจำกัดที่กล่าวข้างต้นทำให้มีผู้บริโภคเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่จะมีความสามารถในการจับจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ครอบครองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ซึ่งเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญถือเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยโดยสภาพสำหรับบุคคลทั่วไป แต่อาจไม่ได้เป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยสำหรับบุคคลที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่ภาครัฐจะต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับและหลักความสามารถในการเสียภาษี ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ ประเภทที่ 08.01 สินค้าเรือ โดยกำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญอยู่ที่อัตราร้อยละ 50 ตามมูลค่า ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้มีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญให้เหลืออัตราร้อยละ 0 โดยวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีคือ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งการที่ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้มหาศาลจากการจัดเก็บภาษีเพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมเพิ่มมากขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน หากเปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และประเทศกรีซ ซึ่งมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ จะพบว่าทั้งสองประเทศยังคงมีมาตรการทางภาษีเพื่อใช้ในการควบคุมการบริโภค สำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ โดยประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จัดเก็บภาษี สรรพสามิต ในอัตราร้อยละ 20 จากราคาขายหรือมูลค่า ในขณะที่ประเทศกรีซจัดเก็บภาษีเรือสันทนาการและเรือ ท่องเที่ยวรายวัน โดยเริ่มต้นจัดเก็บภาษีจากเรือที่ล่องในน่านน้ำกรีซที่ขนาดความยาวตั้งแต่7 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้อง เสียภาษี16 € ต่อเดือน หรือ 192 € ต่อปีโดยขนาดของเรือยิ่งมีความยาวมากก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความ สำราญเช่นในอดีตที่เคยปฏิบัติมา โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญของประเทศไทยเกิดความเป็นธรรมสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี นอกจากนี้มาตรการทาง กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะต้องมีการกำหนดให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งได้แก่การกำหนดคำนิยามของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญจะต้องมีความชัดเจน โดยจะต้องมีการระบุถึงลักษณะ ประเภท ขนาด หรือน้ำหนักของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญที่จะทำการจัดเก็บภาษี ดังนั้นภาครัฐจึงควรที่จะประสานกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ให้มีความชัดเจนและความสอดคล้องกัน เพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งในการตีความคำนิยามและลดการใช้ดุลยพินิจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ Jan 2022

ความไม่สอดคล้องของการกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากตามพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 กับมาตรการส่งเสริมการออมเกษียณอายุ, ศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม ในการวางแผนเกษียณอายุ ในอดีตประเทศไทยไม่มีระบบคุ้มครองเงินฝากที่ชัดเจน การดูแลผู้ฝากเงินขึ้นกับนโยบายของทางการในแต่ละสถานะการณ์ จนในปี 2540 ประเทศไทยประสบวิกฤติการณ์ทางการเงินขั้นรุนแรง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฐานะหรือการดำเนินงานของธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้เต็มจำนวน โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้รับหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินที่ประสบปัญหา ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกได้เสนอมาตราการจัดการกับปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินซึ่งก็คือ “ระบบคุ้มครองเงินฝาก” วงเงินคุ้มครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จากคุ้มครองเต็มทั้งจำนวนแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ ไม่เกิน 10 ล้านบาท จนกระทั้งบังคับใช้วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกระบวนการชำระบัญชี ปัจจุบันสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 18 ของประชาการทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเป็นสังคม “สูงอายุอย่างสมบูรณ์” รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงมีโนบายในการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญอันทำให้แรงงานนอกระบบได้รับการดูแลจากภาครัฐ โดยกลุ่มที่ยังไม่มีระบบสวัสดิการรองรับในวัยเกษียณอายุ หรือการวางแผนเกษียณ เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้หลังเกษียณ ต้องมีเงินออมหลังเกษียณอายุจำนวนเงิน 2,710,723.20 บาท ในช่วงระยะเวลา 20 ปี การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการบทบัญญัติกฎหมาย บทความ วารสาร สิ่งตีพิมพ์ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต (Internet) ภาษาไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเสนอแนวทางและข้อควรพิจารณาในการพัฒนากฎหมาย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสถาบันการเงิน ทำให้ส่งเสริมการออมในประเทศ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ไม่ได้สัดส่วนกับนโยบายมาตรการส่งเสริมการออม และจากการคำนวณตามแผนการออมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือแผนการออมของสถาบันการเงิน เช่นรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณใน “กองทุนรวม” ต่างๆ ต้องวางแผนการสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ ต้องมีเงินออม 5,000,0000 บาท


แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง Jan 2022

แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan), ศศิธร แซ่อึ๊ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สินเชื่อมีผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลระบบการเงินและความมั่นคงของสถาบันการเงิน ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดการเงินดิจิทัลนั้น ได้สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างแพร่หลายตามแผนยุทธศาสตร์ธปท. ฉบับพ.ศ.2563-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) พร้อมทั้งออกประกาศฉบับที่ ธปท.ฝกส.(01) ว.977/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลไปยังสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นและลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ให้ประกอบธุรกิจ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาการควบคุมความเสี่ยงในตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 จากการศึกษาพบว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีการควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เนื่องจากมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่มากเกินไปในส่วนของการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อและเรื่องการกำหนดให้ใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขเนื้อหาของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 ในส่วนที่มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อและการต้องใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก ให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้นขึ้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคก่อหนี้เกินตัว โดยกำหนดให้การให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคบนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการพิจารณาให้สินเชื่อที่คำนึงถึงสถานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคเป็นหลักร่วมกับการใช้ข้อมูลทางเลือก อีกทั้งควรเพิ่มแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินจากการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวงจากผู้ประกอบการสินเชื่อดิจิทัลนอกระบบด้วย


แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย Jan 2022

แนวทางการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำในประเทศไทย, สุชาดา ณัฏฐาชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันสระว่ายน้ำในประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เดิมสระว่ายน้ำมักมีวัตถุประสงค์เพื่อการสันทนาการ เพื่อการกีฬา หรือเพื่อการรักษาบำบัด แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสระว่ายน้ำกลายเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความหรูหราฟุ่มเฟือย สังเกตได้จากโครงการบ้านที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ที่ได้มีการขายบ้านพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัวหรือแม้กระทั่งโรงแรมที่มีการสร้างสระว่ายน้ำส่วนตัวภายในห้องพักหรือพูลวิลล่า ส่งผลให้สระว่ายน้ำมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรน้ำที่มากขึ้นเช่นกันโดยก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำและการแย่งใช้น้ำจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เอกัตศึกษาจึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดมาตรการทางภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ โดยศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศได้แก่กฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดเก็บภาษีจากการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำ ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีการจัดเก็บภาษีการพัฒนา และประเทศกรีซมีการจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือย จึงเสนอให้นำกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสและประเทศกรีซเป็นแบบอย่างในการกำหนดมาตรการทางภาษีการใช้ทรัพยากรน้ำของสระว่ายน้ำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย


แนวทางในการพัฒนาเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัคซีนขององค์การอาหารและยา ภายใต้สถานการฉุกเฉิน, อธิษฐ์ นพนิธิพัฒน์ Jan 2022

แนวทางในการพัฒนาเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัคซีนขององค์การอาหารและยา ภายใต้สถานการฉุกเฉิน, อธิษฐ์ นพนิธิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณาการนำเข้าวัคซีน ขององค์การอาหาร และยา ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเปรียบเทียบกระบวนการและหลักเกณฑ์การจัดหาผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนดังกล่าวในต่างประเทศ รวมถึงศึกษาการปรับเปลี่ยนมาตรการ นโยบายและการบริหารจัดการวัคซีนของภาครัฐ และบทบาทขององค์การอาหารและยา ในการจัดหาวัคซีนในกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาวัคซีนต้นแบบและเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบายและหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนให้เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาด และเพื่อให้สอดคล้องกับสมมุติฐานของการศึกษานี้คือ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรับเปลี่ยนขั้นตอนในการจดทะเบียนให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าวัคซีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในสถานการณ์ที่ผ่านมาทางองค์การอาหารและยาได้ตระหนักถึงความจำเป็นของสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคที่มีความจำเป็นในการนำเข้าวัคซีนเข้ามาใช้โดยเร็ว ผ่านการประกาศอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค เพื่อลดขั้นตอนที่อาจจะยังไม่จำเป็นในการพิจารณาการขึ้นทะเบียนยาในขั้นต้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้การพัฒนาวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ว่าการนำเข้าวัคซีนนั้น แม้ว่าจะได้มีการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ประเทศไทยยังคงจะต้องจะต้องนำวัคซีนเข้าสู่กระบวนการการขึ้นทะเบียนกับทางองค์การอาหารและยาอีกครั้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซ้ำซ้อนกัน และไม่ได้ประสิทธิภาพอันควร ดังนั้นเพื่อให้ได้มาของวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และยังคงสามารถคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ใช้วัคซีนได้นั้น องค์การอาหารและยาควรยอมรับหลักฐานแสดงความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพจากผลการรับรองการขึ้นทะเบียนวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งถูกรับรองโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อที่จะนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการนำมาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที ซึ่งหากสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการในการอนุมัติขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถนำเข้าและใช้งานวัคซีนได้ทันที โดยกระบวนการขึ้นทะเบียนที่มีอยู่ สามารถดำเนินการแบบคู่ขนานกับการใช้งาน หากกระบวนการได้มาของวัคซีน สามารถดำเนินการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถนำมากระจายให้ประชาชนได้เร็วเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมาตรการรับมือโรคระบาดนี้ ก็คือการป้องกันการติดต่อของโรคระบาด และลดอัตราการสูญเสีย เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ในสถานการณ์เร่งด่วนที่กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการใด ๆ จะต้องพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญให้ดี เนื่องจากจะต้องแข่งอยู่กับเวลาอยู่เสมอ กรอบการใช้ดุลพินิจของกระบวนการพิจารณาควรจะต้องมีความยืดหยุ่นให้สอดรับตามสถานการณ์และความฉุกเฉิน หากกรอบการใช้ดุลพินิจที่เข้มงวดจนเกินไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหาที่มากกว่าจากความล่าช้าในการขึ้นทะเบียน ทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศอื่น


ปัญหา การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบัญชีนิติบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงินไทย, อัชฌารินทร์ วิระยกุลรัตน์ Jan 2022

ปัญหา การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบัญชีนิติบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงินไทย, อัชฌารินทร์ วิระยกุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ในการจัดให้ลูกค้าแสดงตนและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง แต่การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากการระบุหลักเกณฑ์ในกฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดการตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงให้ชัดเจน ยากต่อการทำความเข้าใจ ข้อมูลที่สถาบันการเงินค้นหามาจากระบบเพื่อการตรวจสอบนั้น ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือไม่ ตรวจสอบจนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแล้วหรือยัง ยากต่อการตรวจสอบ และปัจจุบันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ต่างอาศัยนิติบุคคลบังหน้าในการกระทำความผิด เพราะมีโครงสร้างธุรกิจที่ซับซ้อน ข้อแนะนำที่ 24 ของ FATF : แต่ละประเทศต้องดำเนินการให้มั่นใจว่ามีข้อมูลเพียงพอ ถูกต้อง และทันต่อเวลา เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์และเกี่ยวกับการควบคุมนิติบุคคล โดยเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่มีอำนาจสามารถขอรับหรือเข้าถึงได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ประเทศดังกล่าวจะต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิผลมาดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการนำบุคคลหรือตราสารไปใช้เพื่อการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และแต่ละประเทศต้องพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถาบันการเงิน สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมได้ ผลการประเมินของ The Asia/Pacific Group on Money Laundering : ได้ระบุว่า ประเทศไทยยังมีการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าไม่เพียงพอ แนวทางปฏิบัติในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินขาดความชัดเจน สถาบันการเงินขาดความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงส่งผลให้การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ขาดกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ให้นิติบุคคลต้องแจ้งข้อมูลผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง กับหน่วยงานราชการอื่น และไม่มีการกำหนดมาตรมาตรการลงโทษทางปกครอง แม้ว่าประเทศไทย ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติผู้รับผลประโยชน์แท้จริงแล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของผู้มีอำนาจควบคุม จนอาจทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายได้ จึงขอเสนอแนะให้ สำนักงาน ปปง. ดำเนินการ 1. จัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อกำหนดคำนิยาม ของผู้มีอำนาจควบคุมให้ชัดเจน ตามตัวอย่างหลักเกณฑ์ของประเทศสิงคโปร์ ที่กำหนดคำว่าบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีนัยสำคัญ คือ ผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท หรือ บริษัท ต่างประเทศถ้าบุคคลหรือนิติ บุคคล มีลักษณะดังนี้ (ก) มีสิทธิแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือถือครองโดยบุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัท ต่างชาติเสียงข้างมากในที่ประชุมกรรมการหรือเทียบเท่าบุคคลในทุกเรื่องหรือสาระสำคัญ (ข) ถือหุ้นทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเรื่องที่สมาชิกลงมติเลือก หรือ บุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัทต่างประเทศ หรือ (ค) สิทธิในการใช้สิทธิหรือการใช้สิทธิจริงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือการควบคุมบริษัทหรือบริษัทต่างชาติและฮ่องกง 2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กฎหมาย รวมถึงแนวปฏิบัติในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และเสริมสร้างความเข้าใจด้วยการจัดทำตัวอย่างการระบุรายละเอียดในแบบฟอร์มให้มีความเข้าใจมากขึ้น


แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษา เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการขนส่งทางถนน เป็นการขนส่งทางบกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การขนส่งสินค้าต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสินค้าที่ทำการขนส่ง สินค้าควบคุมอุณหภูมิเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพของสินค้า ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอาหารควบคุมอุณหภูมิและอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ใน การขนส่ง ของสหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรฐานพร้อมทั้งการตรวจสอบพาหนะและอุปกรณ์ที่ ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ เพื่อนำมาหาแนวทางที่เหมาะสมในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ อีกทั้งประเทศไทยยังได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ภาคผนวก 3 ว่าด้วยเรื่องการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ได้กล่าวถึงมาตรฐานและโครงสร้างที่เหมาะสมของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้ แต่ภาคผนวกนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นเพียงการแนะนำแนวทางสำหรับประเทศภาคีเกี่ยวกับข้อกำหนดของการขนส่งสินค้าประเภทนี้เท่านั้น ไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศไว้แต่อย่างใด จากการศึกษากฎหมายภายในของประเทศไทย พบว่า ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ มีเพียงกฎหมาย ที่กำกับดูแลเฉพาะตัวสินค้าและกำกับดูแลพาหนะหรือการขนส่งเป็นการทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ในการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ควรมีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้โดยเฉพาะขึ้นมาใหม่ ในรูปแบบของพระราชบัญญัติ ที่มีข้อกำหนดด้านพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ การตรวจสอบอุปกรณ์ และการประสานกฎระเบียบหรือการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ มีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกำกับดูแล การตรวจและปล่อยผ่านสินค้า ให้กรมศุลกากรมีหน้าที่รับผิดชอบ และในส่วนของสินค้าที่ขนส่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น ผักผลไม้ หน่วยงาน ที่ดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของสินค้าควบคุมอุณหภูมิ จะมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติจริงในการขนส่งทางถนน


Navassa: Property, Sovereignty, And The Law Of The Territories, Joseph Blocher, Mitu Gulati Jan 2022

Navassa: Property, Sovereignty, And The Law Of The Territories, Joseph Blocher, Mitu Gulati

Faculty Scholarship

The United States acquired its first overseas territory—Navassa Island, near Haiti—by conceptualizing it as a kind of property to be owned, rather than a piece of sovereign territory to be governed. The story of Navassa shows how competing conceptions of property and sovereignty are an important and underappreciated part of the law of the territories—a story that continued fifty years later in the Insular Cases, which described Puerto Rico as “belonging to” but not “part of” the United States.

Contemporary scholars are drawn to the sovereignty framework and the public-law tools that come along with it: arguments about rights and …


Opportunity Zones: A Program In Search Of A Purpose, Ofer Eldar, Chelsea Garber Jan 2022

Opportunity Zones: A Program In Search Of A Purpose, Ofer Eldar, Chelsea Garber

Faculty Scholarship

In 2017, Congress created the Opportunity Zone (“OZ”) program to stimulate economic growth in low-income communities. The program was characterized by its unprecedented scale relative to previous place-based development efforts and was described as “perhaps the most ambitious economic development tool to come out of Congress in a generation.” However, the program was quickly criticized on numerous grounds, and its design flaws are so severe that several legislators have called for its reform or repeal.

This Essay argues that the root of the OZ program’s problems is a strong mismatch between its stated purpose and its actual terms. We discuss …