Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 627

Full-Text Articles in Law

มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 : ศึกษากรณีช่างไฟฟ้าในอาคาร, ปพัชนก อัญชุลีประดิษฐ์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายสำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 : ศึกษากรณีช่างไฟฟ้าในอาคาร, ปพัชนก อัญชุลีประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 - 2560 ประเทศไทยมีเหตุเพลิงไหม้บ้าน เกิดขึ้นมากกว่า 58,000 ครั้ง เฉลี่ยปีละ 2,000 ครั้ง และ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – 2563 มีครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น 32,777 ครัวเรือน โดยมีมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นโดยประมาณ 14,340,682,192 บาท และตัวเลขการเกิดอัคคีภัยยังคงมีมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดอัคคีภัยนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่เอกัตศึกษาเล่มนี้ได้ศึกษาหนึ่งในปัญหาของการเกิดอัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยเอกัตศึกษาเล่มนี้ได้จึงได้ศึกษาลึกลงไปเพื่อเจาะจง และหนึ่งในนั้นก็คือการที่เกิดจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 26/3 ได้กำหนดให้ช่างไฟฟ้าต้องได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ที่จะมีการทดสอบมาตรฐานต่าง ๆ ที่ช่างควรจะปฏิบัติ ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความสามารถพื้นฐานเพื่อบรรเทาการเกิดอัคคีภัยได้ แต่ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากมีการบังคับใช้เพียงแต่กับภาคพาณิชย์ แต่ไม่เกิดการนำไปใช้กับภาคประชาชนครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่ผู้เขียนได้ทำการศึกษา ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศสหราชอาณาจักร พบว่าการกำหนดมาตรฐานในการเข้าปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าภายในบ้าน มีการกำหนดที่ชัดเจนกว่าประเทศไทย ในเรื่องว่างานไฟฟ้าภายในบ้านประการใดสามารถทำเองได้ ประการใดสามารถทำเองได้แต่ต้องทำเรื่องแจ้งต่อหน่ายงานที่รับผิดชอบให้ทราบ หรือ ประการใดต้องใช้ช่างที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อีกทั้งยังมีการกำหนดหน้าที่และโทษของเจ้าของบ้านที่ต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบเอกสารใบอนุญาตของช่างที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในบ้านตนเอง ซึ่งประเทศไทยสามารถที่จะศึกษามาตรการบังคับใช้ของกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยได้ จากการศึกษาพบว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2557 มาตรา 53/2 ให้เจ้าของบ้านมีหน้าที่และโทษในการจ้างช่างมาทำงานให้กับอาคารที่ไม่ใช่สถานประกอบการด้วย


ปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการเกษตร : กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย, ปรารถนา เป้อินทร์ Jan 2022

ปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับการเกษตร : กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย, ปรารถนา เป้อินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับการเกษตร กรณีศึกษาธุรกิจฟาร์มไก่เนื้อของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการแบ่งประเภทและรูปแบบของ ฟาร์มปศุสัตว์ระหว่างฟาร์มปศุสัตว์ของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นฟาร์มอุตสาหกรรมกับฟาร์มขนาดเล็กซึ่งเป็นฟาร์มของผู้ประกอบการรายย่อยหรือฟาร์มของชาวบ้าน ทำให้การจัดเก็บภาษีระหว่างผู้ประกอบการ รายใหญ่กับฟาร์มขนาดเล็กยังใช้เป็นเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบเดียวกันซึ่งนำมาซึ่งความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย มีหลักเกณฑ์การพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ เช่น ปัจจัยในด้านเงินลงทุน รายได้ และรูปแบบ สิ่งปลูกสร้าง ทำให้หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการแบ่งแยกที่ชัดเจน มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดี จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเสนอแนะแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทยโดยให้มีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของฟาร์มขนาดเล็กกับฟาร์ม ขนาดใหญ่โดยใช้หลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่แตกต่างกันเพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดี


มาตรการจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการที่มีการขนส่งปิโตรเลียมอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำมันรั่วไหล, ปวันรัตน์ ว่องธวัชชัย Jan 2022

มาตรการจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการที่มีการขนส่งปิโตรเลียมอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำมันรั่วไหล, ปวันรัตน์ ว่องธวัชชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากมลพิษและความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในประเทศไทย รวมถึงศึกษามาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยจำเป็นต้องมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 80 ของพลังงานที่จัดหาทั้งหมด โดยการนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งผ่านทางเรือจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลอยู่เสมอ ประกอบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดได้ล่วงหน้า และหากเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชน และเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาและควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลาเพื่อไม่ให้ความเสียหายยิ่งแพร่กระจายไปเป็นวงกว้างและยากต่อการแก้ไข ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรการจัดการเกี่ยวกับปัญหาน้ำมันรั่วไหล คือการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษของน้ำมัน ค.ศ.1992 และ ภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ.1992 ซึ่งจากการศึกษาพบว่าข้อกำหนดในการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศ และความรับผิดของกองทุนยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถรับค่าสินไหมชดเชยได้ครอบคลุมทุกกรณี ประกอบกับประเทศไทยไม่มีกองทุนสิ่งแวดล้อมซึ่งระบุวัตถุประสงค์เฉพาะที่จะนำมาใช้เพื่อชดเชยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมลพิษน้ำมัน ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจไม่รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีการบัญญัติกฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษน้ำมันเพื่อบังคับใช้ภายในประเทศ คือ กฎหมายมลพิษน้ำมัน โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดความรับผิด ค่าเสียหาย มาตรการควบคุมมลพิษ ไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมในหลายกรณี อีกทั้งกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความรับผิดจากมลพิษน้ำมัน เพื่อเป็นกองทุนในประเทศซึ่งใช้ช่วยเหลือ จ่ายค่าสินไหม เยียวยาความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ และผู้ได้รับความเสียหาย โดยมีแหล่งที่มาของรายได้จากการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม หรือเรียกว่าภาษีน้ำมัน (Barrel Tax) ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหากมีกองทุนภายในประเทศจะทำให้สามารถกำหนดเงื่อนไข และวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ตามความเหมาะสมกับเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ และสามารถบริหารจัดการการใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุณ์การได้อย่างไม่ล่าช้า ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอให้นำแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย


แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย, พัฒน์ณิชานนท์ ลาภประเสริญล้ำ Jan 2022

แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย, พัฒน์ณิชานนท์ ลาภประเสริญล้ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาษีความมั่งคั่ง ถือเป็นภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและถือเป็นภาษีทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ซึ่งภาษีทรัพย์สินนั้นเป็นภาษีที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาส่วนท้องถิ่น เนื่องจากหลักการการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น จะจัดเก็บจากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำเงินรายได้ไปใช้จ่ายในการจัดหาบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น หากประเทศใดมีระบบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดีก็จะมีรายได้เพียงพอที่จะพัฒนาท้องถิ่นและลดภาระของรัฐบาลกลางที่จะต้องให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นลงได้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับนั้นยังมีข้อบกพร่องหลายประการทั้งในด้านโครงสร้างภาษีและการบริหารจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ส่งผลให้เงินรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เพียงพอที่จะนำไปพัฒนาบริหารท้องถิ่น กล่าวคือ ในด้านโครงสร้างภาษีของกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่ถือครอง ทำให้ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าน้อยมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับอัตราภาษีที่ต่ำเกินไปจนกระทั่งไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองทรัพย์สินทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและกระจายทรัพย์สินที่ถือครอง ซึ่งขัดกับหลักประโยชน์ที่ได้รับและขัดกับวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับในด้านการบริหารจัดเก็บภาษีนั้น มีการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนรวยและก่อให้เกิดการเลี่ยงภาษีได้ง่าย อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดให้ใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ที่เกิดขึ้นจากประเภทของทรัพย์สินและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้น ผู้เขียนเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาและค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยในส่วนพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และการนำหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งของประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะการขยายฐานภาษีทรัพย์สินเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอต่อการบริหารพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย ประกอบกับสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้


มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพ : แนวทางการใช้ค่าเรียนคอร์สออนไลน์เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภรทิพย์ ปักษีเลิศ Jan 2022

มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพ : แนวทางการใช้ค่าเรียนคอร์สออนไลน์เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภรทิพย์ ปักษีเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพในกรณีการกำหนดค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับค่าใช้จ่ายในการเรียนที่รวมถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ ผู้วิจัยทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษา รวบรวมข้อมูลกฎหมาย รวมถึงข้อมูลทางด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว นำมาวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการประยุกต์หลักเกณฑ์ดังกล่าวกับบริบทประเทศไทย จากการศึกษามาตรการปัจจุบันของประเทศไทยพบว่า ประเทศไทยมีการสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยนายจ้างที่เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานมาหักลดหย่อนภาษีได้ แต่มาตรการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคทางภาษีอากร และไม่สอดคล้องนิยามการพัฒนาฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ตลอดจนไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีในปัจจุบัน มาตรการที่มีอยู่จึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสิงคโปร์ พบว่าทั้ง 3 ประเทศให้การสนับสนุนผ่านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกันที่สำคัญคือมาตรฐานคุณภาพหลักสูตรที่เรียนและความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรที่เรียนและอาชีพที่ผู้เสียภาษีประกอบ รวมไปถึงหลักเกณฑ์เฉพาะที่ยกมาวิเคราะห์ ได้แก่ การกำหนดช่วงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ใช้ค่าใช้จ่ายในการเรียนเพื่อเปลี่ยนสาขาอาชีพภายในระยะเวลา 2 ปีของประเทศสิงคโปร์ และการกำหนดเพดานรายได้สุทธิสูงสุดที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความสอดคล้องกับบริบทปัญหาและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานไทยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน จึงควรเพิ่มเติมมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยกำหนดเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้และจำเป็นต้องวางหลักเกณฑ์การควบคุมคุณภาพครอบคลุมไปถึงการเรียนรูปแบบออนไลน์ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้ชีวิตของประชากรวัยทำงานในปัจจุบันด้วย ตลอดจนพิจารณาหลักเกณฑ์ตามสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยพิจารณาต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์และประโยชน์ของมาตรการเป็นสำคัญ


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในโรงแรมหรืออาคารที่พักอื่นที่เปลี่ยนเป็นฮอสพิเทลในประเทศไทย, มินตรา องค์เนกนันต์ Jan 2022

มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในโรงแรมหรืออาคารที่พักอื่นที่เปลี่ยนเป็นฮอสพิเทลในประเทศไทย, มินตรา องค์เนกนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่เริ่มมาตั้งแต่พ.ศ. 2562 เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานให้ทันต่อสถานการณ์ รัฐจึงต้องออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อรับมือกับเหตุการณ์และจำกัดความเสียหายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ฮอสพิเทลก็นับเป็นหนึ่งในมาตรการฉุกเฉินนั้น หมายถึงการใช้โรงแรมหรืออาคารอยู่อาศัยสาธารณะอื่นเพื่อให้บริการด้านการสาธารณสุขแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เพื่อเป็นพื้นที่ในการรักษาตัวและกักกันโรค ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพและแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก ฮอสพิเทลจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงรวมอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก มูลฝอยที่เกิดจากฮอสพิเทลนั้นเป็นมูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณมากตามนิยามของคำว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการก็จะเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในฮอสพิเทลนั้นยังไม่ถูกกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง และยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่มีผลบังคับทางกฎหมายอันเป็นแนวทางที่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของสถานพยาบาลซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ ผู้มีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างละเอียด ชัดเจน รวมถึงมีบทกำหนดโทษหากไม่ทำตาม มูลฝอยติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ถูกต้องตามหลักอนามัยไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการคัดแยก เก็บ ขนหรือกำจัด โดยเฉพาะการคัดแยก เนื่องจากหากสามารถคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างถูกต้อง ณ แหล่งกำเนิดก็จะมีส่วนช่วยให้ห่วงโซ่การจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือทั้งหมดมีโอกาสเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสที่จะมีมูลฝอยติดเชื้อหลุดรอดออกไปภายนอกจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สัมผัสอื่น ๆ ได้ มาตรการการจัดการที่ถูกต้องทำให้สามารถจำกัดพื้นที่ของมูลฝอยติดเชื้อ จำกัดการเคลื่อนย้ายและทำให้มูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัดในวิธีที่ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถแพร่กระจายได้ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันรวมถึงต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานการป้องกันการแพร่และการติดเชื้อตามที่กำหนดตลอดขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในฮอสพิเทลได้รับการกำกับดูแลให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสาธารณะ ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการแก้ไข ปรับปรุง และเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้สถานประกอบการประเภทฮอสพิเทลอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงว่าด้วยมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมถึงมีการกำหนดบทบาทของผู้ประกอบการในเรื่องการกำกับดูแลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างชัดเจนและมีบทลงโทษในกรณีที่ฝ่าฝืน หรือละเว้นการปฏิบัติดังกล่าว


มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ Jan 2022

มาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา, รุ่งนภา ชาติชำนิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยแม้ว่าจะมีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายสนับสนุนการศึกษาเพื่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการบริจาคแก่สถานศึกษาและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร แต่ยังไม่มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาของผู้เสียภาษีเงินได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าประเทศออสเตรเลีย ผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายด้านการศึกษาและรายจ่ายที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่มเติม โดยกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน ในขณะที่ประเทศอินเดียมีมาตรการบรรเทาภาระภาษี สามารถนำดอกเบี้ยจ่ายสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันการเงินมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศดังกล่าว ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีโดยตรงของประเทศไทยเพื่อช่วยให้เกิดแรงจูงใจและส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต


การสร้างสมดุลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานของรัฐของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ศุทธิกานต์ สนขุนทด Jan 2022

การสร้างสมดุลระหว่างการเปิดเผยข้อมูลหน่วยงานของรัฐของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ศุทธิกานต์ สนขุนทด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากที่ประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมไปถึงการสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่การเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมของเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นการบังคับใช้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีการบังคับใช้ในหน่วยงานภาครัฐ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ ของรัฐเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็น และใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนสามารถปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้ประกอบกับได้รับการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตามหน่วยงานราชการซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ฯ และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฯ จึงควรจัดให้มีกระบวนการหรือขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การจัดเก็บ การรักษา การใช้ หรือการโอนข้อมูลให้มีความปลอดภัย การกำหนดข้อยกเว้นของการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายเพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้มีความสัมพันธ์หรือแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ดังนั้นเอกกัตศึกษาเล่มนี้ ต้องการจะศึกษาว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 สามารถที่จะดำเนินการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการตามคำร้องขอได้หรือไม่ ขณะเดียวกันการเปิดเผยนั้นจะเป็การการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจนเกินสมควรหรือไม่ ดังนั้นจะมีหลักเกณฑ์หรือกลไกใดที่จะเข้ามาช่วยให้การดำเนินการการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างสมดุล และสอดคล้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อพิจารณาในภาพรวมควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่เป็นการทำลายการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของปัจเจกบุคคลจนเกินสมควร และสามารถเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยภายในหน่วยงานอาจจะมี 1.การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำร้องขอว่าผู้ร้องขอมีวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่ออะไร 2. กำหนดสิทธิและหน้าที่รวมถึงอำนาจในการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะถูกรวมอยู่ด้วย เมื่อทราบแล้วว่าใครมีหน้าที่อย่างไร มีสิทธิเข้าถึงได้มากน้อยแค่ไหน และ 3. สามารถเปิดเผยข้อมูลใดได้บ้าง กล่าวคือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลข่าวสารราชการ หากมีความจำเป็นต้องเปิดเผย ควรมีการลบ ตัดทอน หรือแก้ไขข้อมูลดังกล่าว โดยอาจจะใช้วิธีลดขนาดข้อมูล หรือทำให้เป็นข้อมูลนิรนาม (Anonymization) หรือเป็นการแฝงข้อมูล (Pseudonymization) 5. กำหนดความเสี่ยงสำหรับการเปิดเผยข้อมูลว่าข้อมูลประเภทแต่ละประเภท มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด จากนั้นก็ใช้ 6. มาตรการในการบริหารจัดการเข้ามาดูแลในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกัน 7. เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลควรจะได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ ทบทวนหน้าที่และขอบเขตงานของตนตลอดเวลา และ 8. ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีประโยชน์และประสิทธิภาพต่อสาธารณชนและปัจเจกชนมากน้อยเพียงใด เป็นต้น


แนวทางในการนำมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์มาปรับใช้ในประเทศไทย, ศวรรยารัตน์ อรรถีโสต Jan 2022

แนวทางในการนำมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์มาปรับใช้ในประเทศไทย, ศวรรยารัตน์ อรรถีโสต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ก่อให้เกิดมลพิษหลายประการ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ปัญหาจากการชะล้างพังทลายของดิน ปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษเสียง ความสั่นสะเทือน ปัญหาผลกระทบด้านการคมนาคมขนส่ง ปัญหาผลกระทบด้านสุนทรียภาพ และแหล่งธรรมชาติอันควรแก่การอนุรักษ์ ปัญหาผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นส่งผลให้เกิดความเสียหายด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และปัญหาด้านสุขภาพต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากฝุ่นละอองส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษานี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรการชดเชย และเยียวยาความเสียหายสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย Comprehensive Environmental Response, Compensation, and Liability Act หรือที่เรียกว่ากฎหมาย CERCLA ของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่มีการใช้ในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยขาดมาตรการการเยียวยาด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตปูนซีเมนต์ โดยปัจจุบันภาครัฐมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากการผลิตปูนซีเมนต์หลายมาตรการ แต่เป็นเพียงมาตรการในการควบคุมและบำบัดมลพิษเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการบางรายมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งเป็นความสมัครใจในการดำเนินการของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งไม่ถือเป็นมาตรการบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด ประการสำคัญหากผู้เสียหายจะดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการฟ้องร้องเป็นระยะเวลานาน ทั้งต้องมีการพิสูจน์ความเสียหาย และเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องเป็นจำนวนมาก จากการศึกษามาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หากมีการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบเสียภาษี คือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เป็นผู้มีหน้าเสียภาษี สอดคล้องกับหลักการจัดการสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ซึ่งเป็นการให้ผู้ก่อมลพิษแสดงความรับผิดชอบ และได้ตระหนักถึงมลพิษที่ตนได้ก่อ โดยอัตราภาษีที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.5%-1% หรือราคาตันละ 12 บาท โดยควรกำหนดให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษี ทั้งนี้จะทำให้องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาบริหาร ใช้จ่ายเพื่อการเยียวยาสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงทัศนียภาพ โดยไม่ต้องเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ประการที่สำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาโดยตรง อันเป็นผลจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บรายได้เอง และมีอำนาจในการจัดสรรการใช้รายได้นี้ ส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นในการรอเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลางซึ่งใช้ระยะเวลานาน ทั้งงบประมาณอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้การเยียวยานั้นไม่ทั่วถึงและอาจไม่ทันเวลา


การกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านในประเทศไทย, สุชาภา อัศวเลิศพลากร Jan 2022

การกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านในประเทศไทย, สุชาภา อัศวเลิศพลากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศไทย และศึกษาแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา (รัฐแคลิฟอร์เนีย) และประเทศสิงคโปร์ เพื่อนำมาตรการที่ศึกษาได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเป็นแนวทางดำเนินการในการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล เป็นการเฉพาะ มีแต่กฎหมายสำหรับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่เป็นการทั่วไป หากจะประกอบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เนื่องจากไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะที่รวบรวมอยู่ในฉบับเดียว และพบว่ากฎหมายที่กำกับดูแลนั้นยังไม่ครอบคลุมและสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้าน ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขออนุญาต ประกอบธุรกิจ และปัญหาด้านสุขลักษณะอนามัยซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จากการศึกษาการกำกับดูแลธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ ผู้เขียนได้แนวทางการปฏิบัติที่สามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ ทั้งด้านของการกำหนดกฎหมาย ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร การใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการในการขออนุญาตและลงทะเบียนประกอบ ธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร และการกำกับดูแลสุขลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ สุขลักษณะของสถานที่ประกอบและจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของอาหาร การประกอบอาหารและการจำหน่ายอาหาร สุขลักษณะของภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่สอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหาร ทำให้ การกำกับดูแลของรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจประกอบและจำหน่ายอาหารที่บ้านมีสุขลักษณะอนามัยที่ดีในการประกอบอาหาร ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับบริโภคอาหารที่ ถูกสุขลักษณะอนามัยและลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหาร


แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการผลิตและการให้ออโต้จีนัสวัคซีนในราชอาณาจักรไทย, หาญชัย วงศ์จักรแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ออโต้จีนัสวัคซีน เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อจุลชีพที่เป็นต้นเหตุของการระบาดในฟาร์ม เมื่อผลิตเสร็จจะนำวัคซีนนั้นกลับไปใช้ ณ ฟาร์มที่เกิดปัญหา ดังนั้นจึงเป็นวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อโรคระบาดที่เกิดขึ้นและสามารถลดความเสียหายและควบคุมการระบาดของโรคได้รวดเร็ว อย่างไรก็ดี สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และเครือรัฐออสเตรเลีย การออกใบอนุญาตการผลิต จะต้องออกตามใบสั่งจากสัตวแพทย์เท่านั้น โดยได้รับการยกเว้นจากการขึ้นทะเบียนตำรับยา เพื่อนำไปใช้กับสัตว์ที่วินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค เฉพาะในกรณีที่พบว่าไม่มีวัคซีนขึ้นทะเบียน หรือมีวัคซีนที่มีทะเบียนแต่ไม่ตรงสเตรนของสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคหรือมีหลักฐานแสดงว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ กฎหมายต่างประเทศที่ใช้ในการกำกับดูแล มีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง โดยขึ้นกับบริบทต่อการบริหารจัดการและปัญหาอุปสรรค รวมทั้งข้อจำกัดของแต่ละประเทศ เนื่องจากเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายของราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อกำกับออโต้จีนัสวัคซีน อยู่ภายใต้การกำกับของพระราชบัญญัติยา พุทธศักราช 2510 ในมาตรา 4 เป็นสาระสำคัญหลัก ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตสถานที่ ผลิต นำเข้า ขาย และขึ้นทะเบียน คือมาตรา 12 มาตรา 79 และ มาตรา 83 (3) สำหรับเรื่องการกำหนดและข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิต ขาย นำสั่ง ในราชอาณาจักรไทยจะอาศัยมาตรา 13 (1) และ 13 (5) ซึ่งเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต และมาตรา 13 (2) ยังคงมีข้อให้ตีความทางกฎหมายกับแนวทางปฏิบัติตามข้อเท็จจริง อันเนื่องมาจาก ระบบการเลี้ยงสัตว์เป็นระบบ “ฝูง” โดยมาตรา 13 (1) ได้กำหนดข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับแก่ “(1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม” กฎหมายที่ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อระเบียบการกำกับดูแลออโต้จีนัสวัคซีน โดยปัจจุบันบทบาทหน้าที่และอำนาจการรับผิดชอบหลัก เป็นของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่เพียงผู้เดียว ตามกระบวนการกรอบการปฏิบัติเดิม เพราะแท้จริงแล้ว หากกรมปศุสัตว์ จะกระทำการแทนก็ย่อมจะกระทำได้โดยชอบ นอกจากนี้ผู้เขียนยังเสนอให้มีการออกร่าง “กฎหมายเฉพาะ” สำหรับบริหารจัดการโดยเฉพาะ โดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับยา สารชีววัตถุ หรือวัคซีนสัตว์โดยตรงเป็นการเฉพาะ หรือทำการส่งเสริมสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (Bureau of Veterinary Biologics) ของกรมปศุสัตว์ ที่มีอยู่แล้วให้มาบริหารจัดการออโต้จีนัสวัคซีนเป็นการเฉพาะโดยประกอบด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ เป็นผู้ทำงานที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับออโต้จีนัสวัคซีนอย่างแท้จริง


แนวทางในการพัฒนาเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัคซีนขององค์การอาหารและยา ภายใต้สถานการฉุกเฉิน, อธิษฐ์ นพนิธิพัฒน์ Jan 2022

แนวทางในการพัฒนาเกณฑ์การขึ้นทะเบียนวัคซีนขององค์การอาหารและยา ภายใต้สถานการฉุกเฉิน, อธิษฐ์ นพนิธิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพิจารณาการนำเข้าวัคซีน ขององค์การอาหาร และยา ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยเปรียบเทียบกระบวนการและหลักเกณฑ์การจัดหาผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนดังกล่าวในต่างประเทศ รวมถึงศึกษาการปรับเปลี่ยนมาตรการ นโยบายและการบริหารจัดการวัคซีนของภาครัฐ และบทบาทขององค์การอาหารและยา ในการจัดหาวัคซีนในกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาวัคซีนต้นแบบและเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบายและหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนให้เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาด และเพื่อให้สอดคล้องกับสมมุติฐานของการศึกษานี้คือ ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรับเปลี่ยนขั้นตอนในการจดทะเบียนให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าวัคซีนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในสถานการณ์ที่ผ่านมาทางองค์การอาหารและยาได้ตระหนักถึงความจำเป็นของสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคที่มีความจำเป็นในการนำเข้าวัคซีนเข้ามาใช้โดยเร็ว ผ่านการประกาศอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์แบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค เพื่อลดขั้นตอนที่อาจจะยังไม่จำเป็นในการพิจารณาการขึ้นทะเบียนยาในขั้นต้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้การพัฒนาวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ว่าการนำเข้าวัคซีนนั้น แม้ว่าจะได้มีการขึ้นทะเบียนแบบมีเงื่อนไขจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ประเทศไทยยังคงจะต้องจะต้องนำวัคซีนเข้าสู่กระบวนการการขึ้นทะเบียนกับทางองค์การอาหารและยาอีกครั้ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซ้ำซ้อนกัน และไม่ได้ประสิทธิภาพอันควร ดังนั้นเพื่อให้ได้มาของวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และยังคงสามารถคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ใช้วัคซีนได้นั้น องค์การอาหารและยาควรยอมรับหลักฐานแสดงความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพจากผลการรับรองการขึ้นทะเบียนวัคซีนในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งถูกรับรองโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อที่จะนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการนำมาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที ซึ่งหากสามารถปรับเปลี่ยนมาตรการในการอนุมัติขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีนให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถนำเข้าและใช้งานวัคซีนได้ทันที โดยกระบวนการขึ้นทะเบียนที่มีอยู่ สามารถดำเนินการแบบคู่ขนานกับการใช้งาน หากกระบวนการได้มาของวัคซีน สามารถดำเนินการได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็จะสามารถนำมากระจายให้ประชาชนได้เร็วเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของมาตรการรับมือโรคระบาดนี้ ก็คือการป้องกันการติดต่อของโรคระบาด และลดอัตราการสูญเสีย เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ในสถานการณ์เร่งด่วนที่กระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการใด ๆ จะต้องพิจารณาและจัดลำดับความสำคัญให้ดี เนื่องจากจะต้องแข่งอยู่กับเวลาอยู่เสมอ กรอบการใช้ดุลพินิจของกระบวนการพิจารณาควรจะต้องมีความยืดหยุ่นให้สอดรับตามสถานการณ์และความฉุกเฉิน หากกรอบการใช้ดุลพินิจที่เข้มงวดจนเกินไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหาที่มากกว่าจากความล่าช้าในการขึ้นทะเบียน ทำให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ช้ากว่าประเทศอื่น


ปัญหา การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบัญชีนิติบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงินไทย, อัชฌารินทร์ วิระยกุลรัตน์ Jan 2022

ปัญหา การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงของบัญชีนิติบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงินไทย, อัชฌารินทร์ วิระยกุลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ในการจัดให้ลูกค้าแสดงตนและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าในส่วนผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง แต่การปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากการระบุหลักเกณฑ์ในกฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดการตรวจสอบข้อมูลผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงให้ชัดเจน ยากต่อการทำความเข้าใจ ข้อมูลที่สถาบันการเงินค้นหามาจากระบบเพื่อการตรวจสอบนั้น ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือไม่ ตรวจสอบจนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอแล้วหรือยัง ยากต่อการตรวจสอบ และปัจจุบันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ต่างอาศัยนิติบุคคลบังหน้าในการกระทำความผิด เพราะมีโครงสร้างธุรกิจที่ซับซ้อน ข้อแนะนำที่ 24 ของ FATF : แต่ละประเทศต้องดำเนินการให้มั่นใจว่ามีข้อมูลเพียงพอ ถูกต้อง และทันต่อเวลา เกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้รับผลประโยชน์และเกี่ยวกับการควบคุมนิติบุคคล โดยเป็นข้อมูลที่หน่วยงานที่มีอำนาจสามารถขอรับหรือเข้าถึงได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ประเทศดังกล่าวจะต้องใช้มาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิผลมาดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการนำบุคคลหรือตราสารไปใช้เพื่อการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และแต่ละประเทศต้องพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้สถาบันการเงิน สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงและข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมได้ ผลการประเมินของ The Asia/Pacific Group on Money Laundering : ได้ระบุว่า ประเทศไทยยังมีการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าไม่เพียงพอ แนวทางปฏิบัติในเรื่องการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินขาดความชัดเจน สถาบันการเงินขาดความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงส่งผลให้การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ครบถ้วน ขาดกฎหมายหรือข้อกำหนดที่ให้นิติบุคคลต้องแจ้งข้อมูลผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง กับหน่วยงานราชการอื่น และไม่มีการกำหนดมาตรมาตรการลงโทษทางปกครอง แม้ว่าประเทศไทย ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติผู้รับผลประโยชน์แท้จริงแล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของผู้มีอำนาจควบคุม จนอาจทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายได้ จึงขอเสนอแนะให้ สำนักงาน ปปง. ดำเนินการ 1. จัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อกำหนดคำนิยาม ของผู้มีอำนาจควบคุมให้ชัดเจน ตามตัวอย่างหลักเกณฑ์ของประเทศสิงคโปร์ ที่กำหนดคำว่าบุคคลหรือนิติบุคคลที่มีนัยสำคัญ คือ ผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท หรือ บริษัท ต่างประเทศถ้าบุคคลหรือนิติ บุคคล มีลักษณะดังนี้ (ก) มีสิทธิแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือถือครองโดยบุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัท ต่างชาติเสียงข้างมากในที่ประชุมกรรมการหรือเทียบเท่าบุคคลในทุกเรื่องหรือสาระสำคัญ (ข) ถือหุ้นทางตรงหรือทางอ้อมเกินกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเรื่องที่สมาชิกลงมติเลือก หรือ บุคคลเทียบเท่าในบริษัทหรือบริษัทต่างประเทศ หรือ (ค) สิทธิในการใช้สิทธิหรือการใช้สิทธิจริงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือการควบคุมบริษัทหรือบริษัทต่างชาติและฮ่องกง 2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์กฎหมาย รวมถึงแนวปฏิบัติในการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ของสถาบันการเงินให้ชัดเจน และเสริมสร้างความเข้าใจด้วยการจัดทำตัวอย่างการระบุรายละเอียดในแบบฟอร์มให้มีความเข้าใจมากขึ้น


แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต Jan 2022

แนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ยังไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง, อัมรินทร์ ปุณณุปูรต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษา เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการขนส่งทางถนน เป็นการขนส่งทางบกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การขนส่งสินค้าต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของสินค้าที่ทำการขนส่ง สินค้าควบคุมอุณหภูมิเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพของสินค้า ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าอาหารควบคุมอุณหภูมิและอุปกรณ์พิเศษเพื่อใช้ใน การขนส่ง ของสหภาพยุโรป ที่มีการกำหนดมาตรฐานพร้อมทั้งการตรวจสอบพาหนะและอุปกรณ์ที่ ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ เพื่อนำมาหาแนวทางที่เหมาะสมในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ อีกทั้งประเทศไทยยังได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่ภาคผนวก 3 ว่าด้วยเรื่องการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ได้กล่าวถึงมาตรฐานและโครงสร้างที่เหมาะสมของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้ แต่ภาคผนวกนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นเพียงการแนะนำแนวทางสำหรับประเทศภาคีเกี่ยวกับข้อกำหนดของการขนส่งสินค้าประเภทนี้เท่านั้น ไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ จะเห็นได้ว่า ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานของพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศไว้แต่อย่างใด จากการศึกษากฎหมายภายในของประเทศไทย พบว่า ยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับพาหนะและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนโดยเฉพาะ มีเพียงกฎหมาย ที่กำกับดูแลเฉพาะตัวสินค้าและกำกับดูแลพาหนะหรือการขนส่งเป็นการทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ในการจัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิทางถนนระหว่างประเทศ ควรมีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องการขนส่งสินค้าประเภทนี้ไว้โดยเฉพาะขึ้นมาใหม่ ในรูปแบบของพระราชบัญญัติ ที่มีข้อกำหนดด้านพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ การตรวจสอบอุปกรณ์ และการประสานกฎระเบียบหรือการอำนวยความสะดวกในการขนส่งระหว่างประเทศ มีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานกำกับดูแล การตรวจและปล่อยผ่านสินค้า ให้กรมศุลกากรมีหน้าที่รับผิดชอบ และในส่วนของสินค้าที่ขนส่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น ผักผลไม้ หน่วยงาน ที่ดำเนินการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของสินค้าควบคุมอุณหภูมิ จะมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติจริงในการขนส่งทางถนน


มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง, ภัทร คำสวัสดิ์ Jan 2022

มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง, ภัทร คำสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดอกไม้เพลิงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มอบความบันเทิงแก่ผู้ใช้งานและผู้รับชมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผ่านความงดงามทางแสงสีเสียง อย่างไรก็ตาม ความสวยงามของดอกไม้เพลิงนั้นมีความอันตรายที่ซ่อนอยู่ ดอกไม้เพลิงจึงเป็นหนึ่งในวัตถุอันตรายที่รัฐจำเป็นต้องเข้าไปควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่าย เนื่องจากหากมีการปล่อยให้ใช้ดอกไม้เพลิงได้อย่างอิสระ จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศ และความเสียหายจากการระเบิดและความร้อนซึ่งเป็นเหตุอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ดังนั้น รัฐจึงต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพในการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงของปัจเจกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการในการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงอย่างเข้มข้นผ่านระบบการขออนุญาต โดยเฉพาะการขออนุญาตเป็นผู้ค้าดอกไม้เพลิง ผู้ประสงค์จะจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงต้องยื่นขออนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของร้านค้าดอกไม้เพลิง ขณะที่ดอกไม้เพลิงที่ยิงขึ้นสู่อากาศนั้น ผู้ที่ประสงค์จะจุดก็ต้องขออนุญาตต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่ อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ถูกคลี่คลายดังที่ปรากฎในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้น มาตรการทางภาษีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษีสรรพสามิต จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการนำมาปรับใช้เพื่อการควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง เนื่องจากภาษีสรรพสามิตเป็นภาษีที่มีการเก็บอย่างเฉพาะเจาะจงกับบางสินค้าที่รัฐเห็นว่าเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งดอกไม้เพลิงก็เป็นสินค้าที่มีลักษณะเช่นว่านั้น ดังนั้นรัฐควรลดการบริโภคดังกล่าวผ่านกลไกทางภาษีสรรพสามิต และเพื่อสะท้อนถึงต้นทุนภายนอกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐเพนซิลเวเนีย และประเทศจีนเป็นตัวอย่างประเทศที่มีการปรับใช้มาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง และมีการใช้ระบบขออนุญาตสำหรับผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิงสำหรับผู้บริโภค รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของผู้จัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง หากประเทศไทยนำมาตรการทางภาษีของต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อควบคุมการบริโภคและการจัดจำหน่ายดอกไม้เพลิง โดยการเพิ่มดอกไม้เพลิงเข้าไปในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 จะสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิต และยังสอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์อีกด้วย เนื่องจากส่งผลให้ความต้องการในสินค้าประเภทดอกไม้เพลิงมีปริมาณลดลงจากการที่ทั้งผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่ายมีต้นทุนในดอกไม้เพลิงที่สูงขึ้น


แนวทางแก้ไขปรับปรุงนิยามของสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547, สมพล โตถาวร Jan 2022

แนวทางแก้ไขปรับปรุงนิยามของสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547, สมพล โตถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวในประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมการบริการหลักของประเทศโดยมีการกำลังการเติบโต และมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการพื้นฐานที่รองรับนักท่องเที่ยวในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เมื่อพิจารณากฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรมที่กล่าวถึงคำนิยามของโรงแรมมีอยู่เพียง 1 ฉบับคือ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 โดยเป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้เป็นระยะเวลานานซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจจะไม่สอดคล้อง และทันต่อสถานการณ์ของสถานที่พักในปัจจุบัน นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า คำนิยามของโรงแรมอยู่ในการควบคุมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ทำให้ธุรกิจสถานที่พักหลายแห่งไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของคำนิยามดังกล่าว และทำให้เกิดปัญหาจากการบังคับใช้คำนิยามของสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามมา อาทิ การแบ่งประเภทของโรงแรมในประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมสถานที่พักในหลากหลายรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตามที่กฎหมายได้มีการแบ่งประเภทของโรงแรมออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนห้องพัก และจำนวนผู้เข้าพัก อย่างไรก็ตามการจัดประเภทของโรงแรมดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงสถานที่พักในหลากหลายรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงทำให้สถานที่พักบางแห่งไม่ถูกจัดเป็นสถานที่พักที่เป็นโรงแรมตามกฎหมาย จากการศึกษาเปรียบเทียบ คำนิยามของ “สถานที่พักที่เป็นโรงแรม” และ “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม”ของประเทศไทย รวมถึงมาตรการทางกฎหมายต่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร พบว่าคำนิยามของสถานที่พักที่เป็นโรงแรมมีลักษณะที่คลอบคลุมถึงสถานที่พักอื่น ๆ ด้วย เช่น อาศัย บ้านพัก และเกสท์เฮ้าส เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงสถานที่ของรัฐ และเป็นสถานที่ที่ต้องมีความพร้อมที่จะเสนอบริการ และเต็มใจที่จะรับนักเดินทาง โดยผู้ประกอบธุรกิจสถานที่พักไม่มีสัญญาพิเศษต่อผู้เข้าพัก และ คำนิยามของคำว่าสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมของประเทศสิงคโปร์กำหนดยกเว้นให้สถานที่พักคือ บ้านพักซึ่งได้รับใบอนุญาตตาม Merchant Shipping Act ให้เป็นบ้านพักสำหรับผู้แสวงบุญชาวอิสลาม สถานที่ให้เป็นบ้านพักสำหรับลูกเรือภายใต้ Nation Maritime Board Act และ สถานที่อื่น ๆ ซึ่งได้รับการยกเว้นโดยกฎหมาย อาทิ หอพักนักศึกษา ที่พักสำหรับสมาชิกของสมาคม หรือสถาบันอื่น ๆ ที่ได้รับอนุมัติ และคำนิยามของคำว่า “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายถึง สถานที่พักที่เจ้าของใช้สิทธิ์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในการเลือกแขก หรือนักเดินทางที่จะมาใช้บริการ หรือห้ามมิให้บุคคลบางกลุ่ม เข้าใช้บริการสถานที่พักโดยสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ไม่มีสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ประเทศไทยควรนำกฎหมายประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักรมาปรับใช้กับการกำหนดคำนิยามของโรงแรมในเรื่องข้อจำกัดของห้องพัก และจำนวนผู้เข้าพักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อธุรกิจสถานที่พักในปัจจุบัน และเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสถานที่พักได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐอย่างเท่าเทียม


การใช้อำนาจรัฐในการเเก้ไขสัญญาตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐเเละเอกชน พ.ศ.2562, เพลินวรา เหมโกทวีทรัพย์ Jan 2022

การใช้อำนาจรัฐในการเเก้ไขสัญญาตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐเเละเอกชน พ.ศ.2562, เพลินวรา เหมโกทวีทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีกฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public - Private Partnership : PPP คือ พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีการบัญญัติถึงการใช้อำนาจรัฐในการแก้ไขสัญญาเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในมาตรา 50 (2) อันนำไปสู่ประเด็นการศึกษา คือ การวิเคราะห์ความเป็นสัญญาทางปกครองของสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนการวิเคราะห์ขอบเขตการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองตามความ ในมาตรา 50 (2) ตลอดจนการพิเคราะห์กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง และการพิเคราะห์ระยะเวลาเริ่มต้นมีผลของสัญญาซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ตามความ ในมาตรา 50 (2) จากการศึกษา พบว่าสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน มีลักษณะเป็นสัญญาทางปกครองโดยสภาพ และเมื่อพิจารณาตามความในมาตรา 50 (2) แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จะพบว่าการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 50 (2) มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจแก้ไขสัญญาโดยฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครอง ซึ่งการใช้อำนาจนั้นต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตแห่งการแก้ไขสัญญาตามหลักสัญญา และหลักกฎหมายมหาชน ตลอดจนการแก้ไขสัญญาจะต้องมาจากเหตุที่คู่สัญญาไม่อาจคาดหมายได้ในขณะที่ทำสัญญา และจะต้องไม่เป็นการแก้ไขสัญญาในสาระสำคัญถึงขนาดที่ทำให้กลายเป็นสัญญาใหม่ และยังปรากฏว่าบทบัญญัติมาตรา 50 (2) ขาดกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายปกครอง และขาดกระบวนการในการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาการมีผลของสัญญา ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมแล้วตามมาตรา 50 (2) ผู้เขียนเสนอให้มีการบัญญัติให้สัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เป็นสัญญาทางปกครองโดยบทบัญญัติของกฎหมาย และเสนอให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ ขอบเขตการใช้อำนาจเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครองในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในกรณีที่เป็นสาระสำคัญไว้ ตลอดจนเสนอให้มีการบัญญัติขั้นตอนหรือกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโดยการกำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายปกครองจะต้องนำส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่จะเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 50 (2)ไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อตรวจพิจารณา รวมทั้งเสนอ ให้มีการบัญญัติให้ศาลปกครองเป็นองค์กรผู้มีอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองในการแก้ไขสัญญาตามมาตรา 50 (2) ได้ และเห็นควรเสนอให้มีการตราและใช้บังคับกฎหมายอันเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ในเรื่องสัญญาทางปกครอง เพื่อเป็นแนวทางและมาตรฐานขั้นต่ำของการกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาทางปกครอง


แนวทางการพัฒนากฎหมายการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยรูปแบบผสมระหว่างการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการ, เอเซีย หยุ่นจิตต์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนากฎหมายการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยรูปแบบผสมระหว่างการไกล่เกลี่ยและการอนุญาโตตุลาการ, เอเซีย หยุ่นจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยรูปแบบผสม (Mixed Mode / Hybrid Process) โดยการนำเอาการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยและการระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการรวมเข้าด้วยกันซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ในข้อพิพาทเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ โดยมุ่งจะศึกษาแนวความคิดของการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยรูปแบบผสมในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ (Act) ในเขตอำนาจศาลต่าง ๆ (Jusrisdiction) หลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่อยู่ในกฎของสถาบันการระงับข้อพิพาท (Rules) ตลอดจนแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional Practice Guideline) รวมถึงวิเคราะห์การบังคับตามผลลัพธ์ของการระงับข้อพิพาทด้วยรูปแบบผสมไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคำชี้ขาดตามความยินยอม (Consent Award) ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ค.ศ. 1958 (New York Convention 1958) และการบังคับในฐานะข้อตกลงเพื่อการระงับข้อพิพาท (Settlement Agreement) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยข้อตกลงการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศอันเป็นผลมาจากการไกล่เกลี่ย ค.ศ. 2019 (Singapore Convention on Mediation 2019) เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบกฎหมายกฎหมายการระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยรูปแบบผสมที่เหมาะสมในบริบทของประเทศไทย


เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญภายใต้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2562), จักรภพ สิทธิบุณยพัชร์ Jan 2022

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญภายใต้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2562), จักรภพ สิทธิบุณยพัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่มาวิวัฒนาการ และขอบเขตของการคุ้มครองเสรีภาพและขอบเขตของการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อคำวินิจฉัยศาลอันถึงที่สุดแล้ว ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2561 และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2562 โดยศึกษาเปรียบเทียบการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ ศึกษาแนวทางการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วอย่างเหมาะสม จากการศึกษาพบว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วกับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของประเทศไทย มีแนวคิด ทฤษฎี ที่มาวิวัฒนาการ และขอบเขตของการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้ว แตกต่างกับกฎหมายประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทำให้บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วเกิดความไม่ชัดเจน และการบังคับใช้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วของบุคคล ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงข้อเสนอแนะให้แก้ไขข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2562 ข้อ 10 และ ข้อ 11 เพื่อให้การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลอันถึงที่สุดแล้วของบุคคลได้รับความคุ้มครองและการบังคับใช้ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นไปอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย


การยกเลิกความผิดทางอาญากรณีนายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้แก่ลูกจ้าง, ชลนที หนูบุญ Jan 2022

การยกเลิกความผิดทางอาญากรณีนายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้แก่ลูกจ้าง, ชลนที หนูบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สัญญาจ้างแรงงาน โดยหลักแล้วเป็นสัญญาซึ่งอยู่บนพื้นฐานสัญญาทางแพ่ง ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 โดยมีวัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะเป็นกรณีลูกจ้างตกลงทำงานให้นายจ้าง และนายจ้างก็ตกลงจ่ายสินจ้าง หรือค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ซึ่งนอกจากค่าจ้างแล้ว นายจ้างก็อาจต้องจ่ายเงินอื่น ๆ ให้แก่ลูกจ้างด้วย เช่น ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยเงินดังกล่าวในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะขอเรียกว่า “เงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541” ซึ่งหากนายจ้างไม่จ่ายก็เท่ากับว่านายจ้างกระทำผิดสัญญา อย่างไรก็ตาม การผิดสัญญาจ้างแรงงานในกรณีไม่จ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แม้ว่าจะเป็นความผิดทางแพ่ง แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กลับกำหนดให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดอาญา ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ดี กรณีดังกล่าวลูกจ้างส่วนใหญ่มิได้ประสงค์จะให้มีการดำเนินคดีอาญากับนายจ้าง เพียงแต่ประสงค์จะเรียกร้องค่าจ้างตามสิทธิพึงได้เท่านั้น ซึ่งหากมีการลงโทษอาญานายจ้างแล้ว ลูกจ้างก็ยังคงต้องดำเนินการเรียกร้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ อยู่เช่นเดิม ได้แก่ การฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมิได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางอาญาเลย นอกจากนี้ ความผิดดังกล่าวยังไม่อยู่บนพื้นฐานการกำหนดโทษหรือวัตถุประสงค์การลงโทษในทางอาญา ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจจะขัดกับหลักการในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อีกด้วย เป็นผลให้เกิดกฎหมายอาญาเฟ้อ และก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกความผิดและโทษทางอาญากรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้แก่ลูกจ้าง และแสวงหาแนวทางอื่นในการจัดการกับความผิดดังกล่าวแทน


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : กรณีกิจกรรมสื่อมวลชนและกิจกรรมของรัฐสภา, ญาณิศา ยอดประเสริฐ Jan 2022

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : กรณีกิจกรรมสื่อมวลชนและกิจกรรมของรัฐสภา, ญาณิศา ยอดประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บุคคลสาธารณะมักถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลมาประมวลผลในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไม่มีขอบเขต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมของสื่อมวลชนที่มักเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะมากเกินความจำเป็น และกรณีของสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะของประเทศจึงต้องถูกตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงาน แม้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดหน้าที่และอำนาจไว้ แต่ก็ถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลมาประมวลผลในเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจเช่นกัน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 4 มีข้อยกเว้นที่ไม่นำพระราชบัญญัติฉบับนี้มาใช้กับกิจกรรมสื่อมวลชนตาม (3) และกิจกรรมของสภาตาม (4) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของบุคคลสาธารณะในกิจกรรมสื่อมวลชนและกิจกรรมของสภาซึ่งได้รับข้อยกเว้นไม่นำพระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาบังคับใช้ตามมาตรา 4 วรรค 1 ว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะทั้ง 2 กิจกรรมได้รับยกเว้นเพียงใดโดยศึกษาเปรียบเทียบบรรทัดฐานความเป็นส่วนตัวของบุคคลสาธารณะในประเทศไทยกับต่างประเทศ พบว่ากิจกรรมสื่อมวลชนของไทยมีการรายงานข่าวข้อมูลของบุคคลสาธารณะเกินความจำเป็น ส่วนกิจกรรมของสภามีการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ให้อำนาจไว้แล้ว เพียงแต่ทั้ง 2 กิจกรรมไม่มีการกำหนดมาตรฐานในการประมวลผลอันเป็นแนวปฏิบัติที่ดีไว้ ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการจัดทำคู่มือหรือแนวทางสำหรับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของทั้ง 2 กิจกรรมเพื่อให้เกิดชัดเจนและสามารถคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะได้อย่างเหมาะสม


การนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง, ณัฐธิดา เทพรักษ์ Jan 2022

การนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง, ณัฐธิดา เทพรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงหลักเกณฑ์การนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง เป็นบทบัญญัติตามมาตรา 75/4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2559 ประกอบระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 โดยได้นำบทบัญญัติเรื่องมาตรการปรับที่ปรากฏในกฎหมายต่างประเทศมาศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และนำมาพัฒนาบทบัญญัติต่างๆ เพื่อให้การใช้มาตรการปรับมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติเรื่องผู้มีสิทธิร้องขอใช้มาตรการปรับตามข้อ 4 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 กำหนดไว้ว่า ผู้มีสิทธิร้องขอใช้มาตรการปรับได้มีเพียงคู่กรณี แต่ไม่ได้บัญญัติเพื่อให้คำนิยามว่า คู่กรณีหมายถึงผู้ใดบ้าง อีกทั้งไม่ได้มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการเรียกค่าปรับซ้ำได้ หากยังไม่มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครอง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวทางการเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าเกินสมควร พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มเติมนิยามคำว่า คู่กรณี และเพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการเรียกค่าปรับซ้ำได้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐชำระค่าปรับต่อศาล แต่ความปรากฏต่อศาลว่า ยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วน ให้ศาลมีอำนาจสั่งปรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวทุกหกสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการชำระค่าปรับ จนกว่าจะมีการปฏิบัติตามคำบังคับ ทั้งนี้ เพื่อให้บทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการปรับมาใช้ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองไทยมีความชัดเจนและเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนวยความยุติธรรมโดยแท้จริง


การกระทำร่วมกันโดยใช้อัลกอริทึมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า, ณิชากร ขอนทอง Jan 2022

การกระทำร่วมกันโดยใช้อัลกอริทึมภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า, ณิชากร ขอนทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกระทำร่วมกันโดยอาศัยอัลกอริทึมของผู้ประกอบธูุรกิจเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดการลด จำกัด หรือผูกขาดการแข่งขัน อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2560 มาตรา 54 อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่ปรากฏคดีเกี่ยวกับการพิจารณาการกระทำร่วมกันโดยใช้อัลกอริทึมของผู้ประกอบธุรกิจ เนื่องด้วยถ้อยคำตามบทบัญญัติที่ไม่อาจตีความได้หากปราศจากพยานหลักฐานหรือพฤติการณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่จะชี้ถึงการมีอยู่ของการกระทำร่วมกันโดยใช้อัลกอริทึมของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นข้อบกพร่องในการกำกับดูแลการกระทำดังกล่าว จึงควรมีการวางแนวทางหรือกำหนดมาตรการเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หรือแนวทางการพิจารณาการกระทำร่วมกันโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรืออัลกอริทึม เพื่อให้สอดคล้องกับระบบกฎหมายของประเทศไทยและบทลงโทษจากการฝ่าฝืนมาตราดังกล่าว ได้แก่ โทษทางอาญาและโทษทางปกครอง เพื่อความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายและเท่าทันต่อเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มิเช่นนั้นจะเกิดสุญญากาศทางกฎหมายของกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฉวยโอกาสในการแสงหาประโยชน์ร่วมกันโดยอาศัลอัลกอริทึม ทั้งนี้จากการศึกษาเห็นว่าแนวทางของกฎหมายต่างประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาแนวทางการตีความกฎหมายการแข่งขันทางการค้า หรือแนวทางการพิจารณาของศาลในประเทศต่างๆ ในประเด็นการกระทำร่วมกันโดยใช้อัลกอริทึมของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย


ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล, ดลญา แสงดาว Jan 2022

ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล, ดลญา แสงดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้เยาว์เป็นบุคคลเปราะบาง เนื่องจากมีความสามารถอย่างจำกัดในการให้ความยินยอมอย่างอิสระ ซึ่งการให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาว่า กิจกรรมใดที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยลำพัง รวมถึงความเหมาะสมของกำหนดอายุของผู้เยาว์ที่สามารถให้ความยินยอมด้วยตนเอง ตามมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตลอดจนการนำบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 มาใช้เป็นข้อยกเว้นกรณีที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมในการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลด้วยตนเองได้ ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้โดยลำพัง ได้แก่ การให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการอนุญาตให้ผู้ปกครองเข้าถึงหรือขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลแทนผู้เยาว์ ในขณะที่กำหนดอายุของผู้เยาว์ยังมีความไม่สอดคล้องกับหลักการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิดสติปัญญาของผู้เยาว์ และการตีความและปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 22 มาตรา 23 และมาตรา 24 ยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก ผู้เขียนจึงเห็นควรให้มีการนำหลักการของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ประเทศอังกฤษ ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องความสามารถและกำหนดอายุในการให้ความยินยอมของผู้เยาว์ ตลอดจนมาตรฐานในการตรวจสอบความยินยอมของผู้ปกครอง มาพัฒนาและปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของประเทศไทยต่อไป


วิวัฒนาการการกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์, พุฒิพงศ์ จวบความสุข Jan 2022

วิวัฒนาการการกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์, พุฒิพงศ์ จวบความสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและแนวคิดของการกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์ของประเทศไทย ตามที่ปรากฏใน กฎหมายมังรายศาสตร์ กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบัน รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ ประเทศอินเดีย และประเทศฝรั่งเศสโดยอธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ รวมถึงสภาพสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบในการกำหนดความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นความผิดที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ ตลอดจนสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดมาทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย อีกทั้งมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายและสังคมวิทยากฎหมายพบว่า การกำหนดความผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย อาณาจักรล้านนาซึ่งเป็นอาณาจักรใกล้เคียง สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยปฏิรูปกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยแปรผันตามปัจจัยด้านสังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการวิวัฒน์ของกฎหมาย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงแนวความคิดของการบัญญัติความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยแบ่งช่วงการศึกษาออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงยุคกฎหมายก่อนสมัยใหม่ และช่วงยุคกฎหมายสมัยใหม่ โดยถือเอาช่วงการปฏิรูปกฎหมายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดความผิดของแต่ละประเทศในแต่ละช่วงเวลาได้ ทั้งนี้การศึกษาพบว่า แนวความคิดการกําหนดความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ของประเทศไทย และต่างประเทศมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละยุคสมัย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองเปลี่ยนแปลงไปจากการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของผู้ปกครอง หรือทรัพย์สินที่มีความสำคัญต่อชุมชนหรือรัฐ มาเป็นการมุ่งคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินของเอกชนเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของเอกชนและรัฐ อีกทั้งมีการแยกความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปกฎหมายของแต่ละประเทศยังคงมุ่งคุ้มครองทรัพย์สินบางประเภทที่มีความสำคัญตั้งแต่ครั้งอดีตกาล การกำหนดความรับผิดทางอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์จึงมิได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน อันมีผลต่อแนวความคิดในการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ และสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของบุคคล ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนของการปฏิรูปกฎหมายของแต่ละประเทศแตกต่างกันกล่าวคือ ประเทศฝรั่งเศสเกิดจากสภาวะการขับเคลื่อนภายในประเทศในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง ในขณะที่ประเทศอังกฤษเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประเทศไทยเกิดจากสภาวะกดดันทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่างจากประเทศอินเดียซึ่งการปฏิรูปเกิดจากสภาวะการบังคับโดยตรงเนื่องจากอยู่ภายใต้อาณานิคม


มาตรการคุ้มครองชั่วคราวในการอนุญาโตตุลาการ, ยศศจี คงบริรักษ์ Jan 2022

มาตรการคุ้มครองชั่วคราวในการอนุญาโตตุลาการ, ยศศจี คงบริรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องการให้อำนาจอนุญาโตตุลาการในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และบทบาทของศาลในการให้ความช่วยเหลืออนุญาโตตุลาการในมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว โดยศึกษาจากกฎหมายแม่แบบ ปี ค.ศ. 1985 และปี ค.ศ. 2006 กฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการอังกฤษ สิงคโปร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน นำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการไทย พบว่ากฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการอังกฤษและสิงคโปร์ได้บัญญัติให้อำนาจอนุญาโตตุลาการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวไว้อย่างชัดเจน แม้ประเทศอังกฤษจะไม่ได้รับเอากฎหมายแม่แบบมาเป็นแบบในการร่างกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการก็ตาม ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้นำกฎหมายแม่แบบมาเป็นแบบในการร่าง โดยกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการสงวนอำนาจในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวไว้กับศาล แต่หากคู่พิพาทยินยอมให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว อนุญาโตตุลาการก็มีอำนาจเช่นว่านั้น สำหรับประเทศไทย แม้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีกฎหมายแม่แบบ ปี ค.ศ. 1985 เป็นแบบในการร่างแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติให้อำนาจอนุญาโตตุลาการในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับกฎหมายแม่แบบ ทำให้เกิดปัญหาการตีความเรื่องอำนาจในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของอนุญาโตตุลาการ และการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ออกโดยอนุญาโตตุลาการ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยแก้ไขมาตรา 16 เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีอำนาจอย่างชัดเจนในการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว พร้อมกำหนดประเภทของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่อนุญาโตตุลาการสามารถออกคำสั่งได้ และให้ศาลยอมรับและบังคับใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ออกโดยอนุญาโตตุลาการ


การรับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยและการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย, ภูริณัฐ อุนจะนำ Jan 2022

การรับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยและการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย, ภูริณัฐ อุนจะนำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นเรื่องการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ย ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องหน้าที่ในการรักษาความลับของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย การรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยอันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ โดยพบว่าพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้หน้าที่ในการรักษาความลับเป็นหน้าที่โดยเคร่งครัด โดยกำหนดเฉพาะกรณีที่พิสูจน์ได้ถึงความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการไกล่เกลี่ย ศาลจึงมีคำสั่งไม่บังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ ผู้วิจัยเห็นความไม่ชัดเจนว่าหากเป็นกรณีอื่น ๆ จะได้รับการยกเว้นหน้าที่ในการรักษาความลับหรือไม่ และกรณีไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับจนเกิดความเสียหายแล้ว จะกำหนดความรับผิดอย่างไร เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายในต่างประเทศแล้ว พบว่าข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยย่อมเป็นความลับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่กระทบต่อสิทธิของฝ่ายเจ้าของข้อเท็จจริง หรือ “without prejudice” เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น เพื่อป้องกันภยันตรายแก่สาธารณะ เป็นต้น หรือเป็นกรณีบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท โดยข้อยกเว้นดังกล่าวส่งผลให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ โดยการพิจารณาว่ารับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน พิจารณาจากความจำเป็นในการรับฟังเปรียบเทียบกับคุณค่าของการรักษาความลับว่าสมควรให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่ากัน หากความจำเป็นในการรับฟังมีมากกว่า ย่อมเป็นเหตุยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งในส่วนดังกล่าวกฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีจำเป็นอื่น ๆ ได้ และยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยจะต้องรับผิดในความเสียหาย อันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ หากเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงควรให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งส่วนท้ายผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น


การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะโดยองค์กรตุลาการ, มนัสวี ดวงเกิด Jan 2022

การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะโดยองค์กรตุลาการ, มนัสวี ดวงเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทย และการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยองค์กรตุลาการ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศประกอบกับหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และความเห็นทั่วไปฉบับที่ 37 (General comment) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในฐานะตัวอย่างการใช้ดุลพินิจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะและตัวอย่างการตีความกฎหมายให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและองค์กรตุลาการ ตลอดจนศึกษาปัญหาการตรวจสอบดุลพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะโดยองค์กรตุลาการภายใต้หลักความจำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตยและความได้สัดส่วน และการตรวจสอบดุลพินิจที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และเกาหลีใต้ประกอบกับหลักสากล พบว่าโครงสร้างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะในเรื่องดุลพินิจกลับบัญญัติขอบเขตในการใช้ดุลพินิจไว้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีกระบวนการตรวจสอบโดยองค์กรตุลาการที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างกลไกหรือแนวทางการใช้ดุลพินิจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้หลักความจำเป็นและหลักความสัดส่วนทำให้สิทธิมนุษยชนของประชาชนได้รับความคุ้มครอง จากการศึกษาพบว่า การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดูแลการชุมนุมสาธารณะในประเทศไทยถูกใช้ไปอย่างไม่มีมาตรฐานตามหลักสากล และมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายการชุมนุมสาธารณะ อีกทั้ง ยังพบปัญหาโครงสร้างทางกฎหมายของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะในเรื่องดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในขณะที่การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยองค์กรตุลาการยังมีบทบาทน้อยมาก กล่าวคือ องค์กรตุลาการยังมีบทบาทไม่เพียงพอในการนำหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วนมาใช้ตรวจสอบดุลพินิจเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปัญหาการตรวจสอบดุลพินิจที่ผิดพลาดซึ่งศาลยุติธรรมมักจะมองข้ามการนำมาพิจารณาดุลพินิจ ด้วยเหตุเหล่านี้จึงส่งผลให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนชาวไทยถูกลิดรอนเกินสมควร


แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา, รติมา สุระรัตน์ชัย Jan 2022

แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา, รติมา สุระรัตน์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาในประเทศไทย สืบเนื่องจากการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาได้รับยกเว้นไม่ให้อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เว้นแต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทำให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในชั้นสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาต้องอาศัยมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีข้อจำกัดและมีมาตรฐานที่ไม่เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จากการศึกษาพบว่า บทยกเว้นมิให้การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นั้นอาจเป็นการยกเว้นที่กว้างขวางเกินกว่าความจำเป็น เพราะหากมีความจำเป็น รัฐพึงกำหนดเป็นกฎเกณฑ์เฉพาะหรือข้อยกเว้นรายมาตรามากกว่าการจำกัดการคุ้มครองโดยเด็ดขาด จะเห็นได้จากกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศที่การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญายังอยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลควบคู่ไปกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยให้สอดคล้องกับเกณฑ์การปกป้องสิทธิ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยให้สอดคล้องกับเกณฑ์การปกป้องสิทธิ ควบคู่ไปกับการกำหนดให้การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญาอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เฉพาะในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยยกเว้นมิให้นำหลักความโปร่งใสมาใช้บังคับแก่การสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา พร้อมกำหนดกลไกการใช้สิทธิโดยอ้อมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล


มาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกเพื่อป้องกันสังคม, วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์ Jan 2022

มาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกเพื่อป้องกันสังคม, วิวรรธน์ ดำรงค์กุลนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษา “มาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกเพื่อป้องกันสังคม” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบมาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกที่ควรจะเป็นเพื่อป้องกันสังคม จากการศึกษาพบว่า มาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกในส่วนของมาตรา 56 และมาตรา 57 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และกรณีอื่น ๆ ยังไม่มีความสมดุลระหว่างประโยชน์ของผู้เสียหายและความปลอดภัยของสังคมกับสิทธิ เสรีภาพ และโอกาสของผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่มีความสมดุลระหว่างความปลอดภัยของสังคมตามหลักป้องกันสังคม (social protection principle) กับสิทธิ เสรีภาพ และโอกาสของผู้กระทำความผิด สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลดังกล่าวข้างต้นขึ้นมาคือ ณ ปัจจุบันกระบวนทัศน์หลัก (major paradigm) เกี่ยวกับมาตรการนี้ยังคงอยู่ในยุครัฐสวัสดิการ (welfare state era) ที่สิทธิ เสรีภาพ และโอกาสของผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นกรณีที่มาตรการนี้ได้คำนึงถึง “สิทธิ เสรีภาพ และโอกาสของผู้กระทำความผิด” เป็นสำคัญ ส่งผลให้มาตรการนี้ทั้งในด้านบทบัญญัติ (law) และการปรับใช้บทบัญญัติ (application of law) ตั้งอยู่บนฐานความคิดของสิทธิ เสรีภาพ และโอกาสของผู้กระทำความผิดเป็นหลัก สภาวะเช่นนี้จึงก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญตามมาคือ “ความไม่ปลอดภัยแก่สังคม” วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับมาตรการรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษจำคุกจากยุครัฐสวัสดิการสู่ยุคสังคมแห่งความเสี่ยง (social era of risk) ที่วงการนิติศาสตร์ได้มีการตั้งข้อสังเกต ตระหนัก และให้ความสำคัญกับความเสี่ยงอันเป็นผลมาจากการมีอยู่และการปรับใช้มาตรการนี้อย่างจริงจังเนื่องจากนักนิติศาสตร์มีความวิตกกังวลว่าผลที่เป็นภยันตราย (การประกอบอาชญากรรม) จากการมีอยู่และการปรับใช้มาตรการนี้จะเกิดขึ้นกับตนเอง ประชาชน และ/หรือสังคม ซึ่งเป็นกรณีที่มาตรการนี้ได้คำนึงถึง “ความปลอดภัยของสังคม” เป็นสำคัญ ส่งผลให้มาตรการนี้ทั้งในด้านบทบัญญัติและการปรับใช้บทบัญญัติจะตั้งอยู่บนฐานความคิดของการป้องกันสังคมตามหลักป้องกันสังคมเป็นหลัก เพื่อจำกัด ควบคุม และป้องกันไม่ให้เกิดการประกอบอาชญากรรมขึ้นในอนาคต สภาวะเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีตามมาคือ “ความปลอดภัยแก่สังคม” นอกจากข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้นแล้ว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอรูปแบบมาตรการนี้ที่ควรจะเป็นเพื่อป้องกันสังคม ซึ่งหากมีการนำรูปแบบดังกล่าวข้างต้นไปปรับใช้ จะช่วยสร้างความปลอดภัยแก่สังคมมากยิ่งขึ้น