Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 601 - 627 of 627

Full-Text Articles in Law

การวิเคราะห์พัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทย: ศึกษาประเด็นความผิดฐานบุกรุก, ธนพล เศรษฐเลาห์ Jan 2017

การวิเคราะห์พัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทย: ศึกษาประเด็นความผิดฐานบุกรุก, ธนพล เศรษฐเลาห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการการตีความในความผิดฐานบุกรุกของศาลฎีกาไทยและศาลต่างประเทศประเด็นขอบเขตของคำว่า "เข้าไป" และประเด็นความยินยอมของผู้ครอบครอง โดยศึกษาถึงมูลเหตุ รวมทั้งกฎหมายและการตีความของศาลต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบว่าเป็นไปตามแนวโน้มของศาลต่างประเทศหรือไม่ พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการตีความของศาลฎีกาไทยในประเด็นดังกล่าวต่อไป ประเด็นขอบเขตของคำว่า "เข้าไป" ปัจจุบันเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ศาลฎีกาไทยจึงมีพัฒนาการการตีความขยายความให้การเข้าไปมีความหมายรวมถึงกรณีกระทำการรบกวนรอบ ๆ ทรัพย์สินโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนใดของร่างกายล่วงล้ำเข้าไปในทรัพย์สินอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการตีความที่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด ทั้งแตกต่างจากพัฒนาการของศาลต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่แม้จะตีความคำว่า "เข้าไป" ตามความเหมาะสมของสภาพสังคมแต่ละประเทศเช่นกัน แต่ก็ยังต้องมีการล่วงล้ำของอวัยวะหรือวัตถุอยู่ ส่วนประเด็นความยินยอมของผู้ครอบครองนั้น แม้ว่าพัฒนาการการตีความของศาลฎีกาไทยมีแนวโน้มการตีความให้ยึดเจตนาของผู้ครอบครองเป็นสำคัญเพราะศาลฎีกามุ่งคุ้มครองความสงบเรียบร้อยของสังคมมากกว่ามุ่งคุ้มครองตัวบุคคล แต่ก็ถือว่าเป็นการตีความที่ยังไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยที่มองว่าผู้อาศัยถือเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ครอบครองมากเสมือนเป็นผู้ครอบครองคนหนึ่ง อันทำให้บุคคลภายนอกซึ่งได้รับความยินยอมให้เข้ามาโดยสุจริตไม่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้ยังถือเป็นการตีความที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางการตีความของศาลต่างประเทศในหลายประเทศ ดังเช่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานบุกรุกโดยกำหนดนิยามของคำว่า "เข้าไป" ให้ชัดเจนว่าการเข้าไปหมายถึงการยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเข้าไป และมีข้อเสนอแนะให้ตีความในทำนองให้ผู้อาศัยสามารถให้ความยินยอมได้แม้เจตนาจะขัดกัน ทั้งนี้ เพื่อให้การตีความความผิดฐานบุกรุกในประเด็นดังกล่าวของศาลฎีกาไทย ถูกต้องตามหลักกฎหมาย เป็นไปตามแนวโน้มของต่างประเทศตลอดจนสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย


ปัญหากฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต, ธีราภรณ์ จินดาหลวง Jan 2017

ปัญหากฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต, ธีราภรณ์ จินดาหลวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติในเรื่องของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตโดยเฉพาะ ซึ่งสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตนี้เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่อ เป็นข้อตกลงที่อาจอยู่โดยลำพังหรือสามารถเอาไปประกอบกับเอกเทศสัญญาได้ โดยสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตที่มีในกฎหมายไทย ได้แก่ สัญญาเช่าทรัพย์สินตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ตามมาตรา 541 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาประกันชีวิต ตามมาตรา 889 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตเอาไว้อย่างชัดแจ้ง อีกทั้ง ความสมบูรณ์ของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ผลทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ทำให้คู่สัญญามิอาจรับรู้และเข้าใจถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ส่งผลให้คู่สัญญาได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตในระบบกฎหมายไทย โดยเน้นทำการศึกษากฎหมายสัญญา ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 นอกจากนั้น ในบทบัญญัติกฎหมายต่างประเทศได้ทำการศึกษาบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศอิตาลี ค.ศ. 1942 โดยกฎหมายอิตาลีได้กำหนดถึงลักษณะทางกฎหมาย การเกิดของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา วิธีการชำระหนี้ การเลิกสัญญา ผลของการเลิกสัญญา รวมทั้งเรื่องของหลักประกันและการชดใช้ค่าเสียหายเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบทบัญญัติเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ค.ศ. 2002 เช่นกัน เพียงแต่บทบัญญัติของกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการตีความและแบบของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตไว้ชัดเจนว่าให้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถือว่าสัญญาดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ สำหรับการศึกษาเรื่องสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตในกฎหมายญี่ปุ่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 1896 ซึ่งได้บัญญัติถึง ลักษณะทางกฎหมาย การเกิดของสัญญา ระยะเวลาของสัญญา วิธีการชำระหนี้ การเลิกสัญญา ผลของการเลิกสัญญา การชดใช้ค่าเสียหาย ไว้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงทางเลือกของเจ้าหนี้ในกรณีที่ความตายของเจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้มีทางเลือก 2 ประการ ประการแรก คือ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้ขอเลิกสัญญา ประการที่สอง คือ เจ้าหนี้หรือทายาทของเจ้าหนี้ ขอให้สัญญายังดำเนินต่อไปโดยมาร้องขอต่อศาล ศาลอาจมีคำสั่งให้ลูกหนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควร จากการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยยังไม่มีการกล่าวถึงลักษณะของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตไว้อย่างชัดแจ้งอีกทั้งบทบัญญัติของกฎหมายไทยในปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอในการคุ้มครองคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนจึงเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อเข้ามากำหนดกรอบของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต โดยบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดถึงลักษณะทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตและผลทางกฎหมายของสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต รวมทั้งกรอบในการพิจารณาค่าเสียหายในกรณีที่มีการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต นอกจากนั้น ผู้เขียนยังได้เสนอให้มีการกำหนดเหตุในการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต กำหนดถึงเหตุพิเศษในการเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตขึ้นมา ส่งผลให้การเลิกสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิตจะต้องมีเหตุพิเศษเฉพาะกรณีจึงจะสามารถเลิกสัญญาได้ โดยไม่นำเหตุปกติของการเลิกสัญญามาบังคับใช้ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และลักษณะของข้อสัญญาที่ผูกพันตลอดชีวิต ซึ่งต้องการให้สัญญาที่ทำขึ้นนั้นมีผลผูกพันไปตลอดชีวิตและเพื่อคุ้มครองคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป


ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับธุรกิจการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพ: ศึกษากรณีการบังคับใช้กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม (Financial Fair Play) ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกีฬาฟุตบอลอาชีพ, ธีรักษ์ ทองรักษ์ Jan 2017

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับธุรกิจการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอาชีพ: ศึกษากรณีการบังคับใช้กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม (Financial Fair Play) ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกีฬาฟุตบอลอาชีพ, ธีรักษ์ ทองรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม (Financial Fair Play) เป็นกฎที่ยูฟ่านำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นจากสภาวะหนี้สินสะสมอย่างต่อเนื่องของสโมสรกีฬาฟุตบอลในยุโรป โดยการกำหนดให้สโมสรใช้จ่ายได้เท่าที่ไม่เกินรายรับจากการประกอบธุรกิจเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์และแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายต่อกฎเกณฑ์การแข่งขันกีฬาของคณะกรรมาธิการและศาลยุติธรรมยุโรปแล้วกฎดังกล่าว มีวัตถุประสงค์อันชอบธรรมเพื่อที่จะรักษาความมั่นคงทางด้านการเงินและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนพัฒนารากฐานในด้านต่าง ๆ ของสโมสรกีฬาฟุตบอลให้ดียิ่งขึ้น ถึงแม้ว่ากฎดังกล่าวนั้น จะเกิดผลกระทบตามมาทำให้สโมสรต้องจำกัดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ แต่ก็เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยปกติวิสัยเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในการรักษาความมั่นคงทางด้านการเงินดังกล่าว และเป็นผลกระทบที่ได้สัดส่วนต่อการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ดังนั้น กฎดังกล่าวจึงเป็นกฎการแข่งขันกีฬาที่มีวัตถุประสงค์อันชอบธรรม และไม่ขัดต่อกฎหมายการแข่งขันทางการค้า สำหรับในประเทศไทย ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าต่อการบังคับใช้กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรมซึ่งอาจนำมาบังคับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการเงินของสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพในอนาคตนั้น ยังคงมีความไม่ชัดเจนหลายประการ ทั้งขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายต่อสมาคมกีฬาฟุตบอลตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 รวมถึงปัญหาการบังคับใช้กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายว่า จะเป็นพฤติกรรมเป็นการร่วมมือกันกำหนดเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจของสโมสรกีฬาฟุตบอลอันเป็นการจำกัดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจซึ่งขัดต่อมาตรา 55(4) หรือไม่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้ปรับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าต่อสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ประกอบธุรกิจด้วยโดยไม่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติ เนื่องจากสมาคมกีฬาฟุตบอลนั้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีรายได้มากมายจากการประกอบธุรกิจจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพเช่นกัน และอาจทำข้อตกลงหรือออกกฎเกณฑ์ใด ๆ ซึ่งอาจเป็นการจำกัดการแข่งขันทางการค้าได้ และเสนอให้นำหลักเกณฑ์การพิจารณากฎหมายการแข่งขันทางการค้าต่อกฎเกณฑ์ของกีฬาในทวีปยุโรปมาใช้เป็นแนวทาง โดยการพิจารณาองค์ประกอบของการจำกัดการแข่งขันทางการค้าในมาตรา 55 นั้น จะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และผลกระทบของพฤติกรรมความร่วมมือกันดังกล่าวด้วย ดังนั้น กฎการจำกัดค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งมีวัตถุประสงค์อันชอบธรรมและไม่มีลักษณะเป็นการจำกัดการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ จึงไม่ขัดต่อมาตรา 55(4) ของพระราชบัญญัติ


ปัญหาความหมายของทรัพย์สินในเอกเทศสัญญา, พรเพิ่ม ศรีสวัสดิ์ Jan 2017

ปัญหาความหมายของทรัพย์สินในเอกเทศสัญญา, พรเพิ่ม ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยเอกเทศสัญญาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ใช้คำว่า "ทรัพย์สิน" ในบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อสื่อถึงวัตถุแห่งสัญญา ซึ่งนิยามของคำว่าทรัพย์สินหมายถึงทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างที่มีราคาและอาจถือเอาได้ ตามมาตรา 138 แต่ลักษณะของเอกเทศสัญญาบางประเภทไม่สามารถทำกับวัตถุไม่มีรูปร่างได้ ผู้เขียนจึงทำการศึกษาในครั้งนี้ โดยมีสมมติฐานว่า การใช้คำว่าทรัพย์สินในเอกเทศสัญญาก่อให้เกิดปัญหาในการปรับใช้กฎหมายในเอกเทศสัญญาบางประเภท โดยศึกษากฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายเยอรมันและกฎหมายฝรั่งเศส จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้คำว่า "ทรัพย์สิน" ในเอกเทศสัญญาตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายเยอรมันและกฎหมายฝรั่งเศสข้างต้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่า การนิยามความหมายตามกฎหมายไทยมีความหมายที่กว้างเกินกว่าการนำคำดังกล่าวมาใช้ได้ในทุกบริบทของกฎหมาย อีกทั้งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยบรรพ 3 เอกเทศสัญญามีการใช้คำว่าทรัพย์สินและคำว่าทรัพย์ปะปนกันทั้งที่มีการนิยามความหมายของคำทั้งสองไว้อย่างชัดเจน อีกทั้ง บทบัญญัติในเรื่องเอกเทศสัญญาส่วนใหญ่เลือกใช้คำว่า ทรัพย์สิน มากกว่าคำว่าทรัพย์ จึงก่อให้เกิดปัญหาดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอันแสดงให้เห็นว่านิยามคำว่าทรัพย์สินไม่สามารถใช้ได้กับคำว่าทรัพย์สินในเอกเทศสัญญา ซึ่งทำให้ระบบกฎหมายของไทยเกิดความสับสนเนื่องจากการเลือกใช้คำว่าทรัพย์สินที่ไม่ตรงกับนิยามความหมายของทรัพย์สิน ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายเยอรมันที่เลือกใช้คำว่าทรัพย์เป็นหลัก โดยหากกรณีที่ต้องการจะให้สามารถทำสัญญากับสิทธิได้ด้วยกฎหมายจะบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ หรือการใช้คำว่าทรัพย์สินซึ่งไม่มีนิยามความหมายไว้และปล่อยให้เป็นไปตามบริบทของกฎหมายซึ่งไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการใช้คำว่าทรัพย์สินเหมือนเช่นกฎหมายไทย ส่วนกฎหมายฝรั่งเศสแม้ไม่มีนิยามความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สินไว้เลยแต่กฎหมายฝรั่งเศสมีการเลือกใช้คำว่าทรัพย์ที่สื่อความหมายถึงวัตถุมีรูปร่างมากกว่าจะเลือกใช้คำว่าทรัพย์สิน โดยการเลือกใช้คำดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาน้อยกว่ากฎหมายไทย เพราะเกิดความเห็นที่แตกต่างกันในกรณีที่ต้องมีการตีความคำว่าทรัพย์เท่านั้น ซึ่งบางครั้งก็มีการตีความว่ารวมถึงสิทธิเหนือตัวทรัพย์ดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามไม่ก่อให้เกิดปัญหาการตีความที่ขยายไปถึงสิทธิซึ่งไม่มีตัวทรัพย์รองรับด้วยดังเช่นกฎหมายไทย ผู้เขียนเสนอแนะให้มีการตีความคำว่าทรัพย์สินในบทบัญญัติของเอกเทศสัญญาให้หมายถึงทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างเท่านั้นเพื่อให้การใช้กฎหมายเป็นไปอย่างเป็นระบบและเกิดความสอดคล้องกันของกฎหมาย หรืออาจแก้ไขโดยการแก้ไขบทบัญญัติเปลี่ยนคำว่า "ทรัพย์สิน" ที่ปรากฏในเอกเทศสัญญาเป็นคำว่า "ทรัพย์" ส่วนสัญญาที่ไม่เข้าลักษณะของเอกเทศสัญญาก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยถือว่าเป็นความผูกพันตามสัญญาไม่มีชื่อ ซึ่งสามารถบังคับกันได้บนหลักพื้นฐานของสัญญา


การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พร้อมพรรณ ชลถาวรพงศ์ Jan 2017

การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พร้อมพรรณ ชลถาวรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแบ่งเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรกมาตรา 226/1 เปิดโอกาสให้ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ โดยการชั่งน้ำหนักระหว่างคุณค่าของพยานหลักฐานกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่ในมาตรา 226 มาตรา 84/4 วรรคท้าย และมาตรา 134/4 วรรคท้าย เป็นบทตัดพยานหลักฐานเด็ดขาด ไม่รับฟังพยานที่ได้มาเนื่องจากการฝ่าฝืนกระบวนการของกฎหมาย ซึ่งหลักการรับฟังดังกล่าวต่างจากหลักการรับฟังพยานหลักฐานลักษณะเดียวกันในกฎหมายต่างประเทศ ประเด็นที่สอง ปัจจัยที่ใช้ประกอบการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 226/1 วรรคท้าย ยังไม่ชัดเจน และไม่ครอบคลุมเพียงพอที่จะประกอบการใช้ดุลพินิจได้อย่างครบถ้วน จากการศึกษาวิจัยพบว่า การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของประเทศไทยแตกต่างกับต่างประเทศในหลายประเด็น ประเทศมีบทตัดพยานหลักฐานโดยเด็ดขาด แต่ในต่างประเทศจะมีข้อยกเว้นเพื่อเปิดโอกาสให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบเสมอ เพื่อเป็นการยืดหยุ่น ปรับใช้หลักกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี โดยข้อยกเว้นที่แต่ละประเทศยึดถือมีความแตกต่างกันตามแนวความคิดในการรับฟังพยานหลักฐานของประเทศนั้นๆ และในบางประเทศยังมีการกำหนดปัจจัยประกอบการใช้ดุลพินิจอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการพิจารณารับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบอย่างรอบคอบ ดังนั้น เพื่อให้การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยสอดคล้องกับการรับฟังพยานหลักฐานตามหลักสากล และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา จึงควรมีการแก้ไขปรับปรุงให้มีข้อยกเว้นในการรับฟังพยานหลักฐานในบทตัดพยานหลักฐานเด็ดขาด และควรเพิ่มปัจจัยประกอบการใช้ดุลพินิจในมาตรา 226/1 วรรคท้ายให้มีความชัดเจน และครบถ้วนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของประเทศไทยต่อไป


ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดร่วมกันและพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันโดยมิชอบ, พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล Jan 2017

ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับผู้มีอำนาจเหนือตลาดร่วมกันและพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันโดยมิชอบ, พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกำกับดูแลพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการ ซึ่งมีสถานะเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นไปโดยอาศัยพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 50 ซึ่งมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาแบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ ประการแรกคือ ผู้ประกอบการจะต้องมีสถานะเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด และอีกประการหนึ่งคือ ผู้ประกอบการนั้นมีพฤติกรรมตามมาตรา 50 (1) - (4) อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ไม่สามารถปรับใช้แก่พฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย เนื่องจากการพิจารณาสถานะของการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย เป็นการพิจารณาสถานะดังกล่าวของผู้ประกอบการแต่ละรายแยกต่างหากจากกัน ในการปรับใช้บทบัญญัติดังกล่าวจึงปรับใช้แก่พฤติกรรมของผู้ประกอบการรายหนึ่งๆ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการกำกับดูแลพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย ดังนั้น จึงควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาสถานะของการเป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดและบทบัญญัติมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ให้ครอบคลุมถึงพฤติกรรมการใช้อำนาจเหนือตลาดร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรมของผู้ประกอบการหลายราย โดยนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซียซึ่งมีความชัดเจน และกำกับดูแลพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมมาเป็นต้นแบบ


มาตรการทางกฎหมายกรณีมารดาฆ่าทารกเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิต, มนัสวี บุญสิทธิ์ Jan 2017

มาตรการทางกฎหมายกรณีมารดาฆ่าทารกเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิต, มนัสวี บุญสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายกรณีมารดาฆ่าทารกเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตของประเทศไทย รวมทั้งศึกษาแนวคิด และเนื้อหาของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาการฆ่าทารกโดยมารดา ทั้งการฆ่าทารกในครรภ์ และการฆ่าทารกภายหลังคลอดแล้ว แต่เมื่อพิจารณาอาการทางจิตที่เกิดขึ้นในมารดาพบว่า มารดาจำนวนมากมีปัญหาสุขภาพจิตที่เรียกว่า โรคทางจิตเวชระหว่างตั้งครรภ์และโรคทางจิตเวชหลังคลอด ซึ่งอาการของทั้งสองโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะซึมเศร้าและโรคจิต สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจของมารดาได้ จนนำไปสู่การฆ่าทารกในที่สุด แต่มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่มีปัญหาสุขภาพจิตในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมและชัดเจนเพียงพอที่จะปรับใช้กับอาการของทั้งสองโรค ส่งผลให้มารดาที่มีปัญหาสุขภาพจิตเหล่านั้นต้องรับโทษเช่นเดียวกับคนธรรมดาที่กระทำความผิดโดยไม่ได้รับการลดโทษแต่อย่างใด นอกจากนี้มารดายังไม่ได้รับการบำบัดรักษาอาการทางจิตของตนเองอีกด้วย เมื่อได้พิจารณามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศพบว่า ประเทศอังกฤษและเวลส์ ประเทศแคนาดา รัฐวิกตอเรีย เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ มีการบัญญัติความผิดฐานฆ่าทารกไว้โดยเฉพาะ และมีการกำหนดโทษแก่มารดาน้อยกว่ากรณีการกระทำความผิดโดยทั่วไป ส่วนมลรัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา มีบทบัญญัติทั่วไปที่นำมากำหนดโทษแก่มารดาในทำนองเดียวกับประเทศข้างต้น ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จึงเสนอให้ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายกรณีมารดาฆ่าทารกเนื่องจากปัญหาสุขภาพจิตให้ครอบคลุมอาการของโรคที่ส่งผลให้มารดาฆ่าทารกของตน ด้วยการแก้บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 และมาตรา 78 ให้ศาลสามารถปรับใช้มาตราดังกล่าวลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดที่เป็นมารดา ซึ่งจะทำให้เกิดความยุติธรรมในการลงโทษมากขึ้น


การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา : ศึกษากรณีธุรกิจที่ให้บริการลักษณะต่อเนื่อง, ระวีอร วากะมะ Jan 2017

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา : ศึกษากรณีธุรกิจที่ให้บริการลักษณะต่อเนื่อง, ระวีอร วากะมะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องเป็นลักษณะธุรกิจที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อันเห็นได้จากธุรกิจในตลาดบริการในปัจจุบัน เช่น ธุรกิจสอนเต้น ธุรกิจสอนภาษาต่างประเทศ ธุรกิจสอนกวดวิชา ธุรกิจให้บริการสถานออกกำลังกาย หรือธุรกิจในการเข้ารับการบริการเกี่ยวกับกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ที่อาศัยการที่ผู้บริโภคสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับประโยชน์และใช้บริการจากผู้ประกอบการ โดยมีการซื้อคอร์สหรือแพ็กเกจเพื่อรับบริการเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเข้าทำสัญญาที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องกับผู้บริโภคเพื่อให้บริการแบบต่อเนื่องไปหลายคราว โดยมักมีข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในหลายลักษณะซึ่งทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียเปรียบ อีกทั้งกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ยังไม่อาจนำมาใช้ได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดจากการเข้าทำสัญญาในธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง รวมทั้งศึกษาแนวทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องในประเทศไทย โดยผู้เขียนได้ศึกษามาตรการทางกฎหมายและกลไกการควบคุมสัญญาสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่องในต่างประเทศ ซึ่งได้มีการออกกฎหมายที่ใช้บังคับกับธุรกิจลักษณะนี้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (Act on Specified Commercial Transactions) ประเทศแคนาดา มลรัฐบริติช โคลัมเบีย (Business Practices and Consumer Protection Act) และประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย (The Civil Code of The State of California) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้และพัฒนากฎหมายในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เสนอว่าควรให้มีการตรากฎหมายใหม่เพื่อใช้บังคับเป็นการเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง โดยกำหนดคำนิยามของธุรกิจและสัญญาที่ให้บริการในลักษณะต่อเนื่อง เสนอหลักเกณฑ์และกลไกการควบคุมสัญญาเพื่อกำหนดให้สัญญาที่ใช้ในธุรกิจนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบในการกำหนดกลไกการควบคุมสัญญาดังกล่าวไว้ด้วย


การให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริต, วโรดม บุญมั่น Jan 2017

การให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริต, วโรดม บุญมั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาของการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริต และการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) โดยศึกษาถึงบทบัญญัติกฎหมาย คำวินิจฉัยของศาลและองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาท การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และนโยบายของรัฐ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบทบัญญัติกฎหมายในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักรและกฎหมายระดับสหรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา จากการศึกษาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อการตรวจสอบการทุจริตของประเทศไทย พบว่า มีปัญหาดังต่อไปนี้ ประการแรก เนื้อหาของบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ อาทิ ประเด็นผู้มีสิทธิในการขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ, ข้อมูลข่าวสารที่กำหนดให้เปิดเผยยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่สุ่มเสียงต่อการทุจริต, หลักเกณฑ์การเปิดเผยที่ไม่เป็นเอกภาพ เนื่องจากมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร, รูปแบบและวิธีการเปิดเผยข้อมูลยังไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ประการที่สอง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายยังขาดกลไกในการเปิดเผยผ่านเว็บไซต์, ขาดกลไกในการตรวจสอบ และมีหลักเกณฑ์การพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ องค์กรหลักในการบังคับใช้กฎหมาย คือ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการยังไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมตรวจสอบ กำกับดูแลให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเต็มที่ และที่สำคัญ ประการสุดท้าย ยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมหลักการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ ประการแรก ควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมหลักการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐแบบเปิด (Open Government Data) โดยมีการกำหนดรายละเอียดและประเภทของข้อมูลที่เปิดเผย กล่าวคือ ต้องมีการเปิดเผย ข้อมูล เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การอนุญาต การให้สัมปทาน การให้สิทธิ การถือครองกรรมสิทธิ์ การให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือประโยชน์อื่น ๆ โดยมี รูปแบบ การเปิดเผยข้อมูลที่จะต้องเน้นการเปิดเผยข้อมูลตามเว็บไซต์ที่ค้นหาได้อย่างอิสระ สะดวก รวดเร็ว ดาวน์โหลดได้ไม่จำกัด มีการประมวลผลข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลที่มีการเปิดเผย ครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐ และสอดคล้องกับหลักการทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง สำหรับ การขอข้อมูลเฉพาะราย นั้น ต้องสามารถทำคำขอทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานได้ง่าย มีหลักเกณฑ์และระยะเวลาพิจารณาคำขอที่ชัดเจน และสามารถเผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับต่อไปได้ ประการสุดท้าย การกำกับดูแล จะต้องให้ความเป็นอิสระ อำนาจ วิธีการ หลักเกณฑ์การควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพแก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่กำกับดูแล และมีบทลงโทษสำหรับกรณีที่มีการไม่เปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมาย หรือคำวินิจฉัยกำหนด


แนวทางการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย: ศึกษากรณีการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ซึ่งมีกฎหมายรับรอง และมีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของเกษตรกร, วัจน์ธนิศร์ ศรีวิชัย Jan 2017

แนวทางการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย: ศึกษากรณีการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ซึ่งมีกฎหมายรับรอง และมีวัตถุประสงค์ดำเนินการทางธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพของเกษตรกร, วัจน์ธนิศร์ ศรีวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่ให้การสนับสนุนการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และยังเป็นระบบเศรษฐกิจและสังคมแบบระบบคู่ (dual economy) ที่แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาคทันสมัย (modern sector) เช่น ภาคอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้า ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ และภาคดั้งเดิม (traditional sector) เช่น ภาคเกษตรกรรม ที่มีความล้าหลังและไม่มีประสิทธิภาพ แต่มีความสำคัญต่อประเทศไทย ซึ่งในภาคเกษตรกรรมนั้น รัฐได้จัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ต้นทุนต่ำและสามารถแข่งขันในตลาดได้ นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังได้ให้เสรีภาพแก่เกษตรกรในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตร ซึ่งรัฐจะทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ โดยการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์แต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม ซึ่งกลไกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ การกำหนดให้การกระทำกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรต้องไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ตามบทบัญญัติมาตรา 4(3) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองเกษตรกรให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและมีความสามารถในการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างเสรีและเป็นธรรม ตามหลักการของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติดังกล่าวยังมีขอบเขตที่ไม่เหมาะสมในการบังคับใช้ต่อการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดการตีความว่า การกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรไม่ว่ากรณีใด ๆ ย่อมไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฉบับนี้ ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรอาจอาศัยบทบัญญัตินี้ในการกระทำหรือมีพฤติกรรมที่ขัดกับพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าฉบับนี้ ทำให้กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการเอกชนหรือผู้บริโภคได้รับความเสียหาย อันจะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด นอกจากนี้ยังไม่อาจสร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมระหว่างกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์กับผู้ประกอบการเอกชนได้ หากมิได้มีการกำหนดขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 4(3) ต่อการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรไว้อย่างเหมาะสม ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า ควรมีการแก้ไขมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และออกแนวปฏิบัติเพื่อกำหนดขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 4(3) ต่อการกระทำของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมระหว่างกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์กับผู้ประกอบการเอกชน และเป็นการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์แต่ละขนาดให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย


พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 : ศึกษาความรับผิดของผู้ประกอบการในสินค้าประเภทวัคซีน, สศิพร ปริยพงศ์พันธุ์ Jan 2017

พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 : ศึกษาความรับผิดของผู้ประกอบการในสินค้าประเภทวัคซีน, สศิพร ปริยพงศ์พันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ได้มีการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (strict liability) มาใช้บังคับกับสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย ยกเว้นสินค้าตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการกำหนดให้สินค้าทุกประเภทต้องรับผิดโดยเคร่งครัดตามกฎหมายดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาว่าสินค้าประเภทวัคซีนเหมาะสมที่จะอยู่ภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 หรือไม่ เนื่องจากสินค้าประเภทวัคซีนเป็นสินค้าที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่สามารถทำให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นสินค้าประเภทวัคซีนจึงเป็นสินค้าที่ควรนำมาวิเคราะห์แนวทางการบังคับใช้ เพื่อพิจารณาถึงแนวทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของสินค้าประเภทวัคซีนที่ไม่สามารถทำให้ปลอดภัยได้อย่างสมบูรณ์นี้ โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็น สำหรับการกำหนด หรือไม่กำหนดให้สินค้าประเภทวัคซีนอยู่ภายใต้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดในประเทศนั้นๆ จากการศึกษาผู้เขียนเสนอแนะว่าควรมีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าประเภทวัคซีนเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม


ปัญหากฎหมายของการเรียกค่าเสียหายหลังการเลิกสัญญา, สิรินภา ไทรนนทรี Jan 2017

ปัญหากฎหมายของการเรียกค่าเสียหายหลังการเลิกสัญญา, สิรินภา ไทรนนทรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผลตามมาตรา 391 วรรคสี่ กำหนดให้คู่สัญญายังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ นั้น เมื่อพิจารณาแนวคิดของผลการกลับคืนสู่ฐานะเดิมจากการบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหาย จะพบว่ายังไม่เป็นระบบและไม่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการตีความและการปรับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเรียกให้ชำระหนี้ภายหลังบอกเลิกสัญญา ปัญหาการเกิดหนี้ภายหลังการบอกเลิกสัญญาและปัญหาการเรียกเบี้ยปรับจากสัญญาที่ถูกบอกเลิกและผลของการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าที่ไม่ถูกกระทบด้วยผลของการเลิกสัญญา เมื่อศึกษากฎหมายเยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลีและอังกฤษ แล้วพบว่าใน กฎหมายเยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลีจะกำหนดผลภายหลังการเลิกสัญญามีผลเป็นการกลับคืนสู่ฐานะเดิมเหมือนกัน ส่วนในกฎหมายอังกฤษมีแนวคิดว่าเมื่อเลิกสัญญาแล้วมีผลเป็นเพียงการสิ้นสุดความสัมพันธ์ไปในอนาคตเท่านั้น ส่วนการเรียกค่าเสียหายเมื่อเลิกสัญญาแล้ว ในกฎหมายเยอรมันเห็นว่าหมายถึงค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้บนฐานของสัญญาเดิม ส่วนในกฎหมายอังกฤษยังสามารถค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้บนฐานของสัญญาที่ระงับไปได้ แต่กฎหมายญี่ปุ่นอธิบายว่าไม่ใช่ค่าเสียหายบนสัญญาเดิมแต่เป็นค่าเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมในลักษณะที่เป็นการคืนความเสียหาย ส่วนกฎหมายอิตาลีเห็นว่าค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาในประเด็นที่สองกฎหมายเยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี มีแนวคิดว่าผลจากการเลิกสัญญานั้นก่อให้เกิดหนี้ขึ้นได้ แต่กฎหมายอังกฤษมีผลของการบอกเลิกสัญญาที่แตกต่างจึงไม่มีแนวคิดการเกิดหนี้เช่นว่านี้ และประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับการเรียกเบี้ยปรับเมื่อมีการเลิกสัญญาแต่ละประเทศที่ศึกษามีแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการแสดงเจตนาของคู่สัญญาที่ย่อมเป็นผู้ที่ตัดสินใจประเมินความเสี่ยงในสัญญาได้ดีที่สุดจึงเห็นว่าเบี้ยปรับไม่ควรระงับสิ้นไปเมื่อบอกเลิกสัญญา ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ ประการแรก ให้ตีความมาตรา 391 วรรคสี่ ตามแนวคิดในการเรียกค่าเสียหายหลังการบอกเลิกสัญญาของญี่ปุ่น โดยกำหนดกรอบการตีความมิใช่การเรียกค่าเสียหายเพื่อทดแทนการชำระหนี้ แต่เป็นการเรียกค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญาที่ไม่สามารถทำให้คู่สัญญาฝ่ายที่บอกเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม ทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นระบบจึงควรบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อจำกัดกรอบค่าเสียหายให้เรียกได้เฉพาะตามมาตรา 215 ประการที่สอง ควรบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ชัดเจนว่า การบอกเลิกสัญญานั้นก่อให้เกิดหนี้ได้ โดยให้นำกฎหมายลักษณะหนี้มาบังคับใช้ในหนี้ในการกลับคืนสู่ฐานะเดิม และบัญญัติมาตรา 392/2 เพิ่มเติมไว้โดยเฉพาะกรณีการชำระหนี้ในหนี้จากการบอกเลิกสัญญา ว่าลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นจากกรณีการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยโดยโทษลูกหนี้ไม่ได้ในหนี้ของการกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามผลของการเลิกสัญญา และประการสุดท้าย ควรบัญญัติผลของเบี้ยปรับเฉพาะกรณีที่มีการบอกเลิกสัญญาเพราะความผิดของคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาที่ไม่มีความผิดเลิกสัญญา อาจแปลงเบี้ยปรับมาเป็นค่าเสียหายในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ เพื่อให้วัตถุประสงค์ในการกำหนดเบี้ยปรับของคู่สัญญาไม่เสียไป และระบบการเรียกค่าเสียหายหลังการบอกเลิกสัญญามีความชัดเจนและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น


มาตรการแก้ไขปัญหากรณีที่จำเลยในคดีอาญารับสารภาพผิดโดยไม่ตรงกับความจริง, สิริภา คิดจิตต์ Jan 2017

มาตรการแก้ไขปัญหากรณีที่จำเลยในคดีอาญารับสารภาพผิดโดยไม่ตรงกับความจริง, สิริภา คิดจิตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาของประเทศไทยกรณีที่จำเลยในคดีอาญารับสารภาพผิดโดยไม่ตรงกับความจริง ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำไม่ถึง ๕ ปี หรือโทษสถานเบากว่านั้นและไม่มีการสืบประกอบคำรับสารภาพ รวมทั้งศึกษาแนวคิด รูปแบบและเนื้อหาของมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกันของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนะแนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันจำเลยในคดีอาญาที่รับสารภาพและไม่มีการสืบประกอบ ยังประสบปัญหาในเรื่องการรับสารภาพที่ไม่ตรงกับความจริง อันเนื่องมาจากกระบวนการกลั่นกรองคำรับสารภาพไม่เพียงพอ และกระบวนการแก้ไขคำรับสารภาพถูกจำกัด เมื่อศาลนำคำรับสารภาพที่ไม่ตรงกับความจริงไปใช้ทำคำพิพากษาลงโทษจำเลย ย่อมส่งผลให้จำเลยจะต้องรับโทษทางอาญาในความผิดที่ตนไม่ได้กระทำ ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาถึงมาตรการทางกฎหมายของศาลอาญาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส พบว่า ต่างมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งในส่วนกระบวนการกลั่นกรองคำรับสารภาพ ได้แก่ การมีทนายความในกระบวนการรับสารภาพ และส่วนมาตรการแก้ไขคำรับสารภาพมีความแตกต่างกันออกไปตามระบบกฎหมายและรูปแบบวิธีพิจารณาความอาญาที่ประเทศต่างๆ ใช้ แบ่งออกได้เป็น ๒ รูปแบบคือ มาตรการแก้ไขคำรับสารภาพตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คือการอุทธรณ์คำพิพากษา และมาตรการแก้ไขคำรับสารภาพรูปแบบเฉพาะคือ การถอนคำรับสารภาพ โดยการนำมาปรับใช้กับประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงความรวดเร็วของการดำเนินกระบวนพิจารณา อันเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของกระบวนการรับสารภาพชั้นพิจารณาประกอบด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนวิทยานิพนธ์จึงเสนอให้ประเทศไทยมีแก้ไขและเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ เพื่อกำหนดให้จำเลยจำเป็นต้องมีทนายความขณะที่รับสารภาพ โดยต้องอธิบายถึงการกระทำของจำเลย สภาพและหลักแห่งข้อหา รวมทั้งผลลัพธ์ของการรับสารภาพ และสร้างช่องทางให้แก่จำเลยที่ไม่มีการสืบประกอบคำรับสารภาพสามารถยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เพื่อขอให้ศาลมีการพิจารณาคดีใหม่ได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายหนด หากศาลพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่า คำให้การรับสารภาพของจำเลยเกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจ ไม่มีเหตุผล หรือไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นพื้นฐานสนับสนุนคำรับสารภาพของจำเลย ศาลย่อมสามารถอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำรับสารภาพและดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ได้


ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี, สุจรรยา สุจริตศรีชัยกุล Jan 2017

ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี, สุจรรยา สุจริตศรีชัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ สามารถเข้ามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดี ไม่ว่าจะเป็นผู้รับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญา ผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามกฎหมาย ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล และผู้เป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 วางหลักให้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) เท่านั้น อย่างไรก็ดี ศาลฎีกาก็รับรองสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) แต่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ ถึงกระนั้นก็ตาม กลับไม่รับรองสิทธิดังกล่าวแก่ผู้รับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามสัญญาและผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามกฎหมาย ทั้งที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้เช่นเดียวกัน จึงก่อให้เกิดความไม่สอดคล้องกันของกฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ เมื่อศึกษาถึงแนวคิดการโอนสิทธิตามคำพิพากษาตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองให้มีการเปลี่ยนตัวผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ การรับช่วงสิทธิซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงยิ่งสมควรที่จะให้สิทธิเข้ามาร้องขอให้บังคับคดีได้เช่นกัน นอกจากนี้ การไม่รับรองสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวจำต้องไปฟ้องว่ากล่าวเป็นคดีใหม่ ทั้งที่ได้รับการพิสูจน์ถึงสิทธิผ่านกระบวนการยุติธรรมทางศาลมาแล้ว จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบวิธีพิจารณาความแพ่งที่ดีและมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด และในกรณีสุดท้าย การปฏิเสธซึ่งสิทธิร้องขอให้บังคับคดีของผู้เป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่จะเป็นการคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้สุจริตกลับเป็นการคุ้มครองลูกหนี้ผู้ไม่สุจริต ทั้งข้อพิพาทที่อาจเกิดจากการรับรองซึ่งสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่บุคคลดังกล่าวก็มิได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากและสลับซับซ้อนในการบังคับตามสิทธิเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จึงขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ให้บุคคลที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดไว้ สามารถเข้ามาใช้สิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ด้วยเช่นกัน


ปัญหาความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้คำปรึกษาในการลงทุน, สุณัฐฐา สุขทั่ววงษ์ Jan 2017

ปัญหาความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้คำปรึกษาในการลงทุน, สุณัฐฐา สุขทั่ววงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงความรับผิดทางแพ่งของผู้ให้คำปรึกษาในการลงทุน ซึ่งได้แก่ บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน บุคลากรในตลาดทุน และ Robo-advisor โดยพิจารณาความรับผิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ความรับผิดตามสัญญาและความรับผิดเพื่อละเมิด ซึ่งการเรียกร้องให้ผู้ให้คำปรึกษาในการลงทุนต้องรับผิดตามสัญญาอาจมีข้อจำกัดเนื่องจากมีข้อความจำกัดหรือยกเว้นความรับผิดไว้ล่วงหน้า และในการเรียกร้องโดยอาศัยฐานของละเมิดนั้น การกระทำความผิดจะต้องครบองค์ประกอบของละเมิด ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการให้คำปรึกษาในการลงทุนนั้นอาจจะไม่สามารถเรียกร้องโดยอาศัยฐานละเมิดได้หรือไม่ โดยเน้นศึกษาจากกฎหมายไทยเป็นหลัก และศึกษากฎหมายอังกฤษและกฎหมายอเมริกาเพื่อเป็นตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่า กฎหมายอังกฤษได้วางหลักเรื่องความรับผิดเพื่อละเมิดในกรณีให้คำปรึกษาที่ผิดพลาดไว้เฉพาะ โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์พิเศษและการที่ผู้ลงทุนเชื่อในคำปรึกษาที่ได้รับโดยสมเหตุสมผล กรณีการจำกัดหรือยกเว้นความรับผิดตามสัญญานั้นศาลอังกฤษนำหลักความสมเหตุสมผล ในขณะที่ศาลอเมริกานำหลักความไม่มโนธรรมมาพิจารณา ส่วนประเด็นภาระการพิสูจน์นั้นศาลจะใช้หลัก Res Ipsa Loquitur เพื่อให้ฝ่ายที่ข้อเท็จจริงอยู่ในความรู้เห็นของตนนั้นเป็นผู้มีภาระการพิสูจน์ และสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการให้คำปรึกษาในการลงทุนเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นคู่สัญญาจะต้องคาดเห็นได้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้กำหนดธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุนเป็นธุรกิจที่มีการควบคุมสัญญา และบัญญัติเรื่องสิทธิในความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยแท้เพิ่มเติมไว้ในตอนท้ายของมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และส่วนประเด็นภาระการพิสูจน์ตามสัญญาสามารถนำมาตรา 84/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และในกรณีละเมิดสามารถนำมาตรา 422 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาผลักภาระการพิสูจน์ไปให้บริษัทที่ปรึกษาการลงทุนได้ และการให้ค่าเสียหายกรณีที่ผู้ลงทุนกรณีของสัญญานั้น ควรเป็นค่าเสียหายตามปกติและค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษที่คาดเห็นได้เท่านั้น สำหรับกรณีละเมิด ศาลจะใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของละเมิด


การนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ, สามารถ ตราชู Jan 2017

การนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ, สามารถ ตราชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและพัฒนาการของหลักนิติรัฐในประเทศไทย และศาลรัฐธรรมนูญได้นำหลักนิติรัฐมาใช้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการวินิจฉัยคดีในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยการศึกษาในครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการนำหลักนิติรัฐมาใช้ในคำวินิจฉัยขององค์กรที่ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และหาข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการนำหลักนิติรัฐมาใช้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการวินิจฉัยคดีในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำหลักนิติรัฐมาเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญไทยในอนาคต การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบว่า แนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยมีหลักนิติรัฐที่ถือเป็นหลักเกณฑ์อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกมาใช้ในการวินิจฉัยคดีเพื่อวินิจฉัยตรวจสอบบรรดาการกระทำของรัฐทั้งหลายให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และคุ้มครองหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ โดยบางกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจมีเนื้อหาที่กระทบต่อแนวคิดพื้นฐานบางประการของหลักนิติรัฐ จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการของนิติรัฐในประเทศไทยมีลักษณะไม่เป็นไปในทางพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางระบบการเมืองการปกครองของระบอบประชาธิปไตย และก่อผลกระทบต่อระบบรัฐธรรมนูญของประเทศไทย และสืบเนื่องมาถึงบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยตรวจสอบบรรดาการกระทำของรัฐทั้งหลายโดยยึดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในทางรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิได้ปรากฏเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังพบว่า ในบางกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเองยังปรากฏข้อขัดแย้งต่อหลักทฤษฎีในทางกฎหมายมหาชนอันทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีลักษณะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันส่งผลกระทบเทือนต่อสถานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมิได้เป็นไปตามครรลองของความเป็นนิติรัฐ โดยการตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ ในบางกรณีหรือบางคำวินิจฉัยอาจขัดต่อหลักการพื้นฐานบางประการของนิติรัฐ อันส่งผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน เพื่อให้การสร้างบรรทัดฐานของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์สูงสุดของความเป็นนิติรัฐ จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการรักษาเสถียรภาพของรัฐธรรมนูญโดยยกย่องคุณค่าและหลักการแห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในสถานะของความเป็นกฎหมายสูงสุด ในการใช้และตีความบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญโดยยึดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพื่อควบคุมกลไกของรัฐทั้งปวงให้เป็นไปตามครรลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การจัดวางบทบาทและการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการตีความวินิจฉัยปัญหาและตัดสินคดีโดยยึดเจตนารมณ์สูงสุดทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหาของนิติรัฐ ซึ่งก็คือการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอันเป็นเสมือนหัวใจของนิติรัฐอันเป็นกรอบแนวทางในการนำหลักนิติรัฐมาเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญไทย


ปัญหาความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจขนส่งที่ไม่ได้รับอนุญาต : กรณีศึกษาอูเบอร์, อัจฉรียา ตันวิตรานนท์ Jan 2017

ปัญหาความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจขนส่งที่ไม่ได้รับอนุญาต : กรณีศึกษาอูเบอร์, อัจฉรียา ตันวิตรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในระบบการขนส่งผู้โดยสาร โดยนำแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันมาดำเนินการเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างผู้โดยสารกับผู้ขับ ซึ่งประชาชนที่เป็นผู้โดยสารนิยมใช้บริการดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากความสะดวกสบาย ค่าโดยสารราคาต่ำกว่าและคุณภาพการให้บริการที่ดีกว่า แต่แท้จริงแล้วการให้บริการขนส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันในส่วนของผู้ขับเป็นการขัดต่อกฎหมายหลายประการ ถือเป็นการให้บริการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ เนื่องจากการให้บริการดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ และในส่วนการดำเนินการของผู้จัดให้มีบริการขนส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน โดยปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับถึงรูปแบบการให้บริการดังกล่าว ดังนั้นหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการให้บริการดังกล่าว อาจทำให้ผู้โดยสารไม่ได้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ศึกษาการให้บริการอูเบอร์ในประเทศไทย แม้ปัจจุบันการให้บริการอูเบอร์ได้ควบรวมกิจการกับการให้บริการแกร็บคาร์แล้ว แต่การให้บริการแกร็บคาร์ยังคงมีปัญหาเช่นเดียวกับการให้บริการอูเบอร์ เนื่องการการให้บริการทั้งสองมีรูปแบบการให้บริการเช่นเดียวกัน โดยผู้เขียนมุ่งศึกษาถึงสถานะ นิติสัมพันธ์และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการให้บริการดังกล่าว และปัญหาการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดด้วยข้อกำหนดการใช้บริการ โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหภาพยุโรป กฎหมายรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียและกฎหมายรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการให้บริการของอูเบอร์ในประเทศไทย แม้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการให้บริการดังกล่าวทั้งสิ้นสามฝ่ายคือ บริษัทอูเบอร์ ผู้ขับอูเบอร์และผู้โดยสาร แต่แท้จริงแล้วสัญญาหลักที่เกิดขึ้นจากการให้บริการดังกล่าวมีเพียงสัญญาเดียวคือ สัญญาระหว่างบริษัทอูเบอร์กับผู้โดยสารเท่านั้น โดยเป็นไปตามลักษณะของสัญญาจ้างทำของ เพราะแท้จริงแล้วผู้โดยสารเจตนาจะทำสัญญากับบริษัทอูเบอร์ไม่ใช่ผู้ขับอูเบอร์ และในส่วนการให้บริการขนส่งผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชันที่ผู้ขับอูเบอร์เป็นผู้ให้บริการนั้น พิจารณาได้ว่าผู้ขับให้บริการขนส่งผู้โดยสารในฐานะตัวแทนเชิดของบริษัทอูเบอร์ ทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอูเบอร์กับผู้ขับอูเบอร์เป็นไปตามลักษณะของสัญญาตัวแทน หากเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทอูเบอร์จึงต้องเข้าร่วมรับผิดในฐานะตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการเสนอให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นใหม่สำหรับรถรับจ้างไม่ประจำทาง และเสนอให้มีการพิจารณานิติสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดให้มีบริการขนส่งผ่านแอปพลิเคชันกับผู้ขับให้เป็นไปตามสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร และทำให้ผู้โดยสารและผู้ขับได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม โดยผู้ขับที่ทำงานควรได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานในการจ้างแรงงาน


มาตรการทางกฎหมายในการกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง, นครินทร์ บุตรภักดีธรรม Jan 2017

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง, นครินทร์ บุตรภักดีธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาของการทำธุรกรรมที่ทำระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการกำกับของประเทศไทยและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอิทธิพลในการตัดสินใจหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการของบริษัท สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการผ่องถ่ายผลประโยชน์ออกจากบริษัทประกันภัย เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนของผู้มีอำนาจในการควบคุมกิจการ
อย่างไรก็ตาม มาตรการทางกฎหมายของไทยในการกำกับดูแลการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องยังไม่เพียงพอ เนื่องจากยังไม่กำกับครอบคลุมประเภทของธุรกรรมซึ่งมีนัยสำคัญทุกประเภท ไม่ครอบคลุมบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการที่มีนัยสำคัญทุกประเภทบุคคล ไม่มีกฎหมายกำหนดมาตรฐานเงื่อนไขข้อตกลงและราคาของธุรกรรมที่ทำกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่มีกฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัยมีหน้าที่รายงานความสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องและรายงานการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงินให้หน่วยงานกำกับดูแลทราบ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลไม่ทราบข้อมูลการทำธุรกรรมและไม่สามารถเข้ากำกับได้ในเวลาที่เหมาะสม
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะว่า ควรกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทประกันภัยกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไว้ในกฎหมายประกันภัยเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดนิยามของธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมความสัมพันธ์ของการมีอิทธิพลในการตัดสินใจหรือมีอำนาจในควบคุมกิจการ และให้ครอบคลุมธุรกรรมที่มีนัยสำคัญทุกประเภท โดยพิจารณาความมีนัยสำคัญทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ รวมทั้ง กำหนดนิยามบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากลักษณะการมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือมีอำนาจในควบคุมกิจการ นอกจากนี้ ควรกำหนดมาตรฐานของเงื่อนไขข้อตกลงและราคาของธุรกรรม ให้มีระดับไม่ต่ำกว่าเงื่อนไขข้อตกลงและราคาตามตลาด โดยไม่ต่ำกว่ากรณีที่บริษัททำธุรกรรมในลักษณะเดียวกันกับบุคคลที่ไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และควรกำหนดให้มีบริษัทประกันภัยมีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยโดยตรง


ปัญหาเกี่ยวกับการโอนสิทธิในรายได้ในอนาคต ศึกษากรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, อัญรินทร์ จิระตระกูลวัชร์ Jan 2017

ปัญหาเกี่ยวกับการโอนสิทธิในรายได้ในอนาคต ศึกษากรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, อัญรินทร์ จิระตระกูลวัชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นเครื่องมือทางการเงินในการระดมทุนรูปแบบหนึ่งของผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสามารถลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตหรือสิทธิในรายได้ในอนาคต โดยการเข้าทำสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตกับผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเมื่อพิจารณาลักษณะ รูปแบบและเงื่อนไขของการเข้าทำสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วพบว่า การโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตดังกล่าวมีลักษณะเป็นธุรกรรมที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงเกิดปัญหาว่า สัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตควรจะเป็นธุรกรรมประเภทใด เข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย หรือสัญญากู้ยืมเงิน หรือธุรกรรมอื่นใด ซึ่งลักษณะที่ไม่ชัดเจนของสัญญาโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษีอากรว่า ผู้ประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานและกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานควรจะมีภาระภาษีในธุรกรรมดังกล่าวอย่างไร และเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายลำดับรองกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีการนำบทบัญญัติซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปของกฎหมายภาษีอากรมาปรับใช้ ซึ่งการนำมาปรับใช้ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาค่อนข้างมากในทางปฏิบัติ โดยมีการตีความธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคตในลักษณะที่แตกต่างกันไป ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความไม่แน่นอนในการจัดเก็บภาษีซึ่งขัดต่อหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเพื่อเสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับธุรกรรมการโอนสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้ในอนาคต กรณีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเป็นรูปแบบธุรกรรมทางการเงิน (Financing) ให้ชัดเจน


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560 กับการส่งอีเมลเชิงพาณิชย์ในลักษณะสแปม (Spam), ชัญญารักษ์ แซ่ห่าน Jan 2017

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ.2560 กับการส่งอีเมลเชิงพาณิชย์ในลักษณะสแปม (Spam), ชัญญารักษ์ แซ่ห่าน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2560 กับการส่งอีเมลเชิงพาณิชย์ในลักษณะสแปม (spam) รวมทั้งศึกษาทฤษฎี แนวคิด และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับสแปมปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่เหมาะสม รวมไปถึงแนวทางในการใช้อีเมลเชิงพาณิชย์เพื่อการโฆษณาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่ยังสามารถปกป้องสิทธิความความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของผู้บริโภคได้อย่างเป็นธรรม จากการศึกษาพบว่าปัจจุบัน พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่สามารถคุ้มครองสิทธิความเป็นอยู่ส่วนบุคคลของผู้บริโภคได้เพียงพอ เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดในเรื่องการตั้งชื่อหัวเรื่องของอีเมล (Heading) ซึ่งกระทบต่อสิทธิในการรับรู้คาพรรณนาที่ถูกต้องและเพียงพอของผู้รับ เนื่องจากผู้รับไม่สามารถตัดสินใจก่อนเปิดอ่านอีเมลเชิงพาณิชย์เหล่านั้นได้ ซึ่งนอกจะทาให้สิ้นเปลืองข้อมูลอินเทอร์เน็ต ยังมีความเสี่ยงในการติดไวรัสหรือมัลแวร์อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายยังไม่ได้กำหนดขนาด ความถี่ และปริมาณในการส่งที่เหมาะสมกับอัตราการส่งผ่านข้อมูลระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ทำให้ผู้รับมีโอกาสได้รับอีเมลเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมากจนรบกวนการใช้งานพื้นที่ในกล่องข้อความของตนอย่างปกติสุข และยังทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs) หรือผู้ดูแลระบบต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือขยายแบนด์วิดท์ (Bandwidth) หรือเซิร์ฟเวอร์ (server) เพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลโฆษณาที่มีจำนวนมากกว่าครึ่งของอีเมลทั้งหมดบนระบบอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังต้องเป็นฝ่ายจัดหา พัฒนาระบบหรือมาตรการในการป้องกันสแปมเมลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ผู้ประกอบการต้องขอความยินยอมก่อนทำการส่งอีเมลโฆษณาโดยใช้หลัก Opt-in เพียงอย่างเดียว เป็นการจำกัดสิทธิในการโฆษณามากเกินไปเช่นกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาปรับใช้หลัก inferred consent ในกรณีเป็นการโฆษณาสินค้าอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสินค้าเดิมที่ผู้รับให้คำยินยอมไว้โดยเปิดช่องทางให้ผู้รับนั้นสามารถบอกปฏิเสธการรับได้โดยง่าย เพื่อเพิ่มอิสระให้แก่ผู้ประกอบการและส่งเสริมความคล่องตัวในการทำการตลาด


บทบาทของผู้พิพากษาในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด, ทรรศดา มะลิขาว Jan 2017

บทบาทของผู้พิพากษาในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด, ทรรศดา มะลิขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิด และการประยุกต์ใช้หลักการและแนวคิด ในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนความสำคัญของบทบาทผู้พิพากษาในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการทางกฎหมายในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดตามกฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหายาเสพติดในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่า การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนพิจารณาและตัดสินคดีของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ที่ใช้การเบี่ยงเบนคดี (Diversion) ของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดออกจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตามปกติ โดยที่ไม่ได้มีการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทหรืออำนาจหน้าที่ในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูในขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นอย่างเหมาะสม ทำให้การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย ซึ่งพบว่ากระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนการพิจารณาและตัดสินคดี ได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการบำบัดฟื้นฟูตั้งแต่เริ่มแรกของกระบวนการจนสิ้นสุดกระบวนการ อันเนื่องมาจากการประยุกต์ใช้หลักนิติศาสตร์เชิงบำบัด ในรูปแบบที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้พิพากษาในการฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด เพื่อเป้าหมายที่ดีของการบำบัดฟื้นฟูพฤติกรรมการติดยาเสพติด เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดก่อนพิจารณาและตัดสินคดีของประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์นี้ จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยการกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาทในขั้นตอนการคัดกรองบุคคล ในขั้นตอนระหว่างการบำบัดฟื้นฟู และในขั้นตอนการพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อันเป็นขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นที่ควรกำหนดให้ผู้พิพากษาเข้าไปมีบทบาท เพื่อจัดการกับปัญหาอันเป็นอุปสรรคของการบำบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545


ปัญหาการรับรู้รายได้และรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีรายได้และรายจ่ายสำหรับการให้บริการตามสัญญาระยะยาว, สุนทรี พุ่มปรีชา Jan 2017

ปัญหาการรับรู้รายได้และรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีรายได้และรายจ่ายสำหรับการให้บริการตามสัญญาระยะยาว, สุนทรี พุ่มปรีชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการรับรู้รายได้และรายจ่ายสำหรับ การให้บริการตามสัญญาระยะยาวเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 73/2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 74/2541 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ข้อ 1 (ก) วรรคสอง ซึ่งไม่ได้คำนึงถึงการเกิดขึ้นของรายได้และรายจ่ายตามหลักงวดเวลาที่จะได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามลักษณะของการให้บริการตามสัญญาระยะยาว อันมีลักษณะเป็นเงินก้อน เพื่อตอบแทนการให้บริการเมื่อทำสัญญา โดยการชำระเพียงครั้งเดียวตลอดอายุสัญญาที่เกิน 10 ปี และความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่มาจากรายการเดียวกัน จากการศึกษาพบว่า การคำนวณรายได้ดังกล่าวมีหลักพิจารณาการรับรู้รายได้อยู่ 2 แนวทาง จะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการรับรู้รายได้ดังกล่าวไม่เหมาะสมมีการจำกัดจำนวน ระยะเวลาไว้ไม่เกิน 10 ปี หลักเกณฑ์ดังกล่าวนั้นขาดหลักการในการพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม ของอายุสัญญา และไม่ได้คำนึงถึงลักษณะของสัญญาที่มีระยะเวลาเกิน 10 ปีขึ้นไปซึ่งขัดกับ หลักเสรีภาพในการทำ สัญญาและเกณฑ์สิทธิตามประมวลรัษฎากร รวมถึงทางเลือกที่ให้ ผู้ประกอบการสามารถรับรู้รายได้ทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มให้บริการนั้น ย่อมส่งผลให้ ไม่สะท้อนตามลักษณะการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังพบปัญหาความไม่ชัดเจนในการตีความเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายตาม ประมวลรัษฎากรในรูปแบบสัญญาที่มีลักษณะไม่กำหนดระยะเวลาแห่งสัญญาแต่มีลักษณะการก่อให้ เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (Future economic benefit) ตามลักษณะของสัญญา และ รูปแบบสัญญาที่มีลักษณะสามารถขยายอายุสัญญาตามแต่ละกรณีที่ระบุข้อกำหนดไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตามแนวปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 74/2541 นั้นออกโดยไม่ได้อาศัย อำนาจตามความในประมวลรัษฎากรและไม่มีสถานะเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็น เพียงแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการปฏิบัติงานการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งหาก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว อาจเกิดความเสี่ยงที่จะมีข้อโต้แย้ง จากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรประเมินได้ โดยบทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนขอเสนอความคิดอันเป็นแนวทางสำหรับ การพิจารณาออกบทบัญญัติแห่งกฎหมายภาษีอากรโดยพิจารณาจากลักษณะของสัญญาตาม ระยะเวลาแห่งสัญญา เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี รวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรและผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อันจะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีอากรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการประกอบธุรกิจที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง


การปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวภายใต้มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560, เอกชน เกษมถาวรศิลป์ Jan 2017

การปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวภายใต้มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560, เอกชน เกษมถาวรศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียว ทั้งการปฏิเสธโดยแท้ การปฏิเสธโดยปริยาย และการกดดันราคา เป็นพฤติกรรมที่สามารถส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกปฏิเสธและต่อการแข่งขันในตลาดได้ จึงเป็นพฤติกรรมอันต้องห้ามในเรื่องพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่ามาตรา 57 ไม่อาจปรับใช้เพื่อควบคุมพฤติกรรมการปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากปัญหา 2 ประการ ประการหนึ่งคือ การบังคับใช้มาตรา 57 เพื่อควบคุมการปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวยังขาดความชัดเจน ทั้งในด้านประเภทของการปฏิเสธที่จะถูกควบคุม ทั้งในด้านการปรับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นเอกภาพ ทั้งในด้านการไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะนำมาพิจารณาความผิด รวมทั้งด้านการไม่มีข้อต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดกำหนดไว้ และอีกประการหนึ่งคือ วัตถุประสงค์ของมาตรา 57 ไม่ชัดเจนว่ามุ่งคุ้มครองสิ่งใดระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งขันหรือกระบวนการการแข่งขันในตลาด ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติตามมาตรา 57 เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ถูกต้อง และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าควรออกประกาศให้การปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวเป็นพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้การปรับใช้กฎหมายมีความเป็นเอกภาพและมีขอบเขตการควบคุมที่ชัดเจน นอกจากนั้น ยังควรจัดทำแนวปฏิบัติตามมาตรา 57 ทั้งในด้านหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาความผิดและในด้านข้อต่อสู้สำหรับการปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทราบได้ว่าการปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวในสถานการณ์เช่นใดถึงจะเป็นความผิดหรือไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ โดยนำเอาบทบัญญัติแห่งกฎหมายการแข่งขันทางการค้า คำพิพากษาของศาล คำวินิจฉัยและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่มีความชัดเจน และสามารถควบคุมการปฏิเสธไม่ทำธุรกิจฝ่ายเดียวที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมาเป็นต้นแบบ


การคุ้มครองการได้มาซึ่งทรัพย์ของบุคคลภายนอกจากนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ : ศึกษากรณีนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ, สุธาวี พันธุ์อุบล Jan 2017

การคุ้มครองการได้มาซึ่งทรัพย์ของบุคคลภายนอกจากนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ : ศึกษากรณีนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ, สุธาวี พันธุ์อุบล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกำหนดความคุ้มครองให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ หากพิจารณาโดยคำนึงถึงแนวคิดการโอนทรัพย์ระบบสัญญาเดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเห็นได้ว่า การให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกนั้นไม่มีความเป็นระบบและไม่มีความชัดเจน เนื่องจากมีการบัญญัติให้ความคุ้มครองไว้ในหลายมาตราทั้งตามบทบัญญัติในบรรพ 1 และบรรพ 4 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการตีความและปรับใช้ ปัญหาการกำหนดเงื่อนไขเพื่อให้ความคุ้มครอง รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเหนือทรัพย์และดอกผลของทรัพย์ที่บุคคลภายนอกจะได้รับไปจากการคุ้มครอง หากพิจารณาการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกผู้ได้มาซึ่งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันและประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่า แม้ระบบกฎหมายเยอรมันและระบบกฎหมายฝรั่งเศสจะมีแนวคิดการโอนทรัพย์ที่แตกต่างกัน แต่ก็ได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกไว้อย่างเป็นระบบและชัดเจน โดยบทบัญญัติในแต่ละมาตรานั้นมีวัตถุประสงค์ในการปรับใช้แตกต่างและไม่ซ้ำซ้อนกัน มีการบัญญัติเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจนและกำหนดให้บุคคลภายนอกผู้ได้รับความคุ้มครองนั้นได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์ อันมีผลทำให้บุคคลภายนอกได้ไปซึ่งดอกผลของทรัพย์นั้นตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ด้วย จากการศึกษาการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกผู้ได้มาซึ่งทรัพย์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะตามระบบกฎหมายไทย ระบบกฎหมายเยอรมันและระบบกฎหมายฝรั่งเศส ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 1329 เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกผู้ได้มาซึ่งทรัพย์จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะทุกกรณี โดยบัญญัติให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์นั้นและกำหนดเงื่อนไขว่าบุคคลภายนอกจำต้องเป็นผู้ได้มาซึ่งทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต และตัดบทบัญญัติมาตรา 155 ในส่วนที่กำหนดให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกสำหรับกรณีการแสดงเจตนาลวงและมาตรา 160 ที่กำหนดให้ความคุ้มครองแก่บุคคลภายนอกสำหรับกรณีการแสดงเจตนาโดยถูกกลฉ้อฉลออก ทั้งนี้ จำต้องแก้ไขผลของการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามมาตรา 156 โดยกำหนดให้นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆียะ เพื่อให้สามารถปรับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นระบบและมีความชัดเจนมากที่สุด


ความผิดฐานกรรโชกที่ควรกำหนดโทษหนักขึ้น, นิชาภา ศรีอรุณสว่าง Jan 2017

ความผิดฐานกรรโชกที่ควรกำหนดโทษหนักขึ้น, นิชาภา ศรีอรุณสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและรายละเอียดของบทบัญญัติความผิดฐานกรรโชกที่ควรกำหนดโทษหนักขึ้นของประเทศไทย รวมถึงแนวคิดในการบัญญัติความผิดฐานกรรโชกที่ควรกำหนดโทษหนักขึ้นของต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย จากการศึกษาพบว่าการกรรโชกที่เกิดในสังคมไทยมีรูปแบบและวิธีการกระทำความผิดที่มีความร้ายแรงและซับซ้อนมากขึ้น แต่ไม่มีบทลงโทษที่เหมาะสมกับการกระทำความผิดดังกล่าว คือบทบัญญัติความผิดฐานกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยได้กำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นในกรณีเหตุฉกรรจ์ที่คำนึงถึงปัจจัยด้านพฤติการณ์ประกอบการกระทำเท่านั้น ซึ่งเมื่อผู้ศึกษาได้ศึกษาบทบัญญัติความผิดฐานกรรโชกที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐฮังการี สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐอินเดีย พบว่าประเทศดังกล่าวได้บัญญัติให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นไว้อย่างครอบคลุม กล่าวคือได้กำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากเหตุฉกรรจ์อันคำนึงถึงปัจจัยด้านผู้กระทำ ปัจจัยด้านพฤติการณ์ประกอบการกระทำ ปัจจัยด้านมูลเหตุจูงใจของผู้กระทำ และปัจจัยด้านผู้ถูกกระทำ และกำหนดให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากผลแห่งการกระทำ ดังนั้น ผู้ศึกษาเสนอแนะให้นำแนวความคิดการรับโทษหนักขึ้นในความผิดฐานกรรโชกของต่างประเทศมาปรับใช้กับประมวลกฎหมายอาญาของไทย โดยกำหนดให้การกรรโชกที่กระทำโดยเจ้าพนักงาน โดยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน โดยขู่ว่าจะกล่าวหาว่าเขากระทำผิดอาญา โดยปกปิดใบหน้า กระทำในสถานศึกษา กระทำไปเพราะความเกลียดชัง และกระทำต่อบุคคลผู้มีความเปราะบางในสังคม เป็นเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานกรรโชก และกำหนดให้การกรรโชกที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายเป็นผลแห่งการกระทำที่ผู้กระทำผิดต้องรับโทษหนักขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับการลงโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำ


ปัญหาในการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณี, ปิยวัฒน์ วิทูราภรณ์ Jan 2017

ปัญหาในการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณี, ปิยวัฒน์ วิทูราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณีในประเทศไทยโดยศึกษาเกี่ยวกับประเภทความรับผิดทางอาญา อิทธิพลและแนวความคิดในการบัญญัติกฎหมาย วิธีการบัญญัติกฎหมายและมาตรการภายใต้วิธีการนั้น และผลการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการค้าประเวณี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการค้าประเวณีในประเทศไทย การกำหนดความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการค้าประเวณีอาจจำแนกออกได้เป็นความผิดอาญาเกี่ยวกับการค้าประเวณีที่เป็นการค้ามนุษย์ การค้าประเวณีเด็ก และการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี ซึ่งเป็นความผิดอาญาที่ต้องมีการกำหนดให้เหมือนกันในทุกประเทศ ขณะที่ความผิดอาญาเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีโดยสมัครใจต่างๆ ล้วนแต่เป็นความผิดอาญาที่อาจกำหนดให้แตกต่างกันได้ตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ สำหรับการกำหนดความผิดอาญาต่อการค้าประเวณีโดยสมัครใจในประเทศไทยนั้นพบว่าเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณีที่ไม่สอดคล้องต่อหลักเกณฑ์ในการกำหนดความผิดอาญา ส่งผลให้การกำกับดูแลการค้าประเวณีไม่สามารถทำได้และยังไม่สามารถให้ความคุ้มครองแก่ผู้ค้าประเวณีได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงวิธีการบัญญัติกฎหมายในการกำกับดูแลการค้าประเวณีพบว่า วิธีการกำหนดความผิดอาญาต่อการค้าประเวณีโดยตรงและการห้ามการค้าประเวณีผ่านการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ใช้บริการนั้น ไม่สามารถกำกับดูแลการค้าประเวณีอย่างได้ผล และยังก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ จากการบังคับใช้กฎหมาย ขณะที่การอนุญาตให้มีการค้าประเวณีโดยถูกกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลบางประการนั้น เป็นวิธีการที่ได้ผลในการกำกับดูแลการค้าประเวณีโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ค้าประเวณี ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรยกเลิกการกำหนดความรับผิดทางอาญาต่อผู้ค้าประเวณี และควรมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลการค้าประเวณี โดยเปลี่ยนจากวิธีการห้ามการค้าประเวณีมาเป็นการอนุญาตให้มีการค้าประเวณีโดยถูกกฎหมายภายใต้การกำกับดูแลบางประการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถคุ้มครองสังคมจากผลกระทบอันเกิดจากการค้าประเวณีและสามารถคุ้มครองผู้ค้าประเวณีได้ในขณะเดียวกัน


การคุ้มครองผู้ต้องขังกรณีถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำ, วิมลรัตน์ วราสิริกุล Jan 2017

การคุ้มครองผู้ต้องขังกรณีถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำ, วิมลรัตน์ วราสิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดรวมทั้งหลักมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ต้องขังที่ถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำ รวมถึงนำเสนอแนวทางในการแก้ไขพัฒนากฎหมายราชทัณฑ์ในประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 จากการศึกษาพบว่ากฎหมายราชทัณฑ์ในประเทศไทยยังมิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติคุ้มครองผู้ต้องขังในกรณีที่ถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าทีโดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำเท่าที่ควร ส่งผลให้ปัจจุบันยังมีการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังอันเป็นผลเสียต่อการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การลงโทษในปัจจุบันที่มุ่งจะแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่หวนกลับมากระทำความผิดซ้ำและยังส่งผลถึงความน่าเชื่อถือของกรมราชทัณฑ์ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนยุติธรรมทางอาญา เมื่อศึกษาแนวคิดตามมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ค.ศ. 2015 พบว่าได้มีการกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้ต้องขังในกรณีที่ถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำ โดยการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้เข้ามามีส่วนช่วยในการตรวจสอบการถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำ การคุ้มครองในเรื่องการร้องทุกข์ การใช้กำลังบังคับ และการแจ้ง นอกจากนี้จากการศึกษากฎหมายบังคับโทษในต่างประเทศพบว่าตามกฎหมายบังคับโทษในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศออสเตรเลีย(รัฐนิวเซาท์เวลส์) ประเทศแอฟริกาใต้ ล้วนมีบทบัญญัติที่เป็นการคุ้มครองผู้ต้องขังในกรณีนี้โดยวิธีที่แตกต่างกันออกไป วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 ในส่วนของการร้องทุกข์กรณีที่ผู้ต้องขังถูกทำร้ายหรือทารุณและเสนอให้มีการตรากฎกระทรวงมหาดไทยที่เป็นการกำหนดแนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ถูกทำร้ายหรือทารุณจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงานเรือนจำในเรื่องการกำหนดหน้าที่ของแพทย์ในการมีส่วนร่วมคุ้มครองผู้ต้องขัง การร้องทุกข์ การใช้กำลังบังคับ และการแจ้ง