Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 234

Full-Text Articles in Engineering

การเปรียบเทียบวิธีประเมินการจำแนกเสียงพูดโดยใช้ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์, พิมพ์วิภา จารุธำรง Jan 2021

การเปรียบเทียบวิธีประเมินการจำแนกเสียงพูดโดยใช้ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์, พิมพ์วิภา จารุธำรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจำแนกเสียงพูดคือความสามารถในการจำแนกระหว่างเสียงพยางค์หรือคำ คนที่มีความสามารถในการจำแนกเสียงพูดต่ำมักจะมีปัญหาในการแยกระหว่างคำที่มีเสียงคล้ายกัน โดยปกติการจำแนกเสียงพูดถูกประเมินโดยนักโสตสัมผัสวิทยาทำให้เข้าถึงการประเมินได้ยากเนื่องจากมีนักโสตสัมผัสวิทยาจำนวนไม่มาก นอกจากนี้การประเมินอาจใช้เวลานานหรือไม่สะดวกสำหรับผู้ป่วยบางกลุ่ม เพื่อลดปัญหาเหล่านี้จึงมีการพัฒนาวิธีประเมินการจำแนกเสียงพูดโดยใช้ศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ (Event-Related Potentials) วิธีหนึ่งที่มีการใช้คือการสังเกตองค์ประกอบ Mismatch Negativity (MMN) ระหว่างทำการทดลองการฟังแบบ Oddball ต่อมามีการเสนอวิธีใหม่โดยนำสิ่งกระตุ้นทางสายตาที่เป็นตัวอักษรมาใช้ร่วมกับสิ่งกระตุ้นทางเสียง งานวิจัยนี้เสนอวิธีการประเมินโดยใช้ภาพที่แสดงถึงความหมายของคำโดยแบ่งออกเป็นสามแบบที่มีจำนวนภาพและลำดับในการทดลองแตกต่างกัน วิธีใช้ภาพความหมายของคำแต่ละแบบรวมทั้งวิธีที่ใช้การฟังแบบ Oddball และวิธีที่ใช้ตัวอักษรถูกนำมาทดสอบโดยใช้คำสองคำที่มีเสียงพยัญชนะต่างกันแต่มีเสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เหมือนกันเพื่อเปรียบเทียบระหว่างแต่ละวิธีโดยนำรูปคลื่นที่ได้มาสร้างเป็นชุดคุณลักษณะแล้วใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อจำแนกระหว่างแต่ละเงื่อนไขในการทดลองซึ่งตัวจำแนกที่ใช้ได้แก่ Linear Discriminant Analysis (LDA) และ Support Vector Machine (SVM) จากการเปรียบเทียบพบว่ามีวิธีที่สามารถนำมาใช้สองวิธี ได้แก่วิธีใช้ภาพความหมายของคำแบบภาพเดียวและวิธีไม่ใช้ภาพ ทั้งสองวิธีนี้ให้ความแม่นยำในการจำแนกสูงกว่า 80% และใช้เวลาหรือสมาธิในการทดลองน้อยกว่าวิธีอื่น การประเมินการจำแนกเสียงพูดโดยใช้วิธีเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองอัตโนมัติที่ช่วยประเมินและแนะนำว่าผู้ป่วยควรจะถูกส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันกับนักโสตสัมผัสวิทยาหรือไม่ซึ่งสามารถช่วยลดภาระงานของนักโสตสัมผัสวิทยาและทำให้การประเมินเข้าถึงได้ง่ายขึ้น


ผลกระทบของอุณหภูมิผิวทะเลแปซิกตะวันตกเฉียงเหนือที่มีต่อพายุหมุนเขตร้อนและส่งผลต่อประเทศไทย, ฐานิต นุกูลราษฎร์ Jan 2021

ผลกระทบของอุณหภูมิผิวทะเลแปซิกตะวันตกเฉียงเหนือที่มีต่อพายุหมุนเขตร้อนและส่งผลต่อประเทศไทย, ฐานิต นุกูลราษฎร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเป็นหนึ่งในปัจจัยในการก่อเกิดพายุหมุนเขตร้อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและปรากฏการณ์เอนโซ (El Nino – Southern Oscillation: ENSO) กับความถี่ ความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อน และปริมาณฝนในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2562 โดยแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็นทะเลจีนใต้และทะเลฟิลิปปินส์ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Ocean Nino Index (ONI) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ปรากฏการณ์เอนโซ กับค่าผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณทะเลจีนใต้ไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เมื่อวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบไขว้ พบว่าค่าผิดปกติอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณทะเลจีนใต้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับดัชนี ONI ที่เวลา 3-6 เดือน ขณะที่บริเวณทะเลฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 0-6 เดือน จำนวนพายุหมุนเขตร้อนในบริเวณทะเลจีนใต้มีมากในปีลานีญาและมีจำนวนน้อยในปีเอลนีโญ ขณะที่บริเวณทะเลฟิลิปปินส์มีจำนวนพายุมากในปีเอลนีโญและมีจำนวนพายุน้อยลงในปีลานีญา ความรุนแรงของพายุซึ่งบ่งชี้ด้วยดัชนี Power Dissipation Index ในบริเวณทะเลฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับดัชนี ONI การวิเคราะห์ปริมาณฝนแบ่งเป็นช่วงต้น (พ.ค.-ก.ย.) และช่วงปลาย (ต.ค.-ธ.ค.) ฤดูกาลพายุของประเทศไทย พบว่าในปีเอลนีโญมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าปีลานีญาในทุกภาค นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างค่าผิดปกติของปริมาณน้ำฝนในภาคตะวันออกกับความถี่ของพายุหมุนเขตร้อนในทะเลจีนใต้


การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติกที่มีเซนเซอร์ Mems และ Imu โดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที, จิตรานุช พัสดุธาร Jan 2021

การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติกที่มีเซนเซอร์ Mems และ Imu โดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที, จิตรานุช พัสดุธาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติกที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU ในการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่งเมื่อรังวัดขณะเอียงเสาเครื่องรับด้วยมุม 15°, 25°, 35° และ 45° โดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที กรณีแรกทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โดยการทดสอบเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสในพื้นที่เปิดโล่งและบนดาดฟ้าอาคาร ซึ่งจุดทดสอบอยู่ห่างจากผนัง 2 เมตร กรณีที่สองดำเนินการทดสอบบนหมุดดาวเทียม RTK ของกรมที่ดิน กรณีที่สามทดสอบบนหมุดหลักเขตที่ดิน การทดสอบนี้แบ่งออกเป็น 3 กรณีย่อยคือ (1) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมเปิดโล่ง (2) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมหนาแน่นและ (3) สภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้หนาแน่น ซึ่งทดสอบเก็บข้อมูลทั้งหมด 20 จุดต่อกรณี รวมเป็น 120 จุด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างค่าพิกัดอ้างอิงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ MEMS และเซนเซอร์ IMU การเปรียบเทียบความถูกต้องนั้น ทำการเปรียบเทียบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จากการศึกษาพบว่าเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติกที่มีเซนเซอร์ IMU ให้ผลลัพธ์ในการกำหนดตำแหน่งถูกต้องสูงกว่าเครื่องรับที่มีเซนเซอร์ MEMS สำหรับการทดสอบในพื้นที่เปิดโล่งที่มีสัญญาณชัดเจนและสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งบดบัง แม้ว่าเครื่องรับสัญญาณที่มีเซนเซอร์ IMU จะมีผลลัพธ์ในการกำหนดตำแหน่งถูกต้องสูงกว่าเครื่องรับที่มีเซนเซอร์ MEMS แต่ผลค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งในทางราบยังไม่สามารถยอมรับได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องมีความตระหนักในการนำเครื่องรับสัญญาณไปรังวัดรับสัญญาณด้วยการเอียงเสาในงานรังวัดจริง และสุดท้ายนี้สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการเปรียบเทียบความถูกต้องการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง ในขณะที่เสาเอียงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสยี่ห้อต่างๆ


การจำแนกข้อมูลจุดพิกัดสามมิติจากระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่เพื่อตรวจหาพื้นผิวถนนและหลุมบ่อด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, สรศักดิ์ ชัยทวี Jan 2021

การจำแนกข้อมูลจุดพิกัดสามมิติจากระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่เพื่อตรวจหาพื้นผิวถนนและหลุมบ่อด้วยโครงข่ายประสาทคอนโวลูชัน, สรศักดิ์ ชัยทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การชำรุดเสียหายของถนนส่งผลกระทบต่อผู้เดินทาง ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุต่อการขับขี่ ดังนั้นข้อมูลสภาพของพื้นผิวถนนและข้อมูลการชำรุดเสียหายจึงมีความจำเป็นในการสำรวจเก็บข้อมูล การตรวจหาการชำรุดเสียหายของถนนแบบอัตโนมัตินิยมใช้ข้อมูลภาพถ่ายหรือวิดีโอจากกล้องที่ติดตั้งบนยานพาหนะ และพัฒนาอัลกอรึทึมต่าง ๆ ในการตรวจหา แต่อย่างไรก็ตามการใช้ภาพถ่ายหรือวิดีโอในการตรวจหาหลุมบ่อ มีข้อจำกัดในเรื่องของมาตราส่วนและตำแหน่งระบบพิกัดแผนที่ ทำให้ไม่สามารถทราบขนาดและตำแหน่งที่มีความแม่นยำได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ใช้ระบบการทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ในการสำรวจสภาพแวดล้อมของถนนเพื่อจำแนกหลุมบ่อ ถนนและวัตถุอื่น ๆ โดยใช้โครงข่ายประสาทคอนโวลูชันจำแนกจุดพิกัดสามมิติโดยตรง ด้วยวิธีการใช้ค่า XYZ และวิธีนำเสนอใช้ค่า XYZ-RGB จุดพิกัดสามมิติจากการสำรวจประเมินความถูกต้องตามมาตรฐาน NSSDA ปรากฏว่าให้ค่าความถูกต้องที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 แบบสามมิติเท่ากับ 0.089 เมตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์งานชั้นที่ 2 และผลการจำแนกวิธีใช้เฉพาะค่า XYZ ให้ค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับร้อยละ 96.77 และค่า IoU ของหลุมบ่อ ถนนและวัตถุอื่น ๆ เท่ากับร้อยละ 59.50, 94.22 และ 94.06 ตามลำดับ ในส่วนวิธีนำเสนอแบบใช้ค่า XYZ-RGB ให้ค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับร้อยละ 97.50 และค่า IoU ของหลุมบ่อ ถนนและวัตถุอื่น ๆ เท่ากับร้อยละ 66.66, 95.43 และ 95.42 ตามลำดับ เมื่อนำผลการจำแนกทั้ง 2 วิธีเปรียบเทียบผลด้วยการทดสอบทางสถิติแล้วพบว่าที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการจำแนกจากทั้ง 2 วิธีมีผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ


การศึกษาพัฒนาการของจุดความร้อนจากไฟในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มแบบดีบีสแกน และการประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล, อุนนดา แพศรีวโรทัย Jan 2021

การศึกษาพัฒนาการของจุดความร้อนจากไฟในภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มแบบดีบีสแกน และการประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล, อุนนดา แพศรีวโรทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเผาชีวมวลจำพวกเศษวัชพืชและต้นไม้นั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหามลพิษทางอากาศบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทำให้เกิดควันพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ กระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ อีกทั้งยังบดบังทัศนวิสัยอีกด้วย รูปแบบและสาเหตุของการเผานั้นยังไม่สามารถบ่งบอกชัดเจนได้โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ป่าสงวน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถสำรวจภาคพื้นสนามได้โดยง่าย ในปัจจุบันไฟป่าและไฟจากการเผาสามารถติดตามได้ค่อนข้างเรียลไทม์จากระบบเซนเซอร์บนดาวเทียม นั่นคือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) และระบบใหม่ที่สามารถให้ความละเอียดที่ยิ่งขึ้น นั่นคือ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) ในงานวิจัยนี้ได้นำเทคนิคการวิเคราะห์กลุ่ม Density-based spatial clustering of applications with noise (DBSCAN) และวิธีการประมาณความหนาแน่นแบบเคอร์เนล (Kernel Density Estimation) ในการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนเชิงพื้นที่และเวลาที่ได้มาจากระบบ VIIRS ระหว่างวันที่ 1 เดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2562 และ วันที่ 30 เมษายน ปีพุทธศักราช 2563 ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวแสดงให้เห็นกลุ่มข้อมูลจุดความร้อน และบริเวณที่มีพื้นที่ไฟป่าเกิดขึ้นหนาแน่นพร้อมทั้งระยะเวลาและการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เกิดไฟในบริเวณนั้น การแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติเชิงพื้นที่และเวลาทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาได้ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ จากการใช้เทคนิค DBSCAN ทำให้ทราบรายละเอียดของวันที่พบและบริเวณพิกัดที่เกิดจุดเริ่มต้นของไฟป่า และทราบทิศทางการลุกลามของไฟป่าในแต่ละพื้นที่ ส่วนเทคนิค KDE ทำให้การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของบริเวณกลุ่มความร้อนเริ่มต้นจากขนาดเล็กจนขยายกว้าง บริเวณที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของไฟสามารถบ่งชี้ได้จากการวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธี เพื่อการประเมินผล งานวิจัยนี้ได้รายงานการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ไฟป่าในช่วงเวลาเดียวกัน ผลการวิเคราะห์ของงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันอัคคีภัยและสามารถใช้ในการพยากรณ์การเกิดไฟได้ในอนาคตอีกด้วย


ผลของซิลิกาฟูมและแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์ต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย, กฤตภาส สุวรรณมณี Jan 2021

ผลของซิลิกาฟูมและแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์ต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย, กฤตภาส สุวรรณมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เถ้าลอยร่วมกับแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมผสมทดแทนปูนซีเมนต์ โดยเถ้าลอยที่ใช้ในการศึกษานี้มาจากห้าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศญี่ปุ่น นำมาคัดขนาดอนุภาคคือ น้อยกว่า 45 µm ระหว่าง 45 – 75 µm และ 75 – 150 µm โดยงานวิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงการทดลองคือ การศึกษาผลของเถ้าลอยต่างแหล่งกำเนิดและขนาดอนุภาคต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย และการศึกษาปริมาณการใช้แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยต่อสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสม โดยการศึกษาสมบัติทางกายภาพเพื่อการนำมอร์ตาร์ผสมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ระยะเวลาก่อตัว การไหลแผ่ กำลังรับแรงอัด และกำลังรับแรงดัด จากการศึกษาพบว่าการใช้เถ้าลอยชนิด FA1 ขนาดอนุภาคน้อยกว่า 45 µm ทดแทนปูนซีเมนต์อัตราส่วนร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ทำให้มอร์ตาร์มีค่าการไหลแผ่ กำลังรับแรงอัด และกำลังรับแรงดัดที่ใกล้เคียงกับมอร์ตาร์ธรรมดาที่สุดในช่วงอายุ 28 วัน แต่มีความแข็งแรงที่ช่วงอายุต้นต่ำกว่ามอร์ตาร์ธรรมดา นอกจากนี้การใช้แคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ผสมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอย ทำให้มอร์ตาร์มีค่าความแข็งแรงช่วงต้นใกล้เคียงมอร์ตาร์ธรรมดามากที่สุด และการใช้ซิลิกาฟูมปริมาณร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก พบว่าส่งผลให้มอร์ตาร์มีค่ากำลังรับแรงอัดและแรงดัดในช่วงต้นที่เพิ่มขึ้นจนมีค่าใกล้เคียงกับมอร์ตาร์ธรรมดา และในช่วงอายุปลายพบว่ามอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยและซิลิกาฟูมมีค่ากำลังรับแรงอัดอยู่ที่ 66.02 MPa ดังนั้นทั้งแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรตโพลีคาร์บอกซิเลทอีเทอร์และซิลิกาฟูมมีความเหมาะสมที่สามารถเพิ่มกำลังรับแรงอัดช่วงต้นและพัฒนาสมบัติทางกายภาพของปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยให้มีสมบัติที่ใกล้เคียงกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาได้เพื่อให้สามารถนำปูนซีเมนต์ผสมไปใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปได้


การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็งสำหรับโรงงานแปรรูปขั้นต้นแห่งหนึ่ง, ณัฏฐิกา แซ่โล้ว Jan 2021

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็งสำหรับโรงงานแปรรูปขั้นต้นแห่งหนึ่ง, ณัฏฐิกา แซ่โล้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะพร้าวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีความต้องการตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปีแต่มีปริมาณที่ไม่คงที่ โดยราคามะพร้าวจะแปรผกผันกับปริมาณผลผลิตมะพร้าว สำหรับกรณีศึกษาซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตมะพร้าวขั้นต้น มีผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวเพื่อส่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าวภายในประเทศต่อไป พบว่าความไม่คงที่ของปริมาณผลผลิตมะพร้าวทำให้ทางธุรกิจกรณีศึกษาประสบปัญหาไม่สามารถจัดส่งผลิตภัณฑ์มะพร้าวได้ครบตามความต้องการของลูกค้า ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดนำวิธีการแช่แข็งมาใช้ในการแปรรูปผลผลิตมะพร้าวเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์มะพร้าวให้ธุรกิจกรณีศึกษามีผลิตภัณฑ์มะพร้าวจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงินในการลงทุนแปรรูปเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวด้วยวิธีการแช่แข็ง โดยพิจารณาทางเลือกในการลงทุนทั้งในรูปแบบของการใช้บริการบริษัทรับฝากแช่แข็งและการลงทุนสร้างห้องเย็นสำหรับใช้งานภายในธุรกิจกรณีศึกษา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานเริ่มต้นจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจกรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์ทางเลือกการลงทุนที่เป็นไปได้ จากนั้นทำการวางแผนการผลิตรายเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน และประมาณการทางด้านการเงินเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน โดยพิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) และระยะเวลาคืนทุน ผลการศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของการผลิตรายเดือนเป็นระยะเวลา 24 เดือน พบว่าทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนดีที่สุดคือการแช่แข็งผลิตภัณฑ์มะพร้าวโดยใช้บริการบริษัทรับฝากแช่แข็ง โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 5.28 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 25% และใช้ระยะเวลาคืนทุน 8 เดือน นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ความไวของตัวแปรที่เกี่ยวข้องพบว่าคำตอบสำหรับทางเลือกในการลงทุนจะไม่เปลี่ยนแปลงหากราคาขายผลิตภัณฑ์ลดลงไม่ต่ำกว่า 6% หรือราคาวัตถุดิบมะพร้าวเพิ่มขึ้นไม่เกิน 9% ของราคาปัจจุบัน


การวัดกำลังพลวัตแฝง, ภูวเดช เสน่ห์เมือง Jan 2021

การวัดกำลังพลวัตแฝง, ภูวเดช เสน่ห์เมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลที่สำคัญในการประเมินความปลอดภัยในงานยกของหนักตามแนวทางชีวกลศาสตร์ คือ ข้อมูลกำลังยกสูงสุด ซึ่งหาได้จาก 2 แนวทางคือ การประเมินในภาวะสถิต และการประเมินภาวะพลวัต ที่มีความใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหว แต่เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา และความซับซ้อนในการคำนวณ จึงได้มีการประเมินในภาวะพลวัตแฝง (Semi Dynamic) มาใช้แทนการประเมินภาวะพลวัต จากการเปรียบเทียบแนวทางการประเมินกำลังยกสูงสุดในภาวะสถิตและพลวัตแฝงที่ความเร็วในการยกของที่ 0.73 และ 0.54 m/s จากอาสาสมัครทั้ง 8 คน เป็นชาย 4 คน และหญิง 4 คน ทดสอบกำลังยก 3 แบบ คือ 1.การใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ (Composite Strength) 2.กล้ามเนื้อแขน(Arm Strength) และ 3. กล้ามเนื้อไหล่(Shoulder Strength) ผลการศึกษาพบว่า การทดสอบกำลังแบบใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ วิเคราะห์ค่าโมเมนต์และแรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่าง (L5/S1) พบว่ากำลังยกสูงสุดในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยมากกว่าภาวะสถิตร้อยละ 27.21 และ 19.28 ตามลำดับ แต่ค่ากำลังสูงสุดที่ข้อต่อหลังส่วนล่าง (Maximum Joint Strength) ในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ากว่าภาวะสถิตร้อยละ 4.08 และ 6.34 ตามลำดับ และแรงกดอัดสูงสุดที่บริเวณหลังส่วนล่างในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/sมีค่าใกล้เคียงกับภาวะสถิต แสดงว่าการยกแบบเคลื่อนไหวสามารถยกของได้มากกว่าการยกแบบอยู่กับที่โดยที่การทำงานของกล้ามเนื้อหลังเพิ่มขึ้นไม่มาก และค่าความปลอดภัยยังอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับภาวะสถิต สำหรับผลวิเคราะห์ค่าโมเมนต์ที่ข้อต่อของข้อศอกขณะทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อแขน พบว่ากำลังยกสูงสุดในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 และ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาวะสถิตร้อยละ 3.72 และ 4.19 ตามลำดับ แต่ค่ากำลังสูงสุดที่ข้อต่อของข้อศอกในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.73 m/s มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าภาวะสถิต ร้อยละ 3.74 แต่ในภาวะพลวัตแฝงที่ 0.54 m/s มีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกับภาวะสถิต …


การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและแบบจำลองคาโน เพื่อหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, มุกรินทร์ ทองโอเอี่ยม Jan 2021

การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและแบบจำลองคาโน เพื่อหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ, มุกรินทร์ ทองโอเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความพึงพอใจของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญเชิงกลยุทธิ์ของหลายสถาบันการศึกษา ในการรับมือตลาดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างเร็ว งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการหาความต้องการของผู้เรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตใหม่ โดยพิจารณาจากความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายต่อหลักสูตรมหาบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ โดยนำเทคนิค Choice-Based Conjoint Analysis และ Kano Model มาวิเคราะห์ความสำคัญของคุณลักษณะหลักสูตรมหาบัณฑิต เช่น หลักสูตรสาขาเฉพาะทาง ช่วงเวลาเรียน รูปแบบงานวิจัย ภาษาที่ใช้สอน รูปแบบการสอน และค่าเรียน นอกจากนี้งานวิจัยได้ใช้เทคนิค เทคนิค Latent Class Analysis เพื่อแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความพึงพอใจที่แตกต่างกันในหลักสูตรมหาบัณฑิต โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความชอบแตกต่างกันได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหลักสูตรเฉพาะทางระบบโซ่อุปทานค่าเรียนต่ำกว่า 100,000 บาท และกลุ่มหลักสูตรเฉพาะทางวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจสอนด้วยภาษาอังกฤษ โดยความแตกต่างของความพึงพอใจคุณลักษณะหลักสูตรมหาบัณฑิตทั้งสองกลุ่มมีความเด่นชัดในคุณลักษณะหลักสูตรเฉพาะทางและค่าเรียน เป็นต้น ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ เช่น สหวิทยาการ หลักสูตรร่วมมือสถาบัน เกณฑ์ผู้สมัครมีประสบการณ์ทำงาน และโครงการผู้เรียน ที่ได้รับการวิเคราะห์โดย Kano Model พบว่าไม่ได้มีความสำคัญกับผู้เรียนแต่อย่างใด งานวิจัยจึงเป็นงานที่ริเริ่มนำเทคนิคดังกล่าวเพื่อมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตใหม่สำหรับงานวิจัยด้านการศึกษา


ระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิต สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์, อัจฉราพร เพชรเก่า Jan 2021

ระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิต สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์, อัจฉราพร เพชรเก่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิตสำหรับกระบวนการผลิตเป็นแบบเครื่องจักรเดี่ยว โดยมีเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรขึ้นอยู่กับลำดับงานก่อนหน้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรโดยที่ยังคงสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันระยะเวลาการส่งมอบ รวมถึงช่วยควบคุมการผลิต ซึ่งงานวิจัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่การศึกษาและรวบรวมข้อมูลลักษณะสินค้า เงื่อนไขการผลิต รวมถึงขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมบนพื้นที่การผลิต จากนั้นทำการศึกษาวิธีการฮิวริสติกและออกแบบวิธีการวางแผนการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำเสนอหลักการฮิวริสติกมาใช้ในการวางแผนการผลิต โดยประยุกต์จากกฎการจ่ายงานต่างๆ ระหว่าง EDD (Earliest Due Date), SPT (Shortest Processing Time) และ CUC (Closet Unvisited City) จากนั้นทำการออกแบบและพัฒนาระบบที่ช่วยสนับสนุนการจัดตารางและควบคุมการผลิตรวมถึงระบบฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1) การป้อนข้อมูลความต้องการสินค้าเข้าสู่ระบบ 2) การจัดตารางการผลิต 3) การส่งงานเข้าสู่การผลิต 4) การติดตามการผลิต และ 5) การปิดคำสั่งการผลิต ขั้นตอนถัดมาคือทำการทดสอบและประเมินผลวิธีการวางแผนการผลิตที่นำเสนอและระบบที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผลของการประเมินในด้านประสิทธิผลของระบบ โดยทำการเปรียบเทียบผลรวมของเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรด้วยวิธีการวางแผนในปัจจุบันกับวิธีการวางแผนการผลิตที่นำเสนอ โดยใช้ข้อมูลในอดีตของงานที่ต้องผลิต ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2562 จนถึง เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 พบว่าสามารถลดเวลาในการปรับตั้งเครื่อง 36% โดยเฉลี่ย และในด้านประสิทธิภาพของระบบ พบว่าระบบที่นำเสนอนี้สามารถช่วยลดขั้นตอนในการจัดตารางการผลิตให้กับผู้ใช้งานอย่างมาก รวมทั้งสามารถติดตามและควบคุมผลผลิตได้ตามวัตถุประสงค์และผ่านเกณฑ์การประเมินผลการยอมรับจากผู้ใช้งาน


การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโดยใช้ตัวดูดซับชีวภาพจากเปลือกมะละกอ (PP) โดยใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับตะกั่วคือ ความเข้มข้นของตะกั่วเริ่มต้นในสารละลาย 96.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 0.73 กรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นผิวตัวดูดซับ PP ด้วย PDTC (PP-PDTC) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับ พบว่าผลการดูดซับตะกั่วสำหรับ PP และ PP-PDTC ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 97.51 และ 99.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาไอโซเทอมของ PP และ PP-PDTC สอดคล้องกับแบบจำลองของฟรุนดลิชและดูบินิน-ราดัชเควิช ตามลำดับ การศึกษาจลนพลศาสตร์ของทั้งสองตัวดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองอันดับสองเทียม การศึกษาอุณหพลศาตร์ของ PP และ PP-PDTC พบว่า เป็นกระบวนการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง การวิเคราะห์ SEM/EDX พบว่าพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากถูกปรับปรุงด้วย PDTC และหลังจากการดูดซับด้วยตะกั่ว การวิเคราะห์ FTIR พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC และการวิเคราะห์ BET พบว่าปริมาตรรูพรุนและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ PP-PDTC มีขนาดมากกว่า PP การศึกษาค่าร้อยละของการคายซับโดยใช้กรดไนตริกบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC มีค่าเท่ากับร้อยละ 75.16 และ 92.79 ตามลำดับ


การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน Jan 2021

การคำนวณการรั่วไหลของสารประกอบซีเซียมในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ด้วยโปรแกรม Modified Art Mod 2, ชัยวิวัฒน์ กฤตสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิที่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2011 อุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ที่กักเก็บแท่งเชื้อเพลิงจำนวนมาก เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุบัติเหตุร้ายแรงในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว ที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงเทียบเท่าหรือมากกว่าอุบัติเหตุร้ายแรงทางนิวเคลียร์จากการหลอมเหลวแท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สำหรับประเทศไทยงานวิจัยเกี่ยวกับอุบัติเหตุร้ายแรงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ถูกศึกษาและพัฒนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนวางแผนการจัดการอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ และการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นความเข้าใจการดำเนินไปของอุบัติเหตุในบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นวิจัยที่มีความจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการรับมือผลกระทบทางนิวเคลียร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต งานวิจัยนี้ศึกษาการเกิดอุบัติเหตุในกรณีสูญเสียอุปกรณ์ในการหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิหน่วยที่สี่ โดยเริ่มจากกการประเมินความร้อนจากการสลายตัวของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และสมการที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณอุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นที่จะเพิ่มขึ้น และเวลาที่ใช้ในการทำให้น้ำหล่อเย็นในบ่อเก็บเชื้อเพลิงเกิดการเดือดและระเหย ตามลำดับ จากการคำนวณพบว่า ระดับน้ำหล่อเย็นจะลดลงจนถึงบริเวณส่วนบนของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง เป็นเวลาประมาณ 14 วัน และส่วนล่างของปลอกหุ้มเชื้อเพลิง และ 30 วันตามลำดับ อุณหภูมิของปลอกหุ้มเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นจนถึง 1100 องศาเคลวิน ภายในเวลา 17 วัน โดยในระยะเวลาดังกล่าวคาดว่าทำให้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์เกิดการบวมและแตกออกจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน ตามลำดับ ส่งผลให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อม จากนั้นจึงใช้โปรแกรม Modified ART Mod 2 ในการจำลองการรั่วไหลของซีเซียมไอโดไดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลในขณะที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งพบว่าซีเซียมไอโดด์ในรูปแบบของแก๊สและซีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปแบบของแอโรซอลสามารถรั่วไหลออกไปสู่สิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ


การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี Jan 2021

การจำลองมอนติคาร์โลของการเกิดรังสีเอกซ์ในเครื่องพลาสมาโฟกัส, ภัคจิรา คชเสนี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในวิจัยนี้ได้ทำการจำลองการแผ่รังสีเอกซ์โดยใช้โมเดลจากเครื่องพลาสมาโฟกัส TPF – II ขนาด 1.5 kJ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบมอนติคาร์โล (Geant4) โดยทำการจำลองในช่วงที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างลำอิเล็กตรอนกับขั้วแอโนดและทำการวิเคราะห์รังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้น ทำการเปรียบเทียบรังสีเอกซ์เมื่อมีการเปลี่ยนลักษณะของขั้วแอโนดในส่วนของวัสดุและรูปร่างซึ่งได้แก่ 1. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทองแดง 2. ขั้วแอโนดทรงกระบอกตันทำจากทังสเตน 3. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทองแดง 4. ขั้วแอโนดทรงกระบอกเจาะรูทำจากทังสเตน โดยผลการจำลองพบว่าปริมาณรังสีเอกซ์จะมีค่าสูงสุดมุม 60-70 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนประมาณ 200 keV และที่มุม 10 องศา เมื่อพลังงานของลำอิเล็กตรอนตั้งแต่ 300 keV ขึ้น โดยวัสดุของขั้วแอโนดที่ให้ค่าปริมาณรังสีเอกซ์สูงสุด ได้แก่ ทังสเตน


การประยุกต์พลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณสำหรับการทำนายอุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนเพื่อป้องกันการควบแน่นของไอกรดในระบบเครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน, เวธน์พล เจนวัฒนานนท์ Jan 2021

การประยุกต์พลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณสำหรับการทำนายอุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนเพื่อป้องกันการควบแน่นของไอกรดในระบบเครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน, เวธน์พล เจนวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน (HRSG) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการกู้คืนพลังงานที่สะสมอยู่ในก๊าซร้อนหลังการเผาไหม้ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ การป้องกันการกัดกร่อนจากไอกรดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยและอายุชองHRSG โดยการกัดกร่อนพบที่บริเวณชุดท่อแถวสุดท้ายของHRSG เนื่องจากอุณหภูมิของก๊าซร้อนที่ต่ำลงและเกิดการควบแน่นของไอกรดที่บริเวณผิวท่อ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยจึงสร้างแบบจำลองพลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณ (CFD) เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดวางท่อและอุณหภูมิผิวท่อด้านใน ที่มีต่ออุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนบริเวณผิวของครีบของท่อชุดสุดท้าย โดยใช้แบบจำลองความปั่นป่วน k-ω SST และทำการสอบเทียบค่านัสเซิลส์นัมเบอร์ (Nu) และความดันลดคร่อมชุดท่อกับสหสัมพันธ์ของ ESCOA Nir Næss และ Hofmann ทั้งนี้ ผลการสอบเทียบแบบจำลอง พบว่าผลลัพธ์มีแนวโน้มสอดคล้องกัน มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 20% สำหรับค่า Nu และมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 mbar สำหรับความดันลด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวท่อด้านในไม่ผลส่งต่อค่า Nu และความดันลดตกคร่อมชุดท่อ แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิผิวท่อด้านในส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวเพิ่มขึ้นและมีโอกาสเกิดการควบแน่นของกรดน้อยลงโดยเฉพาะด้านหลังของท่อที่มีการถ่ายเทความร้อนต่ำ การเพิ่มระยะห่างของท่อในแนวขวาง พบว่า ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซร้อนลดลงเนื่องจากมีความเร็วการไหลและการปั่นป่วนลดลง โดยอุณหภูมิผิวครีบมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มระยะห่างในแนวขวาง การเพิ่มระยะห่างของท่อในแนวยาวพบว่า ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซร้อนลดลง เนื่องจากเป็นการลดความเร็วและการปั่นปวนในการไหล โดยอุณหภูมิผิวท่อมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มระยะในแนวยาว ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงระยะตัดครีบส่งผลให้ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซคร่อมชุดท่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีการตัดครีบเต็มอัตราส่วน เนื่องจากเป็นการเพิ่มความปั่นป่วนในการไหล โดยอุณหภูมิผิวท่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราส่วน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอุณหภูมิต่ำที่สุดของครีบในแต่ละชุดการทดลอง พบว่าอุณหภูมิต่ำที่สุดมีค่าเท่ากับอุณหภูมิผิวท่อด้านในโดยเฉพาะด้านหลังท่อเนื่องจากมีความปั่นป่วนน้อย


การหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมฟิล์มบางนาโนคอมโพสิตที่มีการเติมสารละลายคอลลอยด์ของไทเทเนียมออกไซด์ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง, ปรมินทร์ อาจหาญ Jan 2021

การหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมฟิล์มบางนาโนคอมโพสิตที่มีการเติมสารละลายคอลลอยด์ของไทเทเนียมออกไซด์ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง, ปรมินทร์ อาจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีการแยกด้วยเยื่อเลือกผ่านเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมสำหรับกระบวนการทำน้ำบริสุทธิ์ด้วยการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล และระบบบำบัดน้ำ ปัญหาทั่วไปของการใช้งานเยื่อเลือกผ่านคือฟาวลิ่งที่ยึดเกาะบนพื้นผิวเยื่อเลือกผ่าน โดยพบว่าแนวโน้มของการเกิดคราบบนผิวเยื่อเลือกผ่านมีความสัมพันธ์กับสัณฐานวิทยาของพื้นผิว และความสามารถในการชอบน้ำหรือไม่ชอบน้ำของเยื่อเลือกผ่าน แนวทางในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการแต่งเติมอนุภาคนาโนที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของพื้นผิวของเยื่อเลือกผ่านทั้งทางเคมี และทางกายภาพ หนึ่งในอนุภาคที่ได้รับการศึกษาคือไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ทั้งด้านการทำความสะอาดตัวเอง การฆ่าเชื้อด้วยตนเอง และความสามารถในการสร้างพื้นผิวเยื่อเลือกผ่านที่ชอบน้ำมาก ในงานนี้จะเตรียมเยื่อเลือกผ่านนาโนคอมโพสิตฟิล์มบางโพลีเอไมด์ที่มีการเติมคอลลอยด์ของ TiO2 โดยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันระหว่างวัฏภาค เพื่อหาสภาวะการเตรียมที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้ได้เยื่อเลือกผ่านที่มีการซึมผ่านสูง การกักกันเกลือ และความทนทานต่อเกิดฟาวลิ่งสูง โดยได้ประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนอง ประกอบกับการออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken ทำการศึกษาตัวแปรประกอบด้วยสารเติมแต่ง 3 ชนิดในสารละลาย m-phenylenediamine (MPD) ได้แก่ TiO2 คอลลอยด์ โซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (SDS) และไตรเอทิลเอมีน (TEA) และทดสอบความต้านทานการเกิดฟาวลิ่งบนพื้นผิวเยื่อเลือกผ่าน โดยโซเดียมแอลจิเนต (SA) เป็นตัวแทนสิ่งสกปรก จากการวิเคราะห์ RSM พบว่าปริมาณที่เหมาะสมของคอลลอยด์ TiO2, SDS และ TEA คือ 18.48 wt%, 0.15 wt% และ 1.9 wt.% ตามลำดับ ซึ่งได้จุดที่เหมาะสมที่สุดที่คาดการณ์ คือ การซึมผ่านของน้ำที่ 2.48 Lm-2h-1bar-1, การกักกันเกลือ 78.83 % และ 92.51%


หุ่นยนต์สวมใส่แบบโครงร่างเพื่อฟื้นฟูการเดิน, ณัฐภัทร คิ้ววงศ์งาม Jan 2021

หุ่นยนต์สวมใส่แบบโครงร่างเพื่อฟื้นฟูการเดิน, ณัฐภัทร คิ้ววงศ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบสวมใส่ที่ข้อเข่าเพื่อฟื้นฟูการเดินได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและโรคใกล้เคียง เพื่อลดภาระการทำงานของบุคคลากรและค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องแบกรับ รวมถึงยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา แต่ด้วยหุ่นยนต์ดังกล่าวในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ ยากต่อการพกพาและดูแล อีกทั้งยังมีราคาสูง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อที่จะศึกษา ออกแบบ และจัดสร้าง หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบสวมใส่ที่ข้อเข่า เพื่อฟื้นฟูการเดิน อันประกอบไปด้วย กลไกการส่งกำลังแบบหนึ่งข้อต่อและระบบควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ โดยมุ่งเน้นให้หุ่นยนต์มีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ง่าย และมีราคาถูก โดยในขั้นตอนการออกแบบ ได้จัดทำการวิเคราะห์รูปแบบการส่งกำลัง และศึกษาสมการจลศาสตร์ของกลไก จากนั้นทำการจัดสร้างระบบกลไกส่งกำลังพัฒนาระบบควบคุม งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมแบบ Impedance control ในสองรูปแบบคือ ระบบแบบออกแรงช่วยและระบบแบบออกแรงต้าน ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในการฝึกฝนการเคลื่อนที่ที่มีความหลากหลาย งานวิจัยนี้ได้ทำเสนอการทดลองทั้งหมด 4 การทดลอง อันประกอบด้วย การทดลองที่ 1 การทดลองหาสภาพการขับย้อนกลับและแรงเสียดทานในระบบส่งกำลัง โดยพบว่าหุ่นยนต์ต้องการแรงขับกลับเพียง 0.457 นิวตันเมตร ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการขับกลับที่สูงและแรงเสียดทานในระบบที่ต่ำ การทดลองที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบควบคุมแบบช่วยเหลือการเคลื่อนที่ในท่านั่ง การทดลองที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของระบบต้านการเคลื่อนที่ในท่านั่ง โดยในการทดลองที่ 2 และ 3 หุ่นยนต์สามารถปรับแรงช่วยและแรงต้านสูงสุดให้เหมาะสมกับแต่ละผู้ใช้งานได้ในช่วงไม่เกิน 8 นิวตันเมตร และการทดลองสุดท้าย ศึกษาประสิทธิภาพในการช่วยเหลือการเดิน โดยพบว่าหุ่นยนต์สามารถช่วยส่งกำลังได้เพียงพอที่จะพาผู้ใช้งานให้เดินไปตามเส้นทางที่บันทึกไว้ได้ และในทุกการทดลองไม่พบผลกระทบอื่นใดในการใช้งานหุ่นยนต์


การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ, เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์ Jan 2021

การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ, เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผนังอิฐก่อเป็นการก่อสร้างที่เป็นที่นิยมในการก่อสร้างอาคาร ในการถอดปริมาณวัสดุก่อผนังมักจะใช้การประมาณวัสดุเป็นอัตราส่วนจากพื้นที่ผนัง ซึ่งมักจะไม่มีรูปแบบที่มีรายละเอียดข้อมูลชิ้นส่วนที่ละเอียดเพียงพอ และยังมีผลต่อการถอดปริมาณที่มักจะถอดปริมาณได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากผนังแต่ละผืนมีลักษณะแตกต่างกันไป ส่งผลให้การก่อสร้างที่ได้อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ไม่มีการเสริมเสาเอ็นหรือคานทับหลังในตำแหน่งที่ควรทำ ขนาดหรือระยะของเสาเอ็นและคานทับหลังไม่เป็นตามมาตรฐานงานก่อสร้าง ต้องมีการแก้ไขงานก่อสร้างและทำให้เกิดขยะ ซึ่งเป็นผลต่อการก่อสร้างทั้งด้านคุณภาพ เวลา และงบประมาณ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้การคำนวณจากข้อมูล BIM เพื่อถอดปริมาณและสร้างข้อมูลรายละเอียดการก่อสร้างชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐในผนังอิฐก่อ โดยงานวิจัยใช้โปรแกรม Dynamo ผ่านโปรแกรม Autodesk Revit ในการสร้างวิธีการคำนวณและชุดคำสั่งเพื่อคำนวณตำแหน่ง ความยาว และปริมาณของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐ ผลการวิเคราะห์พบว่าใช้เวลาในการถอดปริมาณน้อยและสามารถให้แสดงผลในรูปแบบสามมิติได้ ซึ่งช่วยเสริมในการมองเห็นรายละเอียดตำแหน่งและความยาวของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐแต่ละชิ้นได้ สามารถนำข้อมูลของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปช่วยในการวางแผนการก่อสร้างต่อไป


เสถียรภาพของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กำแพงที่มีความชะลูดภายใต้แผ่นดินไหว, ชวิสรา เทศประสิทธิ์ Jan 2021

เสถียรภาพของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้กำแพงที่มีความชะลูดภายใต้แผ่นดินไหว, ชวิสรา เทศประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความหนาของกำแพงโครงสร้างที่ใช้ออกแบบอาคารสูงในปัจจุบันมีค่าน้อยกว่าค่าที่ใช้ในอดีต ส่งผลให้กำแพงอาจขาดเสถียรภาพทางด้านข้าง อาจพบกำแพงโครงสร้างในประเทศไทยที่มีความหนาเพียง 100 มิลลิเมตร ส่งผลให้อัตราส่วนความระหว่างความสูงต่อความหนามากกว่า 25 ซึ่งกำหนดไว้ใน Uniform Building Code (UBC 1997) และ ACI 318-19 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าอาคารสูงที่ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานในปัจจุบันและมีกำแพงโครงสร้างที่มีความชะลูดค่อนข้างมาก เช่น มีอัตราส่วนความสูงต่อความหนากำแพงเท่ากับ 15 20 และ 25 ว่ามีเสถียรภาพเพียงพอในการต้านทานแผ่นดินไหวได้หรือไม่ อาคารตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 30 ชั้น ระบบโครงสร้างเป็นแบบกำแพงรับน้ำหนักบรรทุกแนวดิ่ง โดยระบบต้านทานแรงด้านข้างเป็นกำแพงรับแรงเฉือนแบบที่มีการให้รายละเอียดความเหนียวพิเศษ การศึกษานี้จะคำนวณการตอบสนองต่อแผ่นดินไหวและตรวจสอบเสถียรภาพด้วยวิธีแบบประวัติเวลาไม่เชิงเส้น (Nonlinear Response History Analysis, NLRHA) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์จากการจำลองชิ้นส่วนกำแพงเดี่ยว 2 ลักษณะคือ เอลิเมนต์แบบเส้น (line element) และเอลิเมนต์แบบเปลือกบาง (shell element) รวมถึงศึกษาผลการขยายความรุนแรงของแผ่นดินไหวต่อค่าตอบสนองร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่ากำแพงในอาคารตัวอย่างมีเสถียรภาพเพียงพอในการต้านทานแรงทางด้านข้าง นอกจากนี้การรับแรงในระนาบของกำแพงมีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการรับแรงนอกระนาบของกำแพง ส่งผลให้ความความเครียดของกำแพงเดี่ยวมีค่ามากเมื่อรับแรงในระนาบอาจนำไปสู่การครากของเหล็กเสริมแนวดิ่งและการอัดแตกของคอนกรีตในกำแพงได้ แต่ความเครียดของกำแพงเดี่ยวมีค่าน้อยมากเมื่อรับแรงกระทำตั้งฉากกับระนาบ ความเครียดอัดในกำแพงพบว่ามีค่าไม่เกิน 0.002


การศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของการพัฒนาทุนมนุษย์และตัวแปรที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ กรณีศึกษาของกรมชลประทาน, พรเทพ วุฒิวงศ์ Jan 2021

การศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของการพัฒนาทุนมนุษย์และตัวแปรที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ กรณีศึกษาของกรมชลประทาน, พรเทพ วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรมชลประทานเป็นหนึ่งในหน่วยงานสำคัญของภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำและการชลประทานของประเทศ การพัฒนาวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านน้ำถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญตามแผนยุทธศาตร์ของกรมชลประทาน โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาวิศวกรในแต่ละระดับตำแหน่งงาน ได้แก่ วิศวกรระดับปฏิบัติการ วิศวกรระดับชำนาญการ และวิศวกรระดับชำนาญการพิเศษ ตามแนวคิดของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่เน้นการพัฒนาในด้าน “ความรู้ ทักษะ และความสามารถ” งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์หาองค์ประกอบและระดับความสำคัญขององค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ (2) ศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาและรักษาทุนมนุษย์ในแต่ละระดับตำแหน่งงาน และ (3) ศึกษาตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาทุนมนุษย์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างของลำดับความสำคัญของตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาบุคลากรในแต่ละระดับของตำแหน่งงานของกรมชลประทาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานวิธี One-way ANOVA และใช้การทดสอบ t-test เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อความแตกต่างของลำดับความสำคัญขององค์ประกอบและปัจจัยในแต่ละด้านของการพัฒนาบุคลากรในแต่ละระดับของตำแหน่งงาน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ วิศวกรของกรมชลประทาน 264 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญลำดับสูงสุดกับองค์ประกอบของทุนมนุษย์ต่อไปนี้ (1) ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ (2) ทักษะด้านมนุษย์ และ (3) ความสามารถในการเเยกแยะ กำหนดและหาทางเเก้ปัญหาโดยใช้หลักความรู้ด้านวิศวกรรม ด้านปัจจัยที่มีผลต่อรักษาวิศวกรขององค์การพบว่าระดับการศึกษามีผลต่อตัวแปรด้านการรักษาทุนมนุษย์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ


การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์ Jan 2021

การพัฒนาขั้นตอนวิธีสำหรับจำแนกโรคอ้อยที่พบมากในประเทศไทย, ณัฏฐ์ภัค ลาวัลย์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำหรับการจำแนกโรคอ้อยที่พบมากบนพันธุ์ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นพันธุ์อ้อยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย จะให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โรคที่ส่งผลรุนแรงต่อใบอ้อย เช่น โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา และแมลง จากการตรวจหาและระบุโรคที่เกิดขึ้นในอ้อยซึ่งต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และเวลา จึงมีแนวคิดในการสร้างระบบที่ช่วยในการจำแนกโรคอ้อยที่มีความแม่นยำอย่างอัตโนมัติ ซึ่งส่งผลให้การวินิจฉัยโรคทำได้รวดเร็วมากขึ้น เป็นระบบอัจฉริยะสำหรับจำแนกประเภทและลักษณะอาการของโรคอ้อย (Intelligent System Diagnosis Sugarcane Diseases with Deep Convolutional Neural Network) เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูปภาพใบอ้อย สามารถบ่งบอกโรคอ้อยและระบุสาเหตุพร้อมวิธีการป้องกันหรือควบคุม โดยระบบมีความสามารถในการจำแนกชนิดของโรคอ้อย 5 คลาส ได้แก่ โรคเส้นกลางใบแดง (Red Rot) โรคราสนิม (Rust) โรคใบจุดวงแหวน (Ring Spot) โรคใบขาว (White Leaf) และใบสมบูรณ์ (Normal) ที่มีค่า Mean Average Precision (mAP) สูงถึง 0.8681 หรือร้อยละ 86.81


สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์ Jan 2021

สถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายในคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์, กิตติพัฒน์ แสงแก่นเพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอสถาปัตยกรรมระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคลาวด์ ด้วยการประมวลผลเชิงกระจายและใช้เทคโนโลยีการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์จะช่วยในการย้ายแอพลิเคชันและการปรับปรุงรุ่นแอพลิเคชันได้สะดวก โดยทั่วไปข้อมูลจากอุปกรณ์ไอโอทีต่าง ๆ จะรวมศูนย์การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลอยู่ที่ส่วนกลาง งานวิจัยนี้ได้นำสถาปัตยกรรมระบบการประมวลผลเชิงกระจาย ที่สามารถเร่งความเร็วการประมวลผลให้เร็วกว่าแบบรวมศูนย์ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์นี้เสนอสถาปัตยกรรมระบบอื่น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์เชิงการศึกษาความเป็นไปได้ของการประยุกต์ในทางปฏิบัติสำหรับการใช้เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ คิวเบอร์เนเทส และการร่วมสมาพันธ์คิวเบอร์เนเทส โดยได้นำเสนอการทดสอบสถาปัตยกรรมแบบต่าง ๆ และใช้ระบบทดสอบในโครงการความร่วมมือในการพัฒนาแพลทฟอร์มรองรับศูนย์กลางข้อมูลไอโอทีคลาวด์ หรือ IoTcloudServe@TEIN นอกจากนี้ได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบในโครงการ OF@TEIN++ ในการทดสอบการร่วมสมาพันธ์การออร์เคสเตรตคอนเทนเนอร์ระหว่างคลัสเตอร์ในความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย และ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ จากนั้นได้ต่อยอดสถาปัตยกรรมระบบต่อเนื่องในโครงการ OF@TEIN+++ เพื่อนำเสนอการจัดลำดับชั้นของการแบ่งทรัพยากรในการแยกกลุ่มภาระของคลัสเตอร์ที่ร่วมสมาพันธ์ และท้ายสุดได้นำเสนอแนวทางประยุกต์สถาปัตยกรรมในบริบทของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์ Jan 2021

การวิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทย, นภัทร ภักดีสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่ดีจะสะท้อนถึงต้นทุนในการจัดหาไฟฟ้าที่เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งในส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าและจัดจำหน่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ตามอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้จัดเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าอาจยังมีความไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถระบุที่มาของอัตราค่าไฟฟ้าและสะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แท้จริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ เช่น ต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และ ค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น วิทยานิพนธ์นี้จึงได้วิเคราะห์การคำนวณพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าฐานในโครงสร้างพิกัดอัตราค่าไฟฟ้าให้สามารถสะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการพิจารณาถึงอัตราค่าพลังงานไฟฟ้าแยกตามเขตพื้นที่เพื่อทำให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง สามารถปรับปรุงอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนของการไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น


ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดควอนตัมสำหรับปัญหายาก, กมลลักษณ์ สุขเสน Jan 2021

ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดควอนตัมสำหรับปัญหายาก, กมลลักษณ์ สุขเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม (Quantum computer) ยังคงเป็นความท้าทายสำหรับนักวิจัยในการพัฒนาเทคนิคต่างๆเพื่อให้การประมวลผลข้อมูลควอนตัมขนาดใหญ่สามารถทำได้จริง มีงานวิจัยหลากหลายสาขาเกี่ยวกับการจำลองระบบควอนตัม โดยเฉพาะด้านอัลกอริทึมควอนตัมสำหรับแก้ปัญหา NP-hard ซึ่งใช้เวลาแก้ปัญหานานเกินกว่าจะเป็นไปได้จริงในเครื่องคอมพิวเตอร์ดั้งเดิม งานวิจัยนี้นำเสนอขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดควอนตัม ซึ่งเป็นการนำข้อได้เปรียบจากการประมวลผลเชิงควอนตัม ได้แก่ สภาวะซ้อนทับของสถานะควอนตัม และการประมวลผลควอนตัมแบบขนานในอัลกอริทึมการค้นหาของโกรเวอร์ (Grover's search algorithm) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการคัดเลือกโครโมโซมของขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดดั้งเดิมที่มีการคัดเลือกโครโมโซมที่ดี เพื่อให้ได้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดควอนตัมที่มีประสิทธิภาพดีขึ้นในแง่ของความถูกต้องของคำตอบ ขั้นตอนวิธีที่นำเสนอสามารถแก้ปัญหา traveling salesman ขนาดเล็กได้บนเครื่องจำลองคอมพิวเตอร์ควอนตัม เนื่องจากจำนวนคิวบิตที่มีอย่างจำกัดจึงไม่สามารถทำการทดลองกับปัญหา traveling salesman ขนาดใหญ่ได้ แม้ว่าจำนวนฟังก์ชันที่ใช้ในการประเมินค่าความเหมาะสมของขั้นตอนวิธีที่นำเสนอมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเอ็กโปเน็นเชียลเมื่อจำนวนเมืองเพิ่มขึ้น แต่ยังสามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได้ดีกว่าขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมแบบกระชับชนิดดั้งเดิม นอกจากนี้ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าจำนวนรอบของโกรเวอร์ที่เหมาะสมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ในขณะที่จำนวนช็อตหรือจำนวนรอบที่รันอัลกอริทึมช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคำตอบที่ได้จากการวัดค่าสถานะคิวบิต


ซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กสำหรับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้ พร้อมด้วยส่วนประเมินตัวสร้างคำถาม, ปณิดา วิริยะชัยพร Jan 2021

ซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กสำหรับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้ พร้อมด้วยส่วนประเมินตัวสร้างคำถาม, ปณิดา วิริยะชัยพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบสำหรับการฝึกฝนแบบปรับเหมาะ (adaptive practicing) สามารถส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบนี้อยู่บ้าง แต่การสร้างระบบนี้ยังคงมีความซับซ้อนแม้ว่าปัจจุบันจะมีเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยเหลือก็ตาม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอซอฟต์แวร์เฟรมเวิร์กสำหรับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้ พร้อมด้วยส่วนประเมินตัวสร้างคำถาม โดยใช้ระบบการจัดอันดับของ Elo โดยเฟรมเวิร์กนี้สามารถนำตัวสร้างคำถามมาสร้างเป็นระบบสำหรับการฝึกฝนแบบปรับเหมาะได้อย่างง่ายดายในรูปแบบบริการเอพีไอ (Application Programming Interface; API) บนเว็บไซต์ ซึ่งในเฟรมเวิร์กนี้ประกอบไปด้วย 4 โมเดล ได้แก่ ตัวชี้วัดการเรียนรู้ ผู้เรียน โจทย์คำถาม และบทคำสั่ง นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย 7 มอดูล ได้แก่ ส่วนเลือกโจทย์คำถาม ส่วนสร้างโจทย์คำถาม ส่วนคำนวณความแตกต่างระหว่างคำถาม ส่วนแสดงผลโจทย์คำถาม ส่วนตรวจสอบคำตอบ ส่วนแสดงผลย้อนกลับ (feedback) และส่วนปรับโจทย์คำถามให้เป็นปัจจุบัน การแยกส่วนสร้างโจทย์คำถามออกมานั้น ส่งผลให้เฟรมเวิร์กรองรับคำถามสำหรับหลายหัวข้อ อาทิ คำถามวิชาภาษาไทย คำถามวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ส่วนสร้างโจทย์คำถามยังทำให้ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้ มีทรัพยากรโจทย์คำถามที่ไม่จำกัด และขยายฐานข้อมูลโจทย์คำถามได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งเฟรมเวิร์กนี้ยังรองรับคำถามได้หลากหลายประเภทที่สามารถประเมินผลเป็นถูกและผิด อาทิ คำถามปรนัย คำถามเลือกจับคู่ เนื่องจากการออกแบบให้ส่วนแสดงผลโจทย์คำถามเป็นส่วนที่สามารถปรับแต่งได้ เฟรมเวิร์กนี้รองรับการออกรายงานทั้งหมด 5 ประเภทเพื่อใช้วิเคราะห์ทั้งในฝั่งผู้เรียนและฝั่งของระบบ ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้ถูกออกแบบให้เป็นเอพีไอจึงทำให้สามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ได้ง่าย นอกจากนี้ระบบที่สร้างภายใต้เฟรมเวิร์กนี้สามารถรองรับการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์สำหรับกลุ่มผู้เรียนทุกขนาด และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยความเร็วตามความสามารถของตนเอง และผู้สอนไม่จำเป็นต้องสร้างคำถามสำหรับป้อนเข้าในระบบ


Transforming Timing Diagram Into Timed Automata For Preemptive Scheduling, อมรัตน์ พิมโคตร Jan 2021

Transforming Timing Diagram Into Timed Automata For Preemptive Scheduling, อมรัตน์ พิมโคตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานที่เกิดขึ้นพร้อมกันในระบบเรียลไทม์อาจต้องการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันอย่างจำกัด เช่นการใช้งานร่วมกันของ CPU เพียงตัวเดียวที่มีงานเป็นจำนวนมาก เมื่อใช้การจัดกระบวนการเชิงพรีเอ็มทีฟ ซึ่งงานที่กำลังทำงานอยู่ที่มีค่าลำดับความสำคัญต่ำกว่ามักจะถูกจัดลำดับให้อยู่ในสถานะพักการทำงานหรือสถานะโดเมน โดยงานใหม่ที่มีค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าจะเข้ามาแทนที่ สุดท้ายจึงกลายเป็นว่างานใหม่เข้ามาทำงานแทนลำดับงานที่โดนแทรกหรือถูกพรีเอ็มทีฟไว้ก่อนหน้านี้ที่มีค่าลำดับความสำคัญต่ำกว่า งานที่มีค่าลำดับความสำคัญต่ำกว่าดังกล่าวจะเริ่มต้นทำงานอีกครั้งเพื่อดำเนินการต่อในสถานะที่ทำงานทันทีหลังจากงานที่มีค่าลำดับความสำคัญสูงกว่าได้ทำงานเสร็จสิ้น แผนภาพเวลาเป็นแผนภาพที่มีลักษณะงานเป็นอิสระต่อกัน และงานจะถูกเริ่มต้นพร้อมกัน ผลกระทบของการจัดกระบวนการเชิงพรีเอ็มทีฟเอาไว้จะมีความสัมพันธ์กันและทำให้การดำเนินของเส้นเวลาหรือไทม์ไลน์ของงานที่เกิดขึ้นพร้อมกันเหล่านี้ถูกเปลี่ยนแปลงไป กฎการจับคู่สำหรับการแปลงแผนภาพเวลาที่เป็นอิสระต่อกันเป็นไทมด์ออโตมาตาที่ได้รับการออกแบบในวิทยานิพนธ์นี้ และยังมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อแปลงไฟล์ต้นทางนำเข้าสกุลไฟล์ XML ของแผนภาพเวลาเป็นไฟล์ไทมด์ออโตมาตา สามารถจำลองแผนภาพไทมด์ออโตมาตาด้วยเครื่องมือ UPPAAL ซึ่งผลลัพธ์ของไทมด์ออโตมาตาจะแสดงกรอบเวลาโดยรวมของงานที่เกิดขึ้นพร้อมกันอันเป็นผลกระทบของการจัดกำหนดการเชิงฟรีเอ็มทีฟ การจำลองไทมด์ออโตมาตาจะจัดเตรียมตัวแปรนาฬิกาและสถานะโดเมนพิเศษเพิ่มเติม จากนั้นจึงนำไทมด์ออโตมาตาที่แปลงมาทวนสอบคุณสมบัติ TCTL ว่าการทำงานนั้นถูกต้อง เครื่องมือซอฟต์แวร์ของเราจะดำเนินการแปลงไดอะแกรมสำหรับการจัดกระบวนการเชิงพรีเอ็มทีฟ และใช้กรณีศึกษาสามกรณีเพื่อแสดงกระบวนการแปลงและการจำลองขั้นตอนกระบวนการทำงาน


การประเมินประสิทธิภาพของระบบการรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยโครงข่าย 4 วิธีในเวลาเดียวกัน สำหรับการใช้งานที่มีความแม่นยำสูง, ชญานนท์ เหล่านิพนธ์ Jan 2021

การประเมินประสิทธิภาพของระบบการรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยโครงข่าย 4 วิธีในเวลาเดียวกัน สำหรับการใช้งานที่มีความแม่นยำสูง, ชญานนท์ เหล่านิพนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันที (Real-Time Kinematic: RTK) เป็นวิธีที่นิยมใช้เนื่องจากมีข้อดีในเรื่องของเวลาการรังวัดที่รวดเร็ว ประมวลผลค่าพิกัดได้ในทันที ต่อมามีการพัฒนาเป็นการรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบจลน์ในทันทีโดยอาศัยโครงข่าย (Network-based Real-Time Kinematic: NRTK) โดยมีวิธีการรังวัดที่นิยมอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ การรังวัดแบบ Virtual Reference Station (VRS) การรังวัดแบบ Fläechen-Korrectur Parameters (FKP) การรังวัดแบบ Master-Auxiliary Concept (MAC) และการรังวัดแบบ Individualized MAC (I-MAC) โดยใช้โครงข่ายสถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียม GNSS อ้างอิงแบบต่อเนื่อง (GNSS Continuously Operating Reference Station Network: GNSS CORS Network) ของกรมแผนที่ทหาร งานวิจัยนี้ได้จัดทำเครื่องมือ GNSS Splitter มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการรังวัดทั้ง 4 ระบบในเวลาเดียวกันใน 2 กรณี คือในพื้นที่โล่ง และพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรณีพื้นที่โล่ง จำนวน GNSS Fixed Solution ระบบ VRS, I-MAC ไม่ต่ำกว่า 95% ของจำนวนทั้งหมด ระบบ MAC, FKP จำนวน GNSS Fixed Solution ไม่ต่ำกว่า 75% ส่วนกรณีพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง ระบบ VRS, I-MAC และ MAC มีจำนวน GNSS Fixed Solution ไม่ต่ำกว่า 50% ระบบ FKP มีจำนวน GNSS Fixed Solution ต่ำกว่า 50% ในส่วนค่าความถูกต้องค่าพิกัดทางราบเมื่อเทียบกับการรังวัดสัญญาณดาวเทียมแบบสถิต ในกรณีพื้นที่โล่งทั้ง 4 ระบบ ให้ค่า …


การตรวจสอบวิถีของยานพาหนะจากระบบการทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ภายหลัง, ชนะชล ไพจิตรประภาภรณ์ Jan 2021

การตรวจสอบวิถีของยานพาหนะจากระบบการทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยการประมวลผลข้อมูลจีเอ็นเอสเอสแบบจลน์ภายหลัง, ชนะชล ไพจิตรประภาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบการทำแผนที่ชนิดเคลื่อนที่อาศัยวิถียานพาหนะที่เกิดจากการประมวลผลบูรณาการข้อมูลจากเซ็นเซอร์ของ GNSS/INS/DMI ข้อมูลจากระบบสแกนเลเซอร์สามารถยึดโยงกับค่าพิกัดทางตรงกับวิถีของยานพาหนะ เพื่อใช้คำนวณค่าพิกัดของพอยท์คลาวด์ ถึงแม้ว่าการบูรณาการข้อมูลจากเซ็นเซอร์ของ GNSS/INS/DMI สามารถหาวิถียานของพาหนะแบบ Real-time ได้ก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วนิยมนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลแบบจลน์ในภายหลัง งานวิจัยนี้ เป็นการตรวจสอบวิถียานพาหนะที่ได้จากการประมวลผลในภายหลังโดยใช้ข้อมูลวงโคจรของดาวเทียมนำหนที่มีความแม่นยำสูง จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ วงโคจรแบบ Broadcast, Ultra-rapid, Rapid และ Final ข้อมูลอ้างอิงสำหรับการเปรียบเทียบผลกำหนดให้เป็นข้อมูลวิถียานพาหนะที่ได้จากการประมวลผลภายหลังที่ใช้ข้อมูลวงโคจรดาวเทียมนำหนแบบ Final การตรวจสอบความถูกต้องแบบทางอ้อมอาศัยข้อมูลวิถียานพาหนะทั้งหมดมายึดโยงค่าพิกัดทางตรงที่ได้จากระบบสแกนเลเซอร์และเปรียบเทียบค่าพิกัดของพอยท์คลาวด์กับค่าพิกัดจุดตรวจสอบ โดยพื้นที่ของการรับสัญญาณมี 2 ส่วน คือ พื้นที่ในเมืองและชานเมือง การศึกษาพบว่า ค่าพิกัดของวิถียานพาหนะที่ได้จากการประมวลผลภายหลังมีค่าคงที่ในช่วงที่ยานพาหนะหยุดนิ่ง ในขณะที่วิถียานพาหนะในเวลาจริง (Real-time) มีค่าไม่คงที่โดยเฉพาะขณะที่เกิดคลื่นหลุดซึ่งส่งผลต่อค่าต่างของค่าพิกัดวิถียานพาหนะแบบประมวลผลภายหลังในทางราบและทางดิ่งสูงถึง 3.865 เมตรและ 2.316 เมตรตามลำดับ การหยุดนิ่งภายหลังจากการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่ทำให้เกิดคลื่นหลุดไม่ส่งผลต่อค่าความถูกต้องของค่าพิกัดของวิถียานพาหนะแบบประมวลผลภายหลัง เนื่องจากค่าพิกัดมีค่าคงที่ในช่วงที่ยานพาหนะหยุดนิ่ง ค่าพิกัดพอยท์คลาวด์ที่ได้จากวิถียานพาหนะแบบประมวลผลภายหลังมีความถูกต้องทางตำแหน่งมากกว่าในเวลาจริง โดยมีค่า RMSE ของค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งจากการใช้ Final orbit เท่ากับ 0.069 เมตรและ 0.123 เมตรสำหรับพื้นที่ในเมืองและ0.055 เมตรและ 0.107 เมตรสำหรับพื้นที่ชานเมือง การใช้ข้อมูลวงโคจรดาวเทียมที่แตกต่างกันไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าพิกัดของวิถียานพาหนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำรวจที่สามารถรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ได้ดี ค่าต่างของพิกัดมีค่าน้อยกว่า 1 เซนติเมตร การตรวจสอบความถูกต้องทางตำแหน่งของวิถียานพาหนะด้วยวิธีการข้างต้นจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลสแกนเลเซอร์และค่าพิกัดจุดตรวจสอบ รวมถึงจะต้องไม่เกิดการกระโดดของค่าพิกัดวิถียานพาหนะอีกด้วย


การประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งระหว่างข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม Sbas และเทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ Dgnss ในการเดินเรือ กรณีศึกษา ท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา, ภูวิศะ กิ้มตั้น Jan 2021

การประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งระหว่างข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม Sbas และเทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ Dgnss ในการเดินเรือ กรณีศึกษา ท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา, ภูวิศะ กิ้มตั้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการหาตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียมนำหนจีเอ็นเอสเอส (GNSS) เป็นวิธีการที่นิยมนำมาใช้ในการหาตำแหน่งและการนำทางในภารกิจต่าง ๆ เช่น การคมนาคมทางบก การวางแผนการบิน และการเดินเรือ เป็นต้น ซึ่งการเดินเรือจำเป็นที่ต้องทราบค่าพิกัดที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งสูง ในช่วงการนำเรือเข้าสู่ท่าเรือ จึงได้มีการนำระบบเสริมค่าความถูกต้องของตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม (SBAS) และเทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS มาประยุกต์ใช้ในการประมวลผลเพื่อหาเส้นทางการเดินเรือที่มีความแม่นยำและความถูกต้องทางตำแหน่งสูง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักเดินเรือ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่ประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งระหว่างเทคนิคทั้งสองในบริบทของการเดินเรือทางทะเลในบริเวณพื้นที่ประเทศไทย ดังนั้นงานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการประเมินความถูกต้องทางตำแหน่งระหว่างข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS และเทคนิคการหาตำแหน่ง DGNSS ซึ่งใช้ข้อมูลการรังวัดด้วยระบบ GNSS จำนวน 6,665 ตำแหน่ง บริเวณท่าเรือน้ำลึก จังหวัดสงขลา โดยตำแหน่งอ้างอิงค่าพิกัดได้มาจากวิธีการรังวัดแบบจลน์แล้วประมวลผลภายหลัง (PPK) ผลจากการศึกษาพบว่า เทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS มีค่า RMSE ทางราบ 0.59 เมตร ทางดิ่ง 1.17 เมตร สำหรับข้อมูลรังวัดจากระบบดาวเทียม SBAS มีค่า RMSE ทางราบ 0.90 เมตร ทางดิ่ง 5.10 เมตร ดังนั้นในการนำร่องการเดินเรือในพื้นที่ฝั่งทะเลอ่าวไทย เทคนิคการหาตำแหน่งแบบสัมพัทธ์ DGNSS มีความถูกต้องเชิงตำแหน่งมากกว่าการหาตำแหน่งโดยระบบดาวเทียม SBAS ซึ่งการเดินเรือด้วยระบบดาวเทียมนำหน GNSS เพียงอย่างเดียว และการใช้ข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม SBAS ให้ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งที่เพียงพอต่อการเดินเรือในน่านน้ำจำกัด เดินเรือชายฝั่ง และน่านน้ำเปิด แต่ไม่เหมาะสมต่อการเดินเรือบริเวณท่าเรือ หรือน่านน้ำที่มีการจราจรทางน้ำหนาแน่นที่ต้องการความถูกต้องทางตำแหน่งน้อยกว่า 1 เมตร


การจำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนเขตร้อน โดยใช้ข้อมูลพริสม่าไฮเปอร์สเปกตรัล กรณีศึกษาบริเวณแหลมตะลุมพุก ประเทศไทย, ศุภนิดา เมืองกเสม Jan 2021

การจำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนเขตร้อน โดยใช้ข้อมูลพริสม่าไฮเปอร์สเปกตรัล กรณีศึกษาบริเวณแหลมตะลุมพุก ประเทศไทย, ศุภนิดา เมืองกเสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป่าชายเลนที่ใกล้สูญพันธุ์ภายใต้บัญชีแดงระบบนิเวศขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List of Ecosystems) เป็นหนึ่งในปัญหาร้ายแรงที่สุดของระบบนิเวศชายฝั่งของโลก ความกังวลนี้จำเป็นต้องมีการติดตามระบบนิเวศป่าชายเลนและความหลากหลายทางสายพันธุ์ ภาพถ่ายดาวเทียมระบบไฮเปอร์สเปกตรัลที่มีความยาวคลื่นหลายร้อยช่วงคลื่นสามารถนำมาใช้จำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนได้ ดาวเทียม PRISMA ถูกพัฒนาและส่งขึ้นโคจรซึ่งเป็นดาวเทียมสังเกตการณ์โลกดวงใหม่ภายใต้โครงการสาธิตเทคโนโลยีขององค์กรอวกาศอิตาลี (Italian Space Agency) ที่ปัจจุบันยังไม่มีการนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมดังกล่าวมาใช้จำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในพื้นที่แหลมตะลุมพุกมาก่อน งานวิจัยนี้จึงเป็นการทดสอบประสิทธิภาพข้อมูล PRISMA ไฮเปอร์สเปกตรัลเพื่อจำแนกป่าชายเลนบริเวณแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรก ในการจำแนกใช้การคัดเลือกช่วงคลื่นด้วย genetic algorithm (GA) และ sequential maximum angle convex cone (SMACC) ร่วมกับตัวจำแนกแบบ spectral angle mapper (SAM) เพื่อเลือกความถูกต้องมากที่สุด ทั้งนี้ผลการจำแนกจากการคัดเลือกช่วงคลื่นทั้งสองแบบและการใช้แถบสเปกตรัมทั้งหมดของ PRISMA จะถูกนำมาเปรียบเทียบโดยใช้ค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) และใช้ค่าสถิติการทดสอบ dependent sample t-test ผลการศึกษาพบว่าการคัดเลือกช่วงคลื่นด้วย GA สามารถปรับปรุงค่าความถูกต้องในการจำแนกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.72 เป็นร้อยละ 81.93 เมื่อเทียบกับการใช้แถบสเปกตรัมทั้งหมด ผลลัพธ์นี้จึงพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม PRISMA ในการจำแนกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนได้อย่างชัดเจน


การใช้ของเสียกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนในการผลิตมอร์ตาร์, ครองขวัญ ข่วงบุญ Jan 2021

การใช้ของเสียกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์บางส่วนในการผลิตมอร์ตาร์, ครองขวัญ ข่วงบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากปริมาณของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 20-30 ปีจากการติดตั้งในช่วงพ.ศ. 2545-2558 อาจจะเป็นน้ำหนักได้ถึง 235,954 ตัน โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยนิยมใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอน ซึ่งแผงประเภทนี้มีปริมาณกระจกมากถึงร้อยละ 70-80 โดยน้ำหนักขององค์ประกอบแผง การจัดการของเสียแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยในขณะนี้มีการกำจัดด้วยการนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการจัดการที่ไม่ยั่งยืนเพราะเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างไร้ประโยชน์ ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการนำกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิกอนนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ โดยทำการศึกษาผลกระทบต่อสมบัติต่างๆของมอร์ตาร์ที่มีการแทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์ด้วยกระจกแผงพลังงานแสงอาทิตย์บดละเอียดขนาด d50 ที่ 4.97 ไมโครเมตร ที่ร้อยละ 0, 10, 20 และ 30 โดยน้ำหนัก จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณผงกระจกจะทำให้ ค่าการขยายตัวของซีเมนต์เพสต์มีค่าเพิ่มขึ้น ค่าการก่อตัวระยะต้นและระยะปลายของซีเมนต์เพสต์สั้นลง ค่าการไหลแผ่ของมอร์ตาร์มีค่าลดลง การซึมผ่านของคลอไรด์ในมอร์ตาร์ลดลง สำหรับกำลังรับแรงอัดมอร์ตาร์ช่วงอายุต้น พบว่ามอร์ตาร์ที่มีปูนซีเมนต์ที่มีการแทนที่ด้วยผงกระจกร้อยละ 0 ให้กำลังรับแรงอัดสูงที่สุด แต่ที่อายุ 90 วัน มอร์ตาร์ที่มีการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยผงกระจกร้อยละ 10 ให้กำลังรับแรงอัดที่สูงที่สุด เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิกใช้เวลานานกว่าจะเกิดปฏิกิริยา