Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 38 of 38

Full-Text Articles in Engineering

สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ, วิศรุต รุ้งเจริญกิติ Jan 2020

สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ, วิศรุต รุ้งเจริญกิติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการผลิตพลังงานหรือในกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือนำมาใช้รักษาในทางการแพทย์และอนามัย แต่ทว่าในการจะได้มาซึ่งพลังงานนิวเคลียร์นั้นจะต้องมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีและมีปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ถูกปล่อยออกมานั้นส่งผลเสียกับสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอีกทั้งยังใช้เวลานานกว่าจะสลายไปเอง ดังนั้นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นที่ดีที่สุดคือการป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่จะเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใช้กำบังรังสีที่ดีมีคุณสมบัติคือมีความหนาแน่นสูงหรือที่เรียกว่าคอนกรีตมวลหนัก งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันรังสีแกมม่าและนิวตรอน ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากแหล่งวัสดุภายในประเทศเพื่อหาแร่ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนหินในการทำคอนกรีตมวลหนักพบว่า แร่แบไรต์ เป็นแร่ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านการจัดหาและคุณสมบัติในการนำมาใช้ทำคอนกรีตมวลหนัก จากนั้นจึงได้ทำการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 25 สัดส่วนผสมเพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของคอนกรีตมวลหนักกับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสี จากการทดลองพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนของรังสีแกมมา โดยเมื่อความหนาแน่นของคอนกรีตมากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาจะเพิ่มขึ้น และการมีเหล็กผสมในส่วนผสมคอนกรีตส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีนิวตรอนสูงกว่าในคอนกรีตที่ไม่มีเหล็กผสมอยู่


อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา Jan 2020

อิทธิพลจาก Covid-19 ที่ส่งผลต่อการใช้ระบบการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันในกรุงเทพมหานคร, วัฒนา เล้าสินวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง จำนวนประชากรและความต้องการในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น การเข้ามาของแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร (Ride-hailing applications: RHA) เข้ามาเป็นตัวเลือกในการเดินทางของผู้คนในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และมีความน่าเชื่อถือ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทางประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อรองรับการเติบโตของสังคมเมืองในประเทศไทยในอนาคต งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารในรูปแบบรถยนต์ วัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยบริการนี้ และรูปการเดินทางอื่นที่ถูกแทนที่โดยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารกับปัจจัยด้านคุณลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านทัศนคติ โดยใช้แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary logistic regression) และแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกทางเลือกเรียงลำดับ (Ordered logistic regression) จากผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อายุน้อย รายได้สูง และผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนมาอย่างยาวนาน เป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่จะใช้แอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร และจากการศึกษาระดับความถี่ในการใช้งาน พบว่า การปิดประเทศ ส่งผลให้ระดับความถี่ในการเดินทางด้วยแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารลดลง อีกทั้งยังปัจจัยด้านอายุที่สูงขึ้น และระดับการศึกษาที่ดีขึ้น ก็ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้งานแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสาร มีความถี่ในการใช้งานที่ลดลง จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถเป็นกลุ่มเดียวกับผู้ใช้บริการแท็กซี่ ซึ่งแอปพลิเคชันเรียกรถเพื่อโดยสารมีแนวโน้มในการถูกนำมาใช้ทดแทนแท็กซี่ ดังนั้นการกำกับดูแลจึงมีความจำเป็นในการรักษาความเท่าเทียมในการแข่งขัน


การประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พารณ มั่นใจอางค์ Jan 2020

การประเมินศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พารณ มั่นใจอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำฝนในพื้นที่เมือง ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว 3 ระบบ ได้แก่ ระบบกักเก็บน้ำฝน หลังคาเขียว และคอนกรีตพรุน โดยพิจารณาศักยภาพในการลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำ และศักยภาพในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการลดปริมาณน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัด ลดปริมาณการใช้น้ำประปา และการช่วยอนุรักษ์พลังงานของมาตรการดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากกรมอุตุนิยมวิทยา ย้อนหลังเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2560 และใช้โปรแกรม Open studio ซึ่งมีฐานข้อมูลของ EnergyPlus รุ่น 8.9.0 ในการจำลองการใช้พลังงานของอาคาร รวมทั้งประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในระยะเวลาโครงการ 50 ปี โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่กรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ระบบกักเก็บน้ำฝน ขนาดความจุ 40 ลูกบาศก์เมตร สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุดในขณะที่มูลค่าปัจจุบันสุทธิยังเป็นบวกนั่นคือจะได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ด้วย จึงควรได้รับพิจารณาทำก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวอื่นๆ นั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับหลังคาเขียว เป็นโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่สามารถลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงท่อระบายน้ำและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุดแต่ก็มีต้นทุนที่สูงที่สุดเช่นกัน ขณะที่คอนกรีตพรุน เหมาะกับการใช้ประโยชน์ในการจัดการน้ำฝนแต่ไม่แนะนำสำหรับจุดประสงค์ในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก


การเปรียบเทียบการถ่ายเทมวลสารและพลังงานที่ใช้ในการดำเนินระบบของคอลัมน์แบบฟองอากาศและคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง, นวพัฒน์ เตชะธางกูร Jan 2020

การเปรียบเทียบการถ่ายเทมวลสารและพลังงานที่ใช้ในการดำเนินระบบของคอลัมน์แบบฟองอากาศและคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง, นวพัฒน์ เตชะธางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวิจัยนี้เป็นการศึกษาการถ่ายเทมวลสารของแก๊สออกซิเจนจากวัฏภาคแก๊สไปสู่น้ำประปาที่เป็นวัฏภาคของเหลวด้วยคอลัมน์สามประเภท คือ คอลัมน์แบบฟองอากาศ คอลัมน์แบบฟองอากาศชนิดเติมตัวกลาง และคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง โดยทุกคอลัมน์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 ซม. และความสูง 80 ซม. ทั้งนี้ การทดลองจะแบ่งเป็น 4 ส่วน โดยในส่วนแรกเป็นการทดลองในคอลัมน์แบบฟองอากาศที่ใช้อัตราการไหลของแก๊สและของเหลวที่แตกต่างกันในหัวจ่ายอากาศขนาด 0.4, 0.8, และ 1.2 มม. ที่มีจำนวน 19 และ 38 รู ซึ่งพบว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลของแก๊สส่งผลให้การถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้น โดยที่หัวจ่ายอากาศขนาด 0.4 มม. มีค่าการถ่ายเทมวลสารสูงที่สุด นอกจากนี้ การเพิ่มจำนวนรูของหัวจ่ายอากาศส่งผลให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กและมีความเร็วในการลอยตัวช้าลง เป็นผลให้มีสัดส่วนของแก๊สและพื้นที่ผิวจำเพาะในการถ่ายเทมวลสารเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการถ่ายเทมวลสารมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานของหัวจ่ายขนาดเล็กจะสิ้นเปลืองมากที่สุดในการเดินระบบ การทดลองในส่วนที่ 2 เป็นการทดลองในคอลัมน์แบบฟองอากาศชนิดตัวตัวกลาง โดยเติมตัวกลางทั้งหมด 4 ชนิด คือ พอลล์ริง แคสเคดมินิริง อานม้าและแรสชิกริง ที่มีขนาดและเติมในปริมาตรที่แตกต่างกัน โดยพบว่า ตัวกลางพอล์ลริงขนาด 25 มม. ในปริมาตร 2.5% จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการถ่ายเทมวลสาร เมื่อใช้ตัวกลางกับหัวจ่ายอากาศขนาดใหญ่ แต่เมื่อใช้ตัวกลางกับหัวจ่ายอากาศขนาดเล็กจะทำให้มีค่าการถ่ายเทมวลสารลดลง ในการทดลองส่วนที่ 3 ได้ทำการทดลองการถ่ายเทมวลสารในคอลัมน์แบบบรรจุตัวกลาง โดยพบว่า การเพิ่มอัตราการไหลของเหลวมีผลทำให้มีการถ่ายเทมวลสารดีขึ้น และตัวกลางพอลล์ริงขนาด 50 มม. สามารถทำให้เกิดการถ่ายเทมวลสารดีที่สุด นอกจากนี้เมื่อทำการเปรียบเทียบกันแล้วนั้น คอลัมน์แบบบรรจุตัวกลางมีความสามารถในการถ่ายเทมวลสารน้อยกว่าแบบเป่าฟองอากาศ แต่มีการใช้พลังงานน้อยกว่า โดยเมื่อนำสภาวะการดำเนินการที่ดีที่สุดของแต่ละคอลัมน์ไปทำการทดสอบการดูดซึมสารเบนซีนในการทดลองที่ 4 พบว่าคอลัมน์แบบฟองอากาศสามารถบำบัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายได้ดีที่สุด ประมาณ 43– 75% แต่มีการใช้พลังงานที่ใช้ในระบบที่มากที่สุดเช่นเดียวกัน


ผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพในปะการังเขากวาง (Acropora Sp.) ปะการังจาน (Turbinaria Sp.) และปะการังโขด (Porites Sp.), กฤติญา สำราญศิลป์ Jan 2020

ผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพในปะการังเขากวาง (Acropora Sp.) ปะการังจาน (Turbinaria Sp.) และปะการังโขด (Porites Sp.), กฤติญา สำราญศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนตามแนวชายฝั่งที่มีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง โดยชุมชนจะปลดปล่อยน้ำเสียชุมชนลงสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลยังเพิ่มความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียชุมชนได้ เช่น ในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นทำให้ความเค็มน้ำทะเลลดลง พร้อมทั้งเกิดการเติมธาตุอาหารสู่ทะเลจากการชะหน้าดินจากน้ำท่า ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลโดยรอบเสื่อมลง และนำไปสู่การเสื่อมโทรมในชุมชนปะการังโดยรอบแนวชายฝั่ง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) และปะการังโขด (Porites sp.) ที่ความเค็ม 15 20 25 และ 30 พีเอสยู ร่วมกับความเข้มข้น ไนเตรท 5 20 60 และ 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ทำการทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ำ โดยประเมินสุขภาพของปะการังโดยใช้แผนภูมิปะการัง ความหนาแน่นสาหร่ายซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และร้อยละการยืดโพลิป โดยปะการังจะที่มีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมมากกว่าร้อยละ 50 จะสามารถคำนวณหาความเป็นพิษเฉียบพลันของไนเตรท หรือ LC50 ด้วยการวิเคราะห์แบบโพรบิทได้ ผลการศึกษาพบว่าที่ความเค็ม 15 พีเอสยู และที่ไนเตรท 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ส่งผลให้ปะการังมีความเสื่อมโทรมมากที่สุด ในทั้งปะการัง 3 ชนิด โดยที่สภาะวะดังกล่าว ปะการังเขากวางมี LC50 ของไนเตรท ที่เวลา 96 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 94.46 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ปะการังเขาโขดมี LC50 ที่เวลา 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 106.35 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปะการังจานมี LC50 ที่เวลา 144 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 116.55 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร นอกจากนั้นยังยืนยันการเพิ่มขึ้นของร้อยละการเสื่อมโทรมได้จากการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นสาหร่าย ซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ที่พบในตู้ทดลอง ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชัง ในปี 2559-2561 พบว่าอิทธิพลของฤดูฝนทำให้ความเค็มของน้ำทะเลและปริมาณออกซิเจนละลายลดลง และมีปริมาณไนเตรทเพิ่มสูงขึ้นโดยรอบเกาะสีชัง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นเช่น ท่าเทววงษ์ พบว่ามีคุณภาพน้ำทะเลต่ำที่สุด ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชังและใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนเกาะสีชังได้ภายในอนาคต


Binary Particle Swarm Optimization Algorithm For Optimization Of Steel Structure, Atitaya Chaiwongnoi Jan 2020

Binary Particle Swarm Optimization Algorithm For Optimization Of Steel Structure, Atitaya Chaiwongnoi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research studies on the performance of Binary Particle Swarm Optimization (BPSO) algorithm. The first part is finding the best inertia weight of BPSO from various types of inertia weight. The second part is optimizing the cross-sectional area of steel structures and topology of bracing system under vertical and lateral load. The structures studied in the research include unbraced frames and X-braced frames. Moreover, the braced frame also investigates the influence of the classification groups of elements. The elements are classified into finer groups than the original group. The design of the structure follows the AISC code. From the investigation …


Three-Dimensional Finite Element Analyses For Optimal Ground Improvement For Tunnel Cross Passage In Bangkok Subsoils, Mengly Seng Jan 2020

Three-Dimensional Finite Element Analyses For Optimal Ground Improvement For Tunnel Cross Passage In Bangkok Subsoils, Mengly Seng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Jet grouting is a common technic for improving the stability during the construction of tunnel cross-passages in soft grounds. In this study, the optimal soil-cement mass for a cross-passage from a tunnel to an intervention shaft in Bangkok subsoils was determined using three-dimensional finite element analyses. The soil-cement mass was assumed to be octagonal prism along the route of the cross-passage which has the radius of 2.25m. The result showed that the factor of safety increases linearly with the improvement radius. The improvement radius of 3.60m was selected since it is satisfied with the FS more than 1.4 and the …


Bias Correction Of Satellite Precipitation Estimates Over Thailand, Nelson Stephen Lising Ventura Jan 2020

Bias Correction Of Satellite Precipitation Estimates Over Thailand, Nelson Stephen Lising Ventura

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Over the years, meteorological satellite instruments have produced Satellite Precipitation Estimates (SPEs) that can supply rainfall intensity rates globally. However, these datasets do not directly reflect the actual values of ground measurements so it is imperative to correct the systematic biases of SPEs to produce reliable hydrologic models. Thus, the aim of this study is to assess the effectiveness of bias correction of SPE products over Thailand. The Precipitation Estimates from Remotely Sensed Information using Artificial Neural Networks – Cloud Classification System (PERSIANN-CCS), Global Satellite Mapping of Precipitation - Near Real Time (GSMaP_NRT), and Integrated Multi-satellitE Retrievals for GPM (IMERG) …