Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

Chulalongkorn University

2020

ความเหลื่อมล้ำ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Engineering

การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ Jun 2020

การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล, ภานุพงศ์ รัชธร, ปธานิน บุตตะมาศ

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคมขนส่ง โดยจากผลวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้ กล่าวคือเราสามารถวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์จีนีและเส้นโค้งลอเรนซ์ได้จากจำนวนสถานีรถไฟฟ้าหรือความยาวเส้นทางการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนรางและระบบรถโดยสารประจำทางต่อจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ต่างๆ ที่แตกต่างกันได้ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการวิเคราะห์นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งที่กำหนดเส้นทางและตำแหน่งที่ตั้งของสถานีรถไฟฟ้าในอนาคต พ.ศ.2573 เปรียบเทียบกับเส้นทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2563 และจำลองการปรับแก้เส้นทางรถโดยสารประจำทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ ได้ผลลัพธ์ว่าในพื้นที่เขตเมืองบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑลนั้นมีค่าความเหลื่อมล้ำสูง ถึงแม้ว่าจะมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าในอนาคตก็ตาม และมีแขวงหรือตำบลจำนวนมากในพื้นที่เขตเมืองที่ไม่มีการเข้าถึงของบริการคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบในปัจจุบันก่อนการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าและหลังจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า ทำให้ทราบถึงการลดลงของความเหลื่อมล้ำในเทอมระยะทางรวมของทั้งสองระบบขนส่งต่อจำนวนประชากร และหากทำการปรับเส้นทางระบบรถโดยสารเดิมที่ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลางเขตเมือง โดยการย้ายเส้นทางดังกล่าวออกไปบริเวณวงนอกเขตเมือง สามารถทำให้ความเหลื่อมล้ำลดลงจนเกือบอยู่ในเกณฑ์ความเหลื่อมล้ำระดับปานกลาง ถึงแม้ประชาชนจะเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนรางได้สะดวกสบายและรวดเร็วกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง แต่การเข้าถึงบริการของระบบขนส่งมวลชนรางนั้นยากกว่าระบบรถโดยสารประจำทาง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเชิงพื้นที่และงบประมาณ ทำให้การเดินทางไปยังพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตเมืองนั้นจำเป็นต้องเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบรถโดยสารประจำทางมากกว่า แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบขนส่งสาธารณะของทั้ง 2 ระบบ และถ้าหากต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะแต่ละพื้นที่ ต้องอาศัยการพัฒนาที่ควบคู่กันไปของทั้งสองรูปแบบการเดินทาง