Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2022

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 1201 - 1219 of 1219

Full-Text Articles in Health and Physical Education

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชยุต จุบรัมย์ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษาที่มีต่อความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชยุต จุบรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษากับของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา จํานวน 8 แผน (IOC=0.80) 2) แบบทดสอบความมีน้ำใจนักกีฬา (IOC=0.60-1.00) 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ ด้านสมรรถภาพทางกาย (IOC=0.80-1.00) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กร่วมกับกรณีศึกษา ช่วยพัฒนาความมีน้ำใจนักกีฬาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายดีขึ้น


ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหว 24 ชั่วโมง และองค์ประกอบของร่างกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐิติพัฒน์ รื่นอารมย์ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหว 24 ชั่วโมง และองค์ประกอบของร่างกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐิติพัฒน์ รื่นอารมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของความสามารถในการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชน และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีต่อองค์ประกอบของร่างกาย ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 824 คน (n=824) ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น (Linear regression) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า มีกลุ่มตัวอย่าง เพียงร้อยละ 0.48 (4 คน) เท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า 1) การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนในด้านกิจกรรมทางกาย และการนอนหลับมีความสัมพันธ์ต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในด้านการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมีความสัมพันธ์ต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย พบว่า การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชนในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ กิจกรรมทางกาย พฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ต่อดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสัมพันธ์กับกับเส้นรอบเอว พบว่า การปฏิบัติตามคำแนะนำการเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับเด็กและเยาวชน ในด้านการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ต่อเส้นรอบเอว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการฝึกโยนบอลสลับมือที่มีต่อการประสานงานของตาและมือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยภรณ์ โสทรวัตร์ Jan 2022

ผลของการฝึกโยนบอลสลับมือที่มีต่อการประสานงานของตาและมือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วลัยภรณ์ โสทรวัตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลค่าเฉลี่ยของคะแนนการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง 2) เปรียบเทียบผลค่าเฉลี่ยของคะแนนการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านการประสานงานของตาและมือต่ำกว่า 15 ครั้งหรืออยู่ในเกณฑ์ปรับปรุง จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกการโยนบอลสลับมือที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และแบบวัดการประสานงานของตาและมือ Alternate Hand Wall Toss Test ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 เช่นเดียวกัน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการฝึกตามแบบฝึกโยนบอลสลับมือเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 40 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยการประสานงานของตาและมือหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยการประสานงานของตาและมือหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการฝึกโยนบอลสลับมือสามารถพัฒนาสมรรถภาพการประสานงานของตาและมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนของนักกีฬาทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา, วิริทธิ์พล แก่นจันทร์ Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมที่มีต่อสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนของนักกีฬาทีมโรงเรียนมัธยมศึกษา, วิริทธิ์พล แก่นจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีม และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมกีฬาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 40 คน เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียน เพศชาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงอายุ 13–15 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์การคัดเข้าและแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน และแบบวัดสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมกับการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจร่วมการทำงานเป็นทีมมีคะแนนสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนปริญญาบัณฑิต, สุนิศา โยธารส Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีต่อ ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนปริญญาบัณฑิต, สุนิศา โยธารส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาลีลาศ ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) โดยทำการทดสอบก่อนการทดลองด้านทักษะประกอบดนตรีจังหวะชะชะช่า (Cha Cha Cha) และจังหวะคิวบัน รุมบ้า (Cuban Rumba) รวมทั้งแบบทดสอบเชิงสถานการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้ผลของการประเมินที่มีค่าใกล้เคียงกันและกำหนดเพศของทั้ง 2 กลุ่ม โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง (30 คน) และกลุ่มควบคุม (30 คน) รวม 60 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศโดยประยุกต์ตารางเก้าช่องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ระยะในการดำเนินงานวิจัย 8 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้กีฬาลีลาศแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรี แบบประเมินเชิงสถานการณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ และเกณฑ์การประเมินความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองของกลุ่มทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 2) ทักษะการเคลื่อนไหวประกอบดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ฮานาฟีย์ ยี่สุ่นทรง Jan 2022

การพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ฮานาฟีย์ ยี่สุ่นทรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อนำเสนอร่างรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การประเมินความต้องการจำเป็นกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง คือ ครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 172 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 479 กำหนดเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ (Dual Response) การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวัง และใช้สูตรจัดเรียงลำดับความสำคัญ (Priority Needs Index: PNI) ขั้นที่ 2 ระบบร่างหลักสูตร จากข้อมูลความต้องการจำเป็น และขั้นที่ 3 นำร่างประมวลรายวิชาและตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของหลักสูตร จำนวน 5 ท่าน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้จำนวน 4 สัปดาห์ ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นสามารถสรุปได้ 2 ประเด็น ได้แก่ 1.1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษาสูงที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล รองลงมา ด้านเนื้อหาสาระ 1.2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงที่สุด คือ ด้านเนื้อหาสาระ รองลงมา 2) ผลการวิเคราะห์การตรวจสอบคุณภาพความเหมาะสมของร่างรายวิชาเพิ่มเติมฐานสมรรถนะเพื่อสร้างเสริมทักษะการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยผู้ทรงคุณทั้ง 5 ท่าน มีค่าอยู่ที่ 4.38 อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก จึงสามารถนำไปทดลองใช้ได้ 3) ผลการทดลองใช้ร่างรายวิชา จำนวน 4 สัปดาห์ 1 หน่วยการเรียนรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้ร่างรายวิชา ด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านการวางแผน สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ร่างหลักสูตรรายวิชา


Addressing High School Student Stress: Exploring Student And Teacher Perceptions Of A Modified Dbt Steps-A Curriculum, Greg C. Hatzis Jan 2022

Addressing High School Student Stress: Exploring Student And Teacher Perceptions Of A Modified Dbt Steps-A Curriculum, Greg C. Hatzis

Doctor of Education in Educational Leadership (Ed.D.)

The problem of practice investigated is high school student stress and the many detrimental effects. The setting is a public high school in Southwestern Connecticut in a community that places a high value on academic achievement and college acceptance. A root cause analysis identifies two actionable drivers of change in teacher practices and the lack of student self-management skills. A review of scholarly knowledge and local practices leads to an investigation of strategies to mitigate the problem. This review identifies Dialectical Behavior Therapy Skills Training for Emotional Problem Solving for Adolescents (DBT STEPS-A) as a high leverage strategy to address …


Developing Teaching Adaptability In Pre-Service Teachers Using Practice-Based Teacher Education, Kyuil Cho Jan 2022

Developing Teaching Adaptability In Pre-Service Teachers Using Practice-Based Teacher Education, Kyuil Cho

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

The purpose of this study was to examine how pre-service teachers (PSTs) develop their teaching adaptive competence through teaching rehearsal and repeated teaching, which is one of the focused teacher education strategies in practice-based teacher education (PBTE). This study was conducted in an introductory teaching methods course of a physical education teacher education (PETE) program. A total of 22 PSTs participated in the study. Fourteen were male, and eight were female. The PSTs had varied coaching experiences ranging from little to no coaching in limited recreational sports settings, and none had teaching or coaching experience in the school setting.

A …


The Effectiveness Of Incorporating Physical Activity Into The Classroom: A Literature Review, Lauren Reynolds Jan 2022

The Effectiveness Of Incorporating Physical Activity Into The Classroom: A Literature Review, Lauren Reynolds

Williams Honors College, Honors Research Projects

Keeping students engaged and achieving in their academic content in school is becoming a very difficult task for teachers all across the nation. A relatively new concept that many teachers and schools are attempting to try in order to accomplish this task is incorporating physical activity in the classroom. However, we still wonder just how effective this integration is and what are the effects across the various grade levels and subject areas? To answer this question, relevant articles were researched, and information was gathered on studies that have been previously done. Results show that overall physical activity incorporated in the …


Australian Teachers’ Perceptions And Experiences Of Food And Nutrition Education In Primary Schools: A Qualitative Study, Gozde Aydin, Claire Margerison, Anthony Worsley, Alison Booth Jan 2022

Australian Teachers’ Perceptions And Experiences Of Food And Nutrition Education In Primary Schools: A Qualitative Study, Gozde Aydin, Claire Margerison, Anthony Worsley, Alison Booth

Australian Journal of Teacher Education

Teacher delivered food and nutrition education (FNE) can be effective in improving children’s food literacy and eating habits. However, teachers are known to face some barriers to the delivery of FNE globally. To obtain a deeper understanding of Australian primary school teachers’ experiences and views, 17 teachers were interviewed. The results of the thematic analysis showed that teachers acknowledged the importance of FNE and were willing to include more FNE content into their teaching. We also identified the FNE topics taught, resources used, their teaching partners, and barriers encountered. The discussion presents strategies to overcome these barriers.


Mixed-Ability Grouping In Physical Education: Investigating Ability And Inclusivity In Pedagogic Practice, Shaun D. Wilkinson, Dawn Penney Jan 2022

Mixed-Ability Grouping In Physical Education: Investigating Ability And Inclusivity In Pedagogic Practice, Shaun D. Wilkinson, Dawn Penney

Research outputs 2014 to 2021

In the United Kingdom (UK) particularly, grouping strategies in secondary education have attracted considerable political attention. While setting students by ability is frequently adopted in mathematics, English and science, mixed-ability grouping is common in other subjects, including physical education (PE). Educational research exploring grouping has highlighted the need for research to extend understanding of the pedagogical assumptions, challenges and/or opportunities associated with the use of mixed-ability grouping in various subject and school settings. This case study research sought to examine mixed-ability grouping with a particular focus on how this grouping strategy was enacted in Key Stage 3 (Years 7, 8 …


Evaluating The Impact Of Video Based Instruction And Immediate Feedback On The Performance Of Three Gross Motor Skills For Participants With Down Syndrome, Alyssa Gadberry Jan 2022

Evaluating The Impact Of Video Based Instruction And Immediate Feedback On The Performance Of Three Gross Motor Skills For Participants With Down Syndrome, Alyssa Gadberry

Cal Poly Humboldt theses and projects

The purpose of this study was to evaluate the impact of video based instruction combined with immediate visual feedback on the performance of three different gross motor skills for children with Down Syndrome (DS). The participants in this study are two children with DS. They were selected for this study based upon these qualifying factors: enrolled in a moderate/severe special day class, enrolled in a title one school, have Down syndrome and displayed deficits in gross motor abilities based upon the administration of the Total Gross Motor Development-3 (TGMD-3) assessment. The research design is a multiple baseline design where three …


"Everybody Wants To Be Included": Experiences With 'Inclusive' Strategies In Physical Education, Katherine Holland, Justin A. Haegele, Xihe Zhu, Jonna Bobzien Jan 2022

"Everybody Wants To Be Included": Experiences With 'Inclusive' Strategies In Physical Education, Katherine Holland, Justin A. Haegele, Xihe Zhu, Jonna Bobzien

Human Movement Sciences & Special Education Faculty Publications

This study examined how students with orthopedic impairments experienced strategies identified in the literature to support ‘inclusion’. An interpretative phenomenological analysis research approach was used, and six students with orthopedic impairments (age 10–14 years) served as participants. Data sources were written prompts, semi-structured, audiotaped interviews, and reflective interview notes. Based on thematic data analysis, four themes were constructed: “It’s kind of embarrassing”: experiences with support; “I don’t want to be different”: equipment, activity, and rule modifications; “I like to be a part of the conversation”: autonomy and choice in PE; and “I would rather be like the other students”: discussing …


Stop Fearing Blindness! Visually Impaired People Reflect On The Ethics Of Sighted Prospective Teachers Simulating Visual Impairment, Anthony J. Maher, Justin A. Haegele, Andrew C. Sparkes Jan 2022

Stop Fearing Blindness! Visually Impaired People Reflect On The Ethics Of Sighted Prospective Teachers Simulating Visual Impairment, Anthony J. Maher, Justin A. Haegele, Andrew C. Sparkes

Human Movement Sciences & Special Education Faculty Publications

Disability simulations have developed as a popular professional development tool to help increase knowledge and awareness of disability and facilitate pedagogical learning among prospective and pre-service teachers. The aim of this research is to explore the ethics of sighted people simulating visual impairment from the perspective of visually impaired people. Participants were nine visually impaired adults who read vignettes narrating simulation experiences of prospective physical education teachers in a university setting before being interviewed about their perceptions of what they had read. Interviews were conducted via telephone, and were recorded, transcribed, and subjected to thematic analysis. The themes constructed and …


Get The Arts Outdoors: Merging Arts And Nature In Outdoor Education At The Ymca, Puneet Dhaliwal Jan 2022

Get The Arts Outdoors: Merging Arts And Nature In Outdoor Education At The Ymca, Puneet Dhaliwal

SASAH 4th Year Capstone and Other Projects: Publications

As part of my SASAH experiential learning requirement, I worked at the YMCA Cedar Glen Outdoor Centre during the Fall/Winter term of 2021/22. Although I had previously worked at the outdoor centre as an educator teaching groups, this year was a different experience due to the new responsibilities and unique learning opportunities presented by the onset of the COVID-19 pandemic. Throughout the year, I was responsible for the creation of lesson plans merging the arts and sciences in an outdoor setting according to the curriculum requirements of Ontario’s Ministry of Education. Moreover, I implemented inclusive learning options for each unit …


The Impact Of Creative Arts On Meaning Reconstruction And Loss Adaptation In Widowed Adults, Dani Baker-Cole Jan 2022

The Impact Of Creative Arts On Meaning Reconstruction And Loss Adaptation In Widowed Adults, Dani Baker-Cole

Antioch University Full-Text Dissertations & Theses

In counseling, helping grieving clients find meaning after significant loss is a unique, multidimensional, and lengthy process. This is particularly true in Western societies, where antithetical linear grief models, supported by hegemonic expectations to move on after loss, add exhausting pressure to speed up an individual’s natural grieving process. For that reason, this study examined how creative arts interventions such as using traditional art media and expressive writing, combined with postmodern, nonlinear, culturally sensitive bereavement models, help individuals explore their loss narrative to make meaning and adapt to loss. Specifically, this study examined the impact of a switch from traditional …


A Guidebook For Adapted Physical Educators: Connecting The Domains Of Learning To Evidence-Based Practices, Kalyn G. Ruland Jan 2022

A Guidebook For Adapted Physical Educators: Connecting The Domains Of Learning To Evidence-Based Practices, Kalyn G. Ruland

Cal Poly Humboldt theses and projects

I created a guidebook for Adapted Physical Educators (APE) as a resource on how they can use Evidence-Based Practices (EBP's) created by The National Professional Development Center for Autism Spectrum Disorder (NPDC on ASD) to meet the Domains of Learning. The goal for this guidebook was to help bridge the gap between educational research and practice in the classroom. EBP’s are a form of research based interventions that are made easily accessible for busy educators. The main audience for the guidebook is Adapted Physical Education Teachers, with a secondary audience of Special Education and general education teachers. This guidebook was …


Rethinking The Classification Of Games And Sports In Physical Education: A Response To Changes In Sport And Participation, Justen O'Connor, Laura Alfrey, Dawn Penney Jan 2022

Rethinking The Classification Of Games And Sports In Physical Education: A Response To Changes In Sport And Participation, Justen O'Connor, Laura Alfrey, Dawn Penney

Research outputs 2022 to 2026

Background Through changing the way games are represented, classification systems have increased possibilities for teaching game forms beyond structured adult and singular official versions of popular sports. At the time of inception, the four-game form approach to classification (target, net/wall, striking/fielding, and invasion games) enabled modified, small sided conditioned games to be adapted to suit individual attributes, whilst reinforcing a core set of tactical and technical elements for transfer. With global shifts in patterns of sport participation, it is timely to review this dominant classification frame and the role it plays within physical education (PE). Purpose This paper proposes changes …


Autoeficacia Del Docente De Educación Física General Y La Inclusión De Estudiantes Con Necesidades Especiales [Self-Efficacy Of The General Physical Education Teacher And The Inclusion Of Students With Special Needs], Raul Berrios Jan 2022

Autoeficacia Del Docente De Educación Física General Y La Inclusión De Estudiantes Con Necesidades Especiales [Self-Efficacy Of The General Physical Education Teacher And The Inclusion Of Students With Special Needs], Raul Berrios

Theses and Dissertations

El propósito de este estudio fue determinar el nivel de autoeficacia de los docentes de educación física general, sobre la inclusión de estudiantes con necesidades especiales en las áreas de estrategias de instrucción, manejo de la sala de clases y cómo lograr la participación de los estudiantes.

El diseño utilizado fue uno no experimental con un enfoque transeccional o transversal descriptivo. El marco teórico seleccionado fue la teoría social cognitiva de Bandura, de la cual se desprende el componente de la teoría de autoeficacia.

La muestra estuvo conformada por los 37 docentes de educación física general de un municipio del …