Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 76

Full-Text Articles in Education

คิดนอกกรอบ: ยุคของข้อมูลขนาดใหญ่ กับโอกาสในการพัฒนาการศึกษาไทย, สุธนิต เวชโช Jul 2018

คิดนอกกรอบ: ยุคของข้อมูลขนาดใหญ่ กับโอกาสในการพัฒนาการศึกษาไทย, สุธนิต เวชโช

Journal of Education Studies

ข้อมูลขนาดใหญ่ที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ ถูกสะสมเพิ่มพูนและเกิดเป็นคลังข้อมูล ขนาดใหญ่ ในวงการการศึกษาเมื่อการเรียนรู้เกิดขึ้นบนเครือข่ายต่าง ๆ ทำให้เราสามารถดึง ข้อมูลที่อยู่ในระบบเพื่อใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ และอาจค้นพบวิธีการใช้ข้อมูลใหม่ ๆ มากยิ่ง ขึ้น ตามคุณลักษณะที่โดดเด่นของข้อมูลขนาดใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ ความซับซ้อนของข้อมูลและโครงสร้าง และความเร็วในการเกิดของข้อมูล ซึ่งกระบวนใน การจัดเก็บข้อมูล 3 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) การจัดเก็บข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล และ 3) การนำเสนอข้อมูล ในแวดวงการศึกษาได้แบ่งข้อมูลออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่ ข้อมูล ด้านการบริหาร และข้อมูลกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอการนำประโยชน์จาก การวิเคราะห์ข้อมูลไปใช้งานเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาในหลายรูปแบบ ประกอบด้วยการศึกษา ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาผลลัพธ์ทางการศึกษาและการวางแผนอาชีพ การพัฒนาหลักสูตรและการกำหนดนโยบาย และช่วยให้ข้อมูลด้านการศึกษา อันจะเป็นโอกาส และความท้าทายที่สำคัญสำหรับการพัฒนาการศึกษาของไทย


แนวโน้มการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด, ปิยะ ศักดิ์เจริญ Apr 2018

แนวโน้มการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด, ปิยะ ศักดิ์เจริญ

Journal of Education Studies

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยแบบเดลฟาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด ทั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา และมหาวิทยาลัยแบบการศึกษาทางไกล จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และ 2) นำเสนอแนวโน้มการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับสถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติ 6 ด้าน คือ 1) ด้านความต้องการรู้ของผู้เรียน โดยผู้เรียนต้องรู้จักสำรวจความต้องการที่แท้จริงของตนเองในการเรียนรู้ 2) ด้านมโนทัศน์ของผู้เรียน โดยผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบและตระหนักในหน้าที่ของตนเองต่อการเรียนรู้ 3) ด้านประสบการณ์ของผู้เรียน โดยผู้เรียนต้องนำประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาต่อยอดให้กับการเรียนรู้ของตนเอง 4) ด้านความพร้อมที่จะเรียนรู้ โดยผู้เรียนต้องพิจารณาถึงแนวทางการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ตามบทบาทของตนเอง 5) ด้านการนำไปสู่การเรียนรู้ โดยผู้เรียนต้องเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากการเรียน ไปปรับใช้ในสถานการณ์จริง และ 6) ด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยผู้เรียนต้องระลึกอยู่เสมอว่าการเรียนรู้คือการสร้างคุณค่าในตนเอง


การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ประภาวดี ทามนตรี Apr 2018

การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ประภาวดี ทามนตรี

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 7 ห้อง ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.88/88.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และมีผลสัมฤทธิ์ หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะอ่านจับใจความสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบน, พิเศรษฐ์ ไชยสุภา, น้ำผึ้ง อินทะเนตร Apr 2018

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบน, พิเศรษฐ์ ไชยสุภา, น้ำผึ้ง อินทะเนตร

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การทำความเข้าใจปรากฏการณ์และคัดเลือกตัวแปร เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้ให้ข้อมูลพหุกรณีศึกษา 4 แห่ง จำนวน 24 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุปอุปนัยกำหนดร่างองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบน ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม เป็นไปได้และจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ และแบบบันทึกประเด็นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการจัดการเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กในเขตพื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 8 องค์ประกอบย่อย 35 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 การจัดส่วนประกอบสำคัญของเครือข่ายความร่วมมือ มี 6 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ สมาชิกของเครือข่าย (4 ตัวบ่งชี้) โครงสร้างหน้าที่ของเครือข่าย (3 ตัวบ่งชี้) วัตถุประสงค์ของเครือข่าย (4 ตัวบ่งชี้) ระบบสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ของเครือข่าย (4 ตัวบ่งชี้) ทรัพยากรที่จำเป็นในระบบเครือข่าย (4 ตัวบ่งชี้) และคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับสมาชิกเครือข่าย (5 ตัวบ่งชี้) องค์ประกอบหลักที่ 2 ขอบข่ายภารกิจความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษา มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ การพัฒนาประสิทธิภาพงานวิชาการ (5 ตัวบ่งชี้) และการพัฒนาประสิทธิภาพงานสนับสนุนงานวิชาการ (6 ตัวบ่งชี้)


การพัฒนาอาจารย์ต้นแบบการสอนระดับมหาวิทยาลัย (Rmutt Model): แนวคิดจากฟินแลนด์สู่ไทย, ปริญญา มีสุข, บุญธิดา เอื้อพิพัฒนากูล, นันท์ภัสกร ฤทธิ์พนิชชัชวาล, นรรจพร เรืองไพศาล, อรพินท์ สุขยศ Apr 2018

การพัฒนาอาจารย์ต้นแบบการสอนระดับมหาวิทยาลัย (Rmutt Model): แนวคิดจากฟินแลนด์สู่ไทย, ปริญญา มีสุข, บุญธิดา เอื้อพิพัฒนากูล, นันท์ภัสกร ฤทธิ์พนิชชัชวาล, นรรจพร เรืองไพศาล, อรพินท์ สุขยศ

Journal of Education Studies

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การจัดการศึกษาของประเทศฟินแลนด์เป็นระบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิผลเป็นที่น่าสนใจ โดยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของคนในประเทศอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับในทุกฐานข้อมูล ทำให้เกิดประเด็นคำถามขึ้นว่า ฟินแลนด์มีการพัฒนาการศึกษาอย่างไร และใครเป็นผู้มีบทบาทในการพัฒนาการศึกษาของคนในชาติ ผลการวิเคราะห์เชิงสาเหตุพบว่าปัจจัยหลักคือกระบวนการผลิตบุคคลที่มีคุณภาพสูงผ่านกระบวนการทางอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศพร้อมกันทั้งระบบ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการพัฒนาดังกล่าวเริ่มที่การพัฒนาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม นำไปสู่การพัฒนาการศึกษาและพัฒนาคนในประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลชัดเจน จึงเกิดโครงการพัฒนาอาจารย์ต้นแบบการสอนระดับมหาวิทยาลัย (RMUTT Model) ที่เป็นการพัฒนาอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีร่วมกับ University of Tampere ประเทศฟินแลนด์ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาประเทศผ่านทางการพัฒนาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย องค์ความรู้ที่สังเคราะห์ได้พบว่า การพัฒนาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการออกแบบการเรียนการสอน และการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการสะท้อนความคิดจากมุมมองที่แตกต่างกันของบุคคลในกลุ่มชุมชนวิชาชีพ (professional community) โดยไม่เพียงแต่การจัดการสิ่งแวดล้อมและการใช้สื่อของเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับบริบทของแต่ละรายวิชา เน้นการคิดเชิงวิพากษ์ และการประยุกต์รูปแบบและเทคนิคการสอนที่เหมาะสม มีขั้นตอนและกระบวนการผสมผสานกันระหว่างทฤษฎี ความรู้ และการปฏิบัติ ทั้งหมดนี้ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) การปรับรูปแบบนักวิชาการ 2) การเรียนรู้การสอน 3) การเรียนรู้ของผู้เรียน 4) และการใช้การประเมินเพื่อพัฒนา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาจารย์ต้นแบบในการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างยั่งยืน


มุมห้องเรียน: เลี้ยงเด็กให้รุ่ง ต้องให้เด็กได้เล่น, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, อุไรวาส ธำรงอรรถ, แสงทิวา ไชยยศ Apr 2018

มุมห้องเรียน: เลี้ยงเด็กให้รุ่ง ต้องให้เด็กได้เล่น, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ, อุไรวาส ธำรงอรรถ, แสงทิวา ไชยยศ

Journal of Education Studies

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการไม่สมวัย คือ มโนทัศน์ที่คลาดเคลือนของสังคมที่ต้องการเร่งเด็กให้มีความพร้อมในการเขียน อ่าน และคิดคำนวณก่อนวัยอันควร ส่งผลให้เด็กขาดความกระตือรือร้น แรงจูงใจในการเรียนรู้ และเกิดความเครียด การอบรมเลี้ยงดูที่สอดคล้องกับธรรมชาติการทำงานของสมองและพัฒนาการของเด็ก นำมาสู่ศักยภาพการเรียนรู้ที่สูงที่สุด เด็กปฐมวัยต้องได้เรียนรู้ผ่านการเล่น การลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัส ภายใต้บรรยากาศทางบวกซึ่งนำไปสู่สภาวะลื่นไหล การจัดให้เด็กได้เล่นอิสระภายใต้หลักปฏิบัติ 7 ประการ เป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยผ่านการเล่นซึ่งนำไปสู่ศักยภาพการเรียนรู้สูงที่สุด


คิดนอกกรอบ: การพัฒนาครู: แก้ปัญหาให้ตรงจุด, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ Apr 2018

คิดนอกกรอบ: การพัฒนาครู: แก้ปัญหาให้ตรงจุด, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ

Journal of Education Studies

การจะพัฒนาครูเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสอนนั้น จำเป็นต้องทราบพื้นฐานของครูให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหาว่าเกิดจากอะไร ประเด็นสำคัญที่ปรากฏชัดเจนคือเรื่องการใช้ครู ครูมีภาระงานอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงานสอนมากเกินไป จากผลการวิจัยและข้อมูลการใช้ครูของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย พบว่า การจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพครูต้องทำหน้าที่สอนอย่างเดียว การทุ่มงบประมาณเพื่อการพัฒนาครูด้วยวิธีการต่าง ๆ จะไม่บังเกิดผลได้เลยถ้าครูไม่มีเวลาให้กับการสอนอย่างเต็มที่ การคืนครูสู่ห้องเรียนแล้วพัฒนา นิเทศ ติดตาม คือ การแก้ปัญหาที่ตรงจุด


เปิดประเด็น: การพัฒนาผู้เรียนด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้, สกลรัชต์ แก้วดี Apr 2018

เปิดประเด็น: การพัฒนาผู้เรียนด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้, สกลรัชต์ แก้วดี

Journal of Education Studies

การประเมินเพื่อการเรียนรู้ เป็นแนวคิดแนวปฏิบัติด้านการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยใช้การให้ข้อมูลป้อนกลับในระหว่างที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองมีความเข้าใจบทเรียนมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงและพัฒนาการเรียนของตนเองอย่างไรเพื่อให้บรรลุตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กลวิธีการประเมินเพื่อการเรียนรู้มุ่งเน้นการใช้คำถามและการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน ได้แก่ การใช้คำถาม การให้ข้อมูลป้อนกลับ การให้เพื่อนประเมิน และการประเมินตนเอง การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมการสร้างห้องเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก ดังนั้นจึงส่งผลดีต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ตลอดจนช่วยพัฒนาการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน


ผลของการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กรกนก เลิศเดชาภัทร, ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์ Apr 2018

ผลของการสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กรกนก เลิศเดชาภัทร, ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสืบสอบแบบร่วมมือรวมพลังกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 37 คน และ 36 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.68 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเฉลี่ยร้อยละ และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองคือ 82.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จัดอยู่ในความสามารถอยู่ในระดับดีมาก โดยมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ในองค์ประกอบ ข้อกล่าวอ้างและหลักฐานอยู่ในระดับดีมาก และองค์ประกอบการให้เหตุผลอยู่ในระดับดี และ 2) เมื่อพิจารณาทั้งคะแนนรวมและคะแนนแยกตามองค์ประกอบหลังเรียน พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, เฉลิมสิน สิงห์สนอง Apr 2018

ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, เฉลิมสิน สิงห์สนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2) วิเคราะห์ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาณิตศาสตร์ 3) พัฒนาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีการศึกษา 2557 จำนวน 337 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย มีตัวแปรแฝงภายนอกที่ใช้ในการวิจัยทั้หมด 7 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของผู้สอน การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติ ความตั้งใจเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบทดสอบคณิตศาสตร์จำนวน 1 ฉบับ และแบบวัดจำนวน 6 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS 17.0 เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL 8.7) ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรพฤติกรรมการสอนของผู้สอนและความตั้งใจเรียนมีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีอิทธิพลอยู่ในระดับปานกลาง 2) ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุกับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตรวจสอบจากค่าไคกำลังสองได้ 122.159 ค่าองศาเสรี 150 มีค่าพี 0.954 ค่าดัชนีความสอดคล้องของตัวแบบ (GFI) เท่ากับ 0.970 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกําลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (RMR) 0.026 ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์(RMSEA) เท่ากับ 0.000 และค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (NFI) เท่ากับ 0.980 ตัวแบบสามารถอธิบายความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ร้อยละ 97.00 3) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณติศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเรียงตามลำดับ คือ พฤติกรรมการสอนของผู้สอน ความภาคภูมิใจในตนเอง เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองและความตั้งใจเรียน มีอิทธิพลรวมเท่ากับ 1.568 1.421 0.946 0.488 0.404 0.232 ตามลำดับ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของผู้สอน ความภาคภูมิใจในตนเอง เจตคติ ความตั้งใจเรียน โดยมีอิทธิพลเท่ากับ 1.076 1.072 0.893 …


แนวทางการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Apr 2018

แนวทางการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยคุณภาพเรื่อง ?การนำเสนอแนวทางการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ในบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย? มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย องค์ประกอบหลักในการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ จำนวน 13 องค์ประกอบ กระบวนการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับชุมชน ระดับครอบครัว และระดับบุคคล และผลผลิตจากการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ที่มีต่อความสามารถของบุคคล ความสามารถของครอบครัว ความสามารถขององค์กรและชุมชน และความสามารถของสังคมและประเทศชาติ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้เป็นแนวปฏิบัติที่จะสู่การเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของบุคคลแห่งการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้วิจัยหวังอย่างยิ่งว่า องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับความเข้าใจในการจัดศึกษาตลอดชีวิตเพื่อขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ในประเทศไทย และเป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป


นักออกแบบตัวน้อย: การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ, วาทินี บรรจง Apr 2018

นักออกแบบตัวน้อย: การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผ่านประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ, วาทินี บรรจง

Journal of Education Studies

ศตวรรษที่ 21 หรือยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นยุคที่ความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของประชากรในอนาคต ปัจจุบันระบบการศึกษาของประเทศที่พัฒนาแล้วตั้งเป้าหมายและให้ความสำคัญในการส่งเสริมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก นักวิชาการหลายท่านต่างเน้นว่า ช่วงปฐมวัย เป็นวัยที่สำคัญยิ่งต่อการบ่มเพาะทักษะนี้ ส่งผลให้กิจกรรมสร้างสรรค์หรือศิลปะสร้างสรรค์ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของชาติ ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง งานวิจัยเกี่ยวกับการค้นพบรูปแบบที่แปลกใหม่ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นมากมาย กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วยกระบวนการคิด 7 ขั้นตอน คือ (1) การตั้งเป้าหมาย (2) การระบุองค์ประกอบ (3) การคิดเชื่อมโยงองค์ประกอบ (4) การนำเสนอรูปแบบและวิธีการ (5) การนำแผนการมาปฏิบัติและปรับปรุง (6) การตัดสินและประเมิน และ (7) การสะท้อนประสบการณ์ เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนโดยนักการศึกษาชาวอเมริกันนำมาทดลองจัดประสบการณ์ตั้งแต่เด็กวัยประถมศึกษาจนถึงวัยมัธยมศึกษา กระบวนการคิดเชิงออกแบบส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยังช่วยให้เด็กฝึกฝนความคิดและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาอย่างยั่งยืน


การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน โดยใช้กรอบแนวคิดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นความเข้าใจ, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม Apr 2018

การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน โดยใช้กรอบแนวคิดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นความเข้าใจ, ไพโรจน์ น่วมนุ่ม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ใช้กรอบแนวคด CMI เทียบกับเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ใช้กรอบแนวคด CMI 3) ศึกษาพัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ใช้กรอบแนวคด CMI และ 4) ศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กรอบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2720313 การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ ใบงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ และ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด CMI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด CMI มีทักษะทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด CMI มีทักษะทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด CMI ในช่วงก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน มีทักษะทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนหลังการทดลอง สูงกว่าระหว่างเรียน และสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้น ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเป็นลำดับเมื่อเปรียบเทียบเป็นระยะจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน 4) ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด CMI ที่เสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมในระดับมาก


รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Apr 2018

รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้จัดการศึกษาทางเลือกที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 106 คน และการสัมภาษณ์รายกรณี โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้จัดการศึกษาทางเลือกที่มีความหลากหลายตามกลุ่มการเรียนรู้ จำนวน 9 ราย เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์บทเรียนที่ดีของการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก จากนั้นนำผลวิเคราะห์มาสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน เพื่อให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนที่ดีของการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ได้แก่ 1.1) แนวทางสำหรับผู้จัดการศึกษาทางเลือก มีดังนี้ 1.1.1) การสร้างการเรียนรู้ ควรมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณค่าและคุณภาพของผู้เรียนจากแรงบันดาลใจ และความเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่แก้ปัญหาของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง 1.1.2) การจัดการการเรียนรู้ควรคำนึงถึงบริบทและสภาพชุมชนของผู้เรียน 1.1.3) การพัฒนาการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญการพัฒนา ?คน? ทั้งผู้จัดและผู้เรียน บนฐานการเรียนรู้ด้วยตนเองและบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษา 1.2) ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือก ได้แก่ บุคลากรที่มีความเข้าใจในการจัดการศึกษาแบบองค์รวม มีทักษะในการบริหารจัดการ มีความรู้ในการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับกฎระเบียบของภาครัฐและเหมาะสมกับความต้องการชุมชน 2) รูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางเลือกเป็นการเรียนรู้ที่มีหลักการ กระบวนการ และผลการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงประสานกันเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ โดยมี 2.1) หลักการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน 3 ประการ ได้แก่ 2.1.1) หลักคิดหรือเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือ ?เพื่อชีวิต จิตวิญญาณ และภูมิปัญญา? 2.1.2) หลักวิชาที่สำคัญ คือ ?วิชาชีวิต คิดจัดการ สานชุมชน? เป็นการเรียนรู้บนฐานชุมชน โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองเป้าหมายในชีวิต และ 2.1.3) หลักปฏิบัติ ?เรียนรู้องค์รวม ร่วมมือร่วมใจ ไปสู่อนาคต? เพื่อการเรียนรู้ในอนาคต 2.2) กระบวนการเรียนรู้ ?บ่มเพาะ ? เสาะหา ? เผชิญหน้า ? พัฒนา? 2.3) ผลการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนที่มีความพร้อม ความรับผิดชอบในการกระทำหน้าที่ของตนเอง และมีศักยภาพในการส่งเสริมชุมชนสังคมด้วยการสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น เสมือนกับรูปแบบ ?รวงรังแห่งการเรียนรู้? ของผึ้งงานที่ดำรงชีวิตและมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อชุมชนสังคม โดยมีรวงผึ้งเป็นแหล่งฟูมฟักและเรียนรู้


ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร Apr 2018

ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ระหว่างกลุ่มที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2557 จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา, ภัทรี สุรโรจน์ประจักษ์, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, สำลี ทองธิว Apr 2018

การพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา, ภัทรี สุรโรจน์ประจักษ์, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา, สำลี ทองธิว

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานผสมผสานแนวคิดกระบวนการวางแผนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และเพื่อศึกษาคุณภาพของกระบวนการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนปลูกปัญญา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบรูบริควัดความสามารถการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการแก้ปัญหา มี 6 ขั้นตอน คือ กำหนดประเด็นปัญหาสำคัญ กำหนดภาพในอนาคตที่ดีที่ต้องการให้เกิดขึ้น สร้างภารกิจที่ต้องการทำ พัฒนากลยุทธ์การแก้ปัญหาเพื่อบรรลุภารกิจที่ต้องการ วางแผนงานและลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และเผยแพร่ผลิตผลทางความคิดและประเมินงาน สำหรับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยระหว่างการทดลองสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกระยะ โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองในระยะที่ 3 (ระยะสุดท้าย) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80


การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต รายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, อริสา สุมามาลย์, สาวิตรี เถาว์โท Apr 2018

การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต รายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, อริสา สุมามาลย์, สาวิตรี เถาว์โท

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต รายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะชีวิต และความพึงพอใจของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะชีวิต และแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 83.45/82.66 2) มีจำนวนนักศึกษาที่ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 69.45 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ( = 33, S.D.=3.2) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะชีวิตหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ งานวิจัยนี้ได้นำหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่ การฝึกสติ การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การใคร่ครวญทบทวนตนเอง และการพูดคุยและรับฟังกันและกันอย่างไม่ตัดสิน การสร้างความไว้วางใจระหว่างครูกับศิษย์ฯลฯ มาออกแบบเป็นกิจกรรมการเรียนการสอน 7 แผน ซึ่งงานวิจัยอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยควรใส่ใจไม่เพียงแต่รูปแบบกิจกรรมเท่านั้น แต่ใส่ใจที่หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ด้วย


การพัฒนาเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ไอยย์ศรัย พีรภาพรกุล, รุ่งระวี สมะวรรธนะ, สมบูรณ์ อินทร์ถมยา Apr 2018

การพัฒนาเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, ไอยย์ศรัย พีรภาพรกุล, รุ่งระวี สมะวรรธนะ, สมบูรณ์ อินทร์ถมยา

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวการณ์เคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเพื่อกำหนดตัวบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) การสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group Discussion) (3) ศึกษาคุณภาพเครื่องมือวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เครื่องมือวัดการรับรู้ภาวการณ์เคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 รายการทดสอบ ได้แก่ การขว้างรับสลับเตะ การเรียงบล็อก การวิ่งแตะตามคำสั่ง การปิดตาเคลื่อนที่ตามทิศทางที่กำหนด และการจำแนกน้ำหนักของวัตถุ ผลการประเมินคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน พบว่าก่อนนำไปทดลองใช้ แบบทดสอบนี้มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับสูง (.93) และมีความตรงตามโครงสร้างทฤษฎีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกรายการทดสอบ สรุปได้ว่าเครื่องมือวัดการรับรู้ภาวการณ์เคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อบ่งชี้ความเป็นเลิศทางด้านกีฬาของนักเรียนโรงเรียนกีฬาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถเป็นต้นแบบเพื่อนำไปปรับปรุงใช้กับนักเรียนในระดับชั้นอื่น ๆ ได้ต่อไป


การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน, อรพรรณ บุตรกตัญญู Apr 2018

การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน, อรพรรณ บุตรกตัญญู

Journal of Education Studies

การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นแนวคิดของประเทศฟินแลนด์หลังปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ปี ค.ศ.2016-2017 โดยนำปรากฏการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงให้ผู้เรียนสังเกตด้วยมุมมอง ที่หลากหลาย ตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาเพื่อนำไปสู่การค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ การใช้ปัญหาเป็นฐานหรือโครงการจากฐานแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ในตนเองและ การบูรณาการ สหวิทยาการ ขยายขอบเขตการเรียนรู้ไปสู่นอกห้องเรียนและโลกอินเตอร์เนตผสานการใช้เทคโนโลยี การใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านและการใช้แฟ้มสะสมงาน มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 โดยเชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่ศึกษากับศาสตร์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ของข้อมูลในยุคดิจิตอล พัฒนาไปสู่การเป็นผู้สร้างความรู้และผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์ ?การเล่นตามรอยพระยุคลบาท? ไม่เพียงแต่ผู้เรียนเกิดเรียนรู้อย่างมีความหมาย จากการศึกษาปรากฏการณ์แบบข้ามศาสตร์ที่ทำให้เข้าใจและมีมุมมองแบบองค์รวม ยังทำให้ตระหนัก ถึงคุณค่าของสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านปรากฏการณ์ที่มีความหมายในโลกแห่งความเป็นจริง ได้เรียนรู้วิธีเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกัน


แนะนำหนังสือ, วัชระ อินสา Apr 2018

แนะนำหนังสือ, วัชระ อินสา

Journal of Education Studies

-


การศึกษารูปแบบการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน, สมพงษ์ จิตระดับ, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน, นวพร สุนันท์ลิกานนท์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ Apr 2018

การศึกษารูปแบบการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน, สมพงษ์ จิตระดับ, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน, นวพร สุนันท์ลิกานนท์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มของปัญหา อุปสรรคที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4 จากผู้มีส่วนได้สวนเสียทุกภาคส่วน และ 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ที่มีประสิทธิภาพ โดยศึกษาจากข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลจากเอกสาร และ 2) ข้อมูลจากตัวอย่างที่ผ่านการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ นักเรียนทุน ผู้ปกครองของผู้รับทุน กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ในจังหวัดต่าง ๆ กลุ่มเจ้าหน้าที่สำนักงานดูแลนักเรียนทุนรัฐบาล (สนร.) ในประเทศต่าง ๆ ศิษย์เก่า วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักและเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การลดทอนข้อมูล การวิเคราะห์เนื้อหา และการสรุปข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาแนวโน้มของปัญหา อุปสรรคที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน คือ ระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมน้อย ขาดการตรวจสอบเกณฑ์รายได้อย่างเข้มงวด มีปัญหาการรับรองวุฒิ และขาดการประสานงานการให้ข้อมูลสาขาวิชาที่ท้องถิ่นมีความต้องการ รวมทั้งมีปัญหาเรื่อง การเทียบคะแนน ส่งผลให้การตีความระดับผลการเรียนไม่สอดคล้องกับสภาพจริง 2) ผลการศึกษารูปแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนที่มีประสิทธิภาพ รูปแบบคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน มีการเปลี่ยนแปลงเชิงปรัชญา นโยบาย และวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับนักการเมือง รัฐมนตรีที่เข้ามากำกับดูแลเป็นสำคัญ คณะกรรมการไม่สามารถให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็นแตกต่าง ควรปรับรูปแบบคณะกรรมการดังกล่าวให้ยึดมติการตัดสินใจของคณะกรรมการร่วมกันมิใช่ยึดตัวบุคคลดังที่ผ่านมา โครงการนี้ต้องเป็นภารกิจสำคัญ มีฐานะเป็นกรม นิติบุคคล ที่อิสระคล่องตัว อยู่ภายใต้การบริหารงานของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Apr 2018

การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จากโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการจำนวน195โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ดัชนีค่าความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี 3 แนวคิด ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และ 3) การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ต่อการพัฒนาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด พิจารณาจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุด พบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรตามลำดับ ส่วนด้านการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การคิดขั้นสูงและการแก้ปัญหามุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นผู้นำและการปรับตัวมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ นโยบายด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษของรัฐ และสภาพเทคโนโลยีตามลำดับ


ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ: ปัจจัยสำคัญในการบริหารโรงเรียนประชารัฐ, ปทุมพร เปียถนอม Apr 2018

ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ: ปัจจัยสำคัญในการบริหารโรงเรียนประชารัฐ, ปทุมพร เปียถนอม

Journal of Education Studies

การพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 มีการกำหนดโครงการสานพลังประชารัฐเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนผ่านโครงการบันทึกความร่วมมือ กิจกรรม หรืองานวิจัยต่าง ๆ โครงการโรงเรียนประชารัฐเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกจัดตั้งขึ้นในบริบทประเทศไทย 4.0 ภายใต้ทฤษฎีระบบ (System Theory) คือ การผนวกกลไกในการบริหารจัดการโรงเรียนระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชน (Input) ภายใต้ความร่วมมือใหม่ (Process) ที่ขับเคลื่อนโดยองค์กรพี่เลี้ยง (ภาคเอกชน) อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (Output) การบริหารโรงเรียนประชารัฐภายใต้แนวคิดภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ (Full Range Leadership) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผนวกแนวคิดภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) ได้แก่ การบริหารงานแบบปล่อยตามสบาย (LF) การบริหารแบบวางเฉย (MBE) และการให้รางวัลตามสถานการณ์ (CR) กับภาวะผู้นำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) ได้แก่ ความใส่ใจต่อปัจเจกบุคคล (IC) การกระตุ้นผู้ตามโดยใช้ปัญญา (IS) การใช้แรงจูงใจในการสร้างแรงบันดาลใจ (IM) และการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (II) เข้าไว้ด้วยกัน ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบจึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเดิม ที่ผู้นำจำนวนหนึ่งมีลักษณะการบริหารแบบปล่อยตามสบาย (LF) การบริหารแบบวางเฉย (MBE) และการให้รางวัลตามสถานการณ์ (CR) อันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของไทยในภาพรวมตกต่ำ ดังนั้นหากไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการบริหารการศึกษา ปัญหาดังกล่าวจะยังคงอยู่ หากมีการนำนโยบายในการบริหารโรงเรียนประชารัฐ มาใช้ภายใต้แนวคิดภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ ก็อาจนำไปสู่การแก้ปัญหา แบบบูรณาการต่อไป


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2018

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

-


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ศรัณย์พร ยินดีสุข Apr 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ และแนวทางในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, ศรัณย์พร ยินดีสุข

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)กำหนดความต้องการจำเป็นของนักเรียนมัธยมศึกษาแต่ละสังกัดในด้านความใฝ่รู้ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา และ 3)เพื่อวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร และตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 665 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบหลายขั้นตอน (multistage-random sampling) ใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ.957 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติภาคบรรยาย สถิติการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ (Multiple Linear Regression) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทุกระดับชั้นทั้งสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษามีความใฝ่รู้ในระดับปานกลาง และมีความต้องการจำเป็นด้านความใฝ่รู้อย่างเร่งด่วน ทุกด้าน 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความใฝ่รู้ พบว่าตัวแปรอิสระที่สามารถทำนายระดับความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจ บรรยากาศในการเรียนรู้ และกิจกรรมในชั้นเรียน สามารถทำนายได้ร้อยละ 67 และ3) แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาความใฝ่รู้ คือ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน และการได้รับการสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากครอบครัว


การพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่21โดยใช้โมเดลแบบปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยร่วมกับการเรียนแบบผสมผสานในวิชาอิเล็กทรอนิกส์, นาถวดี นันทาภินัย Jan 2018

การพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในศตวรรษที่21โดยใช้โมเดลแบบปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยร่วมกับการเรียนแบบผสมผสานในวิชาอิเล็กทรอนิกส์, นาถวดี นันทาภินัย

Journal of Education Studies

กรอบแนวคิดแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ดังกล่าวควรจะเป็นแบบผสมผสานทั้งการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติและการเรียนรู้แบบออนไลน์ การเรียนรู้ของนักเรียนจะผสมผสานทั้งการเรียนรู้จากครูและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะสอดคล้องกับโมเดลการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ 1) โมเดลแบบปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อย 2) โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน เมื่อนำมาผสมผสานกันเป็นโมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการปล่อยความรับผิดชอบทีละน้อยซึ่งมี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ 2) ครูและนักเรียนทำงานร่วมกันในชั้นเรียน 3) นักเรียนเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีช่วย โมเดลการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จะเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะสารสนเทศ จึงน่าจะเหมาะสมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


การประเมินผลการเขียนภาษาอังกฤษแบบพลวัตในระดับประถมศึกษา, เหมวรรณ ขันมณี Jan 2018

การประเมินผลการเขียนภาษาอังกฤษแบบพลวัตในระดับประถมศึกษา, เหมวรรณ ขันมณี

Journal of Education Studies

ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพในปัจจุบัน การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัยตลอดจนการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเขียนภาษาอังกฤษจึงเป็นหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของครูในระดับประถมศึกษา อนึ่ง นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการเขียนที่มีคุณภาพแล้ว ครูจำเป็นต้องมีกระบวนการประเมินผลการเขียนที่มีประสิทธิภาพด้วยเพื่อจักได้นำผลการประเมินมาพัฒนาความสามารถในการเขียนของนักเรียนตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล การประเมินผลการเขียนภาษาอังกฤษแบบ Dynamic Assessment (การประเมินแบบพลวัต) ในบรรยากาศการประเมินที่เป็นมิตร เป็นกระบวนการที่ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเขียนอย่างเป็นระบบ ซึ่งนอกจากครูจะได้ผลการประเมินมาใช้พัฒนาการเขียนของนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของตนเอง เห็นคุณค่าของการประเมินผล และนำมาพัฒนาการเขียนของตนอย่างต่อเนื่อง


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสร้างภาพในใจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน Jan 2018

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสร้างภาพในใจเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หารูปแบบและกิจกรรมที่ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นความคิดที่ส่งผลต่อการสร้างภาพในใจ 2) ศึกษาและพัฒนาการสร้างภาพในใจในขอบเขตของการสร้างรูปทรงพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับนักออกแบบภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิก และแบบฝึกหัดสร้างภาพในใจเรื่องการจำข้อมูลภาพ 2 มิติสู่ภาพ 3 มิติ และกิจกรรมการสร้างภาพในใจและความสามารถควบคุมภาพวัตถุในความคิด ข้อมูลจากผลการฝึกจำข้อมูลภาพและการทำกิจกรรม นำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าหลักการทำงานของนักออกแบบภาพประกอบ นักออกแบบกราฟิก ให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลอย่างชัดเจนและเพียงพอต่อการเริ่มต้นสร้างสรรค์ผลงาน แล้วร่างภาพให้เห็นโครงสร้างโดยรวมก่อนทำการปรับปรุงให้สมบูรณ์ มีความสอดคล้องกับทฤษฎีและหลักการออกแบบ และใช้ภาพในใจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานออกแบบ ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาพัฒนาสู่แบบฝึกการสร้างภาพในใจได้ โดยให้ความสำคัญกับความชัดเจนของข้อมูลและแสดงออกเป็นภาพของโครงสร้างวัตถุ ผลการฝึกการใช้ภาพในใจเรื่องการจำข้อมูลภาพและการใช้ภาพในใจสำหรับการเรียนรู้งานออกแบบ พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงระหว่างการจำข้อมูลภาพและความสามารถใช้ภาพในใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ( r ) เท่ากับ 0.77 ซึ่งแสดงว่า เมื่อบุคคลจดจำข้อมูลภาพได้แล้ว ภาพในใจที่วาดออกมาจะมีความถูกต้องตามโจทย์การควบคุมภาพในใจได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นการใช้ภาพในใจร่วมกับหลักการสร้างรูปทรง สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์งานออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนาภาพร่างแนวคิดจนถึงขั้นตอนพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบ รูปแบบของกิจกรรมประกอบด้วย 4 หลักการ คือ การรับรู้ข้อมูลภาพ การแปลงความจำระยะสั้นสู่ความจำระยะยาว การได้รับสิ่งเร้าในการทดลอง และการใช้ภาพในใจ ซึ่งนำไปสู่วิธีการใหม่ของการสอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้คือ การฝึกบุคคลให้มีทักษะวิเคราะห์รูปทรงปฐมฐานจากวัตถุ 3 มิติ จะสามารถส่งเสริมให้บุคคลถ่ายทอดเป็นภาพผลงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


การประเมินผลตามสภาพจริง ผ่านกิจกรรมวัดประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช Jan 2018

การประเมินผลตามสภาพจริง ผ่านกิจกรรมวัดประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช

Journal of Education Studies

บทความชิ้นนี้เป็นการ นำเสนอหลักคิดในการใช้กระบวนการประเมินผลตามสภาพจริงมาบูรณาการใช้ในวิชาศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ซึ่งเป็นการประเมินผลในลักษณะที่เป็นกระบวนการในการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เรียนในสถานการณ์จริง หรือคล้ายสถานการณ์จริง ทั้งในและนอกห้องเรียน เน้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความเข้าใจและทักษะการคิดที่ซับซ้อน โดยงานที่ผู้เรียนทำมีลักษณะเป็นงานที่บูรณาการความรู้และทักษะเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ชีวิตจริงได้ โดยชิ้นงานที่ทำเป็นงานที่ใช้ทักษะในการคิดขึ้นสูง ซึ่งมีความแตกต่างจากการวัดประเมินผลโดยทั่วไปที่มุ่งเน้นผลลัพธ์หรือผลงานเป็นหลัก หรือใช้การแสดงของนักเรียนเพียงครั้งเดียวเพื่อตัดสินความสามารถทางดนตรีของผู้เรียน ผู้เขียนได้นำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการวัดประเมินผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ที่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรัก ความเข้าใจ ความซาบซึ้งในศิลปะ ผ่านกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้ทำงานศิลปะตามสภาพจริง


มุมห้องเรียน : แหล่งการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโมบายเลิร์นนิ่งในยุคดิจิทัล, ธนวัฒน์ ทองมา Jan 2018

มุมห้องเรียน : แหล่งการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบโมบายเลิร์นนิ่งในยุคดิจิทัล, ธนวัฒน์ ทองมา

Journal of Education Studies

No abstract provided.