Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 950

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)


แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์ Jan 2022

แนวทางพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม, พิภัทร์อนันต์ เทพพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม (3) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 1 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 82 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือ หัวฝ่ายกิจการนักเรียน จำนวน 82 คน ครูผู้สอน จำนวน 164 คน รวมจำนวน 328 คน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 2 ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 410 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่ 3 ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามระดับทักษะอารมณ์และสังคมนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคม แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์ลและสังคมสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ การหา ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะอารมณ์และสังคมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม ภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมี ด้านการจัดการตนเอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคมด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และ การวางแผนงานกิจการนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) แนวทางพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะอารมณ์และสังคม นำเสนอไว้ 3 แนวทางดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนการนำผลการประเมินไปใช้ส่งเสริมทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการสร้างสัมพันธภาพ (2) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนที่เน้นการดำเนินงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตระหนักรู้ทางสังคมและการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ (3) พัฒนาการบริหารกิจการนักเรียนเน้นการวางแผนงานกิจการนักเรียนทักษะอารมณ์และสังคมด้านการตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์ Jan 2022

การพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้อัตลักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง“ฮูปแต้มอีสาน” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พชร วงชัยวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของอัตลักษณ์งานจิตรกรรมฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ฮูปแต้มอีสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบบเจาะจง (purposive sampling) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมฮูปแต้มอีสาน และ 5) นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากศิลปะพื้นบ้านอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบบันทึกข้อมูลและรูปภาพลักษณะของอัตลักษณ์ฮูปแต้ม ระยะที่ 2 ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจผู้เรียน โดยการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนครั้งนี้มีการตรวจสอบรับรองนวัตกรรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสอนและออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ฮูปแต้มในจังหวัดขอนแก่นในแต่ละชุมชนมีการสร้างก่อนปี พ.ศ. 2500 เป็นฮูปแต้มที่จัดอยู่ในกลุ่มพื้นบ้าน เน้นเขียนภาพอย่างอิสระและเรียบง่าย ไม่เคร่งครัดในการจัดองค์ประกอบ ทำให้ฮูปแต้มในแต่ละสถานที่มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลายเป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น สามารถจัดกลุ่มเนื้อหาวรรณกรรมที่ปรากฏออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ ไตรภูมิ พระเวสสันดรชาดก 2) กลุ่มวรรณกรรมท้องถิ่น ได้แก่ สังข์ศิลป์ชัย พระลัก-พระรามชาดก และ 3) กลุ่มภาพกาก ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานในอดีต และในด้านการพัฒนานวัตกรรมการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับฮูปแต้มและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมได้ 2. เนื้อหา สอนอย่างบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ฮูปแต้ม กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และหลักการตลาดเบื้องต้น 3. กระบวนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ขั้นศึกษาอัตลักษณ์ชุมชน ขั้นถอดรหัสอัตลักษณ์ ขั้นพัฒนาร่วมกับปราชญ์ ขั้นผลิตต้นแบบ และขั้นนำเสนอ 4. สื่อการเรียนรู้ ที่มีลักษณะผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ 5. …


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, กฤฏฐิพนธ์ คันธโกวิท Jan 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, กฤฏฐิพนธ์ คันธโกวิท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจำนวน 466 คน (เพศหญิง 60.7%) อายุเฉลี่ย 19.75 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = ± 1.064, ช่วงอายุ = 18-22 ปี) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่มีลักษณะเป็นมาตรวัดประมาณค่าแบบ 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ ที่ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ (IOC = 0.80-1.00) และทดสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของอัลฟ่าครอนบาค (.947) โดยวิเคราะห์คุณภาพขนาดความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยค่า Bartlett’s test of Sphericity พบว่ามีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (χ2 = 23413.326, df = 946, p = .00) วิเคราะห์คุณภาพของขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยค่า Kaiser Meyer Olkin (KMO) ได้ค่า KMO เท่ากับ .971 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Common factor analysis) แบบวิธีแกนหลัก (Principal axis factoring: PAF) และทำการหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมแหลม (Oblique rotation) แบบอ๊อบลิมินตรง (Direct oblimin) ด้วยโปรแกรม SPSS for windows ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการระรานทางไซเบอร์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตจากการศึกษาสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านผู้ระรานทางไซเบอร์ (Cyber-Perpetrators) สามารถวัดได้จากการใช้ภาษาหยาบคาย การยุยงให้เพื่อนทะเลาะกัน การปล่อยข่าวลือเพื่อทำลายชื่อเสียง การแอบอ้างตัวตนด้วยข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน การกีดกั้นเพื่อนจากกลุ่มทางออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลของเพื่อน การข่มขู่เพื่อน การดูถูกเพื่อนผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ การใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต การส่งไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เพื่อนเดือดร้อน การทำให้เพื่อนอับอาย การส่งสิ่งที่มีเนื้อหาทางเพศ …


An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai Jan 2022

An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this thesis is to study the trend of civic and citizenship education research from 2000 to 2020 and the influence the regional background of researches has on the research discussion. Relevant data is collected from ERIC and SCOPUS database. This includes abstracts, published year, regional background of researchers, and author h-index. The keywords used are “civic education” or “citizenship education” or “civics”. There are 4917 papers extracted in total. Upon doing further preparation, 4854 articles are prepared for analysis. We apply Structural Topic model (STM) technique to the abstracts with covariates including the published year and the …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools Based On The Concept Of Intercultural Competence, Muanfan Korattana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The research objectives were to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools and intercultural competence, 2) study students’ intercultural competence levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (SWOT) of academic management of secondary schools based on the concept of intercultural competence, and 4) develop academic management strategies based on the concept of intercultural competence, using a multiphase mixed-methods design methodology. The study population was 19 schools, with 307 respondents, including school administrators, head teachers, and teachers. Research instruments included questionnaires and evaluation forms. Data analysis included frequencies, percentages, arithmetic mean, standard deviations, modified priority needs index …


Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek Jan 2022

Academic Management Strategies Of Secondary Schools In Cambodia Based On The Concept Of Innovation Leadership Skills, Nguon Siek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools in Cambodia and innovation leadership skills, 2) study students’ innovation leadership skills levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management based on the concept of innovation leadership skills, and 4) develop academic management strategies based on the concept of innovation leadership skills. Multiphase mixed-methods design were employed. Samples included 2,662 students as respondents in Phase II and 94 public secondary schools in Phase III. Respondents included school administrators and teachers. Research instruments included evaluation forms and questionnaires. Data were analyzed using frequency, percentage, …


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลอง ใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ 2) แบบประเมินเชิงพฤติกรรมเพื่อวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สูตร t-test for Independent และเปรียบเทียบสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผลการวิจัยนี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ และจะช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยในการเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธัญญารัตน์ สีน้ำคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา โดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับ การบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดหลากหลายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง และกลุ่มควบคุมที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ 1 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรม พิลาทิสร่วมกับการบริหารสมอง จำนวน 8 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางพลศึกษา และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย ทำการทดสอบโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย และแบบทดสอบทักษะการคิดหลากหลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ ความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดหลากหลายหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมพิลาทิสร่วมกับการบริหารสมองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี Jan 2022

ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ที่มีต่อพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยวิทย์ จันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.93 และแบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) แบบประเมินพฤติกรรมโภชนาการ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยแบบวัดเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และแบบวัดเชิงสถานการณ์ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมโภชนการ 0.93 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.94 และ 0.81 และค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย 0.98 และ 0.90 มีค่าความเที่ยง 0.99 และ 0.78 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมโภชนาการและการออกกำลังกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์ Jan 2022

โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา, ปิยะศิริ อินทะประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรมถภาพทางกาย ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลคะแนนความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักกรีฑาในโรงเรียนกีฬา โดยการเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนกีฬาแห่งหนึ่ง ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานี (IOC= 0.90) 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย (IOC= 1.00) 3) แบบสอบถามวัดความสนุกสนาน (IOC= 0.91) วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า: 1) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ค่าเฉลี่ยความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกกรีฑาลู่ตามการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างความสนุกสนานและสมรรถภาพทางกายของนักกรีฑาโรงเรียนกีฬา ทำให้ความสนุกสนานเพิ่มมากขึ้นและสมรรถภาพทางกายดีขึ้น


การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน, ลภัสรดา ธนพันธ์ Jan 2022

การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน, ลภัสรดา ธนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของสถาบันอุดมศึกษา 2) วิเคราะห์กลไกการเชื่อมต่อการศึกษาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน และ 3) พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและกลไกในการเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน กลุ่มตัวอย่าง 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนหลักสูตรผู้สูงอายุในประเทศ จำนวน 9 แห่ง 2) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงวัยและเกี่ยวข้องกับกลไกการเชื่อมต่อการศึกษาการเข้าสู่ระบบปริญญาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน จำนวน 4 แห่ง 3) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มาช่วยในการวิพากษ์หลักสูตร จำนวน 15 ท่าน 4) ผู้สูงอายุและผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพหรือดูแลผู้สูงอายุจำนวน 1,604 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจาก 6 ภาคของประเทศไทย ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลแบบสอบถามมี 2 วิธี แบ่งเป็น 50:50 ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเองจำนวน 802 คนและการเก็บแบบสอบถามแบบออนไลน์ จำนวน 802 คน ซึ่งทางผู้วิจัยติดต่อตัวแทนจากระดับ อบต.และ อบจ. เป็นการส่วนตัว เพื่อขอความร่วมมือในการช่วยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแบบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt-test ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรระยะสั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของสถาบันอุดมศึกษา พบว่า หลักสูตรส่วนใหญ่อยู่ภายใต้คณะคณะพยาบาลศาสตร์/วิทยาลัยการพยาบาล และเป็นหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ รายวิชาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีหน่วยกิต กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน : ส่วนใหญ่ คือ ผู้สนใจทั่วไป จำนวนที่รับต่อหลักสูตรไม่เกิน 50 คนและส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่าย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการในหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการมีความแตกต่างกันตามอายุ ภูมิภาคที่พำนักอาศัย ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพปัจจุบัน และปัญหาสุขภาพ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรผู้สูงอายุในมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้เป็นหลักสูตรเฉพาะที่จะไปเตรียมความพร้อมและส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนั้นควรมีหลักสูตรเฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุอย่างแท้จริงและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2) ผลการวิเคราะห์กลไกการเชื่อมต่อการศึกษาผ่านระบบธนาคารหน่วยกิตและการเทียบโอน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยของ 5 กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 1,604 คน จาก 6 ภาคของประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการเรียนเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม …


อนาคตภาพระบบการกํากับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573, วุฒิภูมิ จุฬางกูร Jan 2022

อนาคตภาพระบบการกํากับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573, วุฒิภูมิ จุฬางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องอนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์ระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ และ 3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 6 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามเพื่อการประชุมกลุ่มย่อย (FDG) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1.ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ พบว่า ลักษณะระบบประกันคุณภาพประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบ 4) มาตรฐานและเครื่องมือ 5) ระเบียบวิธีการ 6) บริบท และ 7) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.ระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศพบว่าลักษณะระบบการรับรองคุณวุฒิและระบบการรับรองวิทยฐานะของสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย) 3) องค์ประกอบ 4) มาตรฐานและเครื่องมือ 5) ระเบียบวิธีการ 6) บริบทและ 7) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 3. อนาคตภาพระบบการกำกับคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาไทย พ.ศ. 2573 พบว่า รูปแบบของระบบกำกับคุณภาพประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านหลักการ (หลักการ, มโนทัศน์, ขอบข่าย, จุดมุ่งหมาย) 2) ด้านองค์ประกอบ 3) ด้านมาตรฐานและเครื่องมือ 4) ด้านการดำเนินการ 5) …


การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง, ปรวรรณ ดวงรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งวางอยู่บนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่สังเคราะห์มาจากวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อตอบคำถามงานวิจัยที่ว่า 1) วาทกรรมใหม่ที่ควรจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุจะมีคุณลักษณะเป็นอย่างไรและจะสามารถนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองได้อย่างไร 2) รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมือง ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร 3) ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะเป็นอย่างไรและมีเงื่อนไขใดบ้างในการใช้ และ 4) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุไทยในสังคมเมืองจะสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางของการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในสังคมเมืองต่อไปได้หรือไม่อย่างไร วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ 1) เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการศึกษาศึกษาเอกสารและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2544-2555 โดยใช้หลักการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของฟูโกต์และแฟร์คลาฟ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อใช้เป็นแนวคิดสำหรับการดำเนินงานวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมาการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง โดยใช้พื้นฐานของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุนำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยศึกษาเฉพาะเจาะจงผู้สูงอายุในสังคมเมือง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสังคมใน 6 ภูมิภาคของไทย จำนวนตัวอย่าง 112 คน นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมทีเป็นกลุ่มตัวอย่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การร่างรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมือง และนำเสนอต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจความเหมาะสมและความเป็นได้ที่จะนำไปใช้ สำหรับในระยะที่ 3 เป็นการศึกษาข้อเสนอแนวทางการนำรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของผู้สูงอายุในสังคมเมืองดังกล่าวไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางที่สามารถนำไปใช้ได้ต่อไป ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า คุณลักษณะของวาทกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในอดีตแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมดาโลก จะมุ่งเน้นอำนาจของสถาบันศาสนาที่ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า การเรียนรู้ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อตั้งรับกับความเปลี่ยนของสังคมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยทั้ง 2 ช่วงเวลาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันออกไป ข้อค้นพบดังกล่าวได้นำมาพัฒนาเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้สูงอายุในสังคมเมือง นำเสนอประเด็นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 6 ประเด็น คือ 1) ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 3) วิธีการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) เป้าหมายของการเรียนรู้ 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ และ 6) เนื้อหาที่จำเป็นต้องรู้ จากตัวบทที่พบในแต่ละประเด็น ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ซึ่งจากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ พบว่า ประกอบด้วย หลักการของการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้อำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ พื้นที่การเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้ ทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ …


การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์ Jan 2022

การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและรายละเอียดของรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 และ 2) ศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนจัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะสำคัญในการวิจัยโดยเน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) และการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและตาราง โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครูที่มีนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 11 ท่าน กลุ่มที่ 2 นักเรียนของครูกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 10 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ปกครองของบุตรหลานในกลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการแข่งขันเปียโนในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 มีทั้งหมด 16 รายการ โดยมีทั้งรายการแข่งขันเปียโนระดับนานาชาติ รายการแข่งขันเปียโนระดับชาติ และรายการแข่งขันเปียโนเฉพาะสังกัด ซึ่งรายการแข่งขันเปียโนแต่ละรายการจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามระเบียบการแข่งขันของรายการนั้น ๆ ทั้งในส่วนของช่วงอายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การกำหนดรุ่นการแข่งขัน การจัดหมวดหมู่ของการแข่งขัน รูปแบบบทเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน การกำหนดระยะเวลาในการแข่งขัน ประเภทการแข่งขัน รวมถึงรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ 2) กลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ การวางแผนภาพรวมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการบรรเลงเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านการฝึกซ้อม การเตรียมความพร้อมด้านการแสดงดนตรี การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง


การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล Jan 2022

การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์นำร่อง 2) แบบประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการศึกษานำร่อง จำนวน 4 ท่าน 2) กลุ่มผู้ประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน จำนวน 5 ท่าน และ 3) นักเรียนเปียโนระดับต้นที่ผู้วิจัยสอนจำนวน 3 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นำร่อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นหนังสือนิทาน จากนั้นนำหนังสือนิทานไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และนำไปทดลองใช้ วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยคือ หนังสือนิทานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาด้านจังหวะ 4 หัวข้อ คือ 1) อัตราความเร็วและจังหวะตบ 2) อัตราจังหวะ 3) รูปแบบจังหวะ และ 4) เครื่องหมายโยงเสียง ใช้กิจกรรมดนตรีทั้งหมด 4 แบบ คือ 1) การฟังและเคลื่อนไหว 2) การพูด อ่าน ประกอบการใช้ร่างกายสร้างจังหวะ โดยการใช้กลวิธีหลักการใช้คำแทนจังหวะ (Rhythm Syllables) เข้ามาประกอบ 3) การเล่นบนเปียโน และ 4) การสร้างสรรค์จังหวะ ผลการประเมินคุณภาพหนังสือนิทานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และจากการทดลองใช้ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถด้านจังหวะทั้งการฟังและเคลื่อนไหว พูด อ่าน เล่น และสร้างสรรค์ในภาพรวมที่ดี


การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์ Jan 2022

การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดด้วยการเรียนรู้เชิงลึกมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนจากการวิเคราะห์ความรู้สึกผ่านทางข้อความที่ได้จากกระบวนการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ข้อความที่ใช้ในการพัฒนาโมเดลมีจำนวนทั้งสิ้น 23,974 ข้อความ เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ วีดิทัศน์การสอนของครูในชั้นเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 11 วีดิทัศน์ที่ได้รับการแปลงเป็นข้อความผ่านกระบวนรู้จำคำพูด และฐานข้อมูล Wisesight Sentiment Analysis ในการพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียน ผู้วิจัยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง จำนวน 4 โมเดล กลุ่มที่ 2 โมเดลที่มีการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ autoencoder และมีการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจำนวน 4 โมเดล และกลุ่มที่ 3 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้เชิงลึก จำนวน 2 โมเดล ผู้วิจัยดำเนินการจัดเตรียมข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์ด้วยการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยวิธี TF-IDF และมีการลดจำนวนคุณลักษณะด้วยกระบวนการ Principle Component Analysis (PCA) แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลกันของจำนวนข้อมูลในตัวแปรตามจึงใช้เทคนิค SMOTE และโมเดลทั้งสามกลุ่มมีการปรับแต่งไฮเพอร์พารามิเตอร์ของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนด้วยวิธีการตรวจสอบไขว้ (Cross validation) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลพิจารณาจากค่าดัชนี ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความไวในการจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยที่ได้ พบว่า 1. จากทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า โมเดล LSTM ที่มีการปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์มีค่าความถูกต้องของโมเดลที่ใช้ในการจำแนกอารมณ์สูงที่สุด ร้อยละ 71 โดยมีความแม่นยำและความไวในการจำแนกกลุ่มทั้งสามประเภทโดยภาพรวมได้ดีที่สุด 2. โมเดลกลุ่มที่ 1 โมเดล Support Vector Machine ที่มีการกำหนดไฮเพอร์พารามิเตอร์ มีค่าความถูกต้องในการจำแนกอยู่ที่ 66% สำหรับโมเดลกลุ่มที่ 2 ที่ใช้โมเดล Multilingual Universal Sentence Encoder ในการสกัดคุณลักษณะควบคู่กับการจำแนกด้วยการเรียนรู้ของเครื่องของโมเดล Support Vector Machine และ โมเดล …


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อน ดำเนินการตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) เริ่มจากการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของนักเรียน กำหนดประเด็นปัญหา ศึกษาและออกแบบแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน โดยการสัมภาษณ์ครูที่ปรึกษา 5 คน ครูผู้สอน 3 คน อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา 2 คน ตัวแทนนักเรียน 5 คน จากนั้นนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน และใช้เทคนิคสังคมมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการยอมรับจากเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าร้อยละ และสถานภาพทางสังคมมิติ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนเป็นการจัดกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบเป็นกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) และการใช้รายงานจากเพื่อนเพื่อให้นักเรียนสังเกตและแจ้งพฤติกรรมเชิงบวกของเพื่อนขณะปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม 2) หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนพบว่าสถานภาพทางสังคมมิติของนักเรียนทั้งห้องเรียนได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 7 คน และลดลง 2 คน ส่วนสถานภาพของนักเรียนในกลุ่มถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 5 คน


การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์ Jan 2022

การพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน, ณัฐธิกา ศรีมกุฎพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman 2) เพื่อพัฒนากระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน 3) เพื่อจัดทำแนวทางสำหรับการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยไปใช้ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 300 คน 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมกระบวนการชี้แนะชีวิตฯ จำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากผู้ใหญ่วัยทำงานที่เข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน แบบสังเกตพฤติดรรมผู้รับการชี้แนะระหว่างการเข้าร่วมกระบวนการ แบบบันทึกรายละเอียดกระบวนการชี้แนะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เอกสารใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของ Paul G. Stoltz และความสามารถทางอารมณ์ของ Daniel Goleman พบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ของผู้ใหญ่วัยทำงาน หลังจากปรับค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างสองตัวแปรโดยใช้ค่าสถิติดัชนีการปรับโมเดลรวม จำนวน 17 คู่ ผลวิเคราะห์แบบจำลองของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี 2) กระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน มีทั้งหมด 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) ระยะการเตรียมการก่อนการชี้แนะชีวิต (2) การชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ระบุความต้องการหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข ขั้นตอนที่ 2 สอบถามข้อมูลที่เป็นจริงในปัจจุบัน และค้นหาขอบเขตของสิ่งที่เกิดขึ้น ขั้นตอนที่ 3 ร่วมกันเลือกวิธีการที่จะทำให้บรรลุความต้องการ ขั้นตอนที่ 4 ร่วมกันออกแบบวิธีดำเนินการและวิธีการติดตามผล และ ขั้นตอนที่ 5 ร่วมกันติดตามผลและประเมินผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้รับการชี้แนะได้ประเมินตนเอง (3) ระยะที่ 3 หลังการชี้แนะ ประเมินผลการทดลองใช้กระบวนการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมทุกคน และ 3) แนวทางการนำกระบวนการชี้แนะชีวิตเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสามารถทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานไปใช้มีประเด็นสำคัญ 3 ด้านได้แก่ (1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการใช้กระบวนการ (3) การส่งเสริมการติดตามและประเมินผลกระบวนการ


กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง Jan 2022

กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ : กรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม, ธนกร จงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม 2) เพื่อจัดทำแนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยจากกรณีศึกษานายอนันท์ ฐิตาคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนาย อนันท์ ฐิตาคม และบุคคลใกล้ชิดที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ลูกศิษย์ ผู้ช่วยในสถาบันการสอน The zero one ที่มีความเกี่ยวข้องกับนายอนันท์ ฐิตาคมมากกว่า 5 ปี และยินดีให้ข้อมูลจำนวน 3 ท่าน ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมจากการใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เส้นทางและกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพของนายอนันท์ ฐิตาคม ประกอบไปด้วย 1) เรื่องราว เหตุการณ์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจการเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ และปัจจัยสำคัญที่พัฒนาตนเองสู่การเป็นนักเขียนการ์ตูนมืออาชีพ 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ แนวคิดการเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนโมทัศน์ แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ แนวคิดคิดเป็น แนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เป็นต้น 3) ด้านกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ประกอบไปด้วยกระบวนการที่สำคัญได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น (2) แนวทางพัฒนานักเขียนการ์ตูนมืออาชีพโดยใช้กระบวนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัย ประกอบด้วยแนวทางทางปฏิบัติที่วางไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือขั้นตอนที่นำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเป็นนักเขียนการ์ตูน 10 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 จุดเริ่มต้นของการเป็นนักเขียนการ์ตูนเกิดจากการที่ผู้เรียนรักการอ่านการ์ตูน ชอบดูการ์ตูน ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มฝึกฝนเพื่อสร้างพื้นฐานในการเขียนการ์ตูน ขั้นตอนที่ 3 การแสวงหาความรู้เพื่อเพิ่มโอกาสและทักษะของตนเอง ขั้นตอนที่ 4 การนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติ ฝึกฝน พัฒนาเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข ขั้นตอนที่ 5 การสร้างสรรค์ผลงาน ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบผลงานที่สร้างสรรค์ ขั้นตอนที่ 7 การปรับปรุงผลงาน ขั้นตอนที่ 8 การหาที่เผยแพร่ผลงาน ขั้นตอนที่ 9 ผลงานได้รับการยอม/ไม่ได้รับการยอมรับ ขั้นตอนที่ 10 นักเขียนการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จ


การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว Jan 2022

การวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ, อรวิภา มงคลดาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของชุมชนผ้าทอมือ และนำเสนอแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับชุมชนทอผ้าทอมือ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นวางแผน ประกอบด้วย 3 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 เป็นการสังเคราะห์สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน และใช้แบบสอบถามสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ กับผู้ประกอบการผ้าทอมือในประเทศไทย จำนวน 1,029 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์โปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม LESREL กิจกรรมที่ 2 เป็นการระบุสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือที่ต้องการพัฒนาของกลุ่มทอผ้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชนขุนอมแฮดใน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกภาคสนามและแบบสังเกตการณ์เข้าร่วมการเรียนรู้ วิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา กิจกรรมที่ 3 การวางแผนพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามที่กลุ่มเป้าหมายระบุ เป็นการดำเนินการร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มผ้าทอมือในชุมชนขุนอมแฮดใน ที่ยินดีเข้าร่วมการเรียนรู้จำนวน 55 คน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ เป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดไว้ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสังเกตผล เป็นการร่วมกันตรวจสอบการบรรลุผลตามแผนปฏิบัติการ และขั้นตอนที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1.กิจกรรมร่วมสรุปและถอดบทเรียนจากประสบการณ์ที่ได้รับจากกระบวนการ และกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือของชุมชน โดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาการแทนพัฒนาการอำเภออำก๋อย 2.พัฒนาชุมชน อบต.สบโขง 3.ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออมก๋อย 4.หัวหน้าศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 5.หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่และขยายผล ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาอมก๋อยฯ 6.ครู.กศน อำก๋อย ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมอาชีพผ้าทอมือ 3 ท่าน และ 9.ผู้ใหญ่บ้านชุมชนขุนอมแฮดใน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการผ้าทอมือ ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก (core competency) มี 4 องค์ประกอบ และสมรรถนะทางวิชาชีพ (functional competency) มี 3 องค์ประกอบ 2. …


การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, กวิสรา รุ่งวิริยะวงศ์ Jan 2022

การพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, กวิสรา รุ่งวิริยะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาโมไบล์แอปพลิเคชันฯ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโมไบล์แอปพลิเคชันฯ และ 2) แบบประเมินรับรองร่างโมไบล์แอปพลิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ 3) เกณฑ์การประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. โมไบล์แอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาบทเรียน 2) ผู้สอนและผู้เรียน 3) อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ 4) โมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้ 5) การบันทึกข้อมูล และ 6) การติดต่อสื่อสาร โดยมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ชวนคิดก่อนเรียนจากวีดิโอ 2) ออกสำรวจด้วยกล้องเอนโดสโคป 3) อภิปรายและสรุปสิ่งที่ได้จากการสำรวจ 4) ศึกษาและฝึกคิดเพื่อขยายความรู้เพิ่มเติม และ 5) ประเมินผลสิ่งที่ได้เรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้โมไบล์แอปพลิเคชันฯ พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยโมไบล์แอปพลิเคชันการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับกล้องเอนโดสโคปฯ มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างการทดลองครั้งที่ 1 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การพัฒนาไมโครเลิร์นนิงตามแนวทางการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับโมบายเลิร์นนิงแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมทักษะการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับปฏิบัติการ, อภิญญา แซ่ซึง Jan 2022

การพัฒนาไมโครเลิร์นนิงตามแนวทางการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับโมบายเลิร์นนิงแพลตฟอร์มเพื่อส่งเสริมทักษะการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับปฏิบัติการ, อภิญญา แซ่ซึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ คือ1) ศึกษาสภาพและเปรียบเทียบทักษะในการพัฒนาตนเองของ พนักงาน จำแนกตามช่วงอายุ อายุการทำงาน จำนวนชั่วโมงในการเรียนรู้ และความพึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยด้านภูมิหลัง ประสบการณ์ผู้ใช้ และประเมินความต้องการจำเป็น 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการพัฒนาตนเอง 3) เปรียบเทียบทักษะการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับปฏิบัติการก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบทักษะการพัฒนาตนเองของพนักงานหลังเรียน ระยะที่1 กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานระดับปฏิบัติการ จำนวน 72 คน ในจังหวัดกรุงเทพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบโควต้า จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า พนักงานที่มีช่วงอายุต่างกันส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีในการหาความรู้และการใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้อายุการทำงานที่ต่างกัน ส่งผลต่อวัตถุประสงค์ในการใช้เทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ จำนวนชั่วโมงในการเรียนรู้มีผลต่อการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในการทำงาน พบว่าผู้เรียนมีการแบ่งปันแนวทางการแลกเปลี่ยนความรู้บนเว็บบอร์ดแตกต่างกัน ความต้องการจำเป็นที่มีต่อสื่อที่ใช้ในการหาความรู้ในการพัฒนาตนเองโดยรวม เมื่อวิเคราะห์รายข้อพบว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการหาความรู้มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนรู้ และความพร้อมในการเรียนผ่านมือถือ ตามลำดับ ระยะที่2 กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการฝึกอบรม ด้านการบริหารและการจัดการ จำนวน 5ท่าน เครื่องมือต้นแบบไมโครเลิร์นนิงตามแนวทางการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัยพบว่าเครื่องมือดังกล่าวได้รับการประเมินคุณภาพระดับดีมาก ระยะที่3 พนักงานระดับปฏิบัติการ จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัยคือไมโครเลิร์นนิงตามแนวทางการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานสำหรับโมบายเลิร์นนิงแพลตฟอร์ม ผลการวิจัยพบว่าทักษะการพัฒนาตนเองของพนักงานระดับปฏิบัติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนที่มีอายุน้อยมีทักษะการพัฒนาตนเองมากที่สุด


การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์ Jan 2022

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์, ณหทัย อริยวัฒน์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ โดยได้จากการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบอาชีพทางศิลปะ จำนวน 24 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านเกมมิฟิเคชัน 1 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการแนะแนวการศึกษา 1 คน จากการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้นวัตกรรม ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนศิลปกรรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และทำการเก็บรวมรวมข้อมูลหลังจากการใช้นวัตกรรม ด้วยแบบประเมินความเข้าใจในตนเอง แบบประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนานวัตกรรมสรุปได้ว่า นวัตกรรมการแนะแนวการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพทางศิลปะตามแนวเกมมิฟิเคชันทางออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) Find Myself การใช้แบบประเมิน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประเมินความเหมาะสมของตนเองกับสาขาทางศิลปะ โดยใช้กลไกของเกมมิฟิเคชันในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) Based on True Stories การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ 3) My Way in Art Careers การให้ข้อมูลสถาบันการศึกษาศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย 4) Design your Life in Art Careers การตัดสินใจเลือกอาชีพและวางแผนการศึกษาในอนาคต ผลการทดลองสรุปได้ว่า 1) หลังการใช้นวัตกรรมกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักเรียนมีความเข้าใจในตนเองรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.32, …


การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ Jan 2022

การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าชุมชนสำหรับเยาวชน :กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง, ณัฐพล ศรีใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษางานลายคำสกุลช่างลำปาง เป็นงานวิจัยประเภทวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมและคณะ ด้านพุทธิพิสัยและด้านจิตพิสัย ทฤษฎีพหุศิลปศึกษาเชิงภูมิปัญญาไทย หลักการการจัดกิจกรรมศิลปะชุมชน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ 3) ปราชญ์ชุมชน 4) ครูผู้สอนในสถานศึกษาท้องถิ่น 5) ผู้จัดกิจกรรมศิลปะชุมชน รวมจำนวน 15 คน โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างชุดกิจกรรม คือแบบสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและความสัมพันธ์ระหว่างงานลายคำกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และกลุ่มตัวอย่างที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ได้แก่ เยาวชนในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง อายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปาง 2) แบบวัดเจตคติต่อการเห็นคุณค่างานลายคำสกุลช่างลำปาง 3) แบบวัดระดับการเห็นคุณค่าจากการสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรม 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการสร้างสรรค์งานลายคำสกุลช่างลำปาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาเอกสารและสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการวิจัยเป็นชุดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะชุมชนสำหรับเยาวชน ประกอบด้วยหลักการจัดกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหา 2) ด้านเทคนิค 3) ด้านรูปแบบกิจกรรม 4) ด้านการมีส่วนร่วม 5) ด้านการเผยแพร่ ชุดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเรียนรู้ชุมชนยลงานศิลปกรรม 2) กิจกรรม 4 เทคนิคของงานลายคำ 3) กิจกรรมร่วมมือสร้างสรรค์ ลายคำร่วมสมัย 4) กิจกรรมนิทรรศการสร้างศิลป์ถิ่นลำปาง ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในพื้นที่จังหวัดลำปางมีความเข้าใจองค์ความรู้งานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมาก (x̄=8.33) จากคะแนนเต็ม 10 และมีเจตคติที่ดีต่องานลายคำสกุลช่างลำปางเพิ่มขึ้นหลังการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับมากที่สุด (x̄=4.68) …


การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี Jan 2022

การพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน, วนาลี ชาฌรังศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนานิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ใช้ในการศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนารูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนศิลปะไทย 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะไทยนอกระบบโรงเรียน 4) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมประยุกต์ใช้ศิลปะไทย จำนวนด้านละ 3 คน โดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเก็บข้อมูลจากการสังเกตการณ์การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะไทย จำนวน 3 กิจกรรม และการสังเกตการจัดนิทรรศการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 3 นิทรรศการ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่เข้าชมนิทรรศการ จำนวน 53 คน และเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน แบบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ศิลปะไทยจากผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบนิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับเยาวชน จัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT คือ 1) ขั้นทบทวน สร้างประสบการณ์ความรู้ความเข้าใจ 2) ขั้นออกแบบ พัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดและออกแบบผลงาน 3) ขั้นปฏิบัติ ลงมือสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นสรุป แสดงความคิดเห็นและวิเคราะห์แนวทางการนำไปใช้ โดยนิทรรศการมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 พื้นที่การเรียนรู้นิทรรศการศิลปะไทยแบบมีส่วนร่วม เนื้อหาของนิทรรศการแบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ 1) ศิลปะไทยประเพณี 2) ศิลปะไทยร่วมสมัย 3) การประยุกต์ใช้ศิลปะไทยในชีวิตประจำวัน ประกอบไปด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วม 5 …


Effects Of Project-Based English Instruction On Learner Autonomy Of Lower Secondary School Students, Suphawadee Suwannaphim Jan 2022

Effects Of Project-Based English Instruction On Learner Autonomy Of Lower Secondary School Students, Suphawadee Suwannaphim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Learner autonomy is widely accepted as one of the educational goals in the 21st century. Additionally, learner autonomy has been found to affect success in language learning. This study aimed to investigate the effects of project-based English instruction on learner autonomy of lower secondary school students. This study employed a one-group pretest-posttest design to collect both quantitative and qualitative data from 39 lower secondary school students attending 14-week project-based English instruction. The quantitative data obtained from the learner autonomy questionnaire were triangulated with the qualitative data collected from the learning logs and the semi-structured interviews. The findings revealed that the …


Effects Of Indirect Corrective Feedback And Metalinguistic Corrective Feedback On Chinese-Lower Secondary Students’ English Writing Ability, Yuxin Liu Jan 2022

Effects Of Indirect Corrective Feedback And Metalinguistic Corrective Feedback On Chinese-Lower Secondary Students’ English Writing Ability, Yuxin Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current study aimed to investigate the different effects of indirect corrective feedback and metalinguistic corrective feedback on Chinese lower-secondary students’ English writing ability and explored students’ opinions towards the two types of feedback in two aspects: students’ preference and students’ understanding. The participants were thirty grade 8 students who studied at a public school in Rizhao City, Shandong Province, China. The instruments for collecting data were pretest, posttests, and interview questions. Quantitative results from paired sample t-tests indicated that both indirect and metalinguistic corrective feedback improved students’ writing ability. While quantitative results from the independent sample t-test and two-way …


การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล Jan 2022

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเพื่อนำกองทัพเรือสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, รณยุทธ ขวัญมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ 2) พัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร และ 3) นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการเป็นกองทัพเรือแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะแรกเป็นการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการการพัฒนาคุณลักษณะและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรกองทัพเรือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือที่ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการและวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพเรือ จำนวน 241 คน และนายทหารสัญญาบัตรนักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified ระยะที่สอง เป็นการพัฒนาแบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร รวม 11 คน เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด ระยะที่สามเป็นการนำแบบแผนที่พัฒนาไปใช้และศึกษาผลของแบบแผน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนเสนาธิการทหารเรือ จำนวน 28 คน และอาจารย์ผู้สอนหมวดวิชาความมั่นคง จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยมี 2 ชุด และระยะที่สี่ เป็นการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และด้านการศึกษาของกองทัพเรือ รวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นายทหารสัญญาบัตรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก ปัญหาในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายทหารสัญญาบัตรสังกัดกองทัพเรือด้านการกระตุ้นทางปัญญาสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การทำงานเป็นแบบอย่าง การส่งเสริมกำลังใจและการสร้างแรงบันดาลใจตามลำดับ 2) แบบแผนการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับนายทหารสัญญาบัตรเป็นแบบแผนแบบผสมระหว่าง Top-Down Approach, Bottom Up Approach และ Practical Approach ประกอบด้วยการดำเนินการ 4 ระดับ ระดับบุคคลได้แก่ อาจารย์และผู้เรียน 3 องค์ประกอบ ระดับกรมยุทธศึกษาทหารเรือ 10 องค์ประกอบ ระดับกรมในกองทัพเรือ 15 องค์ประกอบ และระดับกองทัพเรือ 7 องค์ประกอบ …