Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Theses/Dissertations

Curriculum and Instruction

2018

Institution
Keyword
Publication

Articles 511 - 523 of 523

Full-Text Articles in Education

แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี Jan 2018

แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, คัทลียา สิงห์วี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่มีผลต่อค่าขนาดอิทธิพลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อสรุปองค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะการวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การคัดเลือกและวิเคราะห์ตัวแปรคุณลักษณะของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (3) ระยะการสังเคราะห์แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ วิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนทั้งสิ้น 11 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าขนาดอิทธิพลตามแนวคิดของ Glass ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวพบว่าตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมด 22 ตัวแปรส่งผลต่อขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 10 รูปแบบที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลในระดับสูง 2. องค์ความรู้จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ การจัดเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง พฤติกรรมของครูมีทั้งหมด 10 พฤติกรรม และพฤติกรรมของนักเรียนมีทั้งหมด 7 พฤติกรรม 3. แนวทางที่ได้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนการสอนควรอยู่ในรูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองมีค่าขนาดอิทธิพลต่อการส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงสุด เทคนิคที่ควรใช้คือเทคนิคการใช้คำถาม 2) สื่อการสอนควรใช้ของจริง ใบกิจกรรม และการจัดนิทรรศการ 3) การวัดและประเมินผลของคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ต้องครอบคลุมทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้เหตุผล


แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ, เบญจพร สุคนธร Jan 2018

แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมีสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ, เบญจพร สุคนธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำที่ใช้การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี และ 3) เสนอแนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ การวิจัยมี 3 ตอน ตอนที่ 1 สร้างแนวทางการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 2 นำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธ์ทางการเรียนต่ำ ในรายวิชาเคมี จำนวน 4 รอบ แล้วศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน และตอนที่ 3 เสนอแนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนได้คะแนนทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวนร้อยละ 53.68 อยู่ในระดับการผ่านเกณฑ์สูง 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านในระดับมาก ทั้ง 4 รอบ และ 3) ได้แนวทางการใช้ห้องเรียนกลับด้านในการเรียนการสอนวิชาเคมี สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, งามพันธุ์ สัยศรี Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, งามพันธุ์ สัยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดนิสัยรักการอ่าน สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ 3 ประการ คือ 1) การให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความต้องการอ่าน ตั้งเป้าหมายและวางแผนการอ่านตามความสนใจ และคัดเลือกบทอ่านและกลยุทธ์ในการอ่านที่เหมาะสม ทำให้ผู้เรียนสมัครใจและกระตือรือร้นที่จะอ่าน อ่านอย่างเข้าใจและผูกพันต่อการอ่าน 2) การให้ผู้เรียนควบคุมการอ่านด้วยตนเองและช่วยกันอ่านร่วมกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการอ่านได้ 3) การประเมินผลการอ่านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สามารถจูงใจให้อ่านได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนอ่านได้อย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตั้งเป้าหมายตามความสนใจ ขั้นวางแผนอ่านให้เหมาะสม ขั้นชื่นชมเมื่ออ่านได้ และขั้นชวนให้สะท้อนคิด 2. เมื่อใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างแล้วพบว่า 1) นิสัยรักการอ่านของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการของนิสัยรักการอ่านใน 4 ระยะของการทดลอง โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี Scheffe พบว่า นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการจากการวัดนิสัยรักการอ่านครั้งหลังสูงกว่าครั้งก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณรงค์ฤทธิ์ โฮ้งจิก Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณรงค์ฤทธิ์ โฮ้งจิก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 75 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากการเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายได้ห้องเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน ใช้เวลาในการทดลองสอนทั้งสิ้น 10 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง รวม 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบฟาร์ไกด์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบฟาร์ไกด์และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีด้วยรูปแบบปกติไม่มีความคงทนในการเรียนรู้วิชาเคมี และนักเรียนกลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, ทัศน์ทอง เข็มกลัด Jan 2018

การศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา, ทัศน์ทอง เข็มกลัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาพัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ โดยศึกษาหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503 ถึง พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์พัฒนาการหลักสูตร แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอน และแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการของหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1.1 วัตถุประสงค์ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นการเรียนเพื่อให้รู้จักธรรมชาติ หลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 พัฒนาเพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ และต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเพื่อให้เข้าใจมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม 1.2 โครงสร้าง/เวลา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2518 เป็นหลักสูตรรายวิชา ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2521-2533 บูรณาการเป็นวิชาสังคมศึกษา และหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นสาระหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ด้านเวลาในการจัดหลักสูตร ตั้งแต่หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 มีแนวโน้มลดลง 1.3 เนื้อหา หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นเรื่องกายภาพโลกและแผนที่ ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 พัฒนาเป็นเรื่องปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม 1.4 วิธีการจัดการเรียนรู้ หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 แนะนำวิธีสอนโดยใช้ภูมิภาคด้วยวิธีการบรรยาย ต่อมาหลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เน้นกระบวนการสืบสอบและสร้างองค์ความรู้ 1.5 วัสดุหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2551 ใช้เอกสารหลักสูตรเป็นหลัก 1.6 การประเมินผลหลักสูตร หลักสูตร พ.ศ. 2503-2533 เน้นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยการรายงานผลการใช้หลักสูตรจากสถานศึกษา หลักสูตร พ.ศ. 2544-2551 เป็นการประเมินผลลัพธ์จากการใช้หลักสูตร ด้วยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติเป็นหลัก 2. พัฒนาการของการนำหลักสูตรภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาไปใช้ …


ผลการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธีรศักดิ์ จิระตราชู Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธีรศักดิ์ จิระตราชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมตามปกติ (2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบแผนการทดลองเป็นแบบสองกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร จำนวน 71 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน และกลุ่มควบคุม 38 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ (1) แผนการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ที่มุ่งเน้นการนำประสบการณ์ทางวรรณคดีและวรรณกรรมมาเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของนักเรียนโดยนำมาอภิปราย สะท้อนคิดจนผู้เรียนสามารถถอดบทเรียนเป็นแนวทางการปฏิบัติของตนในอนาคต มีขั้นตอน 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 รับประสบการณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 2 บรรยายเหตุการณ์ในวรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้สึกต่อวรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 4 ประเมินประสบการณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 5 วิเคราะห์สาเหตุและผลของความรู้สึกที่เกิดขึ้น ขั้นที่ 6 สรุปผลการเรียนรู้วรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 7 วางแผนปฏิบัติ (2) แผนการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมตามปกติที่มุ่งเน้นการทำความเข้าใจเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนจนผู้เรียนได้ความรู้และข้อคิดจากเรื่อง มีขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ขั้นที่ 3 สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันกับกลุ่มที่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและดำเนินการสุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่มใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ฉบับก่อนเรียนมีค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.89 และฉบับหลังเรียน ค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


เเนวทางการสอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม, ปพิชญา จีนอิ่ม Jan 2018

เเนวทางการสอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม, ปพิชญา จีนอิ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) เพื่อกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประชากรในการวิจัย คือ ครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ จำนวน 237 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาความถี่รายด้าน พบว่าครูบางส่วนปฏิบัติไม่มากเท่าที่ควร เน้นวัดและประเมินผลความรู้ ขาดความเข้าใจในวิธีการสอดแทรก และการติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (2) แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย (1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม ครูกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้วยตนเองให้สอดคล้องกับเนื้อหา (2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ครูนำข่าวหรือคลิปวีดีโอเชื่อมโยงคุณธรรมจริยธรรมที่สอดแทรก เน้นอภิปรายกลุ่มเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ (3) ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอน ครูวัดและประเมินความรู้ ทัศนคติ เหตุผล และพฤติกรรมการแสดงออกเชิงจริยธรรม (4) ด้านพฤติกรรมในชั้นเรียน แบ่งเป็น (4.1) พฤติกรรมของครู ครูเป็นแม่แบบที่ดีในการปฏิบัติตน รู้จักผู้เรียนรายบุคคล และ(4.2) พฤติกรรมของผู้เรียน ครูใช้หลักประชาธิปไตย ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นผู้นำ เคารพในความเห็นต่าง


ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรินทร์ ทองเผือก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบวัดการรู้เรื่องการเงิน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบบันทึกประเด็นการอภิปรายหลังเล่นเกม และบันทึกการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้เรื่องการเงินในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) เจตคติทางการเงิน และ 3) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์มีผลการเปลี่ยนแปลงของการรู้เรื่องการเงินเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ความรู้และความสามารถทางการเงิน 2) แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน และ 3) เจตคติทางการเงิน โดยมีผลการเปลี่ยนแปลงการรู้เรื่องการเงินในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้ 2.1 ความรู้และความสามารถทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลตามบริบททางการเงิน และ 2) ความสามารถในการประเมินประเด็นทางการเงิน 2.2 เจตคติทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) ความพึงพอใจในการใช้จ่ายและเก็บออมในระยะยาว และ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อฐานะทางการเงินในปัจจุบันและอนาคต 2.3 แนวโน้มของพฤติกรรมทางการเงิน มีผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในด้าน 1) การดูแลการเงินส่วนบุคคลอย่างรอบคอบ 2) …


การวิเคราะห์หลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์, อำพล นิลสระคู Jan 2018

การวิเคราะห์หลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาของประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์, อำพล นิลสระคู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ และการนำหลักสูตรไปใช้ของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางปรับปรุงหลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) หลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย และสิงคโปร์ และ 2)ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ลักษณะของหลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ มีลักษณะดังนี้ 1.1) ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เเละจุดมุ่งหมาย ประเทศไทยเน้นพัฒนาองค์ความรู้ ให้ประเทศพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม สาธารณรัฐสิงคโปร์เน้นสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาความรู้เชิงลึก ปัญญาระดับสูง และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโลกอนาคต 1.2) ด้านเนื้อหาสาระประเทศไทยจัดให้สอดคล้องการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ สาธารณรัฐสิงคโปร์อาศัยแนวคิดทางคณิตศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ 1.3) ด้านการจัดการเรียนการสอนทั้งสองประเทศมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ให้เข้าใจและจดจำในได้รวดเร็วและนาน 1.4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ประเทศไทยมีการวัดและประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตพิสัย สาธารณรัฐสิงคโปร์จะวัดและประเมินผล 5 ด้าน ได้แก่ เนื้อหา ทักษะ กระบวนการ ทัศนคติ และอภิปัญญา 2) การนำหลักสูตรไปใช้ ระยะก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่าทั้งสองประเทศ กำหนดให้ครูต้องวิเคราะห์หลักสูตร ตัวชี้วัด และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร ก่อนการนำหลักสูตรไปใช้เสมอทุกครั้ง แต่ในสาธารณรัฐสิงคโปร์มีการประชุมร่วมกัน(Professional Learning Community) ระยะระหว่างใช้หลักสูตร ประเทศไทยครูยังคงมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมคือบรรยาย แต่ได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดึงดูดความสนใจ แต่สาธารณรัฐสิงคโปร์ครูจะนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขอบเขตของสถานการณ์ปัญหาที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ มีรูปแบบการสอนต่างๆที่หลากหลาย สลับซับซ้อน ลึกซึ้ง เน้นการปฏิบัติ ระยะหลังการนำหลักสูตรไปใช้ พบว่า ทั้งสองประเทศมีการประเมิลผลหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรที่ใช้อยู่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน เเละ 3) แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3.1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมาย …


Professional And Technical Writing In The High School Setting, Kristy C. Bennett Jan 2018

Professional And Technical Writing In The High School Setting, Kristy C. Bennett

Masters Theses

No abstract provided.


Representation Of The Titanic In Children's Literature, Charity Rose Huwe Jan 2018

Representation Of The Titanic In Children's Literature, Charity Rose Huwe

Masters Theses

State and national education initiatives are the driving force behind increased exploration of diverse texts, namely informational texts. Trade books offer opportunity for interdisciplinary units to develop through the rise of informational text use in both English/language arts and history/social studies. Primary source documents serve as a liaison to filing gaps in the information left out from textbooks and trade books. A more thorough understanding of historical figures and events are a result of such analysis. The initiatives do not dictate specific curricular material; teachers use their discretion when choosing available trade books, primary documents, and other curricular resources. In …


A Continuum Of Care: School Librarian Interventions For New Teacher Resilience, Rita Reinsel Soulen Jan 2018

A Continuum Of Care: School Librarian Interventions For New Teacher Resilience, Rita Reinsel Soulen

Teaching & Learning Theses & Dissertations

School librarians occupy a unique position to offer supports for first year teachers to build resilience, reduce burnout, and ensure retention. The researcher used the psychology theory of resilience to develop the Continuum of Care model which initiates in mentoring and moves toward a collaborative partnership. Fifteen school librarians in one urban district recruited 26 new teachers in their schools to form the treatment group. All new teachers in the district were surveyed to establish their initial level of resilience and collect demographics. A comparison group of 26 new teachers were matched by scores on a resilience scale at the …