Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Other Education

PDF

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Education

การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์ Jan 2022

การศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย, แคทรียา ชูสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและรายละเอียดของรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 และ 2) ศึกษากลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนจัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะสำคัญในการวิจัยโดยเน้นการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) และการสัมภาษณ์ (Interview) เป็นหลัก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายและตาราง โดยเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเรื่องเดียวกันจากแหล่งข้อมูลที่ต่างกัน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ครูที่มีนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 11 ท่าน กลุ่มที่ 2 นักเรียนของครูกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับที่ 1 และ 2 จากรายการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในช่วงปีพ.ศ. 2561 – 2565 ตามเกณฑ์การคัดเลือกรายการแข่งขันเปียโนจำนวน 10 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ปกครองของบุตรหลานในกลุ่มที่ 2 จำนวน 6 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการแข่งขันเปียโนในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561 – 2565 มีทั้งหมด 16 รายการ โดยมีทั้งรายการแข่งขันเปียโนระดับนานาชาติ รายการแข่งขันเปียโนระดับชาติ และรายการแข่งขันเปียโนเฉพาะสังกัด ซึ่งรายการแข่งขันเปียโนแต่ละรายการจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามระเบียบการแข่งขันของรายการนั้น ๆ ทั้งในส่วนของช่วงอายุของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน การกำหนดรุ่นการแข่งขัน การจัดหมวดหมู่ของการแข่งขัน รูปแบบบทเพลงที่ใช้ในการแข่งขัน การกำหนดระยะเวลาในการแข่งขัน ประเภทการแข่งขัน รวมถึงรางวัลที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับ 2) กลยุทธ์ของครูในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโนที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานในประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประการ ได้แก่ การวางแผนภาพรวมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านทักษะการบรรเลงเปียโน การเตรียมความพร้อมด้านการฝึกซ้อม การเตรียมความพร้อมด้านการแสดงดนตรี การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง


แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา, ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย Jan 2022

แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนแบบเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา, ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพของการจัดการเรียนรู้ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาตรีประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธี (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างวิจัยทั้งหมดคัดเลือกเป้าหมายตามเป้าหมายแนวคิดทฤษฎี (Theory and concept-focused Sampling) มีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ คือ a) ประกอบไปด้วยวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร 37 หลักสูตร และศึกษาเชิงปริมาณด้วยการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) จากนั้น b) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทำการวิเคราะห์ผลร่วมกันจากทั้งสองขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรดนตรีศึกษาทั้ง 37 หลักสูตร มีรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมทั้งที่เป็นรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทได้แก่ a) แนวเน้นทฤษฎี b) เน้นทักษะปฏิบัติ และ c) แนวเน้นการบูรณาการกับศาสตร์อื่น และผลจากการสำรวจความคิดเห็นอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร (N=20) และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ (N=5) สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1) ด้านจำนวนรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีจำนวนมากเหมาะสม (M=4.25) และเพียงพอต่อความรู้ที่ควรได้รับตลอดหลักสูตร (M=3.95) และรายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมเหมาะสมจะเป็นรายวิชาเลือก (M=4.00) มากกว่าเป็นวิชาบังคับ (M=3.70) 2) ด้านสถานภาพของรายวิชา: รายวิชาดนตรีเชิงวัฒนธรรมในหลักสูตรมีความจำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การเป็นครูดนตรี (M=4.65) และเหมาะสมกับการที่มีสถานภาพเป็นรายวิชาแนวผสมผสานบูรณาการกับศาสตร์อื่น (M=4.45) มากที่สุด ถัดมาเป็นแนวการบรรยายทฤษฎี (M=4.10) และแนวปฏิบัติทักษะดนตรี (M=3.90) ตามลำดับ 3) ด้านขอบเขตการจัดการเรียนรู้: ควรมุ่งเน้นเนื้อหาทางวัฒนธรรมดนตรีที่เชื่อมโยงกับชุมชนหรือท้องถิ่น (M=4.40) และมีการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงภูมิหลังทางวัฒนธรรมดนตรีของผู้เรียน (M=4.15) จากนั้นอาจมีการเพิ่มเนื้อหาที่มีความเชื่อมโยงกับนานาชาติ (M=4.25) และในประเทศ (M=4.20) ตามลำดับ การจัดการเรียนรู้ควรเป็นเนื้อหาที่กว้างและมีความหลากหลาย (M=4.35) มากกว่ากำหนดประเด็นที่ลงลึกและจำเพาะเจาะจงเพียงประเด็นเดียว (M=3.70) สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นความสำคัญของวัฒนธรรมมีหลักสำคัญใน 4 ประเด็นได้แก่ 1)กำหนดมโนทัศน์หลัก 2)เนื้อหาการเรียนรู้ 3)ผู้สอนและการจัดการเรียนรู้ 4)บริบทพื้นที่การเรียนรู้


การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล Jan 2022

การพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น, สุทัตตา จรัสกำจรกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือนิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์นำร่อง 2) แบบประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการศึกษานำร่อง จำนวน 4 ท่าน 2) กลุ่มผู้ประเมินคุณภาพหนังสือนิทาน จำนวน 5 ท่าน และ 3) นักเรียนเปียโนระดับต้นที่ผู้วิจัยสอนจำนวน 3 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์นำร่อง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเป็นหนังสือนิทาน จากนั้นนำหนังสือนิทานไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และนำไปทดลองใช้ วิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยคือ หนังสือนิทานที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาด้านจังหวะ 4 หัวข้อ คือ 1) อัตราความเร็วและจังหวะตบ 2) อัตราจังหวะ 3) รูปแบบจังหวะ และ 4) เครื่องหมายโยงเสียง ใช้กิจกรรมดนตรีทั้งหมด 4 แบบ คือ 1) การฟังและเคลื่อนไหว 2) การพูด อ่าน ประกอบการใช้ร่างกายสร้างจังหวะ โดยการใช้กลวิธีหลักการใช้คำแทนจังหวะ (Rhythm Syllables) เข้ามาประกอบ 3) การเล่นบนเปียโน และ 4) การสร้างสรรค์จังหวะ ผลการประเมินคุณภาพหนังสือนิทานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และจากการทดลองใช้ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถด้านจังหวะทั้งการฟังและเคลื่อนไหว พูด อ่าน เล่น และสร้างสรรค์ในภาพรวมที่ดี


แนวทางการพัฒนาคุณภาพเนื้อเสียงไวโอลินด้วยวิธีการเลียนแบบสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา, เกวลี พุกป้อม Jan 2022

แนวทางการพัฒนาคุณภาพเนื้อเสียงไวโอลินด้วยวิธีการเลียนแบบสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา, เกวลี พุกป้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพเนื้อเสียงไวโอลิน ด้วยวิธีการเลียนแบบ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญการสอนปฏิบัติไวโอลิน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการเก็บข้อมูลเสียงไวโอลิน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาคุณภาพเนื้อเสียงไวโอลิน ด้วยวิธีการเลียนแบบ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา แบ่งได้ 3 ขั้น ได้แก่ 1) เทคนิคการเล่นไวโอลิน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างคุณภาพเสียงที่ดี 2) การเรียนการสอนด้วยวิธีการเลียนแบบ ผ่านการฟังและเลียนแบบครูผู้สอน 3) คุณภาพเสียงไวโอลิน ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองเห็นลักษณะของเสียง หากผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามทั้ง 3 ขั้นจะสามารถผลิตเสียงไวโอลินที่มีคุณภาพ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ควบคุมตลอดการเรียนการสอน เพื่อสังเกตและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน


การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ในระดับปริญญาตรีตามแนวคิดฐานสมรรถนะ, จิรายุ มีเผือก Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ในระดับปริญญาตรีตามแนวคิดฐานสมรรถนะ, จิรายุ มีเผือก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะดนตรีไทยของผู้เรียนปี่พาทย์ในปัจจุบัน และ 2) พัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาทักษะปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยในกลุ่มปี่พาทย์ จำนวน 6 คน และผู้เรียนกลุ่มปี่พาทย์ ชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2562 (หลักสูตร 4 ปี) จำนวน 9 คน ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตีความและสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอด้วยวิธีพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการเตรียมความพร้อมด้านทักษะดนตรีไทยของผู้เรียน ปี่พาทย์ในปัจจุบันมีประเด็นความต้องการทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพ ประกอบด้วย การจับไม้ และท่านั่ง 2) ด้านการบรรเลง ประกอบด้วย การใช้น้ำหนัก การใช้กล้ามเนื้อ การใช้เทคนิค การบรรเลง การตีโขยก และการไล่มือ 3) ด้านการบริหารจัดการเวลาในชั้นเรียน ประกอบด้วย การไม่ได้ทำนองหลักของบทเพลง และข้อจำกัดทางด้านเวลาเรียน และ 4) ด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย การแปรทำนอง การจำบทเพลง และการควบคุมความสมดุลของการบรรเลงรวมวง และ 2) เอกสารหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะ ประกอบไปด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ โดยผลการตรวจคุณภาพหลักสูตรมีค่า (M = 4.01 , SD = 0.72) หมายความว่าหลักสูตรเตรียมความพร้อมทักษะดนตรีไทยสำหรับผู้เรียนปี่พาทย์ตามแนวคิดฐานสมรรถนะมีความเหมาะสมมาก


การบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี ผ่านกิจกรรมการแปรทำนองของนักเรียนเปียโนระดับต้น, ธฤดี อัศวนภ Jan 2021

การบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี ผ่านกิจกรรมการแปรทำนองของนักเรียนเปียโนระดับต้น, ธฤดี อัศวนภ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเกตพัฒนาการทางความคิด สร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้านของนักเรียนเปียโนระดับต้น ได้แก่ 1) ความคล่องแคล่วในการคิดทางดนตรี 2) ความยืดหยุ่นทางดนตรี 3) ความเป็นเอกลักษณ์ทางดนตรี 4) ความลื่นไหลตามโครงสร้างทางดนตรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การ์ดดอกไม้ในอัตราจังหวะทั้ง 4 ชนิด 2) แผนการสอนกิจกรรม การแปรทำนอง 8 คาบเรียน โดยแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่ 2.1) แผนการสอนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น ที่เรียนน้อยกว่า 1 ปี 2.2) แผนการสอนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้นที่เรียนมากกว่า 1 ปี ผู้เข้าร่วมการ วิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนเปียโนระดับต้นที่เรียนเปียโนอยู่ที่โรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ จำนวน 8 คน ซึ่งมี อายุระหว่าง 7 – 12 ปี การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก จิตวิทยาพัฒนาการเด็ก และทักษะการแปรทำนอง เพื่อนำมา พัฒนาสื่อการสอน และกิจกรรมการแปรทำนองให้เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน และมีการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลงานการแปรทำนองของนักเรียน และสรุปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการให้ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีทั้ง 4 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงคาบเรียนที่ 5 – 8 นักเรียนทุกคนมีคะแนนรวมความคิดสร้างสรรค์ทาง ดนตรีเพิ่มสูงขึ้น และสามารถสรุปผลตามหัวข้อความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับดังนี้ 1) นักเรียนมีคุณลักษณะในการคิดคล่องแคล่วทางดนตรีที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยการคิดและ ประสบการณ์ทางดนตรีที่มี 2) นักเรียนที่เรียนเปียโนมากกว่า 1 ปี สามารถใช้ช่วงเสียงและจังหวะที่ หลากหลายได้ตั้งแต่ช่วง 4 คาบเรียนแรก ในขณะที่นักเรียนที่เรียนเปียโนระหว่าง 0 - 1 ปี ใช้ช่วงเสียงและ จังหวะได้หลากหลายมากขึ้นในช่วง 4 คาบเรียนหลัง 3) นักเรียนทุกคนมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้นเป็น เอกลักษณ์ในแบบฉบับของตนเอง 4) …


การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย Jan 2021

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง, ชยธร สระน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาระการเรียนรู้ทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับกลาง 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกหัดจากแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันในนักเรียนเปียโนระดับเกรด 4-5 ของมาตรฐานการสอบทักษะดนตรีวิทยาลัยทรินิตี้ และมาตรฐานการสอบทักษะดนตรีเอบีอาร์เอสเอ็ม จำนวน 142 แบบฝึกหัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ค่าโน้ต 2) แบบวิเคราะห์อัตราจังหวะ 3) แบบวิเคราะห์เครื่องหมายกำหนดความเร็ว และ 4) แบบวิเคราะห์รูปแบบจังหวะ ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านจังหวะจากแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันสำหรับเปียโนของสถาบันการสอบทักษะทางดนตรีในระดับกลาง ตอนที่ 2 การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลาง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การออกแบบแบบฝึกทักษะด้านจังหวะ โดย การศึกษาและวิเคราะห์แบบฝึกทักษะด้านจังหวะของโรเบิร์ต สตาเรอร์ และ พอล ฮินเดมิท ส่วนที่ 2 การนำเสนอแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับกลางของผู้วิจัย โดยนำแนวคิดในการปฏิบัติรูปแบบจังหวะจากสถาบันการสอบทักษะทางดนตรีในระดับกลาง และแนวคิดจากแบบฝึกทักษะด้านจังหวะของโรเบิร์ต สตาเรอร์ และ พอล ฮินเดมิท มาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ร่วม จากนั้นจึงออกแบบโครงสร้างของแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง เป็นจำนวน 10 แบบฝึกหัด


ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล, ธนัญญา จตุรานนท์ Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล, ธนัญญา จตุรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง 2) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูลผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่เรียนวิชาขับร้องประสานเสียง จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการฟัง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะการฟัง 3) แบบประเมินตนเองด้านทักษะการฟังของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล 5) แบบประเมินตนเองคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล และ 6) แบบสอบถามสังคมมิติ วิเคราะห์ผลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)) และสถิติเชิงอ้างอิงแบบกลุ่มเดียว (t-Test) วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านทักษะการฟัง นักเรียนมีคะแนนทักษะการฟังสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการฟังและขับร้องให้ตรงตามระดับเสียงได้ดีและไพเราะมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 2) ด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล นักเรียนมีการแสดงพฤติกรรมด้านการสนับสนุนเกื้อกูลในระดับบ่อยครั้ง (M = 4.19, SD = .31) คะแนนการประเมินตนเองของนักเรียนสูงสุดในด้าน “ฉันรับฟังเมื่อเพื่อนเสนอความคิดเห็น” สอดคล้องกับผลจากการสังเกตของผู้วิจัย นอกจากนี้ยังพบว่ามีเส้นความสัมพันธ์ด้านสังคมมิติเพิ่มขึ้น 30 เส้น และมีความซับซ้อนมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 6 คาบ


แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงไทย, ภัทรธีรา ดีสัว Jan 2021

แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงไทย, ภัทรธีรา ดีสัว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีและบทเพลงในหนังสือเพลงสยามสำหรับเด็ก 2. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงไทยและนำเสนอเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมดนตรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัย 2) วิเคราะห์และคัดเลือกเพลงจากหนังสือเพลงสยามสำหรับเด็กเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับนำร่อง 3) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล 4) ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ 5) ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และ 6) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เพลง เกณฑ์ในการคัดเลือกเพลง แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินมาตรประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า 1) เพลงไทยในหนังสือเพลงสยามสำหรับเด็กจากจำนวน 16 เพลง เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีและบทเพลง พบว่า มีจำนวน 4 เพลงที่มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือกบทเพลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในระดับมาก จำนวน 9 เพลง มีความสอดคล้องระดับปานกลาง และจำนวน 3 เพลง มีความสอดคล้องกับระดับพอใช้ 2) ผู้วิจัยได้นำเพลงที่มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การคัดเลือกบทเพลงที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในระดับมากและปานกลาง จำนวนทั้งสิ้น 5 เพลง สร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลงไทย 5 แผน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน ผลจากการประเมินพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำนี้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก และแนวทางการจัดกิจกรรมประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางด้านการกำหนดแนวคิด 2) แนวทางด้านการกำหนดจุดประสงค์ 3) แนวทางด้านการกำหนดสาระการเรียนรู้ 4) แนวทางด้านการกำหนดกิจกรรม 5) แนวทางด้านการกำหนดสื่อการเรียนรู้ 6) แนวทางด้านการกำหนดการวัดและประเมินผล


การพัฒนาหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สุงอายุ, ชญาณ์ณัฎฐา หาญปริพรรณ์ Jan 2021

การพัฒนาหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สุงอายุ, ชญาณ์ณัฎฐา หาญปริพรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาแนวทางในการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับการพัฒนาแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนาแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้สูงอายุจากการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงพัฒนา 8 ขั้นตอน 1) การศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การศึกษานำร่อง โดยทำการสำรวจความพึงพอใจในบทเพลงสุนทราภรณ์ของผู้สูงอายุผ่านแบบสอบถามออนไลน์ 3) การกำหนดทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้นสำหรับผู้สูงอายุ ผ่านการสร้างแบบวิเคราะห์เนื้อหาทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้นสำหรับผู้สูงอายุจากแบบเรียนไวโอลินที่ได้รับความนิยมทั้ง 9 เล่ม และนำเนื้อหาทักษะที่ผ่านการวิเคราะห์ไปตรวจสอบคุณภาพ และความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้น 4) การคัดเลือกบทเพลงสุนทราภรณ์ ผ่านการศึกษาเกณฑ์การคัดเลือก และผลลัพธ์จากการสัมภาษณ์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านบทเพลงสุนทราภรณ์ 5) การสร้างหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุ 6) การตรวจสอบคุณภาพหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุ ผ่านการประเมินตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 7) แก้ไขปรับปรุงหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุ 8) สรุป อภิปรายผล และนำเสนอเป็นวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ตารางวิเคราะห์ทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้น 2) แบบสำรวจความพึงพอใจในบทเพลงสุนทราภรณ์ของผู้สูงอายุ 3) แบบประเมินเนื้อหาทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้นสำหรับผู้สูงอายุ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านบทเพลงสุนทราภรณ์ 5) แบบประเมินคุณภาพหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุ ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางในการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับการพัฒนาแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้สูงอายุควรจะประยุกต์จังหวะตรงแทนจังหวะซวิง การปรับทำนองเพลง และลดทอนส่วนโน้ตให้สอดคล้องกับทักษะไวโอลินระดับเริ่มต้น การลดความเร็วลงให้เหมาะสม การย้ายบันไดเสียงที่เอื้อต่อการเรียนไวโอลินระดับเริ่มต้น การพัฒนาโมทีฟหลักของเพลงเพื่อสร้างกิจกรรมทางดนตรี โดยมีบทเพลงสุนทราภรณ์ที่ได้รับการคัดเลือก 7 เพลง แบ่งเป็นเพลงในบทเรียน 5 เพลง และเพลงท้ายบทเรียน 2 เพลง 2) การพัฒนาแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้สูงอายุจากการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์ พบว่า การออกแบบกิจกรรม และเนื้อหาที่ใช้ในหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การกำหนดจุดประสงค์ในการเรียนรู้ การกำหนดเนื้อหา การออกแบบกิจกรรม และแบบฝึกหัดสำหรับผู้สูงอายุ ทักษะดนตรีที่ผู้สูงอายุได้รับ ส่วนประกอบของหนังสือ ได้แก่ เนื้อหา การใช้ภาษา การใช้รูปภาพประกอบ การจัดรูปเล่ม การวัด และประเมินผล สื่อการสอน และส่วนประกอบภายในอื่น ๆ ผลการประเมินคุณภาพหนังสือแบบเรียนเสริมไวโอลินโดยการประยุกต์ใช้บทเพลงสุนทราภรณ์สำหรับผู้สูงอายุอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (M = 4.33, SD = 10)


การสร้างแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย, พัชรพันธ์ สมบุญตนนท์ Jan 2021

การสร้างแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย, พัชรพันธ์ สมบุญตนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์แบบเรียนไวโอลินระดับเริ่มต้นที่นิยมใช้ในประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบเรียนไวโอลินเสริม สำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย 2) เพื่อสร้างแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงพัฒนา 8 ขั้นตอน 1) ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษานำร่อง โดยสำรวจความคิดเห็นของครูไวโอลินในประเทศไทยจำนวน 32 ท่าน เกี่ยวกับแบบเรียนไวโอลินที่นิยมใช้ในการสอนผู้เรียนระดับเริ่มต้น 3) วิเคราะห์แบบเรียนไวโอลินที่นิยมใช้ในประเทศไทย 4) คัดเลือกดนตรีพื้นบ้านจากการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ 5) การสร้างแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย 6) ตรวจสอบคุณภาพของแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้ดนตรีพื้นบ้านไทย โดยทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ ครูไวโอลินที่มีประสบการณ์สอนไวโอลินระดับเริ่มต้น 12 ท่าน 7) แก้ไขปรับปรุงแบบเรียนไวโอลินเสริมสำหรับผู้เรียนระดับเริ่มต้นโดยใช้เพลงพื้นบ้านไทย 8) การวิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจแบบเรียนไวโอลินระดับเริ่มต้นที่นิยมใช้ในประเทศไทย 2) แบบวิเคราะห์แบบเรียนไวโอลินด้านทักษะการบรรเลงไวโอลินและองค์ประกอบดนตรี 3) แบบวิเคราะห์ดนตรีพื้นบ้านไทย 4) แบบประเมินคุณภาพแบบเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบเรียนไวโอลินระดับเริ่มต้นที่นิยมใช้ในประเทศไทย มี 5 แบบเรียน ประกอบด้วยแบบเรียน ซูซูกิไวโอลินสคูล เล่ม 1 แบบเรียนเอเซ้นต์เชียลอิลิเม้นต์สำหรับเครื่องสาย ไวโอลินเล่ม 1 แบบเรียนซัสมันเฮ้าส์ เล่ม 1 แบบเรียนอีต้า โคเฮน เล่ม 1 และแบบเรียนอจูนอเดย์สำหรับไวโอลิน เล่ม 1 โดยผลการวิเคราะห์ทักษะการบรรเลงไวโอลินทั้ง 5 เล่ม ประกอบด้วย 2 เทคนิค คือ (1) เทคนิคมือขวา ได้แก่ การดีด, การกำหนดทิศทางของคันชัก, การข้ามสาย, การเล่นเสียงต่อเนื่อง, การเล่นเสียงขาดจากกัน และการสร้างความเข้มเสียง และ (2) เทคนิคมือซ้าย คือ รูปแบบการวางนิ้ว สำหรับองค์ประกอบดนตรีที่พบในแบบเรียนทั้ง 5 เล่ม ประกอบด้วย จังหวะ, …


การนำเสนอชุดกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาและการสะท้อนคิดสำหรับครูในสถานศึกษาด้อยโอกาส, วิชิตา จันทร์แด่น Jan 2021

การนำเสนอชุดกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาและการสะท้อนคิดสำหรับครูในสถานศึกษาด้อยโอกาส, วิชิตา จันทร์แด่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอชุดกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาและการสะท้อนคิดสำหรับครูในสถานศึกษาสถานศึกษาด้อยโอกาส และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกแบบร่วมให้คำปรึกษาสำหรับครูในสถานศึกษาด้อยโอกาส โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกต โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือครูผู้มีประสบการณ์สอนดนตรีจำนวน 3 ท่าน และครูผู้รับคำปรึกษาจำนวน 2 ท่าน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) การสังเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์เพื่อจัดทำวีดีโอ 2) การสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการร่วมให้คำปรึกษา 3) การสัมภาษณ์ด้านการสะท้อนคิด ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมดนตรีออนไลน์ทางเลือกควรมีความสอดคล้องต่อความต้องการในด้านการพัฒนาผู้เรียนทั้ง 4 ด้านและมีความครบถ้วนตามด้านเนื้อหา โดยผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมในระหว่างรับชมวีดีโอ ซึ่งมีรูปแบบการนำเสนอโดยใช้เนื้อหาดนตรีขั้นต้น มีความหลากหลายด้านเนื้อหาและมีความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน โดยมีความยาวต่อเนื้อหาประมาณ 6-9 นาที โดยมีดำเนินการร่วมให้คำปรึกษาทั้งสิ้น 4 ขั้นตอนคือ 1.การจัดทำชั้นเรียนสาธิต 2.การนำเสนอคลิปวีดีโอโดยละเอียดแก่ผู้ใช้งาน 3.การร่วมให้คำปรึกษาด้านการใช้งาน 4.การวางแผนการทำงานโดยละเอียด 2) ผลจากการสะท้อนคิดมีส่วนช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดทักษะและความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาโดยมีการเปิดรับและเตรียมพร้อมในการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อความเข้าใจ เกิดการวิเคราะห์เพื่อประเมินปัญหา และสามารถจัดแนวทางเพื่อนำไปใช้จริงซึ่งนำปสู่เกิดการลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง จากการวิเคราะห์การร่วมให้คำปรึกษาโดยวิธีการสะท้อนคิดส่งผลให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดการเชื่อมโยงความคิดและความสัมพันธ์ทั้งสิ้น 4 ขั้น คือ 1.ความสัมพันธ์กระตุ้นความคิด 2.ความสัมพันธ์นำความคิด 3.ความสัมพันธ์ส่งเสริมความคิด 4.ความสัมพันธ์ผสานความคิดโดยสมบูรณ์แบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการร่วมให้คำปรึกษานั้นสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้รับคำปรึกษาทั้งในด้านความและจิตใจไปอย่างพร้อมเพรียงกัน


การบริหารผลตอบแทนและแรงจูงใจของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์ Jan 2020

การบริหารผลตอบแทนและแรงจูงใจของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ, พรรณพัชร กฤษณ์เพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูดนตรีที่มีต่อการบริหารผลตอบแทนจากการทำงานในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ และ 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูดนตรีโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ ประชากรในงานวิจัยนี้ได้แก่ ครูดนตรีในโรงเรียนดนตรีเอกชนนอกระบบ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจ 186 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย และ 2) กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ 12 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลตอบแทนและแรงจูงใจในการทำงาน การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าสถิติเชิงบรรยาย อันได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติสหสัมพันธ์ อันได้แก่ ค่าสถิติ Games Howell 2) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูดนตรีมีความคิดเห็นว่าผลตอบที่ได้รับมากที่สุดจากการสอนดนตรีคือผลแทนที่ไม่ใช่รูปแบบเงินและผลตอบแทนทางด้านอารมณ์และสังคม ได้แก่ การได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตรและให้เกียรติจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน ( x̄ = 4.66, SD = 0.66) การได้เห็นนักเรียนมีความสุขและความพึงพอใจในการมาเรียน ( x̄ = 4.62, SD = 0.60) และการได้เห็นผลลัพธ์ พัฒนาการของนักเรียน ( x̄ = 4.61, SD = 0.58) ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนรูปแบบเงิน ( x̄ = 3.82, SD = 0.54) และผลตอบแทนด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์พนักงาน ( x̄ = 3.77, SD = 0.87) 2) แรงจูงใจหลักในการทำงานของครูสอนดนตรี คือ แรงจูงใจที่ได้ประสบความสำเร็จและความภาคภูมิใจในอาชีพ ( x̄ = …


หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล Jan 2020

หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องประสานเสียงจำนวน 4 คน ผู้สอนวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คน และกลุ่มผู้เรียนของคณะนักร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คณะ ผลการวิจัยพบว่า หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ 1) บุคลิกลักษณะของผู้สอนควรมีความเข้าใจ ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร มีอารมณ์ขัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและกล้าแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกขณะร้องเพลง 2) สอนการตีความให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเพลง และนำไปสู่การร้องที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก 3) จัดกิจกรรมเสริมทักษะความเป็นนักดนตรี เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระดนตรีและสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการขับร้องประสานเสียง ควรเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทั้ง 5 ได้แก่ ฟัง ร้อง-เล่น อ่าน สร้างสรรค์ และเคลื่อนไหว 4) สอนทักษะการร้องให้แก่ผู้เรียน โดยให้ความสำคัญในเรื่องท่าทางการยืนและการนั่ง การหายใจ การเปล่งเสียงร้อง การสร้างเสียงกังวาน และการออกเสียงคำร้อง เพื่อช่วยให้ร้องเพลงอย่างไพเราะ


พัฒนาการการเรียนรู้และวิธีการสอนไวโอลินในสำนักการสอนทัศนา นาควัชระ, ปุณยาพร เพรียวพานิช Jan 2020

พัฒนาการการเรียนรู้และวิธีการสอนไวโอลินในสำนักการสอนทัศนา นาควัชระ, ปุณยาพร เพรียวพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและพัฒนาการในสำนักการสอนไวโอลินของทัศนา นาควัชระ และ 2) ศึกษาวิธีการสอนและการถ่ายทอดทักษะไวโอลินในสำนักการสอนของทัศนา นาควัชระ การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษางานเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนาได้รับอิทธิพลด้านดนตรีจากครอบครัว ได้รับการศึกษาดนตรีทั้งในประเทศไทย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทัศนาดำรงตำแหน่งหัวหน้าวงโปรมูสิกาและตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการการศึกษาด้านดนตรี ได้แก่ โครงการเรียนดนตรีวิธีศิลปากร และโครงการคีตราชา โปรมูสิกา จูเนียร์ แคมป์ 2) การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเครื่องเอกและรายวิชาการรวมวงเป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง วิธีการสอนที่เลือกใช้ได้แก่ วิธีการสอนโดยใช้การบรรยาย วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต วิธีการสอนโดยใช้การฝึกฝนและการปฏิบัติ วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างและการทัศนศึกษา และวิธีการสอนโดยใช้การถาม-ตอบ การประเมินผลเป็นการใช้การประเมินตามสภาพจริง เทคนิคการปฏิบัติทักษะไวโอลินในระดับปีการศึกษาที่ 1-2 เป็นการฝึกเทคนิคพื้นฐาน เทคนิคการปฏิบัติทักษะไวโอลินในระดับปีการศึกษาที่ 3-4 เป็นการฝึกเทคนิคขั้นสูง บทประพันธ์หลักที่ศึกษาในระดับชั้นปีการศึกษาที่ 1-4 เป็นบทประพันธ์ประเภทไวโอลินคอนแชรโต ตำราหลักที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ 1) The School of Violin Technics โดย Henry Schradieck 2) 40 Variations Op. 3 โดย Otakar Sevcik 3) Shifting the Position and Preparatory Scale-Studies for the Violin โดย Otakar Sevcik 4) Contemporary Violin Technique โดย Ivan Galamian และ 5) Scale System for Violin โดย Carl Flesch


กลวิธีการบรรเลงและการสอนทักษะซอด้วงขั้นสูงของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)ผ่านครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ: เพลงเดี่ยวจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้นสายกรมมหรสพ, วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์ Jan 2020

กลวิธีการบรรเลงและการสอนทักษะซอด้วงขั้นสูงของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน)ผ่านครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ: เพลงเดี่ยวจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้นสายกรมมหรสพ, วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยวซอด้วงขั้นสูงในจังหวะหน้าทับ ปรบไก่สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) สายกรมมหรสพ และ 2) ศึกษากลวิธีการสอนทักษะเพลงเดี่ยวซอด้วงขั้นสูงในจังหวะหน้าทับปรบไก่สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) สายกรมมหรสพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) วิธีดำเนินการวิจัยโดยการศึกษานำร่อง (Pilot study) จากนั้นกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 1) ด้านเอกสาร และ 2) ด้านบุคคล ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) คือ ครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)กลุ่มที่ 2 ลูกศิษย์ซอด้วงของครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติรุ่นแรก ใช้เทคนิคการเลือกแบบโสนว์บอล (Snowball sampling)และกลุ่มที่ 3 ลูกศิษย์ซอด้วงของครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติรุ่นปัจจุบันใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Inductive reasoning) และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data triangulation) ผลการวิจัยพบว่าพบว่า ตอนที่ 1 เพลงเดี่ยวซอด้วงพญาโศก สามชั้น เป็นเพลงท่อนเดียว ปรากฏทั้งหมด 3 ทางเสียง มีท่วงทีลีลาสำนักและบุคคล และปรากฏอารมณ์โศกเศร้า เทคนิคที่ปรากฏรวมทั้งเที่ยวโอดและเที่ยวพันทั้งหมด 16 เทคนิค จาก 19 เทคนิค เทคนิคที่ไม่พบมีจำนวนทั้งหมด 3 เทคนิค และเพลงเดี่ยวซอด้วงแขกมอญ สามชั้น เป็นเพลงสามท่อน ปรากฏทั้งหมด 3 ทางเสียง มีท่วงทีลีลาสำนักและบุคคล อารมณ์รักและปรากฏสำเนียงมอญ เทคนิคที่ปรากฏทั้งในเที่ยวโอดและเที่ยวพันทั้ง 3 ท่อน พบเทคนิคทั้งหมด 14 เทคนิคจาก 18 เทคนิค เทคนิคที่ไม่ปรากฏมีจำนวน 4 …


การพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, น้ำเพชร ชื่นแพ Jan 2020

การพัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, น้ำเพชร ชื่นแพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) พัฒนาแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์เพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 2) แบบทดสอบทักษะการปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบประเมินแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้า และนักกีตาร์ที่มีชื่อเสียงทางด้านกีตาร์ไฟฟ้าสไตล์ร็อค ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เนื้อหาและรูปแบบการสร้างแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์ด้านเนื้อหาประกอบไปด้วย 1) เนื้อหาที่เกี่ยวกับพาวเวอร์คอร์ด 2) คำอธิบายเกี่ยวกับโน้ตบนคอกีตาร์ของสายที่หกและสายที่ห้า 3) เทคนิคและแบบการฝึกปฏิบัติมือขวา 4) แบบฝึกที่พัฒนานำมาจากบทเพลงจริง 5) การสาธิตตัวอย่างก่อนเข้าแบบฝึก 6) แบบสาธิตการฝึกฝนที่ถูกและการฝึกฝนที่ผิด ในด้านรูปแบบประกอบไปด้วย 1) องค์ประกอบของภาพและเสียง ต้องมีคุณภาพ มีการใช้กราฟฟิกในการเน้นเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนจดจำ 2) บุคลิกภาพ การแต่งกายของผู้สอนที่เหมาะสม และบรรยากาศสถานที่ถ่ายทำที่สร้างแรงจูงใจในการเรียน 3) การบรรยายถึงวิธีการปฏิบัติประกอบระหว่างการสาธิต 4) มุมกล้องที่ถ่ายทำที่สามารถแสดงภาพของการเล่นที่เจาะจงและมีความชัดเจน เพื่อให้ผู้ฝึกสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง 2. ผลการประเมินคุณภาพแบบฝึกพาวเวอร์คอร์ดออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอนกีตาร์ไฟฟ้าทั้งหมด 5 ท่านพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.96, SD = 0.06) และจากการพัฒนาแบบฝึกยังพบว่า การฝึกปฏิบัติพาวเวอร์คอร์ดเพื่อพัฒนาชีพจรจังหวะให้สัมฤทธิ์ผลนั้น ควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติมือขวาเช่นเดียวกับการเล่นมือซ้าย โดยมุมกล้องควรเน้นให้เห็นการปฏิบัติของมือขวาที่ชัดเจนทุกครั้ง เนื่องจากการสร้างจังหวะเกิดขึ้นจากการดีดขึ้น-ลงของมือขวา นอกจากนี้ควรใช้เสียงเมโทรนอมเพื่อช่วยการนับจังหวะจริงก่อนเริ่มแบบฝึก เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์แบบฝึก


การศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว, วรจสมน ปานทองเสม Jan 2020

การศึกษาพฤติกรรมเอื้อสังคมโดยใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว, วรจสมน ปานทองเสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพัฒนาการพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อน และหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 2) ศึกษากระบวนการเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว 3) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนในการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะร่วมกับการสอนดนตรีแบบเดี่ยว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) แบบบันทึกคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคม และ 3) แบบบันทึกการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคม ผู้เข้าร่วมการวิจัยนี้ได้แก่ นักเรียนที่เรียนวิชาปฏิบัติทักษะดนตรีกับผู้วิจัยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จำนวน 3 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพฤติกรรมเอื้อสังคมในห้องเรียนดนตรีโดยใช้ทฤษฎีสุขภาวะ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะใช้ร่วมกับบทเรียนดนตรีแบบเดี่ยว จากนั้นนำเกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะไปใช้กับผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยมีการสังเกตพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนที่เกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 1) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนก่อนการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ 2) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนระหว่างการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ และ 3) การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติบรรยาย เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะโดยใช้กราฟ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทุกคนมีคะแนนการแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมที่สูงขึ้นหลังการใช้เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะ จึงสามารถสรุปได้ว่า เกมบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมเอื้อสังคมได้ 2) เกมบิงตามทฤษฎีสุขภาวะช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ด้านจิตพิสัยอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมเอื้อสังคมตามทฤษฎีสุขภาวะของนักเรียน 3) แม้ไม่มีบิงโกตามทฤษฎีสุขภาวะเป็นสิ่งเสริมแรงให้แสดงพฤติกรรมแล้ว แต่พฤติกรรมเอื้อสังคมของนักเรียนยังคงอยู่ นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดทางความคิด และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับศักยภาพในการเรียนดนตรีของตนเองได้ รวมทั้งตระหนักถึงความหมายและคุณค่าของการเรียนดนตรี เมื่อนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่เรียน ส่งผลให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยง และนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะ เครื่องกระทบขั้นพื้นฐานสำหรับครูประถมศึกษา, กัญฐิตา โกมลพันธุ์ Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะ เครื่องกระทบขั้นพื้นฐานสำหรับครูประถมศึกษา, กัญฐิตา โกมลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานโดยใช้เพลงไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การสำรวจความต้องการชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน 3) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล 4) การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน 5) การตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงไทยสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐาน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูดนตรีที่รู้จักร่างกายสร้างจังหวะจำนวน 30 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญการสอนเครื่องกระทบจำนวน 4 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญการสอนกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กจำนวน 3 คน และ 6) การสรุปผลการวิจัย อภิปราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการจำเป็นการใช้กิจกรรมดนตรีสำหรับครู แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ แบบประเมินมาตรประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า ชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของครูดนตรีในการเป็นตัวอย่างสื่อการจัดการเรียนรู้ด้านพื้นฐานจังหวะและด้านทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปพัฒนาการสอน และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมดนตรีทางเลือกสำหรับครูดนตรีระดับชั้นประถมศึกษา โดยชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดทำมีรูปแบบเป็นหนังสือประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) โครงการสอนระยะยาว 2) แผนการสอนรายคาบ 3) เนื้อหาดนตรี ได้แก่ สาระทางดนตรี ด้านต่างๆ ที่ประกอบด้วยโน้ตรูปแบบทำนองและโน้ตรูปแบบจังหวะ และ ทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานที่ประกอบด้วยการเลือกใช้มือ และซิงเกิล สโตรคโรล และ 4) บทเพลงไทย ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่และจัดเรียงเนื้อหาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน โดยชุดกิจกรรมได้ผ่านการประเมินจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ ดีมาก


สาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา, ฐาณิศร์ สินธารัตนะ Jan 2020

สาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา, ฐาณิศร์ สินธารัตนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องสาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ความหมาย แนวปฏิบัติ และพัฒนาการของการอิมโพรไวส์แบบอิสระ และ 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แหล่งข้อมูลได้แก่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 2) ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ และ 3) นักศึกษาหรือบัณฑิตที่มีประสบการณ์ 4) ชั้นเรียนที่เกี่ยวข้อง และ 5) เอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบการสังเกตชั้นเรียน และ 3) แบบวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ในบริบทสากล ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ถูกพัฒนาจากกลุ่มศิลปินที่ต้องการเป็นอิสระจากกรอบการสร้างสรรค์ในช่วงยุค 1950-60s โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ที่เน้นการแสดงออกอย่างฉับพลัน และลื่นไหล แนวปฏิบัติของดนตรีชนิดนี้ถูกพัฒนาในวงกว้างและเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2550 จากอิทธิพลของการจัดแสดงงานศิลปะของชาวญี่ปุ่น ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ส่งผลกระทบต่อนักดนตรีกลุ่มต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำให้องค์ความรู้ ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระเติบโตในระดับอุดมศึกษาของไทย 2. สภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ ครอบคลุมการฝึกฝนระดับไตร่ตรองและอุตรภาวะ 2) การกําหนดเนื้อหา ครอบคลุมฐานความรู้และข้อมูลอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง 3) การจัดกิจกรรมและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สอดรับกับการกำหนดวัตถุประสงค์ และ 4) การวัดผลประเมินผล ครอบคลุมการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์


แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวิธีการของโคดาย สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่, จรินพร จิตต์มั่น Jan 2020

แนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามวิธีการของโคดาย สําหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่, จรินพร จิตต์มั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสภาพการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมชมรม ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนาในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามวิธีการของโคดาย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นบ้านล้านนา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านโคดาย จำนวน 2 ท่าน และ ครูผู้สอนกิจกรรมชมรมเพลงพื้นบ้านล้านนา จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีแจกแจงความถี่ การวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน ประกอบด้วย ด้านองค์ความรู้ของเพลงขับร้องพื้นบ้านล้านนา ด้านการพัฒนาทักษะในการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา และด้านการพัฒนาเจตคติต่อการเรียนขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ด้านทักษะการขับร้อง ด้านบทเพลง และด้านวรรณกรรม 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ การอภิปรายกลุ่ม และกระบวนการก่อนการการถ่ายทอดทักษะการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา 4) การใช้สื่อการสอน ประกอบด้วย สื่อการสอนประเภทเครื่องดนตรี สื่อการสอนประเภทสื่อผสมและเทคโนโลยี และสื่อสิ่งพิมพ์ 5) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย การวัดและประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน โดยวิธีการวัดและประเมินผลทักษะ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง และการวัดและประเมินผลทางเจตคติ รูปแบบการวัดและประเมินผลในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามเกณฑ์ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอน ควรพัฒนาองค์ความรู้เพลงร้องพื้นบ้านล้านนา ทักษะการขับร้อง ทักษะการขับร้องควบคู่กับเครื่องดนตรี ทักษะการแสดง และเจตคติที่ดีต่อเพลงพื้นบ้านล้านนา 2) การกำหนดเนื้อหาสาระ ควรมีการคัดเลือกบทเพลงที่เหมาะสมกับพัฒนาการของผู้เรียน ทักษะการขับร้องเพลงพื้นบ้านล้านนา การออกเสียง การขับร้องประกอบทำนอง การขับร้องประกอบจังหวะ และวรรณกรรมเพลงร้องพื้นบ้านล้านนา 3) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน …


แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรเทพ วิชชุชัยชาญ Jan 2020

แนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, พรเทพ วิชชุชัยชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงขับร้องประสานเสียงภาษาไทยสำหรับวงขับร้องประสานเสียง 4 แนว (SATB) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้น จำนวน 3 บทเพลง ได้แก่ บทเพลงชื่นชีวิต บทเพลงงามแสงเดือน และบทเพลงสดุดีจอมราชา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการสอนขับร้องประสานเสียงด้วยบทเพลงภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) บทเพลงขับร้องประสานเสียงภาษาไทยที่เรียบเรียงขึ้น 3 บทเพลง 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทเพลง 3 ท่าน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสังเกตและวิเคราะห์บทเพลง และแบบประเมินบทเพลงขับร้องประสานเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อมูลแบบความเรียงโดยใช้การพรรณความ ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเพลงขับร้องประสานเสียงดังกล่าวทั้ง 3 บทเพลง ได้เรียบเรียงเสียงประสานให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย ด้านทำนองและเสียงประสาน ด้านจังหวะ ด้านคำร้อง และระยะช่วงเสียง 2) แนวทางการสอนบทเพลงขับร้องประสานเสียง ประกอบด้วย 2.1) แนวทางการสอนด้านทำนองและเสียงประสาน ได้แก่ การฝึกร้องบันไดเสียงและขั้นคู่เสียง การฝึกกระบวนการหายใจและการควบคุมลมหายใจ การฝึกร้องโน้ตเอื้อนในภาษาไทย การฝึกร้องประสานเสียงแบบแคนอนผสมผสานกับการประสานเสียงแบบ 4 แนว การฝึกเรื่องความสมดุลของเสียง และการร้องโน้ตแขวน (Suspension) และโน้ตเกลา (Resolution) 2.2) แนวทางการสอนด้านจังหวะ ได้แก่ การฝึกจังหวะส่วนโน้ตให้คงที่ การร้องจังหวะโน้ตประดับ (Acciaccatura) การร้องประสานเสียงลักษณะดนตรีประกอบเลียนแบบเสียงเครื่องดนตรี (Vocal percussion) และการฝึกร้องจังหวะโน้ตตัวแรกให้พร้อมเพรียงกัน และ 2.3) แนวทางการสอนด้านคำร้อง ได้แก่ การร้องเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย การร้องพยัญชนะต้นและคำควบกล้ำ และการร้องคำที่มีตัวสะกด


แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว Jan 2019

แนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต, พงศกร จอมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะปฏิบัติจะเข้ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนจะเข้จำนวน 6 คน บัณฑิตเครื่องมือเอกจะเข้ จำนวน 14 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกประเภท การตีความ การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอน (1) ด้านวัตถุประสงค์ครอบคลุมตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย และจิตพิสัย (2) ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย ลักษณะการบรรเลง วิธีการบรรเลง บทเพลง การแสดง กระบวนการถ่ายทอด และบริบทด้านอื่น ๆ (3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีการที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี และมีความยืดหยุ่น (4) ด้านสื่อการสอน ใช้เครื่องดนตรี สิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ (5) ด้านการวัดและประเมินผลครอบคลุมในช่วงเวลาก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน ด้วยวิธีการทดสอบทักษะปฏิบัติ การประเมินผลตามสภาพจริง และอื่น ๆ ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์และเน้นทั้งกระบวนการและผลงาน 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ ควรพัฒนาทักษะการบรรเลงจะเข้และการแสดงดนตรี องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และเจตคติต่อการเรียนทักษะปฏิบัติจะเข้ 2) เนื้อหาสาระควรกำหนดในด้านลักษณะการบรรเลงจะเข้ วิธีการบรรเลงจะเข้ บทเพลง การแสดง การสอนทักษะและความรู้ของจะเข้ และบริบทด้านอื่น ๆ 3) กิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย เชื่อมโยงระหว่างภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี มีความยืดหยุ่น และส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดการแสดงดนตรีในเชิงวิชาการและกึ่งวิชาการ 4) สื่อการสอน ควรใช้เครื่องดนตรี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อผสมและเทคโนโลยี ห้องเรียนดนตรี และอื่น ๆ …


แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร Jan 2019

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วิชาดนตรีหลักสูตรอังกฤษในโรงเรียนนานาชาติ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบไปด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (2) กิจกรรมที่เหมาะสม (3) บทเพลงที่คัดสรร (4) การประเมินผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สอนดนตรีไทยในต่างประเทศ 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้สอนดนตรีไทยในโรงเรียนนานาชาติ 3 ท่าน กลุ่มที่ 3 ผู้สอนดนตรีในโรงเรียนนานาชาติที่ดำเนินการสอนตามหลักสูตรอังกฤษ 3 ท่าน รวมทั้งหมด 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาและทักษะดนตรีปรากฏในแต่ละช่วงชั้น สรุปได้ดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง ช่วงชั้นที่ 2 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น ทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด การอ่านโน้ตดนตรี และประวัติศาสตร์ดนตรี ช่วงชั้นที่ 3 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด และ การอ่านโน้ตดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี และ การประยุกต์ใช้องค์ประกอบดนตรี โดยการจัดเนื้อหาดนตรีในวิชาดนตรีของหลักสูตรอังกฤษนั้นเป็นแบบ Spiral Curriculum โดยเนื้อหาในการจัดเรียงนั้นมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน โดยจะเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนให้ลึกซึ้งและกว้างขึ้นในแต่ละระดับชั้น 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ควรคำนึงถึงผู้เรียนและบริบทสังคมเป็นศูนย์กลางและศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเพื่อหาลักษณะร่วมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน (2) กิจกรรมที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติผ่านทักษะดนตรีต่าง ๆ พร้อมทั้งมุ่งเน้นทั้งด้านทักษะทางดนตรีและสุนทรียทางดนตรี กิจกรรมและเนื้อหาควรมีความหลายหลายทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการเคารพและยอมรับในความแตกต่าง (3) บทเพลงที่คัดสรร ควรมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยสอดแทรกเนื้อหาผ่านบทเพลงต่าง ๆ ทั้งนี้บทเพลงควรมีความง่ายและมีทำนองซ้ำเพื่อง่ายต่อผู้เรียนที่ไม่คุ้นชินกับเพลงไทย (4) การประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีความยืดหยุ่นและสามารถประเมินผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยประเมินระหว่างเรียน หลังเรียนและประเมินการแสดงผลงานดนตรี


การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น, ศุภ์กฤดญา อัศววีระเดช Jan 2019

การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น, ศุภ์กฤดญา อัศววีระเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้นโดยสร้างแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปพัฒนาตามผลการทดลองและคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิจัยชั้นเรียน (action research) ใช้การคัดเลือกนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้นที่มีอายุ 7-10 ปี จากสตูดิโอ บีบีพี มิวสิค (BBP MUSIC) จำนวน 10 คน แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้วิจัยได้ทำปรับเปลี่ยนวิธีการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นการสอนออนไลน์ และมีผู้เรียนที่สะดวกเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 2 คน ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับนำร่อง และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งมีจำนวน 10 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 30 นาที สำหรับเนื้อหาด้านจังหวะ ได้แก่ โน้ตตัวดำ เขบ็ดหนึ่งชั้น และโน้ตตัวหยุดตัวดำ โดยใช้การสอนตามรูปแบบจังหวะ ทา ทีที ด้านระดับเสียง ได้แก่ ลา ซอล มี เร โด ในการสอนและวัดประเมินผลเน้นทักษะด้านการอ่าน การร้อง และการฟัง โดยนำหลักการสอนตามแนวคิดโคดายที่สำคัญมาประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น การใช้สัญญาณมือ การใช้สัญลักษณ์แทนจังหวะ และการอ่านรูปแบบจังหวะ ทา ทีที เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้แก่ โครงการสอนระยะยาว แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 2) ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับนำร่อง จากนั้นผู้วิจัยได้คัดเลือกบางส่วนไปทดลองใช้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้วนำผลที่ได้มาพัฒนาเป็น แผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับปรับปรุง จากนั้นผู้วิจัยได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำอีกครั้ง เพื่อพัฒนาเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ (ฉบับสมบูรณ์) 3) ในการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่ามีข้อจำกัดในด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตจึงทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมที่ผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น การร้องเพลงพร้อมกัน การปรบมือตามจังหวะ และการร้องออกเสียงสลับกับร้องในใจ 4) ในการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น พบว่า ผู้เรียนทั้งสองคนมีผลคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นในภาพรวม โดยเฉพาะในแบบทดสอบ ตอนที่ 1 ที่เป็นการวัดประเมินด้านจังหวะ และตอนที่ 4 …


การพัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับประถม, พัชราภรณ์ รัตนวลี Jan 2019

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับประถม, พัชราภรณ์ รัตนวลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับประถม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบประเมินแบบฝึก แบ่งออกเป็น การประเมินเนื้อหาภายในโดยผู้เชี่ยวชาญและ การประเมินการใช้แบบฝึกโดยครูสอนเปียโน 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูสอนเปียโนที่มีนักเรียนเปียโนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และนำเสนอข้อมูลแบบความเรียง ผลการวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับประถม พบว่า ลักษณะแบบฝึกที่เหมาะกับผู้เรียนในระดับประถม ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ การกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในแบบฝึก และ การกำหนดกิจกรรมภายในแบบฝึก และในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนในระดับประถมแบ่งผลการรายงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การพัฒนาแบบฝึก ซึ่งแบ่งขั้นตอนการพัฒนาออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.) การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในแบบฝึก 2.) การพัฒนาแบบฝึกทักษะ D1 3.) การประเมินแบบฝึก D1 โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินเนื้อหาในแต่ละด้านของแบบฝึก และ 4.) การพัฒนาแบบฝึกทักษะ D2 และ 2. ผลการประเมินแบบฝึก D2 และข้อเสนอแนะอื่น ๆ โดยครูสอนเปียโนจำนวน 8 คน และจากการประเมินแบบฝึกทักษะ D2 พบว่าอยู่ในระดับเกณฑ์ดี ในด้านของคำแนะนำการนำไปใช้พบว่า แบบฝึกควรให้ความสำคัญในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการศึกษาเนื้อหา และการลำดับในการทำกิจกรรมโดยเริ่มจากง่ายไปยาก


กลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน, เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา Jan 2019

กลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน, เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน 2) ศึกษากลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายู ของครุศิลปินต้นแบบสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ด้านเอกสารและด้านบุคคล ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูนิเวศน์ ฤาวิชา (ครุศิลปินต้นแบบ) 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องตีและเครื่องหนังไทยของกรมศิลปากรที่สืบสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน และ3) กลุ่มผู้เรียนที่เรียนกับครุศิลปินต้นแบบ ทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการตีความ (Interpretive Approch) และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการแบบสามเส้า (Triangulation Approach) ผลการวิจัย พบว่า 1. กลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ความเป็นมาของกลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน พบว่ามีต้นทางขององค์ความรู้จากครูช้อย สุนทรวาทิน ที่ได้ทำการส่งต่อองค์ความรู้ไปยังพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) และพระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) จวบจนกระทั่งครูพริ้ง กาญจนะผลิน ทำการส่งต่อองค์ความรู้ด้านพื้นฐานการบรรเลงกลองมลายูไปยังครูนิเวศน์ ฤาวิชา 1.2 กลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน ได้แก่ 1) พื้นฐานการบรรเลง ประกอบไปด้วย ท่านั่ง 2 แบบ ได้แก่ ท่านั่งบรรเลงกลองมลายูตัวผู้และท่านั่งบรรเลงกลองมลายูตัวเมีย การจับไม้ 2 แบบ ได้แก่ การจับไม้กลองมลายูตัวผู้ และการจับไม้กลองมลายูตัวเมีย การดีดไม้ 2 แบบ ได้แก่ การดีดไม้กลองมลายูตัวผู้ มีขั้นตอนในการดีดไม้ 5 ขั้นตอน และการดีดไม้กลองมลายูตัวเมีย มีขั้นตอนในการดีดไม้ 4 ขั้นตอน และเทคนิคการทำเสียงกลองมลายูแบบต่าง ๆ …


เกณฑ์การประเมินอิมโพรไวส์ในดนตรีแจ๊สระดับอุดมศึกษา, ศิวกร หัตถกิจวิไล Jan 2019

เกณฑ์การประเมินอิมโพรไวส์ในดนตรีแจ๊สระดับอุดมศึกษา, ศิวกร หัตถกิจวิไล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์การประเมินการอิมโพรไวส์ในดนตรีแจ๊สในระดับอุดมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนวิชาเครื่องเอกดนตรีแจ๊สจากประเทศไทย 3 คน อาจารย์ผู้สอนวิชาเครื่องเอกดนตรีแจ๊สจาก ต่างประเทศ 3 คน และ ศิลปินดนตรีแจ๊ส จำนวน 3 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์การประเมินอิมโพรไวส์ประกอบด้วย 1) ความรู้ความเข้าใจซึ่งประกอบด้วย จังหวะ บทเพลง องค์ประกอบที่ใช้ในการอิมโพรไวส์ ภาษาแจ๊ส โมทีฟ ประโยค-วลี 2) ความไพเราะ ประกอบด้วย ความถูกต้องของระดับเสียงความสมดุลกับวงดนตรีความดัง-เบาแนวบรรเลงประกอบการอ่านโน้ตฉับพลัน 3) การแสดงบนเวที ก่อนการแสดง ระหว่างการแสดง และ 4) ทักษะการบรรเลงอิมโพรไวส์ ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ในการอิมโพรไวส์ความเป็นเอกลักษณ์ในการอิมโพรไวส์ เกณฑ์เหล่านี้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินของ The University of Rhode Island ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Azzara and Snell ประเทศอังกฤษ


การศึกษาสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ, สุทิชา บุญโน Jan 2019

การศึกษาสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ, สุทิชา บุญโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดนตรีพื้นบ้านมีองค์ประกอบเฉพาะตัวที่สามารถสะท้อนตัวตนทางวัฒนธรรมของสังคม การศึกษาดนตรีพื้นบ้านส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจสังคม เคารพและเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป และวิเคราะห์สาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และ หลักสูตรดนตรีศึกษาของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านปรากฏใน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านเชิงเนื้อหาซึ่งให้ความสำคัญกับสาระความรู้และทักษะดนตรีพื้นบ้าน และ 2) การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านเชิงแนวคิดซึ่งให้ความสำคัญการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมโดยอาศัยสาระความรู้และทักษะในดนตรีพื้นบ้านหลากหลายประเภทภายใต้กรอบแนวคิดพหุวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และนโยบายทางการศึกษาของชาติ ผลการศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรดนตรีศึกษาของไทย โดยคำนึงถึงบริบทของหลักสูตรและความต้องการของสังคม


การวิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและอบรมบ่มนิสัย, พรปวีณ์ จันทร์ผ่อง Jan 2019

การวิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและอบรมบ่มนิสัย, พรปวีณ์ จันทร์ผ่อง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลำดับปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างคุณลักษณะความเป็นครูดนตรีไทยที่ดีของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร และ 2) วิเคราะห์เอกลักษณ์ความเป็นครูดนตรีไทย ด้านการใช้หลักความเมตตาในการสอนและการอบรมบ่มนิสัย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยศึกษาเอกสาร วิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ตามแนวทางการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (grounded theory research) นำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียงและกรอบมโนทัศน์ ผลการวิจัย พบว่า ลำดับปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างคุณลักษณะความเป็นครูดนตรีไทยที่ดี ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร มี 5 ขั้น ได้แก่ 1) รับรู้ ซึมซับ รับการสนับสนุน 2) มานะบากบั่น หมั่นแสวงหาโอกาส 3) มั่นคงหนักแน่น หวงแหนวัฒนธรรม 4) แตกฉานรอบด้าน บูรณาการอย่างเข้าใจ 5) เป็นแบบอย่างของความดี เป็นผู้มีบารมีด้วยความเมตตา และผลการวิจัยการใช้หลักความเมตตาในการสอนดนตรีไทย ของผู้ช่วยศาสตราจารย์สงบศึก ธรรมวิหาร แบ่งได้ 5 ประเด็น ดังนี้ 1) การให้ด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก 2) การให้ด้วยหลักความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียน 3) การให้ความรู้ที่ถูกต้อง 4) การให้ความรู้ที่ครบถ้วน และ 5) การให้ประสบการณ์ตรง