Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Early Childhood Education

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2021

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล, พัทธ์ สุทธิบุญ Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล, พัทธ์ สุทธิบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาลใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา 2) เปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเล่นแบบชี้แนะร่วมกับลูสพารตส์นอกห้องเรียนกับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งแบบปกติมีต่อพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังของเด็กอนุบาล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 48 คน ใช้การจับฉลากได้ห้องอนุบาล 3/1 จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มควบคุม ห้องอนุบาล 3/2 จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มทดลอง ผู้วิจัยจัดทำแผนสำหรับกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 50 แผน รวมทั้งสิ้น 100 แผน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปัน การเจรจาต่อรอง และการทำตามกฎกติกา สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเล่นแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิจัยอิงการออกแบบ, ชนาสร นิ่มนวล Jan 2021

การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิจัยอิงการออกแบบ, ชนาสร นิ่มนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โปรแกรมการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับผู้ปกครองในการสนับสนุนให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้เกิดความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถปรับตัวในช่วงระยะรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้อย่างราบรื่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ และวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กจากการนำต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ สู่การปฏิบัติ การวิจัยนี้ใช้แนวคิดการวิจัยการออกแบบโดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ในระยะที่ 1 เป็นการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้จากครูและผู้ปกครองที่คัดเลือกด้วยวิธีการแบบก้อนหิมะจำนวน 10 คน ระยะที่ 2 เป็นการนำข้ออ้างเชิงเหตุผลร่วมกับข้อมูลจากผลการศึกษาประสบการณ์ผู้ใช้มาออกแบบหลักการและต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ และระยะที่ 3 เป็นการนำการต้นแบบโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และถอดบทเรียนจากการวิจัยเป็นหลักการออกแบบใหม่สำหรับโปรแกรมการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลักการออกแบบที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบเชิงสาระ ประกอบด้วย 1.1) การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน 1.2) การประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน และ 1.3) การทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองและ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) กระบวนการส่งเสริมความพร้อมที่โรงเรียน 2.2) กระบวนการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง และ 2.3) กระบวนการส่งเสริมความพร้อมที่บ้าน ซึ่งดำเนินงานคู่ขนานกันตลอดโปรแกรม โดยโปรแกรมฯ แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมการก่อนเปิดเรียน ระยะที่ 2 ส่งเสริมการปรับตัวสู่โรงเรียนใหม่ ระยะที่ 3 สร้างรอยเชื่อมต่อในการเรียนรู้ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 101 ชั่วโมง 2) ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนฯ พบว่า 2.1) นักเรียนที่เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 29 …


การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล, รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล, รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่มีต่อความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับนำร่อง) ขั้นที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับทดลอง) และขั้นที่ 5 การนำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเป็นระบบ จัดสาระและทักษะให้เด็กเรียนรู้อย่างเป็นลำดับจากเรื่องใกล้ตัวไปสู่ไกลตัว และจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนขึ้น ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มแบบคละความสามารถตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ควบคู่ไปกับการสะท้อนการเรียนรู้และได้รับข้อมูลย้อนกลับ โปรแกรมนี้มีลักษณะเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดในช่วงหลังเลิกเรียน 12 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 30 - 45 นาที มีองค์ประกอบ 7 ข้อ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา บริบท สาระ ขั้นตอน และการประเมินผล ประกอบด้วย สาระ 5 เรื่อง ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การจัดการตนเอง การตระหนักรู้สังคม ทักษะสัมพันธภาพ และการตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ …